แลกเปลี่ยนเรื่องมะเร็ง กับวิตกจริตจนเกินปกติ

หลอดขาดเปลี่ยนได้ มีอะไหล่เพียบ แต่ร่างกายบางชิ้นส่วนก็เปลี่ยนไม่ได้
หลอดขาดเปลี่ยนได้ มีอะไหล่เพียบ แต่ร่างกายบางชิ้นส่วนก็เปลี่ยนไม่ได้

22 ส.ค.58 มีโอกาสไปทำงานที่แจ้ห่ม ระหว่างทางก็นั่งคุยกับโซเฟอร์
ครั้งนี้โซเฟอร์เป็นหญิงสาว ชื่อ จ. ขาไปเราก็คุยเรื่องสุนัขที่บ้าน
ของผมประสบการณ์น้อย เพราะเป็นตัวแรก แต่ของ จ. เลี้ยงมาหลายตัวแล้ว
จากไปก็หลายตัวแล้ว ผมคุยแบบหาข้อมูล เผื่อต้องประสบเหตุแบบเดียวกัน

ขากลับคุยไปในแนวสุขภาพ เช่น ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไรบ้าง
จนเข้าเรื่องสุขภาพของตนเอง ที่เฉลยเหตุผลว่าทำไมผมปฏิเสธช่วยงาน ตจว.
ทั้งที่ยังหนุ่มยังน้อย
จากนั้นก็ต่อด้วยการแบ่งปันเรื่องของสุขภาพในครอบครัว
เพราะคนที่บ้านผมก็มีปัญหา .. คุณพ่อก็มะเร็งลำใส้ คุณยายก็มะเร็งตับ
แต่ของคุณ จ. มีประสบการณ์ เรื่องมะเร็งเยอะกว่าผมมาก
ผมห่วงเรื่องมะเร็งลำใส้ ในแบบวิตกจริต
ส่วนคุณ จ. ก็ห่วงแบบ Angelina Jolie
แต่ไม่หนักเท่าดาราสาวสวยคนนั้นนะครับ แลกเปลี่ยนจนถึงบ้านเลย
ซึ่งไม่บ่อยที่จะได้พูดคุยเรื่องโรคภัยใกล้เจ็บ และแลกเปลี่ยนเรื่องมะเร็งกับเพื่อน
สรุปว่า .. เพื่อน ๆ ควรไปตรวจสุขภาพละเอียดปีละครั้งนะครับ
.. ถ้ายังปกติอยู่
ถ้าเพื่อน ๆ ติดตามข่าวดาราสาวคนนี้ ก็คงจะรู้ว่า
เธอรับการผ่าตัดเอารังไข่และท่อนำรังไข่ออกป้องกันมะเร็งรังไข่
http://www.voathai.com/content/angelina-surgery-nm-25mar15/2694933.html
และผ่าตัดเต้านมออกทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันโรคมะเร็ง แม้ขณะนี้เธอจะยังปลอดจากโรคร้ายนี้
http://www.voathai.com/content/health-jolie-breast-cancer-nm/1662760.html

บางทีเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ดูไม่ออก เห็นอยู่กับตาแต่ไม่รู้
อย่างเช่นหลอดไฟเบรคท้ายด้านซ้ายของผมไม่ออก
หยิบหลอดออกมาดูตั้งนานก็ไม่รู้ว่าขาดรึเปล่า
แต่เห็นว่าหลอดดำ ๆ แสดงว่าเสียแล้ว ไปซื้อของใหม่มาเปลี่ยน 30 บาท
อย่างหลอดไฟขาดเราเปลี่ยนได้ไม่ยาก แต่ร่างกายเราจะเปลี่ยนแต่ละชิ้นไม่ง่ายเลย
มีหลายชิ้นส่วนในร่างกายเราที่เปลี่ยนไม่ได้นะครับ


เพลง ซ่อมได้ ของเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์

บริการรับ-ส่งอีเมลของ Mercury/32 v.4.6 from localhost

mercury mail server on xampp that work with PHP
mercury mail server on xampp that work with PHP

การ config ให้เป็นบริการแบบสองทางคือ รับ กับ ส่ง
ผ่าน localhost บน winxp โดยใช้ Outlook Express

