สร้างเว็บไซต์ด้วยเวิร์ดเพรสในสิบนาที

พบบทความในบล็อก
ของ เอเชียเสิร์ชโซลูชั่น
ดิจิทัล มาเก็ตติ้ง เอเจนซี่
เรื่อง วิธีสร้างเว็บง่าย ๆ
ด้วยตนเอง ด้วยเวิร์ดเพรส
10 นาทีก็มีเว็บไซต์ได้
.
อ่านแล้ว
ทำให้นึกถึงการทำเว็บไซต์ในอดีต
ที่มีขั้นตอนมากมาย
แต่อ่านบทความนี้แล้ว
สามารถมีเว็บไซต์ระดับเทพ
ได้ในเวลาอันสั้น
.
สมัยก่อน
จำได้ว่า ผมเคยมอบหมายงาน
ให้นิสิตเขียนเว็บเพจ ทำเว็บไซต์
ตามโฮสติ้งที่ให้บริการฟรี
และ เวิร์ดเพรสเป็นเว็บไซต์
ที่จัดได้ว่า ได้รับความนิยมสูงสุด
.
ขั้นตอนการมีเว็บไซต์ด้วยตนเอง
ที่พบบน เอเชียเสิร์ชโซลูชั่น มี 9 ขั้นตอน
.
1. ลงทะเบียนและจดโดเมนเนม
2. เลือกผู้ให้บริการโฮสติ้ง
3. จัดการหน้าเว็บไซต์
4. ติดตั้งธีม หรือ ชุดโค้ดเวิร์ดเพรส
5. ติดตั้งปลั๊กอินที่ชอบ
6. กำหนดรายละเอียดการตั้งค่า
7. สร้างเพจ ให้กับเว็บไซต์
8. ตั้งค่าเมนู
9. เขียนบล็อกเนื้อหา
.
สรุปว่า
ไปหาอ่านรายละเอียด
ในบทความจากผู้เผยแพร่ได้
และหากติดขัดประการใด
ทาง เอเชียเสิร์ชโซลูชั่น เค้าก็พร้อม
ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาอย่างเต็มที่
ขอเอาใจช่วยทุกท่านครับ

https://vt.tiktok.com/ZSFaTKL2N/

สร้างเว็บไซต์
ด้วยเวิร์ดเพรส
ในสิบนาที
#tiktokuni
#wordpress
#howto
#website
#blog
#asiasearch
#digitalmarketing

https://asiasearch.co.th/how-to-create-a-website/:)

เปลี่ยนชื่อกระทรวงไอซีที (itinlife570)

Ministry of Digital Economy and Society
Ministry of Digital Economy and Society

ในฐานะประชาชนของประเทศที่เห็นการเปลี่ยนแปลง รู้สึกเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงย่อมนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ประเทศเรากำลังเปลี่ยนไปใช้คำว่าประเทศไทย 4.0 คือ การเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาไปสู่บริบทใหม่ที่เคยเป็นประเทศอุตสาหกรรมไปสู่การเป็นประเทศที่ใช้นวัตกรรม ซึ่งต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เมื่อ 5 เมษายน 2559 มติคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบทั้งแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล แล้ว 15 กันยายน 2559 ในราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) ให้ตั้ง กระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม แทน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลังกระทรวงเดิมจัดตั้งขึ้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2545 เป็นเวลาเกือบ 14 ปี

ใน พ.ร.บ.ข้างต้นมีการยกเลิกกฎเดิมบางเรื่อง การโอนอำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน บุคลากร และที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงเดิมไปไว้กับกระทรวงใหม่ และพบว่ามีชื่อส่วนราชการใหม่ใน มาตรา 21/2 คือ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต่อมามีการเผยแพร่ภาพสัญลักษณ์ใหม่ของกระทรวงที่กรมศิลปากรออกแบบ โดยมีความหมายในแต่ละองค์ประกอบดังนี้ ใช้พระพุธอยู่ตรงกึ่งกลาง เป็นสัญลักษณ์แทนภูมิปัญญา มีความรอบรู้เป็นเลิศ พระหัตถ์ซ้ายถือคัมภีร์ แสดงถึงความรอบรู้ในวิทยาการต่าง ๆ พระหัตถ์ขวาเปล่งรัศมีเป็นวงแทนคลื่นดิจิทัล ซึ่งต่อมาก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงคาดหวังว่าจะได้เห็นสัญลักษณ์ที่มีความทันสมัยกว่านี้ แล้วได้ชื่อกระทรวงเป็นภาษาอังกฤษว่า Ministry of Digital Economy and Society

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีมาแล้ว 13 คน คนสุดท้ายของกระทรวงคือ ดร.อุตตม สาวนายน ลาออกเมื่อ 12 กันยายน 2559 ต่อมา พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีก็เข้ามารักษาการแทน ก่อนการเปลี่ยนชื่อกระทรวงพบว่ามีการดำเนินการพัฒนาด้านดิจิทัลตามแผนอย่างต่อเนื่อง อาทิ การพัฒนาบุคลากรในศูนย์ดิจิทัลเพื่อชุมชนที่ต่อยอดมาจากศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรในศูนย์ที่จะกลายเป็นผู้พร้อมขับเคลื่อนชุมชนต่อไป การขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 จะผลิกโฉมประเทศได้รวดเร็วเพียงใดตามวิสัยทัศน์ของผู้บริหารประเทศ เป็นเรื่องที่ต้องติดตามและร่วมกันขับเคลื่อนในบทบาทของคนไทยคนหนึ่งไปพร้อมกัน

http://www.thaiall.com/digitalcommunity/

https://www.facebook.com/digitalcommunitycenter/

http://www.posttoday.com/biz/gov/454713

https://www.ega.or.th/th/content/890/10417/

 

ตู้อาหารหยอดเหรียญ สำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

foodied ตู้อาหารหยอดเหรียญ สำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบาย
foodied ตู้อาหารหยอดเหรียญ สำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบาย

ตู้อาหารหยอดเหรียญ มาสนองความต้องการของมนุษย์เหมือนตู้อื่นอีกมากมาย
อยากทานอะไรก็ไปเลือกตามรายการที่ตู้
ใส่เงินเข้าไป กดปุ่ม แล้วอาหารก็ออกมาให้เราทานจนอิ่ม
สนองความต้องการที่เป็นปัจจัย 4 ของมนุษย์
หลักก็คล้ายกับตู้เอทีเอ็ม ตู้จำหน่ายตั๋วรถ ตู้น้ำอัดลม ตู้น้ำดื่ม ตู้จ่ายค่าสาธารณูปโภค
มีตู้หยอดเหรียญจำหน่ายอื่น ๆ ที่ http://www.lionvending.com/

พบคลิ๊ปประชาสัมพันธ์มิติใหม่ของอาหารกล่องแช่แข็ง CP ผ่านตู้หยอดเหรียญ Foodie:D
เริ่มจำหน่ายในอาคารสำนักงาน และในมหาวิทยาลัย เพราะมีความต้องการสูง
http://hilight.kapook.com/view/141555

ในยุคดิจิทัล ตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่เห็นชอบเมื่อ 5 เม.ย.59
http://www.thaiall.com/digitalcommunity

ที่เป็นปัจจัยสำคัญนำพาประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างรวดเร็ว
ที่ผ่านมา ประเทศไทย 1.0 เน้นภาคการเกษตร
ประเทศไทย 2.0 เน้นอุตสาหกรรมเบา
ประเทศไทย 3.0 เน้นอุตสาหกรรมหนัก
แล้ว ประเทศไทย 4.0 เราจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ
ไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
https://www.facebook.com/DigitalNativeLive/posts/578087365695391

