มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส (Miss Thailand Universe) เป็นเวทีการประกวดความงามระดับประเทศที่มีมาตรฐานสากล จัดขึ้นเป็นปีที่ 11 ติดต่อกัน นับตั้งแต่ปี 2543 (2000) เป็นต้นมา สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 ได้ดำเนินการจัดขึ้น เพื่อสรรหาสาวไทย ที่มีความงาม มีกริยามารยาทที่งดงามแบบไทย มีความคิดอ่าน เฉลียวฉลาด ทันสมัย มั่นใจในตนเอง และเหมาะสมที่จะรับหน้าที่ในนามตัวแทนประเทศไทยไปสู่การประชาสัมพันธ์ และ สร้างชื่อเสียงเกียรติคุณอันดีงาม ให้กับประเทศผ่านกิจกรรมการประกวดระดับโลก เช่น การประกวดนางงามจักรวาล Miss Universe, Miss Earth, Miss Asia Pacific, และ Miss Tourism world เป็นต้น
ช่อง 7 สี ได้รับสิทธิ์อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย จาก Miss Universe L.P., LLLP ในการค้นหาสาวงามเข้าร่วมประกวด มิสยูนิเวิร์ส (Miss Universe 2011)
http://mtu.ch7.com/history.aspx
—
การประกวดนางสาวไทย
ครั้งแรกได้เริ่มขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม 2477 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 โดยรัฐบาลได้จัดขึ้นในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญภายในพระราชอุทยานสราญรมย์ ใช้ชื่อในการประกวดครั้งนั้นว่า “ นางสาวสยาม ”
การประกวดนางสาวไทยเสมือน เป็นกิจกรรมที่สืบทอดเจตนารมณ์ของรัฐบาลมาโดยตลอดทั้งนี้นับตั้งแต่ยุคที่ 1 และยุคที่ 2 เป็นกิจกรรมของทางราชการโดยหน่วยงานราชการผู้จัดและรับผิดชอบ คือกองการต่างประเทศกระทรวงมหาดไทย การจัดการประกวดนางสาวไทยในสมัยนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การประกวดเป็นสื่อด้านความบันเทิง ดึงดูดความสนใจให้ประชาชนมาเที่ยวงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ อันเป็นงานเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตย
ต่อมาในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบายต้องการส่งเสริมฐานะสตรีให้เท่าเทียมอารยประเทศและมีบทบาทในการช่วย เหลือสังคม รัฐบาลในสมัยนั้นจึงใช้เวทีการประกวดนางสาวไทยเป็นสื่อในการสนับสนุนนโยบาย รัฐนิยมของรัฐบาล โดยเฉพาะวิวัฒนาการการแต่งกายของสตรีโดยมีการเปลี่ยนแปลงด้านเครื่องแต่งกาย ของผู้เข้าประกวดในยุคแรก ดังนี้
พ.ศ. 2477 ผู้เข้าประกวดแต่งกายด้วยชุดไทยห่มสไบเฉียง นุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า
พ.ศ. 2482 ผู้เข้าประกวดแต่งกายชุดเสื้อกระโปรงติดกัน ตัดเย็บด้วยผ้าไหมของไทย เสื้อเปิดหลัง กางเกง กระโปรงยาวถึงเข่า
พ.ศ. 2483 ชุดกีฬา กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุดเปิดหลัง
พ.ศ. 2493 ผู้เข้าประกวดสวมใส่ชุดว่ายน้ำในการประกวด
—
การประกวดนางสาวไทย
ยุคที่ 1 ประเทศไทยมีผู้ได้รับเลือกเป็น “ นางสาวสยาม ” จำนวน 5 คน และ “ นางสาวไทย ” จำนวน 2 คน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ว่าด้วยนามของประเทศ พ.ศ. 2482 กำหนดเรียกนามของประเทศว่าประเทศไทย ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นใด ซึ่งใช้คำว่า “ สยาม ” ให้ใช้คำว่า “ ไทย ” แทน ดังนั้นการประกวด “ นางสาวสยาม ” จึงเปลี่ยนมาใช้การประกวด “ นางสาวไทย ” นับตั้งแต่ พ.ศ. 2482
ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2493 – 2497) ปี 2497 เป็นปีสุดท้ายที่ รัฐบาลเป็นผู้มีบทบาทในการจัดการประกวด เนื่องจากการประกวดนางสาวไทยได้ถูกยกเลิกการจัดไปพร้อมกับงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ
ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2507 – 2515) ปี 2504 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทดลองจัดการประกวด “ นางงามวชิราวุธ ” ขึ้นในงานวชิราวุธานุสรณ์ ซึ่งเป็นงานที่สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว และอีกวัตถุประสงค์คือ เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ประชาชนผู้มาเที่ยวงาน ส่วนสถานที่จัดงานคือบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์
จากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายของการจัดประกวดนางสาวไทย ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยการใช้ตำแหน่งนางสาวไทยเป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่ประเทศ และใช้รูปแบบของการเข้าร่วมประกวดนางงามระดับชาติทำให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยมาก ยิ่งขึ้น ดังนั้นในปี พ.ศ. 2507 คณะกรรมการการจัดงานวชิราวุธานุสรณ์ได้มีการเปลี่ยนชื่อการประกวดมาเป็นการ ประกวด “ นางสาวไทย ”
