เกิดมาเป็น BOSS ห้ามพลาด แม้สักครั้งเดียว

เป็นธรรมเนียมของชาวสื่อสังคมน่ะครับ
ว่า บางคนอยู่มาทั้งชีวิต ทำดีทุกเสี้ยววินาที
แต่วันใด ทำอะไรผิดพลาด หรือไม่ได้อย่างใจ
ทั้งต่อหน้า หรือลับหลัง
อาจถูกหยิบเรื่องนั้น ไปประนาม หยามเกียรติ
ถึงขั้นเละตุ้มเป๊ะเลยก็เป็นได้
ผ่านสื่อสังคมอันทรงพลังที่เคยล้มธุรกิจมานักต่อนักแล้ว

boss ทำอะไรไม่ได้อย่างใจ ลุมตืบเลย
boss ทำอะไรไม่ได้อย่างใจ ลุมตืบเลย

สมัยนี้เวลา
บอส (Boss) ทำอะไรไม่ได้อย่างใจ
ผิดจริยธรรมไปสักข้อ สักเรื่อง สักช่วงเวลาหนึ่ง
ก็จะเอา บอส (Boss) ไปด่าในสื่อ เป็นสื่อสังคมซะด้วย
เพื่อน ๆ ก็จะเข้ามาลุมตืบซ้ำ ๆ ระหว่างลุมตืบนั้น
ก็คงไม่มีเพื่อนคนไหนหรอกครับ .. กล้าคิดต่าง
เพราะการลุมตืบ แล้วทุกคนมีความสุข ให้ใจ กดไลท์ กดแชร์
กันนับหมื่น นับแสน
และการทำตัวเป็นแกะดำ แล้วถูก unfriend ก็ไม่ใช่เรื่องสนุก
รึ .. คุณกล้าจะเป็นแกะดำ ในหมู่แกะขาว กับเค้าอีกตัว

http://www.thaiall.com/ethics/ethics_boss.htm

จากหนังสือ จริยธรรมทางธุรกิจ ของ ผศ.ดร.กิ่งดาว จินดาเทวิน
บทที่ 4 จริยธรรมผู้บริหาร
พบหัวข้อ หลักจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร หน้า 76 ว่า
โดยเริ่มต้นนั้น ได้กล่าวนำว่า หลักธรรมทางด้านศาสนา
ที่สอนให้คนทุกคนทำดี งดเว้นการทำชั่ว มีคุณ 3 ประการ
1. ธรรมะทำให้เกิดการอุปการะ คือ เปรียบเสมือนกัลยาณมิตร
2. ธรรมะทำให้เกิดความงามในจิตใจ และภายนอกทั้งกายและวาจา
3. ธรรมะคุ้มครองโลกได้ ทำให้มนุษย์ระลึกรู้สิ่งดี สิ่งเลว แยกแยกได้

https://chantrabook.files.wordpress.com/2015/11/000243.pdf

ซึ่งจริยธรรมของผู้บริหารองค์กร ได้นำเสนอไว้ 4 หลักธรรม
ตามธรรมนูญชีวิตของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). 2549 : 14-28;
วศิน อินทสระ. 2549 : 93-102; สมหวัง วิทยาปัญญานนท์. 2543. ออนไลน์ ดังนี้

1. สัปปุริสธรรม 7
2. พรหมวิหาร 4
3. ทศพิธราชธรรม 10
4. มรรคมีองค์ 8

1. สัปปุริสธรรม 7
1.1 รู้หลักและรู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา)
1.2 รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล (อัตถัญญุตา)
1.3 รู้จักตน (อัตตัญญุตา)
1.4 รู้จักประมาณ (มัตตัญญุตา)
1.5 รู้จักกาล (กาลัญญุตา)
1.6 รู้จักชุมชน (ปริสัญญุตา)
1.7 รู้จักบุคคล (ปุคคลัญญุตา)

