16 ส.ค.52 ได้ศึกษาเรื่อง OS on Mainboard ที่อยู่ในเครื่องนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยโยนกแจกตามโครงการ IT&Resort จึงเขียนไว้ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ 3 ย่อหน้า ดังนี้
หลายปีก่อนผู้เขียนคิดว่าการสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานหรือการบูทเครื่อง ไม่ควรมีเพียงทางเลือกเดียวคือการบูทด้วยระบบปฎิบัติการจากฮาร์ดดิสก์ การพัฒนาฮาร์ดแวร์ให้มีหน่วยความจำสูงขึ้น มีหน่วยประมวลผลที่ทำงานเร็วขึ้น และอุปกรณ์ต่อพ่วงทำงานเร็วขึ้น จนสามารถพัฒนาระบบปฏิบัติการให้เริ่มต้นบูทเครื่องจากแผ่นซีดีรอมเป็นทางเลือกที่สองที่ทำงานได้ใกล้เคียงกับการบูทจากฮาร์ดดิสก์ แต่ทางเลือกนี้ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากแผ่นซีดีรอมเสื่อมสภาพจากการใช้งานได้ง่าย ไม่นานนักก็มีการพัฒนาซอฟท์แวร์และแฟรชไดร์จนสามารถบูทเครื่องผ่านสื่อเก็บข้อมูลขนาดเล็กให้ผู้ใช้เลือกเป็นทางเลือกที่สาม
ปี 2551 เริ่มมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ไว้ในเมนบอร์ดโดยผู้ผลิตเป็นการบูทเครื่องทางเลือกที่สี่ ทำให้ผู้ใช้สามารถเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ภายในไม่กี่วินาทีเท่านั้น เนื่องจากระบบปฏิบัติการรู้จักอุปกรณ์ทั้งหมด และทำงานขั้นพื้นฐานไม่กี่รายการ เช่น เปิดเว็บไซต์จากอินเทอร์เน็ต ฟังเพลง ดูภาพถ่าย หรือ สนทนากับเพื่อนแบบออนไลน์ เป็นต้น ไม่สามารถจัดเก็บแฟ้มจึงเชื่อได้ว่าปลอดภัยจากไวรัสในระดับหนึ่ง คุณสมบัตินี้ถูกเรียกว่า Express Gate ในโน๊ตบุ๊คยี่ห้อ ASUS ซึ่งใช้ Linux ของ Splashtop.com ส่วนการติดตั้งลีนุกซ์โดยผู้ผลิตเรียกว่า Linux Preload ซึ่งอุปกรณ์ในหลายยี่ห้อให้การยอมรับ Linux จากค่ายนี้ อาทิ Acer, Asus, HP, Lenovo, LG และ Sony
ประโยชน์จากคุณสมบัตินี้ที่เห็นได้ชัดคือ บูทเครื่องได้เร็วมากและใช้เปิดเว็บไซต์ได้อย่างปลอดภัย เพราะไม่สามารถจัดเก็บแฟ้มลงสื่อ แต่เก็บ Bookmarks สำหรับเว็บไซต์ที่ชื่นชอบไว้เปิดในภายหลังได้ จากการทดสอบใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ ASUS พบว่า 1)ระบบแปลชื่อไม่ทำงานอัตโนมัติ ต้องกำหนด DNS แบบ Manual 2)ส่วนการพิมพ์ภาษาไทยต้องปรับตัวเลือกในคุณสมบัติของแป้นพิมพ์ เพื่อแสดงกล่องเครื่องมือสำหรับเลือกภาษาไทย 3)จากการทดสอบดูภาพยนตร์จาก Youtube.com หรือ Video.mthai.com พบว่าทำงานได้ปกติเช่นเดียวกับการใช้งานในฮาร์ดดิสก์ นี่เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้สะดวก และมีลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง สำหรับการใช้งานขั้นพื้นฐาน
Tag: asus
เตรียมเครื่องไว้รวมพลคนใช้ notebook สู่ภัยไวรัส
