Review แอพสอนเขียนโปรแกรม .. ลองแล้วจะติดใจ

ถ้า (if) ต้องการเรียนรู้การเขียนโปรแกรม และมี Smartphone อยู่ในอุ้งมือ
และมีเวลานั่งเฉย ๆ ระหว่างรอรถเมย์ รอดูหนัง รอเพื่อนทานข้าว รอเข้างาน รอเรียน
รอลูกเรียนพิเศษ รอแฟนเลิกงาน รอแฟนเข้าร้านเสริมสวย
แล้วอยากหาอะไรอ่าน .. “อ่าน

programming language
programming language

ในสายคอมพิวเตอร์ทั้ง นักศึกษา หรือคนทำงาน
ก็คง “สนใจเรื่องการเขียนโปรแกรมไม่มากก็น้อย
คนใน play store พบแอพพลิเคชั่นเพียบเลย ที่สอนเขียนโปรแกรมต่าง ๆ
แต่มี app หนึ่งที่สอนหลายภาษา และในหลายรูปแบบ
แล้วเค้าก็พัฒนาต่อเนื่อง ปรับทั้งแอพ และเนื้อหาตลอด
คือ Programming Hub ดาวน์โหลดที่ http://www.programminghub.io
ผมนั่งอ่านดูก็สนุกดี
ถ้าเทียบเนื้อหาระหว่าง version บน smartphone กับ web
จะพบว่าบน smartphone ดีกว่าเยอะ ลองแล้วจะติดใจ .. เหมือนผม

programminghub แอพพลิเคชั่นที่สอนเขียนโปรแกรม
programminghub แอพพลิเคชั่นที่สอนเขียนโปรแกรม

Programming hub คือ แอพพลิเคชั่นที่สอนเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ที่มีทั้งบนแอนดรอย (Android) และไอโอเอส (iOS) และสามารถเรียนผ่านเว็บไซต์ (Learn on Web) ได้ที่ programminghub.io โดยแบ่งเนื้อหาเป็นตัวอย่างโค้ด (Program) และเนื้อหาอ้างอิง (Reference) สำหรับแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนจะมีบางภาษาที่สามารถทำการทดสอบเขียนโค้ด และประมวลผลได้ทันที (Playground) ปัจจุบันมีภาษาโปรแกรมให้ศึกษา ดังนี้ Python, Assembly, HTML, VB.NET, C, C++, C# (C Sharp), JavaScript, PHP, Ruby, R Programming, CSS, Java programming เป็นต้น

c language
c language

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละปี

learning exchange
learning exchange

ในองค์กรต่าง ๆ มีกิจกรรมตามแผนยุทธศาสตร์
แผนปฏิบัติการ แผนพัฒนา แผนกิจกรรม แผนวิจัย
และที่ไม่อยู่ในแผนเกิดขึ้นมากมาย

การจดจำเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก จึงต้องประเมินว่า
จะเก็บสิ่งใดไว้ ที่คิดว่ามีคุณค่าพอแก่การจดจำ และบันทึกเก็บไว้
คุณค่าของการจดจำคือการแบ่งปัน และเขียนรายงานปิดรอบ

รายงานที่ต้องเขียนก็มีมากมาย
ทั้งรายงานแผนยุทธศาสตร์ รายงานแผนปฏิบัติการ รายงานแผนพัฒนา
รายงานวิจัย รายงานกิจกรรม รายงานการฝึกอบรม เป็นต้น
หากบันทึกไว้ละเอียดมากพอ ก็สามารถหยิบฉวยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบปี
มาจัดทำรายงานได้โดยง่าย

การเก็บภาพไว้ ช่วยให้ระลึกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ และนำไปสู่การทบทวน
และนำผลมาเปรียบเทียบเพื่อดำเนินการรอบใหม่ต่อไป และต่อไปได้

คำว่า แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning Exchange) เป็นสิ่งที่ดี
แต่การปฏิบัติร่วมกันกับเพื่อนร่วมงานในองค์กรขนาดใหญ่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเเลย
เพราะถ้าง่ายคงไม่เกิดเหตุการณ์ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
หรือระบบการศึกษาของไทยรั้งท้ายอาเซียน

แบ่งปันเรื่องนี้เพิ่มเติมที่ https://www.gotoknow.org/posts/578913

พีบีแอล (PBL = Project-Based Learning)

