ปรับสีพื้นเทมเพจรุ่น 9.0 ก่อนส่งเข้า pagespeed หวังได้ 100

เล่าเรื่องกำหนดสีพื้นใน .css ของเว็บไซต์ด้านการศึกษา

ทิสเซิล (Thistle) คือ ชื่อทั่วไปของไม้มีหนาม มีอยู่มากมายหลายสายพันธุ์ โดย มิลค์ ทิสเซิล เป็นพืชสมุนไพรมีฤทธิ์ทางยาที่มีการนำมาสกัดเป็นแคปซูลจำหน่ายเป็นยาบำรุงร่างกาย มีสรรพคุณ เช่น ดีท็อกซ์ ตับ โดยสีของดอกทิสเซิลเป็นสีม่วง ค่าสี RGB ของ thistle คือ #D8BFD8 ในการกำหนดสีบนเว็บเพจสามารถใช้ชื่อสี thistle ได้เช่นเดียวกับ red, green, blue หรือ teal

Thistle is the common name of a group of flowering plants characterised by leaves with sharp prickles on the margins, mostly in the family Asteraceae.

ซึ่งเทมเพจรุ่น 9.0 ของ thaiall.com เปลี่ยนสีพื้นจาก teal สีเขียวนกเป็ดน้ำ เป็น thistle ม่วงอ่อน ก็ด้วยหวังว่าเว็บไซต์จะถูกพัฒนาไปถึงจุดที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาของไทย เพราะการพัฒนาการศึกษาไม่ได้ขึ้นกับใครเพียงคนเดียว พบว่า มีผู้พัฒนาเว็บไซต์ด้านการศึกษาจำนวนมากในระบบของทรูฮิต รู้สึกว่ามีเพื่อนที่คิดเหมือนกันอยู่ในประเทศไทยไม่ใช่น้อย  ถ้านักพัฒนาท่านใดโชคดีก็จะมีผู้สนับสนุนที่ทำให้มีแรงกำลังพัฒนางานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หายไปตามกาลเวลา

ขณะนี้กำลังปรับแต่งรุ่นทดสอบของเทมเพจ 9.0 ให้ผ่านเกณฑ์ประเมินตามมาตรฐานของ Pagespeed insight ของ google.com ทั้ง 4 กลุ่มเกณฑ์ เริ่มจาก
ประสิทธิภาพ (Performance) ตามด้วย การช่วยเหลือพิเศษ (Accessibility) แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) และ SEO (Search Engine Optimization) ซึ่งเงื่อนไขการประเมินเปลี่ยนตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น ภาพที่เหมาะสมก็จะแนะนำให้ใช้ .webp เป็นต้น

แต่การปรับให้ได้ 100 ทุกเว็บเพจนั้น น่าจะทำได้ยาก แต่จะพยายามปรับแก้ให้ได้คะแนนสูงขึ้น เพราะเทมเพจหลักจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรภายนอก (External Resources) เฟรมเวิร์ค (Framework) และไลบรารี่ (Library) ที่เราไม่ได้ควบคุมอีกหลายรายการ เช่น Truehits.net, Histats, Bootstrap หรือฝังโค้ดจาก Google drive  หรือ Youtube.com

https://www.thaiall.com/web2/

ชวนฟัง อ.kirk เล่าประวัติ เคยอยู่วิทยาลัยโยนก ในงาน Some one หนึ่งในหลาย

For A.Kirk at YONOK College (Nation University)

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 มีโอกาสเข้า กลุ่มไลน์เพื่อนโยนก พบว่า เพื่อน ๆ พูดคุยแลกเปลี่ยนกันเสมอ มีเรื่องน่าสนใจมากมาย เช่น เพื่อนบิวแชร์คลิปเมื่อหกปีก่อน ที่ อ. Kirk R. Person,Ph D. พูดเรื่อง MLE ที่ประเทศอินเดีย ส่วนเพื่อนภูเบศร์ ชวนฟัง TEDTalk ของ อ. Kirk ที่พูดในงานประชุมวิชาการวิชาการ หรืองานเปิดตัวสารคดี พบคลิปที่แชร์ผ่านเฟซบุ๊กเป็นเวลาหลายชั่วโมงถ่ายทอด Live จากแฟนเพจ “สารคดี Some one หนึ่งในหลาย” ของ มหาวิทยาลัยมหิดล

