การแข่งขัน ST ในซีรีส์จีน

พบคำว่า การแข่งขัน ST ในซีรีส์จีน
จากเนื้อหาในเรื่อง ปฏิบัติการของปรมาจารย์ปลาทำให้ไป่ฟู่เหม่ยตกตะลึง พบเรื่องราวเกี่ยวกับ การแข่งขัน ST
..
เรื่องนี้ มีเนื้อหาส่วนแรกคล้ายกับในนิยายออนไลน์ ใน fanqienovel ผู้เขียน คือ ซีโตว เขียนเรื่อง เขาถูกจับได้ว่าตกปลาในที่ทำงาน และเขาก็ลากซีอีโอหญิงลงไปในน้ำพร้อมกับฉินซุนและเซี่ยหนิง
上班摸鱼被抓,反手拉女总裁下水秦寻夏宁
..
เมื่อค้นดูผ่าน baidu พบว่า มีการแข่งขันคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยจีน—ความท้าทายด้านเทคโนโลยีเครือข่าย หรือ C4-Network Technology challenge ในการแข่งขันยังพบ Series A ที่มีรายการแข่งขัน A-ST Cyberspace Security ที่จัดมากกว่า 10 ครั้งแล้ว
..
เมื่อค้นคำว่า ST พบข้อความว่า
บริษัท STMicroelectronics (ST)
ได้เข้าร่วมในฐานะผู้จัดงานหลัก และ
ผลิตภัณฑ์ STM32 และบอร์ดพัฒนา
ยังเป็นแพลตฟอร์มการพัฒนาที่ใช้บ่อยที่สุดในการแข่งขัน
..
ส่วน ST นั้น เป็นชื่อบริษัท STMicroelectronics (ST) Group ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1987 โดยการควบรวมกิจการ ระหว่าง SGS Microelectronics ของอิตาลี และ Thomson Semiconductor ของฝรั่งเศสในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2541 SGS-THOMSON Microelectronics เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น STMicroelectronics Co., Ltd. ซึ่ง STMicroelectronics เป็นหนึ่งในบริษัทเซมิ คอนดักเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้น ST จึงน่าจะมาจากอักษรตัวแรกของทั้ง 2 บริษัท


..
แล้วพบข่าวว่า ST ช่วยเหลือการแข่งขันเทคโนโลยีฝังตัวสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยแห่งชาติ: เส้นทางความฝันจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ จากข่าวเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2567 “การแข่งขันการออกแบบชิปและระบบสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยแห่งชาติประจำปี 2024” ได้จบลงที่เมืองหนานจิง การแข่งขันครั้งนี้ดึงดูดนักศึกษามากกว่า 20,000 คนจากมหาวิทยาลัย 552 แห่งทั่วประเทศให้เข้าร่วม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้นด้านนวัตกรรมและความสามารถในการปฏิบัติของนักศึกษารุ่นเยาว์ร่วมสมัยในสาขาเทคโนโลยีฝังตัว

https://www.eet-china.com/news/19340.html

โต๊ะทำงาน พระเอก นางเอก
ผู้เข้าร่วมแข่งขัน ST
กติกา  A-ST
การแข่งขัน ST

การใช้งาน scratch ครั้งแรก

Scratch คือ เครื่องมือสำหรับการโปรแกรมด้วยแผนภาพ ด้วยการต่อจิ๊กซอล นำชิ้นคำสั่งมาร้อยเรียงเรื่องราวอย่างเป็นระบบ ใช้ได้ฟรี สำหรับนักเรียน ครู อาจารย์ สามารถใช้สร้างสรรค์ตัวการ์ตูน เล่านิทาน เกม ดนตรี ศิลปะ บอกเล่าถึงชีวิต และสังคม การฝึกใช้ถือเป็นก้าวสำคัญของผู้เริ่มต้นที่จะศึกษาการโปรแกรมในระดับที่สูงขึ้น Scratch ใช้ในขอบเขตอื่นได้ ทั้งโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ รวมทั้งการสร้างแบบจำลอง และการทดลอง แล้วยังช่วยสร้างเอกสารนำเสนอของนักเรียน ครู อาจารย์ การเปิดโครงงานสามารถใช้งานบนเว็บไซต์ เผยแพร่ แบ่งปัน แก้ไขผ่านเว็บบราวเซอร์ ซึ่ง Scratch เริ่มต้นโครงการจากการทำงานร่วมกันระหว่าง Google และ MIT’s Scratch team แล้วทีมของ Google ได้พัฒนา Blockly เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้การโปรแกรม และการนำไปใช้ในภาคธุรกิจได้ (แปลจาก wikipedia.org และ mit.edu) #

scratch first program
scratch first program

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเรียนรู้การต่อ block
2. เพื่อประมวลตาม block ที่ต่อเสร็จ
3. เพื่อเก็บ script เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
4. เพื่อนำ script กลับมาประมวลผลได้

