ฝึกทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้นักเรียน เพื่อให้สามารถแข่งขันได้

ปัจจุบันห้องเรียนที่ทันสมัยจะสอนการใช้แอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่เน้นทักษะการใช้งาน จนสามารถนำไปแข่งขันกับเพื่อนต่างโรงเรียนได้ ซึ่ง ประเทศไทยจัดให้มี งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ในปีการศึกษา 2565 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 70 ที่ ( sillapa . net ) เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน แบ่งได้ 18 หมวดหมู่ คือ 1) ภาษาไทย 2) คณิตศาสตร์ 3) วิทยาศาสตร์ 4) นักบินน้อย สพฐ. 5) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 6) สุขศึกษา และพลศึกษา 7) ศิลปะ-ทัศนศิลป์ 8) ศิลปะ-ดนตรี 9) ศิลปะ-นาฏศิลป์ 10) ภาษาต่างประเทศ 11) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 12) คอมพิวเตอร์ 13) หุ่นยนต์ 14) การงานอาชีพ 15) ปฐมวัย 16) การศึกษาพิเศษ (โรงเรียนเรียนรวม) 17) การศึกษาพิเศษ (เฉพาะความพิการ) 18) การศึกษาพิเศษ (ศูนย์การศึกษาพิเศษ)

พบว่า มีเกณฑ์การแข่ง ขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สรุปกิจกรรมการแข่งขันกลุ่ม สาระการเรียนรู้วิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) พบว่า มี 13 กิจกรรม แบ่งได้ 26 รายการ ในหน้า 49 – 51 พบว่า แต่ละกิจกรรมแนะนำโปรแกรม ให้เลือกใช้มากมาย

  1. การแข่งขันการสร้างการ์ตูนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก
    ได้บังคับให้ใช้เฉพาะโปรแกรม Paint
  2. การแข่งขันการสร้างการ์ตูนเรื่องสั้น (Comic Strip) แนะนำโปรแกรม Paint, Adobe Illustrator, Adobe Flash, Adobe Photoshop, Cool Edit Pro., PhotoScape, Microsoft Office, Adobe InDesign, Paint SAI หรือโปรแกรมอื่น ๆ
  3. การแข่งขันการสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น (3D Animation) แนะนำโปรแกรม Adobe Audition, Adobe After Effect, Adobe Flash, Adobe Illustrator, Adobe Premiere Pro, Adobe Photoshop, Audacity, Crazy Talk Animation, Cool Edit Pro., Wondershare, Format Factory, Free RIP, Gold Wave, GSP, QuickTime, WavePad Sound Editor, MD Sound, MP Converter, Namo Free Motion, Nero Wave Editor, RPG, Soundboot, Sound Page, Sound Recorder, Swishmax, Toon Boom, Ulead Video, Vegas Pro, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
  4. การแข่งขันการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แนะนำโปรแกรม 3D Max / 3D Max Studio, Autodesk 3D Max, Blender, Cinema 4D, Google SketchUp/ SketchUp Pro, MAYA, Sweethome 3D, Pro Desktop, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
  5. การแข่งขันการสร้างเกมสร้างสรรค์จากคอมพิวเตอร์ แนะนำโปรแกรม Adobe AI, Adobe Captivate, Adobe Master, Adobe Photoshop, Adobe Flash / Flash CS, Authorware, Adobe illustrator, Game Maker, Construct, Kodu Game Lab, Jumla, Swish / Swish max, Microsoft Excel, Microsoft PowerPoint, Photot Scape, Pux Paint, Paint, RPG Maker XP, RPG VX, Scratch, Sketchup Pro., Stencyl, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
  6. การแข่งขัน Motion Infographic แนะนำโปรแกรม Adobe After Effect, Adobe Illustrator, Adobe Flash, Adobe Premier, Sony Vegas Pro, Microsoft Office, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
  7. การแข่งขันการใช้โปรแกรมนำเสนอ (Presentation) แนะนำโปรแกรม Adobe Photoshop, Flash, Microsoft PowerPoint, Photoscape, ProShowGold, Ulead, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
  8. การแข่งขันการสร้าง Webpage ประเภท Text Editor
    ได้บังคับให้ใช้เฉพาะโปรแกรม Notepad
  9. การแข่งขันการสร้าง Webpage ประเภท Web Editor แนะนำโปรแกรม Adobe Flash / Flash Player, Flash Effect Maker, Adobe Dreamweaver, Webpage Maker, Adobe Photoshop, Corel VideoStudio Pro, FileZilla, Intro Banner, Swishmax, Magic Video Converter, Master collection, Microsoft FrontPage, Namo, Namo Web Editor, Picture College Maker Pro., Photo to Movie, หรือโปรแกรมอื่น ๆ,
  10. การแข่งขันการสร้าง Web Applications แนะนำโปรแกรม Notepad, Notepad++, Sublime Text, VIM, Atom, Emacs, Editplus, Adobe Dreamweaver, Front page, Kompozer, nanoWebEditor, Visual Studio.NET, Eclipse, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
  11. การแข่งขันการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ แนะนำโปรแกรม C Free, Code Blocks, Dev C++, Dev Tools, PHP, Vicual Basic, Turbo C++, Visual C#, Visual C++ 2010 Express, Visual Studio Express, หรือโปรแกรมอื่น ๆ
  12. การประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทซอฟต์แวร์ เป็นการบูรณาการทุกแอปพลิเคชัน ไม่ได้แนะนำตัวใดไว้เป็นพิเศษ
  13. การแข่งขันการตัดต่อภาพยนตร์ แนะนำโปรแกรม Adobe Audition, Adobe Flash, Adobe Photoshop, Adobe Premiere / Premiere Pro, After Effects, Converteter Pro, Corel VideoStudio, Cyberlink Powerdirector, Format Factory, Nero Wave, Power Director, Sony VegasPro, Sound Recorder, Sound Forge, Ulead/ Ulead Video Studio, Windows Movie Maker, หรือโปรแกรมอื่น ๆ

