เค้าว่าคนไทยอ่อนเรื่องเทคโนโลยี แล้วเกมช่วยได้รึเปล่า

มีคำถามในใจ สำหรับกลุ่มเกมเมอร์
ว่าพวกเค้าใช้เทคโนโลยีกันไประดับไหนกันแล้ว
เพราะการมีเกมเข้ามา ทำให้ได้ใช้เทคโนโลยีกันข้ามวันข้ามคืนได้
น่าจะถามความเห็นของเกมเมอร์ซะหน่อยนะ
ว่าเกมแนว MOBA ช่วยพัฒนาทักษะด้านนี้รึเปล่า

ผมส่งคำถามไปในกลุ่มเฟส 2 กลุ่ม
1. RoV : Garena Thailand
2. RoV Thailand ( พูดคุย / หาทีม / ลงแข่ง ) by GAMER – Private

ทำให้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี
ทำให้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี

ใช้คำถาม ดังนี้

เค้าว่าเกมนี่ดีนะ
ช่วยให้ได้ใช้เทคโนโลยีกัน
ได้ใช้ไวไฟ ไฟเบอร์ สามจี สี่จี อีกสารพัด
ใกล้ชิดอุปกรณ์มากกว่าสมัยก่อน
เพราะเกมเดี่ยวนี้ พัฒนาไปมากมายนัก
ส่งผลต่อผู้เล่น “ทำให้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี”
ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด
นี่ถ้าไม่มีเกม ก็คงใช้ไม่คุ้มล่ะ จริงป๊ะ
ว่าแต่เพื่อน ๆ พัฒนากันไปถึงระดับไหนกันบ้างล่ะ
ปล. ภาพประกอบจาก @Lastshotdominate

RoV : Garena Thailand ทำให้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี ณ 4 มกราคม 2561
RoV : Garena Thailand
ทำให้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี
ณ 4 มกราคม 2561
RoV Thailand ( พูดคุย / หาทีม / ลงแข่ง ) by GAMER – Private ทำให้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี ณ 4 มกราคม 2561
RoV Thailand ( พูดคุย / หาทีม / ลงแข่ง ) by GAMER – Private
ทำให้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี
ณ 4 มกราคม 2561

 

ทำไมต้องคิดต่างจากคลิ๊ป ผมคล้อยตามคลิ๊ปเรื่องปฏิรูประบบการศึกษาเลย

เห็นคลิ๊ปเรื่อง I just sued the school system.
ผมล่ะคล้อยตามเลย ว่าโรงเรียนสอนให้เด็ก ๆ เหมือนกันทั้งประเทศ
ระบบการศึกษาของโรงเรียนสอนให้เด็ก ๆ เหมือนกันหมดทั้งประเทศ

ปฏิรูประบบการศึกษา เห็นเหมือนกัน แต่เห็นไม่เหมือนกัน
ปฏิรูประบบการศึกษา เห็นเหมือนกัน แต่เห็นไม่เหมือนกัน

http://thainame.net/edu/?p=1114

เอ๊ะ มีข้อสงสัยนิดนึง
พอข้อมูลน่าสนใจเรื่อง “ดัชนีการศึกษา รายจังหวัดของไทย
ที่นำเสนอในบทความของ ดร.ไกรยส ภัทราวาท เมื่อ 6 มิถุนยน 2557
พบว่า เด็กทั้งประเทศแยกตามจังหวัดแล้วไม่เหมือนกัน มีทั้งเก่งและอ่อน
มีทั้งปีนต้นไม้เก่งเป็นลิง และว่ายน้ำเป็นอย่างเดียว
– เขียวเข้มมี 15 จังหวัด
– เขียวอ่อนมี 14 จังหวัด
– เหลืองมี 14 จังหวัด
– ส้มมี 16 จังหวัด
– แดงมี 17 จังหวัด
http://apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-06062557-043420-2Mw1R1.pdf

ดัชนีการศึกษา รายจังหวัดของไทย พบว่าไม่เหมือนกัน
ดัชนีการศึกษา รายจังหวัดของไทย พบว่าไม่เหมือนกัน

