หนึ่งกิจกรรมตอบเกณฑ์ในตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษา

วิจัยในชั้นเรียน
วิจัยในชั้นเรียน

31 ม.ค.54 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง ให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการศึกษา จัดเวทีแลกเปลี่ยนเครือข่ายการวิจัยในชั้นเรียนด้านวิทยาศาสตร์ ในกิจกรรมนี้ อ.เบญ ได้รับอนุมัติให้นำทีมอาจารย์ของมหาวิทยาลัย เข้าร่วมเวทีในวันที่ 25 มีนาคม 2554 ซึ่งกิจกรรมนี้สอดคล้องกับ ตัวชี้วัดที่ 2.8 ระบบกลไกสนับสนุนให้อาจารย์ประจำทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มี เกณฑ์ข้อที่ 5 คือ มีการสร้างเครือข่ายวิจัยด้านนวัตกรรมการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอก ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และ/หรือ ผลงานวิจัยในชั้นเรียนโดยการจัดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของผู้สอนในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งที่มีผลงานวิจัยและยังไม่มีผลงานวิจัย ได้ทำความรู้จัก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน .. เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ DB

ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล
ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล

29 ธ.ค.52 พรุ่งนี้ผมจะปิดเล่มรายงานการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล จึงเลือกบางส่วนมาเล่าสู่ กันฟัง มีการประเมินทั้งหมด ๑๙ ระบบฐานข้อมูล และรายงานนี้เป็นรายงานผลฉบับสุดท้ายของโครงการประเมิน ๓ อย่างเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลในปีการศึกษา ๒๕๕๒ ประกอบด้วย ๑)ประเมินประสิทธิภาพ ๒)ประเมินความปลอดภัย ๓)ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล ซึ่งผลประเมินเป็นไปตามการประกันคุณภาพ และหน่วยงานเข้าของระบบใช้เป็น KPI ของตนได้
     ผลการประเมินความพึงพอใจจำแนกตามประเด็นคำถาม ๖ ประเด็นเรียงจากความพึงพอใจมากไปน้อย พบว่า ๑) ความถูกต้องของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ท่านได้รับ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๕๔) ๒) สารสนเทศมีประโยชน์ และช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของท่าน มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๕๒) ๓) ความทันสมัยของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ท่านได้รับ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๔๗) ๔) สารสนเทศถูกนำมาใช้ตามแผนงานของท่าน ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๔๕) ๕) ความง่ายในการได้มาซึ่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากระบบ มีความพึงพอใจในระดับมาก (X=๓.๔๒) ๖) มองเห็นความเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของข้อมูลกับระบบต่าง ๆ มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง (X=๓.๓๕) โดยภาพรวมของความพึงพอใจต่อทุกระบบอยู่ในระดับมาก (X=๓.๔๖)
     การประเมินครั้งนี้ อ.วิเชพ ใจบุญ รักษาการคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แสดงความห่วงใยว่า รายงานผลการประเมินทั้ง ๓ เรื่องที่ปิดรายงานไปจะไม่มีผลในรอบการประเมินตามแผนพัฒนาคุณภาพ ปีพ.ศ.๒๕๕๓ ทำให้ผมได้ทราบความจริงข้อนี้และเป็นผลให้ต้องวางแผนทำโครงการนี้อีกครั้งในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๓ เพื่อให้เข้ารอบเวลาของคณะวิทย์ และรอบเวลาของการประเมินตามเกณฑ์ของสกอ.ปีการศึกษา ๒๕๕๓ ซึ่งทุกคณะวิชาจะได้นำรายงานผลไปใช้ในฐานะที่ร่วมเป็นคณะกรรมการทำงานเชิงบูรณาการ ซึ่ง อ.เกศริน อินเพลา ร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุดนี้ ก็คาดว่าท่านจะได้นำเรียนในที่ประชุมคณะในลำดับต่อไป

