l3nr.org เป็นห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) ที่ไม่เปิดรับสมาชิกใหม่ไปซะแล้ว

ชอบเว็บไซต์ l3nr.org และแนะนำให้นักศึกษาเข้าใช้บริการเป็นเวทีปล่อยของบ่อยครั้ง เพราะเว็บไซต์นี้เป็นแหล่งปล่อยของสำหรับนักเรียนนักศึกษา ดังคำสำคัญ หรือนิยาม ที่พบในเว็บไซต์ว่า L3nr คือ “เกมส์การเรียนรู้” หรือ “เกมส์กลับหัว เพื่อห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom)” และ “การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทางนั้น ผู้สอนจะจัดกิจกรรมหลากรูปแบบโดยใช้เครื่องมือหลายอย่างทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน แบบกลุ่มและแบบรายบุคคล

แล้วปี 2017 จะให้นักศึกษาไปปล่อยของกันที่นี่เหมือนเดิม ก็มีนักศึกษาเข้าไปสมัครสมาชิก แล้วพบข้อความว่า “ระบบ L3nr ในขณะนี้ไม่เปิดรับสมาชิกใหม่แล้วค่ะ กรุณาใช้งานระบบ ClassStart ซึ่งเป็นระบบจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ที่สมบูรณ์ที่สุดของไทยในปัจจุบัน” สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่รับสมาชิกใหม่ของเว็บไซต์นั้น เคยเกิดขึ้นกับหลายเว็บไซต์มาแล้ว อาทิ geocities.com หรือ thai.net เป็นต้น ซึ่งแต่ละเว็บไซต์ก็มีเหตุผลที่ต้องปรับนโยบายไปเช่นนั้น ซึ่งผู้ดูแล L3nr.org มีอีก 2 เว็บไซต์หลักที่ต้องดูแล และดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ได้แก่ GotoKnow.org คือ เว็บไซต์สำหรับคนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บันทึกประวัติศาสตร์ชีวิตและการทำงาน ครู อาจารย์ คนทำงานภาครัฐและภาคสังคม และ ClassStart.org คือ ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต จัดการการเรียนการสอนได้ง่าย ไม่ต้องติดตั้งระบบเอง เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา

อ่านนิยามของเว็บไซต์ L3nr.org เสร็จ .. ทำให้นึกถึงน้อง Kittichai Mala-in FramyFollow (ป.6) ที่ใช้ medium.com เป็นเวทีแชร์ประสบการณ์ใน โรงเรียนบ้านง่อนหนองพะเนาว์มิตรภาพที่ 126 ตั้งแต่สมัย ป.3 ที่ทำ root Smartphone ของ True ผ่าน King Root พอขึ้น ป.4 กับ ป.5 สร้างเกมด้วย RPG Maker VX เดี๋ยวนี้ ป.6 สนใจ Dream Weaver CS5 กับ CSS ได้ความรู้เยอะเลยจาก thaicreate.com เขียนได้ดี น่านำไปแชร์ต่ออย่างมาก

แล้วนึกถึงหนังสือ ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูเป็นโค้ช ของ อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ มี quote ที่หน้าปกว่า “ฉีกกฎการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ เพิ่มหลังการเรียนรู้ให้เด็กไทย
ด้วยห้องเรียนที่สร้างสรรค์อย่างแท้จริง
” แล้วห้องเรียนกลับทางก็เป็นห้องเรียนที่สร้างสรรค์อีกรูปแบบหนึ่ง

สรุปว่า .. มีเวทีมากมายที่เป็นห้องเรียนกลับหัว ที่ให้นักเรียนนักศึกษาใช้เป็นเวทีปล่อยของ จะปล่อยกันเองตามอำเภอใจ ปล่อยตามประเด็นที่ครูอาจารย์มอบหมาย หรือปล่อยเพื่อประกวดแข่งขัน ก็ทำได้ตามสะดวก อย่าใช้แต่เฟสบุ๊กโปรไฟร์หรือแฟนเพจอย่างเดียว ก็แนะนำให้ไปใช้ในหลายแหล่ง มีเวทีมากมายที่เปิดรับเป็น public อย่างแท้จริง อาทิ  1) blogger.ccom, 2) wordpress.com, 3) oknation.net=oknation.nationtv.tv, 4) medium.com, 5) dek-d.com, 6) gotoknow.org, 7) github.com, 8) FreeWebHosting อีกมากมาย และนี่ยังไม่นับรวมเวทีมัลติมีเดียทั้ง คลิ๊ปวีดีโอ เสียง ภาพ ซอฟต์แวร์ หรืออีบุ๊ค เป็นต้น

ใน 7 sites แรกที่แนะนำไปด้านบน
มี WordPress.com ที่ชอบมากเป็นพิเศษ เพราะ export post ที่เลือกแบบ published ไปให้เพื่อนที่ลง WP ไว้ในระบบ แล้ว import แฟ้ม XML ได้เลย เรียกว่า ปล่อยของไว้ที่ WP วันดี คืนดี อยากเปลี่ยนเวที ก็ Export ไปที่อื่นได้เลย

นี่ผมก็ export จากไซต์ของ wordpress.com ได้แฟ้ม xml ไปฝากไว้กับ github.com
ที่ https://github.com/thaiall/programming-page/tree/master/wordpress

 

ก่อนหน้านี้ก็มีเว็บไซต์ดี ๆ อย่าง Wonkdy.org
เขียนโดย ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ ร่วมเขียนโดย ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์
http://www.usablelabs.org
ข้อมูลจาก https://web.archive.org/web/20150908071932/https://www.wonkdy.org/pages/101

ในวันที่เจ้าต้นไม้เข้าเรียนประถมหนึ่ง แม่ถามพ่อว่า “รู้ไหม ลูกเราจะต้องเรียนอะไรบ้าง?”

