การกระตุ้นความสนใจ วิธีหนึ่งคือมีรุ่นพี่ศิษย์เก่าดีเด่นผู้เป็นแรงบันดาลใจ มาเป็นวิทยากรที่เป็นการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน

พบงานวิจัยของ กนิษฐา พูลลาภ, ทรงศักดิ์ สองสนิท, และ ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว ศึกษาเรื่อง การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ในผลการวิจัย พบว่า ได้เสนอกิจกรรมทั้งหมด 5 ขั้น โดย ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ ในกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ตามด้วย ขั้นที่ 2 ตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ ขั้นที่ 3 ค้นคว้าและคิด ขั้นที่ 4 นำเสนอ ขั้นที่ 5 ประเมินผล ถูกนำเสนอใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 วันที่ 27 มีนาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ซึ่งสถาบันการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา และประถมศึกษา ต่างมีศิษย์เก่าเข้าไปสนับสนุนส่งเสริมการทำกิจกรรมในแต่ละสถาบัน เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง มีการประกาศรายชื่อ ศิษย์เก่าดีเด่น และ ศิษย์เก่าทรงคุณค่า เพื่อให้นักเรียนได้มีตัวอย่างบุคคลที่จะเป็นแรงบันดาลใจ และคุณครูสามารถนำไปใช้ในการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ด้วยการนำเสนอกรณีศึกษาความสำเร็จของศิษย์เก่าดีเด่น หรือเชิญมาเป็นวิทยากรเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้ตั้งใจเรียน และเรียนอย่างมีเป้าหมาย

เช่น กิจกรรม “พี่เล่า น้องเรียน” เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ณ ลานกิจกรรม La Providence โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ที่ฝ่ายวิชาการ ร่วมกับสภานักเรียน ฝ่ายกิจการนักเรียน โดยมีศิษย์เก่าทรงคุณค่า ได้แก่ 1) คุณณรงค์ ปัทมะเสวี ประธานกรรมการมูลนิธินิยม ปัทมะเสวี 2) พลเอกกฤษณ์ดนัย อิทธิมณฑล ประธานชมรมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง (กรุงเทพมหานคร) 3) คุณชัยวัฒน์ ทองคำคูณ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และ 4) คุณนิรุฒน์ ตันอนุชิตติกุล ประธานบริษัท Major Advertising จำกัด มาเป็นผู้บอกเล่า ถ่ายทอดประสบการณ์ หนทางสู่ความสำเร็จในแวดวงต่าง ๆ แบ่งปันประสบการณ์และแนวคิดในการทำงาน เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นความสนใจอยากเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย ให้รุ่นน้องได้เข้าถึงประสบการณ์จริงของรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จแล้ว เพื่อให้รุ่นน้องได้นำบทเรียนไปปรับใช้เป็นแบบอย่างสำหรับวางแผนชีวิตต่อไป

พี่เล่าน้องเรียน

https://web.facebook.com/ACL2501/posts/pfbid0dJeW3FXNaWTWy28qrbFEDY4k3AszDaa9oAiqvE7sGGnYxs4JZUXNdetzSEHfnJrhl

https://www.thaiall.com/education/indexo.html

หรือ ค้นจากกูเกิ้ลด้วยคำว่า “ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564” พบประวัติการทำงานของศิษย์เก่า 2 ท่าน ในสาขาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่สะท้อนการบรรยายประวัติ Profile แบบ Who am i? แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติและการปฏิบัติตน
ที่สมควรแก่การได้รับการยกย่องให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่น ด้วยผลงานที่โด่ดเด่นเป็นประจักษ์ ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมที่เป็นรูปธรรม ที่มีเอกสารอธิบายตัวตนของศิษย์เก่าดีเด่นได้อย่างชัดเจนในแบบเอกสารแสดงผลงาน จำนวน 2 ท่าน ดังนี้ 1) ท่านแรก ดร.พิทยากร ลิ่มทอง มีผลงานวิจัยดีเด่นหลายเรื่องที่ได้รับจากกรมพัฒนาที่ดินถึง 3 ปี และเป็นผู้เผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านปฐพีวิทยาอย่างเป็นระบบและเด่นชัด 2) ท่านที่สอง คุณรนัท ทรงเมรากฤตย์ เป็นผู้ปรับใช้องค์ความรู้ทางปฐพีวิทยามาผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จนเป็นที่ยอมรับในวงการการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทที่เป็นที่ปรึกษาเทคโนโลยีและเทคนิคการเกษตรในองค์กรต่าง ๆ แล้วยังเข้ามาช่วยบรรยายให้กับนิสิตรุ่นน้อง และเข้าร่วมงานวิจัยกับคณาจารย์ในภาควิชา

