เตรียมบทเรียนสอนนักศึกษาเรียนรู้การใช้งาน linux

linux server
linux server

การสอนนักศึกษาเข้าใช้ linux ผ่าน secure shell
เตรียมการ โดยผมเข้าในฐานะ root
1.1 สร้าง user name ของแต่ละคนผ่าน #useradd
1.2 เปลี่ยนรหัสผ่านให้กับแต่ละคน หลังสร้าง user name แล้ว
1.3 สร้าง folder ในห้อง html ตาม user name
1.4 กำหนด owner ให้แต่ละ folder ตาม user name
1.5 chmod เป็น 777 จะได้เข้าถึงผ่าน url ได้

การใช้งาน โดยนักศึกษาเข้าใช้ในฐานะ user
2.1 ให้นักศึกษา download putty และ filezilla
2.2 ให้เข้า linux ผ่าน putty และเรียนรู้การเข้าไปใช้งานระบบ
มีบทเรียนคำสั่งที่ http://www.thaiall.com/isinthai
2.3 สร้างแฟ้ม index.html ของตนเอง
มีแนวทางการเขียนเว็บเพจที่ http://www.thaiall.com/html
2.4 ส่งแฟ้ม index.html เข้า linux ผ่าน ftps
2.5 เรียก index.html ผ่าน url ของแต่ละคน

http://www.putty.org/ [putty.exe]
https://filezilla-project.org/download.php
http://downloads.sourceforge.net/project/filezilla/FileZilla_Client/3.7.3/FileZilla_3.7.3_win32-setup.exe

ผีเสื้อกระพือปีก สะเทือนถึงดวงดาว

ภาพยนตร์เรื่อง Looper
พยายามจะสื่อว่า ถ้าคุณพบว่ามีข้อผิดพลาดใน loop
แล้วรู้ว่าสามารถหยุดข้อผิดพลาดที่เกิดในอนาคต
ด้วยการหยุดปัจจุบัน
คุณจะทำไหม .. ในเรื่องนี้บอกว่า เขาทำ
เป็นความสัมพันธ์ของคำว่า อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

วันนี้ผมบ่นเรื่อง .. Butterfly Effect
สอดรับกับ “ผีเสื้อกระพือปีก สะเทือนถึงดวงดาว
2 ก.พ.2557 เพื่อน ๆ ทำอะไร หรือไม่ทำอะไร
ย่อมสะท้อนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้
บางทีการกระทำไม่ได้สะท้อนในทันที และไม่ได้สะท้อนต่อตัวเรา
แต่สะท้อนถึงผู้คนที่ต้องรับผลกระทบจากความคิดหนึ่งของเรา
เช่น ซื้อหวย ก็จะปฏิเสธไม่ได้ว่าสนับสนุนคนทำผิดกฎหมาย
หรือ ซื้อก๋วยเตี๋ยวทุกวัน ทำให้ร้านข้าวแกงข้าง ๆ เจ้งไปเพราะเราไม่ซื้อ
หรือ คนในหมู่บ้าน ไม่ใส่บาตร พระก็ต้องย้ายไปจำพรรษาที่อื่น
หรือ ชื่นชมรายการ ฟันธงราศี ก็สนับสนุนให้คนไม่ยึดมั่นในความจริง
เป็นต้น

แนะนำคำว่า butterfly effect หรือ chaos
แนะนำคำว่า butterfly effect หรือ chaos

ที่มาของ ทฤษฎี Chaos
ผีเสื้อกระพือปีกย่อมเกิดพายุใหญ่ เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว

by Professor Edward Lorenz (1917-2008)
Does the flap of a butterfly’s wings in Brazil
Set Off a Tornado in Texas?

http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=1104.0

Specifically Lorenz studied a primitive model of how an air current would rise and fall while being heated by the sun.
ลอเรนซ์เจาะจงศึกษาแบบจำลองเก่าแก่ที่ว่าด้วยกระแสลมที่ลอยตัวขึ้นหรือลดต่ำลงเมื่อได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์

