การปิดกั้นเฟสบุ๊ค (itinlife380)

blocked facebook.com
blocked facebook.com

28 ม.ค.56 วันนี้ขึ้นหัวข้อแปลกอยู่สักหน่อย และสวนกระแสสถิติการใช้เฟซบุ๊คว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดที่เป็นสาวกของเฟซบุ๊ค คือ 12,797,500 คน เมื่อปลายเดือนมกราคม 2556 และมีบัญชีผู้ใช้มากกว่าจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ คิดเป็นร้อยละ 154.54 หรือกล่าวได้ว่าแต่ละคนมีมากกว่า 1 บัญชีผู้ใช้ แล้วทั้งประเทศมีบัญชีผู้ใช้ทั้งหมด 18,271,480 ซึ่งหมายความว่าเฉพาะกรุงเทพฯ เพียงเมืองเดียวก็มีผู้ใช้มากกว่าร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับทั้งประเทศ ซึ่งตอกย้ำว่าประเทศไทยมีกรุงเทพฯ เจริญเพียงเมืองเดียว เพราะการที่กรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงของไทยหากจะพูดเรื่องปิดกั้นการใช้งานย่อมต้องถูกมองว่าเป็นแกะดำ หรือพวกขวางโลกในบัดดล

หากจะปิดกั้นต้องเริ่มจากบทบาทของผู้บริหารสูงสุดที่พบว่าพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กรไม่ตอบวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือใช้เวลาในที่ทำงานไม่คุ้มกับค่าจ้าง ผลงานไม่บรรลุตามแผนขององค์กร เคยฟังโน้ตอุดมพูดในเดี่ยว 8 ตอนรัฐไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เตือนนักดนตรีว่าอย่าใช้ BB ขณะเขากำลังทำงาน หรือสำนักปลัดกระทรวงมหาดไทยมีหนังสือถึงผู้ว่าราชการทุกจังหวัดเมื่อ 6 กันยายน 2555 ว่าจะระงับการเข้าถึงเฟซบุ๊ค เนื่องจากไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานราชการ และสิ้นเปลืองช่องสัญญาณ ซึ่งจะดำเนินการได้นั้น ผู้บริหารต้องเข้าใจปัญหา และอธิบายปัญหาได้อย่างชัดเจน

เทคนิคที่ผู้ดูแลระบบจะควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการมีอยู่ขององค์กรมีหลายระดับ ซึ่งขึ้นกับวัฒนธรรมองค์กรที่จะเป็นตัวเสริม อาจเริ่มจากการให้นโยบายป้องปรามการใช้งาน ประกาศเป็นระเบียบปฏิบัติ ควบคุมการใช้งานผ่านศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือใช้ซอฟท์แวร์ควบคุมในเครื่องคอมพิวเตอร์ประจำสำนักงานของผู้ใช้แต่ละคน แต่หากเป็น smart phone ที่ใช้บริการ 3G ก็จะไม่สามารถระงับผ่านซอฟท์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ แต่อาจควบคุมด้วยการกำหนดนโยบายตัดเงินเดือน หรือมีโทษทางวินัยหากสืบทราบว่าใช้เฟซบุ๊คในเวลางานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน แล้วมีทีมเฝ้าระวังตรวจสอบก็จะทำให้การปิดกั้นสัมฤทธิ์ผล ส่งผลให้บุคลากรไม่วอกแวกไปกับกิจกรรมที่ไม่มีผลต่อเป้าหมายขององค์กร แล้วหันกลับมาสนใจทำพันธกิจขององค์กรให้สำเร็จลุล่วง

+ http://faceblog.in.th/2012/05/facebook-bangkok/
+ http://www.it24hrs.com/2012/moi-block-facebook/
+ http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/cities/

ขอ refresh หรือ reload link ที่วางใน facebook

object debugger for URL Refresh
object debugger for URL Refresh

23 ธ.ค.55 หลายปีก่อน หัวหน้าบอกว่าเวลาวางลิงค์ใน fb แล้วทำไม thumb ที่ปรากฎเป็นของเก่า เพราะเรามีการเปลี่ยนแปลง มาวันนี้ต้องวางลิงค์ youtube.com แต่ข้อมูลที่มาเป็นของเก่า จึงต้องบังคับ refresh หรือ reload ข้อมูลระหว่าง link กับ facebook ใหม่ เพราะ facebook มีฐานข้อมูลสำหรับทุกลิงค์ หากเรานำลิงค์ไม่เหมาะสมไปวาง ก็จะวางไม่ได้ ส่วนลิงค์ที่ถูกต้องก็จะเก็บเป็นข้อมูลในฐานข้อมูลของ facebook โดยคลิ๊ก http://developers.facebook.com/tools/debug แล้วระบุ link หรือ url ที่ต้องการตรวจสอบ มีผลให้ facebook อ่านข้อมูลจากเว็บเพจนั้นใหม่
+ http://www.thaiall.com/facebook/