MLE = Multilingual Education

ในตอนต้นรายการ ได้ฟัง อ.Kirk เล่าประวัติ ตั้งแต่วัยเด็ก เติบโต มาพบรักที่วิทยาลัยโยนก ไปทำงานบนดอย จนแต่งงาน มีลูกที่น่ารักหลายคน มีลูกสาวได้ร้องเพลงในงานกีฬาสีที่กรุงเทพ ท่านศึกษาเรื่องภาษา พบว่า ประเทศไทยมีมากกว่า 70 ภาษา และในโลกเรามีมากถึง 7151 ภาษา และมีมากถึง 193 ประเทศในสหประชาชาติ ย้ำให้เห็นว่าประเทศไทย หรือคนไทย เราไม่ได้มีเพียงชาติเดียวในโลก

สรุปได้ว่า เราเป็นเพียงหนึ่งในหลายเชื้อชาติ หลายภาษา แตกต่างตามเส้นเขตแดน วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชน และครอบครัว

Some one หนึ่งในหลาย

ท่านนำภาพหมู่ของนักศึกษาวิทยาลัยโยนก (มหาวิทยาลัยเนชั่น)
ขึ้นสไลด์ TEDTalk ซึ่งเป็นช่วงชีวิตอีกช่วงหนึ่งที่ท่านประทับใจ

ในช่วงหนึ่งของชีวิต ของ อ.Kirk ตอนที่ได้มาอยู่ประเทศไทยใหม่ ๆ นั้น ท่านได้ฉายภาพหมู่ของนักศึกษาโยนกปี 2 (ประมาณปี พ.ศ.2532) ที่หน้าอาคารเรียนรวมหลังแรก ของ วิทยาลัยโยนก (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยเนชั่น ปีพ.ศ.2554 และย้ายไปวิทยาเขตใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533) ที่วิทยาเขตศรีปงชัย ต.ชมพู ลำปาง ซึ่งในภาพนั้นมีผมและเพื่อน ๆ รุ่นหนึ่ง ที่เพื่อนบิวได้ capture นำไปแชร์ในกลุ่ม เป็นภาพความทรงจำ ที่ อ.Kirk คิดถึงพวกเราเสมอ

ทุกความพยายามมีค่าเสมอ

ห้องเรียนแห่งอนาคต

เห็นความพยายามของนักเรียน
เห็นความพยายามของครู
เห็นความพยายามของผอ.
เห็นความพยายามของกระทรวง
ทุกความพยายามมีเหตุมีผล
มีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
ตามฐานสมรรถนะ และบริบทของตนเอง
อาจเป็นผู้ทำ ผู้ถูกกระทำ ผู้สนับสนุน
ผู้รับผลบวกหรือผลลบ ผู้ชม ผู้ไม่เข้าใจ
ผู้ทำอย่างสุจริต และไม่สุจริต
ผู้เจตนาสร้างสรรค์ และไม่สร้างสรรค์
หรือผู้สะท้อนคิดอยู่ห่าง ๆ
บน timeline จุดใดจุดหนึ่ง

นักผจญฝัน

“ถ้าคุณคิดว่า การศึกษามีราคาแพง ก็ลองจ่ายราคา ของความไม่ฉลากดูสิ”
Derek Bok

If you think education is expensive,
try ignorance.

ทฤษฎีรักนิรันดร – ดูภาพยนตร์แล้วย้อนดูตน

ปกติผมมักเล่าเรื่องภาพยนตร์ให้นิสิตฟัง
หลายคนเคยดูภาพยนตร์ก็จะเข้าใจ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ 62 ที่ผมเก็บไว้บอกเล่า

ทฤษฎีรักนิรันดร (the theory of everything) – “สตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) นักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวอังกฤษ มีความเชื่อว่าจักรวาลมีวิวัฒนาการตามกฎเกณฑ์ที่แน่นอนชุดหนึ่ง โดยกฎเกณฑ์ที่สมบูรณ์ชุดนี้สามารถให้คำตอบกับเราได้ในคำถามที่ว่า จักรวาลถือกำเนิดขึ้นอย่างไร กำลังจะไปในทิศทางไหน และจะมีจุดจบหรือไม่