แน่นอนว่าพ่อตอบไม่ได้และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ Wonkdy Academy (หวังดี อคาเดมี)

หวังดี อคาเดมี เป็นพื้นที่รวบรวมโน้ตของพ่อและแม่เพื่อจะได้รู้และช่วยสอนลูกได้ เพราะพ่อกับแม่เชื่อว่าการเรียนรู้ที่ดีเพื่อพัฒนาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องเริ่มต้นที่บ้าน

หวังดี อคาเดมี เป็นพื้นที่ออนไลน์ที่พ่อและแม่จะได้แบ่งปันเนื้อหาเหล่านี้ให้พ่อและแม่ของคนอื่นๆ ต่อไปเพราะเราอยู่ในสังคมเดียวกัน การเกื้อกูลกันโดยแบ่งปันความรู้คือของขวัญที่ดีที่สุดที่จะมอบให้แก่สังคม

นอกจากนี้พ่อและแม่ยังชักชวนพี่น้องเพื่อนฝูง ทั้งในวงการการศึกษาที่พ่อและแม่ทำงานอยู่และคนอื่นๆ ที่มีความตั้งใจเดียวกัน เพื่อร่วมกันแบ่งปันเนื้อหาดีๆ ให้ทุกคนสามารถตอบคำถามเดียวกันที่แม่ถามพ่อได้ว่า “เรารู้ว่าลูกเราเรียนอะไร”

หวังดี อคาเดมี เป็นระบบเพื่อสนับสนุนการเขียนร่วมกันในลักษณะเดียวกันกับ Wikipedia โดย หวังดี อคาเดมี พยายามพัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายที่สุด สอดคล้องกับการใช้งานของคนไทย และเหมาะกับเนื้อหาด้านการศึกษามากที่สุด

โครงการ หวังดี อคาเดมี ให้บริการโดย ศูนย์พัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการความรู้และการเรียนรู้ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ส่วนคำว่า “หวังดี” นั้นมาจากคำแปลของคำว่า “ปิยะวิชญ์” (Piyawish) ที่เป็นชื่อจริงของเจ้าต้นไม้ ที่พ่อและแม่พยายามคิดโดยเอาบาลีบวกสันสกฤตบวกอังกฤษเพื่อเป็นชื่อของ “ดช.หวังดี” คนดีของพ่อและแม่นั่นเอง

ปล. เรารู้ความหมายของคำว่า wonk, wonky, (และ wank) ในภาษาอังกฤษดีจึงตั้งชื่อเว็บนี้ว่า “wonkdy” เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงระบบการศึกษาของโลกนี้ที่พ่อกับแม่ได้เจอมา และด้วยความหวังว่าลูกคงได้เจอสิ่งที่ดีกว่า

 

สมการหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเกิดขึ้น

framework
framework

การจัดการองค์กรในปัจจุบันจำเป็นต้องประยุกต์ใช้สารสนเทศ แต่สารสนเทศที่ดีจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ แล้วมีการใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุน กำกับการทำงานให้มีประสิทธิภาพตอบเป้าหมายขององค์กร ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับการจัดการ ระดับบริหาร และระดับนโยบาย

ดังนั้นกรอบแนวคิดของการได้สารสนเทศมาเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทุกระดับ คือ การมีเว็บไซต์ที่ทุกฝ่ายเข้าถึงได้ (Website) การใช้กระบวนการจัดการกำกับให้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล (POSDC) การพัฒนาระบบเป็นวงจร (ADDIE) การจัดการความรู้ที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (KM) และประเด็นสารสนเทศที่พัฒนาได้แก่ ระบบฐานข้อมูลเนื้อหาของหน่วยงานที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ (Content Management) ระบบรายงานผลการเรียนให้นิสิตได้ทราบระดับความสามารถของตนเองเพื่อการพัฒนาต่อไป (Online Grade Report) ระบบประเมินการเรียนการสอน และสิ่งสนับสนุนให้อาจารย์และผู้เกี่ยวข้องได้ข้อมูลย้อนกลับจากนิสิตมาปรับปรุงงานของตน (Teaching Evaluation)

โดยสารสนเทศที่ได้มาจากระบบจะกลับเข้าสู่ระบบบริหารจัดการองค์กร เข้าสู่ระบบในระดับนโยบายเพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ แผนงาน/โครงการ ตามเป้าหมายของสถาบัน และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพ เกิดการบูรณาการ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องต่อไป

นิยามศัพท์

W (Website) คือ แหล่งสารสนเทศให้บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจเข้าถึงได้

POSDC คือ กระบวนการจัดการ ของ แฮร์โรลด์ คูนตซ์

ADDIE คือ โมเดลการพัฒนาระบบ

KM คือ การจัดการความรู้ เสนอโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

C (Content Management) คือ ระบบจัดการเนื้อหาที่ดูแลโดยหน่วยงานต่าง ๆ

G (Online Grade Report) คือ ระบบรายงานผลการเรียนสำหรับนักศึกษา

E (Teaching Evaluation) คือ ระบบประเมินการเรียนการสอนของอาจารย์ และสิ่งสนับสนุน

I (Information) คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และผู้บริหาร

ปาร์ตี้กาแฟ ปาร์ตี้น้ำชา ปาร์ตี้ขนม หรือปาร์ตี้บลา ๆๆๆ

3d people holding pieces of a jigsaw puzzle with the word teamwork.
3d people holding pieces of a jigsaw puzzle with the word teamwork.