Lorenz’s computer code contained the mathematical equations which governed the flow the air currents. Since computer code is truly deterministic, Lorentz expected that by inputing the same initial values, he would get exactly the same result when he ran the program.
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของลอเรนซ์ลอเรนซ์ประกอบด้วยสมการคณิตศาสตร์หลายสมการ ที่ครอบคลุมการไหลเวียนของกระแสลม และเนื่องจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ตายตัว(Deterministic) ลอเรนซ์ จึงคาดว่าเมื่อใส่ตัวเลขเบื้องต้นที่เหมือนๆกันเข้าไป เมื่อรันโปรแกรมแล้ว เขาก็ควรได้รับผลลัพท์ที่ออกมาเหมือนกันอย่างไม่ผิดเพี้ยน

Lorenz was surprised to find, however, that when he input what he believed were the same initial values, he got a drastically different result each time.
แต่ ลอเรนซ์ต้องแปลกใจเมื่อเขาพบว่า ตัวเลขที่เขาคิดว่าเหมือนกันเมื่อตอนใส่อินพุทนั้น กลับให้ผลลัพท์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในการรันแต่ละครั้ง

By examining more closely, he realized that he was not actually inputing the same initial values each time, but ones which were slightly different from each other.
จากการตรวจสอบอย่างละเอียดต่อมา เขาพบว่าตัวเลขที่เขาใส่ลงไปนั้น เขาไม่ได้ใส่ตัวเลขเดียวกันลงไปทุกครั้ง ตัวเลขที่เขาใส่แต่ละครั้ง จะมีค่าแตกต่างกันเล็กน้อย

He did not notice the initial values for each run were different because the difference was incredibly small, so small as to be considered microscopic and insignificant by usual standards.
เขาไม่ได้สังเกตเห็นความแตกต่างของตัวเลขที่เขาใส่ลงไป เพราะความแตกต่างที่มีนั้น มันน้อยจนแทบไม่น่าเชื่อ มันเล็กขนาดที่ถือกันว่าเป็นเพียงเศษเสี้ยวธุลีหรือจุลภาค(Microscopic) และถือว่าไม่มีค่าในมาตรฐานปกติ

The mathematics inside Lorenz’s model of atmospheric currents was widely studied in the 1970’s. Gradually it came to be known that even the smallest imaginable discrepancy between two sets of initial conditions would always result in a huge discrepancy at later or earlier times, the hallmark of a chaotic system, of course.
ในทศวรรษ 1970 มีการศึกษาตัวเลขในแบบจำลองกระแสลมของลอเรนซ์อย่างกว้างขวาง และก็ต่อๆมาก็เป็นที่ที่รู้กันว่า แม้ความแตกต่างจะมีค่าเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม จะสามารถทำให้เซ็ทของเงื่อนไขก่อนหน้าสองเซ็ทมีผลที่แตกต่างกันอย่างมหาศาลไม่ว่าจะในภายหน้าหรือในกาลย้อนหลัง นี่ก็คือสัญญลักษณ์ของระบบที่ไร้ระเบียบ(Chaotic System) นั่นเอง

Scientists now believe that like Lorenz’s simple computer model of air currents, the weather as a whole is a chaotic system. This means that in order to make long-term weather forecasts with any degree of accuracy at all, it would be necessary to take an infinite number of measurements.
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่า สภาพอากาศโดยรวมนั้น เป็นระบบไรัระเบียบแบบเดียวกับแบบจำลองคอมพิวเตอร์ของลอเรนซ์ ซึ่งหมายความว่า ถ้าจะพยากรณ์อากาศระยะยาวให้มีความแม่นยำ จำต้องมีตัวเลขจากการวัดต่างๆที่มีค่าถูกต้องสมบูรณ์