The theory of everything

https://entertainment.trueid.net/synopsis/MGvAZbDmJppB

นอกจากนี้ ในผลงานร่วมกับนักคณิตศาสตร์ เซอร์ โรเจอร์ เพนโรส เขาแสดงให้เห็นว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General relativity) ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ บ่งชี้ว่า กาล-อวกาศมีจุดกำเนิดจาก “การระเบิดครั้งใหญ่” หรือ บิกแบง (Big Bang) และมีจุดจบในหลุมดำ (Black hole) ในภาพยนตร์เรื่องนี้ที่เป็นการดัดแปลงมาจากชีวิตจริงของ สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ผู้มีชื่อเสียง และได้เสียชีวิตไปในวัย 76 ปี เมื่อปี พ.ศ.2561 ในวัย 22 ปี เขาถูกวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อม จากในภาพยนตร์ เป็นการเล่าเรื่องชีวิตรักของเขาและภรรยา และอาการหนึ่งที่ปรากฎจากโรค คือ การล้ม ซึ่งเกิดจากการสั่งให้ขาก้าวไป แต่ขาไม่ได้ก้าวออกไปอย่างที่สั่งการ แล้วอาการก็เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนช่วยเหลือตนเองไม่ได้ในที่สุด มีภาพยนตร์อีกหลายเรื่องสะท้อนชีวิตของผู้ป่วย การเจ็บป่วยทางร่างกาย ทำให้ได้เห็นถึงปัญหาสุขภาพ ความไม่แน่นอนของชีวิต และความแน่นอนว่ามนุษย์เราต้องเจ็บป่วย และตายในสักวันหนึ่ง”

https://www.thaiall.com/handbill/getapart.php?k=top-62

ศูนย์ไลก์ Zero like กับ ล้านไลก์ Million likes

โดยปกติ เรามักสนใจผู้คนรอบตัวเรา เพราะเราเป็นสัตว์สังคม และมักใช้เครือข่ายสังคม เพื่อสื่อสารพูดคุยกับเพื่อน หรือคนรู้จัก มีอยู่วันหนึ่งเข้าไป ส่อง ดูเฟซบุ๊กของคนที่ไม่ใช่เพื่อน เพราะสถานะบนเฟซบุ๊กบอกว่าเรายังไม่ใช่เพื่อนกัน พบว่า มีหลายโพสต์ของเพื่อนคนที่ไม่ใช่เพื่อน มียอด like เป็น 0 และมีจำนวนโพสต์แบบ zero like นี้มากกว่าโพสต์ของผมอย่างชัดเจน เพื่อนคนนี้เป็นคนแรก ที่พบสถิติ zero like สูงขนาดนี้ รู้สึกว่าตัวเลขเราจะใกล้เคียงกัน คือ เข้าใกล้ 0 แต่ของผมจะยอด like สูงกว่าหน่อย

แต่สำหรับผมแล้ว การมีโพสต์ที่มี zero like ถือว่าเป็นปกติ โดยเฉพาะในแฟนเพจ รวมเพื่อนไทยออล หรือ สวนนายบู เพราะผมไม่ตั้งใจโพสต์เพื่อให้ได้ like จากกลุ่มเป้าหมาย เช่นเดียวกับเพื่อนที่ผมเข้าไปพบโพสต์เหล่านั้น ซึ่งพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดของคนที่มี zero like คือ
1) ไม่พยายามสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเฟส
2) เรื่องที่แชร์ไม่อยู่ในความสนใจของเพื่อนเฟส
3) มีวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่ของตนเอง

อยากถามว่า ท่านเคยพบคนที่มีพฤติกรรม 3 ลักษณะนี้หรือไม่

https://www.thaiall.com/socialmedia/

ในสื่อสังคม ยอดติดตาม ยอดเข้าถึงโพสต์ ยอดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ ยอดไลก์ ยอดแชร์ ยอดแสดงความคิดเห็น สะท้อนถึงจำนวนสมาชิกที่เกี่ยวข้องในมุมมองที่หลากหลาย จากภาพในโพสต์ของ Wiriyah Eduzones เมื่อ 12 ก.พ.2566 พบว่า เกิดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ในระดับหลักล้าน เท่ากับมีข้อมูลเข้าจำนวนมาก เมื่อท่านได้ สรุปเอาความคิดและข้อมูล นั่นหมายถึง เสียงของประชาชนกลุ่มนี้ ว่าสรุปไปในทิศทางใด ที่จะเสนอต่อไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทางด้านการศึกษา

