#เล่าสู่กันฟัง 63-003 การเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA

คู่มือการเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA, 6th Edition
APA Referencing Guide, 6th Edition
(APA=American Psychological Association)

โดย บุญฑา วิศวไพศาล
จาก http://journal.human.cmu.ac.th/files/form2.pdf

ตัวอย่างเรียบเรียงจากหัวข้อ 5.3 การลงรายการบรรณานุกรมของสื่อประเภทต่าง ๆ

  1. แบบหนังสือ
    จุมพต สายสุนทร. (2552). กฎหมายระหว่างประเทศ(พิมพ์ครั้งที่8 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
    Harris, M. B. (1995). Basic statistics for behavioral science research. Boston: Allyn and Bacon.
    ปิยะ นากสงค์, และพันธุ์รวี วรสิทธิกุล. (2545). ดูหนังฟังเพลงเล่นเกมร้องคาราโอเกะ. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
    สนอง วรอุไร. (2549). การทําชีวิตให้ได้ดีและมีสุข (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.
    Harris, M. B. (1995). Basic statistics for behavioral science research. Boston: Allyn and Bacon.
    Creswell, J. W. (2003). Research design: Qualitative, quantitative and mixed method approaches (2nd.). CA: Sage.
    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
    วงศ์ วรรธนพิเชฐ. (2548). พจนานุกรมตัวอย่าง ประโยควลีภาษาอังกฤษพร้อมคําแปล. กรุงเทพฯ: ไทยเวย์ส พับลิเคชั่นส์.
    สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน. (2548). กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัว.
    หลากความคิด ชีวิตคนทํางาน. (2551). กรุงเทพฯ: แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
    Art of display: Culture shows. (2010). Hong Kong, China: Links International.
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สํานักหอสมุด. (2551). คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
    American Psychological Association. (2010). Publication Manual of the American Psychological Association (6th ed). Washington, DC: Author.
  2. แบบบทความในหนังสือ
    ณัฐพล ปัญญโสภณ. (2554). มุมมองของนักศึกษานิเทศศาสตร์ต่อกระบวนการผลิตละครเพื่อการสื่อสาร. ใน ชนัญชี ภังคานนท์(บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทายของเอเชียแปซิฟิก(น. 23-24). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
    กิตติ ทองลงยา. (2524). นก. ใน สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่3) (น. 68-113). กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน.
    กาบู. (2544). ใน ประเสริฐ ณ นครและคณะ(คณะกรรมการชําระพจนานุกรม), พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (น. 112). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
    วงศ์ วรรธนพิเชฐ. (2547). Heart. ใน พจนานุกรมตัวอย่าง ประโยควลีภาษาอังกฤษพร้อมคําแปล (น. 483-484). กรุงเทพฯ: ไทยเวย์ส พับลิเคชั่นส์.
  3. แบบวารสาร
    ปิยะวิทย์ ทิพรส. (2553). การจัดการป้องกันและลดสารให้กลิ่นโคลน Geosmin ใน ผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 24(72),103-119.
    ศรัณย์ สาวะดี, และ ดัชกรณ์ ตันเจริญ. (2559). ระบบการจัดการงานประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับสถาบันการศึกษาแห่งองค์กรธุรกิจ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8(3),229-241.
    ลําดวน เทียรฆนิธิกุล. (2552). เส้นทางเสด็จเยี่ยมราชสํานักต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีพ.ศ. 2443 –2444 (ร.ศ. 119 – 120). วชิราวุธานุสรณ์สาร, 28(4),29-39.
    Siriwongworawat, S. (2003). Use of ICT in Thai libraries: An overview. Program: Electronic Library and Information Systems, 37(1), 38-43.
    Tandra, R., Sahai, A., & Veeravalli, V. (2011, March). Unified space-time metrics to evaluate spectrum sensing. IEEE Communications Magazine, 49(3), 54-61.
  4. แบบการประชุมวิชาการ Proceeding
    ชัชพล มงคลิก. (2552). การประยุกต์ใช้กระบวนการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์ในการจัดตารางการผลิตแบบพหุเกณฑ์: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา. ใน การประชุมวิชาการการบริหารและการจัดการครั้งที่ 5 (น. 46). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    ธมนวรรณ กัญญาหัตถ์, และศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2554). ความพึงพอใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟน. ใน ชนัญชี ภังคานนท์(บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทายของเอเชียปาซิฟิก (น. 119-121). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
    จตุพร ตันติรังสี, และผุสดี บุญรอด. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้การสอนแบบ ADDIE Model วิชา การใช้โปรแกรมกราฟฟิก. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 9 (น. 209-214). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
