ขั้นตอนการติดตั้ง moodle 1.9.12 และ senayan3

โปรแกรม senayan3
โปรแกรม senayan3

บันทึกขั้นตอน จากกิจกรรมปรับปรุงรุ่นของโปรแกรมแก้วสารพัดนึกใน thaiabc.com เป็นรุ่น 8.0 โดยเพิ่ม moodle1.9.12 จากที่มี moodle1.5 ทำให้มี e-learning ใช้ 2 รุ่นและเปรียบเทียบกันได้ เหตุผลที่เลือก 1.9 เพราะที่  thaiall.com/moodle ใช้รุ่นนี้มาปีกว่าแล้ว แต่ไม่ใช้รุ่น 2.0 ขึ้นไป ด้วยเหตุว่า backup ในรุ่น 2.0 จะนำไป restore ใน 1.9 ไม่ได้ ถ้านำ backup ของ 1.9 ไป restore ใน 2.0 นั้นทำได้ และจากการทดสอบ restore  course จาก thaiall.com/moodle ในเครื่องใหม่นี้ พบว่านำมาใช้ได้ตามปกติ

ขั้นตอนการติดตั้ง moodle 1.9.12

1. เปิดบริการ apache2.0.52 และ mysql5.5.16
ตอนเปิดบริการในเครื่องที่ติดตั้ง skype อาจพบปัญหา port 80 ชนกันได้ครับ
2. เตรียม scripts ในห้อง /moodle19
3. สร้างห้อง /moodledoc19 เตรียมรับข้อมูลจากผู้ใช้
4. เริ่มติดตั้งด้วยการเรียก /moodle19/install.php
5. ต้องแก้ไข register_globals=Off ใน php.ini แล้วก็ restart apache
ถ้าไม่รู้ว่า php.ini อยู่ห้องใดก็เรียก function phpinfo()
6. พบขั้นตอนการติดตั้งดังนี้
– Checking your PHP settings
– Please conform the locations of this Moodle installation
Web Address = http://127.0.0.1/moodle19
Data Directory = C:\thaiabc\moodledata
– Now you need to configure the database
Type = MySQL
Host Server = localhost
Database = moodle19 (Create DB automatically)
User = root
Password = ว่างไว้
– Checking your environment
– Download language pack
– Configuration completed
– Copyright notice
– Current release information Moodle 1.9.12 (Build: 20110510)
– Setting up database : Database was successfully upgraded
– Setup administrator account.
Username = admin
password = Password#2555
– New settings – Front Page settings
Self registration = Email-based self-registration
7. ผลการเรียก http://127.0.0.1/moodle19 พบว่าปกติ
8. สร้างวิชา และ upload แฟ้มภาพ และเรียกใช้แฟ้มภาพ ไม่พบปัญหา

ขั้นตอนการ Restore course ของ moodle 1.9.12
1. เข้าไปในวิชาที่สร้างไว้แล้ว
2. เลือก Restore
3. เลือกแฟ้มที่ Backup ไว้จาก server อีกตัวหนึ่ง
4. เมื่อถามว่า Restore to
– Current course, deleting it first
– Current course, ading data to it
– new course
5. ทดสอบทั้ง 3 แบบ พบว่าใช้งานได้ปกติ
6. ถ้าทดสอบ new course ก็จะได้วิชาใหม่อีก 1 วิชา ไม่ทับวิชาเดิม

ขั้นตอนการติดตั้ง senayan3
1. เปิดโปรแกรม phpmyadmin
2. สร้าง db : senayan3 แล้วเข้าไปใน db นี้
3. สั่งประมวลผล sql 2 แฟ้มในห้อง /senayan3/sql/install
4. เริ่มจาก import แฟ้ม senayan.sql ตามด้วย  sample_data.sql
5. แก้ไข sysconfig.inc.php
define(‘DB_NAME’, ‘senayan3’);
define(‘DB_USERNAME’, ‘root’);
define(‘DB_PASSWORD’, ”);
6. เข้าระบบด้วย
user: admin
password: admin
7. ทดสอบที่ http://127.0.0.1/senayan3 พบว่าใช้งานได้ปกติ
8. แก้ไขตัวแปรใน sysconfig.inc.php อีก 2 ตัวแปร
$sysconf[‘mysqldump’] = ‘c:/thaiabc/mysql/data’;
$sysconf[‘temp_dir’] = ‘c:/tmp’;

http://www.thaiall.com/blog/burin/3955/
http://slims.web.id/web/
http://sourceforge.net/projects/senayanlib/
http://www.senayan.kru-ple.com/

