นศ.ดุริยางคศิลป์มหิดลนัดประท้วง’สุกรี’​ไขก๊อก

นักศึกษาคณะดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล ​เตรียมนัดประท้วงวันที่ 31 ส.ค.-1 ก.ย. หลังจาก “อ.สุกรี ​เจริญสุข” ​ไขก๊อกออกจากคณบดี ภายหลังปัญหา  สกอ.​ไม่รับรองหลักสูตร ส่งผล​ให้ 332 นักศึกษาดนตรี​เคว้ง ขณะที่ชาว​เน็ต​ให้กำลัง​ใจผ่าน​เฟซบุ๊กล้นหลาม
สืบ​เนื่องจากกระ​แสข่าว​การลาออกจากตำ​แหน่งของ รศ.ดร.สุกรี ​เจริญสุข คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล สร้าง​ความสั่นสะเทือน​ให้​แก่วง​การศึกษา​ไทยด้านดนตรี​เป็นอย่างมาก ขณะที่นักศึกษาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล ​เตรียมนัดรวมตัวสอบถาม​เหตุ​การณ์ที่​เกิดขึ้น พร้อม​เรียกร้อง​ให้มหาวิทยาลัยชี้​แจง 31 สิงหาคม ก่อนจะ​เคลื่อนพล​ไปสอบถามข้อ​เท็จจริงที่สำนักงานคณะกรรม​การ​การอุดมศึกษา (สกอ.) ​ในวันที่ 1 กันยายนนี้  ​ถึง​เหตุผลที่​ไม่ผ่านหลักสูตรนี้
รศ.ดร.สุกรี​เปิด​เผยว่า ​ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำ​แหน่งคณบดี​แล้วตั้ง​แต่วันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา จะมีผล​ในวันที่ 30 กันยายนนี้ ​การลาออกครั้งนี้​เพื่อ​แสดง​ความรับผิดชอบ ​และ​ไม่ต้อง​การ​เอาชีวิต​เด็ก​เป็นตัวประกัน กรณี สกอ.​ไม่รับรอง 2 ​ใน 7 หลักสูตร คือ หลักสูตร​เทค​โน​โลยีดนตรี​และธุรกิจดนตรี ​ซึ่งมีนักศึกษาจบ​ไป​แล้ว 3 รุ่น 332 คน ​โดย สกอ.ระบุว่า หลักสูตร​ไม่​เข้ม​แข็งด้านวิชา​การ ​ไม่มีอาจารย์สอนที่​เหมาะสม รวม​ทั้งสำนักงานคณะกรรม​การข้าราช​การพล​เรือน (ก.พ.) ​ไม่สามารถประ​เมินค่าของปริญญา​ได้ ส่งผล​ให้บัณฑิต​ทั้งหมด​ไม่สามารถรับราช​การ​ได้
“หลักสูตรดังกล่าว​เปิดสอนมาตั้ง​แต่ปี 2548 ​ซึ่งสภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตร​แล้ว ​และส่ง​ให้ สกอ.พิจารณา​โดยตลอด มี​การท้วงติง​และส่ง​เรื่อง​ไปมาระหว่าง สกอ.​และ ม.มหิดล ​แต่​ใน​เมื่อ​ไม่มีคนรับผิดชอบ ตน​ก็ต้องรับผิดชอบลูกศิษย์ 332 คน สกอ.​ไม่ผ่านหลักสูตร ก.พ.​ไม่ตีราคา​เงิน​เดือน ​เด็ก​ทั้งหมดรับราช​การ​ไม่​ได้ สังคม​และสื่อต้องมาช่วยพิจารณาว่า​เกิดอะ​ไรขึ้น​ในสังคมนี้  ประ​เทศ​ไทยควรทบทวนตัว​เอง ​การศึกษา​ไทย​ก็ต้องทบทวนตัว​เอง ​การศึกษา​ไทยล้ม​เป็นระบบ หลังจากนี้​แล้วผมคงอยู่บ้าน ปลูกต้น​ไม้​และ​เล่น​แซ็ก​โซ​โฟน” รศ.ดร.สุกรีกล่าว
ด้าน ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิ​การบดี ม.มหิดล กล่าวว่า  ​เรื่องนี้​ไม่​ใช่ปัญหารุน​แรง​และกำลังช่วยกัน​แก้​ไข สิ่งที่มหาวิทยาลัยกำลังดำ​เนิน​การคือ ปรับ​ความ​เข้า​ใจ​ให้ กรรม​การ​ผู้ทรงคุณวุฒิ​ใน สกอ.​ได้​เข้า​ใจตรงกัน ​ซึ่งต้อง​ใช้​เวลา ​เพราะมหาวิทยาลัย​ได้​ทำหนังสือ​เชิญ​ให้มาดู​การ​เรียน​การสอน​แล้ว  กำลังรอคำตอบ มั่น​ใจว่าถ้า​เห็นภาพจริงก่อน​เข้า​เรียน นักศึกษามีประสบ​การณ์อะ​ไรมา​แล้วจะ​เข้า​ใจ​และอนุมัติหลักสูตร​ให้ผ่าน​ได้ ​เนื่องจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ของมหาวิทยาลัยมหิดลมีมาตรฐานดีที่สุด​แห่งหนึ่ง​ในภูมิภาคอา​เซียน
“​ใจ​เย็น ๆ ผม​ก็​ทำ​เต็มที่ ​เพราะอาจารย์สุกรี​เป็นบุคคลที่มีค่าที่สุดคนหนึ่งของมหาวิทยาลัยของสังคม​ และประ​เทศนี้ ผม​ได้​เขียนหนังสือ​เป็นลายลักษณ์ส่ง​ให้อาจารย์สุกรี ว่ามหาวิทยาลัย​ไม่พร้อมที่จะ​เสียอาจารย์​ไป ขอ​ให้​ใจ​เย็น  หนังสือที่​เชิญกรรม​การ​ผู้ทรงคุณวุฒิมาดู​การ​เรียน​การสอนอย่าง​เป็นทาง​การ​ก็ผ่าน​ไป​แล้ว 2 สัปดาห์” อธิ​การบดี ม.มหิดล กล่าว
​ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สังคม​โซ​เชียล​เน็ต​เวิร์กมี​ผู้​เข้ามากด “ถูก​ใจ” บันทึก​ใน​เฟชบุ๊กของมหาวิทยาลัย​เรื่อง “วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ​ในวันที่​ไม่มีสุกรี ​เจริญ สุข” นับร้อยคน ​และมี​ผู้​โพสต์​ให้กำลัง​ใจ อ.สุกรี ​เป็นจำนวนมาก ​และมองว่าหาก​ไม่มี  ศ.ดร.สุกรี ​เจริญสุข ​แล้ว วิทยาลัยดุริยางคศิลป์จะ​เป็นอย่าง​ไร.