10 เหตุผลที่ภาครัฐไม่ควรระงับ facebook.com

Ban Social Media
Ban Social Media
10 เหตุผลที่ภาครัฐไม่ควรระงับ facebook.com

1. ใช้ทำ GSR (Government Social Responsibility) กับประชาชน
2. ใช้สื่อสารกับเพื่อนร่วมกระทรวง ทบวง กรม เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร แบบส่วนตัวได้ตลอดเวลา
3. ใช้รับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้บังคับบัญชา กับผู้ใต้บังคับบัญชา แบบส่วนตัวได้ตลอดเวลา
4. ใช้ fb page เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของหน่วยงานแก่ประชาชน
5. ใช้ fb group เพื่อสื่อสารในหน่วยงาน ในกรม หรือในกลุ่มที่ทำ workshop แบบ KM
6. ใช้รับส่งแฟ้ม ฝากแฟ้มข้อมูล หนังสือต่าง ๆ ผ่านบริการ upload file ใน fb group
7. ใช้เป็นแหล่งรับเรื่องร้องเรียน ตอบข้อซักถาม ชี้แจงประเด็นที่สังคมสนใจแก่ประชาชน
8. ใช้ทำอีเลินนิ่ง ทั้งเอกสาร เสียง หรือคลิ๊ปวีดีโอ ให้เกิดความเข้าใจในระบบต่าง ๆ ที่พัฒนาตลอดเวลา
9. ใช้เป็นช่องทางที่แสดงความโปร่งใส่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร กรณีมีการตรวจสอบจาก สตง.
10. ใช้เป็นแหล่งถ่ายทอดสื่อมัลติมีเดีย เผยแพร่คลิ๊ปที่มีเนื้อหาเชิงนโยบายของหัวหน้าสำนักงาน ผู้ว่า หรือรัฐมนตรี
เจตนา คือ ชวนคิดครับ

มหาดไทย ส่งหนังสือถึงผู้ว่าฯ ห้ามข้าราชการเล่นเฟซบุ๊ก

ด้วยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตของสำนักงานปลัดกระทรวง มหาดไทย ได้ตรวจสอบการใช้งานของระบบอินเทอร์เน็ตในรอบ 8 เดือน ในปีงบประมาณ 2555 พบว่าโดเมนที่มีจำนวนการเรียกใช้มากที่สุด 10 อันดับแรก ปรากฏว่าเป็นการใช้บริการดาวน์โหลดข้อมูลภาพและเสียง ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเว็บไซต์ของต่างประเทศและมีการเรียกใช้มากในลักษณะออ นไลน์ เช่น www.facebook.com เป็นต้น ซึ่งการใช้งานดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานราชการ ทำให้สิ้นเปลืองช่องสัญญาณ (Bandwidth) จำนวนมาก

ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตของสำนักงานปลัดกระทรวง มหาดไทยเกิดประโยชน์สูงสุด สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยจึงได้กำหนดมาตรการการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ต โดยระงับการเข้าถึง Website ที่ให้บริการดาวน์โหลดข้อมูลภาพและเสียงที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน บางเว็บไซต์ และงดการใช้งานเว็บออนไลน์ เช่น www.facebook.com ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป ในช่วงระหว่างเวลา 08.30-12.00 น. และ 13.00-16.30 น.