การใช้งาน scratch ครั้งแรก

1. เข้า http://scratch.mit.edu
2. กด create เพื่อสร้างผลงาน หรือคลิ๊ก “Try it out”
3. ถ้าติดตั้ง Flash แล้ว จะข้ามไปข้อ 4
แต่ถ้าไม่ได้ติดตั้ง Flash ไว้ก่อนหน้านี้
เมื่อทดสอบใน chrome browser จะพบข้อความ
– ให้คลิ๊ก “Click to enable Adobe Flash Player”
– ให้คลิ๊ก “Allow” to Run Flash
4. พบตัว Scratch สีเหลือง หน้าตาเหมือนแมว
ในหน้าต่าง Stage ที่เป็นเวทีแสดงของแมว
ส่วนนี้ขยายเต็ม full screen ได้
5. ด้านบนของตัวแมว Scratch จะช่อง Project title
พบชื่องานว่า “Untitled” เริ่มต้นก็ควรตั้งชื่องานใหม่
ให้เปลี่ยนชื่องานนี้เป็น mycat หรือตามที่ชอบ
6. ในแท็บ (Tab) ชื่อ Scripts มี Block palette
ปัจจุบันอยู่ที่กลุ่มบล็อก Motion
ด้านล่างเป็นบล็อกที่ใช้ได้ในกลุ่มนี้
7. การเริ่มต้น ให้คลิ๊กกลุ่มบล็อก Events
จะพบบล็อกชื่อว่า “When clicked”
8. ใช้ mouse คลิ๊กบล็อกนั้น ค้างไว้ (hold)
แล้วลากไป (drag) ปล่อยในพื้นที่ Scripts area ด้านขวา
ที่เป็นพื้นที่ต่อบล็อก ให้ปล่อยบล็อกไว้โซนด้านบนของที่ว่าง
จะได้จัดวางเป็นระเบียบแบบบนลงล่าง (Top-Down design)
9. กลับไปคลิ๊กกลุ่มบล็อก Motion อีกครั้ง
จะพบบล็อกชื่อ “move 10 steps”
ลากไปต่อท้ายบล็อก “When clicked”
10. ทดสอบสั่งงาน – ครั้งแรก
โดยคลิ๊กสัญลักษณ์รูปธงสีเขียว (Green flag to start)
หมายถึง ทำงานตามสั่ง
จะพบว่าแมวเดินไป 10 steps
กดที่ธงสีเขียวอีกครั้งก็เดินอีก 10 steps ซึ่งไปได้ประมาณ 10 จุด
11. เก็บ script ไว้ในเครื่อง (download script)
สั่งผ่าน menu bar ให้คลิ๊ก file, download to your computer
ก็จะได้แฟ้ม mycat.sb2 มาไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
12. ปิดหน้าต่าง หรือกลับไปที่ http://scratch.mit.edu
แล้วคลิ๊ก create ใหม่
จะพบว่างานที่เคยทำไว้ หายไปจาก Scripts area และ Stage
13. เรียก script กลับมาจากในเครื่อง (upload script)
สั่งผ่าน menu bar ให้คลิ๊ก file, upload from your computer
แล้วกด ok เพื่อยืนยัน ก็จะพบว่า script ที่เคยเก็บไว้ กลับมาแล้ว
มีวัตถุสั่งงาน 2 วัตถุเหมือนเดิม ในพื้นที่ทำงาน
14. ทำการสร้างบล็อกเพิ่มอีก 2 บล็อก
คือ “When clicked” และ “move -10 steps”
โดยเปลี่ยนจากเลข 10 เป็น -10
หากคลิ๊กที่ธงสีเขียวในบล็อกชุดใดก็จะทำงานตามบล็อกในชุดนั้น
ทำให้แมวเดินหน้า ถอยหลังได้ ตามการคลิ๊ก

first script
first script

การเขียน shell script บน Android แบบไม่ต้องใช้ chmod

การเขียน shell script
การเขียน shell script

เคยมีนักศึกษาสายไอที ถามมา
เพราะสายอื่นเค้าคงไม่ถามแบบนี้หลอก
คำถาม “มีสมาร์ทโฟน เอามาทำอะไรได้บ้าง
แล้วก็คิดได้ว่า โทรศัพท์ที่เค้ามีเป็น android os
สามารถติดตั้ง app เพิ่ม จาก Google play store ได้
งั้นตอบว่า “ใช้เขียน shell script ได้ ลองดูนะ
ไม่ต้องกังวลเรื่อง root ด้วย เพราะไม่จำเป็นต้องทำ
แนะนำว่าต้องโหลดแอพ ดังต่อไปนี้
1. Terminal Emulator
2. Droidedit Free
3. ES File Explorer File Manager
4. Palapa Web Server
อันที่จริง ใช้แอพในข้อ 1 เป็นหลัก
ที่เหลือแนะนำว่า Developer ควรมีไว้ในเครื่อง

ขั้นตอนการเขียน shell script
บน Android แบบไม่ต้องใช้ chmod
1. โหลดแอพ Terminal Emulator
เพื่อเข้าไปจัดการกับ Script ผ่าน Shell บน Android
2. โหลดแอพ Droidedit Free
เพื่อเป็นอีดิเตอร์สำหรับเขียน Script บน Android
เพราะโหลดมาแก้ไข และ Save as ได้
3. สำรวจห้องที่จะเก็บ shell script
โดยใช้เครื่องมือ คือ Terminal Emulator
หรือ ES File Explorer File Manager ก็ได้
เข้าไปดูห้อง /mnt/sdcard
พบว่ามีห้องเก็บข้อมูลมากมาย
อาทิ ห้อง /mnt/sdcard/pws
ที่สร้างจากแอพ Palapa Web Server
4. เขียน Shell script บนแอพ Droidedit Free
แล้ว Save as ชื่อ test1 วางไว้ในห้อง /mnt/sdcard