ซึ่งทุกสถาบันการศึกษาย่อมมีศิษย์เก่าดีเด่น และตัวอย่างทั้งสองท่านนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สมควรที่ครูอาจารย์จะนำประวัติและผลงานไปปรับใช้เป็นบทเรียนหนึ่งสำหรับการเล่าเรื่องให้นิสิตฟัง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ให้เห็นแนวทางการใช้ชีวิตของศิษย์รุ่นพี่ หรือส่งเอกสารอธิบายตัวตนของศิษย์เก่าดีเด่นให้รุ่นน้องได้เรียนรู้ แล้วได้นำไปปรับใช้เป็นแรงบันดาลใจหรือเป้าหมายชีวิตของตนต่อไป ที่สำคัญนักเรียนจะจำได้ว่าศิษย์เก่าดีเด่นที่เขาประทับใจคือใคร

ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564
ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564

https://dss.agr.ku.ac.th/news/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2564-30

แข่งขันการพัฒนาเกม ภายในเวลา 48 ชั่วโมง กับ ant.dpu

Bangkok game dev by Global game jam 2018
Bangkok game dev by Global game jam 2018

พบว่ามีการ แข่งขันการพัฒนาเกม ภายในเวลา 48 ชั่วโมง (Development game in 48 hours) เป็น sponsor ใน facebook.com จึงตามเข้าไปดู เห็นข่าวสารข้อมูลน่าสนใจ จึงนำไปแชร์ไว้ที่  thaiall.com/games  และคิดว่าเหล่าเซียนเกม หรือเกมเมอร์ใน RoV : Garena Thailand ที่มีถึง 7 แสน  ซึ่งน่าจะขึ้น 8 แสนในต้นกุมภาพันธ์ 2561 และ กลุ่ม RoV Thailand ( พูดคุย / หาทีม / ลงแข่ง ) by GAMER ที่มีสมาชิกกว่า 2 แสนแล้ว .. จะให้ความสนใจการแข่งขันการพัฒนาเกม ที่ใช้เครื่องมือได้อย่างอิสระ ไม่จำกัดทั้งเครื่องมือ และจำนวนสมาชิกในทีม กติกาบอกว่าขนกันมาได้เลย

พบรายละเอียดจากแฟนเพจ facebook.com/antdpu ว่ามีการจัดงาน Bangkok game dev by Global game jam 2018 ระหว่าง 26 – 28 มกราคม 2561

รายละเอียด
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้างเกมตามหัวข้อ ที่ Bangkok Game Dev by Global Game Jam 2018 กำหนดขึ้น ในระยะเวลาที่จำกัดไว้เพียง 48 ชั่วโมง ผู้เข้าแข่งขันสามารถรวมกันเป็นกลุ่มได้โดยไม่ระบุจำนวน  และสามารถใช้เครื่องมือ

เช่น
Unity Game Engine ,
Unreal Engine ,
Godot ,
Cocos2D ,
Adobe Anime
และสามารถใช้เทคนิคได้อย่างไม่จำกัด

เพื่อได้ตัวเกมที่สามารถทำงาน หรือเล่นได้จริงบนทุกแพลตฟอร์มที่ต้องการนำเสนอ ได้โปรโมตให้กับผู้ที่สนใจ และผู้ร่วมแข่งขันเข้าเล่น ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อ.บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์ หัวหน้าสาขาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซต์ แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โทร. 02-954-7300 ต่อ 714

COLLEGE OF CREATIVE DESIGN AND ENTERTAINMENT TECHNOLOGY
COLLEGE OF CREATIVE DESIGN AND ENTERTAINMENT TECHNOLOGY

ค่าใช้จ่ายต่อผู้เข้าร่วมสมัคร 500 บาท ต่อ 1 คน
http://ant.dpu.ac.th/BangkokGameDev2018/

ประกวด Cosplay และ LowCost Cosplay มีเงินรางวัล
ประกวด Cosplay และ LowCost Cosplay มีเงินรางวัล