1. เปิดบริการ
เข้าโปรแกรม xampp control panel แล้วเปิดบริการ Mercury
จะพบว่า port 25 กับ 110 เปิดให้บริการแล้ว ตรวจด้วย netstat -na ใน DOS
2. สร้าง user ของ e-mail
เข้า admin ของ Mercury/32 v.4.6 ใน xampp control panel
แล้วเข้า Configuration, Manage Local User…
เพิ่มรหัสผู้ใช้อีเมล โดยกำหนดให้ User:test
Personal Name:test และ Mail Password:test
3. ทดสอบกับ e-mail client
เปิด Outlook Express ครั้งแรก ต้องกรอกข้อมูลต่าง ๆ
Display name: test และ E-mail address: test@localhost
Incoming mail: 127.0.0.1 และ Outgoing mail: 127.0.0.1
Account name: test และ Password:test
4. ทดสอบระบบรับ-ส่ง
สั่งเขียนอีเมลใน Outlook Express ให้กด Create Mail
ส่งถึง test@localhost และให้ subject กับ message เป็น “hello world”
เมื่อสั่ง Send/Recv ก็จะพบอีเมลใหม่เข้ามาใน inbox
5. เขียน code ภาษา php
ให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาทำงานบน Apache ที่จัดการโดย XAMPP
<?php
mail(“test@localhost”,”hello world”,”1\n2\n”,”From: admin@localhost\r\n”);
?>
สร้างแฟ้ม x.php วางใน c:\xampp\htdocs แล้วเปิดเว็บ http://localhost/x.php
พบว่าระบบไม่ส่งอีเมลออกไป ต้องทำข้อที่เหลือก่อน โดยแก้ไข sendmail.ini และ php.ini
6. แก้ไข sendmail.ini
เปิด c:\xampp\sendmail\sendmail.ini ขึ้นมาแก้ไข
จาก smtp_server=mail.mydomain.com
เป็น smtp_server=localhost
7. แก้ไข php.ini
เปิด c:\xampp\php\php.ini ขึ้นมาแก้ไข
จาก ;sendmail_path = “\”c:\xampp\sendmail\sendmail.exe\” -t”
จาก sendmail_path = “c:\xampp\mailtodisk\mailtodisk.exe”
เป็น sendmail_path = “\”c:\xampp\sendmail\sendmail.exe\” -t”
เป็น ;sendmail_path = “c:\xampp\mailtodisk\mailtodisk.exe”
8. เมื่อ restart apache ก็จะส่งอีเมลได้แล้ว
สั่ง stop และ start apache ใหม่ แล้วเรียก x.php ผ่าน browser
ในการเรียกแต่ละครั้ง ก็จะส่งอีเมลจาก admin@localhost
แล้วพบอีเมลที่ส่งไปเข้า outlookexpress เรียบร้อยดี

การเข้า ssh บน google cloud เพื่อจัดการเครื่องบริการ

php-fpm
php-fpm

เมื่อ sign in เข้าไปแล้วก็จะพบกับคำว่า My console
ซึ่งจะต้องเลือกว่าเข้า Project ไหนที่เรากำลังจัดการอยู่ เมื่อเลือกแล้วก็จะมีตัวเลือก

Overview
Permissions
APIs & auth
Monitoring
Source Code
Deploy & Manage
[Compute]
Networking
Storage
Big Data

ในการเข้าจัดการเครื่องที่เลือกได้
เข้า Compute จะพบ App Engine, Compute Engine และ Container Engine
ซึ่งกรณีนี้เลือก Compute Engine ก็จะพบอีกมาก ผมเลือก VM instances ที่สร้างไว้
ก็จะเป็นการสร้าง instance ที่กำหนดว่าใช้ server แบบไหน ภาษาอะไร
งานที่ผมเข้าไปจัดการ Linux :Debian บน AMD64 + Nginx ก็จะใช้ SSH ที่อยู่หลัง instance ตัวที่สร้างขึ้น

$sudo su
#cd /opt/bitnami/nginx/conf/bitnami

พบว่า index ใน location ไม่ได้กำหนด index.php ก็ต้องเพิ่มเข้าไป
เพราะที่มีนั้น มีแต่ index.html กับ index.htm ไม่ใส่จะเป็นปัญหากับ wordpress

