ปัญหา DNS ไม่รู้จักบางเว็บไซต์

nslookup
nslookup

เล่าสู่กันฟัง พบเหตุ 12 มี.ค.57
1. มีบางเว็บไซต์ที่ผมเข้าไปไม่ถึง
ตรวจสอบแล้ว พบว่าเว็บไซต์นั้นเปิดบริการจริง
แต่ DNS ของ CAT บอกว่าไม่รู้จัก
ซึ่งอาจมี DNS อีกหลายตัว ที่บอกว่าไม่รู้จัก
แต่ DNS เบอร์ 8.8.8.8 ของ google รู้จักครับ
เช่น http://www.scarfbysocute.com
ที่เปิดร้านค้าออนไลน์กับ http://www.lnwshop.com
คาดว่าไม่อัพเดท แต่

2. ทดสอบว่ารู้จักหรือไม่ด้วยคำสั่ง DOS>nslookup
ถ้ากำหนด server ที่จะตอบเรื่อง domain name
เป็น 8.8.8.8 พบว่ารู้จักเรียบร้อยดี
แต่ 122.155.55.55 ของ กสท. พบว่าไม่รู้จัก not found
ทำให้ต้องเปลี่ยน DNS ที่เครื่องตัวเองเป็นของ google ซะแล้ว

3. เคยมีเพื่อนโทรมาถาม จากอีกองค์กรหนึ่ง
ก็ตอบยากนะครับว่า ให้ไปเปลี่ยนการแจก DNS ในองค์กรทั้งหมด
ถ้าให้ใช้ 8.8.8.8 ของ google ก็ดูไม่สมเหตุสมผล
จะเป็นการสร้าง traffic ขึ้นโดยไม่จำเป็น
เพราะต้องแก้ไขให้ DNS ในเครือข่าย ตอบได้ทุกโดเมนถึงจะถูก

การใช้ like box ใน webpage มีหลายแบบ

likebox plugin for webpage
likebox plugin for webpage

เล่าสู่กันฟัง
วันนี้ปรับ option ของ facebook plugin
ตามที่เพื่อนร้องขอมาว่า อยากเพิ่มช่อง streaming อีกหน่อย
ก็พบว่าตัวแปร height กับ show friends’ faces
ขัดกันอยู่ อยู่รวมกันดี ๆ ไม่ได้
ถ้าแสดงหน้าเพื่อนก็จะกำหนดความสูงได้ไม่เกิน 556 px
สรุปว่าในเว็บไซต์หนึ่งขยายความสูงอีกหน่อย แลกกับเอาหน้าเพื่อนออก
ผมว่า work อยู่นะ

การใช้ like box ใน webpage มีหลายแบบ
การใช้ like box แบบไม่แสดงภาพหน้าเพื่อน จะกำหนด height ได้มากกว่า 556 px เป็นค่าที่อธิบายประกอบตัวแปร height ค่า default ใช้ plugin แบบ HTML 5 : div โดยเรียกใช้ script ที่ส่วนหัวก่อน แล้วค่อยใช้ div อีกส่วนสำหรับกำหนดตำแหน่งที่แสดงผล
การใช้ like box แบบแสดงหน้าเพื่อน จะจำกัดความสูงของ post ที่ถูก streaming เข้ามา โดยกำหนดความสูงได้ไม่เกิน 556 px ส่วนความกว้างสามารถกำหนดได้ไม่น้อยกว่า 292 ซึ่งมากกว่านี้ได้

