วันนี้ 29 สิงหาคม 2564 ครบกำหนดเวลาที่นิสิตปี 1 มหาวิทยาลัยเนชั่น ส่งผลงานเขียนบล็อก เพื่อร้องเรียงเรื่องราวบอกเล่าสั้น ๆ โดยใช้ภาพประกอบ มาลำดับความคิด เหตุการณ์ หรือช่วงเวลา ที่เลือกเขียนได้ทั้งแนวลึก และแนวกว้าง เมื่อได้อ่านผลงานแล้วรู้สึกสนุก นิสิตบอกเล่าถึงความสุขเกี่ยวกับชีวิตวัยรุ่น ที่เปลี่ยนผ่านจากเยาวชนตัวน้อยในครอบครัวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ สู่ชีวิตนิสิตในรั้วมหาวิทยาลัย เล่าได้ดีโดยใช้ภาพเป็น Milestone ในแต่ละย่อหน้า เพราะภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดนับพันคำ ทำให้นิสิตสรรหาภาพที่ชื่นชอบในอดีตมาประกอบการเล่าเรื่องได้อย่างมีความสุข ร้อยเรียงเป็นเรื่องราวน่าอ่าน มีที่มา ที่เป็นอยู่ และที่เป็นไป ฝึกทักษะการสื่อสารผ่านการเขียน รอบต่อไปก็จะฝึกทักษะการพูด และบันทึกคลิปออกสื่อกัน หวังว่าจะพัฒนาทักษะการเขียน แล้วใช้ทักษะการเขียนไปเขียนตอบข้อสอบต่อไป ชวนอ่านผลงานของ วรรณศาสน์ มณีรัมย์ เลิศฤดี พลคำมาก หรือ วัชราพร เพื่อนสงคราม
กลับมานึกถึง นิสิตรุ่นพี่ปี 4 สายเดฟ ผมตั้งชื่อว่า Six Sense ไม่ใช่ The Sixth Sense ที่เป็นชื่อภาพยนตร์ที่แสดงนำโดย Bruce Wills แต่ Six มาจาก จำนวน ไม่ใช่ Sixth ที่มาจากคำว่า ลำดับที่ ตั้งชื่อว่า ซิกเซนต์#1 ประกอบด้วย หวาน แพรว ฟลุ๊ค เฟิร์น นน ฝน ซิกเซนต์#2 ประกอบด้วย คอม หนึ่ง นิค มิ้ม แบล็ค วิว เพราะนิสิตทั้งสองรุ่น อ.แนน อ.นุ้ย อ.เชพ ผู้สอน และศิษย์พี่ที่รับศิษย์น้องไปทำงานตรงสาย ต่างเสมือนเป็นแรงผลักดันต่างกรรมต่างวาระ ทำให้ผมกลับมาสนใจการพัฒนาโมบายแอปด้วยเครื่องมือใหม่อีกครั้ง จากที่เริ่มพัฒนาเว็บแอป มาตั้งแต่ 2541 ก่อนหน้านี้เคยสนใจ Android Studio แต่อุปกรณ์ไม่พร้อมสนับสนุนการพัฒนา แล้วปัจจุบัน 2564 ได้พี่เปรม และพี่เบนซ์ มาช่วยทำให้อุปกรณ์ของผมพร้อมขึ้น และตัวเครื่องมือพัฒนาได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ ขึ้น จึงเริ่มกลับมาสนใจการพัฒนาโมบายแอป ด้วย React Native บน Android SDK และถือเป็นเวลาที่ต้องกลับไปซ่อมแซมโมบายแอป ที่เคยใช้ webview หรือแอปเก่ามีปัญหาที่ไม่ สอดคล้องกับเงื่อนไขใหม่ของ Play Store จนเป็นผลให้ Google play store ลบแอปออก เนื่องจากเวลาผ่านไปเงื่อนไขก็เปลี่ยนตาม (lpmuseum2) โดยเฉพาะคำว่า deprecated หมายถึง การยุติฟังก์ชัน โมดูล หรือไลบรารี่ที่ใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ที่ประกาศยุติอยู่เสมอในทุก เครื่องมือ ทำให้ต้องกลับไปรื้อแอปเก่า นำมาเข้าคิว เพื่อพัฒนาใหม่อีกหลายตัว
กลับมาชวนมองกระแส React Native พบว่า แนวโน้มการใช้เครื่องมือพัฒนาโมบายแอพในปัจจุบัน กลุ่มนักพัฒนาโมบายแอปในดาวเคราะห์สีน้ำเงินนี้ เลือกใช้ React Native ที่พัฒนาขึ้นโดย Facebook และเป็น Cross Platform ที่ส่งโค้ดไป compile บนตัวแปลภาษาในแต่ละอุปกรณ์ทำให้ใช้ฟังก์ชันได้ทุกตัว อาทิ Andriod หรือ iOS จึงเรียกว่า Native language จากบล็อกที่เขียนโดย Sophia Martin เขียน 14 ก.ย.2562 ระบุว่า เครื่องมือมาแรงมี 3 ตัว คือ Flutter , React Native และ Xamarin ส่วน Hirar Atha เขียน 23 ก.ค.63 นำเสนอ 6 Best programming languages ประกอบด้วย Android = 1) Java, 2) Kotlin ส่วน iOS = 3) Swift, 4) Objective-C ส่วน Cross Platform = 5) React Native, 6) Flutter แล้วคุณ Hirar Atha ยังเล่าว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้ใช้สมาร์ทโฟนอยู่กับอุปกรณ์ 2 ชั่วโมง 55 นาทีทุกวันเมื่อปี 2562 ซึ่งนานกว่าดูทีวีหรืออุปกรณ์อื่นใด มีร้อยละ 90 ใช้เวลาในแอปพลิเคชัน ซึ่งชัดเจนว่า Mobile apps คือ สื่อดิจิทัลที่ลูกค้าเกาะติดเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด ผู้ใช้สมาร์ทโฟนเฉลี่ยแล้วมี 80 แอปพลิเคชัน และใช้อย่างน้อย 40 แอปพลิเคชันทุกเดือน