John Dewey 1902
John Dewey 1902

จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้นำเสนอแนวคิด “เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Learning by doing)” ว่า “ครูไม่ใช่ผู้กำหนดความคิด หรือจัดพฤติกรรมแบบหนึ่งแบบใดให้กับเด็ก แต่เป็นสมาชิกของชุมชนที่จะสร้างอิทธิพลที่มีผลให้เด็กช่วยตนเองได้ตอบสนองกลับมาอย่างเหมาะสม ที่จะเกิดการแสดงออกที่สร้างสรรค์ภายในศูนย์การเรียนรู้ที่ถูกต้อง” (Dewey,1897)

ต่อมาเกิดรูปแบบการเรียนรู้จาก แนวคิดของดิวอี้ หลายรูปแบบ
ได้แก่
– การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning)
– การเรียนรู้แบบช่วยเหลือกัน (Collaborative learning)
– การเรียนรู้โดยการค้นคว้าอย่างอิสระ (Independent investigation method)
– การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning)
– การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning)

ทอม มาร์คาม (Thom Markham, 2011)
ได้อธิบายความหมายของ PBL = Project-Based Learning ว่าเป็น
การบูรณาการความรู้ และการปฏิบัติ
โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้องค์ประกอบสำคัญที่ต้องรู้
แต่จะประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหา และได้ผลเป็นชิ้นงานขึ้นมา
เด็กที่เรียนรู้แบบนี้จะได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทอลคุณภาพสูง
และได้ชิ้นงานที่เกิดจากการผสมผสาน
พีบีแอลจะปรับมุมมองของการศึกษาสู่ระดับโลก และได้อีกหลายอย่างตามมา
ทั้งแรงขับ ความรัก ความคิดสร้างสรรค์ การเอาใจใส่ และความยืดหยุ่น

PBL integrates knowing and doing. Students learn knowledge and elements of the core curriculum, but also apply what they know to solve authentic problems and produce results that matter. PBL students take advantage of digital tools to produce high quality, collaborative products. PBL refocuses education on the student, not the curriculum–a shift mandated by the global world, which rewards intangible assets such as drive, passion, creativity, empathy, and resiliency. These cannot be taught out of a textbook, but must be activated through experience.
(Thom Markham,2011)
http://en.wikipedia.org/wiki/Project-based_learning

http://www.amazon.com/Project-Based-Learning-Handbook-Standards-Focused/dp/0974034304
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=775406

วิถีสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่21

Framework for 21st Century Learning
Framework for 21st Century Learning

1. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
http://www.kmi.or.th/
ให้เด็กเป็นผู้เลือกทั้งหมดก็ไม่ได้
เพราะเด็กยังไม่โต ยังคิดกว้างขวางไม่ได้
การศึกษาต้องเข้าไปช่วยเข้าไปจัดการอะไรต่าง ๆ
2. นพ.ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์
เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
http://www.thaissf.org/
จำนวนความรู้เพิ่มขึ้นมหาศาล
เราไม่ต้องการเด็กที่รู้เยอะ ท่องเก่ง เรียนเก่งแต่เพียงอย่างเดียว
อยากได้เด็กที่ใฝ่รู้ อยากเรียนรู้ของใหม่เรื่อย ๆ รู้วิธีที่จะเรียนรู้
มีทักษะการเรียนรู้ที่เรียกว่า learning skill
แล้วก็มีทักษะการใช้ชีวิต life skill

ศตวรรษที่ 21
http://www.p21.org/

1. สาระวิชาหลัก ได้แก่
ภาษาแม่และภาษาสำคัญของโลก
ศิลปะ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์
รัฐ และความเป็นพลเมืองที่ดี

2. แนวคิดสำคัญที่ควรรู้
– ความรู้เกี่ยวกับโลก
– ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ
– ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี
– ความรู้ด้านสุขภาพ
– ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม

3. ทักษะสำคัญ 3 เรื่อง
3.1 ทักษะชีวิต และการทำงาน
– ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
– การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
– ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม
– การเป็นผู้สร้างหรือผลิตและความรับผิดชอบเชื่อถือได้
– ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
3.2 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
– ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
– การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
– การสื่อสารและความร่วมมือ
3.3 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
– ใช้และประเมินสารสนเทศได้อย่างเท่าทัน
– วิเคราะห์และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม
– ใช้เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. โครงสร้างพื้นฐาน 4 ด้านเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
– มาตรฐานและการประเมินในศตวรรษที่ 21
– หลักสูตรและการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
– การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
– สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้