Even if it were possible to fill the entire atmosphere of the earth with an enormous array of measuring instruments—in this case thermometers, wind gauges, and barometers—uncertainty in the initial conditions would arise from the minute variations in measured values between each set of instruments in the array.
ดังนั้น แม้ว่าจะมีเครื่องวัดค่าต่างๆเต็มท้องฟ้า เช่น เทอร์โมมิเตอร์ บาโรมิเตอร์ ที่วัดลม ฯ ก็ตาม ความคลาดเคลื่อนแม้เพียงเล็กน้อยที่เกิดจากการวัดต่างๆ ก็ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในค่าตั้งต้นขึ้น

Because the atmosphere is chaotic, these uncertainties, no matter how small, would eventually overwhelm any calculations and defeat the accuracy of the forecast.
และเพราะบรรยากาศของเรานี้ยไร้ระเบียบ ความไม่แน่นอนเหล่านั้นไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงไรก็ตาม ที่สุดแล้วก็จะท่วมท้นการคำนวนต่างๆ และจะทำลายความแม่นยำของการพยากรณ์

พบนักวิชาการเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ปาย

burin @cmu
burin @cmu

2 ก.พ.57 ได้รับโอกาสพบนักวิชาการ 3 ท่านคือ
ผศ.ดร.สาวิตร มีจุ้ย อ.รณวีร์ สุวรรณทะมาลี
และ รศ.ดร.ศักดิ์ดา  จงแก้ววัฒนา
ณ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แล้วได้พูดเรื่องการใช้งานวิจัยพัฒนาชุมชน
ประเด็นการท่องเที่ยว และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
มีพื้นที่คือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
โดยการทำงานจะแบ่งเป็น 4 ช่วง
คือ ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์และสังเคราะห์ และจัดกิจกรรม
ซึ่งการท่องเที่ยวนั้นมีเส้นทางแบ่งได้เป็น ธรรมชาติ เกษตร และวัฒนธรรม

ระบบที่พัฒนาขึ้น ส่วนหนึ่งจะช่วยสนับสนุนนักท่องเที่ยวในการตัดสินใจ
เลือกเส้นทางการท่องเที่ยวภายใต้ งบประมาณ เวลา และความสนใจ
ด้วยการนำเสนอเส้นทาง ข้อมูล และแผนการเดินทางผ่านเว็บไซต์

ซึ่งมี template ที่ผมเสนอระหว่างการพูดคุยเรื่อง proposal ตามภาพนี้

googlemap in talking
googlemap in talking

วัดระยะทาง 2 marker บน google map

home on google map
home on google map

1 ก.พ.57 เมื่อหลายเดือนก่อน
เคยเก็บ point : latitude และ longitude
ตำแหน่งต่าง ๆ ในลำปาง และในประเทศไว้
แล้วพรุ่งนี้ (เลือกตั้งส.ส. 57) จะไปคุยงานกับเพื่อนที่เชียงใหม่
ที่สนใจเรื่องการวางแผนเส้นทางการท่องเที่ยว
และน่าจะได้ใช้ google map ลองเขียน code
เพื่อทดสอบการประมวลผลกับฐานข้อมูล
แล้วก็การวัดระยะทาง พบว่าพอประยุกต์ใช้งานได้
ในทางเทคนิคฝั่งเครื่องบริการใช้ jquery-1.9.1.js
ขอใช้บริการของ google โดยตรงก็สามารถแสดงแผนที่ได้แล้ว
โดยคำอธิบายเป็นภาษาไทย และตัวอย่าง code
ได้มาจาก http://www.ninenik.com เขียนไว้ละเอียดมาก
ชื่นชมเลยครับ
งานนี้ผมทดสอบไว้ที่ http://www.thaiall.com/googlemap

ปล. เขียนทิ้งไว้ พอไม่ได้ใช้ก็ลืมเลือน

มองไม่เห็น host ทำให้ postfix ปฏิบัติการไม่ลุล่วง

nslookup และ host not found
nslookup และ host not found

เล่าสู่กันฟัง
วันนี้เพื่อนแจ้งปัญหา
ว่า postfix บน linux server
ซึ่งให้บริการ smtp สำหรับส่งอีเมลจากระบบ web page
ไม่ทำงานตามปกติ เหมือนเช่นเคย ๆ มาหลายวันแล้ว