https://www.thaiall.com/education/indexo.html

https://www.thaiall.com/student/

โปรแกรมที่พบในการจัดประกวด

สุดยอดโปรแกรมสำนักงานฟรี (The Best Free Office Software)

buy notebook from SiamTV
buy notebook from SiamTV

การเขียนรายงานสักฉบับหนึ่ง หรือนำเสนองานหน้าชั้นสักเรื่อง
สมัยนี้ต้องใช้โปรแกรมสำนักงาน (Office Suite)
หลังจากมีผู้คนใช้งานกไปแล้วระยะหนึ่ง
ก็พบว่า Mark Wycislik-Wilson ได้ Review
แล้วเขียนเรื่อง “สุดยอดโปรแกรมสำนักงานฟรี
http://www.techradar.com/news/the-best-free-office-software
โดยมีทั้งหมด 5 โปรแกรม เรียงจาก Best ที่สุด ดังนี้
1) WPS Office Free
2) LibreOffice
3) Apache OpenOffice
4) SoftMaker FreeOffice
5) SSuite Office Premium HD+
ผมไม่ได้ทำลิงค์ดาวน์โหลดไว้ แต่เข้า techradar.com ตามลิงค์ด้านบน เค้าก็ลิงค์ไปให้แล้ว
ส่วน Best ในใจผม ยกให้ LibreOffice เพราะเคยซื้อ Notebook มา
แล้ว “ไอทีคลินิก (IT Clinic)” ของสยามทีวี เค้าลงตัวนี้ให้ฟรี ซึ่งมั่นใจว่าเค้าเลือกมาอย่างดีแล้ว