13 ก.ค.52 วันนี้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ ASUS คุณสมบัติ คือ Pentium T3400 2.16 GHz, Ram DDRII SO-DIMM 2 GB ของ KingMax, HD 250 GB ในกล่องเครื่องคอมพิวเตอร์มี Driver CD-ROM แถมมา 3 แผ่น แผ่นแรก คือ F80Q : N3033 สำหรับระบบปฏิบัติการ XP แผ่นที่สอง คือ F80Q : N2790 สำหรับระบบปฏิบัติการ Vista แผ่นที่สาม คือ โปรแกรมแถมมาที่ไม่น่าสนใจพอที่จะให้ผมทดลองติดตั้งใช้งาน เครื่องที่ได้มาติดตั้งระบบปฏิบัติการไปเรียบร้อยแล้ว โดยกำหนด Drive C ให้มีโปรแกรมเพียง Drive เดียว ส่วน Drive D เป็น CD-ROM และ Drive E กับ Drive F เป็นห้องเปล่า ซึ่งมีการแบ่ง Drive ไว้ 3 Drive ขนาด 77 GB เท่ากันหมด
วันนี้จึงทดสอบติดตั้งระบบปฏิบัติการเพิ่มอีก 3 รุ่นลงไปในเครื่องเพื่อเป็นการศึกษาเรียนรู้ โดยเลือกให้ Drive C มี 1 ระบบ Drive E มี 2 ระบบ และ Drive F เป็น Server อีก 1 ระบบ ก็ได้คำแนะนำจากคุณอนุชิต ยอดใจยา เรื่องระบบปฏิบัติการแต่ละรุ่น และการ setup wifi ของ ASUS ที่มีความซับซ้อนอยู่บ้าง ส่วน driver ผมติดตั้งแบบจากแผ่นทุกตัวบนทุกระบบปฏิบัติการ ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงต่อระบบ ตอนติดตั้ง driver เครื่องจะสั่ง restart ตัวเอง ผมก็ไปหยุดการ restart ด้วยคำสั่ง shutdown -a พอตั้งสติได้ว่า นั่นคือการสั่ง reboot เพื่อ clear config ก็สั่ง restart ให้เขาอีกครั้ง
อุปสรรคที่ทำให้คนใจร้อนอย่างผมไม่สบายใจนัก คือ แผ่นซีดีที่เตรียมไว้ มีปัญหากันทุกแผ่น ต้องคอยสั่ง skip file ที่เสีย และหวังว่าจะไม่กระทบต่อการทำงานของระบบปฏิบัติการหลัก ตัวอย่างเช่น ระบบ Server ที่ผมพยายามติดตั้งไปถึง 3 รอบ เพราะแฟ้มเสียในขณะคัดลอกแฟ้ม ก็สงสัยว่าเกิดอะไรกันแน่ พอสั่ง skip file จนดำเนินการไปถึงการติดตั้งเสร็จ ก็ไม่มีอาการอะไรน่าเป็นห่วง คงต้องไปลุ่นตอนใช้งานแต่ละฟังก์ชันของระบบ ส่วนระบบสุดท้ายติดตั้งเพิ่มเข้าไปกับระบบที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ มีอาการค่อนข้างหนัก เพราะติดตั้งภาษาไทยไม่สำเร็จ มีข้อความแจ้งว่าแฟ้มเสียติดตั้งไม่ได้ ก็ต้องทำใจและติดตั้งเข้าไปแบบไม่ใช้ภาษาไทย คงสรุปว่าแผ่นซีดีสมัยนี้อายุสั้นกันเหลือเกิน แผ่นที่ดีที่สุดของวันนี้เห็นจะมีแต่ driver ที่แกะออกมาจากกล่องเท่านั้นที่ไม่เกเร
นี่ก็ดึกมากแล้วพอเที่ยงคืนแล้วตาฟาง (ดังคำว่าสัตว์โลกย่อเป็นไปตามกรรม) จึงมีแผนว่าวันต่อ ๆ ไปว่าจะลง deepfreeze ใน drive c จะได้ไม่มีไวรัสมากวน และติดตั้ง linux อีก 2 ระบบคือ fedora กับ plawan แต่ต้องหาโปรแกรม partition magic มาแยก partition สำหรับติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม ทีแรกว่าจะทำให้เสร็จวันนี้ แต่หาโปรแกรมไม่พบซะแล้ว ถ้าเรียบร้อยก็จะเตรียมระดมพลคนใช้โน๊ตบุ๊ค และแนะนำการติดตั้งหลายระบบปฏิบัติการ พร้อมการติดตั้งโปรแกรมฆ่าไวรัสแบบแยกระบบปฏิบัติการ และการลง deepfreeze แช่แข็งระบบปฏิบัติการหลัก จะได้ไม่มีปัญหามากวนใจเครื่องของผู้ใช้โน๊ตบุ๊คอีก ส่วน linux ก็ติดตั้งเพื่อช่วยงาน และเรียนรู้ร่วมกับ คุณอนุชิต ยอดใจยา นั่นหละครับ เห็นเขาดูแลเครื่องบริการเพียงลำพังแล้วก็อยากเรียนรู้ด้วยตามประสาคนคุ้นเคย