23 พฤศจิกายน นี้ พบกับงาน ANT Showoff ACT 2. งานเสวนาด้านเกม และการ์ตูน หัวข้อ อาชีพเรา เขาไม่รู้ พบกัน Open House มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
23 พฤศจิกายน 2560 พบกับงาน ANT Showoff ACT 2. งานเสวนาด้านเกม และการ์ตูน หัวข้อ อาชีพเรา เขาไม่รู้ พบกัน Open House มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

https://www.facebook.com/ANTDPU/

ผลการศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง

ผลการศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง
ผลการศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง

สุจินต์ เพิ่มพิทักษ์ และทัศนีย์นารถ ลิ้มสุทธิวันภูมิ (2553) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พบว่า ระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยปัจจุบัยด้านเพศ อายุ และภูมิลำเนาส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ

โดยมีคำถามในแบบสอบถามถึงแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ดังนี้
– ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”
– ข้าพเจ้าความตั้งใจแน่วแน่ เพื่อบรรลุเป้าหมายของการเรียนแต่ละวิชา
– ข้าพเจ้าตัดสินใจสมัครเข้าเรียนคณะบัญชีมหาวิทยาลัยกรุงเทพด้วยตนเอง
– ข้าพเจ้าจะฝ่าฟันปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนบรรลุเป้าหมาย
– เมื่อข้าพเจ้าทำคะแนนสอบได้น้อย ข้าพเจ้าจะอ่านและทบทวนวิชานั้นให้มากขึ้น
– แม้งานที่ได้รับมอบหมายจะได้คะแนนน้อย ข้าพเจ้าก็จะพยายามอย่างเต็มที่
– ถึงแม้ว่าวิชาที่เรียนจะยาก ข้าพเจ้าจะตั้งใจเรียนให้เต็มที่
– ขณะที่เรียนข้าพเจ้าตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนตลอดเวลา
– ข้าพเจ้าตั้งใจทำงานทุกอย่างที่อาจารย์มอบหมาย
– แม้การเรียนจะลำบากเพียงไร ข้าพเจ้าจะไม่ย่อท้อ
– เมื่อพบข้อบกพร่องในการเรียน ข้าพเจ้าจะไม่ย่อท้อ
– ข้าพเจ้าชอบค้นคว้าหาความรู้ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาพัฒนาการเรียน
– ข้าพเจ้ารู้สึกกระตือรือร้น เมื่อถึงวันและเวลาที่เรียน
–  ข้าพเจ้าจะคอยประเมินผลการเรียนของทุกวิชาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาข้อบกพร่องและแนวทางแก้ไข
– ไม่เพียงแต่จะเรียนให้สำเร็จเท่านั้น ข้าพเจ้าคอยตรวจสอบข้อบกพร่องในการเรียนด้วย
– สิ่งแวดล้อมการเรียนจะเป็นอย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าก็ยังมีสมาธิแน่วแน่ในการเรียนอย่างเต็มที่
– ข้าพเจ้าสนใจเรียนทุกวิชาเท่า ๆ กัน
– ข้าพเจ้าจะพยายามเอาชนะความง่วงและอ่อนเพลีย เมื่ออ่านหนังสือ หรือทำการบ้าน
– ข้าพเจ้าชอบค้นคว้าหาความรู้ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาพัฒนาการเรียน
– เมื่อเกิดอาการง่วงนอนขณะอ่านหนังสือ ข้าพเจ้าจะหาวิธีแก้ไข เพื่อให้อ่านหนังสือต่อได้
– ข้าพเจ้าชอบค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่อาจารย์สอน
– ข้าพเจ้าใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนสำหรับการทบทวนบทเรียนเสมอ

http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/epaper/special_may2010/pdf/Page_153.pdf

เวลาก็สำคัญ แต่ค่าเริ่มต้นเป็น Asia – Krasnoyarsk ของ russia

krasnoyarsk in russia
krasnoyarsk in russia

2 ก.ค.56 มีเหตุให้ต้องดูนาฬิกา ทีแรกคิดว่านาฬิกาของเครื่องเร็วไป 1 ชั่วโมง
จากการ upload แฟ้มเข้าระบบผ่าน web-based
แล้วแฟ้มที่ส่งเข้าไป ป้ำเวลาเร็วไป 1 ชั่วโมง ก็ต้องหาว่าเกิดอะไรขึ้น

การตรวจสอบ
1. เครื่องของผมเวลาถูกต้อง
2. เครื่องบริการเวลาถูกต้อง
3. เวลาของแฟ้มที่ส่งเข้าไปไม่ถูกต้อง

date.timezone in php.ini
date.timezone in php.ini

สรุปว่าตัวแปร date.timezone ใน php.ini ไม่ได้กำหนดค่าไว้
ทำให้ค่า default เป็น  Asia/Krasnoyarsk
จึงต้องเปลี่ยนเป็น Asia/Bangkok ก็ทำให้เวลาของแฟ้มที่ upload ผ่าน php
มีเวลาถูกต้องแบบ UTC+7 hours คือเป็นเวลาของกรุงเทพ
ส่วน Krasnoyarsk มีเวลาเป็น UTC/GMT +8 hours

php.ini date.timezone
php.ini date.timezone

ข้อมูลเกี่ยวกับ timezone
Krasnoyarsk : http://www.timeanddate.com/worldclock/city.html?n=372
Bangkok : http://www.timeanddate.com/worldclock/city.html?n=28

ตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญ

telephone station
telephone station

30 พ.ค.56 มีอยู่วันหนึ่งเดินผ่านสถานีรถไฟฟ้า BTS
จาก นานา เพลินจิต ชิดลม สยาม พบตู้โทรศัพท์
แล้วต้องบันทึกเก็บไว้ เพราะอาจไม่ได้เห็นอีกต่อไป
สมัยก่อนที่ใดมีโทรศัพท์ ที่นั่นมีความเจริญเข้าไปถึง
สถานีขนส่งหมอชิดคือ ที่ ๆ ไม่อยากใช้โทรศัพท์ที่สุด
แม้มีตู้โทรศัพท์รอให้บริการเป็นสิบ ก็จะแบ่งเป็นใช้บัตรกับหยอดเหรียญ
มีคนยืนเข้าแถวยาวเหยียด โทรนานก็เกรงใจ
มีคนยืนต่อคิวเรา .. อีกยาวเหยียด
มาวันนี้เห็นการเสื่อมโทรมของเทคโนโลยีนี้แล้วใจหาย
ผ่านมา แล้วก็ผ่านไป เท่าที่เห็นรู้สึกจะไม่ได้รับการเหลียวแลเท่าใด

งานประชุมวิชาการระดับชาติที่กรุงเทพ (itinlife396)

I was interested in the ontology topic.
I was interested in the ontology topic.

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150179894897272.317163.350024507271

ในประเทศไทยมีการจัดประชุมทางวิชาการระดับชาติ และนานาชาติมากว่า 10 ปีแล้ว โดยส่วนใหญ่จัดโดยสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สำหรับจังหวัดลำปางมีการรวมตัวกันของสถาบันทั้งในและต่างประเทศเพื่อจัดเวทีให้นักวิชาการ และนักศึกษาได้นำผลงานที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยมานำเสนอในเวทีที่มีผู้สนใจในเรื่องคล้ายกัน  เป็นเวทีแลกเปลี่ยนและแบ่งปัน แต่เวทีแบบนี้มักเกิดที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 9 – 10 พ.ค.2556 ผู้เขียนได้ร่วมงานการประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพฯ โดยมี รศ.ดร.พยุง มีสัจ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานจัดงานครั้งนี้

มีบทความเข้ารับการพิจารณาจำนวน 265 ผลงานที่มาจาก 40 สถาบัน ทุกบทความต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน หากได้รับการตอบรับอย่างน้อย 2 ใน 3 ท่านก็ถือว่าผ่านและเข้านำเสนอปากเปล่าในเวทีได้ ซึ่งปี 2556 มีบทความผ่านการพิจารณาทั้งสิ้น 161 ผลงาน จะบรรจุในเอกสารรวมเล่มรายงานผลวิจัยงานประชุมวิชาการ Proceedings of NCCIT 2013 บทความเหล่านี้มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ และสามารถนำไปใช้งานได้จริง เพราะผ่านการวางแผน ทบทวน  ทดสอบ และสรุปผล รวมทั้งมีข้อเสนอแนะสำหรับผู้สนใจที่จะนำไปพัฒนาต่อยอด

การนำเสนอผลงานแบ่งออกเป็นห้อง ซึ่งผู้เข้าร่วมฟังจะมีค่าลงทะเบียน 2000 บาท ส่วนผู้นำเสนอมีค่าลงทะเบียน 4000 บาท แต่ผู้เข้าฟังไม่สามารถฟังทุกเรื่อง เพราะแบ่งห้องนำเสนอเป็นหลายห้องและทุกห้องนำเสนอพร้อมกัน จึงต้องเลือกหัวข้อในแต่ละห้องตามตารางนำเสนอ ซึ่งแบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ Data Mining and Machine Learning, Data Network and Communication, Human-Computer Interface and Image Processing และ Information Technology and Computer Education ในปีนี้ผู้เขียนสนใจเรื่อง Ontology และ Semantic keyword ทำให้ได้เทคนิคในการพัฒนาระบบสืบค้นโดยใช้คำค้นที่ผ่านการทำออนโทโลยี ส่วนจะนำไปใช้กับข้อมูลระบบใดก็คงต้องเป็นคำถามใหม่ที่ต้องขบคิดกันต่อไป

http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm

https://www.easychair.org/account/signin.cgi?conf=nccit2013

การปิดกั้นเฟสบุ๊ค (itinlife380)

blocked facebook.com
blocked facebook.com

28 ม.ค.56 วันนี้ขึ้นหัวข้อแปลกอยู่สักหน่อย และสวนกระแสสถิติการใช้เฟซบุ๊คว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดที่เป็นสาวกของเฟซบุ๊ค คือ 12,797,500 คน เมื่อปลายเดือนมกราคม 2556 และมีบัญชีผู้ใช้มากกว่าจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ คิดเป็นร้อยละ 154.54 หรือกล่าวได้ว่าแต่ละคนมีมากกว่า 1 บัญชีผู้ใช้ แล้วทั้งประเทศมีบัญชีผู้ใช้ทั้งหมด 18,271,480 ซึ่งหมายความว่าเฉพาะกรุงเทพฯ เพียงเมืองเดียวก็มีผู้ใช้มากกว่าร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับทั้งประเทศ ซึ่งตอกย้ำว่าประเทศไทยมีกรุงเทพฯ เจริญเพียงเมืองเดียว เพราะการที่กรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงของไทยหากจะพูดเรื่องปิดกั้นการใช้งานย่อมต้องถูกมองว่าเป็นแกะดำ หรือพวกขวางโลกในบัดดล

หากจะปิดกั้นต้องเริ่มจากบทบาทของผู้บริหารสูงสุดที่พบว่าพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กรไม่ตอบวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือใช้เวลาในที่ทำงานไม่คุ้มกับค่าจ้าง ผลงานไม่บรรลุตามแผนขององค์กร เคยฟังโน้ตอุดมพูดในเดี่ยว 8 ตอนรัฐไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เตือนนักดนตรีว่าอย่าใช้ BB ขณะเขากำลังทำงาน หรือสำนักปลัดกระทรวงมหาดไทยมีหนังสือถึงผู้ว่าราชการทุกจังหวัดเมื่อ 6 กันยายน 2555 ว่าจะระงับการเข้าถึงเฟซบุ๊ค เนื่องจากไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานราชการ และสิ้นเปลืองช่องสัญญาณ ซึ่งจะดำเนินการได้นั้น ผู้บริหารต้องเข้าใจปัญหา และอธิบายปัญหาได้อย่างชัดเจน

เทคนิคที่ผู้ดูแลระบบจะควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการมีอยู่ขององค์กรมีหลายระดับ ซึ่งขึ้นกับวัฒนธรรมองค์กรที่จะเป็นตัวเสริม อาจเริ่มจากการให้นโยบายป้องปรามการใช้งาน ประกาศเป็นระเบียบปฏิบัติ ควบคุมการใช้งานผ่านศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือใช้ซอฟท์แวร์ควบคุมในเครื่องคอมพิวเตอร์ประจำสำนักงานของผู้ใช้แต่ละคน แต่หากเป็น smart phone ที่ใช้บริการ 3G ก็จะไม่สามารถระงับผ่านซอฟท์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ แต่อาจควบคุมด้วยการกำหนดนโยบายตัดเงินเดือน หรือมีโทษทางวินัยหากสืบทราบว่าใช้เฟซบุ๊คในเวลางานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน แล้วมีทีมเฝ้าระวังตรวจสอบก็จะทำให้การปิดกั้นสัมฤทธิ์ผล ส่งผลให้บุคลากรไม่วอกแวกไปกับกิจกรรมที่ไม่มีผลต่อเป้าหมายขององค์กร แล้วหันกลับมาสนใจทำพันธกิจขององค์กรให้สำเร็จลุล่วง

+ http://faceblog.in.th/2012/05/facebook-bangkok/
+ http://www.it24hrs.com/2012/moi-block-facebook/
+ http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/cities/

อบรม social media ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์

 

คลิ๊ปที่ 28 จากโครงการอบรมการประยุกต์ใช้
Social Media สำหรับการเรียนการสอน

 
วิทยากร คือ อ.เมธา เกรียงปริญญากิจ  (@mehtaxz) จาก socialmer.com และ facebookgoo.com เมื่อ 26 ธ.ค. 2554 จัดโดย มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์ อบรมให้กับคุณครูระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งในตอนท้ายของการอบรม คุณสุทธิชัย หยุ่น (idol ของผม) ได้ฝากข้อคิดที่น่าสนใจแก่ผู้เข้ารับการอบรม

พอสรุปได้ว่า วิทยากรบรรยายให้เห็นภาพการแบ่งปันประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการใช้ dropbox.com, 4shared.com, scribd.com, slideshare.net, soundcloud.com, twitter.com, youtube.com และ facebook.com  เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนได้อย่างลงตัว

ลองฟัง คุณสุทธิชัย หยุ่น เล่าได้ครับ ว่าการเป็นนักข่าว ต้องทำงานกับนักข่าวหลายร้อยคน มีเนื้อหาต้องแลกเปลี่ยน สื่อสารตลอดเวลานั้น จะใช้งาน social media ได้อย่างไร

คลิ๊ปทั้งหมด ติดตามได้ที่
http://www.youtube.com/user/NationUniversity

social network
social network

ปรากฏการณ์ สื่อ สังคมออนไลน์แห่งการเรียนรู้ใหม่ด้วย Social Network
http://itg.nrct.go.th/itg2010/index.php/training-seminar/training/Social-Network

เพื่อนใหม่ที่ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์

20 ม.ค.55 เพื่อนร่วมงานใหม่ เป็นอะไรที่เป็นสีสรรขององค์กร เพราะนั่นหมายถึงอะไรใหม่ ๆ มากมายที่จะตามมา โดยเฉพาะคำว่าการเปลี่ยนแปลง (Change) เหมือนที่อ่านได้จากหนังสือของ Steve Jobs ในฐานะนักนวัตกรรมระดับโลก พบว่าเขาเปลี่ยนงาน และเพื่อนร่วมงานบ่อย มีผู้คนที่มีความคิด ความสามารถ เข้ามาในชีวิตของเขาตลอดเวลา ผมเองก็ดีใจที่ได้เพื่อนร่วมงานใหม่

รับแจ้งมาว่าผมมีเพื่อนใหม่ในองค์กรที่ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์ เพิ่มอีก 6 ท่าน
คือ
1. อาจารย์รัตนาวดี ลำพาย ผู้อำนวยการศูนย์เนชั่นทาวเวอร์
2. อาจารย์วนิดา วินิจจะกูล รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์
3. อาจารย์ภรภัทร ปิติโชตินันท์ รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
4. อาจารย์ดรรชกร ศรีไพศาล รองคณบดีคณะบริหารธุรกิจ
5. อาจารย์ภฎะ รองรัตน์ หัวหน้างานกิจกรรมนักศึกษา
6. อาจารย์รุ่งรัตน์ ธนบดีธาดา หัวหน้างานสำนักงานสภามหาวิทยาลัย
ก่อนหน้านี้เคยพบทุกท่านทาง social media มาแล้ว ตัวจริงก็พบบางท่านแล้ว

บันทึกชื่อไว้ใน blog นี่หละครับ จะได้ใช้อ้างอิง เพื่อ communication
เพราะเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่
( หนังสือ มนช.044/2555 )
http://www.nation.ac.th
ติดต่อเบอร์โทร 02-338-3000 กด 8

ร่ามกิจกรรมประชุมวิชาการ nccit

nccit 2011
nccit 2011

12 พ.ค.54 มหาวิทยาลัยโยนกร่วมเป็นเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(มจพ.) จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ในชื่องาน The Seventh National Conference on Computing and Information Technology ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ระหว่างวันที่ 11 – 12 พฤษภาคม 2554 โดยมี ผศ.บุรินทร์  รุจจนพันธุ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าร่วมเป็นกรรมการพิจารณาบทความ และนำเสนอผลงานวิชาการ เรื่อง การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองสำหรับบุคคล กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง โดยมี ดร.มนชัย เทียนทอง คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจพ.และ ผศ.ดร.พยุง มีสัจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจพ. ให้การต้อนรับใกล้ชิด
+ http://www.nccit.net
+ http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm
+ http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150179894897272.317163.350024507271