หากถามว่าโปรแกรม Office Suite ในโลกเรา มีอะไรบ้าง
ไปพบใน Wikipedia.org
ที่ https://en.m.wikipedia.org/wiki/Comparison_of_office_suites
เค้าเปรียบเทียบแต่ละโปรแกรม 12 หัวข้อ แบ่งได้ดังนี้
1) Software Name
2) Developer
3) First public release
4) Predecessor (แหล่งที่มา)
5) Latest Stable version / (Date)
6) Operating system
7) Price in USD
8) License
9) Microsoft Office (.doc, .xls) support
10) Microsoft Office Open XML support
11) OpenDocument support
12) Portable Document Format support
แล้วแต่ละโปรแกรมสำนักงาน ทำงานบนระบบปฏิบัติการใดได้บ้าง
ก็มีแบ่งไว้ 5 ระบบปฏิบัติการ
1) Windows 2) macOS 3) GNU/Linux 4) BSD 5) Unix
องค์ประกอบของโปรแกรมที่โปรแกรมสำนักงานแต่ละค่ายมี ก็เทียบไว้ว่าใครมีชื่ออะไรกันบ้าง
ดังนี้
1) Word processor
2) Spreadsheet
3) Presentation program
4) Notetaking software
5) Diagramming software
6) Raster graphics editor (Bitmap)
7) Vector graphics editor
8) Image viewer
9) Formula editor
10) Database management system
11) Project management software
12) Desktop publishing software
โปรแกรมสำนักงาน (Office suite) ในปัจจุบันได้นำมาเปรียบเทียบไว้มี 27 โปรแกรม
หากโปรแกรมใด Free จะมีเครื่องหมาย * (12 โปรแกรม) ต่อท้ายชื่อโปรแกรมไว้ และทั้งหมดมีดังนี้
1) Ability Office
2) Apache OpenOffice*
3) Breadbox Office
4) Calligra Suite*
5) Feng Office Community Edition*
6) Gobe Productive
7) Google Apps (GoogleDocs)*
8) IBM Lotus Symphony*
9) iWork
10) LibreOffice*
11) Lotus SmartSuite
12) MarinerPak
13) Microsoft Office
14) Microsoft Works (Discontinued in 2009)
15) MobiSystems OfficeSuite
16) NeoOffice
17) OnlyOffice*
18) SoftMaker Office*
19) SSuite Office Premium HD+*
20) StarOffice
21) TeXmacs*
22) TeamLab
23) ThinkFree Office
24) Tiki Wiki CMS Groupware*
25) WordPerfect Office
26) WPS Office (Kingsoft Office)*
27) Zoho Office Suite

office suite comparison
office suite comparison

วิพากษ์บทความจากการวิจัยด้านไอที ปี 2554

reviewer
reviewer

8 มี.ค.54 มีหัวข้อต้องให้คะแนน 7 หัวข้อ 1) Overall Evaluation  2) Reviewer’s Confidence 3) Degree of Novelty and Innovation 4) Relevant to the conference 5) Level of language and presentation 6) Fitting the style instruction 7) Up-to-date literature
พบปัญหาในบทความที่ได้ให้ข้อเสนอแนะแก้ผู้เสนอบทความดังนี้
1. บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีเนื้อหาไม่ตรงกัน ควรปรับให้ตรงกัน
2. วิธีดำเนินงานควรมีคำบรรยายประกอบภาพให้เข้าใจ และมีรายละเอียดที่เหมาะกับวิธีการวิจัย
เช่น แสดงขั้นตอนในการออกแบบ การพัฒนา การทดลอง การหาประสิทธิภาพ เป็นต้น
3. ผลการดำเนินงานไม่มีรายละเอียดเท่าที่ควร ควรนำเสนอภาพพร้อมคำอธิบายประกอบให้เข้าใจ
ผลการทดสอบในขั้นตอนต่าง ๆ และผลการเปรียบเทียบ
4. ข้อเสนอแนะที่เขียนมา ควรขยายความให้สัมพันธ์กับผลการดำเนินงาน
เป็นต้น
สำหรับเนื้อหาแล้ว .. ผมไม่ค่อยกล้าก้าวล่วง เพราะเห็นเป็นงานของป.โท ที่ผ่านการคัดกรอง ดำเนินการมาจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งผู้นำเสนอใช้เวลาดำเนินการ ทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจศึกษา พัฒนาระบบ แล้วนำประสบการณ์จากการศึกษามาเล่าสู่กันฟัง ผ่านบทความจากการวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ที่พอให้ข้อเสนอแนะ .. การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการอธิบายแต่ละหัวข้อต้องชัด เพื่อให้มีความหมายตรงตามหัวข้อที่เวทีกำหนด ซึ่งบทความที่ผมได้รับมอบหมายส่วนใหญ่เป็นงานของนักศึกษาป.โท ที่ผ่านการคัดกรองมาแล้วระดับหนึ่ง ก็เพียงช่วยดูให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งหัวข้อกำหนดในบทความมีดังนี้ บทคัดย่อ บทนำ วรรณกรรมหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีการหรือขั้นตอน ผลการดำเนินการวิจัย และสรุป