1. กาลครั้งหนึ่ง ราว 7 ปีล่วงมาแล้ว
มีกิจกรรมเกี่ยวกับการประชุมที่เลี้ยงกาแฟ
ตอนนั้นผมยังไม่เรียกว่า KM (การจัดการความรู้)
เห็นทำกันทั้งภายในองค์กร และนอกองค์กร
หัวหน้าจะชวนลูกน้อง มาดื่มกาแฟกับปลาท่องโก๋ช่วงเช้า ๆ
มากันก่อน 8.00น. เลยหละครับ
ทุกครั้ง เพราะนัดหมายคือก่อนเข้าทำงาน มีขนม นมเนยเลี้ยง
ทำให้นึกถึงสภากาแฟของจังหวัด ที่จัดกันเป็นประเพณีก็ว่าได้
ที่จะเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ออกมาพูดคุยแลกเปลี่ยน
หัวหน้าท่านบอกว่า informal meeting
2. ก่อนหน้านี้
หน่วยเหนือ ก็จะส่ง ผบ. มาชวนกันพูดคุยแลกเปลี่ยน
แบ่งเป็นกลุ่ม white collar และ blue collar
จัดให้มีการเปิดอกเปิดใจ ถึงขนาดน้องบางท่านระบายความในใจทั้งน้ำตา
แบ่งปันทุกข์ที่อัดอั้นอยู่ แบ่งปันสุขก็มีบ้าง การได้ระบายก็ช่วยให้ผ่อนคลายได้
เป็นเทคนิคที่ทำกันในหลายองค์กร (เคยเรียนมาว่าที่ญี่ปุ่นเขาทำกัน)
แล้วเราก็มีมาตรการหลายอย่างออกมาทำร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม
สืบเนื่องจากการหนุนใจของ ผบ. และเปิดทางของทุกฝ่าย
https://www.pinterest.com/pin/430304939367070195/
3. กรณีศึกษา (อ่านยากหน่อยครับ)
การทำ KM เป็นเรื่องปกติ และควรต้องปกติ เพราะเป็นกิจกรรมหนึ่ง
ในการประกันคุณภาพการศึกษา คือ องค์ประกอบหนึ่งของคณะและสถาบัน
เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรอย่างไม่เป็นทางการ
อาจมีชื่อ เช่น ปาร์ตี้กาแฟ ปาร์ตี้น้ำชา ปาร์ตี้ขนม ก็แล้วแต่จะเรียก
แล้วผู้ที่เชี่ยวชาญชีวิต หรือ ชช. เพราะเดี๋ยวนี้ สว. ดูจะไม่น่ารักอีกแล้ว
ท่าน ๆ ก็จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน และแบ่งปันประสบการณ์มากมาย
1) งานแบบนี้ สาว ๆ ชช. มักใช้เป็นเวทีเปิดใจ (local share)
แล้วออกมาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตก่อนหน้านี้
หวังว่าเด็ก ๆ ในเวทีจะได้เรียนรู้ และเตือนสติ
ว่า “ทำให้ ไม่ได้ทำเอา” อย่ายึดติด “ทำเอา ไม่ได้ทำให้”
บางท่านก็เรียกร้องระบบ
บางท่านก็ไม่ชอบระบบที่ยืดหยุ่น เปลี่ยนเร็ว
บางกรณีก็เปลี่ยนเร็วดุจพลิกฝ่ามือ นั่นก็เร็วไป
2) ชช. บางท่าน อาจมาจากองค์กรระดับชาติ (inter. share)
อาจให้ข้อคิดดี ๆ เช่นหลัก  4 M
ว่าประกอบด้วยผู้ชาย ทรัพยากร จัดการและตัง
เห็นการเชื่อมโยง M&M ได้ชัดเจน
3) หลังจาก ชช. แบ่งปันแล้ว (response)
ดด. (เด็ก ๆ) ก็แลกเปลี่ยนด้วยว่า ระบบ ระเบียบต้องรักษา
กฎเกณฑ์ ข้อบังคับนั้น ยืดหยุ่นได้เสมอ อย่างห่วงเรื่องกฏ
ถ้าจริงใจ ขึ้นกับเหตุผล ทุกอย่างก็จะผ่านไปด้วยดี
4) ทุกเวที มีทั้งบวก และลบคละเคล้า (positive & negative)
เวลาทำงาน บางท่านก็ทำด้วยความภาคภูมิใจ
ชวนกันภูมิใจในงานที่ทำ หนุนใจ ฟังแล้วก็ชื่นใจ
งานมากมายอาศัยทั้งกำลังภายใน และกำลังภายนอก
อาศัยเครือข่าย อาศัยจิตสาธารณะ และบูรณาการ
แล้วเราก็ชื่นชมความสำเร็จร่วมกัน
5) กฎกติกามีเสมอในทุกเวที (rule)
ผู้ใหญ่ใจดีท่านมักจะสร้างความมั่นใจได้ชัดเจน
ฉายภาพให้เห็นความก้าวหน้า ความมั่นคง แสงที่ปลายอุโมง
ระบบและกลไกที่จะนำไปสู่ความสำเร็จก็ชัดเจน
ทำให้เกิดความเชื่อมั่นที่มากอยู่แล้วให้มากยิ่งขึ้น
6) มีคำถามที่ท้าทายคนทำงานอยู่เสมอ ๆ (challenge question)
ถ้ามีโอกาสได้งานใหม่ที่น่าสนใจ และถูกชักชวนไป จะไปไหม
ก็เชื่อได้ว่า จะมีอะไรอะไรคอยฉุดรั้งไว้ไม่ให้เลือกงานใหม่ที่น่าสนใจได้
เช่น เพื่อนร่วมงานที่น่ารัก ลักษณะงานที่เห็นความก้าวหน้า
ทำงานใกล้บ้าน รายได้ที่เลี้ยงตัวเองได้ เจ้านายที่รัก
หรือสวย สนุก อบอุ่น สำเร็จ ก้าวหน้า อะไรทำนองนี้