    Krongtaew, C., Messner, K., Hinterstoisser, B., & Fackler, K. (2010). Lignocellulosic structural changes after physico-chemical pretreatment monitored by near infrared spectroscopy. In S. Saranwong, S. Kasemsumran, W. Thanapase, & P. Williams (Eds.), Near infrared spectroscopy: Proceedings of the 14th International conference (pp. 193-198). West Sussex, UK: IMP.
    Soutar, G., & Mazzarol, T. W. (1995). Gaining competitive advantage in education services exports: Forward integration and strategic alliances in a maturing market. In G. Tower (Ed.), Proceeding of the Academy of International Business Southeast Asia Regional Conference, Asia Pacific International Business: Regional integration and global competitiveness (pp. 85-110). Perth: Murdoch University.
  5. แบบรายงานการวิจัย
    พินิจ ทิพย์มณี. (2553). การวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการตายของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    เฉลิมสิน สิงห์สนอง. (2553). การพัฒนาชุดการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชาคณิตศาสตร์ธุรกิจสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    Chitnomrath, T. (2011). A study of factors regarding firm characteristics that affect financing decisions of public companies listed on the stock exchange of Thailand (Research report). Bangkok: Dhurakij Pundit University.
  6. แบบปริญญานิพนธ์
    ก้องเกียรติ บูรณศรี. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้ประกอบการขององค์การ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและผลการดําเนินงานของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางและขนาดใหญ่ในพื้นที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
    พิมล พร้อมมูล. (2555). การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการข้อมูลการควบคุมคุณภาพ (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
    Nickels, D. W. (2005). The relationship between IT-business alignment and organizational culture: An exploratory study (Doctoral dissertation). Memphis, TN: University of Memphis.
    วลัย วัฒนะศิริ. (2553). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมอุดมศึกษานานาชาติของไทยในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://www.dpu.ac.th/laic
    พัชรินทร์ บุญเทียม. (2553). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจากhttp://www.dpu.ac.th/laic
    Sembiring, E. (2010). Integration of economics and social factors into optimization of solid wasted management system (Doctoral dissertation, Asian Institute of Technology, Pathum Thani). Retrieved from http://libopac.ait.ac.th/
    มานพ จันทร์เทศ. (2544). การนําเสนอรูปแบบการพัฒนานโยบายของสถาบันราชภัฏ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://tdc.thailis.or.th/tdc
    Oshi, D. (2009). Rural women and the financing of health care in Nigeria (Doctoral dissertation, Institute of Social Studies). Retrieved from http://libopac.ait.ac.th/
    Buckingham, J. T., LeBeau, L. S., & Klein, W. M. P. (2011). The performance versus ability distinction following social comparison feedback. Current Research in Social Psychology: An electronic journal. Retrieved June 23, 2011, from http://www.uiowa.edu/grpproc/crisp/crisp.html
  7. แบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2554). จัดระเบียบสํานักงานทนายความ. สืบค้น 21 มิถุนายน 2554, จาก http://www.lawyerscouncil.or.th/2011/index.php?name=knowledge
    CNN Wire Staff. (2011). How U.S. forces killed Osama bin Laden. Retrieved May 3, 2011, from http://www.cnn.com/2011/WORLD/asiapcf/05/02/bin.laden.raid/index.html
    บงการ หอมนาน. (2551). เทคโนโลยีกับการควบคุมด้วยตรรกะฟัซซีตามขั้นตอนและฟังก์ชั่นสมาชิก. ไมโครคอมพิวเตอร์, 26(271), 153-156. สืบค้น 22 มิถุนายน 2554, จาก http://www.dpu.ac.th/laic/page.php?id=5753
    สุนันทา เลาวัณย์ศิริ. (2553). ธาตุอาหารหลักของน้ําสกัดชีวภาพแบบเข้มข้นจากขยะครัวเรือน. วารสารออนไลน์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 29(2). สืบค้น 21 มิถุนายน 2554, จาก http://www.journal.msu.ac.th/index.php?option=com_content&task=
  8. แบบหลายเล่มจบ
    พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. (2553). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ (เล่ม 3) (พิมพ์ครั้งที่11). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ1991.
    Miller, T. (Ed.). (2003). Television: Critical concepts in media and cultural studies (Vols. 1). London: Routledge.
  9. แบบหนังสือแปล
    เกรย์, เจ. (2552). ผู้ชายมาจากดาวอังคารผู้หญิงมาจากดาวศุกร์[Men are from mars, women are from venus] (สงกรานต์ จิตสุทธิภากร, ผู้แปลและเรียบเรียง) (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
    Luang Poo Buddha Isara. (2008). Valuable adages of Luang Poo Buddha Isara (T. Wongamatasiri, & O. Limtasiri, Trans). Ratchaburi: Thammaruk.