พบปัญหา 502 bad gateway แล้วก็พบคำแนะนำ
ใน http://serverfault.com/questions/457911/nginx-php-fpm-502-bad-gateway
จากการตรวจสอบ พบว่าไม่สอดคล้องกับสิ่งที่พบใน google cloud และไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา
จึงไม่ได้ปรับแฟ้ม bitnami.conf ที่อยู่ใน google cloud

ตรวจสอบว่า php-fpm ทำงานอยู่ด้วย #ps -aux|grep php พบว่าทำงานอยู่
ตรวจสอบด้วย phpinfo() ก็บพว่า php-fpm ทำงานอยู่
ใน #tail /opt/bitnami/nginx/logs/access.log แต่ไม่ได้แสดงว่า php-fpm ทำงานด้วยรึเปล่า
พบว่า /opt/bitnami/nginx/conf/bitnami/phpfastcgi.conf มีการ config การทำงานของ php-fpm เรียบร้อย
และ bitnami.conf ก็ include แฟ้ม phpfastcgi.conf มาเรียบร้อย
สรุปว่า nginx เรียกใช้ phpfastcgi หรือ php-fpm แน่นอน
เพราะเวลามีปัญหากับ php ใน error.log จะมีข้อความ
เช่น FastCGI send in stderr: “PHP Message: WordPress database error Table ‘xxx’ does’t exist for query SELECT …

ร้านอาหารญี่ปุ่นใช้หุ่นยนต์แห่งแรกในไทย

ร้านอาหารญี่ปุ่นใช้หุ่นยนต์แห่งแรกในไทย
ร้านอาหารญี่ปุ่นใช้หุ่นยนต์แห่งแรกในไทย

ร้านอาหารญี่ปุ่น ฮาจิเมะ (Hajime Robot Restaurant) คือ ร้านอาหารญี่ปุ่นสไตล์ปิ้งย่าง ใช้หุ่นยนต์อัจฉริยะเสิร์ฟแทนมนุษย์แห่งแรกในไทย ให้ประสบการณ์แปลกใหม่  ด้วยหุ่นยนต์อัจฉริยะที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ที่สามารถแสดงอารมณ์ เต้นรำตามจังหวะเพลง และเสิร์ฟอาหาร ซึ่งในร้านมีหุ่นยนต์ทำหน้าที่จัดเตรียมอาหารในครัว รับถาดอาหาร และวิ่งตามรางนำไปเสิร์ฟตามโต๊ะ ลูกค้าสั่งอาหารผ่านหน้าจอสัมผัส (Touch Screen) ที่โต๊ะอาหาร บนพื้นที่กว่า 450 ตารางเมตร บนชั้น 3 ของ โมโนโพลี พาร์ค (Monopoly Park) มีบุฟเฟ่ต์บาร์บีคิว 499 บาท หรือบุฟเฟ่ต์ชาบู 359 บาท
http://eat.edtguide.com/328387_hajime-robot-restaurant1
http://www.applicadthai.com/business/it-update/hajime-robot

พฤติกรรมเจ้านาย ที่ไม่ดี แต่ปรับปรุงได้

boss in some organization
boss in some organization

พบ slide ของ  San Santipong Jan 22,2009
เนื้อหาท่อนแรก .. เล่าเปรียบเทียบ พฤติกรรมการทำงาน กับ ผลตอบรับ
เนื้อหาท่อนที่สอง .. เล่าว่าลักษณะเจ้านายเป็นอย่างไร
ที่ http://www.slideshare.net/hellleek/boss-management-presentation

ผมว่านะ เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ และมีข้อบกพร่องอยู่
ถ้าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เขาจะมีคุณธรรมจริยธรรม และอื่น ๆ อีกมากมายที่ดี เช่น