Tea party

tea party
tea party

กรณีศึกษา tea party #KnowledgeManagement
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เปิดให้บุคลากร
ได้มาพบปะ เป็นการละลายพฤติกรรมที่นิยมในหลายองค์กร
แบบ mouth to mouth หรือ mouth ๆ นั่นเอง
องค์กรใดสนใจ หยิบจับไปทำได้นะครับ
นั่งล้อมวงซดกาแฟ ชา และขนมปังกรอบกัน

ใช้บริการ learners.in.th หรือ l3nr.org ส่งเสริมการจัดการความรู้

l3nr และ link ของ post
l3nr และ link ของ post

แหล่งจัดการความรู้ที่ learners.in.th หรือ l3nr.org
ก็เป็น blog ที่ดีสำหรับการเป็น “ห้องเรียนกลับทาง”
หรือเว็บไซต์ : เกมส์การเรียนรู้
ถ้านักศึกษา post อะไรที่นั่นแล้ว
ผมก็จะให้ส่งลิงค์ของโพสต์
เช่น https://www.l3nr.org/posts/558635
แต่ถ้าสร้างชั้นเรียนไว้เก็บอะไรก็จะให้ส่งลิงค์ชั้นเรียน
เช่น https://www.l3nr.org/c/tech101572
ส่วนงานในชั้นเรียน ที่เป็นบันทึก ก็จะคล้ายงานนอกชั้นเรียน มีลิงค์
เช่น https://www.l3nr.org/posts/553537

l3nr home
l3nr home

ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร ที่วัดก็เป็นชีวิตจริง ที่ต้องมีคุณภาพ

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในข่าวแต่อย่างใด
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในข่าวแต่อย่างใด

เดี่ยวนี้การประกันคุณภาพลงไปที่วัดวาอารมแล้ว
คุณภาพของวัด ขึ้นอยู่กับศรัทธา ถ้ามีจำนวนศรัทธามาก เงินบริจาคมาก
ศรัทธามีความเลื่อมใส ในหลายปัจจัย ทั้งวัตถุ ทำเล และตัวบุคคล
แสดงว่าวัดนั้นมีคุณภาพ เกณฑ์การวัดคุณภาพของวัดอาจมีหลายตัวบ่งชี้
เรื่องหนึ่ง ๆ มีอะไรให้เรามองเยอะ
บางคนมองเหตุ บางคนมองผล บางคนมองถูกผิด บางคนมองพระธรรม
แต่เรื่องนี้ผมสนใจที่กระบวนการ

จากข่าวที่
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435994010
“จึงขอให้เจ้าคณะอำเภอตรวจสอบว่าในอำเภอที่ปกครอง มีวัดไหนบ้างที่มีคนมาทำบุญที่วัดประจำไม่ถึง 50 คน
ถ้าเป็นวัดของเจ้าคณะตำบล ให้เจ้าคณะอำเภอออกคำสั่งตำหนิโทษเป็นเวลา 3 เดือน
และถ้าพระสังฆาธิการที่ถูกตำหนิโทษยังไม่ดำเนินการตามมติของมหาเถรสมาคม (มส.) อีก
ให้เจ้าคณะผู้ปกครองทำเรื่องเพื่อเสนอขอปลดพระสังฆาธิการรูปนั้น
และให้เจ้าคณะจังหวัดออกคำสั่งปลดออกจากตำแหน่ง
ด้วยเหตุขัดมติ มส.และไม่สนองงานคณะสงฆ์จังหวัดฯ ในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5”

อ่านดู เห็นว่ามีตัวบ่งชี้เดียว คือ จำนวนคนมาทำบุญ
เขียนเป็นซูโดโค้ดได้ว่า

if (จำนวนคนทำบุญ < 50) {

if (วัดของเจ้าคณะตำบล == true)
if (ไม่เคยได้รับหนังสือตำหนิ == true)
do(“ออกหนังสือตำหนิ”)
else
if (ได้รับหนังสือ >= 3เดือน) do(“ทำเรื่องขอปลดจากตำแหน่ง”)

