2 ต.ค.53 มีโอกาสได้คุยกับนักวิชาการท่านหนึ่ง เราหารือกันเรื่องการสื่อสารโดยใช้ social networking website โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เห็นด้วยกับการหวังผลจาก SNW เพราะเชื่อว่าไม่คุ้มกับทรัพยากรที่จะลงไป หากหวังจะใช้ facebook.com เป็นพระเอกสำหรับการสื่อสาร .. ในเวลาต่อมาก็คิดได้ว่า การสื่อสารนั้นต้องมีเป้าหมาย มีผู้เกี่ยวข้อง มีสาร และมีสื่อ เพราะผู้ใหญ่ในคณะก็เคยชี้ประเด็นมาแล้ว และผมก็นำเสนอปัญหาการสื่อสารให้ผู้บริหารระดับสูงฟังแล้ว สรุปว่าประเด็นปัญหาน่าจะอยู่ที่เครื่องมือ หรืออยู่ที่ผู้ใช้เครื่องมือ หรือมากกว่านั้น
ตัวอย่างหนึ่ง : เพื่อนคนหนึ่งบอกว่า จะไม่รับเพื่อนที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย เพราะไม่คิดจะคุยเรื่องงานผ่าน fb และนั่นเป็น เหตุผลที่เขาไม่รับผมเป็นเพื่อน แม้เราจะสนิทกัน แต่วัตถุประสงค์การใช้งานต่างกัน ตัวอย่างสอง : เพื่อนคนหนึ่งเคยรับผมเป็นเพื่อน ต่อมาเขาตัดผมออกจากรายชื่อเพื่อน เพราะไม่อยากรับรู้เรื่องในองค์กร .. แล้ววันหนึ่งเขาก็รับผมเป็นเพื่อนใหม่ ด้วยความจำเป็นบางประการ โดยใช้วิธีสมัคร account ใหม่ ตัวอย่างสาม : เห็น yoso account มีเพื่อนมากกว่า 3000 คน โดยมีเพื่อนเข้ามา post ทำธุรกิจ mlm หรือถามว่า ชื่ออะไร น่ารักจัง .. ก็คิดว่าคงสำเร็จในการใช้รูปเด็กน่ารัก เป็นภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ตัวอย่างสี่ : ข้อมูลที่ส่งเข้าไปใน fb ถ้าไม่ tag อาจไม่มีใครเห็นข้อความที่เรา post เข้าไปเลย .. ถ้า tag อย่างไม่มีเหตุผลอาจถูกลบออกจากรายชื่อเพื่อน หรือถูกถามย้อนกลับมาว่า มีฉันอยู่ตรงไหน ในภาพนั้น
ปัญหา คือ ความไม่อยากสื่อสาร อยากอยู่เฉยเฉย เพราะการไม่รับรู้ก็จะไม่ต้องรับผิดชอบ อาทิ การรับรู้ว่าดื่มสุราแล้วจากไปก่อนวัยอันควร บรรดานักดื่มย่อมไม่นิยมฟังฉันท์ใด การมีสารสนเทศไหลในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพก็ย่อมเป็นภาระกำหนดให้คนมีงานทำฉันท์นั้น เพราะรับรู้บทบาทของตนผ่านสารสนเทศที่ไหลวนในระบบการสื่อสาร แต่การไม่รับรู้อะไรย่อมไม่ต้องรับผิดชอบใดใด ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น .. เรื่องนี้ผมพูดให้เพื่อนคนหนึ่งฟัง แล้วเขาก็ว่าผมกล้าพูดตรง .. อันที่จริง ผมพูดถนอมน้ำใจท่านผู้นั้นอย่างมาก เพราะถ้าผมพูดตรง มนุษย์ทุกผู้ทุกนาม รับความคิดผมไม่ได้แน่นอน