จึงเรียนมาเพื่อทราบ และแจ้งผู้ปฏิบัติงานในสังกัดทราบและถือปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวต่อไป

all fan pages have timeline theme on april 2555

theme timeline
theme timeline

1 เม.ย.55 พบข้อความใน fan page ที่ facebook.com/thaiall ว่า “The new Facebook Pages was made live for all Pages on March 31. Learn more about the new design or take a tour of your page’s new features.” ซึ่งพอสรุปได้ว่า ทุกแฟนเพจของ facebook.com ถูกเปลี่ยนเป็น timeline theme ทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2555 ที่ใช้คำว่า made live for all pages คือ ชีวิตของทุกเพจได้เปลี่ยนไปแล้ว จะใช้ theme เดิมไม่ได้ เพราะระบบหลักเขาเปลี่ยนไปแล้ว
ผมเข้าไปตรวจ profile ของบางท่าน พบว่า 1 เม.ย.55 หลายคนก็ยังใช้ theme เก่าได้อยู่ คือ theme 1 column แต่ถ้าเป็น theme ใหม่ หรือ timeline theme จะมี 2 columns ก็เรียกว่าเป็นการพัฒนาครับ และทุก ๆ การพัฒนาย่อมนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

ผลกระทบจากการกด like ส่งเดช

Like & Dislike
Like & Dislike

การกด Like ใน Fan Page จำนวนมาก อาจจะทำให้คนคนหนึ่ง หรือพนักงานคนหนึ่งเสียเวลาในการอ่านความเป็นไป และรายละเอียดหน้า News Feed มากขึ้น ในเชิงเศรษฐศาสตร์ถือว่าพฤติกรรมส่วนนี้ทำให้เสียเวลาในการทำงานที่มีจำกัด และเป็นเวลาที่น่าจะสร้างผลประโยชน์แก่ตัวเองและองค์กรไป แต่เจ้าของกิจการอาจจะต้องมีมาตรการควบคุมพฤติกรรมการเล่น facebook ให้เป็นช่วงเวลา แต่ถ้าไม่เปิดโอกาสให้เล่นเลยก็คงไม่ใช่ข้อดีเช่นกัน เพราะไอเดียสร้างสรรค์ แนวคิด และกลยุทธ์ใหม่ๆ บางครั้งหาใน facebook ง่ายกว่าค้นหาผ่าน Google และเดินหาหนังสือตามร้านหนังสือมานั่งอ่าน ดังนั้นส่วนหนึ่งก็คือความรับผิดชอบของตัวผู้ใช้งาน หรือพนักงานที่จะปรับพฤติกรรมการเล่น facebook และเลือกกด Like ให้พอดี ที่อาจจะมองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุจุดเล็กๆ ไม่สำคัญแต่ใครจะรู้ว่า ปฏิกิริยาที่พูดมาข้างต้นของพฤติกรรมที่เกิดหลังการกด Like นั้นเป็นความจริง
ผลกระทบอีกเรื่องของการกด Like เป็นจำนวนมาก ทั้งจำเป็น และไม่จำเป็นนั่นคือปัญหาของ ข้อมูลที่ท่วม News Feed ของพวกเรา หรือที่เรียกว่า “Information Overload” การรับข่าวสารมากจนเกินไป จนพลาด และไม่สามารถแยกแยะข่าวสารที่จำเป็นที่สุดของเราออกมาจากกลุ่มข่าวสารได้ พึงคิดไว้ว่าประสิทธิของข่าวสารของคุณที่มีประโยชน์กับคุณจริงๆ นั้นจะปรากฏได้ชัดเจนที่สุด และได้จังหวะที่สุดก็ต่อเมื่อคุณเลือกที่จะรับข่าวสารแต่น้อย และพอประมาณ

จัดอันดับ Like ของ Fan page 2011
อันดับที่ 10 ได้แก่ O:IC มี Fan page กว่า 217,925 คน
อันดับที่ 9 ได้แก่ สมาคมมุขเสี่ยวๆ มี Fan page กว่า 219,537 คน
อันดับที่ 8 ได้แก่ Groove Riders มี Fan page กว่า 225,713 คน
อันดับที่ 7 ได้แก่ Boyd Kosiyabong มี Fan page กว่า 229,772 คน
อันดับที่ 6 ได้แก่ ARAYA A. HARGATE มี Fan page กว่า 252,601 คน
อันดับที่ 5 ได้แก่ dtac internet มี Fan page กว่า 256,603 คน
อันดับที่ 4 ได้แก่ TATTOO COLOUR มี Fan page กว่า 259,212 คน
อันดับที่ 3 ได้แก่ Singular มี Fan page กว่า 277,285 คน
อันดับที่ 2 ได้แก่ ชิงร้อยชิงล้าน มี Fan page กว่า 296,467 คน
อันดับที่ 1 ได้แก่ GTH มี Fan page กว่า 306,462 คน

