ปี 2557 เครื่องบินตก 15 ครั้ง เป็นข่าวดังในภูมิภาคนี้ 3 ครั้ง

298 Crew And Passengers Perish On Flight MH17 After Suspected Missile Attack In Ukraine
298 Crew And Passengers Perish On Flight MH17 After Suspected Missile Attack In Ukraine

มีโอกาสอ่านข่าวจากเว็บ thaipost เล่าว่าปี 2557 มีเครื่องบินตก 15 ครั้ง
มาเลเซียแอร์ไลน์ ตก 2 ครั้ง คือสูญหาย และถูกยิงตก
1. 8 มี.ค.57 เครื่องโบอิ้ง 777 สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินเอ็มเอช 370 จากกัวลาลัมเปอร์มุ่งสู่ปักกิ่ง มีผู้โดยสาร 239 คน
2. 17 ก.ค.57 มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินเอ็มเอช 17 ถูกยิงตกขณะอยู่เหนือน่านฟ้ายูเครน ผู้โดยสารและลูกเรือเสียชีวิตทั้งหมด 298 คน
3. 28 ต.ค.57 เครื่องบินแอร์เอเชีย เที่ยวบินคิวแซด 8501 จากอินโดนีเซียไปสิงคโปร์ มีลูกเรือและผู้โดยสาร 162 คน


โดยมีเนื้อข่าวจาก http://www.thaipost.net/news/301214/101091 ว่า

ถ้าคุณเป็นคนที่ไม่กลัวการขึ้นเครื่องบิน ปี 2557 ที่กำลังผ่านพ้นไปนี้อาจทำให้คุณรู้สึกหวาดหวั่นขึ้นมาบ้าง เพราะมีเหตุการณ์เครื่องบินตกที่น่ากลัวอยู่หลายครั้ง แม้ว่าถ้าดูจากสถิติอุบัติเหตุทางเครื่องบินทั้งปีจะเป็นอีกหนึ่งปีที่มีความปลอดภัยในการเดินทางด้วยเครื่องบินมากที่สุด
มาเลเซียแอร์ไลน์เป็นสายการบินที่ต้องประสบเรื่องราวโศกนาฏกรรมมากที่สุด เนื่องจากความสูญเสียที่เกิดขึ้น 2 ครั้งกับสายการบินนี้ ทั้งจากการหายสาบสูญและถูกยิงตก ทำให้ทั่วโลกต้องหันมาทบทวนมาตรการเฝ้าระวังความปลอดภัยในการบินเพื่อให้ผู้ใช้บริการเครื่องบินคลายความกังวลลงบ้าง
มารี เลอแฟบเวร์ นักธุรกิจชาวแคนาเดียนที่มาประกอบธุรกิจในกรุงเทพฯ เผยความรู้สึกว่า ปกติเป็นคนไม่ชอบขึ้นเครื่องบินอยู่แล้ว แต่ทุกวันนี้ยิ่งรู้สึกทรมานมากขึ้นถ้าจะต้องนั่งเครื่องบิน เพราะเวลาอยู่บนเครื่องบินถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ผู้โดยสารไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย และเหตุเครื่องบินตกในปีนี้ก็น่ากลัวมาก เธอบอกว่าบางครั้งถ้าจำเป็นต้องขึ้นเครื่องบินถึงกับต้องกินยาระงับประสาทไว้ก่อน
เหตุการณ์เครื่องบินตก ซึ่งเป็นข่าวดังไปทั่วโลกเริ่มจากวันที่ 8 มีนาคม 2557 เมื่อเครื่องโบอิ้ง 777 สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินเอ็มเอช 370 จากกัวลาลัมเปอร์มุ่งสู่ปักกิ่ง มีผู้โดยสาร 239 คนหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย หลังจากระบบสื่อสารบนเครื่องถูกปิดลง จนมีการคาดคะเนสาเหตุไปต่างๆ ได้แก่ เกิดการจี้เครื่องบิน, เป็นแผนการร้ายของนักบินเองหรือเกิดเหตุฉุกเฉินบนเครื่อง เช่น ไฟไหม้แบตเตอรี่โทรศัพท์