ระบบการศึกษาสมัยนี้เหมือนกัน แต่ก็เหมือนไม่หมดนะ .. ที่ต่างก็มี
เพราะเห็นเค้าปรับระบบโรงเรียนให้สอนต่างกันตามความสามารถ
ปรับการคัดเลือกจาก admission เป็น entrance
เดี๋ยวนี้
ปีนต้นไม้เก่ง ก็เป็นโรงเรียนสอนปีนต้นไม้
ว่ายน้ำเป็นอย่างเดียว ก็เป็นโรงเรียนสอนว่ายน้ำ

เดี๋ยวนี้ถึงมี
– โรงเรียนพระ สำหรับผู้ทรงศีล
– โรงเรียนดนตรี สำหรับผู้ชอบร้องรำทำเพลง
– โรงเรียนกีฬา สำหรับผู้มีหัวใจเป็นนักกีฬา
– โรงเรียนชาวเขา สำหรับชาวเขา
– โรงเรียนประจำจังหวัด สำหรับคนที่จะไปปีนต้นไม้
– โรงเรียนเล็ก สำหรับน้อง ๆ ที่จบไปจะค้าขาย
– โรงเรียนกวดวิชา สำหรับเด็กที่อยากบินไปในนภา
– โรงเรียนนานาชาติ สำหรับเด็กที่อยากพูดหลายภาษา

http://www.thaiall.com/student/
https://www.facebook.com/PrinceEa/videos/vb.71760664768/10154982214184769/

สมการหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเกิดขึ้น

framework
framework

การจัดการองค์กรในปัจจุบันจำเป็นต้องประยุกต์ใช้สารสนเทศ แต่สารสนเทศที่ดีจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ แล้วมีการใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุน กำกับการทำงานให้มีประสิทธิภาพตอบเป้าหมายขององค์กร ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับการจัดการ ระดับบริหาร และระดับนโยบาย

ดังนั้นกรอบแนวคิดของการได้สารสนเทศมาเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทุกระดับ คือ การมีเว็บไซต์ที่ทุกฝ่ายเข้าถึงได้ (Website) การใช้กระบวนการจัดการกำกับให้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล (POSDC) การพัฒนาระบบเป็นวงจร (ADDIE) การจัดการความรู้ที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (KM) และประเด็นสารสนเทศที่พัฒนาได้แก่ ระบบฐานข้อมูลเนื้อหาของหน่วยงานที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ (Content Management) ระบบรายงานผลการเรียนให้นิสิตได้ทราบระดับความสามารถของตนเองเพื่อการพัฒนาต่อไป (Online Grade Report) ระบบประเมินการเรียนการสอน และสิ่งสนับสนุนให้อาจารย์และผู้เกี่ยวข้องได้ข้อมูลย้อนกลับจากนิสิตมาปรับปรุงงานของตน (Teaching Evaluation)

โดยสารสนเทศที่ได้มาจากระบบจะกลับเข้าสู่ระบบบริหารจัดการองค์กร เข้าสู่ระบบในระดับนโยบายเพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ แผนงาน/โครงการ ตามเป้าหมายของสถาบัน และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพ เกิดการบูรณาการ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องต่อไป

นิยามศัพท์

W (Website) คือ แหล่งสารสนเทศให้บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจเข้าถึงได้

POSDC คือ กระบวนการจัดการ ของ แฮร์โรลด์ คูนตซ์

ADDIE คือ โมเดลการพัฒนาระบบ

KM คือ การจัดการความรู้ เสนอโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

C (Content Management) คือ ระบบจัดการเนื้อหาที่ดูแลโดยหน่วยงานต่าง ๆ

G (Online Grade Report) คือ ระบบรายงานผลการเรียนสำหรับนักศึกษา

E (Teaching Evaluation) คือ ระบบประเมินการเรียนการสอนของอาจารย์ และสิ่งสนับสนุน

I (Information) คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และผู้บริหาร

การตรวจเยี่ยม (peer visit)

