มีข้อมูลแชร์ใน pantip.com และ humanrights.ago.go.th
ที่นำมาแบ่งปัน แต่กฎหมายมีการเปลี่ยนแปลง และแง่มุมต่าง ๆ
ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม กรณีตัวอย่างมาประกอบการพิจารณาให้มาก
1. ได้ครับ
แต่ต้องดูสัญชาติอีกประเทศหนึ่งว่าเขาบังคับให้สละสัญชาติเดิมหรือเปล่า
https://pantip.com/topic/35146617
2. พรบ.สัญชาติ ของไทย
มาตรา ๑๓[๒๒] ชายหรือหญิง ซึ่งมีสัญชาติไทยและได้สมรสกับคนต่างด้าว
และอาจถือสัญชาติของภริยา หรือสามีได้
ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของภริยาหรือสามี
ถ้าประสงค์จะสละสัญชาติไทยให้แสดงความจำนงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
3. การถือสองสัญชาติกรณีแต่งงานจดทะเบียน
http://www.humanrights.ago.go.th/forum/index.php?topic=6735.0
การที่บุคคลสัญชาติอื่นจะขอมีสัญชาติลาวนั้น
จะกระทำได้ก็แต่โดยยื่นคำร้องขอสัญชาติลาวภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
๑. มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในเวลาที่ยื่นคำร้อง
๒. มีความเคารพในรัฐธรรมนูญและกฎหมายของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
๓. สามารถพูด อ่านและเขียนภาษาลาวได้ดี
๔. มีหลักฐานว่าตนมีความสัมพันธ์ในทางสังคมและวัฒนธรรม มีความรู้และเคารพจารีตประเพณีที่ดีงามของลาว
๕. มีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง และไม่ติดยาเสพติด
๖. ไม่เป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษ
๗. มีส่วนร่วมในการปกปักษ์รักษาและพัฒนาประเทศชาติ
๘. ไม่สร้างความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของประเทศ
๙. ได้สละสัญชาติเดิมของตน (เว้นแต่กรณีคนไม่มีสัญชาติ)
๑๐. อาศัยอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนลาวอย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ ปีขึ้นไป
เว้นแต่ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน กำหนดเวลาดังกล่าวอาจลดลงได้
๑๑. เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง และมีสถานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคง
* เมื่อพิจารณาตามกฎหมายว่าด้วยการได้สัญชาติลาวแล้ว]
หากคุณต้องการมีสัญชาติลาว คุณจะต้องสละสัญชาติไทยเสียก่อน (ตามข้อ ๙)
มิฉะนั้นจะไม่สามารถขอถือสัญชาติลาวได้
กล่าวคือคุณจะไม่สามารถถือสองสัญชาติได้
เนื่องจากกฎหมายของลาวไม่ยินยอมให้บุคคลถือสองสัญชาติ
อย่างไรก็ตาม การที่คุณมีสัญชาติไทย เมื่อได้สมรสกับคนสัญชาติลาว
ไม่มีกฎหมายใดบังคับให้คุณจำต้องสละสัญชาติไทย
เพื่อไปใช้สัญชาติอื่น คุณจึงสามารถใช้สัญชาติไทยได้ตราบเท่าที่ไม่ได้แสดงความประสงค์ที่จะสละสัญชาติไทย
ข้อดีและข้อเสียของการสละสัญชาติไทย
http://www.thaiembassy.org/seoul/
1. ข้อดีการเข้าถือสัญชาติตามคู่สมรสต่างชาติ
1.1 ทำให้สามีภรรยา ซึ่งเป็นบุคคลในครอบครัวถือสัญชาติเดียวกัน
1.2 สามีหรือภรรยาตามกฎหมายมีสิทธิได้รับความคุ้มครองหรือได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายของประเทศของคู่สมรส ในฐานะคนสัญชาติประเทศนั้น
2. ข้อควรระวัง
กฎหมายสัญชาติของต่างประเทศจะกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะขอถือสัญชาติของประเทศนั้น ๆ ต้องสละสัญชาติเดิมก่อน โดยเฉพาะการถือสัญชาติโดยการสมรส ในทางปฏิบัติ ขั้นตอนการอนุมัติให้เข้าถือสัญชาติต้องใช้เวลาในการดำเนินการ บางกรณีการสมรสอาจสิ้นสุดลงก่อนที่หญิงไทยจะได้รับอนุมัติให้ถือสัญชาติของคู่สมรส การขาดจากการสมรสทำให้หญิงไทยขาดคุณสมบัติที่จะถือสัญชาติตามคู่สมรสที่เป็น ต่างชาติ ประกอบกับการสละสัญชาติไทยมีผลตามกฎหมายแล้ว ในกรณี เช่นว่านี้จะมีผลทำให้หญิงไทยตกอยู่ในสภาวะเป็นบุคคลไร้สัญชาติได้ ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจสละสัญชาติ จึงควรศึกษากฎหมายสัญชาติ และขั้นตอนการดำเนินการตามกฎหมายของประเทศนั้นให้ เข้าใจก่อน
3. ผลทางกฎหมายกรณีสละสัญชาติไทย
เพื่อเข้าถือสัญชาติของสามี
เมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้บุคคลใดเสียสัญชาติไทย โดยผลของกฎหมาย การเสียสัญชาติไทยจะทำให้บุคคลดังกล่าวมีสถานะเป็น “บุคคลต่างด้าว” การมีสถานะเป็นบุคคลต่างด้าวจะมีผลตามกฎหมายไทย ดังนี้
3.1 กระทรวงมหาดไทยจะตัดชื่อผู้ที่เสียสัญชาติไทยออกจากทะเบียนราษฎร์ ทำให้ไม่มีหลักฐานแสดงความเป็นคนไทยอีกต่อไป อาทิ จะไม่สามารถถือบัตรประจำตัวประชาชนและ
3.2 การเดินทางกลับประเทศไทยต้องถือหนังสือเดินทางของประเทศที่ตนถือสัญชาติ ต้องขอรับการตรวจลงตรา และสามารถพำนักอยู่ในประเทศไทยได้ตามระยะเวลาที่กฎหมายไทยอนุญาตเท่านั้น
3.3 เนื่องจากผู้ที่เสียสัญชาติไทยมีสถานะเป็นบุคคลต่างด้าว หากตกทุกข์ได้ยากหรือประสบความเดือดร้อนระหว่างอาศัยอยู่ในต่างประเทศ ไม่ว่ากรณีใดๆ สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ไทยไม่สามารถให้ความคุ้มครองดูแลช่วย เหลือตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายไทยต้องขอความช่วยเหลือจากทางการของ ประเทศที่ตนมีสัญชาติเท่านั้น
3.4 สิทธิและหน้าที่สำหรับความเป็นคนไทยสิ้นสุดลง โดยไม่ได้รับการปกป้องสิทธิตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 อาทิ หมดสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งและการสมัครรับเลือกตั้ง หมดสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง
3.5 การประกอบอาชีพอิสระในประเทศไทยต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ปี พ.ศ. 2542
3.6 การทำงานในประเทศไทยต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว ปี พ.ศ. 2551
3.7 การถือครองที่ดินต้องเป็นไปตามประมวลกฏหมายที่ดิน ซึ่งกำหนดว่า ” คนต่างด้าว ที่ต้องการถือครองที่ดินในประเทศไทย จะต้องนำเงินมาลงทุนในประเทศไทยตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงมหาดไทยไม่ต่ำ กว่า 40 ล้านบาท และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย จึงจะสามารถถือครองที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยได้ไม่เกิน 1 ไร่
3.8 การถือครองอาคารชุดต้องเป็นไปตาม พรบ. อาคารชุด นอกจากนี้แล้ว สิทธิและหน้าที่ของบุคคลต่างด้าวในเรื่องอื่นๆ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติกฎหมาย
4. การกลับคืนสัญชาติไทย
ตามพระราชบัญญัติสัญชาติฯ ชายหรือหญิงที่ได้สละสัญชาติไทย
เพื่อเข้าถือสัญชาติอื่นตามคู่สมรส หากการสมรสสิ้นสุดลง
กฎหมายไทยกำหนดให้บุคคลฯ ดังกล่าวมีสิทธิขอกลับคืนสัญชาติไทยได้
โดยยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พร้อมแสดงหลักฐานประกอบ
อาทิ หากมีผู้ลำเนาอยู่ในจังหวัดพระนครหรือธนบุรี ให้ยื่นต่อผู้บังคับการตำรวจสันติบาล
หากผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นต่อผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนั้น
และหากมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นต่อพนักงานทูตหรือกงสุล
ณ ที่ทำการสถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศนั้น