สำหรับผมแล้ว
คิดว่าเราจะได้เห็นการพัฒนามากมายที่มี 2 หัวหอกทะลวงฟัน
เปิดทางให้เศรษฐกิจใหม่ 4.0 เข้าไปแทนที่เศรษฐกิจแบบดั่งเดิมทั้งหมด
คือ Startup และ IoT (Internet of Things)
http://www.thaiall.com/mis/startup.htm
http://www.thaiall.com/iot/

การเรียนรู้ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (itinlife567)

thai mooc
thai mooc

มีโอกาสฟังบรรยายเรื่อง ไทยมุก หรือ โครงการพัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ระบบเปิดสำหรับมหาชน (Thai MOOC = Massive Open Online Course) ที่ รศ.ดร.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา ผอ.มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย และสอนแบบ Live ไปยังผู้เรียนวิชาไอทีเพื่อการศึกษาผ่านระบบไทยมุกที่สอนโดย รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ซึ่งระบบนี้สามารถสอนนักเรียนได้จำนวนมากนับพันพร้อมกัน และการพัฒนาการศึกษาด้วยไทยมุกปรากฎในแผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีนิยามว่า ไทยมุก คือ บริการการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ที่ผู้เรียนจำนวนมาก สามารถเรียนได้แบบทุกที่ ทุกเวลา (และส่วนใหญ่ไม่มีค่าใช้จ่าย) โดยมีทั้งสื่อวิดิโอ หนังสือ แบบฝึกหัด พื้นที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถือเป็นการปฏิวัติการศึกษาของโลก โดยต่อยอดจากระบบอีเลินนิ่งที่มักเป็นการเรียนแบบกลุ่มจำกัด ไปสู่การเรียนรู้ของมหาชนไม่จำกัด อายุ หรือขอบเขตทางกายภาพ หลักสูตรของ MOOC นี้ อาจเน้นการเรียนในระบบ หรือนอกระบบ หรือตามความสนใจของผู้เรียนได้ทั้งสิ้น

เมื่อค้นคำว่า mooc list ใน google จะพบหลักสูตรมากมายที่เปิดให้เข้าไปเรียนได้ฟรี หรือจะมีค่าใช้จ่ายก็ขึ้นกับนโยบายของแต่ละวิชาที่มาจากแหล่ง MOOC อาทิ edx, coursera, novoEd, Kadenze, Futurelearn จุดเด่นของ MOOC คือ ผู้เรียนเข้าไปเรียนผ่านคลิ๊ปวีดีโอมากกว่า 90% ทำให้แต่ละวิชาสามารถรองรับจำนวนนักเรียนได้มาก สอดรับกับกระแสการใช้โซเชียลมีเดียในไทยที่มียอดเข้า youtube.com เป็นอันดับหนึ่ง การเรียนแบบ MOOC ต่างกับ Blended Learning ที่เป็นการเรียนแบบผสมผสานระหว่างในชั้นเรียนกับเรียนด้วยตนเอง แต่แบบ MOOC นักเรียนเข้าเรียนด้วยตนเองได้นับหมื่นคนพร้อมกัน

มีแนวโน้มว่าประเทศไทยกำลังพัฒนาคลังข้อสอบ ควบคู่ไปกับธนาคารเครดิต ที่รองรับการเรียนผ่าน MOOC ตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หากนักเรียนนักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ การวิจัย เศรษฐศาสตร์ สังคม ภาษาไทย เทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมาย จริยธรรม บัญชี ธุรกิจ การปฐมพยาบาล การเกษตร ดนตรี แล้วเข้าระบบวัดและประเมินที่น่าเชื่อถือจากคลังข้อสอบ แล้วเก็บหน่วยกิตเพื่อการเทียบโอนไปเรียนต่อในแต่ละสถาบัน ก็จะทำให้เยาวชนไทยลดเวลาที่ต้องใช้ชีวิตในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย แต่มีเวลาเรียนรู้ชีวิตนอกห้องเรียนมากขึ้น แนวทางการพัฒนาจะเป็นอย่างไรต้องติดตามนโยบายทางการศึกษาของภาครัฐต่อไป

https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10154391011453895.1073741907.814248894&type=3