สิ่งหนึ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นคือความสามารถในการบันทึก
หลายครั้งที่ทำกิจกรรมก็มักจะมีการเขียนบันทึก
เพื่อนำบทเรียนในอดีต มาเรียนรู้ในปัจจุบัน เพื่ออนาคตที่ดีกว่า
กิจกรรมหนึ่งคือการเยี่ยม ซึ่งมีหลายรูปแบบเช่น ครูเยี่ยมบ้านผู้ปกครอง
เพื่อนเยี่ยมเพื่อน และให้ข้อเสนอแนะอย่างเป็นกัลยาณมิตร
แล้วข้างล่างนี้คือแบบฟอร์มที่ใช้ตรวจเยี่ยมเพื่อการพัฒนา

แบบฟอร์มเยี่ยมเพื่อน
แบบฟอร์มเยี่ยมเพื่อน

แบบฟอร์มบันทึกการตรวจเยี่ยม

รายองค์ประกอบ ตามเกณฑ์ สกอ.
องค์ประกอบที่ ….
1. จุดเด่น คือ ….
ข้อเสนอแนะทิศทางการพัฒนา คือ ….
2. จุดควรพัฒนา คือ ….
ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดจุดควรพัฒนา คือ …
สาเหตุมาจาก……
โดยมีข้อมูลสนับสนุน คือ ……
ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไข คือ ….
3. วิธีปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม  คือ  ……

รายตัวบ่งชี้ ตามเกณฑ์ สกอ.
องค์ประกอบที่ ……….  …………………………….
ชื่อตัวบ่งชี้ … :  …
บทบาท    เป้าหมาย    ผลการดำเนินงาน    การบรรลุเป้าหมาย    ระดับคะแนน    ระดับคุณภาพ
คณะวิชา
ผู้ประเมิน
1. ข้อค้นพบศูนย์ฯ/คณะฯ ดำเนินการได้ 0 ข้อ คือ ….
2. จุดเด่น คือ ……
ข้อเสนอแนะทิศทางการพัฒนา คือ ….
3. จุดควรพัฒนา คือ …
ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดจุดควรพัฒนา คือ …
สาเหตุมาจาก  …
โดยมีข้อมูลสนับสนุน คือ  …
ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไข คือ …
4. วิธีการปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม คือ …

http://www.thaiall.com/blog/burin/5437/
http://www.scribd.com/doc/143112144/

ลดการบ้าน ศธ. ให้โอกาสเด็กไทยได้ใช้อย่างที่ฝันไว้

selection : homework, game, facebook, read book
selection : homework, game, facebook, read book

30 ม.ค.56 คุณตุ้ยให้ดู คลิ๊ปหัตถ์พระเจ้า
ซึ่งเป็นแชมป์โลกยิงหนังสติ๊ก ระหว่างรอประชุมครั้งหนึ่ง
แล้วทำให้นึกถึงโอกาสที่คุณบุญมาได้รับจากพระเจ้า
ว่าเขาจะพิจารณาใช้โอกาสของเขาอย่างไรต่อไป
.. ผมว่าเขาเลือกได้นะครับ

แล้วนึกถึงเรื่องการเลือกใช้โอกาสของเด็กตจว. กับเด็กกทม.
เมื่อศธ.ประกาศลดการบ้านให้ทุกคน
เพื่อให้มีเวลา มีโอกาสได้คิดใหม่ทำใหม่ แล้วก้าวกระโดดต่อไป

นักวิชาการในคลิ๊ป
1. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
2. นพ.ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์

ผมว่ามีคำอธิบายที่ดีในคลิ๊ปด้านล่างนี้

ไปถามนักศึกษาเรื่องภาพประกอบมาแล้ว
พวกเขารู้จัก HON ด้วยครับ (สงสัยมีเน็ตใช้)
จากภาพ พบว่า คุณครูสมัยนี้ นัดนักเรียนตี HON
แถมมีแผน Q นักเรียนทุกคน
พอรู้ความหมายชัดเจน
.. ผมก็ต้องตกอก ตกใจ เป็นธรรมดา

