ข่าวใน moe สมัคร มทร.ธัญบุรี 1.6 หมื่นคน รับแค่ 2.7 พัน

seven career in asean
seven career in asean
ข่าวนี้ทำให้นึกถึง 7 อาชีพอาเซียน
มติชน ฉบับวันที่ 13 มี.ค. 2556 (กรอบบ่าย)
นายนำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี
เปิดเผยว่า ปีการศึกษา 2556 มทร.ธัญบุรี ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประเภทสอบตรง
พบว่า มีผู้สมัครและชำระเงินแล้วทั้งสิ้น 16,472 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเกือบ 1,000 คน
ขณะที่ยอดรับตรงที่สามารถรับได้อยู่ที่ 2,730 คน
1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ สมัคร 1,954 คน รับ 455 คน
2. คณะบริหารธุรกิจ สมัคร 4,592 คน รับ 530 คน
3. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สมัคร 1,260 คน รับ 106 คน
4. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสมัคร 962 คน รับ 210 คน
5. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สมัคร 2,007 คน รับ 275 คน
6. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมัคร 661 คน รับ 172 คน
7. คณะศิลปกรรมศาสตร์ สมัคร 1,139 คน รับ 340 คน
8. คณะศิลปศาสตร์ สมัคร 1,888 คน รับ 30 คน
9. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สมัคร 779 คน รับ 78 คน
10. คณะเทคโนโลยีการเกษตร สมัคร 946 คน รับ 215 คน
11. วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย สมัคร 239 คน รับ 45 คน
อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวต่อว่า สำหรับสาขาที่มีผู้สนใจสมัครมากที่สุด
โดยมี สัดส่วนจำนวนรับต่อจำนวนผู้สมัครสูงสุด คือ
1. สาขาถ่ายภาพและภาพยนตร์ 1 ต่อ 47
2. สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย 1 ต่อ 28
3. สาขาเทคโนโลยีโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง 1 ต่อ 25
4. สาขาการจัดการทั่วไป 1 ต่อ 25
5. สาขาการศึกษาปฐมวัย 1 ต่อ 21
6. สาขาอาหารและโภชนาการ 1 ต่อ 17
โดยมีกำหนดการสอบ ในวันที่ 16 มีนาคม คือ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ส่วนวันที่ 17 มีนาคม 2556 คณะ ที่สอบ คือ คณะบริหารธุรกิจ คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
เฉพาะหลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สอบที่ มทร.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
สอบสัมภาษณ์ใน วันที่ 27 มีนาคม 2556 ณ คณะที่สมัครสอบ
ประกาศผลสอบวันที่ 30 มีนาคม 2556
ภาพเปรียบเทียบการขาดแคลนของคนไทยในเวที AEC
thai need english and science skills
thai need english and science skills
webometrics january 2013
webometrics january 2013

เลื่อนแจกแท็บเล็ตปี 2556

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน

นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการศึกษาของไทยเปลี่ยนแปลงในปีการศึกษา 2555 อีกครั้ง เมื่อนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในประเทศไทยได้รับแจกแท็บเล็ตพีซีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน แล้วปีการศึกษา 2556 เป็นปีที่ 2 ที่จะแจกให้กับนักเรียน 2 ระดับชั้น คือ เพิ่มชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งกระทรวงศึกษาออกมาให้ข่าวในต้นเดือนมี.ค.56 ว่าขณะนี้อยู่ระหว่างทำรายละเอียดความต้องการ หากกำหนดการไม่เปลี่ยนก็จะมีการส่งในช่วงปลายพ.ค. ถึงก.ค.56 ซึ่งไม่ทันส่งมอบในวันเปิดเรียน คือ 16 พ.ค.56 เพราะมียอดรวมที่จะซื้อกว่า 1.8 ล้านเครื่อง ใช้งบหลายพันล้านบาท

