วัดต้นแบบลดปัจจัยเสี่ยง

กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่ส่งเสริมให้ครอบครัวเข้มแข็ง คนในบ้าน ในสังคม อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ลดโรคภัยเบียดเบียนก่อนวัยอันควร ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การพนัน และยาเสพติด ซึ่งการลดปัจจัยเสี่ยงไม่ใช่กิจกรรมที่ต้องทำเฉพาะบ้าน และโรงเรียนเท่านั้น แต่ถ้าเกิดความร่วมมือกันอย่างจริงจัง ของบ้าน วัด และโรงเรียนก็เชื่อได้ว่าจะเสริมพลังที่ทำให้ปัจจัยเสี่ยงต่อสังคมครอบครัวลดลงได้

พบว่า พระครูสิริธรรมบัณฑิต (ภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี ป.ธ.๕) เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองมูล จังหวัดลำปาง ได้แชร์ภาพที่ท่านได้ัรับ ป้ายวัดต้นแบบลดปัจจัยเสี่ยง ซึ่งเป็น 1 ใน 20 วัด โครงการนี้ได้รับการสนับสนุน โดย โครงการการพัฒนาเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 จาก พระเดชพระเดชพระคุณ พระเทพเวที รศ.ดร. เจ้าคณะภาค 6 เป็นประธานมอบป้ายในครั้งนี้

การพิมพ์เอกสารเป็นภาพ

วันนี้ (27 พ.ค.65) ช่วยเพื่อนเตรียมโปสเตอร์ จากบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยใช้สัดส่วน 8 นิ้ว * 18 นิ้ว ซึ่ง word สามารถรับเอกสารขนาดนี้ได้ การแปลงเอกสาร word ไปเป็น png โดยใช้โปรแกรม word นั้น ไม่สามารถทำได้โดยตรง ซึ่งผมเลือกวิธีการติดตั้ง pdfcreator ซึ่งใช้มานานตั้งแต่สมัยที่ถูกแนะนำในซีดีจันทราแล้ว

โดยเลือกพิมพ์ (print) แล้วเลือกเครื่องพิมพ์ชื่อ pdfcreator เมื่อเปิดโปรแแกรม pdfcreator ขึ้นมาโดยอัตโนมัตินั้น ก็ต้องเข้าไปเลือกแบบกำหนดขนาดเอง (Postscript custom page size) เนื่องจากขนาด 8 นิ้ว * 18 นิ้ว ไม่ใช่ขนาดกระดาษทั่วไปแบบ A4 หรือ Letter เมื่อกำหนดขนาดกระดาษเป็นตามที่ต้องการใน PDFCreator ขณะสั่ง print แล้ว พบว่า แฟ้ม png ที่ได้มีเนื้อหาถูกตัดหายไป หรือมาไม่เต็มหน้า

แล้วสังเกตว่า pdfcreator ที่ใช้อยู่เป็นรุ่น 1.7.2 ที่ติดตั้งมาตั้งแต่ปี 2562 เมื่อไปดูในเว็บไซต์ของซอฟต์แวร์พบว่า รุ่นใหม่คือ 4.4.2 จึงเลือก uninstall แล้ว install ใหม่ ผลปรากฎว่า ผลลัพธ์ในแฟ้ม pdf ออกมาครบตามเนื้อหาที่ได้จัดเตรียม

ร่างโปสเตอร์

การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 20

เปิดอ่านนู่นนั่นนี่ แล้วได้พบเรื่อง ปลูกถ่ายแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 20 วันเสาร์ที่ 25 และวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2565 ณ อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล พบว่า เพื่ออาจารย์หลายท่าน นำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมครั้งนี้ ผมเข้าไปที่ ตรวจสอบสถานะ แล้วก็ค่อย ๆ เลื่อนดูชื่อ พบ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.พัชรีภรณ์ หรพร้อม อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ ส่งผลงานเข้าไปในระบบแล้ว ไปดูหัวข้อกำหนดการ พบว่าหมดเขตส่งผลงาน 31 พฤษภาคม 2565 โดยครั้งนี้มี นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็นปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการ

https://oldweb.western.ac.th/westernnew/wtu-research/

ถ้าเด็กมีสมรรถนะในการตัดผม หลักสูตรฐานสมรรถนะจะช่วยหนุนนำ

ประเทศไทย มีนักวิชาการรวมกลุ่มกัน
และได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ
เพื่อร่วมกันยกร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ
ที่จะบังคับเปลี่ยนให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศไทย
ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่งสนับสนุนให้เด็กไทย
ได้เรียนรู้ และพัฒนาสมรรถนะของตน
ตามความต้องการ ตามสมรรถนะ
และความถนัดของแต่ละบุคคล
อย่างสร้างสรรค์ อย่างสุจริตไทย
เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะเลือกเรียน
ดังคำว่า อยากเรียนต้องได้เรียน