สัมมนา Development Curriculum & TQF สู่สากล

Development Curriculum & TQF สู่สากล
Development Curriculum & TQF สู่สากล

18 ธ.ค.55 เพื่อนหลายคนไปสัมมนา เรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติกับการพัฒนาคุณภาพหลักสูตรสู่มาตรฐานสากล   แล้วนำมาเล่าให้ฟัง มีประเด็นน่าสนใจ และมีแฟ้มที่เกี่ยวข้องทั้ง pdf และ ppt เมื่อสืบค้นจากเว็บไซต์พบว่า สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 ณ ห้องอิมพีเรียล แกรนด์ ฮอลล์ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่
โดยเข้าไปที่ http://www.eqd.cmu.ac.th/
แล้วคลิ๊กคำว่า เอกสารประกอบการสัมมนา พบแฟ้ม .rar ในนั้นมีแฟ้ม 4 แฟ้ม
1. presentation ของ ผศ. ดร. ม.ร.ว. กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เล่าถึงแนวปฏิบัติที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการ
2. lo (Learning Outcome) ของจุฬาฯ มี 9 ข้อ แต่มหาวิทยาลัยทั่วไปมี 5 ข้อ หากใช้ที่เคยกำหนดออกมา
3. เอกสารหัวข้อ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ กับการพัฒนาคุณภาพหลักสูตรสู่มาตรฐานสากล: โอกาสของมหาวิทยาลัยไทย ของ คุณนิภาพรรณ  แก่นคง ผู้ประสานงานโครงการ TQF: HEd. ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลออสเตรเลีย
4. เอกสารหัวข้อ พัฒนาบัณฑิตยุคใหม่ บนเส้นทาง Global Citizenship ของ ดร.จิรวัฒน์ จีรังกร
5. เอกสารหัวข้อ มาตรฐานการอุดมศึกษาและเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ของ นางมยุรี  สิงห์ไข่มุกข์ สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

+ http://www.eqd.cmu.ac.th/NewsDetail.asp?strID=802

+ http://www.4shared.com/rar/A6mHrcQ0/cmu_tqf551218.html

อุดมศึกษากับการพัฒนาประเทศไทย ที่เชียงใหม่

นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย (70 ปี)
นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย (70 ปี)

23 มี.ค.55 ไปร่วมงานประชุมสัมมนา “อุดมศึกษากับการพัฒนาประเทศไทย
ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ เชียงใหม่ แกรนด์วิว โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย กล่าวเปิดงาน และบรรยายหัวข้อ บทบาทสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาชาติ
แล้วท่านฝากให้ระวังปีศาจ 2 ตัวคือ 1. วัตถุนิยม 2. บริโภคนิยม
แล้ว ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บรรยายพิเศษเรื่อง เป้าหมายของการศึกษาคือการสร้างอุปนิสัย
แล้ว อาจารย์จุฑารัตน์ บวรสิน โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ บรรยายพิเศษเรื่อง เทคนิคการสอนสอดแทรกเพื่อพัฒนาบัณฑิตที่พึงประสงค์

ช่วงบ่ายก็แยกกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก : เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
ดำเนินรายการโดย อาจารย์ นายแพทย์ ศิวัฒม์ ภู่ริยะพันธ์
กลุ่มสอง : กลยุทธ์การจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมความสำคัญของทุกหลักสูตร
ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ รณภพ เอื้อพันธเศรษฐ

กลุ่มที่สองมีอาจารย์นำเสนอ 3 ท่านคือ
1. อ.อุบล พิรุณสาร ภาควิชากายภาพบำกัด คณะเทคนิคการแพทย์ ม.เชียงใหม่
เล่าถึงโครงการ ส่งเสริมเมล็ดพันธุ์แห่งความดี และการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของนักศึกษากายภาพบำบัดเชียงใหม่
2. ผศ.อัศวินีย์ หวานจริง คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่
เล่าถึงกระบวนวิชา การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
3. ดร.วิติยา ปิดตังนาโพธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร
เล่าเรื่อง กลยุทธ์การจัดกระบวนการเรียนรู้ ผ่าน 5 รูปแบบกิจกรรม 5 กรณีศึกษา
1) play 2) Post it together 3) Role Plays 4) Community classroom 5) Fieldwork study

