เรียกชื่อให้ตอบ

การเรียนการสอนแบบ Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านการลงมือทำที่ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น 1) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) 2) รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) 3) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) 4) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) 5) รูปแบบการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีวิจัย (Research-Based Learning)

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีประโยชน์ ดังนี้ 1) พัฒนาการมีส่วนร่วม ความคิด และทักษะ 2) มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อใช้พัฒนาผู้เรียน 3) ให้ความสำคัญกับความแตกต่างของผู้เรียน 4) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด และนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้และปฏิบัติจริง 5) สร้างเครือข่ายระหว่างบุคคล และสื่อการเรียนรู้ 6) พัฒนาทักษะที่สำคัญให้กับผู้เรียน 7) ผู้เรียนมีความมั่นใจในการทำผลงานของตน 8) สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

อ่าน บทความปริทัศน์ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ สู่ Thailand 4.0 : Active Learning โดย กาญจนา บุญภักดิ์ และ สุวรรณา อินทร์น้อย ในวารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 พบ กลวิธีหนึ่ง ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ อาจต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่ทำการสอน คือ “การแสดงความคิดเห็นเป็นรายบุคคล โดยการเรียกชื่อให้ตอบ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียน คิดคำตอบไว้ล่วงหน้าตลอดเวลา เพราะคิดว่าผู้สอนอาจถามตนเองเป็นคนต่อไป”

https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/download/146253/107851/

http://www.thaiall.com/education/indexo.html

ตรวจสอบความผิดพลาดในเว็บเพจใด ๆ หรือทั้งไซต์ก็ได้

ใน #ห้องเรียนแห่งอนาคต
เด็ก ๆ ที่มีแหล่งเผยแพร่ของตนเอง
จะตรวจสอบได้ว่า เครือข่ายที่เชื่อมโยงไว้เสียหายหรือไม่
ใช้บริการฟรี คลิ๊กไม่กี่ทีก็ตรวจสอบได้แล้ว
เมื่อแก้ไขสำเร็จเสร็จสิ้นลง
ก็จะมีความสุขที่ลิงค์ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่
และแชร์เรื่องราวในแบบที่ตนเองสนใจต่อไป

http://www.thaiall.com/web2/

ที่ deadlink . com มีบริการตรวจสอบ dead link ของทั้งเว็บไซต์ (whole website) หรือเฉพาะเว็บเพจหน้าหนึ่ง (​single webpage) ถ้าลิงค์ใดที่ร้องขอไปแล้ว ตอบกลับด้วยรหัส 404 แสดงว่าไม่พบเว็บเพจที่ร้องขอ จากนั้นจะเป็นหน้าที่ของผู้พัฒนาเว็บเพจ ที่ต้องเปลี่ยน หรือลบลิงค์นั้นออกจากเว็บเพจ

เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2565 มีโอกาสนำโฮมเพจ KM มาปัดฝุ่นในส่วนของ dead link โดยเข้าไปใช้บริการตรวจลิงค์เสียหาย แล้วพบจำนวนลิงค์ที่ไม่เสีย 250 รายการ แต่อีก 13 เสียหาย จึงเข้าตรวจสอบและซ่อมแซมทีละลิงค์ ซึ่งความเสียหายที่พบมี 5 ประเภท คือ File Not found , Server Not found , Fobidden , Internal Server Error และ Timeout เมื่อตรวจในรายละเอียด พบว่า ผู้ให้บริการเปลี่ยนเป็น https หรือ บางลิงค์ต้องเข้าซ้ำจึงจะเข้าได้ อาจเป็นเพราะเครื่องบริการตอบสนองช้าเกินกำหนด จึงไม่ทันใจก็เป็นได้

ตรวจดูเครื่องบริการอีกครั้ง ว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่

ใน access.log พบพฤติกรรมลองของมหาศาล
ใน access.log พบพฤติกรรมลองของมหาศาล

กิจกรรม monitor ว่าอุปกรณ์ทำงานควบถ้วนดีหรือไม่
เป็นกิจกรรม check ตามวงจรเดมมิ่ง เพราะ plan กับ do ทำแล้ว
แต่การตรวจสอบต้องทำทุกวัน เพราะเป็นงานบริการ
หากพบปัญหาก็ต้องเกิด action
ถ้าจะให้ดี do ก็ต้องมี innovation ควบคู่ไปด้วย
เพื่อพัฒนาให้ระบบมีความปลอดภัย หรือรองรับความเสี่ยง

15 ต.ค.57 วันนี้ .. เพื่อนร่วมงาน แจ้งว่า มีการเข้าระบบมากผิดปกติ
เมื่อตรวจ log จาก firewall
ลองตรวจดูก็เห็นว่ามีการเข้ามามากมายมหาศาลจริง
แต่ทั้งหมดจะถูกปฏิเสธไปแล้ว ไม่ว่าจะเข้ามาผ่านบริการใด
ส่วนที่อนุญาตให้ส่งอีเมล ก็ไม่มีหลุดไปถึงคนแปลกหน้าสักราย
ส่วน LDAP ก็ถือว่าเข้ามาตรวจกันปกติ เพราะระบบมีไว้ให้ตรวจ