http://www.thaiall.com/facebook

การค้นหนังสืออ่านออนไลน์ฟรี ผ่าน google book

google book
google book

หนังสือคอมพิวเตอร์ที่บ้าน
1. เห็นคุณอนุชิต มีหนังสือ Ubuntu server
แล้วก็อยากได้ คงเป็นเพราะกิเลสคุมความอยากได้อยากมีไว้ไม่อยู่
แล้วนึกถึงหนังสือคอมพิวเตอร์ที่บ้าน ว่ามีอะไรบ้าง
ก็จำได้ว่ามีเยอะพอควร แล้วก็ scan ปกไว้เป็นที่ระลึก เผื่อได้ใช้
วันนี้ได้ใช้ปกหนังสือ web hosting ด้วย ispCP Omega
เผยแพร่ใน http://www.thaiall.com/isinthai/book.php
แล้วก็นำภาพ google book search แบบ [มุมมองทั้งเล่ม]
เพื่อให้สืบค้นแล้วพบแต่หนังสือที่อ่านแบบออนไลน์ได้เลย ไม่ต้องเสียตังซื้อ
จากนั้นก็กลับไปดูหน้าหนังสือที่
http://www.thaiall.com/me/book.php
พบว่ายังไม่ค่อยจะ update เท่าใด จึงเพิ่ม gooble book เข้าไป
2. การหาหนังสืออ่านออนไลน์เป็นเรื่องสำคัญ
เห็นเพื่อนนักวิชาการหลายท่าน น่าจะอ่านหนังสือเหล่านี้
เช่น อ.เกียรติ หรือ อ.เชพ
ส่วนผมไม่ค่อยได้อ่านออนไลน์เป็นเล่ม
เพราะลำพังหนังสือที่บ้าน ที่ซื้อมาแล้วยังไม่ได้อ่าน ก็กว่าครึ่งเลย
เข้าทำนอง อยากครอบครอง พอได้แล้ว ก็ปล่อยทิ้งขว้างไว้ในตู้
3. สมัยนี้เป็นโอกาสของเยาวชนในการได้ใช้ e-book
เห็นว่าเด็กป.1 กับนักศึกษามหาวิทยาลัย
มี tablet pc ซึ่งเข้าถึงหนังสือออนไลน์ได้ง่าย
เพราะถ้าไม่เข้าร้านหนังสือ ก็น่าจะเข้าอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์ได้
ก็เหลือเพียงแต่เข้า google book หรือ scribd.com
ก็จะพบเอกสาร หรือหนังสือมากมาย มหาศาล
ลองค้นดูครับ ที่
https://www.google.co.th/webhp?hl=th&tbo=p&tbm=bks&tbs=,bkv:f&num=20

การใช้คำสั่ง html เขียนลง fpdf

function writehtml
function writehtml

มีลูกศิษย์ชื่อภสุ ไปฝึกงานที่สาธารณสุขเขต และต้องใช้ php สั่งเขียนออกมาเป็น PDF และข้อมูลมีหลายบรรทัด ผมได้รับตัวอย่าง code ที่ใช้แล้ว ก็พบฟังก์ชัน writehtml() เมื่อค้นดูก็พบว่าเป็น add-on ที่พัฒนาขึ้นโดย Aramis เมื่อ download มาใช้งานร่วมกับ pdf-thai ที่ได้จาก thaicreate.com ก็พบว่าใช้งานได้ปกติ

ตัวอย่างโค้ด
<?php
require('writehtml.php');
$pdf=new PDF_HTML();
$pdf->AddPage();
$pdf->AddFont('angsa','','angsa.php');
$pdf->SetFont('angsa','',12);
$pdf->WriteHTML('ดูที่นั่น<br>ดูที่นั่น<br>');
$data = "ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น";
$data .= "ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น";
$data .= "ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น";
$data .= "ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น ดูที่นั่น";
$pdf->WriteHTML($data);
$pdf->Output();
?>

http://fpdf.de/downloads/addons/41/

http://www.fpdf.org/en/script/dl.php?id=41&f=zip

http://resource.thaicreate.com/upload/script/pdf-thai.zip

รศ.ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค

รศ.ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค
รศ.ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค

ทราบข่าวว่า รศ.ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาตร์ มสธ.
ท่านจากไปแล้ว ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ วัดพระยาสุเรนทร์
รดน้ำศพ วันที่ 26 มี.ค.57

ท่านทำคุณงามความดีแก่ประเทศไว้มากมาย
ค้นข้อมูลพบคลิ๊ปหนึ่งที่ท่านออก รายการทีวี Intelligence

http://www.youtube.com/watch?v=YqH30XGmwTk

ท่านเคยมาดูประเมินหลักสูตรนิเทศศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์บางนา
เสียงของท่านใจดีมาก ฟังได้จากคลิ๊ป Intelligence

ในคลิ๊ปมีคำบรรยายว่า
รศ.ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ชี้ว่าปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
คือ การที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้เสรีภาพสื่อ
ซึ่งก็คือหนังสือพิมพ์ วิพากษ์วิจารณ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ได้อย่างค่อนข้างเต็มที่ จนกระทั่งเกิดนักหนังสือพิมพ์ที่มีคุณภาพ
อย่างเช่น กลุ่มสุภาพบุรุษ นำโดย “ศรีบูรพา” กุหลาบ สายประดิษฐ์

http://shows.voicetv.co.th/intelligence/43287.html

เรื่องราวของช่องว่าง (space)