4 เดือนต่อมามาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินเอ็มเอช 17 ถูกยิงตกขณะอยู่เหนือน่านฟ้ายูเครน ผู้โดยสารและลูกเรือเสียชีวิตทั้งหมด 298 คน หลังจากนั้นชาติตะวันตกกล่าวหาว่าเครื่องบินลำนี้โดนยิงร่วงด้วยมิสไซล์ของกลุ่มกบฏยูเครนที่รัสเซียเป็นผู้หนุนหลัง
เท่านั้นยังไม่พออีก 1 สัปดาห์ต่อมา เครื่องบินของทรานส์เอเชียสายการบินในประเทศไต้หวันเครื่องตก เนื่องจากสภาพอากาศที่เลวร้ายและเครื่องบินแอร์แอลจีเรีย เที่ยวบินเอเอช 5017 ตกในมาลีโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้ง 2 เหตุการณ์มีผู้สูญเสียรวม 164 คน และล่าสุดเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เครื่องบินแอร์เอเชีย เที่ยวบิน 8501 จากอินโดนีเซียไปสิงคโปร์ มีลูกเรือและผู้โดยสาร 162 คน ขาดการติดต่อและยังค้นหาไม่พบ

แม้จะมีเหตุเครื่องบินตกที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่หลายครั้ง แต่ถ้าดูจากข้อมูลของเครือข่ายความปลอดภัยทางการบินที่มีสำนักงานอยู่ที่เนเธอร์แลนด์พบว่า จากเที่ยวบินหลายล้านเที่ยวทั่วโลกและผู้โดยสารหลายพันล้านคนที่เดินทางกันทั้งปี ตัวเลขของเครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์ที่ประสบอุบัติเหตุตกในปี 2557 อยู่ที่ 15 ครั้ง ขณะที่ตัวเลขเครื่องบินตกเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2489 อยู่ที่ 32 ครั้ง
เจอร์รี โซแจ็ตแมน ที่ปรึกษาด้านการบิน ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในกรุงจาการ์ตา บอกว่า เนื่องจากมีความปลอดภัยในการเดินทางโดยเครื่องบินมากขึ้น ทำให้เหตุเครื่องบินตกแต่ละครั้งมีสาเหตุที่ลึกลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพราะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่แทบจะไม่น่าเกิดได้อย่างเช่นในปี 2557
ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินตกในปีนี้คือ 762 คน สูงที่สุดในรอบ 4 ปี แต่ถ้าไม่นับเหตุการณ์ที่เกิดกับมาเลเซียแอร์ไลน์ ตัวเลขผู้เสียชีวิตจะเป็น 225 คน ใกล้เคียงกับปี 2556 ที่มีผู้เสียชีวิตจากเครื่องบินตกน้อยที่สุดคือ 224 คน
แม้เครื่องบินตกจะเป็นข่าวดังไปทั่วโลก แต่จากการเปิดเผยของสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (ไอเอทีเอ) ระบุว่า จำนวนผู้ใช้บริการเครื่องบินช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม ปี 2557 เพิ่มขึ้นถึง 5.8% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2558
แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเที่ยวบินเอ็มเอช 370 ทำให้เกิดแนวคิดการเชื่อมต่อข้อมูลการบินระหว่างชาติเพื่อประสิทธิภาพในการเฝ้าติดตามเครื่องบินแต่ละเที่ยวบินอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริหารด้านการบินทั่วโลกใกล้จะประกาศมาตรการใหม่เพื่อใช้ติดตามเที่ยวบิน ได้แก่ กำหนดให้ถ้าเที่ยวบินนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการบินกะทันหันจะต้องรายงานตำแหน่งของเครื่องบินทุก 5 นาที ส่วนถ้าเป็นเที่ยวบินตามปกติ ให้นักบินต้องรายงานตำแหน่งทุกครึ่งชั่วโมง การทำเช่นนี้จะช่วยได้มากเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับเครื่องบินที่จะส่งหน่วยกู้ภัยออกไปค้นหาและช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอซีเอโอ) กำลังทบทวนถึงพื้นที่ ซึ่งมีการสู้รบกันว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดที่จะให้เครื่องบินผ่านเข้าไปในน่านฟ้า โดยเฉพาะในปัจจุบันมีหลายพื้นที่ในโลกที่อยู่ในการยึดครองของกลุ่มกบฏที่มีอาวุธร้ายแรง
เดวิด เลียร์เมาท์ แห่งนิตยสารไฟท์โกลบอล เห็นว่า แม้จะเกิดเหตุเครื่องบินตกที่สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนทั้งโลกอยู่หลายครั้งในปี 2557 แต่ไม่กระทบกับการใช้บริการเครื่องบินทั้งเพื่อไปติดต่อธุรกิจหรือไปเที่ยวพักผ่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะตามสถิติแล้วการเดินทางด้วยเครื่องบินก็ยังมีความปลอดภัยมากที่สุด
ต่างจากทอม บันน์ ที่เปิดศูนย์เอสโอเออาร์ในสหรัฐช่วยให้คำปรึกษาผู้ที่กลัวการเดินทางโดยเครื่องบินที่เห็นว่าความคิดด้านลบกับการเดินทาง โดยเครื่องบินจะยังคงฝังลึกอยู่ในจิตใจของนักเดินทางไปอีกนาน “ความไม่ไว้วางใจการเดินทางโดยเครื่องบินเป็นเรื่องที่ฝังลึกมากและจะมีผลกระทบอยู่นานทีเดียว อย่างที่คนกลัวการขึ้นเครื่องบินพูดถึงหายนะที่เกิดขึ้นกับมาเลเซียแอร์ไลน์ทั้ง 2 ครั้งว่าเป็นฝันร้ายที่สุดของพวกเขาแล้ว”.