#!/system/bin/sh
read x
echo $x

5. ใช้ Terminal Emulator สั่ง execute shell script
โดยไม่ต้องใช้คำสั่ง chmod
เพราะใช้ไม่ได้และไม่จำเป็นต้องใช้
หากต้องการใช้ shell script ให้มีคำว่า sh นำหน้า
เช่น $sh test1

6. ตัวอย่าง รับค่าจากแป้นพิมพ์มาทดสอบ

#!/system/bin/sh
read x
echo $x
if [ “$x” == “1” ]
then
echo “one”
elif [ “$x” == “2” ]
then
echo “two”
else
echo “-”
fi

อธิบาย script ว่า
ถ้า execute แล้วเค้าหยุดถาม
หากกรอกเลข 1 จะพิมพคำว่า one ออกมา
หากกรอกเลข 2 จะพิมพคำว่า two ออกมา
หากกรอกอย่างอื่น จะพิมพคำว่า – ออกมา

วิชาที่ใช้สำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยทั้งสอบตรงและแอดมิชชั่น

เรียนอะไร จะได้มีอาชีพใน asean
เรียนอะไร จะได้มีอาชีพใน asean

การสอบเข้ามหาวิทยาลัย นักเรียนทุกคน
ต้องสอบวิชาสามัญ และวิชาเฉพาะสาย
สัดส่วนของสองกลุ่มนี้จะต่างกันไปในแต่ละหลักสูตร
หลายมหาวิทยาลัยจัดรับตรง คือใช้ข้อสอบของตนเอง
ก็จะกำหนดวิชาที่สอบแตกต่างไปบ้างกับสอบแอดมิชชั่น

1. วิชาสำหรับสอบเข้าเรียนแพทย์โดยทั่วไป
ต้องสอบ 7 วิชา 1)ฟิสิกส์ 2)เคมี 3)ชีวะ 4)คณิต1 5)ไทย 6)อังกฤษ 7)สังคม
และวิชาเฉพาะ (ความถนัดทางวิทยาศาสตร์)

2. การสอบตรงนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ต้องสอบวิชาของธรรมศาสตร์ ใน 100% มีดังนี้
1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย  10%
2) ความสามารถในการใช้กฎหมาย  30%
3) เรียงความ  10%
4) ย่อความ  10%
5) ภาษาอังกฤษ  20%
6) ความถนัดเชิงวิชาการ (SAT)  20%

3. สัดส่วนที่ใช้คำนวณคะแนน
GAT (General Aptitude Test) ความถนัดทั่วไป
PAT (Professional Aptitude Test) ความถนัดทางด้านวิชาชีพและวิชาการ
– ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX)
– ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
– ผลการทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT)
– ผลการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT)

4. GAT กับ PAT ต่างกันชัดเจน
GAT = ความถนัดทั่วไป
PAT1 = ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT2 = ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT3 = ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT4 = ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT5 = ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT6 = ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT7.1 = ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
PAT7.2 = ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
PAT7.3 = ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
PAT7.4 = ความถนัดทางภาษาจีน
PAT7.5 = ความถนัดทางภาษาอาหรับ
PAT7.6 = ความถนัดทางภาษาบาลี

5. สัดส่วนการใช้คะแนน GAT PAT ของคณะต่าง ๆ
http://www.tlcthai.com/education/gat-pat/48432.html
http://www.dek-d.com/admission/33015/
กลุ่มที่ 1 คณะสัตวแพทยฯ , คณะสหเวชศาสตร์ , คณะพยาบาลศาสตร์
คณะสาธารณสุขฯ, คณะเทคนิคการแพทย์ , คณะวิทยาศาสตร์กีฬา
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20% และ PAT 2 30%

กลุ่มที่ 2 คณะทันตแพทยศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20%, PAT 1 10% และ PAT 2 20%

กลุ่มที่ 3 คณะเภสัชศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% และ PAT 2 40%

กลุ่มที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ , คณะทรัพยากรธรรมชาติ
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT 1 10% และ PAT 2 30%

กลุ่มที่ 5 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT 1 20% และ PAT 2 20%

กลุ่มที่ 6 คณะวิศวกรรมศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 15% , PAT 2 15% และ PAT 3 20%
* รับตรงคณะกลุ่มนี้บางมหาวิทยาลัย กำหนดให้สอบ PAT1
เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ม.เกษตรศาสตร์

กลุ่มที่ 7 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% และ PAT 4 40%

กลุ่มที่ 8 คณะเกษตรศาสตร์ , คณะวนศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT 1 10% และ PAT 2 30%

กลุ่มที่ 9 คณะบริหารธุรกิจ , คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี , คณะเศรษฐศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 30% และ PAT 1 20%
* รับตรงคณะกลุ่มนี้บางมหาวิทยาลัย กำหนดให้สอบ PAT2
เช่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ

กลุ่มที่ 10 คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม
รูปแบบที่ 1 GPAX 20% , O-NET 30% และ GAT 50%
รูปแบบที่ 2 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 40%
และ PAT 7 (เลือก 1 วิชา) 10%