ปัญหาช่องไฟในข้อมูล แบบ text
ปัญหาช่องไฟในข้อมูล แบบ text

พอทราบมาว่า มีหน่วยงานราชการบางแห่ง
มอบหมายให้หน่วยงานที่ขึ้นตรง
กรอกข้อมูลใน excel แล้วจัดเก็บเป็น xls หรือ csv
ส่งให้หน่วยต้นสังกัด หรือหน่วยเหนือนำข้อมูลไปรวมกัน
ซึ่งผมก็ใช้เหมือนกัน เพราะง่ายกับผู้ใช้
แต่วันนี้ นำข้อมูลมาใช้ แล้วพบปัญหาในแฟ้ม regist.csv
ดังภาพ เมื่อนำตารางนี้ไปใช้
พบว่าวิชา 000 250 ตอน 1 ไม่มีปัญหา เชื่อมข้อมูลได้ถูกต้อง
แต่วิชา 000 250 ตอน 2 มีปัญหา เชื่อมไม่สำเร็จ
เพราะตอนพิมพ์รหัสวิชา ตอน 2 มีช่องไฟต่อท้ายรหัสวิชา
ที่ถูกคือ “000 250” แต่ไปพิมพ์ “000 250 “
สรุปว่าไปลบช่องไฟที่ต่อท้ายเลข 250 ในตอนที่ 2
ก็จะทำให้ข้อมูลเชื่อมโยงกันได้ปกติ

ออกแบบโฆษณาในสื่อออนไลน์

facebook infographic
facebook infographic

เตรียมแนวไว้พูดคุยกับนักศึกษา
เรื่อง การออกแบบโฆษณาในสื่อออนไลน์
ซึ่งมีคำสำคัญอยู่ 2 คำคือ
ออกแบบโฆษณา และ สื่อออนไลน์

ซึ่งผมเข้าใจเรื่องโฆษณาน้อยกว่าสื่อออนไลน์
จึงได้ออกแบบการสอนไว้แบบเน้นสื่อออนไลน์
เพราะการออกแบบโฆษณาอย่างเดียวทางสาขาดูแลดีแล้ว
1. เริ่มต้นด้วยการพาเข้า page:thaiall
ไปดูเอกสารแนวการสอนที่ถูก pin ไว้บนสุด
2. แล้วพาเข้า groups/thaiebook/
ให้แนะนำตัว แล้วเห็นว่าเราสามารถใช้ group
จัดพื้นที่เป็นสัดส่วนให้พูดคุยกันได้อย่างเป็นส่วนตัว
มอบหมายให้แนะนำตัว และชื่อองค์กรที่อยากประชาสัมพันธ์ให้
3. เริ่มใช้ promote.pptx
ให้เห็นว่าการประชาสัมพันธ์นั้น ต้องรู้บทบาทของคนในสื่อสังคม
โดยรู้จักใช้คำว่า we + he + they
หาก we เข้มแข็ง ก็จะสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่งในสื่อสังคม
แล้วมาดูตัวอย่างชาวโลกว่า [เขาทำโฆษณากันอย่างไร]
4. เมื่อเห็นตัวอย่าง และเข้าใจแล้ว จะนำไปใช้
ใน profile, page หรือ group ก็ไม่ยาก
ลองให้นักศึกษา ทำแล้วเล่าให้ฟังก็น่าจะดี
5. *** สอนการเขียนเว็บเพจ 3 หน้าด้วย word
ตาม slides.pptx
เน้นให้ออกแบบเว็บเพจ และใส่เนื้อหาเชื่อมกับชื่อองค์กรข้อ 2
แล้วใช้สื่อที่ออกแบบในข้อ 4 มาประกอบการเขียนเว็บเพจ
ให้ฝากเว็บไว้ที่ thainame.net
แล้วส่งผลงานลิงค์โฮมเพจไว้ใน group ข้อ 2
6. สอนการจัดการภาพอย่างง่ายด้วย iview351
เช่น crop, resize, contrast, sharp
เรียนรู้แล้วก็จะใช้ในข้อ 5
7. เรียนรู้การออกแบบภาพเพื่อการโฆษณา
ผ่านการเรียนรู้รูปแบบของ infographic
ที่ใช้ powerpoint ช่วยในการออกแบบ
เรียนรู้แล้วก็จะใช้ในข้อ 5

facebook promote
facebook promote

ลิงค์ที่เกี่ยวข้องอยู่ใน computer color album
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10152168573667272.1073741847.350024507271