Fan page ของ มหาวิทยาลัยในไทย
http://www.facebook.com/DPU2511
http://www.facebook.com/nationunews
http://www.facebook.com/ChulalongkornUniversity
http://www.facebook.com/Uthammasat
http://www.facebook.com/mahidol
http://www.facebook.com/kkuthailand
http://www.facebook.com/SPUFriend
http://www.facebook.com/assumptionuniversity
http://www.facebook.com/LampangRajabhatUniversity
http://www.facebook.com/rangsituniversity
http://www.facebook.com/SAUnews
http://www.facebook.com/KasetsartUniversity
http://www.facebook.com/SilpakornU
http://www.facebook.com/bangkokuniversity
http://www.facebook.com/MaejoUniversity
http://www.facebook.com/sutnews
http://www.facebook.com/pages/mhawithyalay-nreswr/148222731854419
http://www.facebook.com/pages/PR-Ramkhamhaeng-University/206233619400008

http://www.thaistudentlink.com/beta/university/payup

http://www.daydev.com/social-media-for-business/546.html

http://fanpagelist.com/

http://www.ignitesocialmedia.com/facebook-marketing/top-50-branded-facebook-pages/

http://www.marketingoops.com/reports/metrix/top-20-facebook-fan-page-thai/

การทำการตลาดด้วย facebook page

it mart retail
it mart retail

12 มี.ค.55 ได้รับ it mart retail newspaper ฉบับ March 2012 เป็น issue 3 พบว่ามีเว็บไซต์ http://www.itmart.co.th และใช้ fb page http://www.facebook.com/itmartretail ซึ่งพบว่ามีการ post ครั้งแรกเมื่อ 4 ตุลาคม 2011  ในการเข้าดู fb page ต้อง login ก่อน จึงจะเข้าสู่ระบบได้ แล้วผมก็กด like ไป 1 ครั้ง ทำให้ผมเป็นผู้กด like คนที่ 14 ในทันที เมื่อเข้าดูเว็บไซต์หลักพบสินค้าน่าสนใจหลายรายการ จึงเก็บ screen ไว้เล่าให้นักศึกษาฟัง

http://www.itmart.co.th/home/?promotion,view&no=11
IT Mart - Newspaper - Feb 2012
IT Mart - Newspaper - Feb 2012 - 2
IT Mart - Newspaper - Feb 2012 - 2

พลังของ cover in time line

effect of cover in timeline
effect of cover in timeline

1 มี.ค.55 วันนี้ว่าจะเขียน blog เรื่อง twitter ที่อาจมีผู้ประกอบการใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน  แต่มีเหตุให้ต้องเขียนเรื่องพลังของ cover ของ time line ใน facebook.com ก่อน .. เพราะคุณนก ปรึกษาเรื่องการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับข้อความที่ต้องการสื่อสาร ก็ได้ภาพสำหรับทำ cover ภาพนี้ .. เมื่อทดสอบ post ภาพที่มีข้อความประชาสัมพันธ์ ก็พบว่าข้อความถูกใช้สื่อสารได้ชัดเจนมาก และวิ่งไปถึงเพื่อนของคุณนกได้ทั้งหมด ถ้าคุณนกมีเพื่อน 100 คน ก็จะรับรู้ซ้ำแล้วซ้ำอีก 100 คน ถ้าคนในองค์กรมี 100 คน และทุกคนทำบ้าง ก็จะไปถึงผู้คนกว่า 10,000 คน (อาจมากกว่า) แบบซ้ำไป ซ้ำมา

.. ถ้าการประชาสัมพันธ์ข้อความนี้ คือ เป้าหมายของคน 100 คน ก็เชื่อได้ว่าผลของการดำเนินการจะสื่อออกไปได้กว้าง ตามที่คาดไว้ (Theory Y)

กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น http://www.nation.ac.th

การใช้บริการ sharethis.com

แบ่งปัน เนื้อหา
แบ่งปัน เนื้อหา

sharethis คือ บริการอำนวยความสะดวกในการ share เนื้อหาจากหน้าเว็บเพจ
ส่งถึงหน้า social network ของเพื่อนโดยง่าย
1. สมัครสมาชิกกับ sharethis.com
2. เชื่อมบริการ social network เข้ากับ sharethis.com
3. เลือกใช้บริการเพิ่ม sharethis.com ใน website ของเรา
4. รับ code
<script type=”text/javascript”>var switchTo5x=true;</script>
<script type=”text/javascript” src=”http://w.sharethis.com/button/buttons.js”></script>
<script type=”text/javascript”>stLight.options({publisher: “f53e4e65-4d03-4886-8585-139c248fbbd1”}); </script>
และ
<span class=’st_sharethis_vcount’ displayText=’ShareThis’></span>
<span class=’st_facebook_vcount’ displayText=’Facebook’></span>
<span class=’st_twitter_vcount’ displayText=’Tweet’></span>
<span class=’st_linkedin_vcount’ displayText=’LinkedIn’></span>
<span class=’st_email_vcount’ displayText=’Email’></span>
5. ใส่เข้าไปในเว็บไซต์ของเรา
6. เพื่อนที่เข้ามาในเว็บไซต์สามารถ share content ไปใน social network ของพวกเขา

สำหรับ wordpress webmaster
1. เข้า admin, appearance, editor
2. เปิด header.php แล้ววาง script ก่อนปิด head tag
3. เปิด footer.php แล้ววาง span ก่อนเปิด div tag of footer

วันต่อมาผมก็แก้ไขใหม่
แก้ไข widget ของ twitter ให้เหลือเพียง rpp:3
และย้าย sharethis จาก footer.php ไปท้ายสุดของ comments.php

http://support.sharethis.com/customer/portal/articles/517333-analytics-faqs

การเพิ่ม profile widget ของ twitter

profile widget
profile widget

ข้อมูลมากมายไหลอยู่ในโลกเสมือนจริง กลุ่มคนที่ใช้ twitter ก็จะส่งเสียง tweet กันอยู่ตลอดเวลา เสียงที่ออกมาอยู่ในรูปข้อความ 140 ตัวอักษร ที่แนบลิงค์ได้ และเราสามารถนำเสียงนั้นไปแสดงในเว็บเพจได้ด้วยบริการที่เรียกว่า widget ซึ่งมีตัวเลือก 4 ตัวคือ profile widget, search widget, faves widget หรือ list widget หรือจะใช้ facebook application ก็ทำได้

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2555 ผมตัดสินใจผูก profile widget เข้ากับ blog  ที่ดูแลอยู่ เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนอีกกลุ่มที่ติดอยู่ในโลกของ twitter เท่าที่สังเกต มีผู้คนไม่น้อยอยู่แต่ใน  twitter เพราะเขาไม่ได้ใช้ชีวิตกับการสืบค้นข้อมูล เพียงแค่ tweet ที่พลั่งพลูออกมา ก็หมดเวลาจะเหลียวซ้ายแลขวาแล้ว ถ้าจะพบพวกเขาก็ต้องเข้าไปในโลกของเขา

ดังคำว่า ไม่เข้าถ้ำเสือก็ไม่ได้ลูกเสือ แล้วนี่ก็ไม่ใช่เสือ แต่เป็น twitter

https://twitter.com/about/resources/widgets

โดยเพิ่ม profile widget เข้าไปใน wordpress ผ่าน Menu, Appearance, Widgets, Text ก็จะได้ผลเหมือนกล่อง twitter สีดำที่อยู่ทางขวาล่างของภาพ

<script charset=”utf-8″
src=”http://widgets.twimg.com/j/2/widget.js”></script>
<script>
new TWTR.Widget({
version: 2,
type: ‘profile’,
rpp: 9,
interval: 30000,
width: 200,
height: 300,
theme: {
shell: {
background: ‘#333333’,
color: ‘#ffffff’
},
tweets: {
background: ‘#000000’,
color: ‘#ffffff’,
links: ‘#4aed05’
}
},
features: {
scrollbar: false,
loop: false,
live: false,
behavior: ‘all’
}
}).render().setUser(‘thaiabc’).start();
</script>


Profile Widget
Display your most recent Twitter updates on any webpage.

Search Widget
Displays search results in real time! Ideal for live events, broadcastings, conferences, TV Shows, or even just keeping up with the news.

Faves Widget
Show off your favorite tweets! Also in real time, this widget will pull in the tweets you’ve starred as favorites. It’s great for moderation.

List Widget
Put your favorite tweeps into a list! Then show ’em off in a widget. Also great for moderation.

การใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ (itinlife325)

facebook
facebook

14 มกราคม 2555 นึกถึงภาพยนตร์เรื่อง Sphere ที่มนุษย์ได้แก้วสารพัดนึกมา 1 ลูก แต่คนกลุ่มหนึ่งเป็นระดับหัวกะทิของโลกได้สัมผัสแก้วนี้แล้วพบว่าขาดความพร้อม หรือใช้ไม่ถูกวิธี จนเป็นภัยต่อตนเองและกลุ่ม ในบทสรุปของภาพยนตร์พบว่ากลุ่มที่เหลือรอดพร้อมใจกันทิ้งลูกแก้วนี้ออกไปนอกโลก เพราะมนุษย์ในปัจจุบันยังไม่พร้อมที่จะใช้แก้วสารพัดนึกอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วทำให้นึกถึงเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมากมายในปัจจุบันว่ามีคุณอนันต์ และโทษมหันต์ ตัวอย่างของโทษเช่นอาวุธร้ายที่คิดค้นขึ้นเพื่อทำลายทั้งร่างกายและทรัพย์สิน อินเทอร์เน็ตที่ผู้คนมากมายหลงใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมจนเสียการเรียน เสียคน เสียเงิน หรือเสียงาน
ประโยชน์ของเทคโนโลยีนั้นชัดเจน เพราะเราใช้งานอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพอาจมีประเด็นให้พูดคุยกันหลากหลาย ตัวอย่างปัญหาของการใช้เทคโนโลยี อาทิ การใช้เครือข่ายสังคมในเวลางานจนทำให้ผลงานลดลง ผิดพลาด หรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่ การติดเกมในรูปแบบใหม่ทำให้เยาวชนใช้เวลาว่างอย่างไม่เหมาะสมเป็นเหตุให้พ้นสภาพการศึกษา หรือผลการเรียนตกต่ำ การแสดงความคิดเห็นเชิงลบผ่านเครือข่ายสังคมอาจทำให้ตนเองหรือครอบครัวเสื่อมเสีย ซึ่งล้วนเป็นการกระทำที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์

ปัญหาใหญ่ของการใช้เทคโนโลยีในการจัดการความรู้เกิดจากการมีอัตตาในตัวบุคคลที่ไม่นิยมแสดงความคิดเห็นให้ผู้อื่นได้นำไปใช้ประโยชน์ มีการพัฒนาเทคโนโลยีรองรับการจัดการความรู้ทั้งในกลุ่มคนทำงาน นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย แต่การใช้งานก็ยังเป็นความนิยมในระดับบุคคลมากกว่ากลุ่มองค์กร และมักไม่พบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านสื่อสาธารณะที่จะนำไปใช้เป็นข้อสรุปประกอบการตัดสินใจขององค์กร พบว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านบล็อก (Blog) หรือเครือข่ายสังคมมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการแลกเปลี่ยนในห้องประชุมที่มีสมาชิกไม่เกินสิบคน แม้เครือข่ายสังคมจะเป็นเทคโนโลยีที่รองรับจำนวนคนได้พร้อมกันจำนวนมาก กลับพบว่ามีน้อยครั้งที่จะเห็นการใช้ประโยชน์เพื่อหาข้อสรุปจากประเด็นกำหนด แต่ถ้ามีการรวมกลุ่ม กำหนดเป้าหมายตรงกันชัดเจน มีบทบาทหน้าที่ให้แต่ละคน ก็เชื่อได้ว่าจะเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน

การใช้ facebook ทำให้เกรดตก

http://ac219pyu22553s1.blogspot.com/2010/11/facebook.html

งานวิจัยระบุว่า ขณะทำการบ้าน ถ้าเปิด facebook ทิ้งไว้เฉย ๆ จะส่งผลให้การเรียนตกต่ำกว่าเพื่อน ๆลง 20 เปอร์เซ็นต์ เทียบระหว่างเด็กที่ใช้ และ ไม่ใช้ ถ้าใช้เกรดเฉลี่ยอยู่ที่ 3.06 ถ้าไม่ใช้อยู่ที่ 3.82

ผลกระทบต่อการทำงาน พบว่า บริษัทที่อนุญาติให้พนักงานใช้ facebook.com ขณะทำงาน ผลผลิตของพนักงานลดลง 1.5 เปอร์เซนต์จากผลผลิตทั้งหมด และมีองค์กรอีกมากที่ไม่ทราบเรื่องนี้

เขาว่า facebook ทำให้การเรียนเสีย ผลงานตก แต่เจ้าตัวไม่รู้
ผมว่าปัญหาใหญ่คือ เจ้าตัวรู้ แต่ผู้ปกครองไม่รู้