ประเมิน effi, secu, sati ไปใกล้เสร็จ .. สังหรว่ามีปัญหา

21 ธ.ค.52 มีการประเมิน 3 ประเภท ขณะนี้เหลือการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ ที่เลยเวลาที่หน่วยงานส่งแบบประเมินมาให้ผมแล้ว 4 วัน และผมหาแบบสอบถามของหน่วยงานหนึ่งไม่พบ สังหรใจว่าได้แบบสอบถามไม่ครบร้อยเปอร์เซ็น ทำปีแรกจะพลาดบ้างก็ไม่น่าแปลก เป็นความล้มเหลวอีกครั้งหนึ่งของผม แต่ชีวิตยังไม่สิ้นก็ต้องสู้กันต่อไปและยอมรับความล้มเหลวในครั้งนี้ พรุ่งนี้จะโทรตาม และตามหาเอกสารที่ยังไม่ครบ ส่วนประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยน่าจะจบแล้ว เหลือความพึงพอใจมาเติมรายงานให้ครบการประเมิน 3 ประเภทเท่านั้น
      ร่างบทสรุป : ปีการศึกษานี้เป็นปีแรกที่มหาวิทยาลัยโยนกจัดให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยโยนกที่มาจากการตัวแทนคณะวิชา และหน่วยงานเจ้าของระบบฐานข้อมูล รวมกันพัฒนาระบบฐานข้อมูลในภาพรวม โดยภารกิจหนึ่ง คือ การประเมินประสิทธิภาพและประเมินความปลอดภัยของระบบฐานข้อมูล และประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล ซึ่งสอดรับกับการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ใน องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ ตัวบ่งชี้ที่ 7.5  ศักยภาพของระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร การเรียนการสอน และการวิจัย
     มีระบบฐานข้อมูลที่เข้ารับการประเมินทั้งหมดจำนวน 19 ระบบ ดังนี้  1) ระบบฐานข้อมูลการลงทะเบียน 2) ระบบฐานข้อมูลรับชำระเงิน 3) ระบบฐานข้อมูลประเมินการสอนออนไลน์  4) ระบบฐานข้อมูลรายงานผลการเรียนออนไลน์ 5) ระบบฐานข้อมูลอีเลินนิ่ง 6) ระบบฐานข้อมูลผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ 7) ระบบฐานข้อมูลการจัดการความรู้ 8) ระบบเว็บบอร์ด 9) ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง 10) ระบบห้องภาพกิจกรรมโยนก 11) ระบบฐานข้อมูลบุคลากร 12) ระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ 13) ระบบฐานข้อมูลบัญชี 14) ระบบฐานข้อมูลบันทึกการใช้โทรศัพท์ 15) ระบบแฟ้มดิจิทอลออนไลน์ 16) ระบบฐานข้อมูลจัดซื้อ 17) ระบบฐานข้อมูลห้องสมุด 18) ระบบฐานข้อมูลงบประมาณ 19) ระบบฐานข้อมูลเงินเดือน
     ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบฐาน ซึ่งดำเนินการประเมินโดยอนุกรรมการที่รับผิดชอบในแต่ละระบบฐานข้อมูลประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้พัฒนา และตัวแทนคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ซึ่งมีผลการประเมินมีคะแนนเพียง 3 ระดับ พบว่า มีระบบฐานข้อมูลที่อยู่ระดับที่ 1 จำนวน 7 ระบบคิดเป็นร้อยละ 36.84  มีระบบฐานข้อมูลที่อยู่ระดับที่ 2 จำนวน 6 ระบบคิดเป็นร้อยละ 31.58 และมีระบบฐานข้อมูลที่อยู่ระดับที่ 3 จำนวน 6 ระบบคิดเป็นร้อยละ 31.58   
     ผลการประเมินความปลอดภัยของระบบฐานข้อมูล ซึ่งดำเนินการเช่นเดียวกับการประเมินประสิทธิภาพ และมีคะแนนเพียง 3 ระดับเช่นกัน พบว่า ไม่มีระบบฐานข้อมูลที่อยู่ในระดับที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 0  มีระบบฐานข้อมูลที่อยู่ระดับที่ 2 จำนวน 2 ระบบคิดเป็นร้อยละ 10.53 และมีระบบฐานข้อมูลที่อยู่ระดับที่ 3 จำนวน 17 ระบบคิดเป็นร้อยละ 89.47 
     ระบบและกลไกการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัย มีดังนี้ 1) แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยโยนก 2) คัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ ผู้พัฒนา และตัวแทนคณะกรรมการ เป็นคณะอนุกรรมการเข้าประเมินระบบฐานข้อมูลแต่ละระบบ 3) ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลฯ เตรียมความพร้อมในการเข้าประเมิน 4) ผู้พัฒนาประสาน และนัดหมายทุกฝ่าย เพื่อเข้าประเมินกับเจ้าของระบบฐานข้อมูล 5) เข้าประเมินโดยตรวจสอบเอกสารหลักฐานในหน่วยงานเจ้าของระบบฐานข้อมูล 6) ส่งร่างผลการประเมินให้เจ้าของระบบฐานข้อมูลตรวจสอบก่อนจัดทำรายงาน 7) รวบรวมผลการประเมิน และจัดทำสรุปผลการประเมินโดยคณะกรรมการฯ 8) เผยแพร่รายงานผล
? สองภาพนี้สัมพันธ์กันอย่างใรใน creative campus .. ก็ถามตามกระแสครับ

