เดี่ยวนี้การประกันคุณภาพลงไปที่วัดวาอารมแล้ว
คุณภาพของวัด ขึ้นอยู่กับศรัทธา ถ้ามีจำนวนศรัทธามาก เงินบริจาคมาก
ศรัทธามีความเลื่อมใส ในหลายปัจจัย ทั้งวัตถุ ทำเล และตัวบุคคล
แสดงว่าวัดนั้นมีคุณภาพ เกณฑ์การวัดคุณภาพของวัดอาจมีหลายตัวบ่งชี้
เรื่องหนึ่ง ๆ มีอะไรให้เรามองเยอะ
บางคนมองเหตุ บางคนมองผล บางคนมองถูกผิด บางคนมองพระธรรม
แต่เรื่องนี้ผมสนใจที่กระบวนการ
จากข่าวที่
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435994010
“จึงขอให้เจ้าคณะอำเภอตรวจสอบว่าในอำเภอที่ปกครอง มีวัดไหนบ้างที่มีคนมาทำบุญที่วัดประจำไม่ถึง 50 คน
ถ้าเป็นวัดของเจ้าคณะตำบล ให้เจ้าคณะอำเภอออกคำสั่งตำหนิโทษเป็นเวลา 3 เดือน
และถ้าพระสังฆาธิการที่ถูกตำหนิโทษยังไม่ดำเนินการตามมติของมหาเถรสมาคม (มส.) อีก
ให้เจ้าคณะผู้ปกครองทำเรื่องเพื่อเสนอขอปลดพระสังฆาธิการรูปนั้น
และให้เจ้าคณะจังหวัดออกคำสั่งปลดออกจากตำแหน่ง
ด้วยเหตุขัดมติ มส.และไม่สนองงานคณะสงฆ์จังหวัดฯ ในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5”
—
อ่านดู เห็นว่ามีตัวบ่งชี้เดียว คือ จำนวนคนมาทำบุญ
เขียนเป็นซูโดโค้ดได้ว่า
if (จำนวนคนทำบุญ < 50) {
if (วัดของเจ้าคณะตำบล == true)
if (ไม่เคยได้รับหนังสือตำหนิ == true)
do(“ออกหนังสือตำหนิ”)
else
if (ได้รับหนังสือ >= 3เดือน) do(“ทำเรื่องขอปลดจากตำแหน่ง”)
} else {
do(“ผ่านเกณฑ์ ได้คุณภาพ”)
}
แสดงว่าตำแหน่งของพระสงฆ์ในวัด เป็นสิ่งที่พระสงฆ์ต้องพึงรักษาไว้
ด้วยคิดเป็นระบบ เป็นกระบวนการ เป็นขั้นตอน เป็นกลไก
ตั้งแต่การวางแผนปฏิบัติการ (action plan) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan)
แล้วดำเนินการตามแผนเพื่อตอบเป้าหมายของแผน (do)
แล้วมีการตรวจสอบว่าดำเนินการครบถ้วนตามแผนหรือไม่ (check)
หากมีประเด็นต้องแก้ไขก็ดำเนินการปรับปรุง (action)
—
ต่อไปวัดต่าง ๆ คงต้องมีการจัดการความเสี่ยง (Risk management)
เพื่อป้องกันการถูกตำหนิในอนาคต
แล้วควรมีการจัดการความรู้ (Knowledge management)
เพื่อให้ทุกคนเข้าใจแผน ตรงตามเป้าหมาย ดำเนินการได้ครบถ้วนสมบูรณ์
ตามประเด็นที่ตั้งไว้ เป็นการเคเอ็มเพื่อต่อยอดการพัฒนวัด