http://www.telegraph.co.uk/news/worldnews/europe/ukraine/10993482/MH17-what-we-know-so-far.html

เปรียบเทียบความแตกต่างของแอร์เอเชีย อินโดนีเซีย QZ8501 กับมาเลเซีย แอร์ไลน์ส MH370

airplane_indonesia_malaysia
airplane_indonesia_malaysia

นั่งค้นข้อมูลว่าเครื่องบิน 2 ลำในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ตก
ในปี 2557 มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร เพราะเป็นไปได้ว่า
ข้อสอบเข้า ม.3 วิชาสังคม อาจหยิบเหตุการณ์ในข่าวมาออกข้อสอบ
ก็ต้องหาข่าวมาอ่านกันหน่อยว่าตกที่ไหน เพราะอะไร
ทั้งที่ปี 2557 มีตกถึง 15 ครั้ง แล้ว 2 ครั้งนี้สำคัญอย่างไร
http://www.thaiall.com/blog/burin/6685/

เหตุเครื่องบิน QZ8501 ของสายการบินแอร์ เอเชีย ทำให้หลายคนย้อนนึกถึงเหตุการณ์เครื่องบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส เที่ยวบินที่ MH 370 ซึ่งหายไปอย่างเป็นปริศนามาเป็นเวลานานถึง 10 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา และยังไม่พบร่องรอยจนถึงขณะนี้

จุดที่คล้ายกันระหว่างสองเหตุการณ์คือ เป็นเครื่องบินของสายการบินของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหายในลักษณะขาดการติดต่อ แต่ไมเคิล เพอร์สัน ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็น เสนอมุมมองว่าเหตุการณ์และปฏิบัติการค้นหาของทั้ง 2 กรณีมีความแตกต่างกันด้วยเหตุผล 3 ประการคือ

หนึ่ง สมมุติฐานเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เครื่องขาดการติดต่อแตกต่างกัน ในกรณีของเอ็มเอช 370 มีข้อมูลชี้ว่า มีการปิดเครื่องส่งสัญญาณบนตัวเครื่องโดยไม่ทราบสาเหตุ ก่อนที่เครื่องจะบินออกนอกเส้นทางกระทันหัน ทำให้มีความกังวลว่าการหายไปอย่างเป็นปริศนาของเครื่องบินเอ็มเอช 370 อาจเกี่ยวข้องกับการจี้เครื่องบินหรือการก่อการร้าย

ส่วนกรณีของเครื่องบินแอร์เอเชีย เที่ยวบินคิวแซด 8501 แม้จะยังไม่มีข้อสรุปถึงสาเหตุที่เครื่องบินสัญญาณขาดหาย แต่นักวิเคราะห์ต่างพุ่งเป้าไปที่สภาพอากาศว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ก่อนขาดการติดต่อ กัปตันได้ส่งสัญญาณระดับการบินจากความสูง 32,000 ฟุต เป็น 38,000 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล เพื่อหลบหลีกมวลกลุ่มเมฆที่จับตัวหนา