เร็ว ก็ชมว่ายอด
ช้า ก็เข้าช่วยเหลือ
โง่ ก็ส่งอบรม
ฉลาด ก็วางใจให้ทำงาน
ทำก่อน ก็เป็นนวัตกรรม
ทำทีหลัง ก็ slow but sure
คนดี เรียกมาใกล้ ๆ
คนชั่น เก็บไว้ให้ใกล้กว่า
เกลียด คนคด
หลง คนซื่อ
ชอบกิน มะระ
แต่ให้ มะยม
หัวตัวเอง ยกให้ลูกน้อง
ชอบหาหัวใหม่ นอกองค์กรมาสวม
คนดี จึงวิ่งเข้าหา
คนที่เดินหน้าจึงมีแต่ คนทำงาน

.. อ่านขำ ๆ ครับ เพราะผมก็โดนบ่อย ๆ
.. โดยที่บ้านเขเอาขี้เฮะไปขว้าง พอช้า ก็ว่าอืดอาด บ่อยเลย

เรื่องเล่าเกี่ยวกับ ความซื่อสัตย์ และวิธีการสอนคน

คุณครูขับรถฝ่าไฟแดง
คุณครูขับรถฝ่าไฟแดง

หัวหน้า แชร์เข้ากลุ่มของหัวหน้า .. เหมือนกับแนะให้ดูตัวอย่างเรื่องความซื่อสัตย์

* เรื่องราวมีอยู่ว่า

ครูหญิงสูงวัยถูกส่งขึ้นศาลข้อหาขับรถฝ่าไฟแดง
พอรู้ว่ามีอาชีพเป็นครู ผู้พิพากษาก็หัวเราะแล้วพูดว่า
ผมรอครูมาขึ้นศาลนานแล้ว
(ท่าทางเก็บกด)
ศาลขอสั่งปรับ ๑๐๐๐ บาท แล้วให้คัดลายมือ
สามหน้ากระดาษ “ชั้นจะไม่ขับรถฝ่าไฟแดงอีก

https://www.facebook.com/69gagInThai/photos/a.572259152837836.1073741825.342532065810547/932273583503056/

* ผมว่าคุณครูของผู้พิพากษา .. สอนเด็กได้เยี่ยมมาก

1. สอนให้ .. ผู้พิพากษา .. ไม่เห็นแก่คนที่มีอาชีพครู
ตัดสินด้วยความซื่อสัตย์ ตามหลักฐาน ตามกฎเกณฑ์
2. สอนให้.. ผู้พิพากษา .. รู้ว่าการคัดคำซ้ำ ๆ จะช่วยให้จำได้
ที่ผู้พิพากษาได้ดี และประสบความสำเร็จได้ .. คงเพราะวิธีนี้
จึงใช้วิธีนี้เสมือนลงโทษครู แต่เป็นการช่วยให้ครูไม่ทำผิดอีก

แล้วถ้าเพื่อน ๆ เป็นผู้พิพากษา จะเห็นแก่อาชีพของผู้ทำผิดกฎหมายรึเปล่า
แล้วปล่อยตัว เพราะท่านเป็นครูหญิงสูงวัย

เสนอว่า ตอบให้เข้ากับการเมืองไทยยุคนี้หน่อยนะครับ

การต่อสู้ภายใน – หมาป่าสองตัวในตัวเราทุกคน

มนุษย์เราไม่มีใครดีเปอร์เฟค 100% หรอก
มาดูกันว่าหัวหน้าของคุณแสดงบทบาทของ เจ้านาย และ ผู้นำอย่างละกี่เปอร์เซ็น
ถ้ามอง หัวหน้า เป็น เจ้านาย แสดงว่าบทบาทของ ผู้นำ ก็ต้องน้อยกว่า
นั่นก็เท่ากับมีหมาป่าตัวใดตัวหนึ่งในเรื่องนี้เป็นฝ่ายครอบงำ หัวหน้า
http://www.thaiall.com/blog/burin/7398/

ปู่เฒ่าเผ่าเชอโรกี เล่าเรื่องหมาป่าสองตัว
ปู่เฒ่าเผ่าเชอโรกี เล่าเรื่องหมาป่าสองตัว
หัวหน้าเล่าเรื่อง หมาป่าสองตัวในตัวเราทุกคน ได้อย่างน่าสนใจ
ในการประชุมเรื่องแผนกลยุทธ์ปี 2558 วันที่ 23 กรกฎาคม 2558 ห้อง Auditorium
มีหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจ คือ “การต่อสู้ภายใน
ปู่เฒ่าเผ่าเชอโรกีพูดกับหลานชายของเขา
มีสงครามระหว่างหมาป่าสองตัวภายในตัวเราทุกคน
ตัวหนึ่ง คือ อีวิ่ว (Evil) ตัวเมีย
มัน คือ โกรธ (anger) อิจฉา (jealousy) โลภ (greed) ไม่พอใจ (resentment) ความด้อย (inferiority) โกหก (lie) และยึดมั่นในตน (ego)
อีกตัวหนึ่ง คือ กูด (Good) ตัวผู้
มัน คือ สนุก (joy) สงบ (peace) รัก (love) หวัง (hope) นอบน้อม (humility) เมตตา (kindness) เอาใจใส่ (empathy) และซื่อสัตย์ (truth)
แล้วหลานชายก็ถามปู่เฒ่าของเขาว่า “ตัวไหนชนะ
ปู่เฒ่าตอบว่า “ก็ตัวที่เอ็งเลี้ยงไว้นั่นหละ

เจ้านาย กับ ผู้นำ
เจ้านาย กับ ผู้นำ

ปัญหาของ #เจ้านายกับผู้นำ
เลือกที่จะเป็น และเลือกที่จะชอบได้
https://www.facebook.com/aom.chayakorn/posts/1337340889615241

สตาร์ท httpd ไม่ขึ้น ทำอย่างไรดี

httpd start ไม่ขึ้น
httpd start ไม่ขึ้น

วันนี้ (15 ก.ค.58) คุณ ต. ถามพี่ ส. จากเครือ น. ว่าทำไม
สตาร์ท httpd ไม่ขึ้น แล้วพี่เขาตอบมาว่า
ดูจากแฟ้ม nss_error_log
พบว่า Certificate not verified: ‘Server-Cert’

เมื่อใช้ [root]# certutil -d /etc/httpd/alias -L -n Server-Cert
พบช่วงเวลาที่ใช้งานได้ Validity:
Not Before: Sun Jun 19 21:28:36 2011
Not After : Fri Jun 19 21:28:36 2015

แล้วแนะนำว่ามีวิธีแก้ไข 2 วิธี
วิธีที่ 1. เพิ่มคำว่า NSSEnforceValidCerts off
ในแฟ้ม /etc/httpd/conf.d/nss.conf
วิธีที่ 2. ถอน mod_nss แล้วติดตั้งใหม่ เพื่อให้ได้ Server-Cert ใหม่
#service httpd stop
#rm /etc/httpd/conf.d/nss.conf
#rpm -e mod_nss
#rm /etc/httpd/alias/*
#yum install mod_nss
#service httpd start
ซึ่งวิธีที่ 2 นี้ทำไม่ได้ในเครื่องกับทุกเครื่องนะครับ ทำได้เฉพาะเครื่องที่ลงทะเบียนกับ RHN

มีคำแนะนำที่ https://bugzilla.redhat.com/show_bug.cgi?id=711085

the system is not registered
the system is not registered

ปั่นเพื่อแม่ (Bike for mom) ได้รับความสนใจเกินกว่าความคาดหมายจนล่มในช่วงแรก

ปั่นเพื่อแม่ (Bike for mom) ได้รับความสนใจเกินกว่าความคาดหมายจนล่มในช่วงแรก
ปั่นเพื่อแม่ (Bike for mom) ได้รับความสนใจเกินกว่าความคาดหมายจนล่มในช่วงแรก

ข้อความจาก thaibike.net ว่า
ผู้สนใจร่วมเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ “BIKE FOR MOM ปั่นเพื่อแม่
เพียง 15 นาทีมีผู้สนใจเข้าร่วมลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก
ส่งผลให้เว็บไซต์มีปัญหาขัดข้อง และมีการเพิ่มเครื่องบริการอีกหลายตัวเพื่อแก้ปัญหา
ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ในกรุงเทพ เต็มจำนวนแล้ว 40,000 คน
เช็คที่เหลือแต่ละจังหวัด ได้ที่ศาลากลางจังหวัด

