ชาวญี่ปุ่นคนนี้คงชินกับ ระบบ (system) ที่ประกอบด้วย IPOO
(Input – Process – Output – Outcome)
หรือวงจรเดมมิ่ง ที่ต้องมี p d c a
ซึ่ง action จะนำผลการติเตียน มาปรับพฤติกรรม
และนำไปสู่การวางแผนใหม่ในอนาคต
แต่เท่าที่รู้คนกลุ่มหนึ่งไม่ชอบติเตียน ไม่ชอบรวมกลุ่มกันพูดถึงปัญหา
ไม่ชอบทำ AAR (after action review)
ชอบให้อะไรผ่านแล้ว ก็ผ่านไป เหมือนอดีตไม่เคยเกิดขึ้น
การพูดถึงปัญหา ในคนกลุ่มหนึ่งถือว่าเป็นมารยาทที่ไม่งาม
ช่วงหนึ่งผมมักคิดและโพสต์ออกแนวบู้ไปหน่อย
มีเพื่อน unfriend ไปหลายคน
ตอนหลังมาต้องหลับตาซ้ายเล็งด้วยตาขวา ทำใจไม่รู้ไม่เห็นแตะมากไม่ได้
ก็ไม่รู้ถูก unfriend ไปอีกกี่คน เพราะลดบทบาทการมีปฏิสัมพันธ์ลงไปเยอะ
ในโลกที่ผู้คนมีความคิดหลากหลาย ที่คนไม่ชอบเปลี่ยนแปลง มากกว่าคนชอบเปลี่ยน
เหมือนกบในกะทะ ที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง (ซึ่งผมก็ไม่ชอบเหมือนกัน)
บางทีต้องทำไม่รู้ไม่เห็นน่าจะดีกว่า .. แต่ชมว่าชาวญี่ปุ่นคนนี้ “ทำถูกแล้ว”
—
คิดต่อจากการอ่านข่าว
“สาปแช่งผมทำไม ติเตียนแท็กซี่ไทยผิดมากหรือ?” เปลือยใจยุ่นจวกยับสุวรรณภูมิ
http://www.thairath.co.th/content/476364
http://www.suvarnabhumiairport.com/th/801-airport-deverlopment-project