มองโลกแง่ดี กับ มองโลกแง่ร้าย

optimistic & pessimistic
optimistic & pessimistic

เคยคิดว่ามนุษย์ [ทุกคนคิดบวกเพื่อตนเอง]
ตอนหลังเข้าอ่านสื่อเลือกข้าง ได้รู้ว่า
[บางคนคิดลบก็เพื่อตนเอง] ก็มี เหมือนกัน
ได้เห็นความคิดลบกว่าครึ่งที่สอดแทรกเข้าไป
จริง ๆ เป็นอาชีพที่เขาต้องคิดลบ เพราะถูกสั่งมา
คนที่อ่านก็คงซึมซับความคิดเหล่านั้นไป
.. ยิ่งซึมความคิดลบมากเข้า สื่อนั้นก็จะอยู่รอด
.. เอาใจคนคิดลบมาใส่ใจเรา พอเดาได้ว่าที่มาที่ไปคืออะไร
.. อ่านข่าวสมัยนี้เหมือนนั่งดูโคนัน


เคยนั่งดู Talk show
คำพูดที่ [พรั่งพรูออกมาจากปากนักพูด]
แล้วทำให้ผู้ฟังนั่งหัวเราะท้องคัดท้องแข็ง .. ดูมีความสุข
ล้วนเป็นคำพูดคิดลบสุดขั้ว .. ถึงกระนั้นเชียว
คนที่น่ากลัวคือ เหล่าผู้ฟัง  ที่ดูจะชื่นชอบ และชื่นชม
แล้วก็ซึมซับเอาความคิดเหล่านั้น เข้าไปเรียบร้อย
.. ผู้ฟังส่วนหนึ่งก็คงเชื่อ เพราะผู้พูดน่าเชื่อถือ .. กระมัง
.. นักพูดเขารู้ว่าอะไรลบ อะไรบวก เขาแยกแยะมาแล้ว
.. แล้วเขาก็เลือกเฉพาะที่ [ผู้ฟังอยากฟัง]

ขยายความ
อ่านข่าวสมัยนี้เหมือนนั่งดูโคนัน
เพราะในข่าวดูอะไรอะไร จะเป็นห้องปิดตายไปซะหมด
หาทางออกไม่พบ หาคนรับผิดชอบไม่เจอ รับข้อมูลฝ่ายเดียว
ทางออกก็พอเห็นอยู่ .. ถ้าเปิดใจยอมไกล่เกลี่ย และยอมความ
สุดท้ายผู้ร้ายก็เลือกฝ่าทางตัน คือ ทำผิดกฎหมายนั่นเอง
.. นักข่าวเขาฉายภาพมาเป็นห้องปิดตาย
.. เพราะหน้าที่ของเขา คือ เล่าเหตุการณ์ที่พบ เท่านั้นเอง

ธปท.ออกกฎเข้ม คุมแบงก์-ประกันขายพ่วง

99 บาท
99 บาท

เห็นว่า ธปท. จะออกกฎเข้มว่า
เวลาขายสินค้า อย่าขายพ่วง
และให้ชี้แจงให้ละเอียด
แล้วนึกถึงภาพรถ 99 บาท
หรือเครื่องดื่มที่ดื่มแล้วเป็นหมอ บอกงั้นแล้วขายดี
จะให้บอกความจริงเหรอว่า เป็นแค่น้ำหวาน+สารนิดนึง
ผมว่าบางทีให้ข้อมูลมาก ๆ แล้ว
ลูกค้าอาจเปลี่ยนใจได้
.. ยอดขายก็สำคัญนะครับ

http://bit.ly/10DMxhB
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา ธปท.ได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อออกประกาศกำหนดมาตรการกำกับดูแลการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์ และด้านประกันภัยผ่านธนาคารพาณิชย์ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และให้มีผลบังคับใช้กับธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งที่ได้รับอนุญาตขายผลิตภัณฑ์ด้านธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจประกันภัยจากก.ล.ต.และคปภ.ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.ปี2556 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ธปท.ให้เหตุผลว่าได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค เกี่ยวกับการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยของธนาคารพาณิชย์เป็นระยะๆ เช่น กรณีเจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์เสนอขายประกันชีวิตพ่วงกับบริการตู้นิรภัย ให้สินเชื่อหรือชักชวนผู้บริโภคซื้อหน่วยลงทุน ตราสารหนี้ หรือทำประกันชีวิตแทนการฝากเงิน โดยไม่ชี้แจงถึงความเสี่ยงหรือให้ข้อมูลผู้บริโภคไม่ชัดเจน ซึ่งธปท.เห็นว่าเรื่องร้องเรียนดังกล่าวอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

สำหรับสาระสำคัญในประกาศดังกล่าว ได้คำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภค ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง สิทธิที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และบริการการเงินได้อย่างอิสระ สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม และสิทธิที่จะได้รับพิจารณาค่าชดเชยหากเกิดความเสียหาย

นอกจากนี้ได้กำหนดหน้าที่ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค กำหนดแนวทางเสนอขายผลิตภัณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์ ต้องแสดงความต่างให้ผู้บริโภคเห็นชัดระหว่างผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัย ไม่ใช่เงินฝากเหมือนผลิตภัณฑ์ธนาคารพาณิชย์ อาจมีความเสี่ยงได้รับเงินต้นไม่เต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน และไม่คุ้มครองเงินต้น รวมถึงเปิดเผยข้อมูลผลตอบแทน ทรัพย์สินที่จะได้รับนอกจากดอกเบี้ย เช่น อัตราผลตอบแทนรายปี รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่สามารถและไม่สามารถคำนวณอัตราผลตอบแทนได้

กฎระเบียบยังห้ามธนาคารพาณิชย์บังคับขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัย ควบคู่กับผลิตภัณฑ์ของธนาคารพาณิชย์ หรือกำหนดเงื่อนไขขายหรือให้บริการผลิตภัณฑ์หลัก เช่น ให้ผู้บริโภคทำประกันภัยกับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เพื่อเป็นเงื่อนไขพิจารณาให้สินเชื่อ หรือให้ผู้บริโภคทำประกันชีวิตก่อนเมื่อขอใช้บริการเช่าตู้นิรภัย โดยธนาคารต้องให้สิทธิผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เอง และเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคปฏิเสธซื้อผลิตภัณฑ์ได้

ทั้งนี้ ยังห้ามธนาคารพาณิชย์ส่งเสริมการขาย ในลักษณะชิงโชคจับฉลาก เว้นแต่เป็นกรณี ลด แลก แจก แถม การใช้สื่อการตลาดต้องไม่ชวนเชื่อเกินจริง ไม่ทำผู้บริโภคเข้าใจผิด ไม่เป็นเท็จ ซึ่งการเสนอขายผลิตภัณฑ์ทุกช่องทางควรอยู่ในช่วงเวลาเหมาะสม ไม่ทำให้ผู้บริโภครำคาญหรือสูญเสียความเป็นส่วนตัว เป็นต้น

“แบงก์ต้องมีมาตรการ วิธีการทำให้ลูกค้าผู้บริโภคมั่นใจว่า ผู้ขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยมีความรู้เข้าใจในผลิตภัณฑ์ สามารถให้ข้อมูลความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ ผลตอบแทนและการคุ้มครองที่ผู้บริโภคจะได้รับ ตลอดจนผลดำเนินงานของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมา รวมถึงภาษีที่ผู้บริโภคจะต้องจ่ายหรือได้รับการผ่อนผัน และสิทธิตามความเป็นจริง โดยไม่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิด”

นอกจากนี้ กฎระเบียบยังกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ ต้องแยกเคาน์เตอร์ขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยออกจากเคาน์เตอร์ ที่ให้บริการรับฝากถอนเงินของธนาคารพาณิชย์ โดยมีป้ายบ่งบอกหรือสัญลักษณ์ที่แสดงให้ผู้บริโภคเห็นชัดเจน เว้นแต่การทำธุรกรรมต่อเนื่องกับการขายหรือให้บริการผลิตภัณฑ์ เช่นทำธุรกรรมโอนเงินหรือฝากเงินหลังซื้อหลักทรัพย์ สามารถให้บริการที่เคาน์เตอร์ขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยได้ เพื่อประโยชน์ให้บริการ ณ จุดเดียว

ธปท.ได้กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องมีกระบวนการหลังการขาย และรับเรื่องร้องเรียน ดูแลและอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภค หากพิสูจน์แล้วว่าธนาคารพาณิชย์ไม่ได้ปฏิบัติตาม โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย ธนาคารพาณิชย์ต้องชดเชยตามความเหมาะสม อีกทั้งต้องรักษาข้อมูลของผู้บริโภคไว้เป็นความลับ และห้ามให้ข้อมูลผู้บริโภคแก่หน่วยงานอื่นตลอดจนบริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท.เพื่อนำไปใช้เสนอขายบริการอื่น เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากผู้บริโภค

http://bit.ly/10DMxhB

การใช้สีไล่ระดับ และการยกพื้น (itinlife417)

ios7 flat design
ios7 flat design

การเข้าถึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีสิ่งที่ผู้สืบค้นต้องพบเป็นสิ่งแรกก่อนเนื้อหาข้อมูล คือ รูปแบบ และสีที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้สื่อสารระหว่างซอฟท์แวร์กับผู้ใช้ ในยุคเว็บสองจุดศูนย์ (Web 2.0) ได้มีนักคิดนำเสนอการออกแบบให้มีการใช้สีไล่ระดับ (Gradient) และการยกพื้น (Rich surface) ซึ่งมีผลให้สามารถนำเสนอประเด็นสำคัญได้ชัดเจน และทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกสนใจจากการใช้สีต่างระดับ แต่เราอยู่ในยุคของการพัฒนาที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กฎที่มีอยู่ก็อาจถูกเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าผู้ผลิตอุปกรณ์ หรือซอฟท์แวร์ไม่เปลี่ยนแปลงให้ทันกับกระแสเทคโนโลยี ก็อาจตกขบวนเหมือนบริษัทไอที หรือบริษัทข่าวที่ไม่อาจอยู่ได้ในโลกของการแข่งขันนำเสนอสินค้า และข้อมูลที่รุนแรงในปัจจุบัน

บริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft) เปลี่ยนโลโก้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม และใช้สีระดับเดียว แล้วต่อมายาฮูดอทคอม (Yahoo.com) ก็เปลี่ยนโลโก้ที่ใช้สีเพียงสีเดียว และแบนราบไปกับพื้น สำหรับรูปแบบของระบบปฏิบัติการวินโดว์ 8 ก็ใช้การออกแบบที่ดูเรียบง่ายด้วยทรงสี่เหลี่ยม แล้วมีผลถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ ก็จะใช้รูปแบบที่เรียบง่าย รวมไปถึงแอพพลิเคชั่นรุ่นใหม่ที่มีแนวโน้มปรับรูปแบบให้แบนราบไปกับพื้น ส่วนเครือข่ายสังคมยอดนิยมก็ออกแบบที่ไม่เน้นการยกนูน คือ เฟสบุ๊ค (facebook) และกูเกิ้ลพลัส (google+) ที่ทุกอย่างแบนราบไปกับพื้น แล้วอนาคตของการออกแบบซอฟท์แวร์ก็อาจจะนำไปสู่รูปแบบที่เรียบง่าย ไม่ต้องยกพื้นอีกต่อไป

บริษัทแอพเปิ้ล (Apple) เปิดตัว iOS7 ได้ย้ำกระแสออกแบบที่เรียบง่าย เน้นอินเทอเฟส (Interface) ที่แบนราบ สำหรับผู้ใช้ที่ชอบความหรูหลา ชอบเว้านูนก็อาจจะไม่คุ้นชิน แต่ประโยชน์คือความรวดเร็วจากการตอบสนอง (Response time) ที่ระบบปฏิบัติการจะต้องทำงานน้อยลงกับเรื่องเหล่านี้ แล้วความสดใหม่ของการดีไซน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้เลือกก็จะเป็นตัวขับกระแสแฟชั่นได้เป็นอย่างดี เชื่อว่ากระแสความเรียบแบนจะขายได้ไปอีกหลายปี แล้ววันหนึ่งในอนาคตก็จะมีบริษัทหนึ่งออกมาบอกว่าถึงเวลาต้องยกพื้น และไล่ระดับ เรื่องแบนราบก็คงจะหายไปอีกครั้งตามค่านิยมที่เปลี่ยนไป

ตรวจสอบเครื่องบริการ SMTP

postfix for SMTP service
postfix for SMTP service

26 ก.ย.56 เล่าสู่กันฟัง
หนึ่งในกิจกรรมของการทำงานกับเครื่องบริการ คือ Monitor
1. เข้าตรวจสอบ ติดตามเครื่องบริการเกี่ยวกับ SMTP
ว่าบริการถูกเรียกใช้ตามปกติหรือไม่
#netstat -na |grep 25 ก็พบว่า port นี้เปิดบริการอยู่
#netstat -na |grep LISTEN ก็พบว่าเปิดบริการอยู่
#cat /etc/redhat-release ดูรุ่นที่ใช้อยู่ พบว่าเก่าอยู่สักหน่อย ปัจจุบันสิบกว่าแล้ว
Fedora Core release 4 (Stentz)
#ps -aux|grep postfix พบว่า postfix เปิดบริการ smtp อยู่
#/etc/init.d/postfix status พบว่า running
#/etc/init.d/postfix stop เมื่อต้องการปิดบริการ

2. เหตุที่สนใจเรื่องนี้
เพราะเป็นการเฝ้าตรวจการทำงานของเครื่องบริการตามปกติ
#ls /var/log/maillog* -al ดูปริมาณของแต่ละแฟ้ม
#tail /var/log/maillog –lines=300 ดูรายการ 300 บรรทัดล่างสุด
#cat /etc/postfix/main.cf |grep relayhost กำหนดไว้แล้ว
สรุปว่ามีการกำหนด relay ใน main.cf ซึ่งสัมพันธ์กับ maillog ที่บันทึกไว้

มองเลยไปหน่อย กับ เขื่อนแม่วงก์

social media กับ เขื่อนแม่วงก์
social media กับ เขื่อนแม่วงก์

ก่อนอ่านเรื่องต่อไปนี้ ตามหลักของ การจัดการความรู้
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพราะ เหรียญมีมากกว่า 2 ด้านเสมอ
ที่สำคัญ .. ผมสนับสนุนการไม่สร้างเชื่อนแม่วงก์ เหมือนกัน
เพียงแต่มองเลยมุมที่เห็นมอง ๆ กันอยู่ไปอีกหน่อย เท่านั้นเอง
และ ไม่ใช่ทุกเขื่อนที่เหมาะสมกับการถูกปล่อยน้ำจนหมดเขื่อน

การมีเขื่อน หรือสร้างเขื่อนใหม่ อาทิ เขื่อนแม่วงก์
ทำให้กระทบสิ่งแวดล้อมมากมาย [มหาศาล]
มีกลุ่มคนในประเทศไทยไม่เห็นชอบต่อการสร้างเขื่อน
ลอง [ลองเฉย ๆ ครับ] ชวนคิดย้อนกลับปล่อยน้ำให้หมด
แล้วใช้ประโยชน์จากพื้นที่เหนือเขื่อนจะเกิดอะไรขึ้น
โดยพิจารณาข้อมูลจากคลิ๊ปที่อธิบายผลเสียของเขื่อน

ปล่อยน้ำหมดเขื่อนแล้วได้อะไร (มองตามคลิ๊ป)
1. ได้พื้นที่ดินบนพื้นโลก สำหรับปลูกต้นไม้ เพาะปลูก เป็นที่อยู่อาศัย
และแหล่งอาศัยของสัตว์นานาชนิด เพื่อขึ้นอีกมากมาย
2. ได้พื้นที่ป่าราบต่ำเพิ่มขึ้น ที่เป็นแหล่งหากิน และอาศัยของสัตว์ในอนาคต
หากพัฒนาให้ดีก็จะมีสัตว์ป่ามาพักอาศัยจำนวนมาก เพราะผืนดินอุดมสมบูรณ์
3. ได้แหล่งปลูกต้นไม้ใหญ่จะมีที่เติบโต ด้วยโครงการพัฒนาป่าที่มีดินอุดมสมบูรณ์
ในช่วงเวลา 100 – 200 ปีอย่างแน่นอน

อีกมุมที่ตอบผู้คัดค้านการปล่อยน้ำหมดเขื่อน (มองตามคลิ๊ป)
1. จากสถิติน้ำท่วมทุกภาค ไม่มีเขื่อนใดหยุดน้ำท่วมได้
สถิติน้ำท่วม 2554 พบว่า ปริมาณน้ำในเขื่อน ต่อปริมาณน้ำท่วม
ไม่เป็นเหตุผลที่จะต้องเก็บน้ำในเขื่อนอยู่อีกต่อไป
2. เหตุน้ำท่วมในทุกพื้นที่ มีน้ำจากทุกทิศทุกทาง ที่ไหลมารวมกัน
ปริมาณน้ำที่ปล่อยจากเขื่อน จึงไม่ใช่เหตุผลของการมีเขื่อนเพื่อป้องกันน้ำท่วม
3. จากการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA
กรรมการหลายชุด บอกว่า การสร้างเขื่อนกระทบสิ่งแวดล้อม
นั่งคือ ถ้าไม่มีเขื่อนก็จะดีต่อสิ่งแวดล้อม มีป่า ก็จะมีชีวิตตามมา
ดังนั้น การปล่อยน้ำเหนือเขื่อน จะคืนชีวิตสู่พื้นที่ เกิดต้นไม้และสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น
ในอนาคตไปชั่วลูกชั่วหลานอย่างไม่ต้องสงสัย

เหตุผลหลัก ที่เขาว่าควรมีน้ำในเขื่อน
1. เขื่อนช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง
ซึ่งไม่จริง เพราะเชื่อนทุกเขื่อนคือแหล่งต้นน้ำ
แม้ไม่มีเชื่อนก็ยังมีน้ำไหลตลอดทั้งปี ให้ชีวิตแต่ชุมชนและเกษตรกร
2. เขื่อนไม่ได้แก้ปัญหาน้ำท่วมทั้งพื้นที่ใกล้เคียง
และที่ราบในภาคกลาง เพราะเขื่อนเก็บน้ำได้น้อยมาก
เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำทั้งหมดที่ท่วมในแต่ละพื้นที่

ทำไม ควรปล่อยน้ำจนหมดเขื่อนจึงสำคัญ
1. ได้พื้นที่ดินเพิ่ม มีต้นไม้ สัตว์ป่ามีที่ยืนในที่ ๆ อุดมสมบูรณ์
ในเวลา 20 – 30 ปีก็จะเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ได้
ป่าสักที่ไม่เคยมี ก็จะเติบโตขึ้นใหม่ริมห้วย หนอง คลอง บึงหลังเขื่อน
2. พื้นที่หลังเขื่อนเป็นพื้นที่ป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์
เมื่อได้กลับคืนมา ก็จะทำให้ป่าในบริเวณนั้น
เป็นผืนเดียวกัน และมีความเป็นป่าที่สมบูรณ์กว้างใหญ่
3. สัตว์ที่ไม่เคยพบเห็นก็อาจได้พบเห็นในพื้นที่ใหม่
มีสัตว์นานาสายพันธ์เข้าไปอาศัย ก็อาจกลายพันธ์ใหม่
ตามสภาพพื้นที่ที่เกิดใหม่ แล้วเกิดสัตว์ประจำถิ่นใหม่ขึ้น
4. มีแหล่งน้ำ หรือผืนป่าต้นน้ำขนาดใหญ่กลับมา
ในเวลาเพียงไม่กี่สิบปี ซึ่งคุ้มค่าแก่การรอคอย

เราจะช่วยกันสนับสนุนการปล่อยน้ำจนหมดเขื่อน
ด้วยการ อ่าน ฟัง พูด และแชร์

หนังสือ “สร้างเขื่อนแม่วงก์เถอะนะฯ” 2564
http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement4432.htm

พบเสือโคร่ง 16 ตัว
https://www.thairath.co.th/news/local/north/1061029

แผนพัฒนาแหล่งน้ำ แทนการสร้างเขื่อน
https://news.thaipbs.or.th/content/277738

สวยไม่ได้มาตรฐาน ตกงานได้ง่าย ๆ นะ .. ขอบอก

nattha komolvadhin
nattha komolvadhin

อ่านพบจาก fb profile ของ Nattha Komolvadhin
ซึ่งเธอทำงานที่ ThaiPBS มีงานออกสื่อบ่อยครั้ง
เป็นเรื่องของ Julia chen ถูกทิ่มใจดำ
ติดตามเรื่องนี้ได้ที่

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151697980670892&set=a.10150120081805892.284381.709100891

เรื่องราวของ Julie Chen

มีเรื่องที่อาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก และไม่มีสาระในสายตาคุณผู้ชาย แต่สำหรับผู้หญิงเป็นเรื่องใหญ่มาก

เรื่องของ “ความสวย และความก้าวหน้าในอาชีพการงาน

มีข่าวที่สร้างความฮือฮาในสหรัฐไม่น้อย เมื่อ Julie Chen หนึ่งในพิธีกรรายการ “The Talk” เปิดเผยความลับของเธอกลางรายการทีวีว่า เธอต้องไปทำศัลยกรรมให้ตาโตขึ้น เพื่อที่จะเติบโตในงานผู้ประกาศหน้าจอโทรทัศน์

julie chen
julie chen

เหตุเกิดเมื่อปี 1995 วันที่เธอยังเป็นนักข่าวท้องถิ่นที่เมือง Dayton เธอเป็นนักข่าวภาคสนาม และบอกกับผู้บริหารว่าอยากจะขอโอกาสเป็นผู้ประกาศหน้าจอบ้าง ถ้าเผื่อมีคนลางาน หรือทำแทนในวันหยุดก็ได้ ปรากฏว่าผู้บริหารชายท่านนั้นบอกว่า

คุณคิดว่าหน้าตาคุณเป็นแบบนี้จะมีคนดูเหรอ หน้าตาคุณออกจีนๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับคนในท้องถิ่น และถ้าให้ผมพูดตรงๆก็คือ ตาคุณที่เป็นแบบนี้ (ตาชั้นเดียว) ดูไม่น่าสนใจ ดูน่าเบื่อ และดูไม่ตื่นตัว

จูลี่ บอกว่าความเห็นที่ออกมาแบบนั้น เสมือนมีดสั้นที่ทิ่มแทงหัวใจ เสมือนกับการพูดตัดโอกาสว่าชาตินี้เธอจะไม่มีทางเจริญก้าวหน้าใดๆ ก็เพราะว่ามีตาชั้นเดียว เหมือนหมวยจีนทั่วๆไป

ต้องบอกไว้ก่อนว่าจูลี่ เป็นที่ยอมรับอย่างมากเรื่องความสามารถ สัมภาษณ์คนได้อย่างดี ทำข่าวได้เยี่ยม

พอถูกเจ้านายวิพากษ์เรื่องหน้าตาตรงๆ เธอเลยคิดหนัก แทบจะเสียความมั่นใจในตัวเอง และยิ่งพอได้คุยกับเอเจนต์หางาน ก็ยิ่งคิดหนัก เพราะเอเจนต์พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าทางออกเดียว คือ ต้องไปทำตาสองชั้น (วงการผู้ประกาศในสหรัฐแข่งกันดุมาก นอกจากจะต้องเก่งมากแล้ว ภาพลักษณ์หน้าจอเป็นเรื่องตัดสินด้วยว่าจะได้งานหรือไม่ได้งาน)

ในที่สุดเธอตัดสินใจไปทำ และหน้าตาเปลี่ยนไปอย่างที่เห็น
แน่นอนว่าเธอดูตาโตขึ้น ดูสวยขึ้น และหน้าที่การงานดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
จูลี่ บอกว่าไม่เคยออกมาเปิดเผยตรง ๆ แบบนี้ แต่คนที่เห็นเธอก็คงรู้ว่าเธอไปทำตามาแน่นอน และต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าตาที่ไปกรีดสองชั้นมาจะสวยเข้าที่อย่างที่เห็น

เรื่องนี้มีทั้งเรื่องความสวย เรื่องชาติพันธุ์ความเป็นคนจีนในสังคมสหรัฐ และหน้าที่การงานของผู้หญิง

เรื่องราวของจูลี่ สำหรับสังคมอเมริกันคือการเหยียดชนชาติ (racism) ว่าวงการสื่อไม่ยอมรับความสวยแบบจีนๆ

แต่เรื่องราวของจูลี่ สะท้อนภาพรวมว่าผู้หญิงเมื่อก้าวสู่โลกสาธารณะ มีหลายอย่างเป็นปัจจัยที่จะตัดสินว่าพวกเธอจะเดินต่อไป หรือ “ไม่ได้” เดินต่อไปในอาชีพการงาน ความสามารถล้วนๆไม่พอ

ด้านหนึ่งจูลี่ได้รับความเห็นใจและได้รับการสนับสนุนอย่างมากที่ “กล้า” เปิดเผยเรื่องราวของเธอให้คนรับรู้ แต่อีกด้านหนึ่งยังมีคนค้านเช่นกันว่าที่เธอยอมถูกกรีดตา ก็เพื่อจะได้ “ความสวย” มาครอบครอง โดยที่ไม่ยอมต่อสู้

การตัดสินใจของจูลี่ คงเป็นเรื่องที่คิดแทนกันไม่ได้ แต่เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า “มาตรฐานของความสวย” ที่ตั้งไว้โดยสังคม อาจจะกำลังเป็นหอกทิ่มแทงผู้หญิงจำนวนมาก และสร้างความทุกข์ให้กับผู้หญิงจำนวนมากเมื่อพวกเธอคิดว่า “สวยไม่ได้มาตรฐาน” ตามที่สังคมบอกไว้

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความสวย หน้าตา เป็นปัจจัยสำคัญต่อโลกแห่งการทำงานของผู้หญิง และยิ่งมีมาตรฐานความสวยที่ตั้งไว้สูงมาก และต่างกันไปในแต่ละสังคม ไม่นับรวมสินค้าหลากหลาย วงการโฆษณาต่างๆ ยิ่งทำให้ผู้หญิงรู้สึกว่าแรงกดดันมีมาก และจะต้องทำสวยเท่าที่จะทำได้เพื่อ “ให้ได้มา” ซึ่งความฝัน