https://www.youtube.com/watch?v=UDnLVEanwnM

ซึ่งผมก็จะร่วมกิจกรรมที่ลำปางด้วย ได้เข้าเว็บไซต์ http://bikemom2015.moi.go.th
หรือ http://www.bikeformom2015.com
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 พบว่าหลังเปิดระบบให้ลงทะเบียนไม่กี่นาที ระบบก็ล่ม ลงทะเบียนไม่ได้
แต่ปัจจุบันลงทะเบียนได้แล้ว และเปิดไปถึง 9 สิงหาคม 2558 ปั่นร่วมกันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2558
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435733620
แล้ววันแรกพบภาพที่คุณ krisda ถ่ายจากทีวีว่าออกข่าวช่อง 3 ด้วย
โพสต์ในกลุ่ม “ลำปาง นครแห่งจักรยาน” ซึ่งการลงทะเบียนออนไลน์เป็นเพียงช่องทางหนึ่ง
อีกช่องทาง คือ การไปลงทะเบียนที่ศาลากลาง ของแต่ละจังหวัด
https://www.facebook.com/groups/723715197696029/permalink/877043582363189/
ส่วน ข่าวช่อง 7 ก็มีที่ http://news.ch7.com/detail/130336/

ที่น่าสนใจว่าเว็บไซต์ล้มนั้น หรือทำไมเว็บไซต์ช้า หรือล้ม
มีคำอธิบายวิธีป้องกันที่ blog.levelup.in.th โดยคุณ heha ซึ่งสรุปไว้ดังนี้
http://blog.levelup.in.th/2011/01/31/why-do-your-website-slow-or-crash%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93/
Database ตอบสนองช้า
1. Database ไม่ได้ใส่ index key ต้องทำกันตั้งแต่ตอนออกแบบระบบฐานข้อมูลกันเลย
2. จำนวนคิวรี่ (Query) ต่อหน้ามีมากเกินไป ก็เป็นการออกแบบเว็บเพจ
3. เว็บไซต์ไม่มีการใช้ระบบ Cache อันนี้เป็นเรื่องการ config server
อยากรู้ว่าใช้ระบบ cache รึเปล่าใช้บริการได้ที่
https://developers.google.com/speed/pagespeed/insights/
ลองตรวจของ จังหวัดในประเทศไทยดูครับ มักพบปัญหา Leverage browser caching
เว็บไซต์ของผมก็มีปัญหา ยังไม่ได้ตามไปแก้ไขเลย
4. Table ถูก Lock บ่อย เนื่องจาก update หรือ insert บ่อย
และเปลี่ยนเป็น innodb แทน myisam เพราะ innodb จะ lock เฉพาะ row
ไม่ lock ทั้ง table จึงช่วยเรื่องความเร็วได้มาก

CPU Server ขึ้นสูง
1. Script php มีปัญหา ไม่ optimize code ให้ดี ไม่ clear ตัวแปรเมื่อเลิกใช้
วนลูปที่ไม่จำเป็น หรือสร้าง object แล้วไม่ใช้ หรือเขียน algorithm ไม่ดี
2. process กิน memory มากไป
เช็คตัวแปรต่าง ๆ และตั้งค่าให้เหมาะสม สำหรับ web server มีให้ตั้งเยอะ

Server Crash บ่อย
1. ลด MaxClients ใน apache config ลง จำกัดจำนวนผู้ใช้ ป้องกัน server ล้ม
2. ตั้งเวลา reboot เครื่อง หากมีเหตุผลที่ตอบได้ว่าจำเป็น
3. เพิ่ม max_connections ของ mysql ก็น่าจะรองรับได้เพิ่มขึ้น
4. อัพเกรดทุกอย่างที่คิดว่าน้อย เช่น cpu, memory, harddisk หรือ bandwidth

ทดสอบการทำงานกับแฟ้มขนาด 1 ล้านไบท์

หน้าตาเว็บเพจที่ทดสอบ
หน้าตาเว็บเพจที่ทดสอบ

ได้มีการเขียนเว็บเพจ และใช้ java script มา 4 เว็บเพจ ทุกเว็บเพจมีขนาด 1 ล้านไบท์เท่ากัน
เพื่อทดสอบการใช้เวลา download ของ script แต่ละเว็บเพจ
ทดสอบใน firefox, chrome และ ie มีประเด็นที่สนใจดังนี้
1. เปิด และปิด script ในเว็บเพจ มีผลอย่างไร
2. การ refresh ของแต่ละ browser เมื่อใช้ no-cache แตกต่างกันหรือไม่