5. เปลี่ยนเป้าหมายจาก “ความรู้” สู่ “ทักษะ”
เปลี่ยนจากครูเป็นหลัก
เป็นนักเรียนเป็นหลัก
เรียนโดยการปฏิบัติที่เรียกว่า PBL : Problem Based Learning
โดยครูเป็นเพียงโค้ช (Coach) หรือครูฝึก ที่คอยช่วยเหลือ

6. เด็กจะได้ฝึกทักษะต่าง ๆ
– การตีโจทย์
– ค้นคว้าหาข้อมูล
– ตรวจสอบและประเมินข้อมูล
– เลือกสิ่งที่เหมาะสมมาใช้
– ได้ฝึกปฏิบัติจริง
– เพิ่มทักษะในการศึกษา
– การนำเสนออย่างสร้างสรรค์
– ฝึกการทำงานเป็นทีม
– แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน
– ต่อยอดไปสร้างเป็นองค์ความรู้ของตนเองต่อไป

7. ครูต้องมีทักษะที่สำคัญ คือ สร้างแรงบันดาลใจ
ทำให้เด็กมีพลัง มีไฟ ก็จะมีชีวิตชีวาในการเรียน

8. การเรียนรู้แบบ PBL
ไม่มีกรอบ มีเสรีภาพทางปัญญา เพราะเราไม่สนใจคำตอบ
สนใจกระบวนการหาคำตอบ
โจทย์ข้อหนึ่งมีวิธีตอบเยอะแยะ
เราสนใจการทำงานของกลุ่มและการเรียนรู้จากการทำกระบวนการเรียนรู้
การวัดมิใช่เพื่อประเมินได้ผล
แต่เป็นการวัดเพื่อประเมินความก้าวหน้า
เด็กทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ

9.
การบ้านมีเพื่อให้เด็กมีความรู้
การบ้านสมัยใหม่ เช่น ปลายปีแสดงละครเช็คสเปียร์
แก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้น เพราะมุ่งมั่นกับสิ่งที่เป็นระยะยาว และทำงานร่วมกันเป็นทีม
เป็นการเรียนรู้ที่ครูไม่ได้สอนด้วยวิธีการบอกให้ท่องจำแบบเดิม

10. สมัยใหม่ความรู้มหาศาลจนไม่รู้จะสอนอะไรให้เด็ก
จึงไม่แปลกที่ครูสักคนหนึ่งจะไม่รู้ จึงต้องมีเครื่องมือช่วยครู
คือ PLC = Professional Learning Commitee
การรวมตัวของครูที่จะเรียนรู้ “เรียนรู้การทำหน้าที่ครูยุคใหม่”
สิ่งที่สำคัญ คือ ร่วมกันทำ ดีกว่าทำคนเดียว เป็น “ชุมชนการเรียนรู้ครู”
– ช่วยกันออกแบบการเรียนรู้ของเด็ก
– ช่วยพัฒนาเพื่อให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21

11. แนวคิดการศึกษาต้องเปลี่ยนจากที่เราคุ้นเคย
เปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เยอะมาก
ถ้าเรียนแบบปัจจุบันส่งผลต่อสังคมอย่างไร
– วัยรุ่นจะเสียคน ไม่สนุก น่าเบื่อ
– ทั้งชาติยุ่ง เพราะเรียนเพื่อได้ความรู้อย่างเดียว ไม่ได้ทักษะ
ไม่มีวิจารณญาณ ไม่ได้ critical thinking
ถ้าทำได้สังคมเราก็จะยกระดับขึ้น

century 21
century 21

http://www.scribd.com/doc/97624333/
http://www.thaiall.com/blog/burin/3296/

ผมเพิ่มเติมว่า
ทักษะ = นำความรู้ + ไปทำและทำได้ + จนคล่องแคล่ว

ทักษะ (Skill) หมายถึง ความสามารถทางกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ที่ผู้รับการฝึกสามารถทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว

ลงทุนกับอุปกรณ์เสริมการสอนปีละหลายล้านกับโรงเรียนในอังกฤษ แต่ได้ไม่คุ้ม

windows 8 ในอุปกรณ์ต่าง ๆ
windows 8 ในอุปกรณ์ต่าง ๆ

http://reviews.cnet.com/8301-3121_7-57531284-220/windows-8-the-complete-new-pc-launch-list/

UK schools waste ‘millions’ a year on useless gadgets

ประเด็นแรก .. งบประมาณกับประสิทธิภาพ
Summary: Are school budgets being battered (ทำลาย) by teachers who buy but never use the latest(ล่าสุด) gadget(อุปกรณ์เชิงกล)?

