ใช้ javascript สั่ง print เว็บเพจออกทางเครื่องพิมพ์

print button by javascript
print button by javascript

เพื่อนต้องการสั่งพิมพ์ (print) ข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์
ไปทางกระดาษ A4 แต่ข้อมูลชุดเต็มมีจำนวนเขตข้อมูลมาก
จึงต้องตัดเขตข้อมูลที่ไม่ใช่สาระสำคัญออก
แล้วนำเสนอผ่านเว็บเพจใหม่อีกรอบ แทนข้อมูลชุดเต็ม

การนำออกกระดาษ A4 ก็ทำโดยเพิ่มปุ่ม print ทางเว็บเพจ
เมื่อกดปุ่ม print ก็จะสั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ (printer)
เลือกขนาดกระดาษตามสะดวก
น่าจะเป็นทางออกที่ง่าย สำหรับผม และผู้สืบค้น
ที่มองเห็นปุ่มกด แล้วสั่งพิมพ์ผลทางเครื่องพิมพ์

button to print
button to print

[อธิบายตัวอย่าง code]
1. กำหนดส่วนของ div ให้มีปุ่มสำหรับสั่งพิมพ์
2. เหตุการณ์ onclick จะเรียกใช้ myFunction()
3. ใน Script จะสั่งพิมพ์ด้วย window.print() ก็จะเรียกบริการ print ของ window ขึ้นมา
4. ก่อนพิมพ์ก็สั่งซ่อนส่วนของ div
5. หลังพิมพ์ก็สั่งแสดงส่วนของ div อีกครั้ง

<div id=”prt”>
<button onclick=”myFunction()”>Print this page</button>
</div>
<script>
function myFunction() {
document.getElementById(“prt”).style.visibility=’hidden’;
window.print();
document.getElementById(“prt”).style.visibility=’visible’;
}
</script>

บริการ chart ของ google ผ่าน ajax api


มีเพื่อน .. ต้องการทำรายงานจากข้อมูล แล้วนำเสนอผ่านเว็บเพจ
เมื่อประมวลผลก็จะเป็นข้อมูลเชิงสถิติ หรือสารสนเทศ ที่จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องสำหรับสังคม การนำเสนอข้อมูลผ่าน chart เป็นเรื่องควรทำ เพราะดูง่ายกว่าเขียนอภิปรายสรุปผลแต่เพียงอย่างเดียว

https://google-developers.appspot.com/chart/interactive/docs/gallery

การนำเสนอ chart ในเว็บเพจมีกันหลายวิธี นั่งทบทวนการใช้ OFC (Open Flash Chart) อยู่พักหนึ่ง สุดท้ายก็ต้องยอมแพ้ เพราะ เส้นทางของ Flash ในอนาคต ดูจะตีบตันเหลือเกิน และ OFC ก็ไม่ได้พัฒนาต่อให้สมบูรณ์ ต่างกับ Google Chart ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเลือกใช้งานได้หลากหลาย ตามความต้องการของผู้ใช้

ตัวอย่าง google ajax api
ตัวอย่าง google ajax api

จากการทดสอบ code ที่ใช้นำเสนอข้อมูลใน chart แต่ละแบบ ได้เก็บตัวอย่าง code ไว้เป็นไฟล์ และเก็บภาพตัวอย่าง chart เพื่อจะได้เลือกนำมาใช้ และนำ code มาปรับแก้โดยง่าย
ระบบนี้ไม่ต้องมี server เพราะจะเรียกไปยัง google.com โดยส่งข้อมูลผ่าน javascript code ทำงานแบบ AJAX คือ ประมวลผลร่วมกันระหว่าง client กับ google server มีตัวอย่าง chart แบบต่าง ๆ ดังนี้