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000027890

ไม่ทราบว่าทำไมในปี 2555 ถึงต้นปี 2556 ถึงมีข่าวการศึกษาเชิงลบออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งผลการจัดอันดับในเวทีโลกด้านการศึกษาที่มีแนวโน้มอยู่ในอันดับท้าย ข่าวสอบครูผู้ช่วยที่คาดว่า 1000 จาก 2000 คนเกี่ยวข้องกับการทุจริต ข่าวทุจริตสอบตำรวจ ข่าวปิดสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคอีสาน และข่าวผลประเมินโรงเรียนโดยสมศ.ไม่ได้คุณภาพถึง 1 ใน 3 จากที่รับการประเมินคุณภาพ 7,985 แห่ง แต่มีผลไม่รับรอง 2,295 แห่ง ซึ่งล้วนแต่เป็นข่าวเชิงลบต่อการใช้เทคโนโลยีของเยาวชน แม้สถิติที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่ใช้เฟสบุ๊ค (Facebook) มากที่สุด หรือใช้แอพไลน์ (Line) ต่อเนื่องนานที่สุด ก็ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่าเกิดการพัฒนาการศึกษาควบคู่ไปกับเทคโนโลยีที่เด่นชัด แต่จะเป็นคำถามว่าแทนที่จะเอาเวลาไปอยู่ในเฟสบุ๊ค หรือใช้สื่อสารในหลายรูปแบบ น่าจะหันไปสนใจการศึกษา และตัวบ่งชี้ที่จะทำให้การศึกษาของไทยมีคุณภาพเพิ่มขึ้นน่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) นำผลวิจัยมาแบ่งปันพบว่า ความเห็นของผู้ปกครองในภาพรวมมีความพอใจ และ ครูมีการใช้งานแท็บเล็ตเพื่อการเรียนการสอนเฉลี่ยสัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 55 นาที และได้ใช้แท็บเล็ตในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาหลักมากที่สุด คือ วิชาภาษาไทย ร้อยละ 56.05  สังคมศึกษา ร้อยละ 44.5 คณิตศาสตร์ ร้อยละ 42.7 วิทยศาสตร์ ร้อยละ 38.1 และภาษาอังกฤษ ร้อยละ 35.5 ปัจจุบันแท็บเล็ตสำหรับเด็กมีราคาไม่ถึง 5,000 บาท ซึ่งเชื่อได้ว่าผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยซื้อหามาใช้ที่บ้าน แล้วใช้งานนานกว่าที่โรงเรียนโดยการดูแลใกล้ชิดจากผู้ปกครอง เป็นอีกกลไกหนึ่งที่สนับสนุนนโยบายการศึกษาของภาครัฐที่จะส่งเสริมให้เด็กรู้จักประยุกต์ใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2392/

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000029487

พงษ์เทพ บอกว่า ซุปเปอร์ฮีโร่มีแต่ในนิยาย

้have not the superhero
้have not the superhero

พงษ์เทพชี้ รธน.ปี2540 คิดผิด สร้างองค์กรอิสระบ้าอำนาจ

มีกฎที่เล่าต่อกันมาว่า
กฎข้อ 1 รธน. คือ กฎหมายสูงสุด
กฎข้อ 2 ถ้ามีอะไรขัดกับกฎข้อ 1 ให้ย้อนกลับไปดูกฎข้อ 1

1 มี.ค.56 องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา (USAID) ร่วมกับเว็บไซต์ประชาไท จัดสัมมนา 15 ปี องค์กรอิสระฯ สำรวจธรรมาภิบาลไทย สำรวจประชาธิปไตย โดยมีนางคริสตี้ เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประเทศไทย พร้อมด้วยนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯและรมว.ศึกษาธิการ ในฐานะอดีตสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2540 (ส.ส.ร. 40) กล่าวในหัวข้อ “พัฒนาการองค์กรอิสระฯกับประชาธิปไตยไทย”

http://www.naewna.com/politic/43322

นายพงศ์เทพ กล่าวว่า องค์กรอิสระกับธรรมาภิบาล ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ประเทศไทยต้องระดมความคิด เพื่อให้เกิดกลไกลการใช้อำนาจอย่างโปร่งใส องค์ที่น่าเชื่อถือที่สุด คือองค์กรตุลาการ แต่ที่ผ่านมาจะเห็นตัวอย่างต่างๆ มากมาย ทำให้มั่นใจว่าไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ตนเองถือเป็นหนึ่งในผู้ที่ทำให้องค์กรอิสระเกิดขึ้น เนื่องจากเป็นหนึ่งในการร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ในขณะนั้น ส.ส.ร.40 คิดกันว่า จะทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดองค์กรในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างโปร่งใส โดยมีผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในองค์กรอิสระ

