เล่าสู่กัน .. ฟังหลังเตรียมสอนเรื่อง “ทฤษฎีแรงจูงใจ”

กุ้งเต้นจริง ต้องอยู่ในภาชนะปิด เพราะเขากำลังดิ้นรน
กุ้งเต้นจริง ต้องอยู่ในภาชนะปิด เพราะเขากำลังดิ้นรน

เขาว่า กรรม (Karma) คือการกระทำ (Acting or Doing) ถ้าดีก็ส่งผลดี ทำชั่วก็จะส่งผลชั่ว

เคยเห็นข่าวอยู่บ่อยคร้้ง
บางทีเชื่อว่าการทำชั่วเป็นความดี หลังทำชั่วแล้วรู้สึกดี .. เยอะเลย
เช่น แบ่งสีเสื้อทางการเมือง ต่างก็คิดว่าทุกคนทำกรรมดี ดีในแบบของตน
หรือที่ผมกินกุ้งเต้น .. จะรู้สึกใจเบิกบาน เมื่อได้กัดไปตัวกุ้งที่กำลังดิ้น
ทั้ง ๆ ที่กุ้งกำลังดิ้นรนด้วยความเจ็บปวด อยากร้องขอชีวิตก็ทำไม่ได้
ทุกวันนี้ผมต้องสะกดจิตตนเองว่า “สิ่งที่เรากิน ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน”
หรือกรณีพระที่ผิดศีลกามาฯ หรือสุราฯ ตามข่าวที่พบได้บ่อย
ทุกรูปมีธรรมไม่เฉพาะในใจ แต่มีติดกายกันเลย แต่ก็ยังประพฤติผิดศีล
เพราะท่านคิดว่าเป็นกรรมดีในแบบของท่าน แต่ไม่ใช่กรรมดีในสมณเพศ

ในทฤษฎีแรงจูงใจ – ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตวิญญาณ (Spiritual theory)
คุณจำลอง ดิษยวณิช (2545) ให้ความหมายของคำว่าจิตวิญญาณ ว่า “จิตวิญญาณ หมายถึง ภวังคจิต (the life continuum) ในพุทธศาสนา หรือจิตไร้สำนึก (the unconscious) ในจิตวิเคราะห์” จิตวิญญาณเป็นส่วนลึกภายในจิตใจของมนุษย์มีแรงจูงใจที่ทรงพลังอย่างหนึ่งคือ “กรรม” กรรมเป็นการกระทำของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นทางใจ ทางวาจา หรือทางกาย ถ้ากระทำกรรมดีก็จะส่งผลไปในทางที่ดี ถ้ากระทำกรรมชั่วก็จะส่งผลไปในทางที่ไม่ดี ทำกรรมเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น สมดังคำกล่าวว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”

ดังนั้นต้องระวังกรรมทั้งของตนเอง และจากผู้อื่นให้ดี
เพราะไม่รู้ว่าใครจะทำกรรมดีในแบบของเขา แต่เป็นกรรมชั่วในแบบของเราต่อเรา
http://www.thaiall.com/hci/