หตุผลประการที่2 คือ น่านน้ำที่ปฏิบัติการค้นหาเครื่องบินทั้ง 2 ลำ มีความแตกต่างกันในแง่ภูมิศาสตร์ซึ่งอาจส่งผลต่อความยากง่าย และระยะเวลาในการค้นหา โดยกรณีเอ็มเอช 370 ซึ่งทางการมาเลเซียประกาศว่าตกลงไปในมหาสมุทรอินเดีย นอกชายฝั่งเมืองเพิร์ธของออสเตรเลีย การค้นหาเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากมหาสมุทรอินเดียมีความลึกมากกว่า 6 พันเมตร ทั้งยังไม่เคยมีการทำแผนที่อธิบายลักษณะของพื้นใต้ทะเลเอาไว้ ประกอบกับพื้นที่ค้นหานั้นห่างไกลจากจุดสุดท้ายที่ติดต่อเครื่องบินเอ็มเอช 370 ได้ ทำให้เป็นปัจจัยสำคัญที่การค้นหาต้องใช้เวลานาน ขณะที่ปฏิบัติการค้นหาเครื่องบินคิวแซด8501 ในทะเลชวาอาจง่ายกว่าตรงที่ทะเลชวาตื้นกว่ามหาสมุทรอินเดีย โดยมีความลึกประมาณ 46 เมตร ทั้งยังเป็นเส้นทางเดินเรือพาณิชย์ ซึ่งอาจทำให้ปฏิบัติการค้นหาเครื่องบินคิวแซด 8501 กินเวลาน้อยกว่าเครื่องบินเอ็มเอช 370

ขณะที่ข้อแตกต่างประการที่สาม ระหว่าง 2 เหตุการณ์ นั่นคือปฏิกิริยาตอบสนองของทั้ง 2 สายการบินและรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศต่อครอบครัวผู้โดยสารและลูกเรือที่แตกต่างกัน โดยภายหลังจากที่เครื่องบินเอ็มเอช 370 ขาดการติดต่อไป ข้อมูลทั้งจากสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์สและรัฐบาลมาเลเซียมีความสับสนไม่ชัดเจน ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้ครอบครัวผู้สูญหายเป็นอย่างมาก

แต่เหตุการณ์คิวแซด 8501 นั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิง โดยทันทีที่ทราบว่าเครื่องบินขาดการติดต่อ นายโทนี่ เฟอร์นันเดส ผู้บริการสายการบินแอร์ เอเชีย ไม่รีรอที่จะทวีตข้อความสื่อสารว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ ความรู้สึกของครอบครัวผู้โดยสารและลูกเรือในช่วงเวลาเลวร้ายนี้ โดยสายการบินจะทำทุกวิถีทางในการให้ข้อมูลที่ชัดเจนและโปร่งใสต่อครอบครัวผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 162 คน

นอกจากนี้ นายเฟอร์นันเดสได้เดินทางไปยังเมืองสุราบายาทันทีในคืนวันเกิดเหตุพร้อมเจ้าหน้าที่อินโดนีเซีย แอร์เอเชีย และเข้าพบกับครอบครัวผู้ประสบเหตุเพื่อพูดคุยเป็นการส่วนตัวในวันรุ่งขึ้น ซึ่งวิธีการตอบสนองต่อเหตุการณ์และการให้ข้อมูลของนายเฟอร์นันเดซ ก็ได้รับเสียงชื่นชมจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการวิกฤตว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดต่อสถานการณ์เช่นนี้

ขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินต่างเชื่อว่า อินโดนีเซียมีศักยภาพสูงในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยอุบัติเหตุเรือล่มและเครื่องบินตกจากประสบการณ์หลายครั้ง รวมทั้งสภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะกว่า 18,000 แห่ง ก็น่าจะทำให้การรับมือกับวิกฤตครั้งนี้มีความคล่องตัวกว่า

แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การค้นหาเครื่องบินคิวแซด 8501 เป็นไปอย่างลำบาก น่าจะเป็นเรื่องสภาพอากาศที่เลวร้ายบริเวณพื้นที่ค้นหา เนื่องจากมรสุมประจำปีเหตุเครื่องบินQZ8501 ของสายการบินแอร์ เอเชีย ทำให้หลายคนย้อนนึกถึงเหตุการณ์เครื่องบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส เที่ยวบินที่MH 370 ซึ่งหายไปอย่างเป็นปริศนามาเป็นเวลานานถึง 10 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา และยังไม่พบร่องรอยจนถึงขณะนี้