กลุ่มที่ 11 คณะครุศาสตร์ , คณะศึกษาศาสตร์
รูปแบบที่ 1 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20% และ PAT 5 30%
รูปแบบที่ 2 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT 5 20%
และ PAT 1/2/3/4/6/7 (เลือก 1 วิชา) 20%

กลุ่มที่ 12 คณะศิลปกรรมศาสตร์ , คณะวิจิตรศิลป์ , คณะดุริยางฯ , คณะศิลปการออกแบบ
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% และ PAT 4/6 (เลือก 1 วิชา) 40%

กลุ่มที่ 13 คณะนิเทศศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์
คณะรัฐศาสตร์ , คณะนิติศาสตร์ , คณะสังคมวิทยา , คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
รูปแบบที่ 1 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 30% และ PAT 1 20%
รูปแบบที่ 2 GPAX 20% , O-NET 30% และ GAT 50%
รูปแบบที่ 3 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 30% และ PAT 7 20%

มีข่าวว่า
อันดับหนึ่งของประเทศสอบได้วารสารศาสตร์

ปี 2559 และ 2558 ผลสอบแอดมิชชั่น 6 อันดับแรกเลือกสายสังคมศาสตร์ทั้งหมด

ผลการค้นงานประชุมวิชาการระดับชาติในภาคเหนือ

เล่าสู่กันฟัง เรื่องหัวหน้าให้ค้นข้อมูล
ว่ามีงานประชุมวิชาการระดับชาติ ในช่วง พฤษภาคม-กรกฎาคม 2558
เฉพาะเขตภาคเหนือ สายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ผมตรวจสอบจาก
+ http://www.conferenceinthai.com/
+ http://www.grad.mahidol.ac.th/grad/event/conference2558_th.php
+ http://www.conferencealerts.com/country-listing?country=Thailand
+ http://www.google.com
ที่จะรองรับทั้ง M.P.A. และ M.ED. มีเบื้องต้นดังนี้

14 มกราคม 2558
การประชุมสังคมศาสตร์วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11
https://social.crru.ac.th/symposium/

13 กุมภาพันธ์ 2558
งานประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยพายัพ 2015
มีกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
http://www.payap.ac.th/symposium2015/

20-21 กุมภาพันธ์ 2558 ?
การประชุมวิชาการระดับชาติ “วิทยาการจัดการวิชาการ” 2015
เครือข่ายความร่วมมือคณะวิทยาการจัดการ กลุ่มภาคเหนือ 8 แห่ง
http://www.management.cmru.ac.th/conferences2015/

23 – 24 มีนาคม 2558
การประชุมทางวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
มีกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
http://www.rccon2015.org/

23 พฤษภาคม 2557 ?
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาการและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
มีกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
http://conference.northcm.ac.th/

22-24 กรกฎาคม 2015
การประชุมวิชาการนเรศวรวิจัยครั้งที่ 11 เป็นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
มีการศึกษา และสังคม และรัฐประศาสนศาสตร์
http://dra.research.nu.ac.th/nurc11/index.aspx
http://dra.research.nu.ac.th/nurc10/bregist.aspx

17-18 กันยายน 2015
The 1st International Conference on Interdisciplinary Development Research (IDR2015)
http://www.conferencealerts.com/country-listing?country=Thailand

8-9 ธันวาคม 2558 ?
การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
http://www.conference.mju.ac.th/

วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)

9789742127107 วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
9789742127107 วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎี การวิเคราะห์ ออกแบบ อัลกอริทึม และโปรแกรมภาษา ดังนั้นการศึกษาด้านนี้จึงมิใช่เป็นการมุ่งเน้นโปรแกรมภาษาเพียงอย่างเดียว แต่จะหมายรวมถึงการศึกษาด้านหลักการ กระบวนการแก้ปัญหาอย่างมีระเบียบแบบแผน ด้วยการคิดค้นอัลกอริทึมที่เหมาะสม มาใช้แก้ปัญหาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

http://goo.gl/72BPC

เอกสารอ้างอิง จากคำนำ p.3
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, “วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ”, บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด., กรุงเทพฯ, 2551.