http://www.thaiall.com/research/whatisresearch.htm

เล่าเรื่องวิจัย 62/1 จากตัวอย่างที่ดีของ ม.เวสเทิร์น

เล่าเรื่องวิจัย 62/1 จากตัวอย่างที่ดีของ ม.เวสเทิร์น

หลังฟัง รศ.ดร.กัญญามล กาญจนาทวีกูล เล่าเรื่องรับรองวิทยฐานะและประกันภายใน
เป็นเวลา 2 วัน ระหว่าง 27 – 28 พฤษภาคม 2562
ทำให้นึกถึงงานวิจัย โดยเฉพาะการได้คะแนนตัวบ่งชี้ 4.2 ระดับหลักสูตร

คู่มือ การรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สำหรับคณะกรรมการพิจารณารับรองวิทยฐานะ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน


มองเว็บไซต์ สำนักวิจัยและบริการวิชาการ พบแนวทางมากมาย
หัวหน้าสำนัก คือ อาจารย์วรรณพร พุทธภูมิพิทักษ์
ดูแลโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กัญญามน กาญจนาทวีกูล ผู้ช่วยอธิการบดี
มีประเด็นที่น่าสนใจ นำมาเล่าต่อว่า
1. หน่วยงานสนับสนุนงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษานั้น
มีสิ่งที่ต้องมีอย่างน้อย คือ ระบบและกลไก เพื่อให้การขับเคลื่อนงานเป็นไปได้
+ คู่มือจรรยาบรรณนักวิจัย
+ คู่มือการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย
+ กระบวนการดำเนินงานวิจัย
+ กระบวนการทำสัญญา
+ ตัวอย่างสัญญาทุนวิจัย
+ ปฏิทินทุนวิจัย
+ แบบฟอร์มโครงร่างวิจัยปีการศึกษา 2561
+ แบบฟอร์มหน้าลายเซ็นสัญญาปีการศึกษา 2561
+ แบบฟอร์มรายงานความก้าวหน้างานวิจัย
+ ยุทธศาสตร์การวิจัยและวัฒนธรรม
+ แบบฟอร์มการขอรับคำปรึกษาคลินิกวิจัย
+ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น พ.ศ.2561
+ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น พ.ศ.2561
+ แบบฟอร์มโครงร่างการขอทุนวิจัยปี 2561
+ แบบฟอร์มหน้าลายเซ็นสัญญา

+ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น พ.ศ.2561
+ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น พ.ศ.2561

2. สิ่งที่เห็นจาก กระบวนการดำเนินงานวิจัย คือ ประกาศงบประมาณ ก่อนเปิดภาคการศึกษา
ทั้งงานวิจัยและบริการวิชาการ มีตัวอย่างเอกสารในปีการศึกษา 2561 ดังนี้
ประกาศ เรื่อง ประมาณการรายละเอียดเงินสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคม 2561
ประกาศ เรื่อง ประมาณการรายละเอียดเงินสนับสนุนการวิจัยปีการศึกษา 2561

3. แหล่งสืบค้นงานวิจัยที่แนะนำของมหาวิทยาลัย
http://it.nation.ac.th/research/
ภายนอก อาทิ สำนักหอสมุด, proquest, iglibrary, journal online, thaijo, thailis

4. ตารางการติดตามหลักสูตรและคณะวิชา
เพื่อใช้ติดตามว่าขณะนี้ระดับคะแนน มากกว่า 3.01 หมายถึง ระดับดีขึ้นไปหรือไม่

5. การวิจัยเป็นสิ่งที่ต้องทำ KM สอดรับกับประเด็น Risk
การทำ Cop (Community of Practice) วิจัย เพื่อให้เขียน proposal
เสนอมหาวิทยาลัยให้ทันยื่นก่อนเปิดภาคการศึกษา จึงเป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ

6. เล่าเรื่อง KM ก่อนหน้านี้
อบรมความรู้เรื่องการทำวิจัยเชิงคุณภาพ
ที่บุคลากรส่วนใหญ่มีความต้องการรับการพัฒนา
เป็นผลจากการวิเคราะห์ Risk ด้านการวิจัย
จึงได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ดร. ถาวร ล่อกา (Thaworn Lorga, Ph.D.)
ดูแลกิจกรรมโดย คณะพยาบาลศาสตร์ 14-15 มีนาคม 2562
เมื่อคณะวิชาต่าง ๆ ได้รับการอบรมแล้ว และนำไปดำเนินการในคณะวิชาของตน
มหาวิทยาลัยได้จัดโครงการการจัดการความรู้ และกำกับติดตามการจัดการความรู้ อีกครั้ง
วิทยากรโดย ดร.สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์ คณบดีคณะพยาบาล
ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 13.00-15.00น.

7. ต่อจากนี้ก็จะมีการขมวดความรู้เฉพาะกลุ่มวิจัย
เพื่อขมวดความรู้ และเรียนรู้ตามกระบวนการ
KV (Knowledge Vision)
KS (Knowledge Sharing)
KA (Knowledge Assets)
ซึ่งอาจรวมไปถึงการเขียน proposal ขอทุนวิจัย
สำหรับปีการศึกษา 2562

8. เกณฑ์สนับสนุนการวิจัย และบริการวิชาการ
+ หลักเกณฑ์การกำหนดค่าใช้จ่ายกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการสังคม
+ เกณฑ์การพิจารณาโครงการวิจัยและค่าใช้จ่าย

สืบค้นงานวิจัย Fullpaper ฟรี สำหรับคนไทย

คำถาม “จะค้นงานวิจัย
ที่มี fullpaper หรือ abstract ได้จากที่ไหน

ในอดีต มีฐานข้อมูลในแต่ละสถาบัน
ที่เข้าไปสืบค้น แล้วดาวน์โหลด fullpaper หรือ abstract ได้
แต่ปี 2561 ทดสอบค้นในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแล้ว
เท่าที่ค้นดู พบว่า ปิดการ download จากภายนอก
เปิดให้ download เฉพาะบุคลากร และนักศึกษาของสถาบัน
แต่มีอีก 3 แหล่งที่ยังเปิดให้ดาวน์โหลดจากภายนอกได้
และมีจำนวนรายงานการวิจัยไม่น้อย
1. ThaiLis เครือข่ายห้องสมุด
2. e-library ของ TRF
3. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย วช.
จากการทดสอบ ทั้ง 3 แหล่ง มีผลการทดสอบดังนี้

thailis research database
thailis research database

http://dcms.thailis.or.th/dcms/basic.php

1. ThaiLIS เครือข่ายห้องสมุด
ค้นคำว่า “จริยธรรม” พบ 2253 รายการ ค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2561 พบงานของ จงกลนี กิติยานันท์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน ปี 2559 เรื่อง ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของผู้บริหารการพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี
แฟ้มเดียวมี 144 หน้า

trf research database
trf research database

https://elibrary.trf.or.th/

2. e-library ของ TRF
ค้นคำว่า “จริยธรรม” พบ 37 + 19 = 56 โครงการ ค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2561 พบงานของ นงนภัส พันธ์พลกฤต, ฉัตรชัย ศิริกุลพันธ์ ปี 2558 เรื่อง การวิจัยและพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมจิตจริยธรรมของนักศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่
แฟ้มเดียวมี 238 หน้า

วช. research database
วช. research database

http://dric.nrct.go.th/index.php

3. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย วช.
ค้นคำว่า “จริยธรรม” พบ 1295 รายการ ค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2561 พบงานของ ทินกร ชุณหภัทรกุล ปี 2560 เรื่อง การสร้างชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชน 4 ภาค
แฟ้มรวมมี 189 หน้า

 

เสนอระบบพี่เลี้ยงงานวิจัย

ระบบพี่เลี้ยงงานวิจัย
ระบบพี่เลี้ยงงานวิจัย

5 ส.ค.59 คุณภัทรา มาน้อย ผู้ประสานงาน ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปาง ได้ชวนทีมงานกลไกสนับสนุนงานวิจัยพื้นที่จังหวัดพะเยา ถอดบทเรียนหลังทำงานในพื้นที่จังหวัดพะเยา ไประยะหนึ่ง ร่วมกับหลายภาคส่วนทั้ง ครูกศน.หลายระดับ วิทยาลัยพยาบาล นักวิชาการในจังหวัดลำปาง และชุมชน ณ ห้องประชุมใน หมู่บ้านเจนแอนด์จอย 2 ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง

ได้เสนอ “(ร่าง) ระบบพี่เลี้ยงงานวิจัย” มี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1. ประชุมหารือและวางแผนดำเนินงาน
2. ร่วมกันพัฒนาโจทย์
3. ให้ข้อเสนอแนะการเขียนข้อเสนอโครงการ
4. อบรมให้ความรู้
5. ติดตามและสนับสนุน
6. ถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

อบรมการเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ

หน้าปกเอกสารแจก
หน้าปกเอกสารแจก

29 ก.ค.59 มีการอบรมโครงการ “อบรมและพัฒนานักวิจัย” ประจำปี 2559
หลักสูตร “การเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ
จัดโดย เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ร่วมกับ งานบริหารงานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง เชียงใหม่
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/658232967660858/
http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th

ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน

ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน

– เปิดงาน
โดย ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา

 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
– หัวข้อเรื่อง เขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

– หัวข้อเรื่อง เทคนิคการเขียนบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อดีตอาจารย์ National University of Singapore

อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และผม เข้ารับการอบรม
อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และผม เข้ารับการอบรม

