ทดสอบโปรแกรม thaiabc.com รุ่น 6.5 กับการประมวลผลบน DVD

1 เม.ย.53 โปรแกรมแก้วสารพัดนึก คือ โปรแกรมที่ช่วย ติดตั้งเครื่องบริการเว็บ เครื่องบริการฐานข้อมูล โอเพนซอร์ส และรวมบทความมากมาย สำหรับนำไปเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง หลังติดตั้งเสร็จจะได้โปรแกรม Apache + PHP + MySQL + Perl + Script เช่น e-Commerce, e-Learning, CMS, Article และ Source Code
     วันนี้เขียน software หลายร้อยโปรแกรมลง DVD หลายแผ่นไว้แจกนักศึกษาในชั้นเรียน ในนั้นมีโปรแกรม thaiabc.com แบบ no install ให้ประมวลผล apache + php + mysql ที่ใครเรียกว่าโปรแกรมประเภท WAMP จากการแก้ไขให้ run mysql แบบไม่ใช้ innodb พบว่า wordpress สามารถ run ผ่าน CD-ROM ได้ทันทีใช้ admin เข้าระบบก็ได้ เพราะการอ่าน blog ที่วางไว้สองร้อยกว่าเรื่องไม่มีการเก็บ log ของการอ่านไว้ในฐานข้อมูล  ส่วน learnsquare v2 ก็ไม่พบปัญหาแม้จะ login ด้วย admin ก็ใช้งานผ่าน DVD ได้ปกติ ส่วน phpmyadmin พบว่าสามารถเข้าดูข้อมูลใน mysql ได้ วันนี้คุณสามารถ download ชุดติดตั้งโปรแกรมแก้วสารพัดนึกจาก thaiabc.com ได้แล้ว 1) เมื่อติดตั้งแล้วก็ใช้งานใน Drive C 2)เลือกที่จะคัดลอกไปวางใน DVD หรือ CD ซึ่งเก็บข้อมูลได้มากและราคาถูก 3)เลือกที่จะคัดลอกไปวางไว้ใน Thumb Drive เพื่อใช้งานได้ในทุกที่
     แต่ moodle พบ error message เพราะมีการเขียน session ส่วน mambo มีการ insert เข้าฐานข้อมูลพบ error ส่วน oscommerce มีการ insert เข้าตาราง session พบ error ส่วน gallery ก็ใช้งานไม่ได้พบ error ส่วน phpbb3 ก็ใช้งานไม่ได้พบ error .. สรุปว่าผลการทดสอบกับ DVD ซึ่งเป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบอ่านอย่างเดียว ถือเป็นปัญหาที่ไม่ใหญ่นัก เนื่องจากคาดไว้แล้ว แต่การใช้งานจริงก็จะใช้ผ่าน USB Drive หรือ Flash Drive เพราะเป็นอุปกรณ์ที่อ่านเขียนได้ ราคาถูกลงมาก และทำงานได้เร็วกว่า DVD แน่นอน .. ดังนั้นทุกบริการจึงทำงานได้ทั้งหมด

แนะนำบริการ addthis.com ส่งบันทึกไปเผยแพร่ใน snw ตามแนว seo

addthis ช่วยเพิ่ม back link มายัง blog

1 เม.ย.53 บริการของ addthis.com ช่วยให้การส่งเว็บเพจหรือบันทึกไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ทำได้ง่าย ลดขั้นตอนในการคัดลอกข้อมูลไปใส่ในเว็บเพจของเราด้วย แต่ขั้นตอนของ addthis.com ก็ยังเป็นเพียงกึ่งอัตโนมัติ เพราะต้อง login เข้าสู่ระบบเครือข่ายสังคม (snw) ก่อนกดปุ่มส่งข้อมูล ตัวอย่างการใช้คือ เขียนบล็อก แล้วต้องการส่งไปเผยแพร่ใน facebook.com หรือ twitter.com เป็นต้น การเผยแพร่แบบนี้ทำให้เกิด back link ซึ่งเป็นเทคนิคสำคัญประการหนึ่งของ seo ด้วย
     ผมเคยใช้วาง code ด้วย javascript คือ document.write (“<a href=http://www.facebook.com/share.php?u=” + document.location.href + “><img src=’facebook.gif’ border=’0′></a>”); document.write (“<a href=http://www.twitter.com/thaiabc><img src=’twitter.gif’ border=’0′></a>”); แต่การใช้บริการของ  addthis.com น่าจะดูเป็นมืออาชีพกว่ามาก จึงยกเลิก javascript ออกจาก thaiall.com/web2 ซึ่งเป็น beta version ของเว็บเพจ thaiall.com รุ่นต่อไป