http://www.moesafetycenter.com

เช่น
นักเรียนอยากมีทรงผมในแบบของตน
นักเรียนอยากมีทรงผมตามสายอาชีพในอนาคต
นักเรียนอยากเป็นอินเฟลูเอนเซอร์
นักเรียนอยากเป็นช่างตัดผม
หลักสูตรฐานสมรรถนะก็จะสนับสนุน
ให้เด็กได้เรียน ได้มีทักษะในการตัดผมตามสมรรถนะ
ไว้ทรงผมตามสิทธิ์ของตน
ได้รับการสนับสนุนโดยไม่มีการขัดขวาง
อยากมีสมรรถนะแบบใดก็ได้แบบนั้น
แต่ถ้ามีใครทำร้ายเรา แจ้งที่ #moesafetycenter ได้

https://www.thaiall.com/education/competency_based_curriculum.htm

ใครคิดไม่อยากเป็นช่างตัดผม
ฝึกตัดผม ไว้ผมทรงฮิต **เขาไม่ได้คิดผิด**
เขาแค่ไม่มีธุรกิจร้านตัดผมที่บ้านแบบเรา
และไม่ได้ดูภาพยนตร์เรื่อง #คิดถึงวิทยา
(Teacher’s Diary)

https://web.facebook.com/ajWiriya/posts/pfbid02JmZiqEZzVV1uPX5fC5MsiNPfYQPcK7NtJkUp1YXmMMLNrpo8r9Wa9rigLexQBYUnl

เรียกชื่อให้ตอบ

การเรียนการสอนแบบ Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านการลงมือทำที่ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น 1) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) 2) รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) 3) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) 4) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) 5) รูปแบบการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีวิจัย (Research-Based Learning)

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีประโยชน์ ดังนี้ 1) พัฒนาการมีส่วนร่วม ความคิด และทักษะ 2) มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อใช้พัฒนาผู้เรียน 3) ให้ความสำคัญกับความแตกต่างของผู้เรียน 4) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด และนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้และปฏิบัติจริง 5) สร้างเครือข่ายระหว่างบุคคล และสื่อการเรียนรู้ 6) พัฒนาทักษะที่สำคัญให้กับผู้เรียน 7) ผู้เรียนมีความมั่นใจในการทำผลงานของตน 8) สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

อ่าน บทความปริทัศน์ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ สู่ Thailand 4.0 : Active Learning โดย กาญจนา บุญภักดิ์ และ สุวรรณา อินทร์น้อย ในวารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 พบ กลวิธีหนึ่ง ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ อาจต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่ทำการสอน คือ “การแสดงความคิดเห็นเป็นรายบุคคล โดยการเรียกชื่อให้ตอบ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียน คิดคำตอบไว้ล่วงหน้าตลอดเวลา เพราะคิดว่าผู้สอนอาจถามตนเองเป็นคนต่อไป”

https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/download/146253/107851/

http://www.thaiall.com/education/indexo.html

ดัชนีความคล้ายคลึง

ตามที่ได้อ่านจาก thailibrary.in.th พบว่า Pharmaceutical and Biosciences Journal และ Bentham Science ได้ระบุในเงื่อนไขการรับบทความวารสารต้นฉบับเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ว่า อนุญาตให้มีความคล้ายคลึงกันโดยรวม 20% สำหรับต้นฉบับที่จะพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ และมีความคล้ายคลึงกันของข้อความจากแหล่งเดียวที่ยอมรับได้คือ 5% ดังนั้น เรื่อง “ดัชนีความคล้ายคลึง” ระบุให้ 1) ความคล้ายคลึงโดยรวมไม่เกินร้อยละ 20 2) ความคล้ายคลึงจากแหล่งเดียวกันไม่เกินร้อยละ 5 พบว่า บางสถาบันกำหนดละเอียดลงไปว่า “ส่วนของผลการวิจัยและอภิปรายผลต้องมีค่าไม่เกินร้อยละ 10” เป็นเงื่อนไขที่น่ายึดเป็นแนวปฏิบัติสำหรับนักวิชาการที่ต้องการตีพิมพ์ผลงาน และตรวจสอบความเหมือน ด้วย อักขราวิสุทธิ์

https://www.thaiall.com/research/apa.htm

thailibrary.in.th
ukjpb.com

พัฒนาสมรรถนะผู้สูงอายุ กรณี โรงเรียนผู้สูงอายุทุ่งกว๋าว

มหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว ทำโครงการ มหาวิทยาลัยเนชั่นบูรณาการวิชาการเพื่อบริการแก่สังคมในสถานการณ์ COVID-19 ประจำปีการศึกษา 2564 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เมื่อวันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2565 โดยมี 6 กิจกรรมพัฒนาสมรรถนะนักเรียนผู้สูงอายุ ดังนี้