“แต่ตอนนี้เชื่อว่า ส.ส.ร.ปี 40 คงคิดว่า การร่างรัฐธรรมนูญให้มีองค์กรอิสระเกิดขึ้น เป็นความคิดที่ผิดมาก ที่ทำให้เกิดองค์กรอิสระขึ้น เนื่องจากคนที่เป็นซุปเปอร์ฮีโร่ มีแต่ในนิยาย เพราะจะเห็นได้ว่า เมื่อคนเหล่านี้มีอำนาจอย่างล้นมือ จะใช้อำนาจฉ้อฉลแบบเบ็ดเสร็จ จนทำให้ไม่สามารถมีองค์กรใดเข้ามาตรวจสอบได้ เพราะรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ได้สร้างกลไกอย่างประหลาด โดยการที่รัฐสภา ไม่สามารถเรียกฝ่ายตุลาการ เข้ามาสอบถามการใช้อำนาจได้ ดังนั้น ต้องมาระดมความคิดกันว่า จะทำอย่างไรให้องค์กรอิสระ ยึดโยงกับประชาชนและสามารถตรวจสอบได้มากที่สุด”

โค้ชสู่ผู้เล่น .. นิเทศศาสตร์บน Digital TV Field

ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
ชินกฤต อุดมลาภไพศาล

ห้วงเวลาของการประมูลคลื่นความถี่ 3G เพิ่งผ่านไปไม่นาน
คณะกรรมการ กสทช. ขยับเร็ว เร่งแก้ปัญหาที่คาราคาซัง
ฝันที่รอวันเป็นจริงของใครหลายคน

http://bit.ly/XXT4iy

ในแวดวงทีวี “ดิจิทัลทีวี” ต่างประเทศออกอากาศไปนานแล้ว เมืองไทยเพิ่งจะเริ่มเข้าสู่ช่วงการประมูลและขอใบอนุญาตการออกใบอนุญาตให้ออกอากาศในระบบดิจิทัลครั้งนี้มีทั้งหมด 48 ช่อง นอกเหนือจากการออกอากาศในรูปแบบอื่นที่มีอยู่แล้ว อย่าง ฟรีทีวี ในระบบอะนาล็อกแบบเดิม ทีวีดาวเทียม และเคเบิ้ลท้องถิ่นโดยเปิดให้ขอใบอนุญาตตามคุณสมบัติ (Beauty Contest) สำหรับประเภทช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง และบริการชุมชน 12 ช่องส่วนอีกกลุ่มจะเป็นช่องบริการธุรกิจ 24 ช่อง ใช้ลักษณะรูปแบบการประมูล ประกอบด้วย ช่องทั่วไป 20 ช่องและช่องเอชดี 4 ช่อง

สำหรับนักนิเทศฯแล้ว ครั้งนี้น่าจะเป็นมากกว่าการเป็นผู้ติดตามความเคลื่อนไหว วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น ด้วยผมได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมหารือร่างสถานีโทรทัศน์สาธารณะ (Campus TV) ที่กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเอกชนชั้นนำ 7 แห่ง จัดขึ้นอันได้แก่ ม.หอการค้า ม.กรุงเทพ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ม.ศรีปทุม ม.อัสสัมชัญ ม.เนชั่น และ ม.หัวเฉียวฯ ถึงแนวทางการยื่นขอจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะเพื่อการศึกษา ฟังแนวความคิดที่แต่ละสถาบันร่วมถกประเด็นต่างๆ มีความน่าสนใจมาก แนวคิด “ร่วมทุน ร่วมสร้าง ร่วมเผยแพร่สู่สังคม” การร่วมกันผลิตรายการครอบคลุมเนื้อหารายการตั้งแต่ ข่าว เศรษฐกิจ สารคดี บันเทิง และกีฬา เรียกว่าครบทุกอรรถรสของเนื้อหารายการทีวีทีเดียว และสอดคล้องกับลักษณะสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ที่กำหนด ด้วยความมุ่งหวังที่จะเป็นคลังปัญญา นำความรู้สู่สังคมวงกว้าง เป็นเวทีสร้างคนสู่สนามมืออาชีพ ทำให้รู้สึกอยากกระตุ้นต่อให้หลายภาคส่วนการศึกษา โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษารัฐ เอกชน น้อยใหญ่ช่วยกันให้เกิดขึ้นจริง