ยกร่าง การอภิปรายผล รายงานวิจัย sar51

sar518 ธ.ค.52 ยกร่าง การอภิปรายผล ซึ่งยังขาดผลประเมินคณะ ปีการศึกษา 2551 เพื่อใช้วิเคราะห์ความเบี่ยงเบนเปรียบเทียบปี 50 และ 51 ในขั้นตอนที่เหลือ และยังไม่เสนอให้ทีมวิจัย ซึ่งประกอบด้วย อ.วันชาติ  นภาศรี อ.ศศิวิมล  แรงสิงห์ อ.อาภาพร ยกโต อ.อัศนีย์  ณ น่าน อ.คนึงสุข  นันทชมภู อ.สุรพงษ์  วงค์เหลือง นางเจนจิรา เชิงดี และ นางสาวเพชรี  สุวรรณเลิศ
     จากผลการวิจัยมีประเด็นที่น่าสนใจนำมาอภิปายผล ดังนี้ 1) ผลสำรวจความพึงพอใจต่อการอบรมการใช้งานโปรแกรมตั้งแต่ครั้งแรกไปถึงครั้งที่สี่มีแนวโน้มค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่ลดเพียงเล็กน้อยสำหรับครั้งที่สี่ คือ 3.86, 3.93 4.18 และ 4.10 โดยทั้ง 4 ครั้งมีระดับความพึงพอใจเท่ากันคือระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้เข้ารับการอบรมที่เป็นตัวแทนจากคณะวิชามีความพึงพอใจ ยอมรับ และเข้าใจการใช้งานระบบนี้ 2) หน่วยงานระดับคณะวิชายังใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองเพียง 80% และมีคณะที่ส่งมอบรหัสผ่านให้กับผู้ประเมินเพียง 60% แต่ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = 3.71 , S.D = 1.16) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าทั้งระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง และกลไกที่สนับสนุนให้คณะวิชาใช้งานระบบยังต้องมีการปรับปรุง 3) ผู้ประเมินได้ใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองทุกคน แต่ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้ประเมินโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง (X = 3.24 , S.D = 1.11) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าหน่วยงานระดับคณะวิชาส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองยังไม่สมบูรณ์ เป็นเหตุให้ผู้ประเมินเข้าตรวจสอบหลักฐานเอกสารผ่านระบบออนไลน์แล้วไม่พบหลักฐานดังกล่าว จึงทำให้ผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง
     ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา คือ 1) ผู้บริหาร และสำนักประกันคุณภาพควรผลักดันให้หน่วยงานระดับคณะวิชาใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองในมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง และมีกลไกในการกำกับดูแลการใช้งานระบบดังกล่าวที่ชัดเจน 2) การใช้งานระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองควรเปิดให้อาจารย์ได้เข้าไปใช้งาน และเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับคณะวิชา แล้วรวมเป็นข้อมูลของมหาวิทยาลัยในที่สุด เพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์ทุกคนได้มีส่วนร่วมในกลไกการประกันคุณภาพแบบบูรณาการอย่างแท้จริง
     ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป คือ 1) ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองในมหาวิทยาลัยควรรองรับการใช้งานตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับคณะวิชา และระดับมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนการเชื่อมโยงแฟ้มดิจิทอลออนไลน์ทั้งกับระบบฐานข้อมูลภายใน และภายนอก 2) ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองควรมีฟังก์ชันเผยแพร่รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาที่ผ่านการประเมินโดยผู้ประเมินแล้ว สู่สาธารณชนผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
+ http://www.yonok.ac.th/sar