  1. การตรวจหาเชื้อไวรัสด้วยชุด ATK (เทคนิคการแพทย์)
  2. การล้างมืออย่างไรให้ปลอดภัย (พยาบาลศาสตร์)
  3. การเดินทางโดยเครื่องบิน (สาขาธุรกิจการบินฯ)
  4. ตรวจสุขภาพฟันและแนะนำการดูแลช่องปาก (ทันตแพทยศาสตร์)
  5. การยืดเหยียดสำหรับผู้สูงอายุ (สาธารณสุขศาสตร์)
  6. เทคนิคการถ่ายภาพเพื่อส่งเสริมการขายสินค้า (นิเทศศาสตร์ + MBA)
    เพิ่มเติม ฐานกิจกรรมวาดภาพระบายสี (ศิลปศาสตร์ฯ)
    ดูแลพิธีการโดย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ (บริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์)

และเป็น โครงการ ดูแล ส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุ โดยหมอมือใหม่ จิตอาสา มหาวิทยาลัยเนชั่นบูรณาการวิชาการเพื่อบริการแก่สังคมในสถานการณ์โควิด (Covid-19) โดย สโมสรนิสิตมหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมกับ คณะกรรมการนิสิต 5 คณะวิชา ซึ่งพบการเล่าเรื่องแบบ Story telling ในสื่อสังคมของมหาวิทยาลัยเนชั่น

โรงเรียนผู้สูงอายุ

https://www.thaiall.com/education/indexo.html

กำหนดการ

ประวัติวัดบ้านต๋อมกลาง

วัดบ้านต๋อมกลาง ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ต.ต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา มีเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 45 ตารางวา
ประกาศตั้งวัด พ.ศ.2346 ผูกพันธสีมา พ.ศ.2350 ก่อนจะสร้างวัดนี้ขึ้น ได้มีราษฎรอพยพมาจาก อ.เมือง จ.ลำปาง เพื่อมาตั้งหลักฐานทำมาหากิน ในราว พ.ศ.2346 โดยมี พระภิกษุแสนภาพ เป็นประธาน พร้อมด้วยทายกทายิกา ก่อสร้างสำนักขึ้นเป็นสถานบำเพ็ญกุศล และได้ไปอาราธนานิมนต์ พระภิกษุพิมสาร จากวัดพระเจ้าทันใจ จังหวัดลำปาง มาเป็นประธานสร้างวัด และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จนสิ้นอายุของท่าน ต่อมาลูกศิษย์ของท่านปกครอบสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาพระภิกษุคำมา ธมมวโส (สอนใจ) เป็นประธานพร้อมด้วยทายกทายิกา ได้ก่อสร้างอุโบสถขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2477 โดยใช้ที่ดินก่อตั้งวัด เดิมมีประมาณ 5 ไร่เศษ ต่อมาสร้างถนนตัดผ่าน แยกที่ออกเป็น 2 แปลง ที่ดินส่วนหนึ่งได้สร้างเป็นตาดสดขึ้นด้านทิศใต้ เพื่อเก็บผลประโยชน์บำรุงวัด ส่วนเขตที่ตั้งวัดและเขตที่ธรณีสงฆ์นั้นมีตามใบ น.ส.3 ของวัดแล้ว

ปี พ.ศ. 2521 พระภิกษุบุญมี วชิรญาโณ
เจ้าอาวาสพร้อมด้วยทายกทายิกา
ได้พร้อมกันซื้อที่ดินด้านทิศเหนือ
ในเนื้อที่ 2 งาน 70 ตารางวา
เพื่อขยายเขตวัดออกไป

สิ่งสำคัญประจำวัดนี้ได้แก่ พระวิหารจำลองหลังเล็ก ซึ่งแกะสลักด้วยมีภาพจิตกรรมของโบราณ ซึ่งพระพิมสาร เป็นผู้สร้าง นายแสงภาพเป็นประธานเจ้าภาพ สร้างเมื่อจุลศักราช 1216 ตรงกับพุทธศักราช 2397 วัดนี้เดิมเรียกว่า “วัดศรีดอนไชย” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “วัดบ้านต๋อมกลาง” จนถึงปัจจุบันนี้ เหตุที่เรียกชื่อวัดและหมู่บ้านนี้ อาศัยมูลเหตุมาจากลำแม่น้ำต๋อม

ผู้เรียบเรียงคือ พระอธิการบุญมี วชิราญาโณ (สอนใจ)

ประวัติวัดบ้านต๋อมกลาง

หลับจำศีลยาว ๆ ทำให้พลังงานถูกใช้จนหมดระหว่างจำศีลได้

ถ้าสนใจบทความฉบับเต็ม หาซื้ออ่านได้จากผู้ให้บริการ
https://doi.org/10.1098/rspb.2022.0456