ซะป๊ะกับคำอธิบายรายวิชา

course description
course description

11 ก.ย.54 มีอะไรเกี่ยวพันกันไปหมดกับคำว่า คำอธิบายรายวิชา มีขั้นตอนที่ทำให้เกิดการเกี่ยวพันกันดังนี้
1. เริ่มต้นด้วยการ download แฟ้ม .doc ที่บีบอัดไว้
จาก http://www.thaiall.com/tqf/tqf2_cs_kmutt.zip
ซึ่งเป็นร่าง มคอ.2 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่ยกร่างโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
2. นำมาตัดให้เหลือ ข้อมูลเฉพาะคำอธิบายรายวิชา และเป็นวิชาทางสาขาที่ขึ้นต้นด้วย CSC โดยมีรูปแบบวิชาละ 7 บรรทัด ประกอบด้วย 1) รหัสวิชา 2) ชื่อภาษาไทย 3) ชื่อภาษาอังกฤษ 4)หน่วยกิต 5)อธิบายภาษาไทย 6)อธิบายภาษาอังกฤษ 7)บรรทัดว่าง
อยู่ใน http://www.thaiall.com/tqf/tqf2_cs_kmutt.txt
3. เขียน code อ่านแฟ้ม .txt ไปแสดงผลในตาราง และใส่สี ตามแบบที่ต้องการ
http://www.thaiall.com/tqf/tqf2_cs_kmutt.php
ในโปรแกรม tqf2_cs_kmutt.php ออกแบบให้ถูกดูดแล้วแก้ไขแบบออนไลน์ได้ง่าย
4. เขียน code อ่านแฟ้ม .php ไปแสดงผลร่วมกับ template ที่เตรียมไว้
http://www.thaiall.com/computer/cskmutt.php
จะดูด tqf2_cs_kmutt.php มาปรับรูปแบบเพิ่มเติม เพื่อส่งเข้า template คือ index.php
5. ใช้ .htaccess และ redirect.php แก้ปัญหาการส่งข้อมูลแบบ get ให้รองรับการส่งข้อมูลด้วย /
ทำให้ผลของ /xxx กับ /file=xxx มีผลเหมือนกัน

<IfModule mod_rewrite.c>
RewriteEngine On
RewriteBase /computer/
RewriteCond %{REQUEST_FILENAME} !-f
RewriteCond %{REQUEST_FILENAME} !-d
RewriteRule . /computer/redirect.php [L]
</IfModule>

<?
$r = split(“/”,$_SERVER[“REQUEST_URI”]);
$ar = file(“http://www.thaiall.com/computer/?file=”. $r[2]);
foreach($ar as $v) echo $v;
?>

http://www.thaiall.com/computer/?file=cskmutt
http://www.thaiall.com/computer/cskmutt

นักศึกษาปี4แชทFBลวงสาวเข้าโรงแรมฉกBB

ลวงสาวเข้าโรงแรม
ลวงสาวเข้าโรงแรม

5 กย. 2554 17:21 น. ตำรวจสืบสวน สภ.เมืองเชียงใหม่ นำโดย พ.ต.ต.ไกรศรี จุฬพรรค์ สว.สส.จับกุมนายกฤตภาส อายุ 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังแห่งหนึ่งในเมืองเชียงใหม่ ข้อหาลักทรัพย์ผู้ อื่นโดยปลอมตัวเป็นผู้อื่น ของกลางแบล็คเบอร์รี่ 1 เครื่อง สืบเนื่องจากตำรวจได้รับแจ้งเหตุลักทรัพย์ที่ห้องหมายเลข 212 โรงแรมพีเพิลเพลช ต.ช้างคลาน อ .เมืองเชียงใหม่ โดยผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงสาวหน้าตาดีให้การว่า หลายวันก่อนเกิดเหตุ ได้ รู้จักและพูดคุยกับนายต้น ไม่ทราบนามสกุล ผ่านโปรแกรมเฟซบุ๊ค หลังจากพูดคุยถูกคอ จึงติดต่อผ่านโทรศัพท์มือถือ ต่อมานายต้น ซึ่งอ้างตัวเป็นนักธุรกิจหนุ่มฐานะดีในจังหวัดเชียงใหม่ ได้ชักชวน ให้ตนเองเดินทางจากกรุงเทพมหานครขึ้นมาเที่ยวที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยบอกจะเลี้ยงดู อย่างดี ตนจึงหลงเชื่อเดินทางมาตามคำชวน โดยนายต้นได้ติดต่อเปิดโรงแรมที่เกิดเหตุให้ และขณะที่อยู่ในห้องนายต้น ได้ฉวยโอกาสที่ตนเองเข้าห้องน้ำ ขโมยโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ แบล็คเบอร์รี่ของตนเอง พร้อมไอพอด 1 เครื่อง และเงินสดอีก 300 บาท หลบหนีไป

จากการสอบสวนนายกฤตภาส ให้การว่า ก่อเหตุล่อลวงหญิงสาวไปลักทรัพย์มาแล้วถึง 6 ครั้ง โดยเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ได้ก่อเหตุลักทรัพย์ที่โรงแรมเอ็ม ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ โดยใช้ชื่อในการเปิดโรงแรมคือนายอนุพงษ์ องคำ, กลางเดือน ก.ค.54 ก่อเหตุลักทรัพย์ในโรงแรมอิมโฮเต็ล ถนนท่าแพ ต.ช้างคลาน อ.เมืองเชียงใหม่ และที่โรงแรมฟอร์ล่า ซอยไกรทอง ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ รวมทั้งในโรงแรมพีเอส ต.ช้างเผือก อ.เมืองเชียงใหม่ ต่อมาวันที่ 6 ส.ค.54 ก่อเหตุลักทรัพย์ในโรงแรมบ้านหลวง ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ใช้ชื่อนายอนุรักษ์ ศรีจำปา และล่าสุดวันที่ 28 ส.ค.54 ก่อเหตุลักทรัพย์ที่โรงแรมพีเพิลเพลช ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ใช้ชื่อนายอนุวัตร ศรีสุวรรณ ในการเปิดห้องพัก ส่วนทรัพย์สินที่ได้มาจะนำไปขายผ่านอินเทอร์เนตนำเงินไปใช้เที่ยวเตร่
นายกฤตภาส จะใช้วิธีหาเหยื่อผ่านเฟซบุ๊คโดยไปแอดหญิงสาวหน้าตาดีจากบัญชีเพื่อนของเพื่อน จากนั้นจะพูดคุยเพิ่มความสนิทสนม พร้อมอ้างว่าต้องการเลี้ยงดูหญิงสาวหน้าตาดีเป็นเงินเดือน เดือนละ 4 หมื่นบาท ก่อนชักชวนให้มาพบและพาไปเปิดโรงแรมโดยใช้ชื่อปลอม จากนั้นจะอาศัยช่วงที่ผู้เสียหายเผลอทำการลักทรัพย์และหลบหนีไป สำหรับผู้เสียหายรายใดที่เคยถูกคนร้ายกระทำในลักษณะเดียวกันนี้สามารถมาพบพนักงานสอบสวนและดูตัวผู้ต้องหาได้ที่ สภ.เมืองเชียงใหม่