 

google_ajax_api_annotation.htm
google_ajax_api_area.htm
google_ajax_api_bar.htm
google_ajax_api_bubble.htm
google_ajax_api_calendar.htm
google_ajax_api_candlestick.htm
google_ajax_api_column.htm
google_ajax_api_combo.htm
google_ajax_api_diff.htm
google_ajax_api_donut.htm
google_ajax_api_gantt.htm
google_ajax_api_gauge.htm
google_ajax_api_geo.htm
google_ajax_api_histrogram.htm
google_ajax_api_line.htm
google_ajax_api_lineinterval.htm
google_ajax_api_map.htm
google_ajax_api_org.htm
google_ajax_api_pie.htm
google_ajax_api_scatter.htm
google_ajax_api_table.htm
google_ajax_api_timeline.htm
google_ajax_api_trendline.htm
google_ajax_api_wordtree.htm

การเขียน CSS เพื่อเรียกใช้ font ของตนเองที่เตรียมไว้

download_font.htm
download_font.htm

มีโอกาสเขียนเว็บเพจที่ใช้ font ที่เตรียมไว้
ได้ download มา 2 font แล้วเก็บไว้ในห้องหนึ่ง
ชื่อ rsp_thchakrapetch.ttf กับ rsp_alexbrush.ttf
ส่วนแฟ้ม .htm ก็อยู่ในห้องเดียวกัน

มีขั้นตอนดังนี้
1. ประกาศชื่อแฟ้มฟอนต์ และชื่อฟอนต์ที่จะใช้ภายในเว็บเพจ
2. จุดใดจะกำหนดรูปแบบฟอนต์ ก็อ้างอิงที่ประกาศได้เลย
3. ดูจากตัวอย่างก็เข้าใจได้โดยง่าย

http://www.thaiall.com/web2

<body>
<style>
@font-face{
font-family:THChakraPetch;
src: url(‘rsp_thchakrapetch.ttf’);
}
@font-face{
font-family:AlexBrush;
src: url(‘rsp_alexbrush.ttf’);
}
</style>
<p style=”font-family:THChakraPetch;font-size:100px;”>สวัสดี</p>
<p style=”font-family:AlexBrush;font-size:100px;”>hello</p>
<p><a href=”rsp_thchakrapetch.ttf”>rsp_thchakrapetch.ttf</a></p>
<p><a href=”rsp_alexbrush.ttf”>rsp_alexbrush.ttf</a></p>
</body>

 

ดาวน์โหลดฟอนต์ และ code ตัวอย่าง โดย view source ได้เลย
http://www.thaiall.com/web2/download_font.htm

ทบทวนการใช้งาน linux ผ่าน Debian ที่อยู่ใน VirtualBox

มะละกอแขกดำ ซื้อมาต้น 20 บาท
มะละกอแขกดำ ซื้อมาต้น 20 บาท
เมล็ดมะละกอฮอลแลนด์ ตากแห้งเอง
เมล็ดมะละกอฮอลแลนด์ ตากแห้งเอง

วันนี้เตรียมเมล็ดมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ จากมะละกอสุก
นำไปตากให้แห้งเอง ไม่ต้องซื้อใครเขา ทำเมล็ดพันธุ์เองเลย
เค้าว่าเมล็ดพันธุ์สำหรับนำไปปลูก
ขายกันเป็นขีด (100 กรัม)
ขีดละประมาณ 700 – 900 บาท มี 7000 – 8000 เมล็ด
บางรายขายเป็นซอง ๆ ละ 100 บาท มี 50 เมล็ด
https://www.facebook.com/malakoboy69/

share folder in debian
share folder in debian
virtualbox screen
virtualbox screen

จากนั้นก็มาทบทวน Operating System
จำได้ว่าเคยลง Debian ไว้บน Oracle VM VirtualBox
ใน WinXP ที่ใช้งานอยู่
ในเครื่องผมตั้ง user เข้า Debian ว่า “nation
ต้องกรอกรหัสผ่านเข้าเครื่องให้ถูก
ถ้าไม่ถูกระบบจะแจ้งว่า “Authentication failure”
1. เปิดขึ้นมาก็เห็น Gnome Desktop
2. มุมบนซ้ายสุดมี Application, Places, System
ก็เลือก Application – Accessories – Terminal หรือ Root Terminal
เหมือนพิมพ์ SU เลยครับ
3. ตรวจว่าเครื่องเราเปิด port อะไรไปแล้วบ้าง
ด้วย #netstat -na
4. ตรวจว่ามี process อะไร start อยู่บ้าง
ด้วย #ps -aux
5. ตรวจว่ามีใครเข้าออกระบบเมื่อใด
ด้วย #last
6. ตรวจว่ามี user name อะไรที่อยู่ที่สร้างไว้แล้ว
ด้วย #cat /etc/passwd
7. ตรวจว่าเชื่อมต่อสื่ออะไรจากที่ไหนไว้บ้าง
ด้วย #mount
พบว่าแชร์เข้ามาจากระบบ Windows จำนวน 2 Folders
http://www.thaiall.com/blog/burin/4628/

