มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Standards of Learning)

learning output
learning output

มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning หรือ Standards of Learning) มีทั้งหมด 5 ด้าน คือ 1) คุณธรรม จริยธรรม 2) ความรู้ 3) ทักษะทางปัญญา 4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ทุกสถาบันการศึกษาจะ ประกาศมาตรฐานผลการเรียนรู้กลาง ที่เป็นคุณลักษณะของบัณฑิตของสถาบัน จากนั้นแต่ละหลักสูตรจะนำไปปรับให้เป็นมาตรฐานการผลการเรียนรู้ของแต่ละหลักสูตร มักจะมีการเพิ่มเติมมาตรฐานผลการเรียนรู้จากมาตรฐานกลาง เพื่อให้สอดรับกับคุณลักษณะของบัณฑิตในแต่ละหลักสูตร

http://www.fish.ku.ac.th/PDF%20EDU/m7.pdf
http://www.academic.nu.ac.th/content_view.php?n_id=42

http://wiki.edu.chula.ac.th/groups/a3394/wiki/17820/

หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด

หลวงตามหาบัว กับคำสั่งเสีย
หลวงตามหาบัว กับคำสั่งเสีย

5 มี.ค.54 หลวงตามหาบัวแห่งวัดป่าเกสรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด)
ละสังขารแล้วเมื่อวันที่ 30 ม.ค.2554 เวลา 03.53 น. สิริรวมอายุ 98 ปี หลังอาพาธด้วยอาการปอดติดเชื้อมาเป็นเวลานาน ในเวลาต่อมาชาวพุทธเข้าสักการะสรีระสังขารหลวงตามหาบัว ณ วัดป่าบ้านตาด และร่วมพิธีพระราชทานเพลิงในวันที่ 5 มี.ค.2554 เริ่ม 13.00น.
คำสั่งเสีย “มือของครูอาจารย์ กับมือของลูกศิษย์ลูกหา ญาติมิตรเพื่อนฝูง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ใช้แทนกันได้ ไว้ใจกันได้” และมีคำสั่งเสียอื่น อาทิ ใช้หีบไม้ และไม่สร้างเจดีย์ .. เป็นธรรมทานให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้สัจธรรม .. คล้ายกับพระพุทธทาส
http://www.atnnonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=26828:2011-03-03-15-26-35&catid=83:variety&Itemid=77
http://www.thairath.co.th/today/view/153594
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRJNU5qUXdNREV5TVE9PQ==

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

จากการอบรมเรื่อง การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา เมื่อวันที่ 11 พ.ย.53 โดยวิทยากรคือ อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู นำเสนอ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ไว้ 7 รูปแบบ คือ 1) การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Problem-based Learning: PBL) 2) การเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Individual Study) 3) การเรียนรู้จากการทำงาน (Work-based Learning) 4) การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ (Research-based Learning) 5) การเรียนรู้ที่ใช้วิธีสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-based Approach) 6) การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-Study) 7) การเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism) คือ การเรียนรู้ด้วยตนเองที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการต่าง ๆ ความขัดแย้งทางปัญญา แรงจูงใจภายใน กิจกรรมไตร่ตรอง และเกิดโครงสร้างทางปัญญา

อ.ทันฉลอง นำเสนอว่า การใช้กรณีศึกษาช่วยพัฒนาทักษะ ต่อไปนี้ 1) ทักษะการวิเคราะห์ 2) ทักษะการตัดสินใจ 3) ทักษะการนำไปใช้ 4) ทักษะการสื่อสารทางวาจา 5) ทักษะการจัดการเวลา 6) ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 7) ทักษะการสร้างสรรค์ 8) ทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสาร
+ http://www.thaiall.com/mis/request_response.php (ตัวอย่างชวนคิด)
+ http://en.wikipedia.org/wiki/Case_study
+ http://writing.colostate.edu/guides/research/casestudy
+ http://ms.psru.ac.th/admin/file/8_Research_in_the_classroom.pdf

ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์

วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ หรือจิตทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ มีทฤษฎีหลักอยู่ 3 ทฤษฎีที่น่าสนใจ คือ 1) ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism Theory) เป็นแนวความคิดของสกินเนอร์ (Burrhus Frederick Skinner หรือ B.F. Skinner) เชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก การตอบสนองสิ่งเร้าของมนุษย์เป็นพฤติกรรมแบบแสดงออก ซึ่งมีการเสริมแรงเป็นตัวการ โดยทฤษฎีนี้ จะไม่พูดถึงความคิดภายในของมนุษย์ ความทรงจำ ความรู้สึก  2) ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism Theory) เป็นแนวความคิดของชอมสกี้ (Noam Chomsky) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายในจิตใจ มนุษย์มิใช้ผ้าขาวเมื่อใส่สีอะไรลงไปก็จะกลายเป็นสีนั้น มนุษย์มีความนึกคิด มีอารมณ์จิตใจ และมีความรู้สึกภายในที่แตกต่างออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนก็ควรจะคำนึงถึงความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนก็ควรจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  3) ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) เป็นแนวความคิดของ รูเมลฮาร์ทและออโทนี่ (David Everett Rumelhart and Andrew Ortony)(1977) เชื่อว่า โครงสร้างภายในของความรู้ที่มนุษย์มีอยู่นั้น มีลักษณะเป็นโหนดหรือกลุ่มเชื่อมโยงกันอยู่ในมนุษย์ เมื่อเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่เพิ่งได้รับ นั้นจะไปเชื่อมโยงกับกลุ่มที่มีอยู่เดิม

10 ทางที่จะปรับปรุงนิสัยการเรียนของนักเรียน

Top 10 Ways to Improve Students’ Study Habits
เรียงจากอันดับสุดท้ายไปอันดับแรก ได้ดังนี้
10) Make it Routine คือ การเรียนเป็นกิจวัตรประจำวัน
9) Be Organized and Have a Plan คือ เรียนอย่างมีแผน
8) Break Time คือ มีช่วงเวลาพัก
7) Limit Distractions คือ จำกัดสิ่งรบกวน
6) Make Help Available คือ เปิดการให้ความช่วยเหลือเฉพาะบุคคล
5) Set Goals คือ การกำหนดเป้าหมาย
4) Track Progress คือ การเก็บความก้าวหน้า
3) Group Learning คือ กิจกรรมกลุ่ม
2) Educational Games คือ เกมด้านการศึกษา
1) Take a Trip คือ การออกทัศนศึกษา
http://educational-software-grades-4-6-review.toptenreviews.com