การทำให้โค้ดมีประสิทธิภาพ

optimization
optimization

Code Optimization คือ การทำให้โค้ดมีประสิทธิภาพ ทั้งลดเวลาในการประมวลผล (Time to Execute) การใช้ทรัพยากร (Resource Using) และการนำกลับมาแก้ไขได้ง่าย (Easy to Update) ซึ่งตัวอย่างต่อไปนี้เน้นที่การเปรียบเทียบการเขียนโค้ด (Source Code) แบบก่อนปรับกระบวนการ และหลังปรับกระบวนการของโค้ด

อาจใช้วิธีการเขียนแบบโมดูลหรือฟังก์ชัน ใช้สมการทางคณิตศาสตร์แทน การเลือกใช้คำสั่งที่สั้นกว่า หรือการใช้อัลกอริทึมที่เหมาะสม ซึ่งภาษาที่ใช้นำเสนอ คือ Javascript และเกี่ยวข้องกับ 2 เว็บเพจ ได้แก่ programming และ javascript

ในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์

คำว่า program optimization หรือ software optimization หมายถึง กระบวนการปรับปรุงแก้ไขระบบซอฟท์แวร์หนึ่ง ในบางแง่มุมของงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือใช้ทรัพยากรน้อยกว่าเดิม
ความหมายโดยทั่วไปของ Optimization : โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่อาจถูกทำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาประมวลผล หรือสามารถดำเนินการ โดยใช้หน่วยความจำลดลง ใช้ทรัพยากรน้อยลง หรือลดการใช้พลังงาน

http://en.wikipedia.org/wiki/Program_optimization
http://www.thaiall.com/optimization/

ทดสอบโปรแกรมจับความเร็วของ while กับ for

2 เม.ย.53 ปรับโปรแกรมจับเวลาการทำงานของโปรเซสด้วยภาษา PHP โดยใช้ Function เพราะต้องการวัดว่าใช้เวลาเท่าใดใน process ที่ต้องการทดสอบ มีการเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบในสภาวะที่เชื่อถือได้ ซึ่ง code ชุดนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้หลายกรณี แต่ครั้งนี้ทดสอบเพียงแค่การใช้ while และ for สำหรับทำซ้ำ 1000 รอบ พบว่า while ทำงานเร็วกว่า ในระดับ 1ต่อหมื่นวินาที ส่วนการทดสอบกับ mysql ผมยังไม่ได้เตรียมสภาวะแวดล้อมให้พร้อม จึงไม่นำเสนอผลที่นี่ .. ถ้าควบคุมและทดสอบจนได้ผลอย่างไร จะกลับมาเล่าใหม่

<?
$gap=0;
xtime("start");
for($i=1;$i<=1000;$i++) { }
echo number_format(xtime("stop"),9) ." วินาที<br>";
$j=0;
xtime("start");
while($j < 1000) { $j++; }
echo number_format(xtime("stop"),9) ." วินาที<br>";
function xtime ($action) {
  global $gap;
  list($u,$s) = split(" ",microtime()); 
  if ($action == "start") $gap = $s + $u; 
      else $gap = $s + $u - $gap;
  return $gap;
}
?>

+ http://www.thaiall.com/php