ลูกศิษย์มาเยี่ยมถึงเรือนชาน

ลูกศิษย์
ลูกศิษย์

ทุกช่วงปีใหม่
ลูกศิษย์ที่ชอบพอกัน จะมาเยี่ยมผมเสมอ ไม่เคยขาด

ปีนี้ 7 ม.ค.60 กร กับปราง เอาขนม S&P
มาสวัสดีปีใหม่เช่นเคย แต่ไม่เหมือนทุกปี
เพราะปีนี้ผมย้ายไปอยู่เกาะคา
เค้าก็ตามมาเที่ยวเกาะคา
ทั้งสองเป็นนักคอมพิวเตอร์ที่เก่ง
ทำโปรเจคที่บ้านไหล่หินด้วยกันมา
เคย .. เอาดีทางพัฒนาระบบ และเว็บไซต์
เป็น freelance developer แบบ fulltime
แต่เดี๋ยวนี้ .. จับด้าน e-commerce จริงจัง
หลายผลิตภัณฑ์เลย ฟังเค้าเล่าสนุกมาก
เล่าถึงนโยบายของ fb, line และ startup : pay360
แล้วยัง .. ทำฟาร์มชเนาเซอร์ เห็นว่าได้ SEO มาด้วย
แต่ละปีก็จะมีอะไรใหม่ ๆ มาเล่าตลอด

s&p cookie
s&p cookie

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1848710072079656&id=100008220431019

อูบุนตู 4 บทในหนังสือของ รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม

ranking linux distribution
ranking linux distribution

นั่งอ่านหนังสือ
“ระบบปฏิบัติการ (Operating System)”
ของ รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม
พบบทที่ 10-13 ระบบปฏิบัติการอูบุนตู
โลกเราไม่ได้มี OS ระบบเดียว และรุ่นเดียว

บทที่ 10 ประวัติ
– ประวัติของอูบุนตู
– รุ่นหรือเวอร์ชั่นของอูบุนตู
บทที่ 11 ติดตั้ง
– ติดตั้งในเครื่องใหม่
– ติดตั้งหลายโอเอส แบบแบ่ง Partition
– ติดตั้งเพิ่ม Install inside windows
บทที่ 12 การใช้งานอูบุนตู
– หน้าจอหลัก
– ส่วนประกอบหลัก
– การจัดการเดสก์ทอป
– การใช้งานไฟล์และโฟลเดอร์
– การใช้โปรแกรมพื้นฐาน
บทที่ 13 โปรแกรมประยุกต์
– Openoffice
– Firefox
– Pidgin สำหรับการแชทหลายบัญชี
– การใช้ร่วมกับอุปกรณ์ อาทิ mouse, printer, graphic card
– การใช้ Visual Effects ของอูบุนตู

mark shuttleworth ubuntu
mark shuttleworth ubuntu

อ่านหน้า 238 เรื่อยไป พบว่า
ยูบุนตู (Ubuntu) พัฒนาต่อยอดจาก เดเบียน (Debian)
ซึ่งต่างเป็นลีนุกซ์ (Linux) ที่เป็น Open source
และเป็น GPL (General Public License) คือ สัญญาอนุญาตในการนำไปใช้
โดยสัญญา GPL ฉบับแรกเขียนโดย Richard Stallman
ส่วน Linux Kernal มีผู้ริเริ่มคือ Linus Torvalds (ไลนัส เทอร์วัลต์ส)
ยูบุนตูถูกพัฒนาให้สามารถใช้กับ PC, Notebook หรือ Server
คำว่าอูบุนตูเป็นคำจากภาษาซูลูและโคซาในแอฟริกาใต้
หมายถึง เพื่อมวลมนุษยชาติทุกคน (Humanity to Others)
ซึ่งหัวหน้าทีมพัฒนาอูบุนตู คือ Mark Shuttleworth
และบริษัทคาโนนิคอล ที่เน้นให้อูบุนตูมีแต่ของฟรีสำหรับทุกคน