} else {
do(“ผ่านเกณฑ์ ได้คุณภาพ”)
}

แสดงว่าตำแหน่งของพระสงฆ์ในวัด เป็นสิ่งที่พระสงฆ์ต้องพึงรักษาไว้
ด้วยคิดเป็นระบบ เป็นกระบวนการ เป็นขั้นตอน เป็นกลไก
ตั้งแต่การวางแผนปฏิบัติการ (action plan) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan)
แล้วดำเนินการตามแผนเพื่อตอบเป้าหมายของแผน (do)
แล้วมีการตรวจสอบว่าดำเนินการครบถ้วนตามแผนหรือไม่ (check)
หากมีประเด็นต้องแก้ไขก็ดำเนินการปรับปรุง (action)

ต่อไปวัดต่าง ๆ คงต้องมีการจัดการความเสี่ยง (Risk management)
เพื่อป้องกันการถูกตำหนิในอนาคต
แล้วควรมีการจัดการความรู้ (Knowledge management)
เพื่อให้ทุกคนเข้าใจแผน ตรงตามเป้าหมาย ดำเนินการได้ครบถ้วนสมบูรณ์
ตามประเด็นที่ตั้งไว้ เป็นการเคเอ็มเพื่อต่อยอดการพัฒนวัด

หัวข้อต่าง ๆ ในหนังสือการจัดการความรู้เก่า 7 เล่ม

หัวข้อต่าง ๆ ในหนังสือการจัดการความรู้เก่า 7 เล่ม
มีเหตุผลมากมาย ที่คนไทยสนใจเรื่องการจัดการความรู้
พบในหนังสือการจัดการความรู้ ฉบับขับเคลื่อน LO ของ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด
หน้า 16 ว่า ตามที่ระบุในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ.2546 (หมวด 3 มาตรา 11) ดังใจความตอนหนึ่งว่า
"ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ"
โดยที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนดให้ทุกส่วนราชการดำเนินการเรื่อง KM และ LO
ตามที่ระบุไว้ในคำรับรองปฏิบัติราชการ (มิติที่ 4 -มิติด้านการพัฒนาองค์กร)

ผมสนใจเรื่องนี้เพราะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ตามแนวทางการจัดการความรู้
แล้วก็ไปค้นหนังสือเก่า ๆๆๆ ในห้องสมุดพบ 7 เล่ม
แล้วนำชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่งไปสอบถามกับ se-ed.com พบว่าเหลือเล่มเดียว
ของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช แล้วนอกนั้นก็ขายหมดแล้ว และไม่พิมพ์ใหม่ มีดังนี้
1. การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ วิจารณ์ พานิช 9744096861
พิมพ์ครั้งที่ 4 กันยายน 2551
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
บทที่ 1 ปฐมบท
บทที่ 2 คนสำคัญของการจัดการความรู้
บทที่ 3 การจัดระบบการจัดการความรู้
บทที่ 4 การฝึกอบรม
บทที่ 5 การเริ่มต้นการจัดการความรู้
บทที่ 6 การดำเนินการจัดการความรู้
บทที่ 7 เครื่องมือ
บทที่ 8 ฐานข้อมูลความรู้
บทที่ 9 เครือข่ายจัดการความรู้
บทที่ 10 ทางแห่งความล้มเหลว
บทที่ 11 แนวทางแห่งความสำเร็จ
บทที่ 12 การจัดการความรู้ในสังคมไทย

2. การจัดการความรู้ ฉบับขับเคลื่อน ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด 9744914998
พิมพ์ครั้งที่ 6 กันยายน 2550
สำนักพิมพ์ใยไหม
บทนำ มองภาพใหญ่ เข้าใจภาพรวม
บทที่ 1 สิ่งที่แตกต่างระหว่างความรู้สองประเภท
บทที่ 2 การจัดการความรู้ไม่รู้จบ "infinity KM"
บทที่ 3 โมเดลปลาทู สำหรับผู้ที่เป็น "มือใหม่"
บทที่ 4 LO คืออะไร เกี่ยวข้องกับ KM อย่างไร
บทที่ 5 ประสบการณ์จากหน่วยงานที่ "ทำจริง"
บทที่ 6 ไขข้อข้องใจ ก่อนใส่เกียร์ "เดินหน้า"
บทส่งท้าย ไหลลื่นไปกับคลื่นแห่งปัญญา

3. KM วันละคำ "จากนักปฏิบัติ KM สู่ นักปฏิบัติ KM" ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 9744098384
พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2549
ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด
หมวดที่ 1 ความสำคัญในการจัดการความรู้
- ผู้บริหารกับการจัดการความรู้
- คุณเอื้อ
- คนสำคัญอื่น ๆ
- ความสำคัญอื่น ๆ
หมวดที่ 2 เครื่องมือเรียนรู้
- โมเดล
- เครื่องมือชุดธารปัญญา
- เครื่องมืออื่น ๆ
- Appreciative Inquiry (AI)
หมวดที่ 3 อภิธาน KM : สร้างบ้าน KM
- เสาเข็มและคาน
- เสาและฝา
- หลังคา
หมวดที่ 4 กลเม็ด KM
หมวดที่ 5 กระบวนทัศน์ KM
หมวดที่ 6 เครือข่าย KM
หมวดที่ 7 หลากมิติหลายมุมมองของ KM

4. การจัดการความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ นงลักษณ์ ประสพสุขโชคชัย บุญดี บุญญากิจ 9749239598
พิมพ์ครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2548
บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส จำกัด
บทที่ 1 ความสำคัญของการจัดการความรู้
บทที่ 2 ความหมายของการจัดการความรู้
บทที่ 3 กรอบความคิดการจัดการความรู้
บทที่ 4 วงจรการจัดการความรู้แบบ 3 มิติ
บทที่ 5 จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
บทที่ 6 เรียนรู้เพื่อปรับปรุง ภาคผนวก
ภาคผนวก ก.ความสำคัญของการจัดการความรู้ต่อองค์กร
ภาคผนวก ข.Most Admired Knowledge Enterprises(MAKE)
ภาคผนวก ค.เครื่องมือในการจัดการความรู้
ภาคผนวก ง.แบบประเมินการจัดการความรู้ขององค์กร
ภาคผนวก จ.บรรณานุกรมเว็บไซต์

5. องค์การแห่งความรู้ จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
The Knowledge Organization : From Concept to Practice รศ.ดร.ทิพวรรณ  หล่อสุวรรณรัตน์ 9742316589
พิมพ์ครั้งที่ 5 เมษายน 2552
สำนักพิมพ์รัตนไตร กรุงเทพมหานคร
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ และความรู้
บทที่ 3 คุณลักษณะของความรู้
บทที่ 4 แนวคิดการจัดการความรู้
บทที่ 5 กระบวนการจัดการความรู้
บทที่ 6 การเรียนรู้ขององค์การและการจัดการความรู้
บทที่ 7 กลยุทธ์การจัดการความรู้
บทที่ 8 การจัดการทรัพยากรมนุษย์กับการจัดการความรู้
บทที่ 9 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้
บทที่ 10 การประเมินผลการจัดการความรู้
บทที่ 11 กรณีศึกษาองค์การแห่งความรู้

6. การจัดการความรู้ พื้นฐานและการประยุกต์ใช้ Knowledge management พรธิดา วิเชียรปัญญา 9749209087
พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2547
ธรรกมลการพิมพ์
บทที่ 1 บทนำ การจัดการความรู้ สังคมแห่งความรู้ และการบริหารองค์การยุคใหม่
บทที่ 2 แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการความรู้
บทที่ 3 การจัดการความรู้กับการบริหารองค์การยุคใหม่
บทที่ 4 การประยุกต์ใช้การจัดการความรู้ในสังคมไทย

7. การจัดการความรู้กับคลังความรู้
Knowledge management and Knowledge center ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน 9749191595
พิมพ์ครั้งที่ 1 2547
บริษัท เอสอาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด
บทนำ การแสวงหาความรู้
บทที่ 1 การจัดการความรู้
บทที่ 2 ความรู้ในองค์กร
บทที่ 3 องค์กรจัดการความรู้
บทที่ 4 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้
บทที่ 5 คลังความรู้

ค้นหา ทูน่าโมเดล ที่เป็นเรื่อง KM ไม่ใช่ปลาทู

tuna model
tuna model

ค้นหาคำว่า “โมเดลทูน่า” “ทูน่าโมเดล” “ตัวแบบทูน่า
โมเดลปลาทู” “ปลาทูโมเดล” “ตัวแบบปลาทู
โดยกำหนดการค้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใด ในทุกเขตข้อมูล ทุกมหาวิทยาลัย และทุกเอกสาร
จากฐานข้อมูล thailis (Thai Library Integrated System)
พบเอกสารของ ณัฐพล สมบูรณ์

Title ระบบการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
Title Alternative An information technology knowledge management system : a case study of the permanent secretary of ministry of finance office
Creator Name: ณัฐพล สมบูรณ์
Subject ThaSH: การบริหารองค์ความรู้ฐานข้อมูล
ThaSH: ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
ThaSH: ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
Description Abstract: ปัญหาพิเศษฉบับนี้ได้นำเสนอ ระบบการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสร้างระบบถามตอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในรูปแบบของเว็บแอพพลิเคชัน (Web Application) ขึ้นมาใช้งานภายในหน่วยงานสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อรองรับในส่วนของการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่ให้อยู่ในรูป แบบเว็บไซต์เพื่อให้ง่าย ในการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานเพื่อศึกษาหาความรู้ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหา ข้อผิดพลาดเบื้องต้นด้วยตนเอง ทั้งยังเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยใช้โมเดลปลาทูในการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหาบทเรียนต่าง ๆ บททดสอบ และบทความด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ที่ทันสมัยอยู่เสมอ จากการประเมินระบบทาการประเมินจากกลุ่มผู้ใช้งานในสำนักงานปลัดกระทรวงการ คลังโดยแบ่งเป็นการประเมินประสิทธิภาพระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานจำนวน 30 คน ซึ่งผลของการประเมินประสิทธิภาพระบบโดยผู้เชี่ยวชาญโดยรวม พบว่าอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.23) และผลของการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบโดยรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.86) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง
Abstract: This paper proposes a web application for the Permanent Secretary of Ministry of Finance Office (MOF) to support the existing information management. This system is in the form of a website aimed to facilitate the MOF’s office and enhance their knowledge effectively. Moreover, this system also provides a way to exchange information and help solve problem on one’s own with the ability to continually update. Tools used in the development of the system included the Tuna Model which consists of lesson, examination, and an information technology column. The evaluation of the system’s performance was conducted by experts and general users. The Average Mean and Standard Deviation of results from experts were 4.46 and 0.23. The Average Mean and Standard Deviation of results from general users were 3.89 and 0.86. In summary, the result of the evaluation indicates that the satisfaction of the developed system is relatively high and achieved all goals.
Publisher มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สำนักหอสมุดกลาง

http://tdc.thailis.or.th/tdc/

ค้นจาก google.com
พบเรื่อง การจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ก็พบวรรณกรรมที่น่าสนใจ
http://research.pcru.ac.th/rdb/pro_data/files/5101034.pdf

