การวาดเพื่อการสื่อสาร
17 ก.ค.53 เข้าอบรมการวาดเพื่อการสื่อสาร และ การเขียนแผนที่มโนทัศน์ (CMAP = Concept mapping) ณ ห้องประชุม 2 กศน.ภาคเหนือ จัดโดยสถาบันนวัตกรรมกระบวนการเรียนรู้ชุมชน (Community Learning Process Innovation Institute)ในวันนี้มีหลายกิจกรรมเกิดขึ้นที่พอสรุปได้มีดังนี้ 1) เป้าหมายสี่ส่วน 2) เรียงคำย้อนกลับ 3) สี่วงกลมเป็นภาพ 4) การวาดตัวแทน อารมณ์ แขนขา สถานที่ และเส้น 5)วาดภาพนิยาย 6) แผนที่มโนทัศน์
คุณภัทรา มาน้อย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หลักสูตรการวาดเพื่อการสื่อสาร มีองค์ประกอบของหลักสูตรประกอบไป ด้วย 1) กิจกรรมการสร้างจินตนาการ : โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการทำ งานของสมองซีกขวา โดยการดึงจินตนาการจากจิตใต้สำ นึกผ่านกิจกรรมการวาดวงกลม 4 วงให้สัมพันธ์กันและการฟังเพล งสื่อความหมาย ทั้งนี้ให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความมั่นใจในการใช้จินตนาการของตนเอง 2) กิจกรรมการฝึกทักษะ/เทคนิค/วิธี การวาดรูป: โดยมีเป้าหมายให้ผู้เข้าร่วมนำ เทคนิคที่ได้เรียนรู้ไปผนวก กับจินตนาการที่มี ผ่านการเติมทักษะการวาดรูปร่าง หน้าตา อารมณ์ สถานที่ อาชีพ และการใช้เส้น ลูกศร 3) กิจกรรมการฝึกทักษะการสื่อสาร : โดยเน้นหลักการฟัง จับใจความ และการวาดเพื่อการสื่อสาร ผ่านกิจกรรม นิทานสร้างภาพ 4) กิจกรรมการนำแนวคิดการวาดเพื่อ การสื่อสารไปปรับ : โดยเติมเต็มแนวคิดการทำ CMAP (Conceptual Mapping) เช่น แบบใยแมงมุมหรือดาวกระจาย แบบช่วงชั้นของความคิด แบบ Flow ของงานก่อนหลัง แบบเชิงระบบหรือเชื่อมโยง แบบแผนภาพ และ แบบสามมิติ
การวาดแผนที่มโนทัศน์มีรูปแบบการวาด 6 แบบ ดังนี้ 1) แบบใยแมงมุมหรือดาวกระจาย (Spider Concept Map ) คล้ายแผนที่ความคิด 2) แบบช่วงชั้นของความคิด ( Hierarchy Concept Map ) คล้ายแผนผังองค์กร 3) แบบโฟลของงานก่อนหลัง (Flowchart Concept Map ) คล้ายวงจรพีดีซีเอ หรือขั้นตอน 4) แบบเชิงระบบหรือเชื่อมโยง (System Concept Map ) คล้ายกระบวนการแบบ PDCA เป็นวงจร 5) แบบแผ่นภาพ (Picture Landscape Concept Map ) คล้ายแผ่นภาพมาเชื่อมโยงกัน 6) แบบสามมิติ (Multidimensional / 3-D Concept Map ) เป็นภาพที่มีมิติทั้ง กว้าง ยาว สูง
และมีภาพในการอบรมของทีมงานเผยแพร่จำนวน 125 ภาพ
+ http://www.thaiall.com/research/manoi530717/
แผนที่มโนทัศน์ (Concept Mapping)
พัฒนาโดย Prof. Joseph D. Novack of Cornell University (1983)
http://www.prachasan.com/cmap/
http://www.prachasan.com/cmap/formcmap.html
การเขียนแผนที่มโนทัศน์เป็นเครื่องมือที่จัดอยู่ในกลุ่มของ
การสร้างภาพความคิด (Visualize Thinking)
ที่ได้รับความนิยม และนำไปใช้ในห้องเรียนต่างประเทศ
มีคำที่คล้ายกันคือ Mind Mapping ซึ่งเป็นการเขียนแผนที่ความคิด
ทั้งสองคำมีสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน คือ ต่างก็เป็นการถ่ายทอดภาพในใจ (Mental Model)
ออกมาสู่ภาพที่มองเห็น หรือจับต้อง หรือจัดการได้ (Visualize Thinking)
หรือในแง่ของการจัดการความรู้ (Knowledge Management – KM)
คือ การแปลงความรู้ที่เป็น Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge
กระบวนการเขียนแผนที่มโนทัศน์ มี 6 ขั้นตอน
1. ขั้นของการเตรียมการ (Preparation Step) รวบรวมคนที่คิดเห็นคล้ายกัน
2. ขั้นของการสร้างความคิด (Generation Step) ผ่านการระดมสมองและข้อมูล
3. ขั้นการจัดโครงสร้างความคิด (Structure Step) จัดกลุ่ม และลำดับความคิด ได้โครงสร้างหลัก
4. ขั้นสร้างภาพตัวแทนความคิด (Representation Step) นำเสนอภาพแทนความคิดที่ผ่านการประมวลร่วมกัน
5. ขั้นแปลความหมาย (Interpretation Step) นำภาพที่ได้มาแปลผล และสื่อสารให้เข้าใจ
6. ขั้นการใช้ประโยชน์ (Utilization Step) นำไปใช้ประโยชน์ตามลักษณะงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
http://www.thaiall.com/freemind/
facebook map