In the last five years, UK schools have spent over £1 billion pounds on buying the latest must-have gadgets, digital learning tools and software.
[1 British pound = 49.404908 Thai baht]

But how much of this investment is actually put to good use?

According to research released by non-profit organisation Nesta, although such a vast (มหาศาล) amount has been invested to modernize the British education system, there is “little evidence of substantial success” in improving learning through newly-acquired digital tools.
[อันดับระบบการศึกษา 2555 อังกฤษอยู่อันดับ 6 สหรัฐอยู่อันดับ 17 ไทย 37 จากทั้งหมด 40]
http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2176/

Although technological advances can offer better access to educational material and interactive ways to learn, it isn’t an effortless process. In order to integrate technology within the classroom effectively, from replacing traditional textbooks with iPads to smart whiteboards, structured teaching and a balance between technology and core lesson aims have to be maintained.

As the report notes, it’s too easy to forget that not everyone is tech-savvy (เข้าใจ). As a former teacher, I recall working in several schools that would furnish their classrooms with the latest sparkly product, but forget to train their staff in its use, or assist them in ways to integrate technology within lesson plans. A desktop computer, tablet, smartphone or gaming system takes time to understand, and for busy teachers, finding methods to use this technology to achieve a learning aim may not be so simple.

The report suggests that spending £450 million pounds a year without evidence that it is improving education is nothing more than counter-productive. Instead of “fetishising (เครื่องราง) the latest kit“, Nesta says that teachers should make better use of what they already have.

In addition, the researchers say that many businesses are offering only “superficial (เพียงผิวเผิน)” benefits to learning, and too many apps and digital games are used to sugar-coat dull and misdirected lessons.

However, teachers also need support, and must become “confident users of digital technology in order to deal with (ขับเคี่ยว) the complexity and safety of digital tools.” Rather than using technology in an isolated way — only for tablets to be returned to the cupboard (ตู้อาหาร) after a lesson ends — it should act as a conduit (รางน้ำ) to keep learning going outside of school. By using the Internet to keep a learning network open and accessible, “social” tools, cloud computing and online groups could result in more effective teaching.

Rather than leaving millions of pounds’ worth of equipment “languish (เหี่ยวเฉา)  unused or underused in school cupboards”, the researchers suggest that in a time where economic problems are causing educational cutbacks, technology should serve as a tool rather than a distraction (เครื่องล่อใจ). Instead of giving in to the “hype” of digital learning, schools should reconsider how technology can serve as method to boost (ส่งเสริม)  education — rather than a way to make ineffective teaching methods look innovative and exciting.

#share in my facebook page
ที่อังกฤษพึ่งรู้ว่าการใช้ไอทีในโรงเรียน ไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเท่าที่คาด เขาคิดว่าเสียเงินมากไปเมื่อเทียบกับผล แต่ผมว่ามีการหมุนเวียนของงบประมาณไปที่บริษัทไอที
The English know how to do it in schools is not only powerful tools that expect him to lose much thought when compared with the results, but I have a turnover of budget to it.
+ http://www.zdnet.com/uk-schools-waste-millions-a-year-on-useless-gadgets-7000007520/

+ http://www.zdnet.com/meet-the-team/uk/charlie.osborne/

ประเด็นที่ 2 .. ปัญหาของ online course
ผู้จัดการเรียนการสอนออนไลน์ในต่างประเทศกังวลเรื่องการควบคุมการโกง แล้วพบมาแล้วว่าเทคนิคการโกงจากการเรียนผ่าน online course มีดังนี้
1. บทความขโมยความคิด (plagiarized essays)
2. ร่วมกันทำข้อสอบ (illicitly collaborated on exams)
3. โพสออนไลน์ (posted solutions to test questions online)
4. ส่งคำตอบให้เพื่อน (emailed answers to classmates)
+ http://nation.time.com/2012/11/19/mooc-brigade-can-online-courses-keep-students-from-cheating/
“We need to be sure that the student who took the course is indeed who they say they are—that they did all the work,” said edX President Anant Agarwal. “That’s a real problem for MOOCs.”
MOOCs = Massive Open Online Courses

ประเด็นที่ 3 .. คำแนะนำต่อผู้กำหนดนโยบาย
5 บทเรียนสำหรับผู้กำหนดนโยบาย (Five lessons for education policymakers)
1. ไม่ใช่มายากล ต้องใช้งบประมาณ (There are no magic bullets)
2. ยอมรับครู (Respect teachers)
3. วัฒนธรรมไปร่วมกับการศึกษา (Culture can be changed)
4. พ่อแม่ต้องไม่เป็นอุปสรรค (Parents are neither impediments to nor saviours of education)
5. การศึกษาไม่ใช่อนาคต แต่เป็นปัจจุบัน (Educate for the future, not just the present)
http://thelearningcurve.pearson.com/the-report/executive-summary