ปรับรุ่นของชุดติดตั้งเครื่องบริการพร้อมเว็บแอพพลิเคชัน

โปรแกรมติดตั้งเครื่องบริการ thaiabc.com

29 มี.ค.53 วันนี้ผมปรับปรุงโปรแกรมแก้วสารพัดนึก หรือโปรแกรม thaiabc.com เป็นรุ่น 6.5 โปรแกรมชุดติดตั้งเครื่องบริการพร้อมเว็บแอพพลิเคชัน ประกอบด้วย apache + php + mysql + phpmyadmin + moodle + oscommerce + .. สรุปว่าเป็นชุดติดตั้ง webserver ให้ชาวไทยฝึกติดตั้งเครื่องบริการ เพื่อให้เรียนรู้หรือใช้งานได้โดยง่าย รวมทั้งนำไปสร้างโปรแกรมแบบนี้ได้ด้วยตนเอง ขั้นตอนที่ผม upgrade ชุด installer คือ 1) ล้าง thumbnail 2) เก็บ code ของ nsi ที่ใช้ปรับแฟ้ม .nsi จากหน้า main.php 3) สร้างแฟ้ม .exe 4) นำไปทดสอบติดตั้งในเครื่องเป้าหมาย 5) ตรวจสอบผล 6) ทดสอบ uninstall 7) ตรวจสอบผล 8) กลับมาแก้ไข .nsi และทำข้อ 3 ใหม่อีกรอบจนไม่พบปัญหา 9) คัดลอกห้อง c:\thaiabc ไปไว้ใน flash drive หรือ cd-rom แล้วทดสอบตั้งแต่ข้อ 4 ถึง 9 ใหม่ .. สรุปว่ายังทดสอบกับ flash drive ไม่เรียบร้อย เพราะดึกแล้ว พรุ่งนี้จะตรวจสอบผลอีกครั้ง .. แต่รุ่น beta ของ 6.5 เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ thaiabc.com แล้วครับ
+ http://www.thaiabc.com/download/thaiabc65.zip

ปรับ wordpress เพื่อสร้าง theme รับ seo

23 มี.ค.53 ได้ฤกษ์แก้ไข code ของ wordpress เป็นภาษาไทย โดยใช้ editplus เปิดแฟ้ม archive.php comments.php search.php author.php index.php page.php header.php footer.php single.php และ style.css โดยการแก้ไขมีดังนี้ 1) ทุกแฟ้มต้องเปลี่ยน encoding เป็น utf8 เพื่อแก้ปัญหาภาษาไทย เนื่องจากกำหนด define(‘DB_CHARSET’, ‘utf8’); ใน wp-config.php จึงต้องแก้ charset ในครั้งนี้ 2) เพิ่มป้ายประชาสัมพันธ์ของ google เข้าไปในหน้าที่สำคัญ 3) ปรับ widecolumn ให้มี width: 600px; และเพิ่ม .narrowcolumn .entry { width: 468px; } เข้าไปใน style.css 4) ปรับ font-size และ layout ให้กับหลายส่วน 5) ล้าง code ให้มีขนาดลดลง โดยเฉพาะ css 6) ปรับ sidebar, categories และ tag cloud ให้พร้อมรับ seo