SENAYAN 3.0 stable
Core Senayan Developer :
Hendro Wicaksono – hendrowicaksono@yahoo.com
Arie Nugraha – dicarve@yahoo.com
Below are the instructions for new installation of SENAYAN :
1. Put senayan3-stable3 folder in web document root
2. create senayan database in mysql
3. Open your phpMyAdmin or mysql client utility (or other mysql manager softwares) and
run sql/install/senayan.sql inside your SENAYAN application database.
4. Re-check your database configurations and others configuration in sysconfig.inc.php.
5. If you have your own custom template, Adjust detail_template.php file or just overwrite it
with detail_template.php from default template directory

ปรับปรุงฟอร์มตามรหัสผู้ใช้ด้วย PHP รุ่น 1

28 มิ.ย.54 มีโอกาสพัฒนาโปรแกรม เรียกว่า โปรแกรมรุ่นหนึ่งสำหรับสร้างฟอร์มปรับข้อมูลตามรหัสผู้ใช้ เขียนด้วย PHP4 บน IIS6 สำหรับระบบ TQF มี 4 โปรแกรม คือ
1. โปรแกรมรับรหัสผู้ใช้ (index.php)
2. โปรแกรมตรวจรหัส และแสดงข้อมูลในฟอร์ม (user.php)
3. โปรแกรมปรับปรุงข้อมูล (update.php)
4. โปรแกรมออกจากระบบ (logout.php)

<form action=”user.php” method=”post”>
<input name=”fuser” value=””>
<input name=”fpasswd” type=password value=””>
<input type=”submit” value=”เข้าใช้ระบบ”>
</form>

<?
session_start();
$mysql_db = “tqf”;
$mysql_user = “root”;
$mysql_password = “yourname”;
if (isset($_REQUEST[‘fuser’]) &&
$_REQUEST[‘fuser’] == “myname” && $_REQUEST[‘fpasswd’] == “mypass”) {
$_SESSION[‘suser’] = $_REQUEST[‘fuser’];
}
if (!isset($_SESSION[‘suser’])) header(“Location: index.php”);
// ====
$query    = “select * from tqf1”;
echo “<form action=update.php method=post>”;
$connect = mysql_connect(“localhost”, $mysql_user , $mysql_password);
mysql_query(“set names tis620”);
$result = mysql_db_query($mysql_db,$query);
if ($result) {
while ($object = mysql_fetch_object($result)) {
echo ‘<textarea name=t101 rows=5 cols=80>’. $object->t101 . “</textarea><br />”;
echo ‘<textarea name=t102 rows=5 cols=80>’. $object->t102 . “</textarea><br />”;
echo ‘<textarea name=t103 rows=5 cols=80>’. $object->t103 . “</textarea><br />”;
echo ‘<textarea name=t104 rows=5 cols=80>’. $object->t104 . “</textarea><br />”;
echo ‘<textarea name=t105 rows=5 cols=80>’. $object->t105 . “</textarea><br />”;
}
echo “<br/><input type=submit value=’ปรับปรุง’></form>”;
}
mysql_close($connect);
?>
<a href=logout.php>logout</a>

<?
session_start();
$mysql_db = “tqf”;
$mysql_user = “root”;
$mysql_password = “yourname”;
if (isset($_SESSION[‘suser’])) {
$query    = “update tqf1 set
t101='”. $_POST[“t101″] .”‘ ,
t102='”. $_POST[“t102″] .”‘ ,
t103='”. $_POST[“t103″] .”‘ ,
t104='”. $_POST[“t104″] .”‘ ,
t105='”. $_POST[“t105″] .”‘
where user ='”. $_SESSION[‘suser’] . “‘”;
$connect = mysql_connect(“localhost”, $mysql_user , $mysql_password);
mysql_query(“set names tis620”);
$result = mysql_db_query($mysql_db,$query);
echo $query;
mysql_close($connect);
header(“Location: user.php”);
}
header(“Location: index.php”);
?>

<?
session_start();
session_destroy();
header(“Location: user.php”);
?>

ระบบและกลไก คืออะไร

พบนิยามศัพท์ คำว่า ระบบและกลไก
ใน คู่มือการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา ปี 2553 และ ปี 2557
ได้นิยามไว้เหมือนกัน
สกอ. ย้ายโดเมน ! http://www.mua.go.th/users/bhes/
DATA%20BHES2558/upload%20file%20IQA/
iqa%20manual2557.pdf

https://www.thaiall.com/iqa/handbook_mua57ed3.pdf

ระบบ (System) หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง  เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ
ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน

กลไก (Mechanism) หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดองค์การ หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลเป็นผู้ดำเนินงาน

กระบวนการ (Process) หมายถึง กิจกรรมที่ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนของแต่ละหน่วย และประสานกันเป็นลำดับภายในระบบ เช่น กระบวนการออกข้อสอบ กระบวนการพิมพ์ข้อสอบ กระบวนการสอบสัมภาษณ์ กระบวนการสอบข้อเขียน กระบวนการประกาศผล กระบวนการปฐมนิเทศ ซึ่งทั้งหมดอยู่ในระบบรับนักศึกษา