ประเด็นที่ 4 .. แนะนำเกมขยับกันหน่อย (ต.ย.เกมบน android)

x-runner for android
x-runner for android

https://play.google.com/store/apps/details?id=com.droidhen.game.xrunner.apps

http://thaidroid-appvisor.blogspot.com/2012/10/x-runner.html

WIL มิติใหม่ของอุดมศึกษาไทย

work integrated learning
work integrated learning

อาจารย์ ดร.วันชาติ นภาศรี ประธานหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง, อาจารย์ธวัชชัย แสนชมภู ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง และคุณสิริรัตน์ เลิศมีมงคลชัย นักวิชาการอิสระ ได้รับรางวัลดีเด่นการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย” จากเครือข่าย บริหารการวิจัยภาคเหนือต้อนบน การประชุมวิจัยระดับชาติเครือข่าววิจัยอุดมศึกษา ประจำปี 2555 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2555 แล้วมีนักวิชาการนำหนังสือเล่มเล็กจากการสังเคราะห์องค์ความรู้ไปเผยแพร่ทาง อินเทอร์เน็ต ผ่าน e-book

http://www.thaiall.com/e-book/wil/

วิธีการสอน/พัฒนา 37 วิธี

เรียบเรียงจากวิธีการสอน/พัฒนาใน Course Specification ของ CU-CAS
1. การบรรยาย (Lecture)
2. การอภิปราย (Discussion)
3. การสอนแบบสัมมนา (Seminar)
4. การสอนโดยใช้การนิรนัย/อนุมาน (Deductive) คือ อ้างความรู้เดิมให้ได้ความรู้ใหม่หรือข้อสรุป
5. การสอนโดยใช้การอุปนัย/อุปมาน (Inductive) คือ การสรุปจากความจริงย่อยหลายข้อมาเป็นข้อสรุป
6. การใช้กรณีศึกษา (Case)
7. การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
8. ภาคสนาม (Field Work)
9. การไปทัศนศึกษา (Site Tour)
10. การใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
11. การแสดงละคร (Dramatization)
12. การสาธิต (Demonstration)
13. การสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
14. การใช้เกม (Game)
15. การทดลอง (Experiment)
16. การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)/ การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน /การเรียนแบบผสมผสาน/การเรียนแบบออนไลน์
17. การฝึกปฏิบัติ (Practice)
18. การฝึกงาน/การฝึกสอน (Training)
19. การสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-based Instruction)
20. การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Instruction)
21. การสะท้อนความคิด (Reflective Thinking)
22. การสอนแบบสืบสอบ (Inquiry-based instruction)
23. การศึกษาค้นคว้าโดยอิสระ (Independent Study)
24. การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (Self-directed Learning)
25. การสอนโดยใช้โครงงาน (Project-based Instruction)
26. การเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ/ปราชญ์ (Professional Model)
27. การเรียนการสอนแบบจุลภาค (Micro Teaching)
28. การนิเทศการปฏิบัติการวิชาชีพ (Supervision)
29. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
30. การให้คำปรึกษารายบุคคล (Individual Advisor)
31. กลุ่มติวเตอร์ (Tutorial Group)
32. การระดมสมอง (Brain Storming)
33. การสรุปประเด็นสำคัญ / การนำเสนอผลของการสืบค้นที่ได้รับมอบหมาย (Conclusion Presentation)
34. กิจกรรม (Activities)
35. การสอนข้างเตียง/เรียนจากผู้ป่วย (Problem Learning)
36. การฝึกแสดงออกทางพฤติกรรม (Behavior Presentation)
37. การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Study)

เรื่องเล่าในวงเหล้า

หลายวันก่อน
ผมในฐานะ ป.พ่อบ้าน ของหมู่บ้าน คิดสูตรทำลาบอีเห็นได้
ก็เลยตั้งวงแลกเปลี่ยนกับเพื่อน และเพื่อนในหมู่บ้านใกล้เคียง
กรรมการหมู่บ้านเรียกมาทำความเข้าใจบอกว่า
เราอยู่เมืองจรีนเป็นประเทศปิด ไม่มีอะไรออก และไม่มีอะไรเข้า