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151697980670892&set=a.10150120081805892.284381.709100891

เจริญ ซื้อโออิชิ เพราะคุณตัน

ยืดเยื้อยาวนานข้ามปี จนได้บทสรุป เปิดแถลงข่าวกันก่อนตรุษจีน สำหรับการขายหุ้น…ของ “ตัน ภาสกรนที” ในบริษัทโออิชิ กรุ๊ป ให้กับบริษัทนครชื่น จำกัด ที่มี “เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” และครอบครัวเป็นเจ้าของ และบริษัท Bengena ที่มี Ma Wah Yan นักลงทุนฮ่องกงเป็นเจ้าของ

จาก http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=46635

tan - oishi
tan - oishi

ทั้ง “ตัน” “ธนิต ธรรมสุคติ” ตัวแทนของครอบครัวสิริวัฒนภักดี และ “อุดมศักดิ์ ชาครีย์วณิช” กรรมการผู้อำนวยการบริษัทหลักทรัพย์ เอเชียพลัส จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของการซื้อกิจการต่างแถลงด้วยรอยยิ้มแบบแย้มริมฝีปากเพียงเล็กน้อย เพราะสิ่งที่เห็นวันนี้เป็นคำตอบที่ย้ำชัดว่าสิ่งที่ปฏิเสธก่อนหน้ากลายเป็นจริง ที่ทั้ง “นครชื่น” และเบียร์ช้าง ภายใต้บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ต่างก็อยู่ในอาณาจักรของ “เสี่ยเจริญ ” มหาเศรษฐีร่ำรวยอันดับ 5 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการจัดอันดับประจำปี 2548 ของนิตยสารฟอร์บส์ และเป็นคนไทยคนเดียวที่ติดอันดับทอปเทน

“ตัน” ณ นาทีนี้รับเงินใส่กระเป๋าไปแล้วกว่า 3,000 ล้านบาท เขาบอกแผนการใช้เงินก้อนนี้ว่าส่วนหนึ่งไว้ซื้อความสุขสำหรับครอบครัว และลงทุนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะไม่มีการนำมาลงทุนผลิตภัณฑ์และสินค้าอื่นใดอีก เพราะเขาพร้อมอย่างเต็มที่ในการเป็นผู้ถือหุ้น แม้เวลานี้จะถืออยู่เพียงประมาณ 10% ในบริษัทเดิมที่เขาก่อตั้งมากับมือ แต่ก็พร้อมกว่า 100% ในการเป็นลูกจ้างให้กับ”เสี่ยเจริญ” ด้วยคำมั่นสัญญาที่ว่า

แม้จะถือหุ้นน้อยลง แต่ผมก็ยืนยันว่าทำงานให้เต็มที่ ประวัติผมทั้งที่เคยเป็นลูกจ้าง หรือเจ้าของกิจการ ยืนยันว่าไม่เคยทำงานครึ่งราคา

ยิ่งไปกว่านั้นยังต้องทำให้สมกับราคาที่ “ตัน” ได้ยินจาก “เสี่ยเจริญ” มาด้วยว่า “โออิชิ ถ้าไม่มีคุณตันบริหารด้วย ให้ฟรียังไม่เอาเลย”

นับจากวันนี้ “ตัน” บอกว่าต้องเรียนรู้ว่าธุรกิจของเสี่ยเจริญมีอะไรบ้างที่จะต่อยอดชาเขียวโออิชิ ด้วยอย่างน้อยก็คาดหวังว่าโรงแรมของเสี่ยเจริญ ก็ควรมีชาเขียวโออิชิเสิร์ฟ ไม่ใช่ใช้ชาเขียวยี่ห้ออื่น โรงงานของกลุ่มไทยเบฟฯก็น่าจะเป็นฐานในการขยายโรงงานชาเขียวได้ หรือช่องทางจำหน่ายในต่างประเทศก็สามารถให้ชาเขียวเข้าไปร่วมใช้ด้วย

แต่ที่แน่ๆ ภายใต้แบรนด์ “โออิชิ” จะแตกแขนงธุรกิจออกไป อีก 3 กลุ่มธุรกิจ เครื่องดื่ม อาหาร และขนม ซึ่งเป็นกลุ่มล่าสุด โดยมี ขนมโออิชิ เซนเบ้ ออกมาชิมลางเป็นสินค้าตัวแรก

“ยืนยันว่าเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ผู้ถือหุ้น ต่อไปโออิชิถือว่ามั่นคงกว่าเดิม และดีกว่าเดิม”

เป็นแผนที่ชัดเจนว่าสามารถต่อยอดธุรกิจชาเขียวให้สดใสได้อย่างแน่นอน โดยจะมีการรับทีมงานเข้ามาดูแล ทั้ง 3 แต่ยังยึดคติเดิม คือ คนน้อยงานมาก

แต่ใช่ว่า “ตัน” ผู้ที่เรียกตัวเองว่า “นักมาร์เก็ตติ้งที่ดี” จะหยุดนิ่งอยู่เพียงเท่านี้ เพราะสิ่งที่คาดเดากันอยู่ว่างานนี้ “เสี่ยเจริญ” ซื้อโออิชิ แถม “ตัน” หรือซื้อ “ตัน” พ่วงโออิชิ แบบแผนซื้อเหล้าพ่วงเบียร์กันแน่ ยังต้องติดตามต่อไป เพราะแม้แต่ “ตัน” เองก็ไม่กล้ายืนยันอนาคตตัวเอง ว่าวันหนึ่งข้างหน้าจะเปลี่ยนเก้าอี้ไปปลุกปั้นน้ำเมาของไทยเบฟฯที่กำลังเผชิญกับการแข่งขันอย่างเข้มข้นหรือไม่ และกระแสต้านไทยเบฟฯเข้าขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯจนต้องไปซบอกตลาดสิงคโปร์แทน

คำตอบ ณ เวลานี้ จาก “ตัน” มีเพียงว่า “ไม่ขอตอบ ตอบได้แต่เพียงว่า ชีวิตนี้อย่าไปรับรองว่าไม่แต่งงาน ตอนนี้เอาใกล้ ๆ ก็พอ”

http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=46635

ทางออกของการศึกษาไทย คือ decentralization

centralization decentralization
centralization decentralization

ไปอ่านพบเรื่อง การกระจายอำนาจการศึกษา คือทางออกของการศึกษาไทย
ที่ http://board.palungjit.org/f10/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-143339.html

อ่านดูแล้ว ผมว่าเขาสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาไทย โดยเน้นการกระจายอำนาจ
แต่มองเห็นปัญหา จำแนกได้ 5 ข้อ ..
เห็นว่าน่าสนใจ จึงคัดลอกเก็บไว้ โดยมีเนื้อหาดังนี้

แนวคิดการปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญ คือ การทำอย่างไรจึงจะมีระบบบริหารการศึกษาที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ คนแต่ละคนที่มีหน้าที่ทำงานอะไร ได้ทำงานนั้น ๆ ได้อย่างไม่มีอุปสรรค ระบบบริหารที่ดี คือทำให้เกิดระบบที่จริงจังที่จะทำงานต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จ และสำหรับประเทศไทยที่มีประชากร 64-65 ล้านคน การรวมศูนย์อำนาจเป็นสิ่งที่รังแต่จะทำให้ระบบต่าง ๆ โดยเฉพาะระบบราชการเดินไปได้ยาก ระบบการศึกษาที่ยึดโยงกับระบบราชการ จะต้องกระจายอำนาจไปสู่ส่วนท้องถิ่น

ผลแห่งการพยายามปฏิรูปการศึกษา จึงทำให้เกิดเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นมา 176 แห่ง ทั่วประเทศ แต่สิ่งที่เป็นผลตามมามีดังต่อไปนี้

1. บทบาทหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษา (Roles and Functions)
ยังไม่ชัดเจน คือไม่มีกฎหมายรองรับให้เป็นนิติบุคคลที่จะทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ในเขตพื้นที่การศึกษาของตน หากในทัศนะของผม ควรให้เขตพื้นที่ได้มีหน้าที่ครบถ้วนต่อไปนี้ คือ การวางแผนรวมของเขตพื้นที่, การจัดสรรกำลังคน เกลี่ยกำลังคน, การจัดสรรงบประมาณ รวมถึงการรณรงค์หางบประมาณเสริมจากงบประมาณที่ได้จากส่วนกลาง การจะทำได้ดังกล่าว จะต้องมีการเสนอเป็นกฎหมายลูก ประกอบการปฏิรูปการศึกษา ทำให้เกิด CEO การศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่

2. การเปลี่ยนแปลงยังไม่เกิดแรงผลักดันให้ต้องพัฒนาอย่างชัดเจน (Impact and Momentum)
จากการสังเกตของผม ครูอาจารย์จำนวนมาก ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนการสอน ยังไม่มีการดำเนินการไปตามมาตรฐานการศึกษา ดังที่ทาง สมศ. ได้รายงานต่อสาธารณะหลายครั้ง ก็ยืนยันได้ว่า ยังไม่มีการพัฒนาการทำงานของครู ซึ่งส่งผลให้การจัดการเรียนการสอน และผลการเรียนของนักเรียนก็เลยยังไม่พัฒนา จากการศึกษาขีดความสามารถในการแข่งขันของคนไทย เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เรามีจุดอ่อนด้าน “ขีดความสามารถของกำลังคน” ซึ่งแน่นอนว่าทำให้การที่ต่างชาติคิดจะมาลงทุนในไทยก็ต้องคิดมาก การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ก็เป็นผลพลอยที่จะเห็นได้จากอาการชะงักให้เห็นในช่วง 4-5 ปีหลังนี้

3. การยังไม่เกิดการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการศึกษาของชุมชน (Participation)
ผมลองได้ศึกษาจากที่สอนในระดับดุษฎีบัณฑิตทางความเป็นผู้นำและการบริหารการศึกษา ทั้งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และการสอนที่อื่นๆ พบว่า ต้นทุนการศึกษาขั้นพื้นฐานที่น่าจะเพียงพอสำหรับการจัดการศึกษาระดับ ป. 1 ถึง ม. 6 เฉลี่ยน่าจะเพียงพอที่ 16,500 บาท ในช่วงที่ค่าเงินเฟ้อและค่าครองชีพเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยปัญหาราคาน้ำมัน จะทำให้มีผลกระทบต่อการศึกษาเช่นกัน ในอีกไม่นานคงต้องมองต้นทุนที่ 20,000 บาท นั้นหมายความว่าจะจัดการศึกษาให้ได้ดีเป็นมาตรฐาน คงต้องมีเงินเสริมจากงบประมาณแผ่นดินสักร้อยละ 30 ซึ่งต้องมาจากท้องถิ่น พ่อแม่ผู้ปกครอง และอื่นๆ หากไม่ได้การมีส่วนร่วมจากชุมชน การศึกษาของชาติในระดับภูมิภาคก็จะประสบปัญหา

4. ความเสื่อมล้าของการศึกษาภาคเอกชน (Private Education)
จากการประมาณการของผมเอง คิดว่าภาคเอกชนจะมีบทบาทในการศึกษาขั้นพื้นฐานเหลือไม่เกินร้อยละ 10 โรงเรียนมัธยมศึกษาของเอกชนจะได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมาเป็นระดับประถมศึกษา ที่พอจะเป็นความต้องการ และเอกชนทำได้ดี คือระดับอนุบาลศึกษา การศึกษาประถมวัย โรงเรียนเอกชนนั้นเป็นทางเลือกของการศึกษา ที่หากเขามีความเข้มแข็งในระดับหนึ่ง ภาครัฐก็ไม่ต้องไปเหนื่อยทำแทนเขา พ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนหนึ่ง เขามีความสามารถจ่ายเงินได้บางส่วน หากมีการสนับสนุนเงินสมทบ หรือมี Education Coupon ที่ชัดเจนว่าจะสนับสนุนการศึกษาที่ผู้ปกครองได้เลือกส่งบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียนเอกชนได้หัวละเท่าใด และประกาศอย่างชัดเจนแน่นอน เอกชนเขาจะได้ไปคิดแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ถูก แต่ถ้าอะไร ๆ ก็ไม่แน่นอน เขาลงทุนทำไปแล้ว มีแต่ล้มเหลว ก็เป็นความสูญเปล่า

5. การขาดระบบพัฒนานักบริหารการศึกษาพันธุ์ใหม่ (New Leadership)
เรามีการจัดการเรียนการสอนด้านบริหารการศึกษากันมากมาย หลายแห่ง แต่ทั้งหมดยังมีปัญหาในด้านต่อไปนี้
– การมีวิสัยทัศน์ที่จะมองการณ์ไกล (Visions) บางที่อาจต้องเข้าใจในความเป็นไปในโลกสากล ประเทศที่เขาพัฒนากันไปแล้วนั้น มีแนวโน้มกันอย่างไร
– การมีความสามารถในการวางแผน มีแผนพัฒนา (Planning Skills) การจะต้องไปขอเงินขอทางจากกลุ่มต่างๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ หากเป็นภาคธุรกิจ เขาต้องมีแผนงานที่จะเห็นได้ว่าจะต้องการใช้เงินจำนวนเท่าใด ไปใช้เรื่องอะไร จะมีความคุ้มหรือไม่ จะต้องมีการสนับสนุนต่อเนื่องกันนานสักเท่าใด
– การมีความเข้าใจและทักษะทางการเมือง (Political Skills) นักบริหารการศึกษายุคใหม่หนีไม่พ้นการเมือง ต้องสามารถทำงานร่วมกับนักการเมือง ตัวแทนประชาชนในแต่ละระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการถ่วงดุลแรงผลักดันของกลุ่มต่างๆ อย่างเหมาะสม
– ความรอบรู้ในเรื่องกฎหมาย (Legal Education) การเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ มีการออกกฎหมาย กฎระเบียบ วิธีปฏิบัติที่ต้องโปร่งใสมีหลักที่จะยึด