พบข้อผิดพลาดสู่การแก้ไขโปรแกรมด้านการประกันคุณภาพฯ

23 ก.ค.52 วันนี้ได้รับแจ้งว่าพบข้อผิดพลาด จาก คุณเจนจิรา เชิงดี (น้องแนน ทีมวิจัยฯ) เกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพ 2 ระบบคือ 1. ระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเอง (ออนไลน์) พบข้อผิดพลาด  2 จุด คือ 1)ใน ส.2 ตารางสรุปผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ คือ สมการที่ต้องใช้คะแนนประเมินตนเองไม่ครบ 9 ตัวบ่งชี้ในองค์ประกอบที่ 7 เมื่อปรับสมการ ทบทวน และตรวจสอบทั้ง 4 ส. ก็พบว่าถูกต้อง 2)การปัดเศษที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของ สกอ. ว่าให้ปัดทศนิยมตำแหน่งที่ 3 ขึ้นได้ แต่ระบบไม่ได้ปัดเศษให้ กลับปัดทศนิยมตำแหน่งที่ 3 หายไปอัตโนมัติ จึงดำเนินการแก้ไข  2. ระบบคำนวณใน Excel พบข้อผิดพลาด 1 จุด คือ ส.3  ตารางสรุปผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐาน 2ข ส่วนของปัจจัยนำเข้า ระบุตัวบ่งชี้ 5 ตัว แต่นำมาคำนวณเพียง 4 ตัวตกตัวช่งชี้ 2.6 ไป ก็
     ต้องขอบคุณ น้องเจนจิรา ที่เป็นผู้เตรียมข้อมูลเสร็จก่อนใคร เข้าใช้ระบบท่านแรก และ เข้าใจข้อมูลเป็นอย่างดี จนให้ข้อมูลอย่างถูกต้อง จนผู้พัฒนาสามารถพบปัญหาจากทั้ง 2 ระบบ และทำให้การนำไปใช้โดยหน่วยงานอื่นเป็นไปอย่างถูกต้อง

การจัดการแฟ้มดิจิทอลในองค์กรขนาดเล็ก (2)

File Management
File Management

ระบบนี้พัฒนาด้วยภาษา PHP เป็นแฟ้มเพียงแฟ้มเดียวแต่ช่วยในการจัดการแฟ้มดิจิทอลออนไลน์ได้ ซึ่งเป็นความสามารถเล็ก ๆ แต่ช่วยประสานกลไกการจัดการข้อมูลเพื่อสนับสนุนระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กร (ในกรณีที่ยังไม่มีระบบใดดีกว่านี้) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อให้การสร้างงานเขียนเพียงครั้งเดียว แต่ถูกนำไปใช้ได้หลายครั้ง 2) เพื่อให้งานที่เขียนขึ้นถูกนำไปใช้ได้หลายวัตถุประสงค์ เช่น KM, SAR, SRR 3) เพื่อสร้างระบบสำรองข้อมูลผ่านเครือข่ายการเผยแพร่ข้อมูล 4) เพื่อให้ใช้แฟ้มงานได้อย่างปลอดภัย สำหรับรายละเอียดการใช้งานระบบมีเงื่อนไขสนับสนุนดังนี้  1) เข้าจัดการแฟ้ม ต้องมี กุญแจ A  2) เข้าเปิดดูข้อมูล ดูรายชื่อแฟ้มต้องมี กุญแจ U 3 ) สามารถติดกุญแจเฉพาะแฟ้มที่สำคัญ ต้องมี กุญแจ Z  4) เผยแพร่แฟ้มออกไปได้ง่าย ในแหล่งที่ต้องการ อย่างเป็นสากล
http://www.thaiall.com/ppt/file_manage_01.ppt
http://www.yonok.ac.th/doc/burin/file_manage_01.ppt
http://www.thaiall.com/perlphpasp/source.pl?9102

ระบบและกลไก คืออะไร

พบนิยามศัพท์ คำว่า ระบบและกลไก
ใน คู่มือการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา ปี 2553 และ ปี 2557
ได้นิยามไว้เหมือนกัน
สกอ. ย้ายโดเมน ! http://www.mua.go.th/users/bhes/
DATA%20BHES2558/upload%20file%20IQA/
iqa%20manual2557.pdf

https://www.thaiall.com/iqa/handbook_mua57ed3.pdf

ระบบ (System) หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง  เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ
ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน

กลไก (Mechanism) หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดองค์การ หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลเป็นผู้ดำเนินงาน

กระบวนการ (Process) หมายถึง กิจกรรมที่ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนของแต่ละหน่วย และประสานกันเป็นลำดับภายในระบบ เช่น กระบวนการออกข้อสอบ กระบวนการพิมพ์ข้อสอบ กระบวนการสอบสัมภาษณ์ กระบวนการสอบข้อเขียน กระบวนการประกาศผล กระบวนการปฐมนิเทศ ซึ่งทั้งหมดอยู่ในระบบรับนักศึกษา

ระบบ และกลไก

nccit.net system
ตัวอย่างของระบบ

ตัวอย่างระบบ ที่มีองค์ประกอบ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ

! http://rd.vru.ac.th/pdf/announcement_fund/Fund/01.pdf

ขั้นตอนการดำเนินงานการขอยืมเครื่องมือจากศูนย์เครื่องมือฯ

! http://www.coop.sut.ac.th/index.php?sec=tool&vdo=2

ระบบและกลไกงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ระบบและกลไกงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