ผมชอบติดตามเรื่องราวในเพจของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ชอบอ่านความคิดเห็นของคุณครู แล้วเก็บเรื่องราวไปเล่าให้นิสิต คุณครู เพื่อนได้รับทราบ เพราะเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ บางเรื่องสื่อส่วนกลางก็นำไปแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง เช่น “จรรยาบรรณวิชาชีพครู กับคำถามครูสวมชุดว่ายน้ำ” เมื่อหันไปมองเทียบกับโพสต์ศูนย์ไลก์ ที่อยู่บนเพจของผม หรือในโปรไฟร์ของผม ก็ทำให้คิดถึง Input, Process, Output, Outcome หรือ Feedback ที่มีต่อเป้าหมายของแต่ละโพสต์ รวมถึง SEO, Promotion และ Ranking ว่าจะถูกพัฒนาต่อยอดไปอย่างไร

Wiriyah Eduzones

ทานข้าวกับเพื่อนที่อุดรนัว

ทานข้าวตอน กับ #เพื่อน2565
ถือเป็นเรื่องปกติของเพื่อนที่ทำงาน
ที่มักออกไปหาของอร่อยยามเที่ยงวัน
แต่ปี 2565 เป็นปีที่ไม่เหมือนเดิม
ในกลุ่มนี้นับได้ 8 คน เมื่อรวมช่างภาพ
นี่เป็นภาพแห่งความทรงจำอีกภาพหนึ่ง
เป็นภาพสุดท้ายที่ถ่ายได้ในวันนี้
เรานัดกันมา
พบกันที่ร้านอุดรนัว แม่ค้ายังคนเดิม
ย้ายจากติดถนน มาอยู่เกือบสุดซอย
ทำเลมีความพร้อมหลายด้าน
คนเข้าร้านต่อเนื่อง
ดูแล้ว น่าจะเป็นลูกค้าประจำ
มีต้นลั่นทมสองต้นอยู่ในร้านคอยให้ร่มเงา
มีหัวข้อพูดคุยระหว่างมื้อที่หลากหลาย
ก็จะเน้นเรื่องอาหารการกิน
ว่าคนไหนชอบแบบไหน
แซบมากน้อยต่างกัน
ใครกินอะไรได้ อะไรไม่ได้
จานไหนอร่อย จานไหนเผ็ด
ในกลุ่มของเรา
พูดถึงไข่ขาวที่ต้มเก็บไว้เป็นแผง
กินแล้วดีต่อสุขภาพแบบขั้นสุด
ฟังแล้วอยากวาร์ปไปต้มไข่กินตอนนั้นเลย
เพราะผมซื้อไข่ขาวสกัดให้ผู้ใหญ่บ่อย ๆ

เราคุยเรื่องงาน เรื่องสอน เรื่องเด็ก เรื่องไหว้ครู
โผล่มาเป็นหัวข้อสนทนาบ้าง
เหมือนประชุมคณะนอกสถานที่
ก็จะประมาณนั้น ผมก็นั่งฟังเพลิน ๆ
สรุปว่า ขากลับ แวะซื้อกล้วย มัน กรอย
แล้วต่อด้วยชากาแฟ ทำให้สดชื่นขึ้น
ถ้ามีโอกาสคงกลับมาทานข้าวกันอีกนะ

นัดกันทานเที่ยงที่ร้านอุดรนัว

ด้วยรักและผูกพันธ์

ทำงานกับเพื่อนมาก็หลายปี
อยู่สำนักวิชาการไม่กี่ปี
แต่เหมือนอยู่มาได้ 35 ปี
ส่วนคณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
ก็เหมือนเรียนจบคณะนี้
ทำงานเป็นคุณครูคณะนี้
หัวหน้าก็มีมาหลายคนแล้ว
วันนี้ ดร.อัศนีย์ ณ น่าน ผอ.สำนักวิชาการ
เลี้ยงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
ขอบคุณสำหรับอาหารแซบ ๆ
ที่ #อุดรนัว 15 ธ.ค.2565