นี่เป็นเพียงบางส่วนที่นักบริหารการศึกษารุ่นใหม่ ๆ ต้องพัฒนาตนเองให้มีขีดความสามารถ

มองในอีกด้านหนึ่งคือ “โอกาส” ผมคิดว่าในช่วง 5-10 ปีต่อไปนี้ เราคงต้องมีนักบริหารพันธุ์ใหม่ ระดับนำ อาจจะเรียกว่า CEO ทางการศึกษาสัก 1000 คน ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค คนระดับนี้อาจได้แก่ ผอ. เขตพื้นที่การศึกษา รองผอ. ที่จะเตรียมตัวเรียนรู้เพื่อจะรับหน้าที่ต่อไป นอกกจากนี้คือ ผอ. อาจารย์ใหญ่สถานศึกษาทั้งของภาครัฐ และเอกชน ขนาดใหญ่

อีกระดับหนึ่ง อาจจะนับเป็นหมื่น ๆ คนทีเดียว เขาคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งมีทั่วประเทศนับกว่า 30000 แห่ง อีกส่วนคือพวกที่จะมีบทบาทจากภายนอก จากภาคธุรกิจเอกชน ชุมชน ระบบปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล, อบจ., อบต., เขาเหล่านี้ โดยเฉพาะส่วนที่ไม่ใช่บุคลากรของการศึกษาโดยตรง แต่เขาจะมีบทบาทในการช่วยผลักดันระบบการศึกษาให้ขับเคลื่อนได้อย่างมีพลัง

เราคงต้องมองวิธีการผลิตกำลังคนไปนำระบบการศึกษา และระบบสังคมในแบบใหม่ โดยต้องเน้นไปที่ขีดความสามารถในการไปเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างจริงจัง มากกว่าการจะผลิตคน โดยเน้นไปที่ปริญญาบัตร หรือกระดาษ

ระบบผลิตคนและผู้นำทางการศึกษานั้น จะต้องเป็นระบบประสมประสานที่ทำให้นักบริหารการศึกษาใหม่ มีเครื่องมือที่ติดตัวไปในการทำงาน และสามารถผลักดันขับเคลื่อนการศึกษาของชาติไปได้อย่างจริงจัง เราต้องไม่หวังการนำจากระบบการเมืองส่วนกลาง เพราะแนวโน้มความไม่มั่นคงทางการเมืองในส่วนกลาง ประกอบกับมันเป็นไปไม่ได้แล้วที่จะยึดการบริหารแบบรวมศูนย์ แบบหวงอำนาจ

ข้อเสนอแนะทางออกการศึกษาไทย โดย นายอรรถพล จันทร์ชีวะ

need to change in Thailand Education System
need to change in Thailand Education System

ไปอ่านพบเรื่อง ข้อเสนอแนะทางออกการศึกษาไทย
โดย นายอรรถพล จันทร์ชีวะ ผู้จัดการเคมบริดจ์ เอ็ดยูเคชั่น
ที่ http://www.grandassess.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&No=1551926

อ่านดูแล้ว ผมว่าคุณอรรถพล สนับสนุนให้ดำเนินการตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่มีแผนอยู่แล้ว แต่เราไม่ทำตามแผน ทิศทางการพัฒนาก็เลยรวนอย่างทุกวันนี้ .. เห็นว่าน่าสนใจ จึงคัดลอกเก็บไว้ โดยมีเนื้อหาดังนี้

เรียน ท่านผู้จัดการหน่วยประเมินแกรนด์ แอสเซสเมนท์ ที่เคารพ

ผมนายอรรถพล จันทร์ชีวะ  ผู้จัดการเคมบริดจ์ เอ็ดยูเคชั่น  ขอรบกวนใช้กระดานสนทนาของท่าน ในการแสดงความคิดเห็นด้านการศึกษาไทยสักนิดนะครับ

สืบเนื่องจากผลการจัดอันดับการศึกษาไทยจาก WEF ระบุว่าไทยอยู่ อันดับ 8 (สุดท้าย) แย่กว่าเขมรและเวียดนาม ทำให้ผมมีความเป็นห่วงในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จึงอยากให้ข้อเสนอแนะไว้สักหน่อย ดังนี้

๑. ผมเคยเสนอแนะในเวปไซต์เคมบริดจ์ฯ ไว้ว่า ถ้าเอาการเมืองออกจากการศึกษาไทยได้ ก็น่าจะทำให้การศึกษาไทยมีความชัดเจน ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เกิดจากรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาให้สับสนกันบ่อย ๆ ซึ่งในความเป็นจริงผมว่าประเด็นนี้ เป็นไปได้ยากไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ฉะนั้นผมจึงไม่อยากให้นักการศึกษาไทย คิดวนไปวนมาเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เสียเวลา แต่ผมพบว่าจริง ๆ แล้ว สมศ. รู้ดีว่า ทางออกของการศึกษาไทยในประเทศนี้ คือ การใช้แนวทางการปฏิรูปการศึกษานั่นเอง  เรียนว่า เรามีการประกาศปฏิรูปการศึกษาไทยมา ๒ ครั้งแล้ว แต่ก็ไม่มีใครให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ซึ่งนั่นแหล่ะครับ จะมีใครทราบสักกี่ท่าน ว่านี่คือทางออกของความก้าวหน้าในการศึกษาไทยที่ดีขึ้นได้

ด้วยปัจจัยสำคัญที่กว่าจะได้ประเด็นข้อสรุปจากการปฏิรูปการศึกษาไทย จะปฏิรูปต้องใช้ข้อมูลและผลวิจัย รวมทั้งประเด็นที่ได้จากการจัดเวทีระดมความคิดเห็นกันมากกมาย ฉะนั้น ข้อสรุปที่เป็นประเด็นในการปฏิรูป ในรอบที่สองนี้แหล่ะคือ ทางออกที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าการศึกษาไทยอย่างถูกทิศทาง