การประกวดนางสาวไทยในยุคที่ 3 ถือได้ว่าเป็นยุคแห่งการประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นางสาวไทยเป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยให้ เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และสร้างภาพพจน์ให้ชาวโลกรู้จักประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2527 – 2542) การจัดการประกวดนางสาวไทยในปีที่ผ่านมาสื่อมวลชนและเทคโนโลยีการสื่อสาร มีบทบาทโดยตรงต่อการประชาสัมพันธ์การจัดการประกวดนางสาวไทย ในยุคแรกสื่อมวลชนที่มีบทบาทในการประชาสัมพันธ์การประกวด ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ และวิทยุกระจายเสียง ในส่วนของทางสถานีโทรทัศน์นั้น เริ่มมีการถ่ายทอดสดการประกวดนางสาวไทยทางสถานีโทรทัศน์เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2508 ในงานวชิราวุธานุสรณ์ โดยสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 และต่อมาในปี พ.ศ. 2510 สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทยได้ทำการทดลองแพร่ภาพถ่ายทอดสด ให้ผู้ชมที่อยู่ต่างจังหวัดได้รับชมการประกวดนางสาวไทย
ในปี 2526 บริษัทมิสยูนิเวิร์สซึ่งเป็นบริษัทจัดการประกวดนางงามจักรวาล ได้เดินทางมาดูสถานที่ในประเทศไทยเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ในการจัดการประกวด นางงามจักรวาลขึ้นในประเทศไทย โดยในขณะนั้น คุณชาติเชื้อ กรรณสูต กรรมการผู้จัดการสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปภัมถ์ จึงได้รื้อฟื้นการจัดขึ้นอีกครั้งในปี 2527 ในงานเทศกาลพัทยา ครั้งที่ 3 ณ เมืองพัทยา โดยสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 และด้วยความร่วมมือสนับสนุนกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การจัดการประกวดนางสาวไทยในยุคนี้ นับเป็นยุคแห่งการประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อคัดเลือกสาวไทยเป็นตัวแทนไปประกวดนางงามจักรวาล
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยมีนางสาวไทยมาแล้วถึง 36 คน โดยสตรีไทยผู้ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยได้ปฏิบัติภาระกิจต่างๆเพื่อประชา สัมพันธ์ชื่อเสียงของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักกับนานาประเทศ นับได้ว่าเวทีการประกวดนางสาวไทยเป็นเวทีแห่งเกียรติยศที่ทรงคุณค่าของสตรี ไทย
ยุคที่ 5 ( พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา) สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มอบสิทธิ์ให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวีเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวด โดยมีการพัฒนารูปแบบการจัดประกวดให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน มากยิ่งขึ้น อาทิ การยกเลิกการใส่ชุดว่ายน้ำบนเวที, การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลคะแนน, การวัดระดับ IQ และ EQ ตลอดจนการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์และความคิดริเริ่มแบบสร้างสรรค์ รวมทั้งการนำความสามารถพิเศษของผู้เข้าประกวดมาใช้ประกอบในการพิจารณาการตัดสิน
นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีการประกวดรอบคัดเลือกของภูมิภาคต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้หญิงไทยทั่วประเทศได้มีโอกาสเข้าร่วมการประกวดอย่างทั่วถึง ในยุคนี้ผู้ที่ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง “ ทูตวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ” ทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีของไทยให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก ซึ่งต้องเดินทางไปยังสำนักงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่มี สำนักงานสาขาถึง 17 แห่งทั่วโลก รวมถึงการทำกิจกรรมต่างๆ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตามจังหวัดต่างๆ ภายในประเทศตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่าง ๆ คือ สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ
ปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยู เอช เอฟ (ทีไอทีวี) ภายใต้การดูแลของกรมประชาสัมพันธ์ ดังนั้นจึงเท่ากับว่า กรมประชาสัมพันธ์จะเป็นอีกองค์กรหนึ่ง ที่จะช่วยส่งเสริมบทบาทของนางสาวไทยในยุคที่ 5 ให้มีศักยภาพที่สูงยิ่งขึ้นจากเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ที่มีอยู่ทั่วประเทศ
http://www.missthailandcontest.com