จึงตรวจจาก /var/log/maillog
พบว่าเครื่องบริการไม่สามารถติดต่อ relay.cat.net.th
จึงใช้ nslookup เข้าไปตรวจดู
ก็ไม่รู้จักจริง ๆ ทั้ง www.cat.net.th และ relay.cat.net.th
แต่ใน pc ใช้งานได้ปกติ
ใช้ nslookup ตรวจ www.facebook.com พบเฉยเลย

เข้าไปเปลี่ยนใน /etc/postfix/main.cf
ให้ relay ชี้ไปที่ ip แทนชื่อ host name ก็ไม่เกิดผล
และไม่น่าใช่ทางแก้ปัญหาด้วย

ลอง restart service 2 ตัวคือ named และ network
ปรากฎว่า nslookup และ postfix ทำงานได้ปกติ

แล้ว restart เครื่อง พบว่ามีปัญหาเดิม
แต่ restart service 2 ตัว อีกครั้ง ก็ใช้ nslookup ได้ปกติ
และระบบ postfix ทำงานได้ปกติ

สรุปว่า การทำงานของ service 2 ตัว
มีตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหา แต่ผมยังไม่ได้เข้าไปแกะต่อครับ

RTMP (Real Time Messaging Protocol) คืออะไร

rtmpdump
rtmpdump

RTMP (Real Time Messaging Protocol)
คือ บริการแฟ้มประเภท video, audio หรือ data แบบพ่นออกมา (steaming)
คล้ายกับ youtube.com แต่ไม่ใช่การโหลดคลิ๊ปไปเก็บใน temporary memory
แล้วให้เครื่อง client เปิดดู
เป็นการเปิดการสื่อสารระหว่าง client กับ server ที่ถูกกระตุ้นตลอดเวลา
โดยรับมาแล้ว ส่งให้ flash player ของ Macromedia แสดงผลทันที
จึงเข้าไปดูแฟ้มในห้อง temporary ไม่พบ
หลักการคล้ายกับ webcam ที่ไม่มีการบันทึกไว้ แต่ดูได้แบบ real time

มีโอกาสที่จะต้อง download clip รายการข่าวในพระราชสำนัก
ของ thaitv3.com
แล้วใช้โปรแกรม RTMP DUMP แต่จากการใช้งานพบว่าคลิ๊ปที่ได้มาไม่สมบูรณ์
แต่สุดท้ายก็ใช้การถ่ายคลิ๊ปด้วยกล้องดิจิทอล จากจอคอมพิวเตอร์

จึงต้องหาแหล่งใหม่ ก็พบว่า ที่ สำนักราชเลขาธิการ มีคลิ๊ป
http://www.ohm.go.th/th/court-news
บริการคลิ๊ป .flv ผ่าน http ที่อาจนำมาใช้งานได้
แต่มีบรรทัดหนึ่งในเว็บเพจระบุว่า จะนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาตไม่ได้
จึงหยุดการ download clip จากเว็บไซต์ไว้เพียงเท่านั้น

Software ที่ใช้เปิด server บริการ RTMP
– Wowza Media Server
– Open Source Red5 server
– Adobe Flash Media Server, FMS

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152165228947272&set=a.423083752271.195205.350024507271