Ubuntu แยกเป็นหลายรุ่น ดังนี้
1. Kubuntu คือระบบสำหรับใช้งานบน Desktop สำหรับผู้ใช้
2. Xubuntu คือระบบสำหรับฮาร์ดแวร์เก่า ใช้ทรัพยากรน้อย
3. edubuntu คือ ระบบสำหรับนักเรียน นักศึกษา มีแอพเครืองคิดเลขคำนวณสูตรทางเคมี ฟิสิกส์
4. gobuntu คือ ระบบสำหรับกลุ่มเชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ จึงไม่มีไดรเวอร์ แอพพลิเคชั่น

http://www.thaiall.com/os/os11.htm

โปรแกรมจำลองการทำงานของโปรเซส

SOSIM by Prof.Luiz Paulo Maia
SOSIM by Prof.Luiz Paulo Maia

นั่งอ่านหนังสือ
ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
ของ รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม
พบบทที่ 9 การใช้งานโปรแกรมโซซิม (SOSIM)
โปรแกรมนี้นักศึกษา CS ป.โท ทำเป็นผลงาน Thesis
มีหน้าที่จำลองการทำงานของ process
แสดง Running, Ready และ Waiting ใน Process Manager
และการจองหน่วยความจำใน Memory Manager
ผู้ใช้สามารถสร้าง Process ขึ้นมา แล้วส่งในระบบ
จะเห็นการทำงานในแต่ละ State
และสร้าง Process ขึ้นมาได้ 3 แบบ

 

ประเภทของ Process มีดังนี้
1. CPU = ใช้ Central Processing Unit อย่างเดียว
2. IO = ใช้ CPU เป็นรอง แต่ใช้ IO เป็นหลัก มีหลายแบบ
3. MIX = ใช้ CPU ปานกลาง ไปพร้อมกับ IO

ต.ย. 1 โปรเซสเดียว
[สร้าง] Process แบบ CPU
Priority = 0, Max. frames =5
[ผล]
มี Process เดียว ก็สลับไปมาระหว่าง
Ready และ Running
และไม่ต้องเข้าคิวกับใคร จึงอยู่ที่ Ready = 0 เสมอ
[ล้าง Process ออก]
เข้า Process, Select, Delete
แล้วสั่ง Run ใหม่จะพบว่าไม่มีอะไรอยู่ใน Processor Manager

ต.ย. 2 โปรเซส CPU และ IO2
[สร้าง] Process แบบ CPU
แล้วสร้าง Process แบบ IO2
Priority = 0, Max. frames =5 เหมือนกันทั้ง 2 Process
[ผล]
มี Process CPU แทบจะครอง CPU
ส่วน Process IO2 ได้ทำงานใน CPU 1 ครั้ง
แล้วกับไปรอใน Waiting State ให้ CPU ทำงานให้เสร็จ 5 ครั้ง
แล้ว Process IO2 จึงจะได้ทำงาน 1 ครั้ง แล้วกลับมารอเหมือนเดิม
ใน Ready Process ที่ครองอยู่ก็คือ CPU
และมี Ready ระดับ 0 คือไม่มีใครมารอในคิวนาน ๆ