แต่ ป.จักรสาน ลุกขึ้นมาบอกว่า ปัจจุบันกำลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้
วิธีสานตะกร้าแนวใหม่ ผสมตะวันตกกับตะวันออก ขายได้เงินมาเสียภาษีมากมาย
พึ่งส่งต้นแบบไปให้เพื่อนต่างหมู่บ้านปรับปรุง หลังจากเขาสอนเราสานแนวใหม่

สรุปว่างานนี้ ป.พ่อบ้าน รอดตัวไปที
ไม่มีความผิดในฐานะแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสูตรลาบอีเห็น
ต่อไปในหมู่บ้านคงได้กินลาบอีต่างต่างกันมากขึ้น
และอาจมีใครเปิดร้านลาบอีเมล ได้ภาษีเข้ามาพัฒนาหมู่บ้านต่อไป

แต่ถ้ามีกฎว่าเป็นประเทศปิด ไม่คุยกับคนนอก และไม่ให้คนนอกเข้ามาคุย .. งานนี้จบแห่

————————————–

คิดตาม 2 เรื่องราว

คุยกับ อ.ใหญ่ติส ทำให้รู้ว่าองค์กรหนึ่ง ๆ ต้องมีอะไร (ที่สำคัญที่สุด)
เคยฟังคำบางคำออกจากปากคนรู้จัก ก็ทำให้รู้ว่าองค์กรของคนผู้นั้นขาดอะไร (ที่สำคัญที่สุด) ขององค์กร
ทำให้เขาเปลี่ยนจากยึดองค์กรเป็นยึดตัวเอง (ก็เพราะองค์กรไม่มี)
ความไม่มีแต่โหยหาของมนุษย์ ทำให้เกิดการเบี่ยงเบนสิ่งนั้น
จุดด้อยนี้เป็นในหน่วยงานราชการส่วนใหญ่และไม่มีวันแก้ไขได้
แต่ถ้าองค์กรเอกชนเรื่องนี้ถือเป็นจุดแข็ง (ถ้ามีขึ้นมานะ)
เหมือนกับองค์กรที่ อ.ใหญ่ติส พูดถึงด้วยความชื่นชม

สร้างสื่อการเรียนรู้ด้วย reload หรือ exe editor

reload and exe editor
reload and exe editor

17 พ.ค.54 โปรแกรม reload editor และ exe editor ต่างเป็นโปรแกรมใช้สร้างบทเรียนออนไลน์ หรือสื่อการเรียนรู้ได้ เมื่อสร้างแล้วสามารถบันทึกเพื่อเผยแพร่ได้หลายรูปแบบ
สอดรับกับมาตรฐาน scorm, เว็บเพจ หรือจะส่งเข้า cd ก็ได้ กำลังคิดว่าจะใช้ตัวใดสอนนักศึกษาดี จึงหาแหล่งอ้างอิงว่า มืออาชีพเขาใช้อะไรกัน หรือแนะนำตัวไหน ก็ได้ thaicyberu.go.th ที่น่าจะให้คำแนะนำได้ เพราะเคยเห็นเปิด course สอนโปรแกรมแบบนี้มาแล้ว ที่หน้าแรกของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พบว่าแนะนำทั้ง reload และ exe แสดงว่าดีทั้งสองโปรแกรม

http://exelearning.org (v 1.04)
http://www.reload.ac.uk (v 2.5.5)
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/download/eXe0.23.rar
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/download/man_eXe_0.23.rar
http://www.thaicyberu.go.th/Download/ReloadEditor2.rar
http://www.windowswiki.info/?p=662
http://www.thaicyberu.go.th/document/ManualProducer.rar
http://www.thaiall.com/e-learning/reloadscorm.htm
http://www.thaiall.com/e-learning/exescorm.htm

สื่อการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้
#1 สื่อการเรียนรู้ หมายถึง การนำวัสดุ เครื่องมือ วิธีการ มาเป็นสะพานเชื่อมโยงความรู้ไปยังผู้เรียนได้ ทำให้เกิดความเข้าใจตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้
#2 สื่อการเรียนรู้ (ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมวิชาการ 2544 หน้า 178) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เน้นสื่อที่ใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองทั้งผู้เรียนและผู้สอน ผู้เรียนและผู้สอนสามารถจัดทำ พัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นเอง หรือนำสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัวมาใข้ในการเรียนรู้
#3 สื่อการเรียนรู้ หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นคน สัตว์ พืช สิ่งของ สถานที่ สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งผู้สอนใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

http://www.thaiall.com/learningmedia/