2. พรหมวิหาร 4
2.1 เมตตา (Loving Kindness)
2.2 กรุณา (Compassion)
2.3 มุทิตา (Appreciative Gladness)
2.4 อุเบกขา (Equanimity)

3. ทศพิธราชธรรม 10
3.1 ทาน (Sharing with the Populace)
3.2 ศีล (Maintaining Good Conduct)
3.3 ปริจจาคะ (Working Selflessly)
3.4 อาชวะ (Working Honestly)
3.5 มัทวะ (Deporting himself with Gentleness and Congeniality)
3.6 ตปะ (Rejecting Indulgence through Austerity)
3.7 อโกธะ (Adhering to Reason, not Anger)
3.8 อวิหิงสา (Bringing Tranquility through Non-Violence)
3.9 ขันติ (Overcoming Difficulties with Patience)
3.10 อวิโรธนะ (Not doing that which Strays from Righteousness)

4. มรรคมีองค์ 8
4.1 สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ (Right Understanding)
4.2 สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ (Right Thoughts)
4.3 สัมมาวาจา การพูดชอบ (Right Speech)
4.4 สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ (Right Action)
4.5 สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ (Right Livelihood)
4.6 สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ (Right Effort)
4.7 สัมมาสติ ความระลึกชอบ (Right Mindfulness)
4.8 สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ (Right Concentration)

http://mng.uru.ac.th/~fms/mng/ebook/business_ethic_part1.pdf

ที่ประเทศจีน ในยุคของเหมาเจ๋อตุง มีการยึดที่ดินจากเจ้าของที่ดินศักดินา

ที่ประเทศจีน ในยุคของเหมาเจ๋อตุง
เล่าโดยฝรั่งหลายคน
..จีนเป็นสังคมศักดินา ซึ่งคนรวยจำนวนน้อยอยู่อย่างสุขสบาย..
ตอนที่ 3/5 ประกาศโครงการปฏิรูปที่ดิน
ยึดที่ดินจากเจ้าของที่ดินศักดินา
แล้วจัดแบ่งให้กับผู้ทำงานในที่ดินนั้น
เจ้าของที่ดินถูกประจานต่อหน้าสาธารณะชน
แต่ผู้คนในบางเมืองที่ไม่เป็นคอมมิวนิสรู้สึกไม่พอใจ

ในยุคของเหมา มีลูกขุนคอยพยัก รายล้อมตัวเขา

ตอนที่ 1/5

ตอนที่ 2/5

ตอนที่ 3/5

ตอนที่ 4/5

ตอนที่ 5/5

 

หลักการในการขอโทษลูกน้อง

หลักการในการขอโทษลูกน้อง (apologize)
หลักการในการขอโทษลูกน้อง (apologize)

หลักการในการขอโทษลูกน้อง
จากหนังสือ The Worst Case Scenario Business Survival Guide
หัวข้อ How to apologize to anyone
http://www.nuttaputch.com/7-principles-of-saying-sorry-for-manager/
1. นึกถึงสิ่งที่ผู้ฟังอยากฟัง = ก่อนขอโทษ ต้องเตรียมคำตอบโดนสวนกลับด้วย
เช่น รู้ว่าผิดแล้วหัวหน้าทำ ๆ ไม อะไรทำนองนี้
(Determine what your listener wants to hear)
2. ทบทวนว่าเขารู้สึกแบบนี้มาเท่าไรแล้ว = จะเร็วจะช้า ไปขอโทษไว้ก่อนน่าจะดีกว่า แต่ถ้าลืมไปแล้วล่ะ หรือนานเกินไปล่ะ
(Determine how long they have felt this way)
3. ดูว่ามีทางแก้ไขอื่นนอกจากขอโทษหรือไม่ = ลูกน้องอาจต้องการซองหนา ๆ หรือกุหลาบสีขาวสักช่อ จัดเลย
(Determine if a correction avobe and beyond the apology is required)
4. กล่าวขอโทษด้วยตัวเอง = อีเมล หรือจดหมายน้อย ไม่ดีเท่าขอโทษด้วยตนเอง
(Apologize in person)
5. ขอโทษอย่างเรียบง่ายและจริงใจ = ไม่ต้องมีพานพุ่มหรือขนมเค๊กไอศครีมก็ได้ จริงใจกว่า
แต่ถ้าคาดว่าไปขอโทษแล้วจะเติมเชื้อเพลิง ก็ให้ “เฉย ๆ ไปเลยดีกว่า” .. เหมือนในเพลง
(Apologize simply and sincerely)