65 ปีที่สังคมไทยมีรายการโทรทัศน์ดูและมากกว่า 40 ปีที่มีการเรียนการสอนนิเทศศาสตร์นิเทศฯ แต่ละมหาวิทยาลัยมีภารกิจที่สำคัญหลายด้าน อาทิเช่น บทบาทด้านงานวิจัยวิเคราะห์ปรากฏสื่อในสังคมไทยศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆ แต่ภาพที่ฉายออกมาอย่างเด่นชัด คือ ตักศิลาทางนิเทศฯ ผู้ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตสร้างนักสื่อสารมวลชนรุ่นใหม่เข้าสู่แวดวงงานสื่อสารมวลชน บ่อยครั้งที่นักนิเทศศาสตร์ แสดงบทบาทของการเป็นผู้ทำหน้าที่ ตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์สื่อในหลากมิติ โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ เนื้อหาของสื่อจนคนในแวดวงสื่อเอง คงเกิดคำถามในใจ อยากถามกลับเหมือนกันว่า “ลองมาทำดูไหม อยากเห็นเหมือนกัน ว่ารายการที่ดีควรเป็นเช่นไรเมื่อคนสอนสื่อ ลงมากำกับเอง ทำเอง” อันนี้เป็นคำพูด มุมมองเล็กๆ ที่เพื่อนๆ ในแวดวงสื่อเคยพูดกับผมไว้

พื้นที่…โอกาส…การลงทุน” ครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้งที่สถาบันอุดมศึกษาน่าจะลองนำเสนอร่วมกัน ร่วมมือกันในการทำรายการ ให้พื้นที่นักศึกษาในการแสดงความสามารถจากการเรียนการสอนเดิมๆ ที่สอนให้เรียนรู้ในห้องเรียน สตูดิโอ นักศึกษาสร้างผลงาน เผยแพร่ทางสื่อใหม่ หรือส่งเข้าประกวดตามแต่โอกาส งานที่ชนะเลิศที่ถึงจะมีโอกาสออกสื่อกระแสหลักอย่างทีวี หนังสือพิมพ์ มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่มีทุนทรัพย์ก็มีโอกาสดีหน่อย ที่จะมีช่องรายการของตัวเอง อย่าง RSU Wisdom แชนเนล ม.รังสิตหรือ ABAC Channel ม.อัสสัมชัญ ยังไม่นับรวมมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งที่จัดการสอนทางไกลผ่านทางโทรทัศน์ หรือภาคเอกชนที่ทำช่องรายการเพื่อการศึกษา แม้จะมีงบประมาณในการดำเนินการ แต่เนื้อหารายการดึงดูด น่าสนใจต่างหากที่จะตรึงกลุ่มผู้ชมให้เป็นแฟนช่องรายการ นับว่าเป็นเรื่องที่หนักหนาเอาการ หลายแห่งเลือกที่จะผลิตรายการเองบางส่วน และมีบริษัทเอกชนร่วมผลิต ยังไม่นับรวมค่าเช่าโครงข่าย ค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียม โอกาสสำหรับสถาบันการศึกษาขนาดเล็กจึงเกิดขึ้นได้ยาก ขณะเดียวกันหากเป็นช่องดิจิทัลทีวีเหมือนที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษานิเทศฯ เล็กหรือใหญ่ ก็มีโอกาสร่วมกันในการใช้พื้นที่ร่วมกัน กระจายความเสี่ยงในแง่การลงทุน

สร้างสรรค์…มืออาชีพ” นิเทศฯแต่ละมหาวิทยาลัย มีจุดเด่นที่ต่างกันออกไป การสร้างสรรค์ นำเสนอรูปแบบรายการตามความถนัด สร้างบรรทัดฐานใหม่ของการทำรายการทีวี ในฐานะที่นักนิเทศศาสตร์ผู้ทำการศึกษาผู้ที่เข้าใจปรากฏการณ์สื่อ เข้าใจเทคโนโลยี ดังนั้น ก็ควรที่จะเป็นแบบอย่างในการผลิตรายการที่ดี นักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะโอกาสใช้เวทีตรงนี้ประชันความสามารถผ่านรูปแบบการบริหารงานจริงที่นักศึกษาทุกสถาบัน จะต้องคิดรูปแบบ เนื้อหารายการ จัดทำงบประมาณการผลิต นำเสนอรายการไปยังสถานีหากรายการได้รับการอนุมัติ จึงจะได้ผลิตออกอากาศ เกิดการแข่งขันกันสร้างประสบการณ์ทำงานควบคู่กันไปกับประสบการณ์เรียนรู้

