เขาว่า กรรม (Karma) คือการกระทำ (Acting or Doing) ถ้าดีก็ส่งผลดี ทำชั่วก็จะส่งผลชั่ว
เคยเห็นข่าวอยู่บ่อยคร้้ง
บางทีเชื่อว่าการทำชั่วเป็นความดี หลังทำชั่วแล้วรู้สึกดี .. เยอะเลย
เช่น แบ่งสีเสื้อทางการเมือง ต่างก็คิดว่าทุกคนทำกรรมดี ดีในแบบของตน
หรือที่ผมกินกุ้งเต้น .. จะรู้สึกใจเบิกบาน เมื่อได้กัดไปตัวกุ้งที่กำลังดิ้น
ทั้ง ๆ ที่กุ้งกำลังดิ้นรนด้วยความเจ็บปวด อยากร้องขอชีวิตก็ทำไม่ได้
ทุกวันนี้ผมต้องสะกดจิตตนเองว่า “สิ่งที่เรากิน ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน”
หรือกรณีพระที่ผิดศีลกามาฯ หรือสุราฯ ตามข่าวที่พบได้บ่อย
ทุกรูปมีธรรมไม่เฉพาะในใจ แต่มีติดกายกันเลย แต่ก็ยังประพฤติผิดศีล
เพราะท่านคิดว่าเป็นกรรมดีในแบบของท่าน แต่ไม่ใช่กรรมดีในสมณเพศ
—
ในทฤษฎีแรงจูงใจ – ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตวิญญาณ (Spiritual theory)
คุณจำลอง ดิษยวณิช (2545) ให้ความหมายของคำว่าจิตวิญญาณ ว่า “จิตวิญญาณ หมายถึง ภวังคจิต (the life continuum) ในพุทธศาสนา หรือจิตไร้สำนึก (the unconscious) ในจิตวิเคราะห์” จิตวิญญาณเป็นส่วนลึกภายในจิตใจของมนุษย์มีแรงจูงใจที่ทรงพลังอย่างหนึ่งคือ “กรรม” กรรมเป็นการกระทำของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นทางใจ ทางวาจา หรือทางกาย ถ้ากระทำกรรมดีก็จะส่งผลไปในทางที่ดี ถ้ากระทำกรรมชั่วก็จะส่งผลไปในทางที่ไม่ดี ทำกรรมเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น สมดังคำกล่าวว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”
—
ดังนั้นต้องระวังกรรมทั้งของตนเอง และจากผู้อื่นให้ดี
เพราะไม่รู้ว่าใครจะทำกรรมดีในแบบของเขา แต่เป็นกรรมชั่วในแบบของเราต่อเรา
http://www.thaiall.com/hci/