ทั้งนี้ ผกก.สภ.เมืองเชียงใหม่ ฝากให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวัง ในการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เนต โดยเฉพาะโปรแกรมโซเชียลเนตเวิร์ค เนื่องจากปัจจุบันมีกลุ่มมิจฉาชีพอาศัยเทคโนโลยีในการกระทำผิดมากขึ้น

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=527819

10 วิชาที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์

CPSC 103  ตรรกะดิจิทัล  3(3-0-6)
(Digital Logic)
ระบบจำนวนและรหัสคอมพิวเตอร์ พีชคณิตบูลีน การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ตรรกะคอมบิเนชันนัล ฟังก์ชันสวิทชิง รูปแบบคาโนนิคัล แผนที่คาร์นอฟ เทคนิคการลดรูป วงจรแนนและวงจรนอร์หลายระดับ และภัยในวงจร การวิเคราะห์และสังเคราะห์ตรรกะ ซีเควนเชียล การนำฟลิปฟล็อปมาสร้างตรรกะ ตัวแปรสถานะ แผนภาพแสดง การเปลี่ยนสถานะ ตารางแสดงสถานะ การลดจำนวนสถานะ เทคนิคการกำหนดสถานะ และสภาวะการแข่งขัน
Number systems and computer codes, Boolean algebra, analysis and synthesis of combinational logic, switching function, canonical forms, Karnaugh map, minimization techniques, multilevel NAND and NOR circuits and hazards, analysis and synthesis of sequential logic, logic implementation with flip flop, state variables, state transition diagram, state table, minimization of states, state assignment techniques, and race conditions.

CPSC 201    สถาปัตยกรรมและองค์ประกอบคอมพิวเตอร์  3 (3 – 0 – 6)
(Computer Architecture and Organization)
ระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ มอดูลรับเข้า/ส่งออก การเชื่อมต่อองค์ประกอบดังกล่าว หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยควบคุม เรจิสเตอร์ หน่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์และตรรกะ หน่วยคำสั่งและการเชื่อมต่อของหน่วยดังกล่าว สถาปัตยกรรม การออกแบบชุดคำสั่งและชนิดข้อมูล หัวข้อการจัดระบบ การทำไปป์ไลน์ การจัดระบบคอมพิวเตอร์แบบขนาน การจัดระบบหน่วยประมวลผลหลายชุด และการประมวลผลเชิงเวกเตอร์
Computer system, processor, memory and Input/Output modules, interconnections among these major components, central processing unit, control unit, registers, arithmetic and logic unit, instruction unit and interconnections among these components, architectural issues, instruction-set design and data types, organizational issues, pipelining, parallel organization, multiple processors and vector processing organizations.

CPSC 317     ระบบปฏิบัติการ 3 (3 – 0 – 6)

(Operating Systems)
สถาปัตยกรรม เป้าหมายและโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ การจัดการการประมวลผล การกำหนดการการประมวลผล ความร่วมมือและการประสานเวลาของการประมวลผล สภาวะติดตาย สาเหตุ เงื่อนไข การป้องกัน การจัดการหน่วยความจำ หน่วยความจำกายภาพ หน่วยความจำเสมือน การจัดการหน่วยเก็บรอง จานบันทึก หน่วยเก็บขั้นสาม หน่วยรับเข้า/ส่งออก แฟ้มข้อมูล สารบบ ระบบปฏิบัติการแบบกระจายเบื้องต้น
Architecture, goals, and structure of operating system, process management, processes scheduling, process coordination and synchronization, deadlock, causes, conditions, prevention, memory management, physical memory, virtual memory, secondary storage management, disk, tertiary storage, Input/Output (I/O), file, directory, introduction to distributed operating systems.

CPSC 319    การพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงอ็อบเจกต์ 3 (2 – 2 – 6)
(Object-Oriented Software Development)
การเขียนโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์ คลาส อ็อบเจกต์ ชนิดข้อมูลนามธรรม การรับคุณสมบัติถ่ายทอด การห่อหุ้ม ภาวะพหุสัณฐาน และการนำของเดิมมาใช้ใหม่ กระบวนทัศน์การพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงอ็อบเจกต์ การวิเคราะห์ ออกแบบและประยุกต์ใช้ระบบงานเชิงอ็อบเจกต์
Object-oriented programming, classes, objects, abstract data types, inheritance, encapsulation, polymorphism and reuse, object-oriented software development paradigm, analysis, design and applications of object-oriented systems.