! http://ethics.knc.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=81&Itemid=54

เมื่อ 11 มีนาคม 2558 ได้มีโอกาสพูดคุย เรื่องระบบและกลไก ในเกณฑ์ประกันคุณภาพภายใน ของสกอ. ปี 2557 ที่มีถึง 7 ระบบในระดับหลักสูตร ที่ต้องดำเนินการ และมีหลักฐานว่าได้นำระบบไปสู่การปฏิบัติ กับ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.ธวัชชัย แสนชมภู คุณสาธิจิตต์ นกจันทร์ และคุณเรณู อินทะวงศ์ หลังพูดคุย ผมยกร่างกรอบการเขียนระบบ  (Framework of System) ที่แสดงการเชื่อมโยงของ input – process – output – feedback ไว้ดังนี้

framework ของ system

http://www.thaiall.com/pptx/system.pptx
http://www.thaiall.com/iqa

มีโอกาสได้ฟังคำชี้แจงเรื่อง นิยมศัพท์ของ ระบบและกลไก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552
โดยคุณเพชรี สุวรรณเลิศ สำนักประกันคุณภาพ ในที่ประชุมผู้บริหารครั้งที่ 9/2552
ตามเอกสารหมายเลข 2 ซึ่งเพิ่มเติมจากคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2551
ระบบ (System) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ (Objective) ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output)
ตัวอย่างที่ 1 ระบบการผลิตบัณฑิตในแต่ละหลักสูตร
วัตถุประสงค์ การผลิตบัณฑิตตามหลักสูตร
ปัจจัยนำเข้า รับนักศึกษาใหม่ตามหลักสูตร
กระบวนการ การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ..
ผลผลิต บัณฑิตสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ตัวอย่างที่ 2 ระบบการจัดทำรายงานผลการเรียนทุกสิ้นภาคการศึกษา
วัตถุประสงค์
การจัดทำรายงานผลการเรียนสิ้นภาคการศึกษา
ปัจจัยนำเข้า อาจารย์ส่งผลการเรียนให้สำนักทะเบียน
กระบวนการ ประมวลผลผลการเรียนตามสูตร และนโยบายของผู้บริหาร …
ผลผลิต พิมพ์รายงานผลการเรียนเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน

แต่ในการประเมินตามคู่มือของ สกอ. คำว่า ระบบ (System) จะเน้นที่กระบวนการ
หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกัน ไม่ว่าจะในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ
ตัวอย่าง ระบบการจัดทำรายงานผลการเรียนทุกสิ้นภาคการศึกษา
1. รับข้อมูลผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอน หรือคณะวิชาหลังสอบปลายภาค 2 สัปดาห์
2. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และตรวจสอบความถูกต้อง
3. ประมวลผลตามเงื่อนไขตามหลักสูตร และนโยบาย
4. ตรวจสอบผลการประมวลผลในรายละเอียด และในภาพรวม
5. จัดทำรายงานแยกคณะ แยกประเภท แยกกลุ่มนักศึกษา
6. ส่งรายงาน และประกาศให้ผู้เกี่ยวข้องตามลำดับ และเวลา

กลไก (Mechanism) หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดองค์กร หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลให้เป็นผู้ดำเนินงาน เช่น การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบมาดำเนินการ ควบคุมกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนงาน โดยมีรายงานการประชุมคณะทำงาน รายงานผลการดำเนินการ การประเมินระบบ และสรุปผลการดำเนินงานตามระบบที่กำหนดไว้

ระบบของกระบวนการเทคโนโลยี

แผนผังการทำงานเชิงระบบของกระบวนการเทคโนโลยี
1. ข้อมูล (input)
เช่น ปัญหา/ความต้องการ
รวบรวมข้อมูล/หาวิธีแก้ปัญหา
เลือกวิธีการ
2. กระบวนการ (process)
เช่น ออกแบบ/ปฏิบัติการ
3. ผลลัพธ์ (output)
เช่น ทดสอบ
ปรับปรุงแก้ไข
ประเมินผล
ผลสัมฤทธิ์ของงาน
ชิ้นงาน
ผลิตภัณฑ์
4. ข้อมูลย้อนกลับ (feedback)
จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน “การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 หน้า 104

โดย เพ็ญพร ประมวลสุข – มนตรี สมไร่ขิง – วรรณี วงศ์พานิชย์ – ศิริรัตน์ ฉัตรศิขรินทร