ดัชนีความคล้ายคลึง

ตามที่ได้อ่านจาก thailibrary.in.th พบว่า Pharmaceutical and Biosciences Journal และ Bentham Science ได้ระบุในเงื่อนไขการรับบทความวารสารต้นฉบับเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ว่า อนุญาตให้มีความคล้ายคลึงกันโดยรวม 20% สำหรับต้นฉบับที่จะพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ และมีความคล้ายคลึงกันของข้อความจากแหล่งเดียวที่ยอมรับได้คือ 5% ดังนั้น เรื่อง “ดัชนีความคล้ายคลึง” ระบุให้ 1) ความคล้ายคลึงโดยรวมไม่เกินร้อยละ 20 2) ความคล้ายคลึงจากแหล่งเดียวกันไม่เกินร้อยละ 5 พบว่า บางสถาบันกำหนดละเอียดลงไปว่า “ส่วนของผลการวิจัยและอภิปรายผลต้องมีค่าไม่เกินร้อยละ 10” เป็นเงื่อนไขที่น่ายึดเป็นแนวปฏิบัติสำหรับนักวิชาการที่ต้องการตีพิมพ์ผลงาน และตรวจสอบความเหมือน ด้วย อักขราวิสุทธิ์

https://www.thaiall.com/research/apa.htm

thailibrary.in.th
ukjpb.com

กรณีวิทยานิพนธ์เรื่อง ทุนทางสังคมและวัฒนธรรม กับการปรับตัวธุรกิจร้านอาหาร ของคนไทยเชื้อสายเวียดนาม ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม

โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์
โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์

ฟังในทีวี
ถามว่า “จะเรียนเพื่อรับวุฒิบัตรการศึกษา หรืออยากได้ความรู้นำไปใช้ในวิชาชีพ
ถ้าถามนักเรียน นักศึกษาสมัยนี้ ผมว่านะเค้าต้อง
ตอบว่า “อยากได้ความรู้นำไปใช้ในวิชาชีพแน่เลย
.. ฟันธง

จากกรณีที่นักศึกษาปริญญาโทท่านหนึ่ง
ได้ศึกษาวิจัย ค้นคว้า แล้วทำวิทยานิพนธ์
หัวข้อ “ทุนทางสังคมและวัฒนธรรม กับการปรับตัวธุรกิจร้านอาหาร
ของคนไทยเชื้อสายเวียดนาม ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม
แล้วนักศึกษา ม.ขอนแก่น เจ้าของผลงาน
ได้ออกมาร้องเรียนว่า นักศึกษา ม.ศิลปากร คัดลอกผลงาน
หากใช้ โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ช่วยในการตรวจสอบการคัดลอกก็จะพบได้
http://news.ch7.com/detail/170160/
ปล. คุณเรณู งานวิชาการ แชร์มาให้อ่าน

โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์
http://akarawisut.com/