ระบบ และกลไก

nccit.net system
ตัวอย่างของระบบ

ตัวอย่างระบบ ที่มีองค์ประกอบ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ

! http://rd.vru.ac.th/pdf/announcement_fund/Fund/01.pdf

ขั้นตอนการดำเนินงานการขอยืมเครื่องมือจากศูนย์เครื่องมือฯ

! http://www.coop.sut.ac.th/index.php?sec=tool&vdo=2

ระบบและกลไกงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ระบบและกลไกงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

! http://ethics.knc.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=81&Itemid=54

เมื่อ 11 มีนาคม 2558 ได้มีโอกาสพูดคุย เรื่องระบบและกลไก ในเกณฑ์ประกันคุณภาพภายใน ของสกอ. ปี 2557 ที่มีถึง 7 ระบบในระดับหลักสูตร ที่ต้องดำเนินการ และมีหลักฐานว่าได้นำระบบไปสู่การปฏิบัติ กับ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.ธวัชชัย แสนชมภู คุณสาธิจิตต์ นกจันทร์ และคุณเรณู อินทะวงศ์ หลังพูดคุย ผมยกร่างกรอบการเขียนระบบ  (Framework of System) ที่แสดงการเชื่อมโยงของ input – process – output – feedback ไว้ดังนี้

framework ของ system

http://www.thaiall.com/pptx/system.pptx
http://www.thaiall.com/iqa

มีโอกาสได้ฟังคำชี้แจงเรื่อง นิยมศัพท์ของ ระบบและกลไก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552
โดยคุณเพชรี สุวรรณเลิศ สำนักประกันคุณภาพ ในที่ประชุมผู้บริหารครั้งที่ 9/2552
ตามเอกสารหมายเลข 2 ซึ่งเพิ่มเติมจากคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2551
ระบบ (System) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ (Objective) ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output)
ตัวอย่างที่ 1 ระบบการผลิตบัณฑิตในแต่ละหลักสูตร
วัตถุประสงค์ การผลิตบัณฑิตตามหลักสูตร
ปัจจัยนำเข้า รับนักศึกษาใหม่ตามหลักสูตร
กระบวนการ การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ..
ผลผลิต บัณฑิตสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ตัวอย่างที่ 2 ระบบการจัดทำรายงานผลการเรียนทุกสิ้นภาคการศึกษา
วัตถุประสงค์
การจัดทำรายงานผลการเรียนสิ้นภาคการศึกษา
ปัจจัยนำเข้า อาจารย์ส่งผลการเรียนให้สำนักทะเบียน
กระบวนการ ประมวลผลผลการเรียนตามสูตร และนโยบายของผู้บริหาร …
ผลผลิต พิมพ์รายงานผลการเรียนเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน

แต่ในการประเมินตามคู่มือของ สกอ. คำว่า ระบบ (System) จะเน้นที่กระบวนการ
หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกัน ไม่ว่าจะในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ
ตัวอย่าง ระบบการจัดทำรายงานผลการเรียนทุกสิ้นภาคการศึกษา
1. รับข้อมูลผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอน หรือคณะวิชาหลังสอบปลายภาค 2 สัปดาห์
2. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และตรวจสอบความถูกต้อง
3. ประมวลผลตามเงื่อนไขตามหลักสูตร และนโยบาย
4. ตรวจสอบผลการประมวลผลในรายละเอียด และในภาพรวม
5. จัดทำรายงานแยกคณะ แยกประเภท แยกกลุ่มนักศึกษา
6. ส่งรายงาน และประกาศให้ผู้เกี่ยวข้องตามลำดับ และเวลา

กลไก (Mechanism) หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดองค์กร หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลให้เป็นผู้ดำเนินงาน เช่น การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบมาดำเนินการ ควบคุมกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนงาน โดยมีรายงานการประชุมคณะทำงาน รายงานผลการดำเนินการ การประเมินระบบ และสรุปผลการดำเนินงานตามระบบที่กำหนดไว้

ระบบของกระบวนการเทคโนโลยี

แผนผังการทำงานเชิงระบบของกระบวนการเทคโนโลยี
1. ข้อมูล (input)
เช่น ปัญหา/ความต้องการ
รวบรวมข้อมูล/หาวิธีแก้ปัญหา
เลือกวิธีการ
2. กระบวนการ (process)
เช่น ออกแบบ/ปฏิบัติการ
3. ผลลัพธ์ (output)
เช่น ทดสอบ
ปรับปรุงแก้ไข
ประเมินผล
ผลสัมฤทธิ์ของงาน
ชิ้นงาน
ผลิตภัณฑ์
4. ข้อมูลย้อนกลับ (feedback)
จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน “การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 หน้า 104

โดย เพ็ญพร ประมวลสุข – มนตรี สมไร่ขิง – วรรณี วงศ์พานิชย์ – ศิริรัตน์ ฉัตรศิขรินทร