พบ crawl errors กว่า 500 ที่เป็น unreachable จึงต้องแก้ไข

แก้ปัญหา url ภาษาไทยกับ tag ของ wordpress

16 มี.ค.53 มีโอกาสเข้าไปตรวจ account ของ webmaster tools ที่สมัครไว้หลายปีก่อน เนื่องจากมีปัญหาในเว็บไซต์ wordpress ขององค์กรที่ติด bad ware เมื่อเข้าไปดูสถิติเกี่ยวกับ crawl errors ก็ต้องตกใจ เพราะ url แบบ permalink ที่ใช้ใน wordpress 2.9.2 นั้น ใช้งานไม่ได้ในส่วนของ tag กว่า 500 เว็บเพจใน thaiall.com/blog จึงหาวิธีแก้ไขเรื่อง url ที่ใช้ภาษาไทยไม่ได้ ถ้าใช้ slug tag เป็นภาษาอังกฤษหรือตัวเลขอย่างที่ใช้ใน category หรือ username หรือ postid ก็จะไม่พบปัญหา ที่เป็นปัญหาคือใช้ tag ที่แปลงภาษาไทยด้วย url encode แล้ว เมื่อข้อความไปผ่าน mod_rewrite ของ apache ในเครื่องของ hypermart.net จะพบ Internal Server Error .. สังเกตุว่าเกิด redirect 2 รอบเมื่อกดปุ่ม enter .. ต้องแก้ปัญหามิเช่นนั้นจะไม่เป็นไปตาม seo ครับ
     พยายามแก้ไขจนไปพบทางออกในวิธีที่สาม คือ 1) ติดตั้ง simple tag plugin แต่ไม่ช่วยแก้ปัญหากรณีนี้ เพราะไม่มีตัวเลือก tag id และถ้ามีก็คงไม่ work ตามกฎของ seo 2) จะแก้ .htaccess แต่ก็สงสัยว่าแก้ไปก็คงไม่ช่วย เพราะปัญหานี้เกิดเฉพาะกับ hypermart.net ทดสอบในเครื่องที่บ้านที่ใช้ apache ก็ไม่พบปัญหานี้ และเคยพบปัญหาภาษาไทยกับ url จนต้องใช้ url_encode ใน php มาแล้ว แต่ครั้งนี้มีการ redirect 2 รอบ จึงคาดว่าไม่ผ่านในรอบสองนั่นเอง 3) ทดสอบใช้ default ของ permalink แล้วพบว่ามี ?tag= ให้ใช้บริการ เมื่อเปลี่ยนไปใช้ /%author%/%post_id%/ ก็พบว่ายังใช้ ?tag= ได้ จึงทดสอบเติมเข้าไปใน tag base ก็ยังใช้งานได้ทั้งแบบผ่าน get และผ่าน mod_rewrite สรุปว่าเป็นงานเล็กที่ใช้เวลานานมากอีกงานหนึ่ง ค้นและทดสอบไปกว่า 6 ชั่วโมง .. ดีนะครับที่อยู่บ้าน เพราะไม่มีใครดึงความสนใจ ถ้าอยู่ที่ทำงานคงไปไม่ถึงไหน .. เท่านี้ก็เป็นไปตามแนวของ seo
+ http://www.thaiall.com/seo

พบคำว่า ไซต์นี้อาจเป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ของคุณ ในไซต์ขององค์กร