ต.ย. 3 โปรเซส CPU และ Mix1 และ IO2
[สร้าง] Process แบบ CPU
แล้วสร้าง Process แบบ Mix1
แล้วสร้าง Process แบบ IO2
Priority = 0, Max. frames =5 เหมือนกันทั้ง 2 Process
[ผล]
มี Process CPU แทบจะครอง CPU
ส่วน Process Mix1 ได้ทำงานใน CPU 2 ครั้ง เมื่อเข้า Ready ก่อนไป Wait
ส่วน Process IO2 ได้ทำงานใน CPU 1 ครั้ง แล้วไป Wait เลย
ทั้ง Mix1 และ IO2 จะรอใน Waiting State 5 ครั้ง เท่ากัน
แต่ Mix1 ได้ทำงานกับ CPU มากกว่า IO2 เมื่ออยู่ใน Ready state
[ดู Log]
หากดูการทำงานใน Log
จะพบว่า Boost คือ กำลัง
กำหนดให้ IO2 เป็น +2 แต่ Mix2 มี +1
ยิ่งบวกมากขึ้น ก็ยิ่งรอนานขึ้น

ต.ย. 4 โปรเซส IO1 และ IO2
[สร้าง] Process แบบ IO1
แล้วสร้าง Process แบบ IO2
Priority = 0, Max. frames =5 เหมือนกันทั้ง 2 Process
[ผล]
เมื่อ IO1 ทำงานเสร็จก็จะไปรอ
เมื่อ IO2 ทำงานเสร็จก็จะไปรอเช่นกัน
ทิ้งให้ CPU ว่าง ไม่มีใครใช้งาน

http://www.thaiall.com/os/os03.htm

มีรายละเอียดอีกมาก
เช่น การจัดการหน่วยความจำแบบ Pre-Paging หรือ Demand Paging
การดู Statistics หรือ PCB เป็นต้น
ถ้าสนใจก็เข้าโฮมเพจ SOSIM
ของ Prof.Luiz Paulo Maia as part of his M.Sc. thesis
in Federal University of Rio de Janeiro (NCE/UFRJ), Brazil, in 2001 (2544).
http://www.training.com.br/sosim/indexen.htm

เริ่มปรับหัวบล็อกเป็น แม่ล้ม ผมก็ล้ม แต่ปลูกมะละกอไว้ทานเอง

ปลูกมะละกอไว้ทานเอง
ปลูกมะละกอไว้ทานเอง

2 ม.ค.60 มีกิจกรรมหลายอย่างที่ทำไป
เป็นวันสุดท้ายของหยุดยาว ต้นปี 2560
ผมก็นั่งทบทวน เตรียมหนังสือ 4 เล่ม
พร้อมปรับเว็บเพจ ระบบปฏิบัติการ
http://www.thaiall.com/os/os00.htm

หนังสือของ
– ผศ.พิเชษฐ์ ศิริรัตนไพศาลกุล
– รศ.ดร.กฤษดา ขันกสิกรรม
– ไพศาล โมลิสกุลมงคล และคณะ

 

operating system book
operating system book

แล้วก็ไปปรับบล็อก (blog) ที่
http://article-thaiall.blogspot.com/
ก็ตั้งใจจะเปลี่ยนแนวการเขียน
เป็นเรื่อง “แม่ล้ม ผมก็ล้ม”
“เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ที่ผันตัวเองเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ก่อนปี 2560 อย่างไม่ทันตั้งตัว”

ใช้จอบขุดดิน ถางหญ้า
ใช้จอบขุดดิน ถางหญ้า

ช่วงเช้า มีเวลา เพราะมีเด็กที่บ้านมาเฝ้าแม่
ผมจึงเข้าสวนไปปลูกมะละกอแขกดำ
ที่ได้จากงานฤดูหนาว ต้นละ 20 บาท 6 ต้น
พร้อมกับขนุน ทองประเสริฐ ต้น 70 บาท
เดิมทีตั้งใจปลูกฮอลแลนด์
แต่ไม่มีขาย มีแต่พันธ์แขกดำ
และกำลังเพาะฮอลแลนด์อยู่ แต่รุ่นแรกที่เพาะไว้ไม่สำเร็จ
พอซื้อต้นกล้าของเค้ามา เห็นปลูกด้วยแกลบ
ก็จะเอาอย่าง
เพราะเคยถามในกลุ่มเค้าบอกผมใช้ดินเค็มไป
ถ้าใช้แกลบก็จะเป็นที่นิยมในการเพาะมะละกอ

สถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่

สถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่
สถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่

พบข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ไว้เตือนใจ เตือนตัว เป็นสถิติอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551 – 2559 จำแนกเป็นสถิติอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บในช่วงเทศกาลปีใหม่

2551 : ธ.ค.50 – ม.ค.51
อุบัติเหตุ = 4,475
บาดเจ็บ = 4,903
เสียชีวิต = 401

2552 : ธ.ค.51 – ม.ค.52
อุบัติเหตุ = 3,824
บาดเจ็บ = 4,107
เสียชีวิต = 367

2553 : ธ.ค.52 – ม.ค.53
อุบัติเหตุ = 3,534
บาดเจ็บ = 3,827
เสียชีวิต = 347

2554 : ธ.ค.53 – ม.ค.54
อุบัติเหตุ = 3,497
บาดเจ็บ = 3,750
เสียชีวิต = 358

2555 : ธ.ค.54 – ม.ค.55
อุบัติเหตุ = 3,093
บาดเจ็บ = 3,375
เสียชีวิต = 336

2556 : ธ.ค.55 – ม.ค.56
อุบัติเหตุ = 3,176
บาดเจ็บ = 3,329
เสียชีวิต = 366

2557 : ธ.ค.56 – ม.ค.57
อุบัติเหตุ = 3,174
บาดเจ็บ = 3,345
เสียชีวิต = 367

2558 : ธ.ค.57 – ม.ค.58
อุบัติเหตุ = 2,997
บาดเจ็บ = 3,117
เสียชีวิต = 341

2559 : 29 ธ.ค.58 – 4 ม.ค.59
อุบัติเหตุ = 3,379
บาดเจ็บ = 3,505
เสียชีวิต = 380

http://www.accident.or.th/datacenter/index.php/2015-10-13-04-59-29/133-2551-2559
http://www.accident.or.th/datacenter/index.php/2015-10-13-04-59-29/116-2555-3

ความหมายของปฏิทิน

เรารักในหลวง
เรารักในหลวง

ปฏิทิน ในภาษาอังกฤษ คือ คาเลนดาร์ (Calendar) มาจากคำพูดของชาวกรีกโบราณ ว่า “Kalend” มีความหมายว่า “I cry” หรือ “ฉันร้อง” มีที่มาว่า สมัยโบราณจะมีคนคอยร้องบอกชาวเมือง เพื่อบอกกล่าวเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า รวมถึงประกาศวันขึ้นเดือนใหม่ เพื่อให้ลูกหนี้จ่ายเงินที่คั่งค้าง ครั้นต่อมาสังคมเริ่มสลับซับซ้อนมากขึ้น ปฏิทินจึงได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแทนคนร้องบอก ปฏิทินจึงเป็นสิ่งบอกเวลา และกลายเป็นสิ่งสำคัญในวิถีชีวิตประจำวันไปในที่สุด ต่อมามนุษย์จึงได้ริเริ่มบันทึก วัน เวลา ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร หรือที่เรียกกันว่า “ปฏิทิน”

ปัจจุบัน “ปฏิทิน” ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย นักธุรกิจติดต่อนัดหมายกันผ่าน วัน เวลา ในปฏิทิน นอกจากนี้ปฏิทินยังคอยย้ำเตือนถึง วัน เวลาที่สำคัญต่าง ๆ เช่น วันเกิด วันหยุด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปฏิทินที่กำหนดวันสำคัญทางศาสนา ซึงจะต้องอาศัยการประกาศอย่างเป็นทางการ เช่น วันจาริกแสวงบุญของอิสลามิกชน เป็นต้น
ปฏิทินไทย
ปฏิทิน แปลว่า แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี สามารถเขียนได้เป็น ประติทิน (ภาษาสันสกฤต) หรือ ประฏิทิน (บาลีแผลง) ประดิทิน หรือ ประนินทิน ก็ได้ คำหลังนี้พบในหนังสือที่เขียนโดย หมอ บรัดเลย์ ในหนังสือ อักขราภิธานศรับท์ หน้า 412 และหนังสือ สยามไสมย หน้าโษณา ของ หมอ สมิท เป็นต้น แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี มีทั้งที่จารึกบนก้อนหิน หรือ ขีด เขียน และพิมพ์บนกระดาษ ซึ่งมีทั้งชนิดเป็นแผ่น ตั้งแต่ 1 – 12 แผ่น และชนิดพิมพ์เป็นเล่มแบบหนังสือปฏิทินชนิดเล่ม

การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาล ที่ 3) ซึ่งสามารถตรวจสอบและค้นคว้าหาหลักฐานได้จาก ไมโครฟิล์ม หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ปี ค.ศ. 1870 ( พ.ศ. 2413 ) หน้า 5 ในหอสมุดแห่งชาติ หรือค้นคว้าได้จากหนังสือต้นฉบับ ที่หอสมุดดำรงราชานุภาพ ซึ่งหมอ บรัดเลย์ ได้เขียนไว้ว่า “ 14 First Calendar print in B. 1842 ” (ไม่บอกว่าใครเป็นผู้พิมพ์ แต่คาดหมายว่า คือ หมอ บรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ ผู้มีผลงานทางหนังสือมากมาย)

รัชกาลที่ 4 ทรง ฯ โปรดให้พิมพ์ปฏิทินภาษาไทย (ภายหลังจากที่ หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินชิ้นแรกในสยาม เมื่อ พ.ศ. 2385) เมื่อ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2404 ดังปรากฏหลักฐานใน หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ฉบับ ปี ค.ศ. 1862 ( พ.ศ. 2405) หน้า 108
ในสมัย รัชกาลที่ 5 ปฏิทินที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แก่ “ ประนินทิน ” ซึ่งลงโฆษณาใน หนังสือสยามไสมย ของ หมอสมิท เขียนคำโฆษณาไว้ตอนหนึ่ง ว่า “ ประนินทินนี้ แจ้งให้รู้ถึงการอื่นเป็นอันมากอันควรคนทั้งปวงจะรู้ ถ้าไม่รู้เขาจะนินทาว่าคนโง่ ” แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท (ราคาในสมัยนั้น) ปัจจุบันยังหาประนินทินของหมอสมิทไม่พบ

ปฏิทินในสมัย รัชกาลที่ 6 ที่น่าสนใจได้แก่ปฏิทินพกเล่มเล็กๆ ที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นของชำร่วย สำหรับแจกพระราชทาน แก่ขุนนางที่ลงนามถวายพระพร ในวันขึ้นปีใหม่ ปฏิทินพกแบบนี้ยังมีแจกต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งบุคคลธรรมดาก็สามารถไปลงนามถวายพระพรและรับปฏิทินหลวงได้
การพิมพ์ปฏิทินเล่มยังมีการจัดทำต่อมา จนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ปฏิทินเล่มยังมีรายละเอียดในเรื่องของ สภาพภูมิอากาศ เวลาน้ำขึ้น – น้ำลง การเดินทางของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ และมีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย ยังมีสมุดบันทึกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งบอกรายละเอียดของ วัน เดือน ปี เรียงไปตามลำดับ และมีหน้าสำหรับจดบันทึกหมายเหตุรายวัน รวมถึงวันสำคัญ และวัน เวลา นัดหมาย ฯลฯ ที่เรียกว่า “ ไดอารี่ ” (Diary) หรือ ” สมุดบันทึกประจำวัน ” ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฏิทินได้

ปฏิทินไดอารี่ เริ่มมีใช้ในเมืองไทยเมื่อใดยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน แต่ไดอารี่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างสูง คือ ไดอารี่ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่มีชื่อเรียกว่า “ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ”

อ้างอิง
– มณฑา สุขบูรณ์ “ เวลา … พันธนาการแห่งมนุษย์ ” THE EARTH 2000 2,22 ( 2539 ) หน้า 76 –88
– อเนก นาวิกมูล. สิ่งพิมพ์คลาสสิค วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์,กรุงเทพฯ2533

http://www.lib.ru.ac.th/journal/calendar.html

http://www.thaiall.com/calendar/calendar60.htm