หลักกิโลแห่งความทรงจำของลีนุกซ์

หลักกิโลแห่งความทรงจำของลีนุกซ์
(Memorable linux milestones)

20 years of linux
20 years of linux

1991 (2534) นายไลนัส ทอร์วัลด์ส (Linus Torvalds) ได้เขียนข้อความส่งเข้าไปใน News group ว่าสวัสดีทุกคนที่นั่น และเริ่มปล่อย Linux code แบ่งปันแก่นักพัฒนาชาวโลก

1992 (2535) Linux ลิขสิทธิ์แบบ GPL (GNU General Public License) เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ Linux ประสบความสำเร็จ

1993 (2536) Slackware เป็น Linux ตัวแรกที่ถูกพัฒนาสำหรับเผยแพร่ที่ประสบความสำเร็จ

1996 (2539) นายไลนัส ทอร์วัลด์สไปพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ เป็นจุดที่ทำให้เลือกนกเพนกวินเป็นตัวนำโชค (Mascot)

1998 (2541) ยักใหญ่ด้านเทคโนโลยีเริ่มประกาศสนับสนุนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์

1999 (2542) Redhat เข้าสู่สาธารณะ

2003 (2546) IBM ทำให้ Linux มีชื่อเสียง โดยประชาสัมพันธ์ระหว่างแข่งขัน Superbowl

2005 (2548) นายไลนัส ทอร์วัลด์สปรากฎขึ้นปก Businessweek และเรื่องราวความสำเร็จของ Linux

2007 (2550) มูลนิธิ Linux ถูกก่อตั้งเพื่อสนับสนุน ป้องกัน และกำหนดมาตรฐาน

2010 (2553) Android OS เป็น Linux ที่ใช้งานบน smartphone และกำลังไต่ขึ้นไปครองตลาด

2011 (2554) ครบปีที่ 20 ของ Linux พบว่ามีพลังขับเคลื่อนโลก ถูกใช้ในซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ตลาดหลักทรัพทย์ โทรศัพท์ เอทีเอ็ม บันทึกสุขภาพ

http://mashable.com/2011/04/06/linux-20-anniversary/

แก้ปัญหาลืมรหัสผ่านของ moodle

กรณีลืมรหัสผ่านเข้า moodle
กรณีลืมรหัสผ่านเข้า moodle

วันนี้ มีเพื่อนที่เป็น admin ถามกรณีลืมรหัสผ่านเข้า moodle
พอมีเวลาเพราะวันนี้ไม่ง่วงนอน จึงเข้าไปแกะ table ใน moodle
แล้วผมตอบไปว่า การเปลี่ยนรหัสผ่านของ admin หรือ user ใด
ใน moodle เข้าไปเปลี่ยนได้ไม่ยากครับ สำหรับกรณีลืมรหัสผ่าน
1. ใช้ phpmyadmin เข้าไปดูรหัสผ่านในตาราง mdl_user
2. รหัสผ่านจะเข้ารหัสไว้อ่านไม่ออก แต่คัดลอกไปวางให้คนอื่นได้เลย
เช่น p ก็จะเป็น 83878c91171338902e0fe0fb97a8c47a
3. เลือกรหัสผ่านของคนอื่นที่เข้าระบบได้ ที่เราทราบรหัสผ่านนั้น
แล้วคัดลอกไปวางแทนรหัสผ่านของ admin
ก่อนคัดลอกไปวาง ก็คัดลอกรหัสผ่านของ admin เก็บไว้ก่อน
เท่านี้ก็เข้าระบบด้วย user ของ admin ได้แล้ว
4. ถ้าไม่มีรหัสผ่านที่ทราบเลย ลองของผมก็ได้
รหัสผ่านคือ p เข้ารหัสแล้วก็เป็นตามข้อ 2
5. วิธีนี้ผมทดสอบกับ 1.5 และ 1.9
ซึ่ง user กับ password ไม่ผูกโยงกัน
Password#2555 = 54f24d3ceb6c4c264cd93d8aee2b2d3e
p = 83878c91171338902e0fe0fb97a8c47a

ผมใช้ระบบใน http://www.thaiabc.com