CPSC 334    ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ 3 (3 – 0 – 6)
(Human-Computer Interaction)
พฤติกรรมมนุษย์ กระบวนวิธีการบันทึกและแปลพฤติกรรมมนุษย์ การวิเคราะห์ การทำงาน เทคนิคการสังเกต การออกแบบสอบถาม เทคนิคการวิเคราะห์และการโมเดลงาน วิธีแสดงส่วนปฏิสัมพันธ์และเครื่องมือสร้างต้นแบบ ขั้นตอนการเรียนรู้ การศึกษาการใช้งานและการวิเคราะห์โพรโทคอลการใช้คำ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์  แนวทางการทดลองทำจริง การเรียนรู้ของมนุษย์ การทำนายและการเลียนแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และกรณีศึกษา
Human behavior, methodologies for obtaining and interpreting human behavior: work activity analysis, observation techniques, questionnaire, task analysis and modeling techniques, methods for interface representation and prototyping tools, cognitive walkthroughs, usability studies and verbal protocol analysis, the four approaches to human-computer interaction, empirical, cognitive, predictive, and anthropomorphic and case studies.

CPSC 350    การโปรแกรมแบบลูกข่าย-แม่ข่าย 3 (2 – 2 – 6)
(Client-Server Programming)
โมเดลและการโปรแกรมการสื่อสารแบบลูกข่าย-แม่ข่าย การออกแบบซอฟต์แวร์ การประมวลผลพร้อมกัน การเชื่อมต่อโปรแกรมประยุกต์กับโพรโทคอล ซ็อกเก็ตเอพีไอ ขั้นตอนวิธีดำเนินงานที่ฝั่งลูกข่ายและประเด็นที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนวิธีดำเนินงานที่ฝั่งแม่ข่ายและประเด็นที่เกี่ยวข้อง แม่ข่ายแบบไม่กำหนดการเชื่อมต่อ และแม่ข่ายแบบกำหนดการเชื่อมต่อ
Client-server communication model and programming, software design, concurrent processing, application interface to protocols, socket Application Protocol Interface (API), client side algorithms and issues, server side algorithms and issues, connectionless servers, and connection-oriented servers.

CPSC 351    เทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่าย 3 ( 3 – 0 – 6 )
(Internetworking Technology)
ที่อยู่ไอพี โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต ไอพี อาร์พ อาร์อาร์พ ไอซีเอ็มพี ไอจีเอ็มพี แนวคิดของการจัดเส้นทาง การจัดเส้นทางแบบคงที่ การจัดเส้นทางแบบพลวัต ริพ โอเอสพีเอฟ บีจีพี การส่งข้อมูลจากโพรเซสถึงโพรเซส พีพีพี การควบคุมความแออัดในเครือข่าย คิวโอเอส ดีเอ็นเอส ไอเอสดีเอ็น เอซีแอล ดีดีอาร์กับไอเอสดีเอ็น แนท ดีเอชซีพี การส่งสื่อประสม การจัดการเครือข่าย และเอสเอ็นเอ็มพี
Internet Protocol (IP) Addressing, Internet Protocols: IP, ARP/RARP, ICMP, IGMP; routing concepts, static routing, dynamic routing: RIP, OSPF, BGP; Process-to-Process Delivery, PPP, Congestion control, QoS, DNS, ISDN, ACL, DDR with ISDN, NAT, DHCP, Multimedia transmission, Network Management, and SNMP.

CPSC 381    การค้นคืนสารสนเทศ 3 (3 – 0 – 6)
(Information Retrieval)
การค้นคืนข้อความ ธรรมชาติของสารสนเทศ การแทนและโครงสร้างสารสนเทศ การค้นคืนข้อความหรือการค้นคืนสารสนเทศอย่างเต็มทั้งแบบมีข้อกำหนด และไม่มีข้อกำหนด องค์ประกอบของระบบค้นคืนสารสนเทศ ปัญหาในการค้นคืนข้อความอย่างเต็ม โพลีกามี ซีโนนีมี ไฮเปอร์นีมี ไฮโปนีมี ข้อคำถามเชิงข้อความ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ของระบบค้นคืนสารสนเทศ วิธีการค้นคืนข้อความ วิธีเชิงอินเด็กซ์ วิธีจับคู่สตริงอย่างง่าย ขั้นตอนวิธีเคเอ็มพี การประมาณการการจับคู่ ต้นไม้แบบแพ็ต การวิเคราะห์การจัดกลุ่ม พื้นที่เวกเตอร์ การทำอินเด็กซ์เชิงความหมายแฝง การประมวลผลภาษาธรรมชาติ เครือข่ายใยประสาทเทียม และเครื่องช่วยการค้นคืนข้อความ
Text-retrieval, nature of information, representation and structure of information, restricted and un-restricted text/full-text retrieval, information retrieval systems components, problems in full-text search: polygamy, synonymy, hypernymy, hyponymy, textbase queries, user interfaces to information retrieval systems, text retrieval approaches, simple index-based, na?ve string matching, KMP algorithms, approximate matching, PAT trees, cluster analysis, vector space, latent semantic indexing, natural langrage processing, artificial neural network and text-retrieval machine.