พบ อ.ศิริอมร กาวีระ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ศิษย์โยนก รุ่น 4 ถ่ายภาพร่วมกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง และผม
แล้วก็ถ่ายภาพกับน้องแก้วตาและผม ญาติกันที่ลำปาง

อ.ศิริอมร กาวีระ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
อ.ศิริอมร กาวีระ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

อ.แก้วตา
อ.แก้วตา

บ้านไร่ศิลาทอง กับการพัฒนาอสม. เรื่องเหล้าและบุหรี่

บ้านไร่ศิลาทอง กับการพัฒนาอสม. เรื่องเหล้าและบุหรี่
บ้านไร่ศิลาทอง กับการพัฒนาอสม. เรื่องเหล้าและบุหรี่

บ้านไร่ศิลาทอง หมู่ 10 อยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สภาพพื้นที่บ้านไร่ศิลาทองอยู่ติดกับภูเขาป่ารกและมีป่าละเมาะมากมาย มีประชากรประมาณ 1213 คน ชาย 590 คน หญิง 623 คน มีทั้งหมด 345 หลังคาเรือน แบ่งการดูแลออกเป็น 32 หมวด แล้วแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหมวด เดิมทีเป็นหมู่บ้านที่มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่มาก ต่อมาพ่อหมอมาลัย เป็นชาวเมืองยองมาจากประตูผางลางย้ายเข้ามาอาศัยพร้อมกับพี่น้องอีก 4 คนที่บ้านไร่ ต่อมามีชาวบ้านพิชัยย้ายเข้ามาอาศัยเพิ่ม เนื่องจากบ้านไร่มีความอุดมสมบูรณ์มีน้ำห้วยโจ้ไหลผ่าน ไม่นานก็มีผู้คนเข้ามาอยู่มากขึ้น จึงตั้งชื่อว่า “บ้านไร่ห้วยโจ้”
การประกอบอาชีพเริ่มแรกมีการปั้นหม้อขาย โดยพ่อหนานขัด ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ริเริ่มการปั้นหม้อคนแรกของหมู่บ้าน พร้อมกับการทำการเกษตร จนมาถึงปี พ.ศ.2500 มีพ่อหนานแก้วมา ใจงาม แต่เดิมเคยเป็นพระภิกษุ ได้ไปทัศนศึกษาที่จังหวัดชลบุรีเห็นการทำครกหินของชาวอ่างศิลา จึงได้เริ่มประกอบอาชีพเจาะครกหินเป็นของคนแรก และได้นำความรู้การทำครกหินเผยแพร่ให้กับชาวบ้าน เพราะมีทรัพยากรที่ได้จากภูเขาที่อยู่ติดหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงประกอบอาชีพการทำครกหินมากขึ้น แต่ก็ประกอบอาชีพเกษตรกรรมควบคู่กันไป และได้เปลี่ยนชื่อ “บ้านไร่ห้วยโจ้” เป็น “บ้านไร่ศิลาทอง” โดยมีคำว่า “ทอง” ต่อท้ายชื่อหมู่บ้าน เพื่อความเป็นศิริมงคลของหมู่บ้าน
ปัจจุบันบ้านไร่ศิลาทองมีเจ้าหน้าที่ อสม.ทั้งสิ้น 33 คน โดยมีนางศรีรัตน์ เขียวงาม ทำหน้าที่เป็นประธาน อสม. มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2532 และด้วยการสนับสนุนของนางศิริพร ปัญญาเสน อดีตนายกอบต.พิชัย ทำให้มีโครงการเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง อาทิ โรงเรียนชาวนา ช่วงที่ผ่านมาพระอธิการไตรณรงค์ ฐิตธมฺโม เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ศิลาทอง และนายจรูญ วรรณรัตน์ ผู้ใหญ่บ้าน ให้ความสำคัญต่อการลดเหล้าในงานศพ ได้จัดกิจกรรมบรรยายเรื่องการลดเหล้างานศพ 2 ครั้ง เพื่อให้การลดอบายมุกของคนในชุมชน โดยมีวิทยากรได้แก่ พระอาจารย์สาธิต ธีรปัญโญ ผู้อำนวยการธรรมสถานสถาบันธรรมภิวัตรบ้านสบเติ๋น อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง และคุณชาญ อุทธิยะ หรือหนานชาญ บ้านสามขา
เมื่อศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น และอาจารย์เบญจวรรณ นันทชัย มหาวิทยาลัยเนชั่น หารือร่วมกับนางศิริพร ปัญญาเสน ทำให้ทราบว่าพื้นที่บ้านไร่ศิลาทอง มีศักยภาพที่พร้อมรับการพัฒนากลุ่มอสม. จึงมีการประชุมที่มหาวิทยาลัยเนชั่น เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2557 เพื่อสร้างความเข้าใจ เตรียมความพร้อมร่วมกันครั้งแรก แล้วนัดหมายเข้าไปในชุมชนประชุมที่วัดไร่ศิลาทอง เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2557 มีการทำความเข้าใจเรื่องที่มาที่ไปของโครงการกับอสม.ทั้ง 33 คน และชวนกันสรุปประเด็นในกลุ่มอสม.ทั้งหมด 3 ประเด็น คือ ทบทวนวิธีการเดิม พฤติกรรมของคนกินเหล้า วิเคราะห์กลุ่มเลิกสุรา
เมื่อวันที่ 20 – 21 ตุลาคม 2557 ไปประชุมอบรมที่เชียงใหม่ ให้ความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเหล้าและบุหรี่คือ คุณสอน ขำปลอด เล่าเรื่องที่ทำงานกับเหนือล่าง และคุณธงชัย ยงยืน เล่าเรื่องทำงานกับเหนือบน และคุณพรทิพภา สุริยะ ได้บรรยายเรื่องการเขียนโครงการ หลังเลิกประชุม ได้มีการประชุมในทีมก่อนกลับลำปางเพื่อยกร่างกิจกรรมในการทำโครงการพัฒนาศักยภาพอสม. ได้ทั้งหมด 12 กิจกรรม เพื่อให้ทีมนำกลับไปทบทวน และพัฒนาให้มีความชัดเจน ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2557 ได้ประชุมที่มหาวิทยาลัยเนชั่น เพื่อปรับร่างข้อเสนอโครงการใหม่ร่วมกับคุณภัทรา มาน้อย ทำความเข้าใจในการเขียน และกรอบเวลา และการปรับรายละเอียด อาทิ หลักการและเหตุผล กิจกรรม วัตถุประสงค์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ กลุ่มเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา และงบประมาณ
ต่อมาวันที่ 9 ธันวาคม 2557 ได้ปรับร่างข้อเสนอโครงการ แล้วนำไปทบทวนในทีมอสม. ที่บ้านของนางศรีรัตน์ เขียวงาม ร่วมกับทีมอสม. ทำให้โครงการมีแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาอสม. โดยมีประเด็นสำคัญคือสำรวจให้รู้ตัวผู้ติดเหล้าบุหรี่โดยนำเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมเรียนรู้และทำงานร่วมกัน แล้วเชิญชวนผู้ที่ติดเหล้าบุหรี่มาเรียนรู้การลดละเลิก โดยมีคนในชุมชนคอยให้กำลังใจ สนับสนุน และผลักดันร่วมกัน แล้วจึงร่วมกันจัดทำข้อตกลงของหมู่บ้านที่จะผ่านการทำประชาคม และนำไปใช้ร่วมกัน มีการให้ความรู้โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วการยกระดับผู้ที่เลิกได้ให้ขึ้นมาเป็นบุคคลต้นแบบของการเลิกเหล้าบุหรี่ และส่งเสริมการเพิ่มจำนวนผู้เลิกเหล้าให้เพิ่มขึ้น ซึ่งกิจกรรมจะมุ่งพัฒนาให้กลุ่ม อสม. สามารถเรียนรู้ปัญหา วางแผนแก้ปัญหา ดำเนินการ และสรุปผลด้วยความเข้าใจ และสามารถนำบทเรียนที่ฝังลึกในแต่ละบุคคลไปประยุกต์ใช้การแก้ปัญหาอื่นของชุมชนร่วมกันต่อไป

งานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษา แล้วบันทึกไว้ เชื่อมโยงผ่าน goo.gl

goo.gl
goo.gl

1. จันทรจิรา เมธาจิโนทัย. (2549). เจตคติและความสนใจของนักเรียนระดับชวงชั้นที่ 2 ที่มีตอการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556.
แหล่งที่มา
2. จุฑารัตน์  ศราวณะวงศ์ (2543). ผลของการเรียนบนเครือข่ายต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2557.
แหล่งที่มา
3. ชุติมา เมฆวัน. (2555). การวิจัยในชั้นเรียน. ค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2557.
แหล่งที่มา
4. ทอม มาร์คาม. (2554). พีบีแอล (PBL = Project-Based Learning). ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556.
แหล่งที่มา
5. บุรินทร์ รุจจนพันธุ์. (2557). ศึกษาความพึงพอใจต่อการมอบหมายงานจัดทำคลิ๊ปวีดีโอแนวสร้างแรงบันดาลใจ
ในวิชาสื่อและเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน. 1-6. การประชุมวิชาการ อุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ ประจำปีการศึกษา 2556.
6. ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556.
แหล่งที่มา
7. มัณฑรา  ธรรมบุศย์. (2552). ลีลาการเรียนรู้ (Learning style). ค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2557.
แหล่งที่มา
8. วินทฎา วิเศษศิริกุล. (2546). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ระดับ ปวส. สาขาวิชาคอมพิวเตอรธุรกิจวิทยาลัยเทคนิคนครนายก โดยการจับคูดูแลกัน. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556.
แหล่งที่มา
9. สุจินต์ เพิ่มพิทักษ์ และทัศนีย์นารถ ลิ้มสุทธิวันภูมิ. (2553). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วารสาร BU Academic Review. ปีที่ 9 ฉบับพิเศษ 1 พฤษภาคม 2553. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
10. สันติ วิจักขณาลัญฉ์ รศ.ดร.สุลัดดา ลอยฟ้า ผศ.ดร.ทัศนี บุญเติม และรศ.ยืน ภู่วรวรรณ (2544)การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2557.
แหล่งที่มา