จุดที่คล้ายกันระหว่างสองเหตุการณ์คือ เป็นเครื่องบินของสายการบินของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหายในลักษณะขาดการติดต่อ แต่ไมเคิล เพอร์สัน ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็น เสนอมุมมองว่าเหตุการณ์และปฏิบัติการค้นหาของทั้ง 2 กรณีมีความแตกต่างกันด้วยเหตุผล 3 ประการคือ

หนึ่ง สมมุติฐานเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เครื่องขาดการติดต่อแตกต่างกัน ในกรณีของเอ็มเอช 370 มีข้อมูลชี้ว่า มีการปิดเครื่องส่งสัญญาณบนตัวเครื่องโดยไม่ทราบสาเหตุ ก่อนที่เครื่องจะบินออกนอกเส้นทางกระทันหัน ทำให้มีความกังวลว่าการหายไปอย่างเป็นปริศนาของเครื่องบินเอ็มเอช 370 อาจเกี่ยวข้องกับการจี้เครื่องบินหรือการก่อการร้าย

ส่วนกรณีของเครื่องบินแอร์เอเชีย เที่ยวบินคิวแซด 8501 แม้จะยังไม่มีข้อสรุปถึงสาเหตุที่เครื่องบินสัญญาณขาดหาย แต่นักวิเคราะห์ต่างพุ่งเป้าไปที่สภาพอากาศว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ก่อนขาดการติดต่อ กัปตันได้ส่งสัญญาณระดับการบินจากความสูง 32,000 ฟุต เป็น 38,000 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล เพื่อหลบหลีกมวลกลุ่มเมฆที่จับตัวหนา

เหตุผลประการที่2 คือ น่านน้ำที่ปฏิบัติการค้นหาเครื่องบินทั้ง 2 ลำ มีความแตกต่างกันในแง่ภูมิศาสตร์ซึ่งอาจส่งผลต่อความยากง่าย และระยะเวลาในการค้นหา โดยกรณีเอ็มเอช 370 ซึ่งทางการมาเลเซียประกาศว่าตกลงไปในมหาสมุทรอินเดีย นอกชายฝั่งเมืองเพิร์ธของออสเตรเลีย การค้นหาเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากมหาสมุทรอินเดียมีความลึกมากกว่า 6 พันเมตร ทั้งยังไม่เคยมีการทำแผนที่อธิบายลักษณะของพื้นใต้ทะเลเอาไว้ ประกอบกับพื้นที่ค้นหานั้นห่างไกลจากจุดสุดท้ายที่ติดต่อเครื่องบินเอ็มเอช 370 ได้ ทำให้เป็นปัจจัยสำคัญที่การค้นหาต้องใช้เวลานาน ขณะที่ปฏิบัติการค้นหาเครื่องบินคิวแซด8501 ในทะเลชวาอาจง่ายกว่าตรงที่ทะเลชวาตื้นกว่ามหาสมุทรอินเดีย โดยมีความลึกประมาณ 46 เมตร ทั้งยังเป็นเส้นทางเดินเรือพาณิชย์ ซึ่งอาจทำให้ปฏิบัติการค้นหาเครื่องบินคิวแซด 8501 กินเวลาน้อยกว่าเครื่องบินเอ็มเอช 370

ขณะที่ข้อแตกต่างประการที่สามระหว่าง 2 เหตุการณ์ นั่นคือปฏิกิริยาตอบสนองของทั้ง 2 สายการบินและรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศต่อครอบครัวผู้โดยสารและลูกเรือที่แตกต่างกัน โดยภายหลังจากที่เครื่องบินเอ็มเอช 370 ขาดการติดต่อไป ข้อมูลทั้งจากสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์สและรัฐบาลมาเลเซียมีความสับสนไม่ชัดเจน ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้ครอบครัวผู้สูญหายเป็นอย่างมาก

แต่เหตุการณ์คิวแซด 8501 นั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิง โดยทันทีที่ทราบว่าเครื่องบินขาดการติดต่อ นายโทนี่ เฟอร์นันเดส ผู้บริการสายการบินแอร์ เอเชีย ไม่รีรอที่จะทวีตข้อความสื่อสารว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ ความรู้สึกของครอบครัวผู้โดยสารและลูกเรือในช่วงเวลาเลวร้ายนี้ โดยสายการบินจะทำทุกวิถีทางในการให้ข้อมูลที่ชัดเจนและโปร่งใสต่อครอบครัวผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 162 คน