http://flash.flowplayer.org/plugins/streaming/rtmp.html

http://en.wikipedia.org/wiki/Real_Time_Messaging_Protocol

ค้นหาปัญหาให้พบ และเปลี่ยนแปลง

regular expression หรือ wild cards
regular expression หรือ wild cards
ในโลกของความเป็นจริง
หลายคนใช้ชีวิตไปกับการแก้ปัญหาในแต่ละวัน
ต้องค้นหา แล้วก็แก้ไขไปตามสถานการณ์ที่เหมาะสม
หนังเรื่อง #conan หรือ #CSI ก็ให้ความสำคัญกับการค้นหา
ในทางคอมพิวเตอร์
มีคำสั่งค้นหา #find และแทนที่ #replace
การค้นหาด้วยคำสำคัญที่เหมาะสม
ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่ทำให้การทำงานนั้นง่ายขึ้น
เช่น แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน คิดว่าจะค้นหาข้อมูลอย่างไรให้ดีที่สุด
แล้วเขาก็คิดออก นำไปสู่การพัฒนาเว็บไซต์ google.com
เพียงแค่คิดวิธีการค้นหาที่มีประสิทธิภาพ
เขาก็กลายเป็นคนในกลุ่มที่รวยที่สุดในโลกไปแล้ว
โปรแกรม #editplus
มีความสามารถในการค้นหา
และรองรับการค้นหาพิเศษที่เรียกว่า #regularexpression
ส่วนโปรแกรมกลุ่ม Microsoft office
ก็ค้นหาโดยใช้ #wildcards ได้
ทำให้การค้นหาและเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นมา กับโจทย์ที่ยาก ๆ
ตัวอย่างคำค้นใน editplus
for=”q[a-z]
checksum=[a-z0-9]
input value=”” name=”[a-z0-9:_]
find & replace คือ infernal affairs
find & replace คือ infernal affairs

http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2011/04/A10480049/A10480049.html


Editor ดี ๆ ส่วนใหญ่ เช่น Notepad++ หรือ Editplus
จะใช้งาน Regular Expression ได้
เพื่อทำ Data cleansing สำหรับ Text file ที่ไม่ซับซ้อน
มีโอกาสจัดการแฟ้ม html ที่ได้มาจาก THE World University Ranking
แล้วนำมาปรับให้สั้นลงสำหรับเผยแพร่เพื่อการศึกษา
เช่น ค้นคำว่า >(.*)>(.*)>t แล้วแทนที่ด้วย >\2>t เป็นต้น
มีตัวอย่างผลการใช้ที่ http://www.thaiall.com/topstory/

นิยาม
Wildcards คือ สัญลักษณ์ตัวแทน
Regular expression คือ แพรทเทิร์นสำหรับค้นหา

Tutorial เกี่ยวกับ Regular Expression
https://devahoy.com/posts/regular-expressions-101/

ขอซื้อซาลาเปาครับ

ซาลาเปา
ซาลาเปา

ผมชอบเรื่องซาลาเปา

ชี้ชัดเรื่องการเครารพตนเอง กับการเครารผู้อื่น
แต่ชีวิตจริงมีปัจจัยประกอบการตัดสินใจเยอะครับ

เหตุ .. ในมุมของนายจ้าง
เรื่องนี้สะท้อนว่า “ลูกค้าต้องมาก่อน”
ถ้าพนักงานทำตัวไม่ดีต่อลูกค้าสักคน
ต้องถูกไล่ออก เชือดไก่ให้ลิงดู
และก็เลือกหาพนักงานที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม
ที่สำคัญ จ้างถูกกว่าคนเก่า

ผล .. ในมุมของลูกจ้าง
“โห เถ้าแก่
ผมรักและห่วงภาพพจน์ร้านมาก
ทำไป เพราะกลัวลูกค้ารู้สึกระคาย
ทั้ง คุณหนู คุณนาย ในร้านก็เยอะ
.. นี่เถ้าแก่ไล่ผม ที่ทำงานมา 10 ปี
และเป็นลูกจ้างที่เป็น GM ออกเลยเหรอ

นี่ผมทำผิดครั้งเดียวเองนะ
ทำเงี้ย ผมเปิดร้านแข่งเลยนะ”

การให้พนักงาน ออกสักคน
เถ้าแก่น่าจะคิดเยอะ ๆ หน่อย ตามหนังสือ โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ
http://www.thaiall.com/blogacla/admin/1490/

บูมลำปาง สู่เมืองเศรษฐกิจใหม่

ntc2014 : lampang 2020
ntc2014 : lampang 2020

Lampang 2020
บูมลำปาง สู่เมืองเศรษฐกิจใหม่

มหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมระดมสมองเพื่อขับเคลื่อน
เมืองลำปางสู่อนาคตใหม่
ในงานประชุมวิชาการ
อุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ
ประจำปีการศึกษา 2556
24 – 26 มกราคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น
NTC2014