อบรมหลักสูตร ผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้ดูแลศูนย์) และ ผู้อำนวยการศูนย์ดิจิตอลชุมชน

ผู้อำนวยการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้บริหารศูนย์)
ผู้อำนวยการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้บริหารศูนย์)

พบกิจกรรมดี ๆ ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้การสนับสนุน
โดย อาจารย์ว่าที่ร้อยตรีหญิงเพ็ญนภา ปาละปิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
เป็นแม่งานจัดอบรม 2 หลักสูตร ในภาคเหนือ
1. หลักสูตร ผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้ดูแลศูนย์) วันที่ 22-26 ส.ค. 59
2. หลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้บริหารศูนย์) วันที่ 22-23 ส.ค. 59
ณ โรงแรมรีเจนท์ ลอด์จ Regent Hotel & Apartments ต.หัวเวียง อ.เมือง จ.ลำปาง
โดย ดร.สมเกียรติ อัญชนา รองนายกเทศมนตรีนครลำปาง
ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานในหลักสูตรผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน
แล้วผมก็ทำหน้าที่วิทยาการหัวข้อ “การตลาดในยุคดิจิทัล และการตลาดผ่านสื่อโซเชียล” เป็นเวลา 3 ชั่วโมง
โครงการนี้หลายหลักสูตร ใช้เวลาอบรม 5 วัน มีหัวข้อน่าสนใจ ดังนี้

– แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และการขับเคลื่อนแผนฯ
– แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (Digital Government)
– การจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชน
– การตลาดในยุคดิจิทัล
– การตลาดผ่านสื่อโซเชียล
– แนวทางขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระดับชุมชน
– การซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตและสื่อดิจิทัล (E-Commerce, E-Market) และ Digital Money
– เนื้อหาดิจิทัล (Digital Content) สร้างสรรค์เนื้อหาบนเว็บไซต์และสื่อต่าง ๆ ให้น่าสนใจ
– การจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในชุมชน
– การผลิตสื่อดิจิทัล : การผลิต Video Clip
– การผลิตสื่อดิจิทัล : การถ่ายภาพสินค้าและสถานที่ท่องเที่ยว
– การเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิทัล (Digital Storytelling)
– ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อสังคม และการขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต

ผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้ดูแลศูนย์)
ผู้จัดการศูนย์ดิจิตอลชุมชน (ผู้ดูแลศูนย์)

เอกสารอบรม
– สไลด์เปิดงานของ วิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล http://www.totacademy.com/ict/download/doc_train2_3.pdf
– สไลด์ที่ผมใช้เรื่องตลาดดิจิทัลเบื้องต้น https://www.facebook.com/groups/thaiebook/669305873220234/
– เว็บไซต์ที่ใช้เตรียมเนื้อหา http://www.thaiall.com/digitalcommunity/
– เฟสบุ๊คเพจที่ใช้ฝึกอบรม https://www.facebook.com/digitalcommunitycenter/
– แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/590613_4Digital_Economy_Plan-Book.pdf
– แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี พ.ศ. 2559 – 2561 http://cloudfile.mict.go.th/public.php?service=files&t=b1e88505be0a561af887d3dc1e0363df&download
– แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนารายยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการดิจิทัลของหน่วยงาน
โดย รทก.มาลี วงศาโรจน์ http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/590613_3DE_27-5-59-Dr.Malee.pdf
* งานดิจิทัลไทยแลนด์ 2016 http://www.mict.go.th/view/1/Digital%20Economy

ลิงค์แบบฟอร์มสำหรับลงทะเบียนออนไลน์ และรายชื่อศูนย์ในภาคเหนือ 140 ศูนย์
ที่ https://sites.google.com/site/link2mydrive/home/xeksar-kar-khea-xbrm-suny-dicithal-chumchn

