ในการประชุมวิชาการ มักรับบทความสำหรับนำเสนอด้วยวาจา
แล้วมีการรวบรวม คัดสรรโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งบทความที่ผ่านกระบวนการพิจารณาตามขั้นตอน
เมื่อนำมารวมเล่มและเผยแพร่ จะถูกเรียกว่า proceeding
—
โดยปกติแล้ว ต้นฉบับบทความ (manuscripts)
แล้วมีการรวบรวม คัดสรรโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งบทความที่ผ่านกระบวนการพิจารณาตามขั้นตอน
เมื่อนำมารวมเล่มและเผยแพร่ จะถูกเรียกว่า proceeding
—
โดยปกติแล้ว ต้นฉบับบทความ (manuscripts)
จะถูกส่งไปยังผู้อ่านหนึ่งคนหรือมากกว่าที่อยู่ภายนอก (peer reviewer)
เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขแก่ผู้เขียนได้ปรับปรุง
ให้มีความควบถ้วนสมบูรณ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด
ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะถูกคัดออก ไม่สามารถนำเสนอในเวทีนั้นได้
การพิจารณาโดยผู้อ่านหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับการยอมรับมักมี 2 แบบ
ให้มีความควบถ้วนสมบูรณ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด
ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะถูกคัดออก ไม่สามารถนำเสนอในเวทีนั้นได้
การพิจารณาโดยผู้อ่านหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับการยอมรับมักมี 2 แบบ
คือ ปิดฝั่งผู้อ่าน ไม่ให้รู้ว่าอ่านของใคร (single blinded reviewer)
หรือ ปิดทั้งผู้อ่านและผู้ส่ง ต่างไม่รู้กันและกัน (double blinded reviewer)
โดยปกติ reviewer มักเป็น anonymous และ independent
ซึ่งกระบวนการที่ใช้มักเป็นความลับ หรือผ่านระบบจัดการแบบอัตโนมัติ
เพื่อให้ผู้อ่านได้แสดงทัศนะโดยปราศจากอคติหรือลำเอียงต่อผู้นำเสนอ
ระบบในปัจจุบันที่งานประชุมวิชาการมักใช้บริการ เช่น easychair.org
—
easychair คือ ระบบจัดการงานประชุมที่ยืดหยุ่น ง่ายต่อการใช้ และมีหลายคุณลักษณะได้ปรับแต่ง
ให้เหมาะสมกับรูปแบบการประชุมของแต่ละงานด้วยตนเอง