โดยใช้ javascript ในการประมวลผลเวลาของแต่ละหน้า ผลการทดสอบที่น่าสนใจ ดังนี้

การทดสอบที่ 1 พบว่า การส่งค่าผ่าน url จะทำให้ load เว็บเพจทั้งหน้าใหม่
เปิดเว็บเพจ http://www.thaiall.com/html/onemillion.htm ครั้งแรก
ใช้เวลาไป 6186 millseconds
เมื่อคลิ๊กลิงค์ Reload แบบส่ง get ใหม่ ใช้เวลาไป 9784 milliseconds
แต่ถ้า Refresh ผ่าน browser จะเรียก script เดิมจากใน cache ใช้เวลา 23 milliseconds

การทดสอบที่ 2 พบว่า การทำงานใน script เดียว ตั้งแต่ต้นถึงท้าย script จะใช้เวลาน้อยมาก
เปิดเว็บเพจ http://www.thaiall.com/html/onemillionv1.htm ครั้งแรก
ใช้เวลาไป 4 millseconds ซึ่งไม่ได้สะท้อนเวลาจริง
เมื่อเปลี่ยนเป็น Reload หรือ Refresh แบบใด ก็ใช้เวลาเท่าเดิม
เพราะทั้งเว็บเพจมีคำว่า script คำเดียว ทุกอย่างอยู่ใน script เดียว หรือ thread เดียว
ไม่มีการเปิดปิด tag script หลายครั้ง เป็นการทำงานใน thread เดียวกัน
จึงได้เวลาจากการประมวลผลตั้งแต่ต้น thread ถึงท้าย thread ไม่แตกต่างกันมากนัก

การทดสอบที่ 3 พบว่า เป็นการทดสอบที่ยืนยันผลของการทดสอบที่ 1
เปิดเว็บเพจ http://www.thaiall.com/html/onemillionv2.htm ครั้งแรก
ใช้เวลาไป 6077 millseconds
ใช้เทคนิคว่า การเปิด tag script ต้นแฟ้ม และปิดทันที เพื่อบันทึกเวลาเริ่มต้น
แล้วเปิด tag script ท้ายแฟ้ม เพื่อประมวลเวลา และแสดงผล
จะแสดงเวลาที่ใช้ ในการ load เว็บเพจ ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
คือ ใช้เวลาประมาณ 6 วินาที หรือ 6000 millisecond ต่อการ load หนึ่งครั้ง
แต่ถ้าโหลดจากใน cache ของ browser ก็จะใช้เวลาน้อยมาก คือ ไม่กี่ millisecond

การทดสอบที่ 4 พบว่า เป็นการทดสอบโดยเพิ่ม no-cache ที่ header
ว่า <meta http-equiv=”cache-control” content=”no-cache”>
เปิดเว็บเพจ http://www.thaiall.com/html/onemillionv3.htm ครั้งแรก
ใช้เวลาไป 9562 millseconds
ให้ผลเหมือนกับกรณีทดสอบที่ 1 เมื่อทดสอบบน firefox และ chrome
แต่บน ie (internet explorer) 11
การ refresh ของ browser ใช้เวลา 3776 milliseconds หรือประมาณนี้
สรุปว่า ie ยอมรับคุณสมบัติ no-cache ทำให้การ refresh จะ load ข้อมูลมาใหม่ทุกครั้ง
และการ force reload ด้วยการกด Ctrl-F5 สามารถใช้ได้กับทุก browser ที่ทดสอบ

สรุปว่า การเปิดปิด script หลายครั้ง มีผลแตกต่างกับการเปิดครั้งเดียว
การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ขึ้นอยู่กับการออกแบบเว็บเพจ
และคุณสมบัติ no-cache ก็ใช้ได้กับบาง browser เท่านั้น ไม่ควรไว้วางใจ
และการโหลดภาพไม่มีผลต่อเวลาในการโหลดเว็บเพจ เพราะแยกส่วนกันชัดเจน