วิทยากร
วิทยากร

รายละเอียด และการแลกเปลี่ยนที่
https://www.facebook.com/digitalcommunitycenter/

โครงการศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน
http://www.thaitelecentre.org/

มัลติมีเตอร์ อุปกรณ์วัดค่าปริมาณทางไฟฟ้า

มัลติมิเตอร์ (Multimeter)
มัลติมิเตอร์ (Multimeter)

26 มิ.ย.59 มีมัลติมิเตอร์เก่าอยู่ตัวหนึ่ง
วันนี้ต้องการเช็คค่าไฟฟ้าในสาย USB ที่ตัดออกมาแล้วต่อเข้ากับตัวหนีบ
ไว้ใช้งานกับสมาร์ทโฟนที่มีปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ คือ ถอดแบตออก แล้วต่อไฟตรงแทน
เพราะสาย USB ก็คือสายสวดทองแดง มีขั้วบวกขั้วลบ เหมือนสายไฟฟ้าตามบ้าน
แต่มีทั้งหมด 4 เส้น เป็นสายไฟฟ้า 2 เส้น และสายข้อมูลอีก 2 เส้น
เส้นที่สำคัญคือ เส้นแดงเป็นเส้นไฟฟ้า หรือขั้วบวก ส่วนเส้นดำเป็น Ground หรือขั้วลบ
สรุปว่าทั้ง 4 เส้นมีดังนี้
1. เส้นแดง Power +5V
2. เส้นขาว Data –
3. เส้นเขียว Data +
4. เส้นดำ Ground

มัลติมิเตอร์ (Multimeter) คือ เครื่องมือวัดค่าปริมาณทางไฟฟ้า
ที่ได้รวมตัววัดหลายแบบเข้าด้วยกัน
1. แอมมิเตอร์ (Ammeter) ที่ใช้สำหรับวัดค่ากระแสไฟฟ้า
2. โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter) ที่ใช้สำหรับวัดค่าแรงดันไฟฟ้า
3. โอห์มมิเตอร์ (Ohmmeter) ที่ใช้สำหรับวัดค่าความต้านทาน
มัลติมิเตอร์แบ่งได้ 2 แบบ
1. แบบเข็มชี้ (Analog Multimeter)
2. แบบตัวเลข (Digital Multimeter)

ผู้สูงอายุนอกเมืองหลวง ไม่ดูทีวีดิจิตอล

ช่องรายการดิจิตอลทีวีทั้ง 36 ช่อง
ช่องรายการดิจิตอลทีวีทั้ง 36 ช่อง

7 ธ.ค.57 มีกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลอยู่ 2 กล่อง ตั้งใจจะติดกับทีวีเครื่องเก่าให้ผู้สูงอายุที่บ้าน
เมื่อติดตั้งไปแล้ว ถึงทราบว่าผู้สูงอายุไม่ต้องการใช้บริการ เพราะทุกวันนี้ก็รับชมทีวีอนาล็อกได้อยู่แล้ว
แล้วผมก็ดูได้ 22 ช่อง เพราะบ้านห่างเสาส่ง 14 กิโลเมตร สามารถรับชมโดยไม่ต้องเดินสายเสาอากาศใหม่
ส่วนบ้านอีกหลังห่างเสาส่งไป 26 กิโลเมตร เดินเสาอากาศไปลานกว้างนอกบ้าน รับได้ 6 ช่อง
แล้ว 6 ช่อง ก็ไม่มีช่องที่ผู้สูงอายุต้องการ ซึ่งเป็นช่องเดียวที่จะดูบนทีวี 14 นิ้ว
เหตุผลสำคัญที่ผู้สูงอายุให้มาว่าไม่ดูทีวีดิจิตอล
1. ทุกวันนี้ดูช่องเดียว และไม่เคยเปลี่ยนช่อง
จะมีให้ดู 20 กว่าช่อง ก็คงจะไม่ดู
2. ไม่ชอบกด remote ตัวเล็ก กดไม่เป็น ที่ผ่านมาก็ไม่เคยกด
จะให้กดเลือกช่องที่มีถึง 20 ช่องก็คงไม่กด
3. ถ้าต้องเดินสายอากาศ เจาะนู่น เจาะนี่
เพื่อให้ได้ 20 ช่อง ก็อย่าเลย ไม่อยากเจาะบ้าน
คนรุ่นใหม่คงมีเหตุผลที่จะดูทีวี 20 กว่าช่อง ดังนี้
1. มีเวลาว่างนั่งดูทีวีมากกว่าทำอย่างอื่น
2. ชอบดูรายการใหม่ ๆ อยู่เสมอ
3. มีรายการที่รอติดตามเป็นประจำจากทีวี
ตอนนี้ .. รอให้เพื่อนบ้านมากดดันผู้สูงอายุ ผ่านการเล่าขาน
ว่าดูช่องนู้น ช่องนี้ น่าดู ดูสนุก
แล้วผู้สูงอายุมีความต้องการขึ้นมา ค่อยไปติดตั้งก็ได้
.. เพราะตอนนี้ยังไม่เห็นความจำเป็น จึงไม่ยินดีจะให้ติดตั้ง
ปล. ส่วนผมดู PSI ครับ ไม่ได้ใช้กล่อง Set Top Box

