ผลการจัดอันดับในสื่อ (itinlife 367)

ดัชนีศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษ
ดัชนีศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษ

3 พ.ย.55 คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพบผลการแข่งขันในสื่ออินเทอร์เน็ต เมื่อมีผู้ที่ชนะก็ย่อมมีผู้ไม่ชนะ องค์ประกอบของการแข่งขันมีมากมาย อาทิ กรรมการตัดสิน กองเชียร์ ผู้ร่วมเกม เกณฑ์ประเมิน ช่วงเวลา รายงานผล และผลกระทบที่ตามมา ซึ่งการแข่งขันที่ใกล้ตัวก็เห็นจะเป็นการเลือกตั้งสมาชิกระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ ซึ่งผลจากการเลือกตั้งจะส่งผลถึงความเป็นอยู่ที่จะเกิดขึ้นในชุมชนผ่านการบริหารของผู้ที่เราเลือกเข้าไป ส่วนผลการจัดอันดับที่ไกลตัวคือ การแข่งขันฟุตบอลในต่างประเทศ ที่ถึงแม้จะไกลตัว แต่เวลาฟังเพื่อนคุยเรื่องนี้ทีไรมักรู้สึกเหมือนเป็นเรื่องที่เกิดระแวกบ้านทุกที

การจัดอันดับในประเทศไทย ย่อมมีทั้งผู้ชนะและผู้ไม่ชนะ ซึ่งเกณฑ์ก็มักจะสร้างขึ้นกันเอง และผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ก็มักได้รับผลกระทบมากบ้างน้อยบ้าง ปัจจุบันสถาบันการศึกษาทั้งระดับขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาต่างก็ตกอยู่ในภาวะที่ต้องแข่งขัน สถาบันที่ไม่ได้มาตรฐานหรือล้มเหลวในการดำเนินงานก็ต้องปิดตัว เด็กนักเรียนก็ต้องแข่งขันกันพัฒนาตนเองด้วยการเรียนพิเศษเพิ่มเติม ทั้งหลังเลิกเรียนและในวันสุดสัปดาห์ โรงเรียนกวดวิชาก็จะประชาสัมพันธ์ด้วยการนำเสนออันดับผลสอบของศิษย์ และจำนวนนักเรียนที่สอบติดในสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ

มีผลการจัดอันดับประเทศไทย ที่รู้แล้วก็ต้องบอกว่าอึ้งไปชั่วขณะ คือ ผลการจัดอันดับศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษของประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก ในชื่อ EF English Proficiency Index เมื่อปี 2554 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 42 จากทั้งหมด 44 ประเทศ และปี 2555 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 53 จากทั้งหมด 54 ประเทศ โดยเราชนะประเทศลิเบียประเทศเดียว ส่วนในเอเชียเราอยู่อันดับสุดท้าย และเป็นเพียงประเทศเดียวของเอเซียที่อยู่ในระดับ Very Low Proficiency มีค่า EF EPI เท่ากับ 44.36 ซึ่งทั้งโลกมีสถานะในระดับต่ำมากจำนวน 16 ประเทศ หากต้องการหนีคำว่าสุดท้ายของเอเชีย เราต้องชนะจีน ซึ่งปี 2012 จีนอยู่อันดับที่ 36

http://www.newsenglishlessons.com/1210/121028-esl_speakers.html

http://www.ef.com/__/~/media/efcom/epi/2012/full_reports/EF%20EPI%202012%20Report_MASTER_LR.pdf

http://www.thelocal.se/44062/20121026

One thought on “ผลการจัดอันดับในสื่อ (itinlife 367)”

Leave a Reply