Proceeding
http://it.nation.ac.th/studentresearch/files/351003.pdf

กำหนดการสัมมนา LAMPANG 2020 : บูมลำปางสู่เมืองเศรษฐกิจใหม่
วันที่ 24-26 มกราคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557
08.00-08.50 น.    ผู้เข้าประกวดรายงานตัว
08.50-09.00 น.    กล่าวต้อนรับและเปิดงาน โดย คุณสุทธิชัย หยุ่น
09.00-10.00 น.    ประกวดทีมที่ 1-2
10.00-11.00 น.    ประกวดทีมที่ 3-4
11.00-12.00 น.    ประกวดทีมที่ 5-6
12.30-13.00 น.    ประกวดทีมที่ 7
13.00-14.00 น.    ประกวดทีมที่ 8-9
14.00-15.00 น.    ประกวดทีมที่ 10-11
15.00-16.00 น.    ประกาศผลการแข่งขัน
มอบรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเกียรติบัตร โดย สภาวัฒนธรรมจังหวัด
มอบรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเกียรติบัตร โดย คุณสุทธิชัย  หยุ่น
มอบรางวัลชนะเลิศ พร้อมเกียรติบัตร โดย คุณสุทธิชัย  หยุ่น
มอบของที่ระลึกให้กับกรรมการตัดสิน / ถ่ายรูปหมู่

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม 2557
07.00-08.30 น.    พิธีทำบุญเนื่องจากคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเนชั่น
08.00-08.45 น.    ลงทะเบียน/ชมวิดีทัศน์แนะนำมหาวิทยาลัย
08.45-9.00 น. กล่าวรายงาน โดย ดร.วันชาติ  นภาศรี รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานบัณฑิตศึกษา
พิธีเปิด โดย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น
09.00-12.00 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-17.30 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2557
08.30-09.00 น.    ลงทะเบียน
09.00-09.15 น.    กล่าวต้อนรับ โดย สุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการบริหารบริษัทเนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด(มหาชน)
09.15-09.45 น.     ปาฐกถาเปิดงาน “มิติใหม่เมืองลำปาง”
โดย ศุภชัย  เอี่ยมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ปฎิบัติหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
09.45-10.45 น.    Keynote Speech by Dr.Yotaro Morishima, President, Professor,
Fukui University of Technology “Challenges of Japanese
Universities in the Borderless Era”
10.45-11.15 น.    Thailand Investment in Myanmar by Kin Myoe Nyunt
11.15-11.45 น.     การเตรียมความพร้อมของนักเรียนนักศึกษาไทยสำหรับประชาคมอาเซียน:
กรณีศึกษาโรงเรียนลำปางกัลยาณีและมหาวิทยาลัยเนชั่น  โดย ดร.สุจิรา  หาผล
“Readiness of Thai Students in English Competency for ASEAN Community:
A Case Study in Lampang Kanlayanee School and Nation University”
11.45-12.00 น.    พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเนชั่น และ
Fukui University of Technology
12.00-12.15 น.    ชมนิทรรศการผลงานวิชาการ (Poster Session)
12.15-13.15 น    รับประทานอาหารกลางวัน/บรรเลงดนตรีพื้นเมือง ซะล้อ ซอ ซึง/แฟชั่นโชว์
13.15-15.00 น.    เสวนา เรื่อง วางยุทธศาสตร์เมืองลำปางรับ AEC
วิลาวัลย์  ตันรัตนกุล ผู้อำนวยการสำนัก สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ
พลฤทธิ์  เศรษฐกำเหนิด  ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
พิชัย  รักตะสิงห์   ผอ. ภูมิภาคเอเชียใต้และแปซิฟิกใต้  กองการตลาดเอเชียใต้ และแปซิฟิกใต้
อธิภูมิ  กำธรวรรินทร์  ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรม จังหวัดลำปาง
15.00-17.00 น.    เสวนา “บูมลำปางสู่เมืองเศรษฐกิจใหม่”  โดย
อนุชา  จิตะพันธ์กุล  ผู้ช่วยผู้อำนวยการแผนกส่งเสริมการตลาด สาขาเขต 1
บริษัท เซนทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน)
ชนินทร์  พรหมเพ็ชร  ผู้จัดการส่วนการบุคคล บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง)จำกัด
พนาสิน  ธนบดีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนบดีอาร์ต เซรามิค จำกัด
อนุวัตร  ภูวเศรษฐ์ ประธานหอการค้าจังหวัดลำปาง
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์  รักอริยะธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น
http://www.nation.ac.th/ntc2014/

