นักเลงคีย์บอร์ด (Keyboard gangster)
คนที่เล่นเป็นพิมพ์ คือ เบลล์ เขมิศรา พลเดช หรือ ก้อย ฮอร์โมน ซีชั่น 2 เกิด 16 ก.ย 38
คนที่เล่นเป็นแบงค์ คือ ภาวดี คุ้มโชคไพศาล
ผมนำมิวสิกวีดีโอเพลงนี้ไปเปิดให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นว่า
ผู้กำกับกำลังสื่อสารอะไรกับผู้ชม ก็มีหลายประเด็นที่นักศึกษาได้นำเสนอ
1. เรื่องย่อ ตามเนื้อเรื่องของคลิ๊ป
มีเด็กผู้หญิงสองคนพูดคุยกัน แต่ไม่เคยพบตัวกัน หรือเห็นหน้ากัน
เพราะต่างคนต่างไม่รู้จักหน้ากันจริง ๆ ต้องใช้การ์ดสีแดงเป็นสื่อว่าเป็นใคร
ฝ่ายคนหนึ่งโกหกกับอีกฝ่ายว่าตนเองเป็นผู้ชายชื่อแบงค์
ต่างฝ่ายต่างบอกรักกันผ่าน line
แต่วันที่พบหน้ากัน ฝ่ายที่โกหกไม่กล้าแสดงตัว แม้พบกันแล้วก็กลับเดินหนี
และไม่บอกความจริงว่า แท้จริงแล้วตนเองเป็นผู้หญิง
เมื่อถูกรบเร้าหนักเข้าก็ลบบัญชีของตน แล้วกลับเข้าไปคุยกับคนเดิมด้วยชื่อต้น
เริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ใหม่ เป็นการเริ่มต้นโกหกครั้งใหม่
แล้วคาดว่าจะต้องเสียใจในอนาคตอีกครั้ง
2. เรื่องย่อ ตามเนื้อเพลง
มีคนไม่น้อยที่ไม่กล้าแสดงออก
แต่เครือข่ายสังคมช่วยให้การสื่อสารง่ายขึ้น ใช้การพิมพ์ผ่านแป้นพิมพ์ง่ายกว่า
การพูดว่ารัก ก็ทำได้ง่าย ไม่เหมือนการพูดต่อหน้า
การพูดคุยทักทายก็ลื่นไหลไม่เคอะเขิน
แต่เมื่อพบหน้าก็เสียความมั่นใจไม่กล้าพูดคุย
และรู้สึกผิดที่โกหก แล้วก็เดินหนีทิ้งความจริงไว้ข้างหลัง
ได้แต่โกรธ และโทษตนเองว่าทำไมไม่กล้า
3. สะท้อนสังคมก้มหน้า
ปัจจุบันเราให้ความสำคัญกับคนไกลตัว มากกว่าใกล้ตัว
เพราะคนใกล้ตัวต้องใช้การพูดคุยแบบสองทาง
พูดแล้วก็ต้องฟัง และตอบสนองอย่างเหมาะสม
แต่การพูดผ่านสื่อสังคม ไม่ต้องรับผิดชอบมากเหมือนพูดต่อหน้า
พูดแล้วจะมีใครตอบกลับ เห็นด้วยหรือไม่ก็ได้ หรือไม่ก็ได้
การพูดผ่านการพิมพ์ การโพสต์ แล้วมักได้รับการยอมรับมากกว่า
แต่ในชีวิตจริงมักถูกยอมรับน้อยกว่าการสื่อสารในสื่อสังคม
คนที่ไม่ถูกยอมรับในชีวิตจริงมักไขว่คว้าหาการถูกยอมรับในสื่อสังคม
สังคมก้มหน้าจึงเกิดขึ้น เพราะผู้คนถวิลหาการถูกยอมรับ เติมเต็มความสุข
4. สังคมที่หาความจริงใจไม่ได้
ในสื่อสังคม เห็นแต่ภาพโปรไฟร์ เห็นแต่ข้อความผ่านแป้นพิมพ์
ซึ่งไม่รู้ว่าภาพจริง เสียงจริง หรือข้อความนั้นเป็นจริงหรือไม่
มีผู้หญิงโกหกว่าเป็นผู้ชาย และผู้ชายโกหกว่าเป็นผู้หญิงจำนวนมาก
บางครั้งพบผู้หญิงหน้าตาดีมาขอเป็นเพื่อน ก็พบว่าเขาตั้งใจมาขายของ
ซึ่งไม่อาจรู้ได้เลยว่าแท้จริงแล้วเป็นหญิงหรือชาย
เพราะสิ่งที่พบในสื่อสังคม ไม่อาจตรวจสอบได้ว่าจริงหรือไม่
จากคลิ๊ปนี้พูดคุยมาเป็นปี ฝ่ายหนึ่งถึงกับบอกรักอีกฝ่าย
ทั้งที่ไม่เคยเห็นหน้า ไม่เคยได้ยินเสียง ไม่เคยรู้ภูมิลำเนากันมาก่อน
เรียกว่าไว้ใจถึงขั้นรักกัน ทั้งที่ไม่รู้ตัวตนที่แท้จริงกันมาก่อน
ปัจจุบันจึงเกิดการหลอกลวงผ่านสื่อจำนวนมาก เพราะไว้ใจกันง่ายนี่เอง
โบราณว่า “อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง”
—
เนื้อเพลง
นักเลงคีย์บอร์ด ต่อหน้าไม่กล้าบอก
แต่ถ้ามีคีย์บอร์ด จะกล้าพิมพ์ออกไป
นักเลงคนหนึ่ง ผู้ซึ้งเป็นกับเขา ซะเมื่อไหร่
พูดความรู้ พูดความในใจ ต้องใช้แป้นพิมพ์จะพูดคำว่ารักคุณ ต้องต่อด้วยหน้ายิ้ม
จะพูดคำว่าคิดถึงคุณ ต้องใช้ปลายนิ้วจิ้มคุยได้ไหม ทำอะไรอยู่ครับ เมื่อเย็นรับประทานอะไรที่ไหน
หนังเรื่องนั้นสนุกนะ เพิ่งดูจบไป
เข้านอนแล้ว ฝันดีนะ พรุ่งนี้ละคะ ต้องรีบต้องตื่นแค่ไหน
พิมพ์เก่งจริง เรียกว่านิ้วมือมันตรงกับหัวใจนักเลงคีย์บอร์ด ต่อหน้าไม่กล้าบอก
พอไม่มีคีย์บอร์ด น้ำตาแทบไหล
แค่เพียงได้เห็นหน้าคุณ ที่เปื้อนรอยยิ้ม
แค่นั้นผมก็เสียสมดุล เหมือนโดนเข็มทิ่มเจอกันอีกแล้ว บังเอิญจริง ๆ นะ
พูดไม่เป็น เหมือนเป็นเช่นคนละคนกับที่พิมพ์เอาไว้
ผมต้องไปแล้ว ไปก่อนนะ
โกหกทำไมวะ จริง ๆ ไม่ต้องไปไหนเธอไปแล้ว ได้แต่โกรธแค้นตัวเองในหัวใจ
นักเลงคีย์บอร์ด (นักเลงคีย์บอร์ด)
ต่อหน้าไม่กล้าบอก (ต่อหน้าไม่กล้าบอก)
แต่ถ้ามีคีย์บอร์ด จะกล้าพิมพ์ออกไป
ต้องมีวันหนึ่ง (ต้องมีวันหนึ่ง) ชีวิตจริงไปถึงเส้นชัย
พูดความรู้สึก พูดความในใจ ไม่ต้องใช้แป้นพิมพ์ไม่ต้องใช้นิ้วจิ้ม คุณรอก่อนได้ไหม..
ผลงานของ ภาวดี คุ้มโชคไพศาล