องค์การโทรศัพท์ หรือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

ที่มา
เพราะผมเองมีคนรู้จักอยู่ TOT ลำปาง หลายท่านเลย
ลูกศิษย์ก็พึ่งไปฝึกงานมาหมาด ๆ
เห็นแชร์ในเฟสด้วย ว่ามีความสุขที่ฝึกงานที่นี่
ทำให้สนใจ TOT เป็นพิเศษ
ดังนั้นได้ค้นข้อมูลมาแบ่งปันไว้ ดังนี้

ภาพโทรศัพท์ phone
ภาพโทรศัพท์ phone

https://www.facebook.com/english.jokes/

TOT เป็นรัฐวิสาหกิจ
ก่อตั้ง 24 กุมภาพันธ์ 2497 เป็น องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
และแปลงสภาพเป็น บมจ.ทีโอที เมื่อ 31 กรกฎาคม 2545
ทำหน้าที่ให้บริการโทรคมนาคมและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง
http://www.tot.co.th/Corporate/

ประวัติของ TOT
– 2424 โทรศัพท์เข้าประเทศไทย สมัย ร.5 ดูแลโดยกรมกลาโหม ใช้แจ้งข่าวเรือเข้า-ออก
– 2429 โอนกิจการจาก กรมกลาโหม ไป กรมไปรษณีย์โทรเลข เปิดบริการมีผู้เช่าประมาณ 60 คน
– 2450 ตั้งชุมสายกึ่งอัตโนมัติ ที่โทรศัพท์กลางวัดเลียบ มีพนักงานต่อสายระหว่างผู้เช่า
– 2465 เพิ่มชุมสายโทรศัพท์แห่งที่สอง คือ โทรศัพท์กลางบางรัก รองรับ 900 เลขหมาย
– 2470 วางเคเบิลเชื่อมต่อวัดเลียบ-บางรัก เพิ่มเป็น 1422 เครื่อง
– 2471 ให้บริการโทรศัพท์ทางไกล เชื่อม กทม. ธนบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม
– 2478 เริ่มใช้ชุมสายระบบ Step by step อุปกรณ์จากอังกฤษ ทำให้หมุนหน้าปัดถึงกันโดยตรง
ได้ติดตั้งที่โทรศัพท์กลางวัดเลียบ 2300 เลขหมาย และโทรศัพท์กลางบางรัก 1200 เลขหมาย
เปิดบริการ 24 กันยายน 2480 และเพิ่มชุมสายเพลินจิต และชุมสายสามเสน
– 2480 ติดตั้งชุมสายอัตโนมัติครั้งแรก เปลี่ยนเป็นแบบหน้าปัดแบบหมุน ใช้เลข 5 ตัว หมุนถึงกันเองได้
– 2497 สถาปนาเป็นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม
เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2497 โดยแยกจากกองช่างโทรศัพท์ กรมไปรษณีย์โทรเลข มีพนักกงาน 732 คน
– 2502 สั่งซื้อชุมสายอัตโนมัติระบบ Cross bar จากสวีเดน ที่ชุมสายชลบุรี 1000 เลขหมาย
– 2503 รับโอนโทรศัพท์ในส่วนภูมิภาคจากกรมโปรษณีย์โทรเลข
ครั้งแรก 10 ชุมสาย จำนวน 1600 เลขหมาย
ครั้งที่สอง 37 ชุมสาย จำนวน 8100 เลขหมาย
– 2507 ติดตั้งชุมสาย Cross bar ในกรุงเทพ
และรับโอนจากทุกภาคมาในความรับผิดชอบครอบคลุมบริการโทรศัพท์ทางไกลทั่วประเทศ
– 2517 เปลี่ยนเลขหมายเป็น 6 หลัก
– 2518 ให้บริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ ไม่ต้องใช้พนักงานต่อระหว่างเชียงใหม่-กรุงเทพ
เมื่อ 9.05 วันที่ 1 กันยายน 2518
– 2519 เมื่อ 24 เมษายน เปลี่ยนใช้เลขหมายโทรศัพท์ จาก 5 และ 6 ตัว เป็น 7 ตัวในนครหลวง
และในภูมิภาคเปลี่ยนเป็น 6 ตัวทั้งหมด
– 2520 เริ่มใช้เครื่องโทรศัพท์แบบกดปุ่ม ในเขตนครหลวง
– 2521 ให้บริการโทรศัพท์ไร้สาย (Multi access radio telephone)
บริการในรัศมี 30 กิโลเมตร รอบสถานีฐานนั้น
– 2522 เปิดบริการโทรศัพท์สาธารณะ แบบไม่มีผู้ดูแล
– 2523 เปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติทั่วประเทศ
– 2525 ให้บริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลอัตโนมัติ ในเขตโทรศัพท์นครหลวง เป็นครั้งแรก
– 2526 เปิดใช้ระบบ SPC (Stored program control) ที่ชุมสายภูเก็ต และบริการทางไกลไทย-มาเลเซีย
– 2527 ให้บริการโทรศัพท์ต่างประเทศระบบอัตโนมัติ สำหรับผู้เช่าในเขตกรุงเทพฯ
– 2529 เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ NMT (Nordic mobile telephone) 470 MHz
– 2530 เปิดให้ผู้เช่าสามารถซื้อเครื่องโทรศัพท์ได้เอง
– 2531 เปิดบริการพิเศษ SPC อาทิ ประชุมทางโทรศัพท์ บริการเลขหมายย่อ บริการรับสายซ้อน
และเปิดวงจรเคเบิลใต้น้ำเชื่อมต่อไทย-มาเลเซีย
– 2532 เชื่อมเครือข่ายด้วยเคเบิลใยแก้ว และไมโครเวฟ
– 2533 เปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบความถี่ 900 MHz และอีกหลายรูปแบบ
– 2534 เปิดสัมปทานโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้บัตร (Cardphone) ในเขตนครหลวง
– 2535 เปิดบริการวิทยุสื่อสารเคลื่อนที่เฉพาะกลุ่มธุรกิจ (Trunk mobile radio)
– 2536 เปิดบริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลต่างประเทศชนิดหยอดเหรียญ
– 2537 ทดลองเปิดบริการ วิดีสาร (Videotex)
– 2538 ให้บริการชำระค่าบริการ โดยหักบัญชีเงินฝากทั่วประเทศ
– 2539 เมื่อ 22 เมษายน เปิดให้บริการโทรศัพท์รหัสส่วนตัว Pin phone 108 ในเขตนครหลวง
– 2540 เปลี่ยนจากระบบ Cross bar ที่เหลือเป็นแบบ SPC (แบบกดปุ่ม) ทั้งหมด
– 2541 เปิดให้บริการโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้ TOT Card
มีรายละเอียการพัฒนาในแต่ละปีอย่างต่อเนื่อง ไปหาอ่านกันได้ครับ
http://www.tot.co.th/Corporate/HISTORY.ASPX