6. รับฟัง = อยากฟังลูกน้องให้เริ่มต้นด้วยคำว่าขอโทษ แล้วเค้าจะพูดกับหัวหน้า
(Listen)
7. ขอโทษอีกครั้ง = ขอโทษหลาย ๆ ครั้ง ลูกน้องชอบฟัง
(Apologize again)
https://books.google.co.th/books?id=h11juvL9UlsC&pg=PT92&lpg=PT92&dq=The+Worst+Case+Scenario+Business+Survival+Guide+apology&source=bl&ots=COlu9nbLPn

สิ่งที่ต้องคำนึงให้มาก คือ ต้องแน่ใจว่าไม่ได้เอาน้ำมันไปราดกองไฟ

นึกถึงหัวอกหัวหน้า

แอบดูเจ้านาย มาบ่นทางเฟส
แอบดูเจ้านาย มาบ่นทางเฟส

เห็นข่าวที่บรรดาหัวหน้าถูกกระทำ รู้สึกว่าน่าเห็นใจ ทั้งหัวหน้า และลูกน้อง
1. ลูกน้องเลื่อยเก้าอี้หัวหน้า ซึ่งหน้า
– บอกว่าไม่โปร่งใส อย่าง เปียโน กทม.
https://www.youtube.com/watch?v=vLK3TeefxU0
– บอกว่าผู้บริหาร TPBS ไร้ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการรอบด้าน
http://www.prachatai.org/journal/2012/07/41619
2. นั่งบ่นในเฟสบุ๊คของตนเอง ว่าหัวหน้าแย่ งานแย่
– บอก เจ้านายน่ารำคาญ สั่งทำนู่นทำนี่
https://www.facebook.com/thaiall/posts/159029020904160
– บอก ในเฟสว่าแอบฟังเจ้านายใช้โทรศัพท์ แต่เจ้านายไม่มารู้หรอกว่าฉันแอบเปิดเว็บหรอก ฮึฮึ
http://board.postjung.com/873304.html
3. ลูกน้องที่มีอยู่ ขึ้นมาแทนที่  หัวหน้าคนปัจจุบัน .. (นี่เค้าก็มองกันหลายมุมเลย)
– พล.อ.ประยุทธ์ ใช้ อำนาจ ม.44 สั่ง ปานเทพ พ้นตำแหน่ง ปธ.ป.ป.ช.
และให้กรรมการ ป.ป.ช.ที่ยังอยู่ในตำแหน่ง ประชุมเลือก ปธ.ป.ป.ช. คนใหม่
สรุปว่า หัวหน้าออก และให้ลูกน้องที่เหลืออยู่ เลือกหัวหน้าคนใหม่ขึ้นมา
แสดงว่า ให้หัวหน้าออก แล้วให้ลูกน้องเลือกกันเองว่าใครจะขึ้นเป็นหัวหน้าแทน
ปล. กว่าจะมาถึงตรงนี้ น่าจะมีกระบวนการพิจารณาเชิงลึก ถึงลึกมาก
ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องระหว่างหัวหน้า กับลูกน้อง ไม่มากก็น้อย
http://www.thaiall.com/blogacla/burin/2959/major_cineplex/