ตามที่ ทีมนักวิทยาศาสตร์ 3 คน คือ Roberto F. NespoloCarlos Mejias และ Francisco Bozinovic จากมหาวิทยาลัยปอนติฟิคัลคาทอลิก (PUC) และสถาบันสหัสวรรษเพื่อชีววิทยาบูรณาการ (iBio) ของประเทศชิลี เผยผลการศึกษา “Why bears hibernate? Redefining the scaling energetics of hibernation” Published: 27 เมษายน 2022 ว่า สัตว์ที่มีร่างกายใหญ่จะใช้พลังงานมากกว่าสัตว์ที่มีขนาดเล็กในระหว่างจำศีล เช่น หมีก็จะใช้พลังงานมากระหว่างจำศีล ส่วนสุนัขหรือหนูขนาดเล็กก็จะใช้พลังงานน้อยลงไปตามขนาดร่างกาย จาก ผลคำนวณทางคณิตศาสตร์และชีววิทยา ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the Royal Society B ทำให้เชื่อได้ว่ามนุษย์จะต้องใช้พลังงานในระหว่างจำศีล และประหยัดพลังงานได้ไม่มากพอ จนทำให้เสี่ยงที่พลังงานจะหมดระหว่างจำศีลแล้วเสียชีวิต เนื่องจากพลังงานถูกใช้ไปจนหมด โดยเฉพาะถ้าต้องเดินทางในห้วงอวกาศที่ยาวนานนับสิบนับร้อยปี

Nespolo Roberto F., Mejias Carlos and Bozinovic Francisco 2022Why bears hibernate? Redefining the scaling energetics of hibernationProc. R. Soc. B.2892022045620220456
http://doi.org/10.1098/rspb.2022.0456

การมีชีวิตของมนุษย์หรือสัตว์นั้น ร่างกายประกอบขึ้นด้วยเซลล์ พบว่า ร่างกายมนุษย์เราสร้าง 3.8 ล้านเซลล์ใหม่ทุกหนึ่งวินาที ผลัดเซลล์ 80 กรัมต่อวัน ข้อมูลจาก รายงานการวิจัยที่ตีพิมพ์ใน วารสาร Nature Medicine โดย Ron Sender และ Ron Milo พบว่า ในร่างกายของเรามีเซลล์หลายชนิด เซลล์บางชนิดอยู่ได้ไม่กี่วัน แต่ประสาทในสมองส่วนซีรีเบลลัมและเซลล์ไขมันในเลนส์ตา ไม่มีการผลัดเปลี่ยนใหม่ ซึ่งอัตราการสร้างและผลัดเปลี่ยนเซลล์ใหม่ของมนุษย์ พบว่า เซลล์เม็ดเลือดใหม่ผลัดเปลี่ยนได้สูงสุด ซึ่งมากกว่าเซลล์บุผนังลำไส้ใหม่ เซลล์ผิวหนัง และเซลล์ไขมัน นั่นหมายความว่า มนุษย์เราต้องใช้พลังงาน และร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะการสร้างและผลัดเปลี่ยนเซลใหม่ในร่างกายของเรา

https://www.bbc.com/thai/features-55786664
https://stem.in.th/20210124/

PDPA ebook โดย อ.เธียรชัย ณ นคร ใน PDPAthailand.com

PDPA Thailand (Personal Data Protection Act) ได้รับอนุญาตจาก อ.เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในการเผยแพร่เอกสาร “หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรภาคเอกชน” สืบเนื่องในโอกาสที่อาจารย์มาบรรยายให้กับวิทยากรและที่ปรึกษาของบริษัท Digital Business Consult ตลอดจนผู้เข้าอบรมหลักสูตร Train the Trainer รุ่นที่ 1-4 ของสถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล DDTI เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565 ณ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ส่งมอบเอกสารฉบับนี้ไว้

PDPA Guideline สำหรับองค์กรภาคเอกชน โดย เธียรชัย ณ นคร ครอบคลุมบทสรุปของหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นสากล นำเสนอให้องค์กรได้นำไปพิจารณาและปรับใข้ตามความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทในการประกอบธุรกิจ โดยอ้างอิงถึงบทบัญญัติใน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ประกอบ เชื่อว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกองค์กร (ไม่เพียงเฉพาะภาคเอกชน) ที่เริ่มต้นหรือกำลังดำเนินการตาม PDPA กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยที่ “ทุกองค์กรต้องทำตาม” หากมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลอื่นแม้เพียงเล็กน้อย

http://www.thaiall.com/pdpa/index.html

e-book 31 หน้า : [Full] PDPA Guideline for Private Sector การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรภาคเอกชน โดย อ.เธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ คณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล