คลังข้อมูลอุดมศึกษา สู่สารสนเทศอุดมศึกษา

information
information

30 พ.ค.56 เล่าสู่กันฟังว่า บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการส่งข้อมูลคลังข้อมูลอุดมศึกษา มีหน่วยงานที่พัฒนาระบบคือ กลุ่มสารนิเทศ สำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พบว่ามีข้อมูลที่ สกอ. นำไปเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไป หลายระบบ ดังนี้

1. ระบบการวางแผนเพื่อการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
– ประโยชน์ต่อที่นักเรียน คือ สืบค้นหลักสูตรที่รับรองรับทราบแล้ว และค่าเล่าเรียน
และยังเปิดดูเนื้อหาในเล่มหลักสูตร และใช้เปรียบเทียบกันได้ ว่าหลักสูตรใดสอนอะไร
– หน่วยงาน กยศ. และกรอ. ใช้เป็นฐานข้อมูลการอนุมัติเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และเพดานกู้ยืม
หากหลักสูตรยังไม่ผ่านการรับรู้รับทราบจากคณะกรรมการ ทางกองทุนกู้ยืมก็ถือว่ายังไม่ผ่าน จะต้องรอก่อน
และ สกอ.ถือว่าฐานข้อมูลนี้มีข้อมูลหลักสูตรที่สมบูรณ์ที่สุดแล้ว
– ข้างในมีรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับเงินกู้ยืม และหลักสูตรมากกว่า 10 รายงาน
http://www.gotouni.mua.go.th

2. ระบบนำส่งข้อมูลเข้าคลังข้อมูลอุดมศึกษา
ที่หน้าแรก แม้ไม่ login ก็สามารถเห็นสถิติการส่งข้อมูลของแต่ละสถาบันแล้ว
สถาบันใดส่งข้อมูลครบ 100% ก็จะได้เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดงตามลำดับ
เข้าไปดูได้ครับว่าสถาบันใดได้เหรียญรางวัลในความสมบูรณ์
สถาบันใดไม่ได้เหรียญ และสถาบันใดไม่ได้ส่งข้อมูล
http://www.data3.mua.go.th/dataS/

3. สารสนเทศอุดมศึกษา
เมื่อสถาบันการศึกษาส่งข้อมูลเข้าระบบในข้อ 2 ครบถ้วนแล้ว
ก็จะนำไปจัดทำสารสนเทศเพื่อรายงานสู่สาธารณะต่อไป
อาทิ จำนวนบุคลากร จำนวนนักศึกษาใหม่ จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา เป็นต้น
ทำให้นักศึกษา หรือสถาบัน หรือองค์กร นำข้อมูลไปวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ต่อไปได้
http://www.info.mua.go.th/information/

เก็บตกเรื่อง ping

เก็บตกเรื่อง ping

ping limited
ping limited

1. คำสั่ง ping ใช้ตรวจการตอบสนองของเครื่องบริการ
ค่า buffer หรือ package size
กำหนด  default ไว้  32 bytes
เวลาตอบกลับก็จะทำให้ทราบว่า เครื่องบริการตอบได้เร็วหรือไม่
2. ถ้าเปลี่ยน buffer เป็น 900 bytes
ก็จะเห็นว่าเครื่องบริการ ใช้เวลาคิดนานขึ้น
ping www.chula.ac.th -l 900 -t
แล้วกด ctrl-c จะเห็นความต่างในส่วนค่าเฉลี่ยครับ
3. OS มักกำหนด limit การถูก ping
โดยทั่วไปจำกัด 65500 แต่กำหนด limit ได้
เครื่อง winserver ตัวหนึ่งจำกัดไม่เกิน 1472
แต่ sanook.com จำกัดไม่เกิน 1464
แต่ kapook.com จำกัดไม่เกิน 14792
4. เหตุผลที่จำกัด
เพราะกำหนดเพดานรับการตอบสนองผ่านคำสั่งนี้
ซึ่ง แฮก เกอร์ มักใช้ในการตรวจสอบ เครื่องเป้าหมาย
บางเครื่องก็ปฏิเสธไปเลยครับ เช่น manager.co.th

http://technet.microsoft.com/en-us/library/cc737478%28v=ws.10%29.aspx

ยุบศูนย์นอกที่ตั้ง เพราะให้คนนอกสอน จึงคุมคุณภาพไม่ได้

เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

http://kroowitda.wordpress.com/2011/06/21/education_techni/

จากข่าวในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เรื่องยุบศูนย์นอกที่ตั้งทั่วประเทศ
มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ
ยุบเพราะพบว่ามีการจัดการเรียนการสอนที่ไม่ใช่คนในสถานศึกษา
ซึ่งคุมคุณภาพไม่ได้ และไม่เป็นมาตรฐาน

ใครดื้อ .. โทษวินัย

อาชีวะประกาศยุบศูนย์นอกที่ตั้งร้องโฆษณา
เรียนลัดจบเร็ว-กระทบคุณภาพ/ผอ.ฝ่าฝืนโทษวินัย

27 พฤษภาคม 2556

korea student
korea student

นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่าได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง ผอ.วิทยาลัย ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ทั่วประเทศ เพื่อให้ยกเลิก และปิดการจัดการอาชีวศึกษาภายนอกสถานศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 เป็นต้นไป เนื่องจากมีข้อร้องเรียนในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนกลุ่มเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ว่า ไม่ได้จัดสอนโดยบุคลากรของสถานศึกษา มีการโฆษณาว่าสามารถเรียนจบได้เร็วและเปิดอย่างแพร่หลายเป็นจำนวนมาก ส่งผลต่อคุณภาพผู้จบการศึกษา และมาตรฐานการจัดการของ สอศ.

ดังนั้น จึงให้สถานศึกษาปิดการจัดการเรียนการสอนกลุ่มเทียบโอนความรู้และประสบการณ์นอกที่ตั้งฯในจังหวัดโดยด่วน และให้รับนักเรียน นักศึกษา กลุ่มที่กำลังศึกษาอยู่นอกสถานที่ตั้งฯ เข้ามาเรียนในสถานศึกษาทั้งหมด ขณะเดียวกัน เมื่อดำเนินการยกเลิกและปิดการจัดการเรียนการสอนกลุ่มดังกล่าวแล้ว ต้องรายงานผลมายังสอศ. หากสถานศึกษาใดไม่ปฏิบัติตาม จะมีโทษทางวินัย
หลังจากนี้จะต้องมาจัดระเบียบกันใหม่โดยการเรียนการสอนกลุ่มเทียบโอนความรู้ฯจะต้องเปิดสอนอยู่ภายในสถานศึกษาเท่านั้นเพื่อควบคุมคุณภาพ และให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง ลงไปพูดคุยกับวิทยาลัยที่เปิดสอนนอกที่ตั้งฯ ให้ยุติการดำเนินการดังกล่าว โดยสถานศึกษาต่างก็ให้ความร่วมมือ และจะติดตามว่าสถานศึกษามีการปิดศูนย์นอกที่ตั้งจริง หรือยังเปิดรับนักศึกษาใหม่อยู่หรือไม่ และดูแลให้นักศึกษาในศูนย์นอกที่ตั้งฯ ได้เข้ามาเรียนต่อในวิทยาลัยหรือไม่ เพราะเด็กกลุ่มนี้ต้องไม่ได้รับผลกระทบใดอย่างเด็ดขาด นายชัยพฤกษ์ กล่าว
เลขาธิการ กอศ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังได้ทำความเข้าใจเรื่องการเรียนการสอนระหว่างกลุ่มเทียบโอนความรู้ฯ และระบบทวิภาคีด้วย เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะก่อนหน้านี้มีสถานศึกษาบางแห่งอ้างว่าการจัดการเรียนการสอนกลุ่มเทียบโอนฯ เป็นการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะการจัดการอาชีวศึกษากลุ่มเทียบโอนฯ จะเทียบโอนได้กี่หน่วยกิตก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ทำงานของแต่ละบุคคล โดยมีคณะกรรมการเป็นผู้ประเมิน ส่วนระบบทวิภาคี เป็นการเรียนการสอนที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างสถาบันอาชีวศึกษากับสถานประกอบการ หรือแหล่งวิทยาการในเรื่องการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีแผนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลโดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษาและเรียนรู้ฝึกอาชีพในสถานประกอบการ ซึ่งจะใช้เวลาเรียนอย่างน้อยเท่ากับระบบปกติ
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32819&Key=hotnews

questionnaire form by google docs

รวมภาพการใช้งาน google docs
ในส่วนของ questionnaire form เพื่อสร้างแบบสอบถาม
โดยใช้เพลงดั่งดอกไม้บาน เป็น background song

คลิ๊ปนี้ผมไม่ได้ใช้เสียงพูด เพราะดูเนื้อหาแล้ว น่าจะเข้าใจได้ง่าย
และใช้วงกลมสีแดงสื่อให้รู้ว่าคลิ๊กตรงไหนบ้าง .. ก็น่าจะเห็นภาพแล้ว

ระบบตรวจสอบการคัดลอกบทความทางวิชาการ turnitin

การขโมยความคิด (Plagiarism) คือ การคัดลอกผลงาน หรือการกระทำที่เข้าข่ายขโมยความคิดของผู้อื่น โดยไม่อ้างอิงอย่างถูกต้อง อาจเรียกว่า การโจรกรรมทางวิชาการ

บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2555).
การคัดลอกผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย สิ่งพิมพ์ วิทยานิพนธ์ (Academic Plagiarism)
“ประเด็นที่เราควรตระหนัก”. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2564. จาก https://www.grad.chula.ac.th/download/files/Plagiarism.pdf.

การสืบค้นผลงานจากอินเทอร์เน็ต
ที่ค้นจาก google.com หรือนำมาจาก wikipedia.org แล้วคัดลอก ไปวางในงานเอกสารของตน ที่นักเรียนมักคัดลอกผลงานจากอินเทอร์เน็ตส่งครู มักเรียกว่า Cyber-plagiarism

ประเภทการคัดลอกผลงาน พบว่ามี 3 ลักษณะ 1) Plagiarism คือ คัดลอกผลงานของคนอื่น 2) Self-plagiarism หรือ Duplication คือ คัดลอกผลงานของตนเอง 3) Co-submission คือ เขียนร่วมกันหลายคน แต่ระบุชื่อผู้เขียนคนเดียว
http://facstaff.swu.ac.th/..Ver2.pdf
https://en.wikipedia.org/..Plagiarism

turnitin ระบบตรวจสอบการคัดลอกบทความทางวิชาการ
turnitin ระบบตรวจสอบการคัดลอกบทความทางวิชาการ

โปรแกรม หรือระบบตรวจสอบการคัดลอกบทความทางวิชาการ
ปัจจุบันมีหลายระบบที่นิยมใช้ในไทย ซึ่งเป็นแบบไว้จำหน่าย
[ส่วนแบบที่ฟรี และดี ยังไม่พบ]

 

ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีดังนี้

1. โปรแกรม endnote
https://www.car.chula.ac.th/curef-db/logo/endnotex6.html
แต่ต้องมี password ของ Chula

2. โปรแกรม Turnitin
ที่ Mahidol กับ Chula ก็ใช้
http://www.si.mahidol.ac.th/../siturnitin/
Chula แนะนำ turnitin แต่ต้องลงทะเบียน ที่จุฬา
http://www.car.chula.ac.th/curef-db/
แล้วหา Plagiarism Prevention Tool: Turnitin & Accounts
http://www.turnitin.com/
http://www.med.cmu.ac.th/..slide.pdf

3. โปรแกรม Anti-kobpae
บริการผ่านเว็บไซต์ แบบทดลองใช้
https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/2945-anti-kobpae
ที่ ! http://www.anti-kobpae.in.th
อธิบายที่ http://www.it24hrs.com/

4. แบบมีค่าใช้จ่าย ของ Artistscope
ที่ http://th.artistscope.com/

– บริการสืบค้นการคัดลอกผลงานแบบออนไลน์
ทดสอบใช้บางบริการได้ เพราะบางบริการไม่มีค่าใช้จ่าย
+ http://smallseotools.com/plagiarism-checker/
+ http://www.dustball.com/cs/plagiarism.checker/
http://en.writecheck.com/home/
https://plagiarismcheck.org/
! plagiarism-detect.com

– งานวิจัย NCCIT
ระบบสนับสนุนการตรวจสอบการคัดลอกข้อความ
(Plagiarism Detection Support System)
http://202.44.34.144/.. 2011260247.pdf

– แชร์ลิงค์ต่าง ๆ ของ Blog นี้ ใน Fanpage
http://www.facebook.com/

ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพ

ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพ
ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพ

การประเมินว่าสถานศึกษามีคุณภาพหรือไม่ จะมีคนภายนอกเข้าไปมอง หากมองแล้วพบว่าผลการดำเนินงานไม่ตอบเกณฑ์ที่ส่วนกลางตั้งขึ้น ก็จะมองว่า มีจุดแข็ง/จุดอ่อนอะไร ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วสาเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านั้น แล้วปิดด้วยข้อเสนอแนะทิศทางการพัฒนา ซึ่งมีเอกสารตัวอย่างแนวทางการให้ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา

ประกอบด้วย 1) ผลการประเมินทุกระดับคุณภาพ ต้องให้ข้อเสนอแนะ 2) การให้ข้อเสนอแนะกำหนดให้ระบุไว้ใน 2 แห่ง คือตัวบ่งชี้ และแต่ละมาตรฐานทั้ง 4 มาตรฐาน 3) รูปแบบการเขียนข้อเสนอแนะ ในรูป swot ที่มีเพียงจุดแข็งและจุดอ่อน
ที่ http://www.scribd.com/doc/143112144/

ที่มจร.ลำปาง และอบรมระบบฐานข้อมูลสหกิจศึกษา

ประชุมร่วมกับ วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ในการประชุมวิสามัญของสถาบัน
ประชุมร่วมกับ วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ในการประชุมวิสามัญของสถาบัน

21 พ.ค.56 13.00-14.30น. ร่วมประชุมกับ มจร.วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง นำเสนอโครงการวิจัย การพัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอน และสิ่งสนับสนุน วันนี้พระครูเมตตาชวนคุยเรื่องระบบสารสนเทศต่าง ๆ และงานต่อเนื่องที่ทำกันมา วันนี้เป็นประชุมใหญ่วิสามัญของวิทยาลัยสงฆ์ ที่พร้อมหน้าพร้อมตา การไปครั้งนี้แลกมาด้วยการลาประชุมจากคณะฯ ที่กำลังคุยเข้มข้นต่อเนื่องตั้งแต่เช้า เรื่องผลปี 2555 และแผนปี 2556 แต่ในทีมคณะบอกว่าไปได้เลย

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.526438530703616.132183.506818005999002

co-op database training
co-op database training

21 พ.ค.56 15.00น. เกือบบ่ายสาม กลับถึงมหาวิทยาลัยก็เข้าอบรมกับ อาจารย์เจนศิริ จันทร์ศิริ และอาจารย์ภูษิต ก้อนสุรินทร์ ออกรสออกชาติ เพราะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องระบบฐานข้อมูลสหกิจศึกษา ทั้งสองท่านก็พูดเก่งครับ ก็เลยเป็นเวทีที่เน้นการแลกเปลี่ยนแบบสองทาง แทนที่จะเป็นการอบรมแบบฟังอย่างเดียว .. แต่มาไม่ทันเข้ากล้องพี่นิเวศน์ ที่เก็บภาพสวย ๆ ไปก่อนหน้านี้

co-op database training
co-op database training

อาจารย์เจนศิริ จันทร์ศิริ หัวหน้าสำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยพายัพ คณะทำงานเครือข่ายส่งเสริมการพัฒนาสหกิจศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน และหัวหน้างานพัฒนาสหกิจศึกษาออนไลน์ และอาจารย์ภูษิต ก้อนสุรินทร์ หัวหน้างานเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ จัดโครงการพัฒนาสหกิจศึกษาออนไลน์ร่วมกับเครือข่ายส่งเสริมการพัฒนาสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน ครั้งที่ 1 โดยมีสถาบันเครือข่ายฯ เข้าร่วมทดสอบรวม 5 สถาบัน ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง, วิทยาลัยชุมชนแพร่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (ลำปาง) และมหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เมื่อวันอังคาร ที่ 21 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.30 – 16.30
ข่าวโดยพี่นิเวศน์
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=463943940349363&set=a.232673853476374.55211.228245437252549

ค่ายอาสาเมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน

20 พ.ค.56 เห็นภาพห้องเรียนที่ประยุกต์เป็นห้องพัก
ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองของสถาบัน ที่มาใช้สถานที่จัดประชุม
ทำให้นึกถึงภาพสมัยออกค่าอาสาในป่าเมืองแพร่ ที่ต้องเดินเท้าเข้าไปสิบกิโลเมตร
แล้วพักค้างคืนในป่าหนึ่งคืน แล้วไปพักที่โรงเรียนอีกหนึ่งคืน
เพื่อทำกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านชาวเขา
ขากลับก็เดินออกมาอีกสิบกิโลเมตร เหนื่อยเลยครับ
การออกค่ายทรหดแบบนี้ผมออกครั้งเดียว ที่เหลือก็ไม่ขนาดนั้นแล้ว

ปรับห้องเรียนเป็นห้องพัก
ปรับห้องเรียนเป็นห้องพัก

ประชุมสหกิจคริสเตียนเขตภาคเหนือ
20 – 21 พ.ค.2556 มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง ให้การต้อนรับสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย
เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดประชุมสหกิจคริสเตียนเขตภาคเหนือ
มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 300 คน
โดยใช้ห้องประชุมใหญ่ อาคารคณะบริหารธุรกิจ
และค้างคืนที่ห้อง 1203 และ 1208 เป็นเวลา 1 คืน

http://blog.nation.ac.th/?p=2644

งานประชุมวิชาการระดับชาติที่กรุงเทพ (itinlife396)

I was interested in the ontology topic.
I was interested in the ontology topic.

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150179894897272.317163.350024507271

ในประเทศไทยมีการจัดประชุมทางวิชาการระดับชาติ และนานาชาติมากว่า 10 ปีแล้ว โดยส่วนใหญ่จัดโดยสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สำหรับจังหวัดลำปางมีการรวมตัวกันของสถาบันทั้งในและต่างประเทศเพื่อจัดเวทีให้นักวิชาการ และนักศึกษาได้นำผลงานที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยมานำเสนอในเวทีที่มีผู้สนใจในเรื่องคล้ายกัน  เป็นเวทีแลกเปลี่ยนและแบ่งปัน แต่เวทีแบบนี้มักเกิดที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 9 – 10 พ.ค.2556 ผู้เขียนได้ร่วมงานการประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพฯ โดยมี รศ.ดร.พยุง มีสัจ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานจัดงานครั้งนี้

มีบทความเข้ารับการพิจารณาจำนวน 265 ผลงานที่มาจาก 40 สถาบัน ทุกบทความต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน หากได้รับการตอบรับอย่างน้อย 2 ใน 3 ท่านก็ถือว่าผ่านและเข้านำเสนอปากเปล่าในเวทีได้ ซึ่งปี 2556 มีบทความผ่านการพิจารณาทั้งสิ้น 161 ผลงาน จะบรรจุในเอกสารรวมเล่มรายงานผลวิจัยงานประชุมวิชาการ Proceedings of NCCIT 2013 บทความเหล่านี้มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ และสามารถนำไปใช้งานได้จริง เพราะผ่านการวางแผน ทบทวน  ทดสอบ และสรุปผล รวมทั้งมีข้อเสนอแนะสำหรับผู้สนใจที่จะนำไปพัฒนาต่อยอด

การนำเสนอผลงานแบ่งออกเป็นห้อง ซึ่งผู้เข้าร่วมฟังจะมีค่าลงทะเบียน 2000 บาท ส่วนผู้นำเสนอมีค่าลงทะเบียน 4000 บาท แต่ผู้เข้าฟังไม่สามารถฟังทุกเรื่อง เพราะแบ่งห้องนำเสนอเป็นหลายห้องและทุกห้องนำเสนอพร้อมกัน จึงต้องเลือกหัวข้อในแต่ละห้องตามตารางนำเสนอ ซึ่งแบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ Data Mining and Machine Learning, Data Network and Communication, Human-Computer Interface and Image Processing และ Information Technology and Computer Education ในปีนี้ผู้เขียนสนใจเรื่อง Ontology และ Semantic keyword ทำให้ได้เทคนิคในการพัฒนาระบบสืบค้นโดยใช้คำค้นที่ผ่านการทำออนโทโลยี ส่วนจะนำไปใช้กับข้อมูลระบบใดก็คงต้องเป็นคำถามใหม่ที่ต้องขบคิดกันต่อไป

http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

https://www.easychair.org/account/signin.cgi?conf=nccit2013

เป้าหมายของปลาทู

เป้าหมายของปลาทู
เป้าหมายของปลาทู

เป้าหมายของผม คือ ขออิ่มท้องไปอีกมื้อ
เป้าหมายของปลาทู คือ ขออยู่ในทะเลไปชั่วชีวิต
เป้าหมายของผม กับเป้าหมายของปลาทู ไม่ตรงกัน
รู้สึกว่าเป้าหมายของผมสำคัญกว่าเป้าหมายของปลาทู
แต่ถ้าถามปลาทูว่าเป้าหมายใครสำคัญกว่า
.. ก็คงได้คำตอบที่ต่างมุมมอง

ที่สำคัญคือเราใช้มุมมองของมนุษย์ หรือมุมมองของปลาทู