ยุคสมัยหนึ่ง
นักวิชาการนิเทศฯ เรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปสื่อ เรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออก เวลาเหล่านั้นเดินทางมาถึงแล้ว พร้อมหรือยัง ? เหล่าโค้ช ผู้ที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยง ผู้ปลุกปั้นนักสื่อสารมวลชน คนรุ่นใหม่ ที่จะลงสนามในฐานะผู้เล่นและโค้ชไปพร้อมกัน แวดวงกีฬามีปรากฏให้เห็น แล้วแวดวงวิชาการหล่ะ ?

เรียบเรียงโดย ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
บทความจากกรุงเทพธุรกิจ

http://www.facebook.com/chinnagrit.ntu

ทีวีดิจิตอล 48 ช่อง จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้นจริงหรือ

เสียงคุณตาคนหนึ่งดังแว่วมาจากร้านรถเข็นริมฟุตบาธ
ว่า “ทีวีดิจิตอล 48 ช่อง จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้นจริงหรือ…
เป็นคำถามที่ดูเหมือนง่ายแต่ตอบยาก
อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา
อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา
เพราะหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมไทยคำว่า “ปริมาณ” กับ “คุณภาพ” อาจไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกัน และบ่อยครั้งคำว่าคุณภาพก็มักไม่เคยเกิดขึ้นกับชีวิตของคนด้อยโอกาสในสังคม
หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 50 ปี ที่แล้ว การเข้ามาของโทรทัศน์ระบบอนาล็อกภาคพื้นดินในประเทศไทยนับว่าเป็นสิ่งแปลก ใหม่ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับคนในสังคมไทยไม่น้อย และถ้ากลับไปถามคนรุ่นปู่ย่าตายายในครอบครัวของเราว่าเริ่มดูโทรทัศน์ครั้ง แรกเมื่อใด หลายท่านอาจจะตอบว่า “ไม่รู้” เพราะไม่ได้จดจำหรืออาจหลงลืมไปแล้ว แต่บางท่านที่ความจำยังดีก็อาจจะตอบด้วยแววตาเป็นประกายและบอกเล่าเรื่องราว ได้อย่างละเอียดว่า ประเทศไทยเริ่มออกอากาศรายการโทรทัศน์ในระบบขาวดำเป็นครั้งแรกในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยใช้ชื่อว่า “สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม” แต่ถ้าหากถามท่านต่อไปอีกนิดว่า แล้วโทรทัศน์ในยุคแรกนั้นมีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด ผู้สูงอายุหลายท่านก็อาจตอบคำถามนี้ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มและตอบอย่างมั่นใจ มากกว่าเดิมว่า “ก็เพื่อความบันเทิงนะซิ”
คำถามดังกล่าว หลายคนอาจตอบได้ไม่ยากนักเนื่องจากบทบาทหน้าที่ ดังกล่าวของโทรทัศน์ได้ถูกตอกย้ำและรับรู้กันอย่างแพร่หลายนับตั้งแต่ยุคแรก เริ่มของการเปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ก็ยังคงทำหน้าที่ในการสร้างความ บันเทิงมาโดยตลอดแต่อาจมีรูปแบบ เนื้อหา และวิธีการนำเสนอแตกต่างกันไปตามยุคสมัยและเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศในยุคแรกส่วนใหญ่เป็นการออกอากาศหรือแสดงสดในห้อง ส่ง (สตูดิโอ) ที่มีขนาดเล็กและมีฉากจำกัด แต่เมื่อมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสื่อสารในระยะต่อมา รายการโทรทัศน์จึงมีทั้งการออกอากาศสด การบันทึกเทป และผลิตรายการได้ทั้งในและนอกสตูดิโอ