การประเมินเจ้านาย ด้วย 20 คำถาม

ถ้าเป็นนายก ก็คงประเมินอย่างหนึ่ง
ถ้าเป็นเจ้าของบริษัท ก็คงประเมินอย่างหนึ่ง
ถ้าเป็นผู้ว่า ก็คงประเมินอย่างหนึ่ง
ถ้าเป็นผบ. ก็คงประเมินอย่างหนึ่ง
ผู้เข้าประเมิน ก็มีทั้งภายใน และภายนอก ก็จะประเมินกันไปคนละอย่าง
การประเมินเจ้านาย ก็เพื่อพัฒนาองค์กรนั้น มักทำโดยลูกน้องสุดที่รัก
เพราะคนนอกที่ไหนเขาจะมาทำ มาสนใจองค์กรที่เราทำงานอยู่
ถ้าคนนอกเข้ามา ก็มาแป๊ป ๆ แล้วเดี๋ยวก็ไป .. คือ คนที่หายไป

blame
blame

http://kidsermons.com/2012/06/the-blame-game/

มีตัวอย่างคำถามที่น่าสนใจ รวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ  มาแบ่งปัน
หากท่านใดจะไปประเมินเจ้านาย ก็ลองเก็บ 20 คำถามไปคิดดู

1. เจ้านาย ทำให้องค์กรมีความโดดเด่น แตกต่างจากองค์กรอื่นชัดเจนไหม
2. เจ้านาย ทำแผนกลยุทธ์ขึ้นมา ดูแล้วจะนำพาองค์กรให้ก้าวหน้าได้ไหม
3. เจ้านาย แปลงแผนกลยุทธ์เป็นแผนปฏิบัติการ ได้ไหม
4. เจ้านาย ทำแผนขึ้นมาคนเดียว มีคนอื่นรู้เห็นเป็นใจด้วยรึเปล่า หรือ copy เจ้านายคนก่อนมา
5. เจ้านาย ทำตามแผน หรือแผนเขียนตามที่ทำ เพราะถ้าไม่มีแผน ก็จะทำ ๆ ไป แล้วมาสร้างแผนทีหลังก็มี
6. เจ้านาย ประเมินลูกน้อง แล้วใช้ผลประเมินไหม มีประสิทธิภาพไหม นึกถึงโรงเรียน กับสมศ.เลย
7. เจ้านาย ให้ใช้ทรัพยากรที่ระบุในแผนไหม หรือให้ทำตามแผน แต่ไม่ให้ทรัพยากร
8. เจ้านาย เชื่อในแผนผังองค์กรไหม หรือใช้บัญชีทำตลาด ใช้ฝ่ายผลิตไปเป็นเลขาฯ
9. เจ้านาย รู้ไหมใครถนัดอะไร ชอบอะไร มีความรู้ด้านใด แล้วใช้คนให้ถูกกับงานหรือไม่
10. เจ้านาย เขียนระบบ และเดินตามระบบหรือไม่ ระบบที่มีดีพอรึยัง
11. เจ้านาย เอาแต่ใจ เปลี่ยนระบบตามใจปรารถนารึเปล่า
12. เจ้านาย มองเห็นไหมว่าลูกน้องแต่ละคน มีวิสัยทัศน์เดียวกับเจ้านายรึเปล่า
13. เจ้านาย สอนงานลูกน้องไหม หรือตำหนิเสมอ หรือคอยซ้ำเติมเวลาลูกน้องพลาด
14. เจ้านาย ติดตามงานจากลูกน้องไหม แต่ถ้าตามแล้วโดนลูกน้องตะหวาดจะทำอย่างไร
15. เจ้านาย ส่งลูกน้องไปอบรมพัฒนาบ้างไหม
16. เจ้านาย หาคนเก่งมาทำงานด้วยได้ไหม หรือปล่อยให้คนเก่งหลุดมือประจำ
17. เจ้านาย เคยสร้างขวัญกำลังใจให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขไหม
18. เจ้านาย ทำให้ทุกคนเห็นความก้าวหน้าในอาชีพของตนไหม หรือต้องลุ่นการเมืองไปแบบวันต่อวัน
19. เจ้านาย เคยถามไหมว่า ถ้าคู่แข่งขององค์กรที่น่าสนใจมาชวนไปทำงานด้วย จะไปไหม
20. เจ้านาย มีความสามารถในการจัดการไหม รู้จักวางแผน จัดองค์กร บังคับบัญชา ประสานงาน และควบคุมไหม

กฎมีอยู่ไม่กี่ข้อในโลก แต่คนให้เหตุผลมีมากมาย
กฎของเจ้านาย บางคน
กฎข้อ 1 เจ้านายถูกเสมอ
กฎข้อ 2 ถ้าเจ้านายผิด (แสดงว่าลูกน้องต้องเรียนรู้เพิ่มเติม) ให้ย้อนกลับไปดูข้อ 1

กฎของลูกน้อง บางคน
กฎข้อ 1 ลูกน้องถูกเสมอ เจ้านายอาจถูกบ้างเป็นบางครั้ง
กฎข้อ 2 ถ้าลูกน้องผิด เจ้านายต้องรับผิดชอบ และย้อนกลับไปดูข้อ 1
กฎข้อ 3 ถ้าเจ้านายผิด ต้องเปลี่ยนเจ้านาย

ฝรั่งเชื่อว่า “การเปลี่ยนผู้บริหาร แล้วจะมีการเปลี่ยนนโยบาย”

Mobility of TOP Management
Mobility of TOP Management

เคยอ่านเรื่อง “7 โรคร้าย ที่ระรานการจัดการองค์กร
ที่คุณ vimonmass แปลจาก หนังสือ OUT OF THE CRISIS (1986)
ที่เขียนโดย W. Edwards Deming โพสต์เป็นไทยเมื่อ September 8, 2014
http://goo.gl/E3Qcoq
ผมสนใจข้อ 4 Mobility of TOP Management
อ่านแล้วทำให้รู้สึกว่า
เมื่อเปลี่ยนผู้บริหาร แล้วจะมีการเปลี่ยนนโยบาย” .. เป็นเรื่องธรรมดาจริงหรือ
ก็ทำไมไม่เหมือนเดิมล่ะ มีเหตุผลอะไรดี ๆ ที่ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลง
ผมรู้สึกอีกว่าผิดไปจาก “หลักธรรมาภิบาล เป็นแนวทางในการบริหารจัดการที่ดี”
จำนวน 2 ข้อคือ หลักประสิทธิผล (Effectiveness) และ หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)
เพราะการเปลี่ยนแปลง กับการไม่เปลี่ยนแปลง ย่อมต้องแตกต่างกันอย่างมีเหตุมีผล
ถ้าเปลี่ยนก็ต้องมีสารสนเทศมาสนับสนุน วิเคราะห์สภาพแวดล้อม และประเมินความเป็นไปได้
.. ผมคิดว่างั้นนะ ไม่ใช่เอะอะก็เปลี่ยน และเปลี่ยนแบบไม้อ้างอิงข้อมูล ดูขัดกับหลักธรรมาภิบาล
สอดคล้องกับที่กล่าวในหนังสือ โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ
บทที่ 1 บริหารจัดการโดยไม่ใช้ข้อมูลจริง .. แล้วใช้อะไรล่ะ สงสัยจะไม่ใช้ข้อมูลมาเป็นฐานคิด

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/1490/

เพลง : ขอให้เหมือนเดิม
ศิลปิน : BUDOKAN
คำร้อง : กมลศักดิ์ สุนทานนท์
ทำนอง : เทียนชัย เกียรติปรุงเวช
เรียบเรียง : BUDOKAN[เทียนชัย]

พฤติกรรมเจ้านาย ที่ไม่ดี แต่ปรับปรุงได้

boss in some organization
boss in some organization

พบ slide ของ  San Santipong Jan 22,2009
เนื้อหาท่อนแรก .. เล่าเปรียบเทียบ พฤติกรรมการทำงาน กับ ผลตอบรับ
เนื้อหาท่อนที่สอง .. เล่าว่าลักษณะเจ้านายเป็นอย่างไร
ที่ http://www.slideshare.net/hellleek/boss-management-presentation

ผมว่านะ เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ และมีข้อบกพร่องอยู่
ถ้าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เขาจะมีคุณธรรมจริยธรรม และอื่น ๆ อีกมากมายที่ดี เช่น

เร็ว ก็ชมว่ายอด
ช้า ก็เข้าช่วยเหลือ
โง่ ก็ส่งอบรม
ฉลาด ก็วางใจให้ทำงาน
ทำก่อน ก็เป็นนวัตกรรม
ทำทีหลัง ก็ slow but sure
คนดี เรียกมาใกล้ ๆ
คนชั่น เก็บไว้ให้ใกล้กว่า
เกลียด คนคด
หลง คนซื่อ
ชอบกิน มะระ
แต่ให้ มะยม
หัวตัวเอง ยกให้ลูกน้อง
ชอบหาหัวใหม่ นอกองค์กรมาสวม
คนดี จึงวิ่งเข้าหา
คนที่เดินหน้าจึงมีแต่ คนทำงาน

.. อ่านขำ ๆ ครับ เพราะผมก็โดนบ่อย ๆ
.. โดยที่บ้านเขเอาขี้เฮะไปขว้าง พอช้า ก็ว่าอืดอาด บ่อยเลย

มีอารมณ์ ใช้อารมณ์ เสียเพราะอารมณ์ หลังถูกถ่ายคลิ๊ป

major cineplex
major cineplex

เรื่อง ผู้จัดการโรงหนัง Major Cineplex พระราม 3 ทะเลาะกับลูกค้า

หรือ

เรื่อง กรมศุลฯ ซี7 ตบบ้องหูเจ้าหน้าที่สุวรรณภูมิ

ต่างก็เป็นเรื่องของการใช้อารมณ์ทั้งคู่ ผมว่าปัจจุบันมีการใช้อารมณ์เกิดขึ้นมากมาย แต่ที่มาเป็นข่าวก็มักจะเป็นเรื่องที่มีคนถ่าย clip  แล้ว upload ก็จะมีคนดูมากมายเหมือนไทยมุง แล้วก็แชร์ให้มุงกันต่อ ๆ ไป สรุปว่า มีคนมีอารมณ์ มีคนใช้อารมณ์ และเสียเพราะอารมณ์ แล้วถูกบันทึกไว้ และเผยแพร่สู่สาธารณะ

แล้วนึกไปถึงหญิงเหล็กที่เป็นนักการเมืองอังกฤษ หลังเสียชีวิตก็มีคนกลุ่มหนึ่งชื่นชม แต่กลับถูกกลุ่มผู้ใช้แรงงานออกมาแสดงความยินดีกับการเสียชีวิต เป็นเรื่องที่คาดไม่ถึง และยังไม่เคยเห็นเหตุการณ์แบบนี้ในไทย เพราะคนไทยเคยชินกับคำว่าอโหสิกรรม แต่หญิงเหล็กตั้งใจทำงานโดยเลือกข้างทุนนิยม ดังนั้นกลุ่มผู้ใช้แรงงานจึงเก็บกดความไม่พอใจมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ .. เรื่องนี้เป็นบทเรียนสำหรับนักการเมืองไทยนะครับ ในการบริหารความพึงพอใจของนายจ้างกับลูกจ้างให้ไปด้วยกันให้ได้ แต่ปัจจุบันรู้สึกลูกจ้างจะพอใจฝ่ายเดียว นายจ้างหน้างอกันเป็นแถว

เรื่องการควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับปุถุชน อย่างเช่น นายก. ตีลูกตอนที่อารมณ์เสีย แล้วมีใครถ่ายคลิ๊ปตอนทำหน้ายักษ์ ถ้าถูกเผยแพร่ก็จะเป็นเรื่องใหญ่โต ตอนพระทะเลาะกับศรัทธาที่ปากจัดก็อาจถูกจับสึกได้

ตอนลูกน้องใช้อารมณ์วิพากษ์การตัดสินใจของเจ้านายในวงเหล้าเพลิน
แล้วมีเพื่อนในวงถ่ายคลิ๊ปไว้ .. แล้วเจ้านายเห็นก็อาจเป็นเหตุให้ถูกไล่ออก

ที่แน่ ๆ มีข่าวว่าลูกน้องไปโพสต์ด่าเจ้านายในเฟสบุ๊ค แล้วถูกไล่ออกก็มีมาแล้ว หรือครูหนุ่มชมว่านักศึกษาสาวน่ารักและเซ็กซี่ คุณครูโดนไล่ออกก็มีมาแล้ว ล้วนเป็นเหตุจากอารมณ์ทั้งสิ้น จะอารมณ์รัก หรืออารมณ์โกรธ ก็ล้วนแต่มีปัญหาทั้งนั้น

.. อย่าลืมว่า smart phone สมัยนี้ถ่ายคลิ๊ปได้ และ ทุกคนที่เราไว้ใจ
พร้อมจะ upload
เข้าเครือข่ายสังคม .. โปรดระวัง ..

2 rules of Philip Kotler
Rule 1 :
The customer is always right.
Rule 2 :
If the customer is wrong, go back to rule 1.
http://books.google.co.th/books?id=5GigjssNBBwC&printsec=frontcover

ผู้ใหญ่ในแวดวงการศึกษา

BOSS - Boss…ทีมล่าทรชน
BOSS - Boss…ทีมล่าทรชน

เรื่องย่อ: BOSS

เรื่องราวของพวกนักสืบ โอซาว่า เอริโกะ เป็น เจ้านายคนใหม่ ที่สวยสะดุดตาของหน่วยสืบสวน ซึ่งเธอเพิ่งจะกลับมาจากสหรัฐหลังจากการจบคอร์สการฝึกหัด เธอไม่เพียงแค่สวยอย่างเดียว แต่เธอนั้นยังฉลาดและมีความสามารถที่เก่งมาก ๆ เพราะความเก่งกาจของเธอ ๆ จึงไม่ค่อยจะเข้าใจในเรื่องผู้ชาย เธอจึงยังไม่มีสามี เรื่องการไปเข้าคอร์สของเธอนั้นเกิดจากที่เธอทำงานเกินหน้าผู้ชาย เธอจึงเหมือนถูกลดตำแหน่งลง เธอจึงต้องมาเป็นหัวหน้าของทีมแผนกที่เปิดใหม่ แต่ด้วยผลงานต่างๆ ภายหลังแผนกใหม่นี้ จึงได้รับการยอมรับให้แยกเป็นอีกหนึ่งแผนก

ในชีวิตของเราย่อมมีประสบการณ์กับผู้คนมากหน้าหลายตาในหลายระดับ
การศึกษาก็มีตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยม มหาวิทยาลัย
ทำให้รู้จักผู้คนมากมาย สำหรับผมก็รู้จักนักการศึกษาหลายท่าน
อาจเรียกท่านเหล่านั้นว่า BOSS หรือ Supervisor หรือหัวหน้า
หรือ เจ้านาย หรือผู้ใหญ่ในที่ทำงาน

ทำเนียบผู้ใหญ่ในดวงใจของผม
1. ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ
2. ศ.ดร.สุจินต์ จินายน
3. อ.สันติ  บางอ้อ
4. ผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ
5. รศ.อรวรรณ  ทิตย์วรรณ
6. อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู
7. ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม

http://www.youtube.com/watch?v=pgoDRSHw5OI

http://www.thaiall.com/blog/burin/3293/
http://www.thaiall.com/blog/burin/731/

การปิดกั้นเฟสบุ๊ค (itinlife380)

blocked facebook.com
blocked facebook.com

28 ม.ค.56 วันนี้ขึ้นหัวข้อแปลกอยู่สักหน่อย และสวนกระแสสถิติการใช้เฟซบุ๊คว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดที่เป็นสาวกของเฟซบุ๊ค คือ 12,797,500 คน เมื่อปลายเดือนมกราคม 2556 และมีบัญชีผู้ใช้มากกว่าจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ คิดเป็นร้อยละ 154.54 หรือกล่าวได้ว่าแต่ละคนมีมากกว่า 1 บัญชีผู้ใช้ แล้วทั้งประเทศมีบัญชีผู้ใช้ทั้งหมด 18,271,480 ซึ่งหมายความว่าเฉพาะกรุงเทพฯ เพียงเมืองเดียวก็มีผู้ใช้มากกว่าร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับทั้งประเทศ ซึ่งตอกย้ำว่าประเทศไทยมีกรุงเทพฯ เจริญเพียงเมืองเดียว เพราะการที่กรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงของไทยหากจะพูดเรื่องปิดกั้นการใช้งานย่อมต้องถูกมองว่าเป็นแกะดำ หรือพวกขวางโลกในบัดดล

หากจะปิดกั้นต้องเริ่มจากบทบาทของผู้บริหารสูงสุดที่พบว่าพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กรไม่ตอบวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือใช้เวลาในที่ทำงานไม่คุ้มกับค่าจ้าง ผลงานไม่บรรลุตามแผนขององค์กร เคยฟังโน้ตอุดมพูดในเดี่ยว 8 ตอนรัฐไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เตือนนักดนตรีว่าอย่าใช้ BB ขณะเขากำลังทำงาน หรือสำนักปลัดกระทรวงมหาดไทยมีหนังสือถึงผู้ว่าราชการทุกจังหวัดเมื่อ 6 กันยายน 2555 ว่าจะระงับการเข้าถึงเฟซบุ๊ค เนื่องจากไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานราชการ และสิ้นเปลืองช่องสัญญาณ ซึ่งจะดำเนินการได้นั้น ผู้บริหารต้องเข้าใจปัญหา และอธิบายปัญหาได้อย่างชัดเจน

เทคนิคที่ผู้ดูแลระบบจะควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการมีอยู่ขององค์กรมีหลายระดับ ซึ่งขึ้นกับวัฒนธรรมองค์กรที่จะเป็นตัวเสริม อาจเริ่มจากการให้นโยบายป้องปรามการใช้งาน ประกาศเป็นระเบียบปฏิบัติ ควบคุมการใช้งานผ่านศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือใช้ซอฟท์แวร์ควบคุมในเครื่องคอมพิวเตอร์ประจำสำนักงานของผู้ใช้แต่ละคน แต่หากเป็น smart phone ที่ใช้บริการ 3G ก็จะไม่สามารถระงับผ่านซอฟท์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ แต่อาจควบคุมด้วยการกำหนดนโยบายตัดเงินเดือน หรือมีโทษทางวินัยหากสืบทราบว่าใช้เฟซบุ๊คในเวลางานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน แล้วมีทีมเฝ้าระวังตรวจสอบก็จะทำให้การปิดกั้นสัมฤทธิ์ผล ส่งผลให้บุคลากรไม่วอกแวกไปกับกิจกรรมที่ไม่มีผลต่อเป้าหมายขององค์กร แล้วหันกลับมาสนใจทำพันธกิจขององค์กรให้สำเร็จลุล่วง

+ http://faceblog.in.th/2012/05/facebook-bangkok/
+ http://www.it24hrs.com/2012/moi-block-facebook/
+ http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/cities/