แล้วกลับมารวมกันที่ห้องรวม ฟังผลงานวิจัย 4 เรื่อง

1. ผศ.ดร.วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานเรื่อง บทบาทของการศึกษาทั่วไปในการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ผศ.กิตติภูมิ มีประดิษฐ์ ม.ศรีปทุม
ผลงานเรื่อง การบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงผ่านรายวิชาศึกษาทั่วไป
กรณีศึกษารายวิชา “เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”
3. อ.อาพัทธ์ เตียวตระกูล ม.นเรศวร
ผลของการใช้การจัดการเรียนการสอนแนวจิตตปัญญาศึกษา ในรายวิชา 001161 บาสเกตบอล ที่มีผลสัมฤทธิ์ในเชิงจิตตปัญญา
4. ผศ.ดร.อัญชลี วงศ์หล้า อ.เมทินี ทนงกิจ ม.นอร์ท-เชียงใหม่
ผลงานเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนวิชาการศึกษาในระดับอุดมศึกษา กับ อัตราการออกกลางคันของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
http://www.eqd.cmu.ac.th/HETDSeminar/default.asp
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150678325012272.411159.350024507271

อินเทอร์เน็ตสอง (itinlife331)

internet2
อินเทอร์เน็ต 2

25 ก.พ.55 มีโอกาสเห็นข้อสอบเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ว่า อินเทอร์เน็ต (Internet) กับ อินเทอร์เน็ตสอง (Internet2) ต่างกันอย่างไร ซึ่งมีคำถามตามมาว่าจะมีนักเรียนระดับมัธยมกี่คนที่สนใจ หรือทราบว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้นในโลกของเรา แต่ถ้าไม่สนใจก็คงไม่ได้ เพราะปรากฎในข้อสอบวัดความรู้แล้ว ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตสองนั้นเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกาจำนวน 35 แห่ง เปิดตัวโครงการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตใหม่ในเดือนตุลาคม 2539 มีการรวมตัว จัดประชุม กำหนดมาตรฐาน และตั้งชื่อจนเป็นที่ยอมรับว่า Internet2 ปัจจุบันมีข้อมูลเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.internet2.edu และมีสมาชิกจากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกลุ่มเพิ่มเป็นมากกว่า 200 แห่งแล้ว

วัตถุประสงค์ของอินเทอร์เน็ตสอง คือ การวางโครงสร้างเครือข่ายประสิทธิภาพสูงทดแทนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบเดิมที่มีข้อจำกัดหลายด้าน มุ่งให้บริการ สนับสนุนด้านการศึกษา วิจัย และทดสอบเทคโนโลยีใหม่ เพื่อนำมาใช้งานจริงในอนาคต ปัจจุบันเครือข่ายหลักของอินเทอร์เน็ตสองที่เชื่อมต่อมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าด้วยกันใช้ความเร็วสูง 2.5 จิกะบิตต่อวินาที หากเปรียบเทียบกับเครือข่ายหลัก (Backbone) ของสหรัฐอเมริกาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน พบว่ามีความเร็วประมาณ 45 เมกะบิทต่อวินาที แต่โครงการนี้ยังไม่มีแผนเปิดให้ผู้ใช้ตามบ้านได้ใช้งานในอนาคตอันใกล้

ข่าวเดือนกรกฎาคม 2554 พบว่า Berkeley Lab’s Energy Sciences Network (ESnet) และ Internet2 มีข้อตกลงร่วมกันพัฒนาโปรโตคอลเครือข่าย ANI (Advanced Networking Initiative) ให้มีความเร็วถึง 100 จิกะบิทต่อวินาที เมื่อนึกถึงความเร็วของอินเทอร์เน็ตตามบ้านในไทย เรามี High speed internet หรือ ADSL ที่เร็วสูงสุดถึง 100 เมกะบิทต่อวินาที ส่วนบริการ 3G ก็มักมีในเขตเมืองหลวงที่บริการด้วยความเร็วสูงสุด 4 เมกะบิทต่อวินาที ส่วนเครื่องโทรศัพท์ก็ต้องหารุ่นใหม่ที่รองรับเครือข่าย UMTS หรือ W-CDMA มีเทคโนโลยีรับส่งข้อมูล HSDPA หรือ HSUPA ถ้าสังเกตจะพบว่าความเร็วในจินตนาการของอินเทอร์เน็ตสอง กับความเร็วที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ห่างกันเหลือเกิน เราในฐานะผู้ใช้ตามบ้านคงต้องเฝ้ารอดูการพัฒนากันต่อไป ถ้าผู้ผลิตพร้อมเมื่อใดเราก็คงจะได้ใช้เมื่อนั้น