งานดุษฎีนิพนธ์ การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

phd research
phd research

งานดุษฎีนิพนธ์ของคณะศึกษาศาสตร์ ของ สันติ วิจักขณาลัญฉ์ (2544) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อศึกษาผลการใช้ระบบการเรียนการสอนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ที่เรียนรายวิชา 214250 การพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ที่เรียนรายวิชา 472333 ไฟฟ้าบำบัด 2 จำนวน 68 และ 48 คน ตามลำดับ วิธีดำเนินการวิจัยใช้การศึกษาบริบทและสังเคราะห์ระบบ พัฒนาประสิทธิภาพของระบบโดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และประเมินประสิทธิภาพของระบบตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ผลการศึกษาพบว่าระบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบคือ ผู้เรียน ผู้สอน วัตถุประสงค์รายวิชา แหล่งการเรียนรู้ และวิธีการวัดประเมินผล โดยมีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2 รูปแบบ คือ (1) รูปแบบการเรียนแบบประสานเวลา ซึ่งมี 5 ขั้นตอน คือ วิเคราะห์หลักสูตร กำหนดจุดประสงค์การเรียน เตรียมบุคลากรและแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จัดเครือข่ายการเรียนรู้ และประเมินการเรียนการสอน (2) รูปแบบการเรียนแบบไม่ประสานเวลา เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนทำโครงงานตามความสนใจที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระในบทเรียน และจากการศึกษาผลการใช้ระบบพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทั้ง 2 รายวิชาสูงขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด และความสามารถขั้นสูงในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้เรียนทั้ง 2 รายวิชา มีระดับควงามสามารถเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ถึงดี
อ้างอิงจาก
สันติ วิจักขณาลัญฉ์ รศ.ดร.สุลัดดา ลอยฟ้า ผศ.ดร.ทัศนี บุญเติม และรศ.ยืน ภู่วรวรรณ (2544), การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา, ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2557, แหล่งที่มา
https://docs.google.com/file/d/0B_dx3cf4F2pkVGZBRzV5SFNRS2s
http://ednet.kku.ac.th/~eddci/department/index.php?option=com_content&view=article&id=71:thesis45&catid=44:2009-11-25-15-12-32

รูปแบบจำลองระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
รูปแบบจำลองระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

รวมงานวิจัยในชั้นเรียน ที่สมบูรณ์มีถึง 199 รายการ
https://drive.google.com/folderview?id=0B_dx3cf4F2pkTmpyak5Pb3FpMzA

ประชุมเครือข่ายพัฒนาประเด็นวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม

research
research

26 ก.ย.57 ประชุมเครือข่ายพัฒนาประเด็นวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ร่วมกัน ผศ.ดร.จรีรัตน์ สุวรรณ์ และดร.พิมผกา โพธิลังกา  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
พร้อม อ.รพีพงษ์ อินต๊ะสืบ วิทยาลัยอินเตอร์เทค และอ.ธวัชชัย แสนชมภู มหาวิทยาลัยเนชั่น
ที่ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา ชั้น 2 อาคารโอฬารโรจน์หิรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ประเด็นสืบเนื่องจากการประชุมเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน
เมื่อวันที่ 22 ส.ค.57 โดยประเด็นที่พูดคุยเป็นการหาแนวทางกับประเด็นที่ได้รับมา
คือ “การจัดการที่ดิน เพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและปัญหาหมอกควัน”
ซึ่งลำปางมีหลายพื้นที่ที่เป็นสีแดง ซึ่งแต่ละสถาบันก็สนใจในพื้นที่ที่แตกต่างกัน
เช่น อ.งาว อ.เมือง อ.เถิน เป็นต้น
ต่อจากนี้ก็จะมีการสร้างเครือข่ายสถาบันการศึกษาด้านการวิจัย เพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพ
โดยแต่ละสถาบันก็จะมีโครงการเสนอเข้าไปที่แม่ข่าย คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้แก่ โครงการเกี่ยวกับหมอกควัน และการศึกษา
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.898656623481803.1073741932.506818005999002

