ในวันวุ่นและพลาดประชุมของผมอีกวัน

28 เม.ย.53 วันนี้มีเหตุให้ผมทำงานไม่สำเร็จงานหนึ่ง คือ การจัดประชุมการจัดการความรู้ที่ อ.อติชาต หาญชาญชัย เป็นประธานการประชุมของคณะ ซึ่งมีแผนประชุมเวลา 13.00น. แต่บุคลากรในคณะทั้ง 8 คน ผมมาทราบช่วงก่อนประชุมว่าเพื่อนติดภารกิจ 5 คน จะประชุมก็ไม่สมเหตุสมผลทำให้ต้องเลื่อนการประชุมออกไป ในใจก็ดีใจ (หาย) เพราะอันที่จริงเวลานี้ผมก็มีสอนภาคเรียนฤดูร้อน จึงปลีกตัวไปสอนหนังสือได้ครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งก็ติดเป็นกรรมการสอบแทนหัวหน้าที่ต้องไปประชุมผู้บริหาร ซึ่งพอสรุปกิจกรรมของวันนี้ไว้เป็นบทเรียนให้มีการวางแผนให้ดีก่อนใช้ชีวิตในแต่ละวัน
     เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้า 1) จัดทำบันทึกให้ท่านอธิการลงนามในใบประกาศนียบัตรคัดเลือกผู้พัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ก็มีคุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ ช่วยทำใบประกาศสำหรับผู้ถูกคัดเลือก 4 ท่าน และดำเนินการจนสำเร็จ 2) สรุปเอกสารเตรียมจัดอบรมอีเลินนิ่ง โดยมีเอกสารของ อ.ทนงศักดิ์ เมืองฝั้น เข้ามารวมเป็นเอกสารครบชุด แล้วมอบให้ คุณศิริพร ยาสมุทร ช่วยเตรียมทั้งเอกสาร และอาหารสำหรับอบรมวันรุ่งขึ้น 3) ไปตรวจเอกสารมาตรฐานที่ 3 บริการวิชาการ ในคณะบริหารธุรกิจ และคณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ร่วมกับคุณลักขณา 4) ประชุมติดตามการดำเนินการมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ร่วมกับ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ในกลุ่มงานวิชาการที่ผมดูแลงานด้านไอทีว่าทิศทางควรเป็นอย่างไร 5) ไปซ่อมและให้คำปรึกษาปัญหาเครื่องพิมพ์ของผู้บริหารท่านหนึ่งหลังสระว่ายน้ำช่วงเที่ยงวัน 6) ก่อนบ่ายโมงจัดทำเอกสารงบประมาณของงานเทคโนโลยีเสนอฝ่ายงบประมาณ 7) บ่ายโมงทราบว่าประชุม KM ต้องเลื่อน จึงไปสอนหนังสือตามปกติ โดยไม่ใช้เทคนิคมอบงานให้เรียนรู้ด้วยตนเองตามแผนที่กำหนดไว้ 8 ) บ่ายสามโมงร่วมเป็นกรรมการสอบกับ อ.เกศริน อินเพลา แทนหัวหน้า ในการสอบหัวข้อของนักศึกษา ที่ชื่อ นฤมล 9) ตั้งแต่ทุ่มจัดทำซีดี 30 แผ่นเตรียมให้อาจารย์ที่ร่วมอบรม e-learning วันรุ่งขึ้น 10) ระหว่างรอเขียน CD 30 แผ่นก็มานั่งเขียน blog นี่หละครับ
     สิ่งที่เตรียมในซีดี คือ 1) โปรแกรม thaiabc สำหรับจำลอง webserver ที่บริการ moodle แบบ noinstall 2) เอกสารสอน moodle ทั้งในฐานะนักเรียน และครู 3) เอกสารสอน e-learning โดย รศ.ดร.มนต์ชัย เทียนทอง 4) เอกสารกรอบ TQF และตัวอย่าง มคอ.3  5) โปรแกรมมัลติมีเดียสำหรับจัดทำ Learning Object อาจใช้ exe หรือ reload หรือ flip หรือ fpf ก็เชื่อได้ว่าอาจารย์ทุกท่านที่ได้ซีดีจะนำประสบการณ์ไปพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่งอย่างสร้างสรรค์
+ http://www.thaiabc.com
+ http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm

เว็บไซต์ creative university

Bangkok University : Creative university

14 มี.ค.53 พบเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ คือ www.bu.ac.th ใช้คำว่า creative university ออกแบบได้สวย เป็นระเบียบ (พบคำว่า creative ที่มี idea สอดคล้องกับที่ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์  บรรยายที่มหาวิทยาลัย) เมื่อเข้าไปแต่ละคณะก็พบว่ามี creative ในแบบของตน คือ ไม่ได้เหมือนกันไปซะหมด แต่ละคณะก็มีรูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่แตกต่างกันไป เหมือนเป็นทีมพัฒนากันคนละทีมกับหน้าแรก โทนสีของเว็บไซต์น่าจะเป็นม่วงส้ม เพราะเว็บเพจที่พัฒนาโดยหน่วยงานกลางจะใช้เมนูด้านซ้ายเป็นสีม่วง ส่วนตัวหนังสือก็พยายามใช้ม่วงกับส้มสลับกัน เช่น ถาม-ตอบ หรือ ควันหลงรับปริญญา การนำเสนอเรื่องการแต่งตัวของนักศึกษาดูเป็นมืออาชีพ และเรียบร้อยสมเป็นนักศึกษาสมัยใหม่ในสถาบันการศึกษา และมีการเชื่อม facebook กับ twitter เกาะกระแส Social Network ด้วยครับ แต่ไม่พบการใช้บริการสถิติกับ truehits.net
+ http://www.facebook.com/bangkokuniversity
+ http://twitter.com/BUCreative
+ http://www.youtube.com/bucreative

ภาพบูทด้านข้างและด้านหลังของ booth creative

บูทของโยนกในงานฤดูหนาวและกาชาด ปี 2553
บูทของโยนกในงานฤดูหนาวและกาชาด ปี 2553

1 ม.ค.52 มีโอกาสเป็นตัวแทนนักศึกษาของคณะวิทย์ฯ ไปช่วยงานกาชาด รับผิดชอบส่วนบ่อมัจฉา ช่วยอำนวยความสะดวกผู้ร่วมกิจกรรมตกมัจฉา ฉีกบัตร และชี้แจง ก่อนที่ผมจะเข้าช่วยกาชาด 17.00น-24.00น. ได้เก็บภาพด้านข้าง และด้านหลังของ booth yonok 2553 ในงานฤดูหนาวและงานกาชาด เพราะปีหน้าถ้าทำอีกจะได้มีต้นแบบ แนวคิดของบูทเป็น Creative สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ที่จะเป็น Creative Economy และพบคำนี้ในคำขวัญวันเด็ก 2553 คือ “คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม”