คนหลังไมค์กับ ดีเจน้ำหวาน และดีเจอาร์ตี้

ดีเจน้ำหวาน--คุณพนิตพิมพ์ ทั่งเชียงใหม่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ๊กซ์เอเจนซี่ จำกัด
ดีเจน้ำหวาน–คุณพนิตพิมพ์ ทั่งเชียงใหม่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ๊กซ์เอเจนซี่ จำกัด

อ่านในไลน์พบ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง เล่าว่า
ช่วงเช้าวันนี้ 26 ต.ค.59 นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมโครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “คนหลังไมค์” พบกับ ดีเจน้ำหวาน–คุณพนิตพิมพ์ ทั่งเชียงใหม่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ๊กซ์เอเจนซี่ จำกัด และดีเจอาร์ตี้–คุณสุรพันธ์ แสงสุวรรณ์ นักจัดรายการสถานีวิทยุ XFM Chiangmai เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ ความคิด และมุมมองในการดำเนินการวิทยุกระจายเสียง พร้อมชี้แนวทางความสำเร็จในการทำงานและต่อยอดไปถึงอาชีพอื่นๆ ที่ห้องประชุม 4201 อาคาร 4 งานเริ่ม 10.30-12.00 น.

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=984110598383159&set=pcb.984117065049179&type=3&theater
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=984110598383159&set=pcb.984117065049179&type=3&theater

https://www.facebook.com/phanitphim.tchiangmai

อ่านแล้วก็สนใจ นำมาแชร์ต่อ
ทำให้นึกถึงเหตุการณ์ และ เรื่องวิทยุกระจายเสียง
ที่หมายถึงการส่งคลื่นวิทยุ เงื่อนไขของอุปกรณ์ กฎหมาย เครื่องบริการออนไลน์
และอื่น ๆ อีกมากมาย
เมื่อก่อนเคยรู้จักเพื่อนที่ทำเรื่องนี้หลายท่านด้วย

ดีเจอาร์ตี้--คุณสุรพันธ์ แสงสุวรรณ์
ดีเจอาร์ตี้–คุณสุรพันธ์ แสงสุวรรณ์

สรุปว่าจะนำเรื่องนี้ไปเล่าให้นักศึกษาฟัง
เพราะมี SoundCloud.com ที่นักศึกษา
สามารถใช้เป็น cloud storage เก็บเสียงใส ๆ ได้
ผมมี 2 บัญชีด้วยเหตุผลเรื่องโควตา
https://soundcloud.com/thaiall
https://soundcloud.com/gthaiall

 

ผมร้องเพลง “สาวเชียงใหม่”
https://soundcloud.com/gthaiall/chiangmai-lady-by-lampang-man

 

นี่ถ้าไม่นึกถึง ranking นะครับ
แต่ถ้าสนใจความเป็นเครือข่ายเพื่อน และจำนวนผู้ฟัง
ก็คงต้องแนะนำให้ไป youtube.com
เพราะคนเยอะที่สุด เทียบกับ social media ด้วยกัน
สรุปว่าชอบกระบวนการด้านเสียงครับ

ข้อมูลเรื่อง youtube.com อันดับหนึ่ง
http://www.digitalthailand.in.th/news-detail-16
– อันดับ 1 Social Media ที่นิยมสูงสุดคือ Youtube ถูกใช้ในอัตรา 97.3%
– อันดับ 2 Social Media ที่นิยมใช้คือ Facebook ถูกใช้ในอัตรา 94.8%
– อันดับ 3 Social Media ที่นิยมใช้คือ LINE ถูกใช้ในอัตรา 94.6%
– อันดับ 4 Social Media ที่นิยมใช้คือ Instagram ถูกใช้ในอัตรา 57.6%
– อันดับ 5 Social Media ที่นิยมใช้คือ Twitter ถูกใช้ในอัตรา 35.5%
– อันดับ 6 Social Media ที่นิยมใช้คือ Whatsapp ถูกใช้ในอัตรา 13.7%
– อันดับ 7 Social Media ที่นิยมใช้คือ Linkedin ถูกใช้ในอัตรา 11.4%

ภาพกิจกรรมคนหลังไมค์ในกลุ่มของมหาวิทยาลัย
https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.1275093215889879

ปี 2559 และ 2558 ผลสอบแอดมิชชั่น 6 อันดับแรกเลือกสายสังคมศาสตร์ทั้งหมด

นั่งดูข้อมูลเด็ก ๆ ทั้ง 12 คน พบว่า
ปี 2559 จุฬา 4 ธรรมศาสตร์ 2 ปี 2558 จุฬา 4 ธรรมศาสตร์ 1 เชียงใหม่ 1
แสดงว่า เด็กในประเทศไทยที่เก่งเลือกเรียนจุฬากับธรรมศาสตร์เป็นส่วนใหญ่
เด็กทั้ง 12 คน เป็นเด็กต่างจังหวัด 6 คน กรุงเทพฯ 6 คน
แสดงว่า เด็กเก่งทั้ง 76 จังหวัดมีจำนวนเท่ากับเด็กเก่งที่กรุงเทพฯ จังหวัดเดียว
เด็กทั้ง 12 คน มาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 3 คน ปรินส์ 2 คน สาธิตปทุมวัน 2
แสดงว่า โรงเรียนที่มีเด็กเก่งเข้าเรียนคงหนีไม่พ้น 3 โรงเรียนนี้ และโรงเรียนที่เหลือ