https://lists.internet2.edu/sympa/arc/i2-news/2011-07/msg00003.html

http://www.arip.co.th/news.php?id=406864

นักฟิสิกส์อาจจะเป็นคนกลุ่มแรกที่ใช้ความสามารถของเครือข่ายนี้ เมื่อมีการเปิดใช้งาน Large Hadron Collider แห่งองค์กรวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรปที่มีแผนเปิดเดือนพฤษภาคมปีหน้า ซึ่งจะทำให้มีนักฟิสิกส์นับพันๆ คนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ออกมาจาก LHC

http://kitty.in.th/index.php/articles/internet2-the-next-generation-internet/

มอง slide ในอดีต

website 2549
website 2549

22 พ.ค.54 เมื่อ 5 ปีก่อน มีใช้ slide นี้ อบรมเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สำนักงานสาธารณสุขประจำจังหวัด หลังผ่านไปหลายปี แนวโน้มการเผยแพร่ข้อมูลจากองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนของโลก ก็ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร เพราะการเปิดเผยข้อมูล กับความปิดเป็นความลับ ยังอยู่กันคนละฟากฝั่ง ที่สิ่งผุดขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด คือ mobile device ที่สนับสนุน wifi หรือ 3G และการเข้ามาของ iphone และ ipad ส่วนประเด็นการออกแบบเว็บไซต์ในทุกระดับยังเป็นแบบ header , footer , column และ rows ส่วนเทคนิคในเว็บไซต์มีการใช้ .css และ web 2.0 อย่างเด่นชัดขึ้น โดยเฉพาะ Facebook.com และ Twitter.com กลายเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของเว็บไซต์ต่าง ๆ ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารขององค์กร
http://www.thaiall.com/html/website49.ppt
http://www.thaiall.com/html/indexo.html

ความสำคัญของระบบอีดอคคิวเมนท์

5 มี.ค.54 ความสำคัญของระบบอีดอคคิวเมนท์ที่มีต่อการประกันคุณภาพ สนับสนุนการสื่อสารแลกเปลี่ยน ใช้ปฏิบัติงาน และติดตามผลงานของบุคลากร หน่วยงาน คณะวิชา และมหาวิทยาลัย โดยสอดรับกับเกณฑ์คุณภาพการศึกษาภายใน ดังนี้
1. เกณฑ์ที่ 7.3.2 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของสถาบัน โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการ และการเงิน และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพ
– ผู้บริหารมอบหมายหน่วยงานฯ พัฒนาระบบและส่งสารสนเทศเข้าสู่ระบบ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ
– ระบบอีดอคคิวเมนท์เป็นเครื่องมือส่งสารสนเทศจากแต่ละบุคคล และเชื่อมโยงกับพันธกิจด้านต่าง ๆ

2. เกณฑ์ที่ 9.1.6 มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพ
– ระบบอีดอคคิวเมน์เปิดให้กำหนดเอกสารที่ต้องการถูกอ้างอิง เข้าระบบต่าง ๆ
– เจ้าของเอกสารพิจารณาเลือกเชื่อมโยงหลักฐานเข้ากับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
– งานประกันฯ คณะวิชา และมหาวิทยาลัย พิจารณาเอกสารไปจัดทำรายงานปลายปี

3. เกณฑ์ที่ 2.4.4 มีระบบการติดตามให้คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
– การแบ่งปันไฟล์ให้นักศึกษาเข้าถึงแฟ้มประกอบการสอน หรือส่งงาน
– การส่งหลักฐานเข้าตามภาระงาน และเชื่อมโยงเข้ากับรายงานการปฏิบัติงาน
– การส่งหลักฐานถูกใช้โดยผู้บังคับบัญชาในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

4. เกณฑ์ที่ 7.3.3 มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
– เริ่มจากการใช้งานระบบอินทราเน็ตที่เชื่อมโยงกับระบบอีดอคคิวเมนท์
– มีการดำเนินการโดยคณะกรรมการเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