มีการ upload แฟ้ม และพบว่าแฟ้มมี signature อันตราย

13 มี.ค.53 พบปัญหาจึงมีขั้นตอนการดำเนินการที่แบ่งกิจกรรมเป็น 3 ส่วนที่สำคัญคือ ที่มาของปัญหา การตรวจสอบ และการดำเนินการแก้ไข รายละเอียดมีดังนี้ 1) ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งโทรศัพท์แจ้งว่าผลสืบค้นเว็บไซต์ขององค์กร พบคำว่า “ไซต์นี้อาจเป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ของคุณ”  เมื่อค้นด้วย url ของเว็บไซต์กับ google.com ก็พบว่ามี 2 ไซต์ในเครื่องบริการเดียวกันติดโผปัญหานี้จริง 2) ใช้ FTP เข้าไปตรวจแฟ้มจากที่บ้าน ซึ่งเครื่องบริการใช้ code ของ wordpress กับทั้ง 2 ไซต์ พบว่ามี script ประเภท badware อยู่จริง โดยแฟ้มถูกปรับปรุงจากผู้พัฒนาเว็บไซต์เมื่อเวลา 12.30น. (วันนี้เอง) จึง download code มาแก้ไขด้วยการลบ script บรรทัดปัญหาออกไปไม่กี่แฟ้ม แล้ว upload เข้าไปทับแฟ้มเดิมใหม่ ซึ่งเชื่อว่าไม่กระทบในทางลบจึงดำเนินการโดยไม่แจ้งผู้พัฒนาเว็บไซต์ 3) ผลการทดสอบ view source ยังพบบรรทัดปัญหาที่เป็นผลการทำงานของ badware อยู่ที่นั่นเช่นเดิม การ scan เข้าไปในระบบทั้งหมดจากที่บ้านอาจไม่สะดวกเรื่องความเร็วในการประมวลผล จึงเดินทางไปที่องค์กรแล้วแก้ปัญหาหน้าเครื่องด้วยการ scan แฟ้มทั้งหมด พบว่า signature ของไวรัสหรือ badware อยู่ 4 แบบ คือ eval, doc.write ด้วย javascript 2 แบบ และ script ที่พบในครั้งแรก 4) ใช้ file search ของ windows ร่วมกับ replace แบบ multi-line ของ editplus ในการ scan แล้วสั่งลบ signature ออกจากแฟ้มทั้งหมด ซึ่งพบว่ากว่า 200 แฟ้มนั้นมีเวลาถูกแก้ไขในเวลาประมาณ 12.30 -12.55น. ซึ่งตรงกับเวลาที่ผู้พัฒนาเว็บไซต์ส่งแฟ้มเข้าไปในระบบ แสดงเวลา upload ชัดเจนใน log ของ FTP Server มีประเด็นที่น่าสงสัยคือทำไมผลไปแสดงใน google.com เร็วมาก และถูกตรวจพบในเวลาที่รวดเร็ว รวมไม่ถึง 3 ชั่วโมงเท่านั้น .. จึงสงสัยว่า code มีปัญหามาก่อน 12.30น. หรือไม่ 5) ผลการแก้ไขทำให้ signature ของไวรัสถูกลบออกไปทั้งหมด เนื่องจากคาดว่า server ไม่ได้ติดไวรัสโดยตรง แต่คาดว่าเครื่องของผู้พัฒนาเว็บไซต์อาจติดไวรัส แล้วส่งแฟ้มที่ถูกแก้ไขเข้าเครื่องบริการ ที่สงสัยเช่นนั้นเพราะผู้เขียนใช้ ftp เชื่อมต่อเข้าระบบ ทำการดาวน์โหลดและอัพโหลด แต่ไม่เกิดผลต่อแฟ้มที่ดำเนินการ เมื่อแก้ไขแล้วก็ยังไม่พบไวรัสทำงานอีกครั้ง .. สรุปว่ารอดูอาการต่อไปเพื่อพิสูจน์ข้อสงสัย 6) ดำเนินการกับ google.com ด้วยการเข้าไปในส่วนของ webmaster tools แล้ว verify เว็บไซต์ทั้ง 2 แบบ download file แทนแก้ code เพราะสะดวกที่จะดำเนินการกับ wordpress ที่อาจมีการแก้ไขแฟ้ม index.php ในภายหลัง 7) เลือก ขอรับการตรวจสอบ จากระบบของ webmaster tools ใน google.com เนื่องจากดำเนินการแก้ไขปัญหาหรือต้นเหตุของ badware หรือ malware ทั้งหมดแล้ว .. เพราะแก้ไขแล้วจริง ๆ และคาดว่าทางผู้พัฒนาเว็บไซต์จะตรวจสอบตนเองพบ และไม่ส่งแฟ้มที่มีปัญหามาเผยแพร่ในเว็บไซต์ขององค์กรอีก เพื่อความแน่นอนในต้นเหตุของปัญหาจึงต้องตรวจสอบกับทีมผู้พัฒนาเว็บไซต์ในองค์กรว่าไม่มีใครมีไวรัสไว้ในครอบครองหรือไม่ .. สรุปว่าขณะนี้อยู่ระหว่างรอด google.com ตรวจสอบ
     8) หลังแจ้งให้ google.com ดำเนินการยกเลิกการ block ในเวลาประมาณ 22.00 น. พบว่ามีการแก้ไขแล้วเมื่อเวลา 8.00น. ของวันรุ่งขึ้น สรุปว่าการดำเนินการครั้งนี้สำเร็จ และต้องเฝ้าดู (monitor) ต่อไปว่าจะไม่เกิดเหตุแบบนี้ขึ้นอีก

 

รวมภาพแสดงการทำงาน แก้ปัญหา virus ใน script

+ http://www.google.com/webmasters/tools/dashboard?hl=th
+ http://www.google.co.th/search?q=ayume.eu
+ http://www.google.co.th/search?q=cartoon.co.th

ลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ระหว่างบุคคล

6 มี.ค.53 ซอฟท์แวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นส่วนหนึ่งมีลิขสิทธิ์ชัดเจน ผู้นำไปใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายก่อน ไม่มีแชร์แวร์หรือรุ่นทดสอบ (Demo) ให้นำไปทดลองใช้งานก่อนแล้วตัดสินใจภายหลัง ถ้าใช้ก็ต้องเสียเงินก่อนจะได้ซอฟท์แวร์ไปติดตั้ง สำหรับค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์มีหลายรูปแบบ เช่น ใช้คนเดียว ใช้ได้ทั้งองค์การ หรือนำไปพัฒนาให้กับลูกค้า ซอฟท์แวร์บางตัวเป็นแบบต่อยอดจากตัวหลัก เช่น wordpress.org เป็นตัวหลักที่เปิดให้ดาวน์โหลดได้ฟรี แต่ถ้าจะใช้ theme สวยของ solostream.com ที่ออกแบบให้ทำหน้าที่เป็นหน้ากากครอบซอฟท์แวร์ตัวหลักที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยผู้พัฒนาอิสระแล้วจำหน่ายแยกออกจากซอฟท์แวร์ตัวหลักที่แจกฟรีก็เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน
            ปัญหาลิขสิทธิ์เกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น ผู้เขียนพัฒนาซอฟท์แวร์ตัวหนึ่งและเปิดให้คนไทยดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรีแบบโอเพนท์ซอร์ท ต่อมามีผู้พัฒนาชาวไทยนำไปพัฒนาต่อยอดแล้วขายต่อให้กับลูกค้า ต่อจากนั้นผู้พัฒนาท่านนั้นได้ทิ้งงานไปแล้วลูกค้าก็โทรมาสอบถามผู้เขียน เพราะคิดว่าซอฟท์แวร์ที่เขาใช้อยู่ได้จ่ายให้ผู้เขียนส่วนหนึ่ง เมื่ออธิบายเรื่องลิขสิทธิ์แล้วลูกค้าท่านนั้นก็เข้าใจ อีกตัวอย่างหนึ่งคือชาวต่างชาติพัฒนาซอฟท์แวร์เพื่อขายแล้วคนไทยได้คัดลอกมาใช้อย่างไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขของลิขสิทธิ์ แต่นำซอฟท์แวร์ดังกล่าวไปขายต่อให้กับลูกค้า ซึ่งลูกค้าไม่น้อยไม่เข้าใจในประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ก็ยินดีจ่ายด้วยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
            ในโลกที่เทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็ว การตัดสินใจแต่ละเรื่องต้องใช้วิจารณญาณอย่างมาก เพื่อไม่ให้พลาดพลั้งไปกับเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลเสียย้อนกลับมา การพัฒนาเว็บไซต์ที่ใช้ระบบจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ (CMS) เหมาะกับเว็บไซต์ที่เนื้อหามากและแบ่งหมวดหมู่ได้ชัดเจน เมื่อเลือกใช้ระบบจากค่ายใดก็ต้องติดตามการอัพเกรดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันเทคโนโลยีและปลอดภัยต่อการบุกรุก หากเปลี่ยนระบบ อัพเกรด หรือยกเลิกระบบซีเอ็มเอสอาจทำให้นำข้อมูลกลับมาใช้ต่อไม่ได้ ทำให้ที่อยู่เว็บไซต์ที่เคยถูกอ้างอิงไปทั่วโลกเปลี่ยนแปลง นั่นหมายถึงเนื้อหาที่เคยถูกเชื่อมโยงจากภายนอกจะหายไปทั้งหมด นี่เป็นตัวอย่างประกอบการตัดสินใจจ่ายค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ที่ต้องพิจารณารอบด้านบนความเข้าใจและให้ความสำคัญกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเป็นที่ตั้ง

ทดสอบคัดลอกบล็อกแล้วบันทึกไว้ใน /wordpress

26 พ.ค.52 1) ปิดบทความไอทีในชีวิตประจำวัน 2 เรื่อง คือ 192 จุดเริ่มต้นของความปลอดภัยด้านไอที และ 193 การเลือก Netbook หรือ Notebook เผยแพร่ใน thaiall.com/opinion/readonly.php ส่วนเรื่องที่ 194 กำหนดไว้แล้วในแผนที่ส่งตอนรายงานโครงการร่วมกับ nccit09 2) ปรับบทความ thaiall.com/wordpress พร้อมคัดลอกข้อมูลใน /blog ไปติดตั้งใน 127.0.0.1 ที่บ้าน เตรียมสอนช่วงต้นเดือนมิถุนายน52 3) แต่การอบรมจะใช้ template2 ที่ผมต้อง upgrade script ให้ทำงานกับ php รุ่นที่ผมใช้อยู่ และคาดว่าจะตั้งเป็นรุ่น 2.01 ก็ยังไม่ได้แจ้ง อ.ศรีเชาวน์ วิหคโต ผู้พัฒนา template2 ที่กศน.หลายแห่งใช้งาน เลยครับ เพราะคิดว่าพัฒนาแล้วจะติดตั้งใน thaiabc63.zip และแยกเผยแพร่เฉพาะ template21.zip อีกที  4) วันนี้หมดแรงข้าวเย็น คงพัฒนา template2.01 ต่อตอนนี้ไม่ได้แน่ สังขารไม่ให้ซะแล้วครับ ขอพักเท่านี้ พรุ่งนี้เย็นค่อยว่ากันใหม่