ถ่ายรูปแล้วไปไหน

The Adobe Photoshop CS4 Book for Digital Photographers
The Adobe Photoshop CS4 Book for Digital Photographers

เมื่อ 20 พ.ย.57 พระเกจิอาจารย์ให้ข้อคิดสะกิดใจเรื่องการถ่ายรูปว่า
พวกเรา เวลามีงานอะไรเห็นถ่ายรูป แชะ แชะ แชะ กันจริง
พอถึงเวลาจะเอารูปมาใช้ ไอ้คนแชะ แชะ แชะ วิ่งไปขอรูปชาวบ้าน
เฟสบุ๊คน่ะ อัพรูปกันบ้าง เข้าไปดูไม่เห็นเลย แล้วไลน์กลุ่มก็สร้างแล้ว
เข้าไปคุยกันบ้าง คิดบวกกันเข้าไว้
ฟังพระท่านแล้ว ผมว่าคนไทยขาดทักษะด้านไอซีทีนะ เหมือนผลจัดอันดับ เด็ก ม.2
ของ ICILS ที่รายงานว่าไทยอยู่อันดับที่ 13 จากทั้งหมด 14 ประเทศ
แล้ววันนี้ 21 พ.ย.57 อ่านหนังสือของ Scott kelby ที่แปลและเรียบเรียงโดย รัชตา ซึ้งสุนทร
ในบทแรกมีเรื่องการใช้ adobe bridge เป็นตัว download และจัดการภาพ
สำหรับ digital photographer .. ผมว่าน่าสนใจนะ
ชื่อหนังสือคือ The Adobe Photoshop CS4 Book for Digital Photographers
(คัมภีร์ตกแต่งภาพดิจิตอลระดับมืออาชีพ) กรุงเทพฯ : ฟิวเจอร์ เกมเมอร์, 2552, 469 หน้า
ราคาปกคือ 345 บาท แต่ลดเหลือ 35 บาท
ซื้อที่ B2S, Central plaza lampang
ถ้าคนไทยใช้โปรแกรมนี้เป็น ผมว่าปัญหาการใช้รูปก็คงจะไม่มี
แต่ปัญหาคือถ่ายแล้วไม่ใช้ ไม่เลือก ไม่นำไปใช้ต่อเท่าที่ควร

การเลือกลำโพงรอบทิศทาง (itinlife443)