ที่ #อุดรนัว 15 ธ.ค.2565

เพื่อน2565 – ก่อนวันแม่หนึ่งวัน

เพื่อน2565 – ก่อนวันแม่หนึ่งวัน

ชีวิตคนเราก็ต้องมีเพื่อนบ้างหละครับ
เพื่อนทำงาน เพื่อนเรียน เพื่อนบ้าน
เพื่อนรุ่นพี่ เพื่อนรุ่นน้อง เพื่อนร่วมรุ่น
เพื่อนเก่า เพื่อนกัน ว่าที่เพื่อน
เพื่อนที่เราพึง ที่พึงเรา ที่พึ่งกันและกัน
มีพบ มีจาก มีสุข มีทุกข์ร่วมกัน
ตอนคุณแม่ของผมท่านจากไป
ก็จะเหงา ๆ เศร้า ๆ คิดอะไรไม่ออก
จำได้ว่า
มีเพื่อนของท่าน ที่เคยไปมาหาสู่กัน
มาร่วมส่งท่านจากทั่วสารทิศ
ท่านอยู่ในหลายสังคม
เป็นที่รักของเพื่อน ๆ
ยังนึกขอบคุณน้ำใจของทุกท่านอยู่เสมอ
ที่มาส่งคุณแม่ เมื่อต้นปี 2564
ชีวิตของคนเรา
แต่ละคนก็จะมีวิถีชีวิตที่ต่างกัน
ไม่มีใครมีเส้นทางชีวิตเหมือนกัน
อาจเดินมาบรรจบ เดินร่วมกัน เดินแยกกัน
สรุปว่า คิดถึงเพื่อน และผู้มีพระคุณทุกท่าน
ก็เพียงอยากบันทึกวันสำคัญอีกหนึ่งวัน
ก่อน #วันแม่ 1 วัน – #11สิงหาคม2565

วิ่งขึ้นดอยเนินสปิริต

ในช่วงนี้ เป็นช่วงจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม
รับขวัญ รับน้องใหม่ของทุกคณะวิชา ที่ #มหาวิทยาลัยเนชั่น
พบว่า อ.สิทธิโชค โควาบุญพิทักษ์ คณะนิเทศศาสตร์
ทำคลิปสรุปกิจกรรมทั้ง 5 วัน
ที่นำเสนอได้อย่างน่าตื่นตา
พบว่า มีเพื่อน ๆ นำคลิปไปแชร์ต่อหลายท่าน
มียอดไลค์ ยอดแชร์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

เป็นคลิปที่ยอดเยี่ยม ภาพชัด และใช้โดรน
มีคลิปของวันที่ 3 สิงหาคม 2565
ที่นิสิตจับมือกันวิ่งขึ้นดอย ได้ดูเพียงรอบเดียว
รู้สึกชอบ และเลือกใช้คลิปนี้เลย
จึงตัดสินใจนำคลิปนั้นมาเล่าต่อ ว่า มีความน่าสนใจเพียงใด
ประกอบกับการเตรียมบทเรียนการทำคลิป
ด้วยโปรแกรม Powerpoint
ซึ่งการบันทึกคลิปด้วยโปรแกรมนี้
เราสามารถแทรกคลิปตัวผู้บรรยายในระหว่างบรรยาย
ที่มุมล่างขวาของคลิปวิดีโอก็ได้
ซึ่งถือว่าเป็นอีกทางเลือกในการทำคลิปวิดีโอ
นอกเหนือจาก kinemaster, inshot, capcut, canva, viva
ที่อยากจะแนะนำนิสิตว่า
เราทำคลิปด้วยเครื่องมือนี้ก็ได้ เป็นโปรแกรมที่ใครก็รู้จัก
ขั้นตอนนั้น เริ่มจาก
ดาวน์โหลดคลิปที่มีการแชร์ในเฟสบุ๊ค
เลือกความละเอียดที่ไม่ต่ำเกินไป และได้แฟ้ม .mp4
ประกอบกับ เครื่องที่ทำงานมี RAM ที่มากพอจะรับมือได้
โปรแกรมเป็น Office 2019 และ Win 10
นำคลิปที่ได้ไป Insert บน Slide ใน Powerpoint
ซึ่งงานนี้มีเพียง slide เดียว และมีเพียงคลิปอยู่บนสไลด์
จากนั้นบันทึก Slide show ทันที
โดยไม่ได้เตรียมข้อมูลการเล่าเรื่องไว้ก่อน
และตั้งใจบันทึกแบบม้วนเดียวจบ
จึงไม่ได้ Pause ทีละ Scene เพื่อพูดถึงรายละเอียดในภาพ
ทำให้รู้สึกว่าช่วงบันทึก เร่งตนเองระหว่างเล่าเกินไป
ถ้ามีโอกาสทำคลิปแบบนี้อีก จะต้องหยุดในซีนที่น่าสนใจ
แล้วเล่าออกไปอย่างใจเย็น
เพื่อให้การนำเสนอรายละเอียดมีความครบถ้วนยิ่งขึ้น