ศึกษานารี สายวิทย์ สอบติดยกห้อง
ศึกษานารี สายวิทย์ สอบติดยกห้อง

ก็อยากสรุปเหมือนกันนะครับ ว่า เดี๋ยวนี้เด็กเก่งเลือกเรียนสายสังคมมากกว่าสายวิทย์
แต่หลังผลสอบออก ข่าวโรงเรียนศึกษานารี ห้อง 6/3 จะดังกลบข่าวอื่นซะหมด
เด็กห้องนี้ 29 สายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สอบติดยกห้อง
ส่วนห้องอื่นก็สอบได้มหาวิทยาลัยของรัฐทั้งสอบตรง และแอดมิชชั่น เฉลี่ย 95%
http://www.thairath.co.th/content/633720

จากข้อมูลที่มีการเผยแพร่โดย ทปอ. ปี 2559
ถึงผลสอบนักเรียน ม.6 เข้ามหาวิทยาลัย มีผู้สมัครแอดมิชชั่นส์ทั้งสิ้น 105,046 คน
มีผู้ผ่านการคัดเลือกมีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย จำนวน 85,834 คน
จากจำนวนรับทั้งสิ้น 156,216 คน
พบว่าคนที่สอบได้คะแนนสูง 6 อันดับแรก เลือกสายสังคมศาสตร์ มีดังนี้
ที่หนึ่ง เลือก คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ธรรมศาสตร์
จาก เตรียมอุดมศึกษา (สมัครรอบ 2)
ที่สอง เลือก คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จาก ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่
ที่สาม เลือก คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ธรรมศาสตร์
จาก สุรนารีวิทยา นครราชสีมา
ที่สี่ เลือก คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จาก สาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ที่ห้า เลือก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จาก เตรียมอุดมศึกษา
ที่หก เลือก คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จาก อัสสัมชัญสมุทรปราการ
http://www.komchadluek.net/news/detail/229003
http://www.tlcthai.com/education/admission/111928.html
http://www.thairath.co.th/content/632708

สอดคล้องกับ ปี 2558 ที่ผลสอบแอดมิชชั่นได้คะแนนสูง
ที่หนึ่ง เลือก คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์-โฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จาก สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน กรุงเทพฯ
http://www.thairath.co.th/content/504739
ที่สอง เลือก คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จาก โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่
ที่สาม เลือก คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จาก สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน กรุงเทพฯ
ที่สี่ เลือก คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ธรรมศาสตร์
จาก โรงเรียนสตรีวิทยา กรุงเทพฯ
ที่ห้า เลือก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ
ที่หก เลือก คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จาก โรงเรียนผดุงปัญญา ตาก
http://teen.mthai.com/education/94484.html

รศ.ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค

รศ.ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค
รศ.ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค

ทราบข่าวว่า รศ.ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาตร์ มสธ.
ท่านจากไปแล้ว ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ วัดพระยาสุเรนทร์
รดน้ำศพ วันที่ 26 มี.ค.57

ท่านทำคุณงามความดีแก่ประเทศไว้มากมาย
ค้นข้อมูลพบคลิ๊ปหนึ่งที่ท่านออก รายการทีวี Intelligence

http://www.youtube.com/watch?v=YqH30XGmwTk

ท่านเคยมาดูประเมินหลักสูตรนิเทศศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์บางนา
เสียงของท่านใจดีมาก ฟังได้จากคลิ๊ป Intelligence

ในคลิ๊ปมีคำบรรยายว่า
รศ.ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ชี้ว่าปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
คือ การที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้เสรีภาพสื่อ
ซึ่งก็คือหนังสือพิมพ์ วิพากษ์วิจารณ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ได้อย่างค่อนข้างเต็มที่ จนกระทั่งเกิดนักหนังสือพิมพ์ที่มีคุณภาพ
อย่างเช่น กลุ่มสุภาพบุรุษ นำโดย “ศรีบูรพา” กุหลาบ สายประดิษฐ์

http://shows.voicetv.co.th/intelligence/43287.html

หนังสือพิมพ์ เสียงลำปาง (voice of lampang)

เสียงลำปาง
เสียงลำปาง

ปีพ.ศ.2550 – 2552 จังหวัดลำปางมีหนังสือพิมพ์ประเภทแจกฟรีเกิดขึ้น มีจำนวน 20 ฉบับ ที่รวมเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดลำปาง จัดทำโดยคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยโยนก ซึ่งเป็นผลงานของนักศึกษาที่ได้ปฏิบัติจริง ผ่านการสนับสนุนของมหาวิทยาลัย เป็นการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด WIL (Work Integrated Leaning) โดยนักศึกษาจะเป็นผู้กำหนดประเด็น ออกหาข่าว สัมภาษณ์ เก็บภาพ ติดต่อผู้สนับสนุน และนำมาจัดรูปเล่ม เป็นการทำงานที่ถือเป็น profit center ตามนโยบายของผู้บริหารในยุคนั้น
https://skydrive.live.com/redir.aspx?cid=ad5d4db8b448d28d&resid=AD5D4DB8B448D28D!419
http://www.yonok.ac.th/emagazine/