Surround - DD5.1
Surround - DD5.1

มีโอกาสพูดคุยเรื่องเสียงกับเพื่อน ว่าการบันทึกเสียง และปรับแต่งเสียงต้องทำอย่างไร แต่มีรายละเอียดเรื่องอุปกรณ์ และซอฟท์แวร์พอสมควร ส่งผลถึงกระบวนการบันทึกเสียงที่มีความเฉพาะ เช่น เสียงตามสายในโรงเรียน หรือเสียงคาราโอเกะที่มีเสียงร้องแยกกับเสียงดนตรีก็ต้องบันทึกแยกกัน เพราะถ้ารวมกันเวลานำเสียงออกก็จะแยกได้ไม่สมบูรณ์ ถ้ามีลำโพงตัวเดียว สองลำโพง สามลำโพง หรือหกลำโพง จะจัดวางแต่ละตัวอย่างไรให้เหมาะสม ก็กลายเป็นเงื่อนไขที่ต้องทำความเข้าใจ ปัจจุบันโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในการจัดการเสียง คือ โปรแกรมออดิชั่นช่วยบันทึก และจัดการให้เป็นแฟ้มเสียงสเตอริโอ (Stereo) หรือเสียงแบบดอลบี (Dolby Digital)

เมื่อซื้อลำโพงแบบ 2.1 ก็จะมีลำโพงมาให้ 3 ตัว คือลำโพงซ้าย ลำโพงขวา และลำโพงเสียงต่ำ ปกติทั้งซ้ายและขวาต่างเป็นลำโพงหลัก ตัวหนึ่งให้เสียงแหลมแบบเสียงดนตรีที่มีความถี่สูง อีกตัวหนึ่งให้เสียงร้องที่มีความถี่กลาง ส่วนซับวูฟเฟอร์ (Subwoofer) คือ ลำโพงความถี่ต่ำ เมื่อรับชมภาพยนตร์สงครามจากแผ่นดีวีดี (Movie DVD) และวางตำแหน่งลำโพงอย่างเหมาะสม เราจะได้ยินเสียงเหมือนมาจากรอบทิศทาง (Surround) ลำโพง 2 หรือ 3 ตัวจะเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่าและไม่ต้องการพื้นที่วางมากนัก แต่เสียงจากลำโพง 2.1 ด้อยกว่าลำโพงแบบ 5.1 ที่มีลำโพง 6 ตัว การวางลำโพงก็จะไม่วางกองไว้ที่จุดเดียว โดยแบ่งเป็นลำโพงหน้ากลาง หน้าซ้าย หน้าขวา หลังซ้าย หลังขวา และลำโพงซับวูฟเฟอร์ ลำโพงหลักทั้ง 5 ตัวควรวางไว้ในระดับศีรษะ แต่ลำโพงซับวูฟเฟอร์ควรตั้งไว้บนพื้น และห่างไกลจากของที่สั่นง่าย

การพัฒนาเครื่องเสียงในปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย แต่การเลือกเพลง หรือภาพยนตร์มาฟังก็ควรเข้าใจข้อจำกัดของลำโพง เพราะถ้าเป็นเสียงจากแฟ้ม MP3 ที่ถูกลบความถี่ที่มนุษย์ไม่ได้ยินออกไป เพื่อให้ขนาดของแฟ้มต่ำที่สุดก็จะมีคุณภาพเสียงต่ำกว่าที่มาจากแผ่นซีดีเพลง (Audio CD) ส่วนเสียงที่เป็นแบบ Mono ก็จะมีเสียงเดียว แม้จะมีลำโพงรอบทิศทางก็จะไม่ให้ความรู้สึกสมจริงว่าเป็นเสียงรอบทิศทาง เสียงที่เป็น Stereo ก็จะเหมาะกับลำโพง 2 หรือ 3 ตัว หากนำไปใช้กับลำโพงแบบ 5.1 ก็ไม่ได้ใช้ความสามารถที่สมบูรณ์ของอุปกรณ์ ถ้ามีความพิถีพิถันที่จะฟังเสียงแบบรอบทิศทาง ก็ควรเข้าใจแหล่งให้กำเนิดเสียงว่าเข้ากันได้กับลำโพงที่มีอยู่หรือไม่