โดยสังเกตกันดี ๆ ว่า สมศ. ชี้ประเด็นให้คนในวงการศึกษาไทยรับรู้ว่า การปฏิรูปการศึกษาไทยสำคัญและมีคุณค่ามาก ๆ โดยบรรจุไว้ในตัวบ่งชี้ที่ 12 ในการประเมินรอบที่สามนี้ใช่ไหมครับ

๒. สิ่งที่เราควรทำในตอนนี้ ไม่ใช่การเรียกร้องให้เปลี่ยนระบบการศึกษาไทย หรือ เปลี่ยนรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ  หากแต่เราควร รณรงค์ให้การปฏิรูปการศึกษามีความศักดิ์สิทธิ์และนำประเด็นทั้ง 4 แนวทางที่ได้จากการสรุปประเด็นการปฏิรูปนี้ กล่าวคือ

1. การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
2. การพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่
3. การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่
4. การพัฒนาคุณภาพการบริหารใหม่

ซึ่งมีรายละเอียดเป็นแนวทางเพิ่มเติมในแต่ละข้อนี้ให้ท่านพิจารณาได้ชัดเจนมากขึ้นไปอีก  โดยผมคิดว่า เค้าทำมาดีมีแนวทางที่ดีและอิงผลการวิจัย ใช้งบประมาณมากมายไปแล้ว เราจึงควรเชื่อมั่นและยึดถือ รวมทั้งหากรัฐมนตรีคนใดมารับหน้าที่ ต้องมีหน้าที่หลักคือการผลักดันให้กระบวนการปฏิรูปเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จะออกกฎ จะเปลี่ยนแปลง หรือ  สร้างนโยบายใด ๆ ใหม่ ๆ ควรจะสอดคล้องหรืออาจเปลี่ยนเเปลงเชิงยุทธวิธีมากกว่า ออกนโยบายมาให้ซ้ำซ้อนหรือสร้างความสับสน หรือ ทำเพียงเพื่อล้มล้างสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ทำไว้ ซึ่งผมเห็นด้วยกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาคนล่าสุด ที่เน้นการสร้างนโยบายตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษารอบที่สอง เพียงแต่ผมว่า ท่านควรศึกษารายละเอียดประเด็นการปฏิรูปให้ดีอีกนิด จะได้ไม่เกิดการตกหล่น เป็นต้น

๓. ผมฝากประเด็นสุดท้าย คือ เราควรทบทวนการมีสถานศึกษาจำนวนมาก แต่ครูไม่ครบห้องครบชั้น ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยแห่งความล้มเหลวที่สุด ที่ประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม และอื่น ๆ เค้าให้ความสำคัญและกำลังแก้ไข มีกฎเหล็กว่าคุณภาพการจัดการศึกษาต้องเน้นครูครบชั้น นำคนคุณภาพมาเป็นครู  ซึ่งปัญหานี้บ้านเรายังคงเป็นอยู่ ซึ่งบางโรงเรียน มีครู ๑ คนแต่ต้องสอนทั้ง ๓ หรือ ๔ ชั้นเรียน ซึ่งควรเลิกคิดกันได้แล้วว่า สัดส่วนจำนวนครูกับเด็กก็เหมาะสมแล้ว ผมว่าอย่างนี้ก็ไปไม่ถึงไหน ธรรมชาติของคนเป็นครูไม่ได้เก่งหรือรอบรู้ทุกเรื่อง ฉะนั้นเมื่อครูต้องสอนในสิ่งที่ตนไม่รู้ ยังไงก็สู้เขมรไม่ได้ เพราะเค้าเน้นครูต้องตรงวิชาเอก โท ถ้าไม่มีก็ยุบไปเรียนรวมกัน เน้นคุณภาพไม่เน้นปริมาณ เป็นต้น

ผมเรียนว่า ระบบการศึกษาไทยเรามีปัญหาหลายอย่าง แต่เราก็พยายามแก้ไขกันมาหลายอย่างแล้ว ทางที่ดีคือ เราควรทบทวนและพิจารณาจากสิ่งที่เรา  ทำมาแล้วว่าใช้ประโยชน์มันอย่างคุ้มค่าแล้วหรือยัง ไม่ควรมองแต่ว่า เราจะหานวัตกรรมใหม่ ๆ อะไรมาเสริมเพียงเท่านั้น และควรเคารพผู้ทรงคุณวุฒิที่พยายามร่างเเนวทางการปฏิรูปและยึดถือร่วมกัน เมื่อพัฒนาการึกษาไทยให้ก้าวหน้า แก้วิกฤตนี้ให้สำเร็จร่วมกันนะครับ

ผู้ตั้งกระทู้ ผจก.เคมบริดจ์ฯ :: วันที่ลงประกาศ 2013-09-08 14:14:12

ข้อมูลเพิ่มเติม
สมศ. = สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)
ตัวบ่งชี้ที่ 12 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา

สร้างโฮมเพจของนักเรียนมัธยมต้นด้วย artisteer.net

9 kings = 9 รัชกาล
9 kings = 9 รัชกาล

http://www.thainame.net/home/king/

สมัยมีบริการอินเทอร์เน็ต คนรุ่นใหม่สมัยนั้น
ก็จะใช้ geocities.com เป็นแหล่งเผยแพร่
แต่จำได้ว่าต่อมาผมใช้ hypermart.net แล้วก็เป็นสาวก
ของเขาจนทุกวันนี้ ส่วน geocities.com ก็ปิดบริการไป
เหมือนแหล่งบริการอื่น ๆ นับร้อย ที่หายไปเกือบทั้งหมด
มีรายหนึ่งคือ thai.net ที่เคยแนะนำใคร ๆ ว่าสุดยอด
แต่ท้ายที่สุดก็ปิดบริการไปอย่างน่าเสียดาย

ปัจจุบันครูโรงเรียนประถม และมัธยมหลายแห่งสอนเขียนเว็บเพจ
ถ้าเป็นมัธยมต้นก็จะใช้เครื่องมือเขียนเว็บ
ถ้าเป็นมัธยมปลายก็จะสอนเขียน HTML หรือ PHP หรือ C หรือ JAVA

วันนี้เป็นเรื่องของเด็ก ม.ต้น คนหนึ่ง
ที่จัดทำ “โฮมเพจ 9 รัชกาล
เป็นนักเรียน ม.3 เทอม 1 ที่จัดทำด้วยโปรแกรม Artisteer.net
แล้ว export เป็น html ได้แฟ้มหลาย ๆ แฟ้มที่เปิดผ่าน ie ได้เลย

แล้วผมก็ใช้งานระบบ free hosting ของ thainame.net
โดย upload แฟ้มทั้งหมดเข้าห้องที่สร้างขึ้นผ่าน file manager
พบผลการอัพโหลดที่
http://www.thainame.net/home/king/

http://artisteer.net/