ที่บ้านก็ใช้ ADSL ของ TOT
เคยเขียน blog ไว้หลายเรื่องเลย อาทิ
– router:ZTE ที่ TOT ให้ตอนติด FTTx
– เล่าปัญหาลืมรหัสผ่าน adsl router ของ tot
– ทดสอบหลังใช้ @platinumcyber
– ทดสอบ bestcyber ก่อนใช้ platinumcyber
– TOT Wi-Ti ที่ Central Plaza Lampang
http://www.thaiall.com/blog/tag/tot/

รวบสายโทรศัพท์ กับไม่รวบสายโทรศัพท์

สงสัย ว่า รวบสายโทรศัพท์ ทำให้เน็ตช้า
สงสัย ว่า รวบสายโทรศัพท์ ทำให้เน็ตช้า

24 พ.ย.56 วันนี้เก็บกวาดบ้าน พบสายโทรศัพท์ห้อยไว้ไม่เรียบร้อย มองดูแล้วรู้สึกขัดตา เพราะเคยทราบว่า การรวบสาย UTP ไม่เป็นผลดีต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต แล้วจำได้ว่าผมก็รวบสายโทรศัพท์ที่ต่อกับ ADSL เป็นปกติ แต่ไม่เคยได้ความเร็วใกล้เคียงกับที่ควร

ดังนั้นคิดใหม่ว่า ถ้าไม่รวบสาย แล้วปล่อยให้สัญญาณไหลไปตามปกติจะเป็นอย่างไร ผลการทดสอบ คือ รวบสายแล้วได้ความเร็ว 360 kbps ไม่รวบได้ 2180 kbps

โดยทำการทดสอบติดต่อกันหลายครั้ง ก็ได้ความเร็วประมาณนี้ ทั้งก่อนรวบและหลังรวบ แต่มีปัจจัยมากมายนะครับ ที่ส่งผลถึงความเร็ว และนี่เป็นเพียงเงื่อนไขหนึ่งที่อาจทำให้สัญญาณอินเทอร์เน็ต ไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยอย่างที่ควร
http://speedtest.adslthailand.com/

.. สรุปว่าต้องทดลอง
ถ้าท่านรวบไว้ก็คลายซะ และเปรียบเทียบผลของ speedtest
ทั้งก่อนคลาย และหลังคลายการรวบสายโทรศัพท์ .. ก็จะรู้ผล
อาการของผมเรียกว่า “ลืมคิงไป”

ตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญ

telephone station
telephone station

30 พ.ค.56 มีอยู่วันหนึ่งเดินผ่านสถานีรถไฟฟ้า BTS
จาก นานา เพลินจิต ชิดลม สยาม พบตู้โทรศัพท์
แล้วต้องบันทึกเก็บไว้ เพราะอาจไม่ได้เห็นอีกต่อไป
สมัยก่อนที่ใดมีโทรศัพท์ ที่นั่นมีความเจริญเข้าไปถึง
สถานีขนส่งหมอชิดคือ ที่ ๆ ไม่อยากใช้โทรศัพท์ที่สุด
แม้มีตู้โทรศัพท์รอให้บริการเป็นสิบ ก็จะแบ่งเป็นใช้บัตรกับหยอดเหรียญ
มีคนยืนเข้าแถวยาวเหยียด โทรนานก็เกรงใจ
มีคนยืนต่อคิวเรา .. อีกยาวเหยียด
มาวันนี้เห็นการเสื่อมโทรมของเทคโนโลยีนี้แล้วใจหาย
ผ่านมา แล้วก็ผ่านไป เท่าที่เห็นรู้สึกจะไม่ได้รับการเหลียวแลเท่าใด