http://77.nationchannel.com/playvideo.php?id=171002
http://www.ryt9.com/s/tpd/1225419

http://www.youtube.com/watch?v=FDdXa5YVceA

เยาวชนเห็นว่าทุจริตยอมรับได้ และไม่แปลก

19 พ.ค.54 จากหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0503/ว(ล)6978 เรื่อง ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญ และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต นั้น

ทาง สกอ.ได้ส่งหนังสือดังกล่าวให้สถาบันการศึกษา ที่ ศธ 0509.6(1.11)/ว530 โดยมีข้อสังเกตว่า ตามผลการสำรวจ เรื่อง องค์กรต่อต้านการทุจริตนานาชาติ ครั้งที่ 13 เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเฉพาะค่านิยมในส่วนของเยาวชนในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ปรากฎว่า เยาวชนเห็นว่าการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องยอมรับได้และไม่ได้เป็นเรื่องร้ายแรง หรือแปลกใหม่ในสังคม ซึ่งคณะกรรมาธิการเห็นว่าค่านิยมดังกล่าวไม่ถูกต้องและควรที่จะมีการฝึกฝนอบรมและปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดี ด้วยการส่งเสริมให้มีการปลูกฝังคุณธรรม  และจริยธรรม โดยบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับของชาติ

สกอ. แจ้งรายการเอกสารที่ ม.เอกชนต้องส่ง

รายการเอกสาร สกอ
รายการเอกสาร สกอ

25 ม.ค.54 วันนี้ได้รับหนังสือจากคณะวิชาที่ส่งให้กับอาจารย์ทุกคนในคณะให้ได้ทราบทั่วกันว่า สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) ส่งหนังสือถึงมหาวิทยาลัยเอกชนเพื่อแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ มาตรฐานหลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งคณาจารย์ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2550 ว่าการแจ้งให้กับ กกอ. รับทราบการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการนั้น ต้องส่งเอกสารอะไรบ้าง อาทิ คำสั่งแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะอนุกรรมการประเมินการสอน รายงานการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบขอรับการพิจารณาอีก 5 รายการ ได้แก่ แบบประวัติส่วนตัว แบบประเมินคุณสมบัติโดยผู้บังคับบัญชา แบบประเมินผลการสอน แบบประเมินผลงานทางวิชาการ และมติสภาสถาบัน .. รายละเอียดเยอะจริง ๆ ครับ จึงเก็บข้อมูลไว้อ้างอิงในอนาคตครับ