ประชุมเครือข่ายสหวิทยาการ กลุ่มภาคเหนือตอนบน ที่เชียงใหม่แกรนด์วิว

เครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน และเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C - อพ.สธ.) เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน
เครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน และเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C - อพ.สธ.) เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน

22 สิงหาคม 2557 มีโอกาสร่วมประชุมสัมมนาใน
โครงการประชุมสัมมนาพัฒนาและขยายผลประเด็นกลยุทธ์แก้ไขปัญหาชุมชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
สำหรับเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตสถาน ภาคเหนือตอนบน
และเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C – อพ.สธ.)
เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗

มีวัตถุประสงค์ 6 ข้อ
1. เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายฯ และขยายความร่วมมือด้านการวิจัย และวิชาการกับเครือข่ายอื่นในภูมิภาคภาคเหนือตอนบน
2. เพื่อต่อยอดการพัฒนาแนวทางในการประสานงานและทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการระหว่างนักวิจัย นักวิชาการและภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาท้องถิ่นสำคัญ
3. เพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยแบบสหวิทยาการของเครือข่ายภาคเหนือตอนบนเพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาท้องถิ่นที่สำคัญ
4. เพื่อนำผลที่ได้จากการประชุมระดมสมอง ไปใช้ประโยชน์จริงตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมถึงชุมชนอย่างแท้จริง
5. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถานภาคเหนือ ภาคเหนือตอนบน และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เครือข่าย C – อพ.สธ.) เครือข่ายอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน
6. เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาข้อเสนอโครงการภายใต้ประเด็นปัญหาของภาคเหนือตอนบนและพัฒนาต่อยอดร่วมกันในเครือข่ายต่อไป
กิจกรรมช่วงเช้า เป็นการบรรยาย ประกอบด้วย
1. กล่าวต้อนรับ และกล่าวเปิดประชุม
โดย รศ.ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. กล่าวบรรยายพิเศษ “การดำเนินงานของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน”
โดย รศ.ดร.คมกฤต เล็กสกุล ผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. บรรายายพิเศษ “แนวคิดและทิศทางการดำเนินงานและพัฒนาของเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถานภาคเหนือตอนบนกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาท้องถิ่น”
โดย ศ.นพ.ยงยุทธ  วัชรดุลย์ ประธานคณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา
4. การบรรยาย เรื่อง
“การดำเนินงาน/แผนงาน/โครงการเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถานภาคเหนือตอนบน”
โดย รศ.ดร.อาวรณ์  โอภาสพัฒนกิจ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

กิจกรรมช่วงบ่าย แยกกลุ่มตามประเด็น
ห้องที่ 1 ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม (หมอกควัน) ห้องประชุมทิพย์พิมาน
ประเด็น “การพัฒนาประเด็นเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม (หมอกควัน) ในส่วนภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน)”
ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ
ผลจากการประชุมได้ร่างชื่อชุดโครงการวิจัยว่า
การจัดการที่ดินเพื่อลดปัญหาหมอกควัน
แล้วนัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 3 ตุลาคม 2557 ที่จะเกิดขึ้น
หลังแต่ละสถาบันไปเขียนข้อเสนอโครงการย่อยเชิงบูรณาการ
แล้วนำโครงการทั้งหมดมาเชื่อมโยงกัน และพูดคุยกันอีกครั้ง
โดยมี อ.ธวัชชัย แสนชมภู เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเนชั่นร่วมแลกเปลี่ยน

ห้องที่ 2 ประเด็นปฏิรูปด้านการศึกษาเยาวชน (ม.แม่ฟ้าหลวง) ห้องประชุมย่อยฝูเป่า
ประเด็น “การพัฒนาประเด็นปฏิรูปด้านการศึกษาเยาวชนในส่วนภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน)”
ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ และ ดร.พนม วิญญายอง
ผลจากการประชุมได้ร่างชื่อชุดโครงการวิจัยว่า
กระบวนการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กและเยาวชนตามแนวพระราชดำริ
ซึ่ง ผศ.ดร.เพ็ญพิสุทธิ์ ใจสนิท
เสนอให้ไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมที่ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.cf.mahidol.ac.th/
ส่วน ดร.สมคิด แก้วทิพย์ ได้ฉายภาพปัญหาระบบการศึกษาไทย
เป็นปัญหา 4 ระดับ ที่ทำให้ทีมงานพิจารณาร่วมกัน และเห็นภาพได้ชัดเจน
คือ ฐานคิด โครงสร้าง แผนงาน/กระบวนการ ปรากฎผล
ในกลุ่มตกลงร่วมกันว่าจะสื่อสารกันด้วย e-mail และ line กลุ่ม

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.898656623481803.1073741932.506818005999002