ปฐมนิเทศน์ นิสิตใหม่

เปิดเรียน

วันนี้ (จันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2565) นิสิตทั้ง 6 คณะเข้ากิจกรรมปฐมนิเทศ เป็นวันแรกของการเปิดปีการศึกษา ของ #มหาวิทยาลัยเนชั่น เห็นนิสิตพร้อมหน้าพร้อมตา หิ้วกระเป๋า สมุด ปากกา เดินเป็นระเบียบเรียบร้อย ออกจากหอไปเข้าห้องประชุมใหญ่ หลายคนเลือกเดินผ่านอ่างตระพังดาว หลายคนเดินตามถนนผ่านสวนป่า หลายคนแว้นมอเตอร์ไซค์มาหน้าอาคาร หลายคนชมชอบธรรมชาติอ้อมไปทางสนามกีฬา ปีนี้ ผู้บริหาร ผช. ผอ. คณบดี อาจารย์ เจ้าหน้าที่ รุ่นพี่ รุ่นน้อง ญาติพี่น้อง ก็ตื่นเต้นเห็นนิสิตใหม่พร้อมเพรียง เข้ากิจกรรม #เตรียมความพร้อม #รับน้องใหม่ ให้นิสิต พร้อมทางวิชาการ วิชาชีวิต มีสติ มีขวัญกำลังใจ พร้อมทั้งกายใจ อ.ใหญ่ (ธวัชชัย แสนชมภู) เตรียมต้นไม้ไว้หลายร้อยต้น ทำกิจกรรมปลูกต้นไม้ สร้างความเขียวขจี ให้แผ่นดินชุมชื้นมีชีวิตชีวาอีกครั้ง อ.แม็ค (วีระพันธ์ แก้วรัตน์) ก็เตรียมนิสิตรุ่นพี่ ทำกิจกรรม สร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างเพื่อนและพี่น้อง อีกหลายฝักหลายฝ่าย ก็เตรียมพร้อมในปีนี้กันอย่างสุดกำลัง

ปล. อยากบอกว่า ให้นิสิตใช้โทรศัพท์ เก็บภาพถ่ายที่ประทับใจไว้ เอาไว้คัดเลือกออกมา บอกเล่าเรื่องราว

ความทรงจำ ในแบบ #storytelling

เป็นกิจกรรมฝึกประสบการณ์ การเล่าเรื่องตาม #ลักษณะบุคคล 🙂

หนึ่งสมอง สองมือกับหนึ่งใจ ในแต่ละบุคคล

หนึ่งสมอง สองมือกับหนึ่งใจ อยู่ในบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป สอดคล้องกับ ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ที่ Learning Outcome ต้องสะท้อนมาเป็นผลลัพธ์ 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) ด้านความรู้ 2) ด้านทักษะ 3) ด้านจริยธรรม 4) ด้านลักษณะบุคคล

มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565

มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ได้กำหนด ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา เมื่ออ่านแล้ว พบว่า สิ่งแรกที่ได้จากการศึกษา คือ การพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีปัญญาแก้ปัญหาได้

เมื่อมีความรู้ ความเข้าใจ ได้นำไปใช้ประโยชน์ และลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ก็จะได้ทักษะ ความชำนาญ นั่นคือเมื่อใดที่ลงมือปฏิบัติก็จะได้ผลลัพธ์เช่นเดิม เป็นมาตรฐานที่เชื่อถือได้ เช่น ทำอาหารก็จะได้รสชาติเดิม ฉีดยาก็จะเข้าถูกเส้นเลือด ถอนฟันก็จะนำออกถูกซี่ ผสมปูนก็จะได้สัดส่วนที่พอดี ก่ออิฐกำแพงบ้านก็จะเป็นเส้นตรง

เมื่อปฏิบัติการงานใดก็ต้องยึดมั่นในความสุจริต เคารพในสิทธิ มีศักดิ์ศรี รู้หน้าที่ของตนเอง ตั้งอยู่บนคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นสมาชิกที่มีคุณภาพของสังคม

การเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับตัวตนของผู้เรียน ที่เรียกว่า ลักษณะบุคคล ซึ่งบุคคลย่อมมีความเชื่อ ความสนใจ ฐานคิด และสมรรถนะที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การใช้ความรู้ การประกอบอาชีพ การศึกษาเรียนรู้มีความยืดหยุ่นตามลักษณะบุคคล