CPSC 401    ภาษาโปรแกรมทางเลือก 3 (2 – 2 – 6)
(Selected Programming Language)
การศึกษาภาษาโปรแกรมอย่างลึกซึ้งหนึ่งภาษาหรือมากกว่าที่เป็นกรณีศึกษา ภาษาที่เปิดสอนอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละภาคการศึกษา และจะมีการแจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้า วัตถุประสงค์ของรายวิชานี้คือเพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักภาษาโปรแกรมเพิ่มเติม
A comprehensive study of one or more selected programming languages. Selected languages may vary from semester to semester and will be announced before the starting of each semester. The objective is to introduce students to alternative programming languages.

CPSC 452     การจัดการเครือข่าย 3 (3 – 0 – 6)
(Network Management)
หน้าที่ของการจัดการเครือข่าย โมเดลการจัดการเครือข่าย มาตรฐานการจัดการเครือข่าย เครือข่ายการจัดการโทรคมนาคม(ทีเอ็มเอ็น) โพรโทคอลจัดการเครือข่ายอย่างง่าย (เอ็สเอ็นเอ็มพี) การเฝ้าระวังระยะไกล(อาร์มอน) โพรโทคอลสารสนเทศร่วมเพื่อการจัดการ(ซีเอ็มไอพี) และ ฐานสารสนเทศเพื่อการจัดการ (เอ็มไอบี) และเครื่องมือและเทคนิคในการจัดการเครือข่าย
Network management functions, network management model, network management standards, Telecommunications Management Network (TMN), Simple Network Management Protocol (SNMP), Remote Monitoring (RMON), Common Management Information Protocol (CMIP), and Management Information Base (MIB), and tools and techniques for network management.

COMP 100 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2 (2 – 0 – 4)
(Introduction to Computer)
ศึกษาประวัติความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมประยุกต์
Study of computer history, internet, hardware, software, operating system and application program
TECH 101 สื่อและเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน 2 ( 1 – 2 – 4 )
(Media and Technology in Daily Life)
ศึกษาการใช้เทคโนโลยีและสื่อรูปแบบใหม่ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย การใช้ห้องสมุดและการสืบค้นข้อมูล เครือข่ายสังคม โปรแกรมประยุกต์สำนักงาน ความปลอดภัย คุณธรรม จริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์
Study of technology and new media using, computer system, network system, library and data searching, social network, office application, security, moral and ethics of computer users
COMP 300 คอมพิวเตอร์เพื่อการทำงาน 2 (1 – 2 – 4)
(Computer for Working)
ศึกษาการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการทำงาน การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ การใช้โปรแกรมสเปรตชีท การใช้โปรแกรมนำเสนองาน และการใช้งานบล็อก
Study of computer for working, word processing program, spread sheet program, presentation program and blog using
CPSC 104    กฎเกณฑ์และความหมายของภาษาโปรแกรม 3 (3 – 0 – 6)
(Syntax and Semantics of Programming Languages)
บททบทวนกฎไวยากรณ์ ภาษากับกฎเกณฑ์และความหมาย การตัดคำและความคลุมเครือ รูปปกติแบบบาร์คัส (บีเอ็นเอฟ) ไวยากรณ์ของสถานะจำกัดและตัวรู้จำ การสแกนคำ การสร้างตารางรหัส ภาษาไร้บริบท พุชดาวน์ออโตมาตา เทคนิคการตัดคำแบบไร้บริบท คำสั่งวนซ้ำ การแปลความก่อนหลังและการแปลความจากซ้ายไปขวาแบบง่าย (เอสแอลอาร์) และการแปลกฎเกณฑ์แบบตรง
Review of grammars, languages and their syntax and semantics, parsing and ambiguity, Backus Normal Form (BNF), finite state grammars and recognizers, lexical scanners, implementation of symbol tables, context-free languages, push-down automata, context-free parsing techniques, recursive descent, precedence and Simple Left to Right (SLR) translation, and syntax directed translation schemes.

http://www.thaiall.com/tqf

http://www.thaiall.com/tqf/cpsc/2555_curr_cpsc_10subj.doc

กฎหมายเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

law of education
กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา

22 ก.พ.54 มีเพื่อนหลายคนเล่าให้ฟังเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการ เมื่อสืบค้นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ก็พบ พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2522 และพ.ศ.2535 หมวด 1 การจัดตั้งและเปิดดำเนินการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน มาตราที่ 8-19 มีประเด็นให้เรียนรู้มากมาย และ ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง “คู่มือและแนวปฏิบัติในการพิจารณาออกใบอนุญาตให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน” ซึ่งประเภทของสถาบันมีรายละเอียดในหน้า 5 หัวข้อ 1.2 สำหรับคู่มือและแนวปฏิบัติฉบับนี้มีประเด็นให้คิดตามเยอะครับ
http://www.mua.go.th/data_main/law/law_05_06_51.pdf
มีหลายเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูล
– http://www.kodmhai.com/m4/m4-19/H24/M8-19.html
– http://www.kodmhai.com/m4/m4-19/Nthailaw-4-19/N896.html
– http://portal.in.th/gad-yiu/pages/4521/
http://www.mua.go.th/users/he-commission/law.php
– http://reg.neu.ac.th/main/?cat=20