http://www.ecoustics.com/electronics/forum/home-theater/664002.html

http://www.siamget.com/buyerguide/304

http://www.siamget.com/buyerguide/303

http://forums.adobe.com/thread/913090

ดิจิทอลทีวีคืออะไร (itinlife409)

digital tv
digital tv

ความเป็นมาของทีวี (Television) หรือโทรทัศน์ในประเทศไทย เริ่มต้นราวปีพ.ศ.2498 เป็นระบบทีวีขาวดำ และเปลี่ยนเป็นระบบทีวีสีในปีพ.ศ.2510 โดยใช้การแพร่ภาพด้วยระบบอนาล็อก (Analog) ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนช่อง และคุณภาพขอสัญญาณ แต่ระบบดิจิทอลคือการส่งสัญญาณที่ใช้คลื่นความถี่วิทยุที่ทำให้ได้จำนวน 8 -25 ช่องสถานีต่างกับระบบอนาล็อกที่ได้เพียงช่องเดียว ข้อดีของระบบดิจิทอลคือประหยัดพลังงาน ได้ภาพที่คมชัดกว่า และสัญญาณภาพมีอัตราส่วนแบบ Wide screen คือ 16:9 ซึ่งเหมาะกับเครื่องรับโทรทัศน์แบบ LED, LCD และ Plasma TV

เหตุผลหนึ่งที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนเป็นทีวีระบบดิจิทอล คือ ดำเนินการตามมติประชาคมอาเซียนที่จะเปลี่ยนระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดินเป็นระบบดิจิทอลใช้มาตรฐานคือ DVB-T2 และให้ยุติระบบอนาล็อกในช่วงปีพ.ศ.2558 – 2563 สำหรับประเทศไทยกำหนดให้ออกใบอนุญาตดิจิทอลทีวีช่วงแรกระหว่างกุมภาพันธ์ 2555 – สิงหาคม 2556 โดยมีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นหน่วยงานทำหน้าที่กำหนดกรอบ วางหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ซึ่งในอนาคตสามารถรับชมทีวีสาธารณะได้มากกว่า 100 ช่อง แต่ช่วงสิงหาคม 2556 ไทยจะออกใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจจำนวน 24 ช่อง ซึ่งเพิ่มจากระบบอนาล็อกเดิมที่มีทีวีสาธารณะเพียง 6 ช่อง คือ 3, 5, 7, 9, NBT และ Thai PBS

การรับสัญญาณดิจิทอลเข้าทีวีมี 3 แบบ คือ แบบแรก คือ ทีวีรุ่นเก่าที่ใช้เสารับสัญญาณแบบ Antenna หรือเสาหนวดกุ้ง จะต้องซื้ออุปกรณ์ที่เรียกว่า จูนเนอร์ หรือ กล่องรับสัญญาณดิจิตอล (Set top box) เพื่อทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิทอลมาแปลงเป็นสัญญาณอนาล็อกส่งเข้าทีวีรุ่นเก่า แบบที่สอง คือ ทีวีผ่านจานดาวเทียมทั้งแบบรายเดือนหรือไม่เป็นรายเดือนจะรับชมดิจิทอลทีวีได้ทันที และช่องเดิมจะถูกประกาศให้เป็นทีวีสาธารณะ แล้วจะเพิ่มช่องใหม่เข้าไปอัตโนมัติ แบบที่สาม คือ ซื้อทีวีที่เป็นทีวีดิจิทอลที่สามารถรับสัญญาณดิจิทอลได้โดยตรง ในช่วงการเปลี่ยนผ่านนี้คาดว่าจะส่งสัญญาณควบคู่กันไปทั้งสัญญาณอนาล็อกและสัญญาณดิจิทอลไม่เกินปีพ.ศ.2563 แล้วมีข่าวว่าช่อง 9 และ NBT จะทดลองออกอากาศในพื้นที่นำร่อง 2 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ และเชียงใหม่

http://www.thairath.co.th/content/tech/359957