conference
conference

Facebook album
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.779721072042026.1073741916.506818005999002

ชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014

ชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014

NCCIT2014 at Angsana Laguna Phuket
NCCIT2014 at Angsana Laguna Phuket

23 มกราคม 2557 ได้รับอีเมลชวนเสนอบทความในงาน NCCIT2014 อีกครั้งหนึ่ง
จาก คุณวัชรีวรรณ จิตต์สกุล [watchareewanj@hotmail.com]
ซึ่งผมสนใจส่ง paper เข้าร่วมนำเสนอหลายปีติดต่อกัน
ในกลุ่ม Information Technology and Computer Education
ว่าปีนี้จัดระหว่างพฤหัสบดีที่ 8 – ศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2014
ที่ Angsana Laguna, Phuket
http://www.angsana.com/en/phuket/

Call for paper NCCIT2014
The 10th National Conference on Computing and Information Technology (NCCIT2014)
8-9 May 2014 At Angsana Laguna, Phuket, Thailand by
King Mongkut’s University of Technology North Bangkok
http://www.nccit.net


NCCIT Areas of  Interest
Conference Topics Include (but not limited to):

– Data Mining and Machine Learning:
Artificial Neural Network, Fuzzy Systems, Hybrid Systems, Evolutionary Computation, Knowledge Discovery, Knowledge Transfer, Knowledge Management, Decision Support, Recommender Systems, Text Mining, and Web Mining.
– Data Network and Communication:
Computer Network, Security & Forensic, Wireless & Sensor Network, Telecommunication, Mobile Ad-Hoc Network, Cloud & Grid Computing, Decentralized computing, P2P networks, P2P protocols, and Semantic P2P networks.
– Human-Computer Interface and Image Processing:
Human Machine Interface, User Customization, Embedded Computation, Augmented Reality, Computer Vision, Feature detection, Medical image processing, and Facial recognition
– Information Technology and Computer Education:
Knowledge Management, Web Application, Web Service, Management Information System, Customer Relation Management, Ontology, Semantic Web and Enterprise Resource Planning, Software engineering and Computer Education

Important Dates(NCCIT)
Paper Submission for Review: January 31, 2014
Decision Notification: February 17, 2014
Camera Ready Version: March 3, 2014
Advanced Registration: March 5, 2014

Conference Format
The conference has two types of presentations: invited keynote
speakers and regular oral presentations. The proceedings of the
conference will be published and distributed in CD-contained format.

Paper Submission
Papers must be written inThai for NCCIT2014
and should describe original work in detail. Each regular
paper, according to instructions, must be accompanied by an
abstract summarizing the contribution it makes to the field.
Each paper will be reviewed by at least three reviewers. Submission of a
paper constitutes a commitment that, if accepted, one or more
authors will attend and participate in the conference. Electronic
submission in camera-ready format and author’s bibliography are
required. Please check information at http://www.nccit.net

Contact Information
Assoc. Prof. Dr.Phayung Meesad, NCCIT2014 Chair
Asst. Prof. Dr.Sirapat Boonkrong, NCCIT2014 Secretary
Faculty of Information Technology
King Mongkut’s University of Technology North Bangkok (KMUTNB)
Pracharat 1 Rd. Wongsawang, Bangsue Bangkok 10800.
Email: pym@kmutnb.ac.th; sirapatb@kmutnb.ac.th
Tel:  +662 555 2000  ext. 2711, 2719, 2726; Fax: +662 555 2734

http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm