ปฏิทินมีภาพชิดขวา 9 แบบ ปี พ.ศ. 2568

รวมปฏิทินประจำปี 2568 (2025) ปีมะเส็ง จำนวน 9 รูปแบบ จาก ระบบสร้างปฏิทินประจำปี แบบที่ 2 สร้างปฏิทิน ใช้ภาพประกอบแนวตั้ง ที่กำหนดเลือก รูปแบบ google font, RGB color, RGB, background-color, ปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่ใช้ pure javascript + php + jspdf + print preview โดยใช้ภาพผลิตภัณฑ์ และบริการของเพื่อน จาก 9 เว็บไซต์ ได้แก่ ttpcargo, taobao.ttpcargo, ofisu furniture, pen-perfect, bottle-perfect, powerbank-perfect, umbrella-perfect, usb-perfect, และ โรงงานของพรีเมี่ยม เผยแพร่เป็นเว็บเพจใหม่ ใน “ปฏิทินวันหยุด วันหยุดธนาคาร และราชการ ประจำปีพ.ศ. 2568”
ซึ่งระบบสร้างปฏิทินยังสามารถส่งปฏิทินออกเป็น .png หรือ .pdf หรือ print out แบบไปรับขนาดสำหรับกระดาษ A3 บน desktop และ A4 บน mobile ได้

https://thaiall.com/calendar/calendar_js.php

https://www.thaiall.com/calendar/calendar68_js.htm

ปล. แบบ print สามารถกำหนด image จาก url ได้แล้ว

CAT ไม่ใช่แมว แต่เป็น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

ที่ทำงานของผมใช้บริการในฐานะลูกค้าของ CAT
มีความสัมพันธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องหลายปี
ทุกปีเจ้าหน้าที่จะมาเยี่ยมลูกค้า ผมมักได้ปฏิทิน ได้ถ่ายภาพร่วมกัน
ปีนี้ ก็พึ่งมา ได้ปฏิทินของปี 2561 มาด้วย สวยมาก

ทศมภูมี จักรีวงศ์ เอกองค์มหาวชิราลงกรณ
ทศมภูมี จักรีวงศ์ เอกองค์มหาวชิราลงกรณ

ชุด “ทศมภูมี จักรีวงศ์ เอกองค์มหาวชิราลงกรณ
คือ ภายในตัวปฏิทินบรรจุโปสเตอร์ขนาดใหญ่พิเศษ
ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
สามารถตัดเก็บออกมาใส่กรอบได้

เนื้อหาปฏิทิน 12 เดือนลำดับพระราชประวัติตั้งแต่ทรงพระเยาว์
พระปรีชาสามารถ พระอัจฉริยภาพทั้งศาสตร์และศิลป์ในด้านต่าง ๆ
พระราชกรณียกิจที่ทรงเสียสละอุทิศเพื่อบ้านเมือง
ยังประโยชน์แก่ประชาราษฎร์สืบเนื่องมาช้านาน

หมายเหตุ ภาพวาดพระบรมสาทิสลักษณ์ เป็นลิขสิทธิ์ของศิลปินผู้วาด
นายทองดี ภานุมาศ” และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT
ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์โดยเด็ดขาด
https://www.facebook.com/prcattelecom/posts/938543392962029

 

หลายปีก่อน เคยพานักศึกษาไปดูงานที่ กสท.ลำปาง
http://www.thaiall.com/blog/tag/cat-tag/

บมจ.กสท เป็นรัฐวิสาหกิจ
ชื่อเดิม คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย
ได้แปลงสภาพเป็น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
จดทะเบียนเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546
ทำหน้าที่เกี่ยวกับ กิจการโทรคมนาคมทั้งหมด
เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (เดิม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
และกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น 100% ของทุนจดทะเบียน
http://www.cattelecom.com/cat/ourcompany

มีพันธกิจ 4 ด้าน
1. ให้บริการด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
มีคุณภาพ และสามารถ ตอบสนองผู้ใช้บริการได้ตรงความต้องการ โดยการพัฒนาหรือสรรหานวัตกรรมใหม่ๆ
2. ขยายฐานผู้ใช้บริการทั้งในประเทศและภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง และมอบประสบการณ์ที่ดี ให้กับผู้ใช้บริการ
3. ดำเนินการปฏิรูปองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขันและเป็นพลังขับเคลื่อน เศรษฐกิจของประเทศ
4. สร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมกับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตลอดจนการดำเนินงานเพื่อ สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และใส่ใจต่อสังคม

ความเป็นมา
เดิม ก.ส.ท. ดูแลโดย กรมไปรษณีย์โทรเลข
ย้ายไปเป็น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ก.ส.ท.)
ตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519
เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2519
แล้วแปลงสภาพเป็น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546
โดยยกเลิก พรบ.ฯ ฉบับเดิมไป เพื่อเปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชนแทน

สายงานในกสท. ประกอบด้วย
1. สายงานอำนวยการและกฎหมาย
2. สายงานสื่อสารไร้สาย
3. สายงานกลยุทธ์องค์กร
4. สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. สายงานธุรกิจและบริการ
6. สายงานการเงิน
7. สายงานธุรกิจ NGDC และ NBN
8. สายงานทรัพยากรบุคคล
9. สายงานภูมิภาค

กสท. ออกเยี่ยมลูกค้าทุกปี
กสท. ออกเยี่ยมลูกค้าทุกปี

ข่าว 22 พฤศจิกายน 2014
เรื่อง สนช. เสนอยุบกสทช. ให้ CAT และ TOT มาทำงานแทน
ซึ่ง กสทช. คือ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ส่วน สนช. คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
https://www.blognone.com/node/63068

ข่าวเมื่อ 13 มิถุนายน 2560
ที่ประชุม ครม.เห็นชอบ “TOT-CAT”
ตั้งบริษัทลูกแยกธุรกิจที่ซ้ำซ้อน หลังหมดรายได้จากสัมปทานคลื่นความถี่
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/759281

ข่าวเมื่อ 24 สิงหาคม 2560
จี้นายกฯ รวมบอร์ด TOT-CAT
http://www.thaipost.net/?q=node/34409

ความหมายของปฏิทิน

เรารักในหลวง
เรารักในหลวง

ปฏิทิน ในภาษาอังกฤษ คือ คาเลนดาร์ (Calendar) มาจากคำพูดของชาวกรีกโบราณ ว่า “Kalend” มีความหมายว่า “I cry” หรือ “ฉันร้อง” มีที่มาว่า สมัยโบราณจะมีคนคอยร้องบอกชาวเมือง เพื่อบอกกล่าวเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า รวมถึงประกาศวันขึ้นเดือนใหม่ เพื่อให้ลูกหนี้จ่ายเงินที่คั่งค้าง ครั้นต่อมาสังคมเริ่มสลับซับซ้อนมากขึ้น ปฏิทินจึงได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแทนคนร้องบอก ปฏิทินจึงเป็นสิ่งบอกเวลา และกลายเป็นสิ่งสำคัญในวิถีชีวิตประจำวันไปในที่สุด ต่อมามนุษย์จึงได้ริเริ่มบันทึก วัน เวลา ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร หรือที่เรียกกันว่า “ปฏิทิน”

ปัจจุบัน “ปฏิทิน” ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย นักธุรกิจติดต่อนัดหมายกันผ่าน วัน เวลา ในปฏิทิน นอกจากนี้ปฏิทินยังคอยย้ำเตือนถึง วัน เวลาที่สำคัญต่าง ๆ เช่น วันเกิด วันหยุด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปฏิทินที่กำหนดวันสำคัญทางศาสนา ซึงจะต้องอาศัยการประกาศอย่างเป็นทางการ เช่น วันจาริกแสวงบุญของอิสลามิกชน เป็นต้น
ปฏิทินไทย
ปฏิทิน แปลว่า แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี สามารถเขียนได้เป็น ประติทิน (ภาษาสันสกฤต) หรือ ประฏิทิน (บาลีแผลง) ประดิทิน หรือ ประนินทิน ก็ได้ คำหลังนี้พบในหนังสือที่เขียนโดย หมอ บรัดเลย์ ในหนังสือ อักขราภิธานศรับท์ หน้า 412 และหนังสือ สยามไสมย หน้าโษณา ของ หมอ สมิท เป็นต้น แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี มีทั้งที่จารึกบนก้อนหิน หรือ ขีด เขียน และพิมพ์บนกระดาษ ซึ่งมีทั้งชนิดเป็นแผ่น ตั้งแต่ 1 – 12 แผ่น และชนิดพิมพ์เป็นเล่มแบบหนังสือปฏิทินชนิดเล่ม

การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาล ที่ 3) ซึ่งสามารถตรวจสอบและค้นคว้าหาหลักฐานได้จาก ไมโครฟิล์ม หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ปี ค.ศ. 1870 ( พ.ศ. 2413 ) หน้า 5 ในหอสมุดแห่งชาติ หรือค้นคว้าได้จากหนังสือต้นฉบับ ที่หอสมุดดำรงราชานุภาพ ซึ่งหมอ บรัดเลย์ ได้เขียนไว้ว่า “ 14 First Calendar print in B. 1842 ” (ไม่บอกว่าใครเป็นผู้พิมพ์ แต่คาดหมายว่า คือ หมอ บรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ ผู้มีผลงานทางหนังสือมากมาย)

รัชกาลที่ 4 ทรง ฯ โปรดให้พิมพ์ปฏิทินภาษาไทย (ภายหลังจากที่ หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินชิ้นแรกในสยาม เมื่อ พ.ศ. 2385) เมื่อ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2404 ดังปรากฏหลักฐานใน หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ฉบับ ปี ค.ศ. 1862 ( พ.ศ. 2405) หน้า 108
ในสมัย รัชกาลที่ 5 ปฏิทินที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แก่ “ ประนินทิน ” ซึ่งลงโฆษณาใน หนังสือสยามไสมย ของ หมอสมิท เขียนคำโฆษณาไว้ตอนหนึ่ง ว่า “ ประนินทินนี้ แจ้งให้รู้ถึงการอื่นเป็นอันมากอันควรคนทั้งปวงจะรู้ ถ้าไม่รู้เขาจะนินทาว่าคนโง่ ” แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท (ราคาในสมัยนั้น) ปัจจุบันยังหาประนินทินของหมอสมิทไม่พบ

ปฏิทินในสมัย รัชกาลที่ 6 ที่น่าสนใจได้แก่ปฏิทินพกเล่มเล็กๆ ที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นของชำร่วย สำหรับแจกพระราชทาน แก่ขุนนางที่ลงนามถวายพระพร ในวันขึ้นปีใหม่ ปฏิทินพกแบบนี้ยังมีแจกต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งบุคคลธรรมดาก็สามารถไปลงนามถวายพระพรและรับปฏิทินหลวงได้
การพิมพ์ปฏิทินเล่มยังมีการจัดทำต่อมา จนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ปฏิทินเล่มยังมีรายละเอียดในเรื่องของ สภาพภูมิอากาศ เวลาน้ำขึ้น – น้ำลง การเดินทางของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ และมีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย ยังมีสมุดบันทึกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งบอกรายละเอียดของ วัน เดือน ปี เรียงไปตามลำดับ และมีหน้าสำหรับจดบันทึกหมายเหตุรายวัน รวมถึงวันสำคัญ และวัน เวลา นัดหมาย ฯลฯ ที่เรียกว่า “ ไดอารี่ ” (Diary) หรือ ” สมุดบันทึกประจำวัน ” ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฏิทินได้

ปฏิทินไดอารี่ เริ่มมีใช้ในเมืองไทยเมื่อใดยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน แต่ไดอารี่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างสูง คือ ไดอารี่ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่มีชื่อเรียกว่า “ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ”

อ้างอิง
– มณฑา สุขบูรณ์ “ เวลา … พันธนาการแห่งมนุษย์ ” THE EARTH 2000 2,22 ( 2539 ) หน้า 76 –88
– อเนก นาวิกมูล. สิ่งพิมพ์คลาสสิค วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์,กรุงเทพฯ2533

http://www.lib.ru.ac.th/journal/calendar.html

http://www.thaiall.com/calendar/calendar60.htm

ประเทศไทยประกาศวันหยุดราชการเพิ่ม คือ 2 ม.ค.58

calendar มติครม. เพิ่มวันหยุดราชการ 2 ม.ค.2558
calendar มติครม. เพิ่มวันหยุดราชการ 2 ม.ค.2558

พบว่าประเทศไทยจะมีวันหยุดยาว 5 วัน คือ 31 ธ.ค.57 – 4 ม.ค.58

จากเอกสารสรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 1 ตุลาคม 2557
เรื่อง การสร้างภาพลักษณ์และกระตุ้นการท่องเที่ยวของประเทศ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอให้มีวันหยุดราชการช่วงสัปดาห์วันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ เพิ่มเติมอีก คือ วันที่ 2 มกราคม 2558
อ้างอิงจาก http://www.thaigov.go.th/media-centre-government-house/news-summary-cabinet-meeting.html
แล้วแบ่งปันใน
http://www.thaiall.com/calendar/calendar58.htm

ระบบปฏิทินกิจกรรมแบบได้นก 2 ตัว

ปฎิทินที่ใช้งานใน มูเดิ้ล
ปฎิทินที่ใช้งานใน มูเดิ้ล

24 ธ.ค.52 ระบบปฏิทินกิจกรรมที่ใช้ร่วมกันทั้งองค์กรก็เป็นแบบหนึ่ง คือ ทุกคน 1 ระบบ แต่แบบอื่นก็มี เช่น 1 คน 1 ระบบ หรือ 1 หน่วยงาน 1 ระบบ หรือ 1 คนหลายระบบ หรือ 1 หน่วยงานหลายระบบ คนในสำนักไอทีเคยใช้แบบ 1 คนหลายระบบมาแล้ว พบว่าปัญหาคือใช้กันคนละแบบจะดูของใครก็ต้องเปลี่ยนระบบให้ตรงกับคนนั้น อย่างบริการของ gmail.com hotmail.com yahoo.com หรือ yonok.ac.th แล้วก็ล้มไปในที่สุด คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ คุณอรรถชัย เตชะสาย หรือคุณอนุชิต ยอดใจยา ให้ข้อมูลได้ เพราะใช้งานแต่ละทีไม่รู้จะใช้ระบบใด มีกันอยู่หลายระบบ ก็เพราะขาดการรวมศูนย์ เหมือนจับปูใส่กระโด้ง
     ถ้าใครจะนำระบบปฏิทินกิจกรรมมาใช้ ก็ใช้ระบบนี้ได้เพราะมีมาแล้วหลายปี ขาดแต่ผู้ใช้ คือ http://class.yonok.ac.th ที่มีบริการให้อาจารย์สามารถเขียนกิจกรรมของเว็บไซต์ประกาศให้ทุกคน หรือนักศึกษาได้ทราบ หรือจะบันทึกกิจกรรมของตนเอง ไว้ดูคนเดียวก็สามารถทำได้ จากภาพจะเห็น 3 ส่วนคือ 1) เมื่อเข้าสู่ระบบและเข้าปฏิทินของมูเดิ้ลจะสร้างกิจกรรมใหม่ได้ 2) การสร้างกิจกรรมเลือกระหว่าง กิจกรรมของสมาชิก หรือกิจกรรมของเว็บไซต์ 3) ผลคือกิจกรรมของสมาชิก จะไม่แสดงผลเมื่อสมาชิกท่านอื่นเข้าสู่ระบบ แต่กิจกรรมของเว็บไซต์จะเห็นกันทุกคน ระบบนี้ใช้งานทั้งมหาวิทยาลัย เพราะเป็นเงื่อนไขในการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และสนับสนุนการเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย จุดเด่นคือเร็วที่สุด