นอกจากนี้ นายเฟอร์นันเดสได้เดินทางไปยังเมืองสุราบายาทันทีในคืนวันเกิดเหตุพร้อมเจ้าหน้าที่อินโดนีเซีย แอร์เอเชีย และเข้าพบกับครอบครัวผู้ประสบเหตุเพื่อพูดคุยเป็นการส่วนตัวในวันรุ่งขึ้น ซึ่งวิธีการตอบสนองต่อเหตุการณ์และการให้ข้อมูลของนายเฟอร์นันเดซ ก็ได้รับเสียงชื่นชมจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการวิกฤตว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดต่อสถานการณ์เช่นนี้

ขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินต่างเชื่อว่า อินโดนีเซียมีศักยภาพสูงในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยอุบัติเหตุเรือล่มและเครื่องบินตกจากประสบการณ์หลายครั้ง รวมทั้งสภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะกว่า 18,000 แห่ง ก็น่าจะทำให้การรับมือกับวิกฤตครั้งนี้มีความคล่องตัวกว่า

แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การค้นหาเครื่องบินคิวแซด 8501 เป็นไปอย่างลำบาก น่าจะเป็นเรื่องสภาพอากาศที่เลวร้ายบริเวณพื้นที่ค้นหา เนื่องจากมรสุมประจำปี
http://news.sanook.com/1722913/
http://www.thairath.co.th/clip/10505

ข้อมูล Air Asia QZ8501 สูญหาย

airasia_qz8501
airasia_qz8501

4 ม.ค.58 13:15
ทำผิด!! แอร์เอเชีย เที่ยวบิน สุราบายา-สิงคโปร์ ไม่มีใบอนุญาตขึ้นบินในทุกวันอาทิตย์
ยืนยันเครื่องบินโดยสารของ สายการบินแอร์ เอเชีย ไม่มีใบอนุญาตให้ขึ้นบินเส้นทางนี้ ในวันอาทิตย์ ขณะที่กระทรวงคมนาคมอินโดนีเซียประกาศจะดำเนินการตรวจสอบเที่ยวบินของแอร์ เอเชียทั้งหมดในประเทศอินโดนีเซีย หลังได้สั่งระงับเที่ยวบิน สุราบายา-สิงคโปร์ ของแอร์เอเชียทั้งหมดไปแล้ว


28 ธ.ค.57 23:00
รอดปาฏิหาริย์! 5ชีวิตพ่อแม่ลูก ยกเลิกบินQZ8501
ครอบครัวของ นาย ชานดรา ซูซานโต จากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งประกอบด้วยตัวเขา, ภรรยา และลูกๆอายุระหว่าง 5-10 ขวบอีก 3 คน รอดพ้นจากการประสบชะตากรรม บนเที่ยวบิน QZ8501 ของสายการบิน แอร์เอเชีย ที่หายสาบสูญไปเมื่อเช้าวันอาทิตย์ เพราะพวกเขายกเลิกตั๋วไปสิงคโปร์ เนื่องจากญาติผู้ใหญ่ป่วย

28 ธ.ค.57 18:49
แอร์เอเชียแถลงฉบับ 3 เรื่องสัญชาติผู้โดยสาร และลูกเรือ บนเที่ยวบิน ซึ่งมีผู้โดยสารสัญชาติสหราชอาณาจักร 1 คน อยู่บนเที่ยวบิน และสัญชาติฝรั่งเศส 1 คนเป็นลูกเรือ ทั้งนี้มีผู้โดยสารสัญชาติอื่น ๆ ดังนี้ สิงคโปร์ 1 คน มาเลเซีย 1 คน เกาหลีใต้ 3 คน สหราชอาณาจักร 1 คน และ อินโดนีเซีย 149 คน สำหรับลูกเรือมีสัญชาติฝรั่งเศส 1 คน และอินโดนีเซีย 6 คน

28 ธ.ค.57 12:50
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า วันนี้ (28 ธ.ค. 57) เครื่องบินแอร์บัส 320-200 ของสายการบินแอร์เอเชีย อินโดนีเซีย เที่ยวบิน QZ8501 อินโดนีเซีย – สิงคโปร์ ขึ้นบินจากสนามบินสุบารายา ขาดการติดต่อกับหอบังคับการบินจาการ์ตาร์ เมื่อเวลา 06.15 น. เวลาตามเวลาท้องถิ่น

http://www.thairath.co.th/feed/62-Air%20Asia%20QZ8501?p=1