Last login: Fri Sep 05 2014 16:29:22 +0700
# last ดูว่านอกจากเรามีใครเข้าไปรึเปล่า
root     pts/1        node-nuo.pool-11 Wed Oct 15 22:23   still logged in
wtmp begins Wed Oct 15 22:23:42 2014
# cd /var/log
# ls -ot
# tail –line 200 maillog ดู 200 บรรทัดล่าสุด
# cat maillog | grep delivery ดูว่าระบบส่งไปได้ ไปถึงใครบ้าง
# cat maillog | grep 107.150 ดูว่า ip นี้ทำอะไรไปบ้าง
# cat maillog | grep authentication ดูว่าเบอร์ไหนแอบเข้ามาลองระบบบ้าง
# cat messages | grep DNS พบเข้ามาลองเครื่องผ่าน sshd มหาศาล
# cd /var/log/httpd
# cat access_log | grep 103.22 พบว่ามีเครื่องมากมายเข้ามาลองของกับ /myadmin เยอะมาก
# netstat -na | grep EST ดูว่ามีใครกำลังเชื่อมต่ออยู่
# cat /etc/hosts.deny ดูว่าเคยกำหนด ip อะไรที่ถูก block ไปบ้าง โดยใช้ portmap

เก็บตกเรื่อง ping

เก็บตกเรื่อง ping

ping limited
ping limited

1. คำสั่ง ping ใช้ตรวจการตอบสนองของเครื่องบริการ
ค่า buffer หรือ package size
กำหนด  default ไว้  32 bytes
เวลาตอบกลับก็จะทำให้ทราบว่า เครื่องบริการตอบได้เร็วหรือไม่
2. ถ้าเปลี่ยน buffer เป็น 900 bytes
ก็จะเห็นว่าเครื่องบริการ ใช้เวลาคิดนานขึ้น
ping www.chula.ac.th -l 900 -t
แล้วกด ctrl-c จะเห็นความต่างในส่วนค่าเฉลี่ยครับ
3. OS มักกำหนด limit การถูก ping
โดยทั่วไปจำกัด 65500 แต่กำหนด limit ได้
เครื่อง winserver ตัวหนึ่งจำกัดไม่เกิน 1472
แต่ sanook.com จำกัดไม่เกิน 1464
แต่ kapook.com จำกัดไม่เกิน 14792
4. เหตุผลที่จำกัด
เพราะกำหนดเพดานรับการตอบสนองผ่านคำสั่งนี้
ซึ่ง แฮก เกอร์ มักใช้ในการตรวจสอบ เครื่องเป้าหมาย
บางเครื่องก็ปฏิเสธไปเลยครับ เช่น manager.co.th

http://technet.microsoft.com/en-us/library/cc737478%28v=ws.10%29.aspx

แก้ปัญหาไม่แสดงชื่อนักศึกษาใน moodle

23 ส.ค.53 รับแจ้งจากหัวหน้าว่า รายชื่อนักศึกษาในระบบ e-learning ที่ใช้สคริปต์ของ Moodle หายไปหมด และงานนักศึกษาก็ยังตรวจไม่เรียบร้อย ผมจึงตั้งสมมติฐานว่าตารางหนึ่งในระบบฐานข้อมูลเสียอีกแล้ว เคยเกิดขึ้น และใช้โปรแกรม EMS  SQL Manager for MySQL เข้าไป Repair แต่ครั้งนี้ผมจะเปลี่ยนวิธี เพราะระบบฐานข้อมูล MySQL มีโปรแกรมที่สามารถซ่อมผ่าน Command Line จึงไม่ใช้โปรแกรมเสริมจากภายนอกอย่าง EMS

เข้า MySQL ผ่าน Command Line แล้ว use moodle; (แต่ไม่มีคำสั่งตรวจสอบตารางทั้งหมดอัตโนมัติ ถ้าจะเขียน php หรือ Shell script ก็จะยุ่งยากมากไป) จึงใช้ show tables; แล้วคัดลอกรายชื่อตารางไปไว้ใน notepad แล้วแทนที่สัญลักษณ์ | ด้วยสัญลักษณ์ , เนื่องจากคำสั่ง check table สามารถตรวจตารางพร้อมกันได้หลายตารางโดยใช้เครื่องหมาย , ขั้นระหว่างชื่อตาราง ผมจึงคัดลอกข้อมูลจาก notepad มาวางต่อคำสั่ง check table ก็พบตารางที่ error แบบ  corrupt มีจำนวน 2 ตาราง คือ  mdl_log และ mdl_user_students เมื่อสั่ง repair table mdl_user_students; ก็พบว่า moodle กลับมาแสดงรายชื่อนักศึกษาได้ตามปกติ
+ http://www.thaiall.com/mysql

การตรวจเครื่องบริการของเราผ่านเว็บไซต์ที่รับตรวจสอบ

29 ก.ค.53 เนื่องจาก host จำนวน 2 ตัว ไม่สามารถเข้าถึงจากภายนอกองค์กร จึงต้องมีการตรวจสอบแบบออนไลน์ หาสาเหตุว่าทำไมภายนอกไม่รู้จัก host เหมือนกับที่ภายในองค์กรรู้จัก ความเป็นไปได้คือ มีข้อกำหนดของเครื่องบริการที่บางข้อที่เป็นเหตุให้ไม่สามารถเข้าถึงจากภายนอกได้อย่างสมบูรณ์ จึงต้องใช้เครื่องมือจากหลายแหล่งช่วยตรวจ และแก้ไขไปตามอาการ

เครื่องมือตรวจบริการ website dns และ host แบบออนไลน์
1. speedtest.net ตรวจความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
2. ninjacloak.com บริการเข้าถึงเว็บไซต์ผ่าน proxy website
3. zend2.com บริการเข้าถึงเว็บไซต์ผ่าน proxy website
4. internet.nectec.or.th/netservices/ ตรวจการเปิด port
5. network-tools.com ตรวจผลของ nslookup และ blacklist
6. dnsstuff.com ตรวจ traceroute และตรวจการ block ping
7. my-addr.com ตรวจการเปิด port ของ host
8. robtex.com ตรวจวิเคราะห์ dns ตาม host
9. intodns.com ตรวจค่า config ของ dns