ตัวแบบทูน่า (Tuna Model) เป็นกรอบแนวคิดอย่างง่ายในการจัดการความรู้
โดยให้การจัดการความรู้เปรียบเสมือนปลา ซึ่งประด้วยส่วนหัว ลำตัว และหาง แต่ละส่วนมีหน้าที่ที่ต่างกันดังนี้
1. ส่วนหัวและตา (Knowledge Vision – KV)
คือ ส่วนที่มองว่ากำลังจะไปทางไหน ซึ่งต้องตอบให้ได้ว่า “ทำ KM ไปเพื่ออะไร”
2. ส่วนกลางลำตัว (Knoledge Sharing – KS)
คือ ส่วนที่เป็นหัวใจให้ความความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือ เกื้อกูลกันและกัน
3. ส่วนหาง (Knowledge Assets – KA)
คือ ส่วนสร้างคลังความรู้ เชื่อโยงเครือข่าย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ “สะบัดหาง” สร้างพลังจากชุมชนแนวปฏิบัติ

ดร.ประพนธ์  ผาสุกยืด (2550 : 21-26)
ส่วนที่ 1 ส่วนหัว เรียกว่า “KV” (Knowledge Vision)
หมายถึงส่วนที่เป็นวิสัยทัศน์ หรือเป็นทิศทางของการจัดการความรู้
ส่วนที่ 2 ส่วนตัว เรียกว่า “KS” (Knowledge Sharing)
ซึ่งเป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share and Learn) ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่ยากลำบากที่สุดในกระบวนการทำ KM
ส่วนที่ 3 ส่วนหางปลา เรียกว่า “KA” (Knowledge Assets)
หมายถึง ตัวเนื้อความรู้ที่เก็บสะสมไว้เป็น “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้”
http://aikik.blogspot.com/2011/01/model-knowledge-mangement.html
http://group.wunjun.com/valrom2012/topic/362655-11237

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ในประเทศไทย ได้พัฒนา “ตัวแบบทูน่า” เป็น “ตัวแบบปลาตะเพียน”
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89

จัดกิจกรรมตัวปลา ตามแนว tuna model

Knowledge Sharing-KS
Knowledge Sharing-KS

มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม พูดคุยแลกเปลี่ยน
เรื่อง การเตรียม peervisit ประจำปีการศึกษา 2556
มีประเด็นหารือแลกเปลี่ยน สรุปได้ดังนี้

1. การกำหนดข้อตกลงร่วม ว่าจะพิจารณาเอกสารตามคำอธิบาย
ถ้าไม่มี หรือยังไม่ได้รับ หรือรอเอกสาร
เพื่อนต้องเขียนรายงาน ระบุ ว่ารอจากใคร และคะแนนเป็น 0
โดย อ.อดิศักดิ์ และพี่นายประกัน อ้างอิงว่าผู้บริหารต้องการให้เหมือนจริง
เพื่อการติดตาม และพัฒนา
2. ห้อง e-document ตกลงให้ตั้งชื่อใหม่
ให้สอดคล้องกับรอบปีและมีความหมาย ขึ้นใหม่ 3 ห้อง
คือ peervisit56 และ sar56 และ dataqa56
ตามข้อเสนอแนะของ อ.อดิศักดิ์ และคุณเปรมจิต
3. มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนเรื่อง convergence
ว่าจะรวมศูนย์เอกสาร หรือกระจายศูนย์
โดยที่ประชุมมีมติให้กระจายห้องเก็บเอกสาร
แม้ อ.เกศริน และพี่นายประกัน จะเห็นไปในทางรวมศูนย์ก็ตาม
4. แต่ละทีมได้หารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่าใครจะไปองค์ใด
เช่นทีมคณะสังคม คือ บุรินทร์ ลัดดาวรรณ และฉัตรไชย
กำหนดเป็น 2+7 และ 1+8+9 และ 3+4+5+6
ซึ่งแต่ละทีมก็จะมีการพิจารณาแตกต่างกันไป
5. ได้ย้ำเรื่องกำหนดการว่าเริ่มดำเนินการ 26-28พ.ค.57
และรายงานสรุปผล 2 มิ.ย.57
6. การนำเสนอการใช้งานระบบ และวิธีการเขียนรายงาน
ไม่มีเพื่อนในทีมมีข้อสงสัย โดยพี่นายประกันจะเป็นผู้คัดลอกข้อมูลออกมา
แล้วนำไปจัดทำรายงานต่อไป
7. เป้าหมายของการทำ peervisit ครั้งนี้
ก็เพื่อให้คณะวิชามีความพร้อม และปรับเอกสารให้ตรงกับความต้องการ
ของเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง

เครื่องมือนำเสนอกระบวนการ ในการกรอกข้อมูล peervisit ด้วย powerpoint
http://it.nation.ac.th/doc/oit/Peer_Visit_Manual_report.pdf
โปรแกรมพัฒนาโดย คุณเปรม อุ่นเรือน และผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
http://www.scribd.com/doc/223725577/Peer-Visit-Manual-Report


กิจกรรมนี้ ตามแนว tuna model
เป็นส่วน “ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS)
หมายถึง ส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “คุณกิจ
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว
คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม
ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
มี อ.แต อ.นุ้ย พี่นาย คุณลัดดาวรรณ อ.วันชาติ
พี่ลักขณา อ.อดิศักดิ์ อ.ฉัตรชัย คุณเปรมจิต อ.แตงโม

+ http://www.thaiall.com/km

การจัดการความรู้ (หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น)

หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น
หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.584196208261181.142796.506818005999002

โครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
เรื่อง หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น
เพื่อการรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
ณ ห้อง 1203 อาคารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น
วันที่ 25 มกราคม 2556 เวลา 9.00-11.00น

ดร.สุจิรา หาผล
กล่าวเปิดงาน ชี้แจงที่มาที่ไป กระบวนการ และวิธีการในการจัดการความรู้ครั้งนี้
อ.วราภรณ์ เรืองยศ
เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ตาม Powerpoint
ในหัวข้อ “หลักการเขียนโครงร่างงานวิจัย”
ซึ่งส่วนประกอบของโครงร่างงานวิจัย ประกอบด้วย

1. ชื่อเรื่อง
2. บทคัดย่อ
3. ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย
4. วัตถุประสงค์
5. แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6. กรอบแนวคิดการวิจัย
7. คำนิยามศัพท์เฉพาะ
8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
9. สมมติฐาน
10. ขอบเขตการวิจัย
11. ระเบียบวิธีวิจัย
12. ข้อตกลงเบื้องต้น
13. เอกสารอ้างอิง

เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรื่อง – “ชื่อเรื่อง”
อ.วราภรณ์ เล่าว่า มีประกาศทุนวิจัย 2 เรื่องมานำเสนอ
– ศูนย์ประสานการศึกษานโยบายที่ดิน ปี 2556
– การแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ วรรคสอง

อ.วราภรณ์ เรืองยศ
– เปรียบเทียบเรื่องทุนสร้างบ้าน กับทุนวิจัย ที่ต้องสมเหตุ สมผล
– เล่าเรื่องทุนวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่ขอไป 10 กว่าล้าน แต่ถูกตัดเหลือ 3 ล้านเศษ

อ.วิเชพ ใจบุญ

เล่าว่าชื่อที่เคยตั้งมามีกระบวนการอย่างไร
การใช้ต้นไม้ชุมชนในการเก็บข้อมูล
ต้องลงไปคลุกคลีกับชาวบ้าน ทั้งแจ้ห่ม แม่ทะ และนิคมพัฒนา

อ.ดร.สุจิรา หาผล
บอกว่ากว่าจะได้หัวข้อมา ต้องใช้เวลามาก
หัวข้อต้องตรงกับผู้ให้ทุน และความต้องการของชุมชน

อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
การเขียนบทนำ และวรรณกรรม
ต้องให้ความสำคัญกับที่มาที่ไป
แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ และตั้งอยู่บนหลักการที่เกี่ยวข้อง
ต้องค้นมาก ต้องอ่านมาก และอ้างอิงให้ตรง

อ.ปวินท์รัตน์ แซ่ตั้ง
http://www.prawinrat.com/
ได้ทุนจากเครือข่ายภาคเหนือตอนบน
เกี่ยวกับผ้าทอน้ำแร่ เมืองปาน
แลกเปลี่ยนว่างานวิจัยต้องใช้เวลา ทำให้ครบทุกเรื่องที่สามารถทำได้
ต้องลงมือจริง ทุ่มเท และทำให้ครบวงจร
มีทั้งภาพ คลิ๊ป เว็บไซต์ ที่เกิดในพื้นที่จริง ได้ผลงาน และนำไปขายได้จริง

อ.ดร.สุจิรา  หาผล
เล่าว่าการศึกษาตำนาน เรื่องเล่าของอำเภอต่าง ๆ มีกระบวนการมากมาย
ทั้งเชิงคุณภาพ วิพากษ์โดยนักวิชาการ ใช้แบบสำรวจ และวิพากษ์ผลโดยชุมชน
การเลือกคน เลือกปราชญ์ชาวบ้านเป็นเรื่องสำคัญ และต้องเขียนเรื่องของแต่ละอำเภอถึง 13 เล่ม
หลังได้รับทุนก็จะมีการติดตามจากผู้ให้ทุน และมีข้อเสนอแนะที่ทำให้แผนอาจต้องถูกปรับเปลี่ยน

อ.โอปอล์ รังสิมันตุชาติ
เล่าว่าการขอทุนวิจัยสำหรับงานวิจัยระดับปริญญาโท
มีแหล่งทุนสนับสนุนจาก สกว.อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตนได้รับจากเชียงใหม่
และมีกระบวนการคล้ายกับทุนวิจัยทั่วไป