อย่างไรก็ดี บทบาทหน้าที่ของโทรทัศน์ในยุคแรกไม่เพียงแต่ให้ ความบันเทิงเท่านั้นแต่ยังมีบทบาทหน้าที่แอบแฝงหรือซ่อนเร้นทางการเมือง เช่น ในยุคของจอมพล ป. พิบูลสงคราม รายการโทรทัศน์นอกจากจะให้ความบันเทิงแล้วยังทำหน้าที่ในการปลูกฝังแนวคิด ชาตินิยมและในยุคสมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ใช้สถานีโทรทัศน์เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อและสร้างความชอบธรรม จากการยึดอำนาจจากจอมพลป. พิบูลสงครามภายหลังจากการปฏิวัติสำเร็จ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้นำงบประมาณจากหน่วยงานทหารมาดำเนินการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เป็นแห่งที่ 2 ขึ้นในประเทศไทยและใช้ชื่อว่า “สถานีกองทัพบกช่อง 7” ระบบขาวดำในปี พ.ศ. 2500
ท่ามกลางกระแสการพัฒนา ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของ จอมพล พลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา สถานีโทรทัศน์ก็ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาจากโทรทัศน์ระบบขาวดำมาสู่โทรทัศน์ระบบสีในปี พ.ศ. 2510 การพัฒนาช่องฟรีทีวีในประเทศไทยทั้ง 6 ช่อง ซึ่งประกอบด้วย ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง NBT และช่อง Thai PBS รวมทั้งการพัฒนาระบบเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมแต่เป็นที่น่าสังเกตว่า การพัฒนาสถานีโทรทัศน์ในสังคมไทยที่ผ่านมา (ก่อนการปฏิรูปสื่อปี พ.ศ. 2540) รัฐมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จในการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์และคลื่นโทร คมนาคม รวมทั้งการให้สัมปทานช่องสถานีโทรทัศน์กับผู้ประกอบการทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนส่งผลให้สถานีโทรทัศน์โดยส่วนใหญ่ถูกครอบงำโดยกลุ่มองค์กรธุรกิจการ เมืองซึ่งมุ่งเน้นผลประกอบการทางธุรกิจและอำนาจทางการเมืองมากกว่าผล ประโยชน์ของประชาชน
จากการครอบงำสื่อ ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ. 2535 และการครอบงำสื่อของกลุ่มธุรกิจทางสถานีโทรทัศน์ช่องไอทีวี ปี พ.ศ. 2538 (ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสในยุคปัจจุบัน) ได้ปิดกั้นการทำหน้าที่ของสื่อที่ถูกต้องและเที่ยงตรง ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปสื่อในระยะต่อมา ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปี พ.ศ. 2540 กำหนดให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศทั้งในระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 40 รวมทั้งการเกิดขึ้นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 47 ปี พ.ศ. 2550 เพื่อทำหน้าที่จัดสรรโครงข่ายและแผนแม่บทกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการดำเนิน ธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมาย
อาจกล่าวได้ว่า การเกิดขึ้นของทีวีดิจิตอล 48 ช่องปัจจุบันกำลังเป็นที่จับตามองเพราะเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ของ กสทช.ว่า จะนำพาสังคมไทยให้หลุดพ้นจากการครอบงำสื่อของรัฐและกลุ่มธุรกิจที่ ยาวนานกว่า 50 ปี หรือไม่ เนื่องจากหลักเกณฑ์ในการจัดสรรคลื่นให้กับบริการชุมชนบริการสาธารณะ และบริการธุรกิจยังอยู่ในช่วงโค้งสำคัญ รวมทั้งประเด็นการเข้าถึงพื้นที่สื่อสาธารณะของคนทุกกลุ่มโดยเฉพาะผู้ด้อย โอกาสก็ยังเป็นด่านสำคัญที่ กสทช.จะต้องฝ่าฟันไปให้ได้

เรียบเรียงโดย อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา
บทความจากกรุงเทพธุรกิจ

ยอดพีซีอินเดียขึ้น 3% สวนกระแสทั่วโลกตก

olpc ในอินเดีย
olpc ในอินเดีย

3 มี.ค.56 เข้า zdnet.com อ่านข่าวไอที ซึ่งทั่วโลกทราบว่า อินเดียเก่งเรื่องไอทีด้วยหลายปัจจัย ข้อมูลมากมายก็สนับสนุนไปทางนั้น มาดูข่าวหนึ่งบอกว่า  “PCs enjoy revival in India as global sales dip” เข้าไปดูถึงรู้ว่าปัจจัยหนึ่งคือการแจก OLPC แก่เด็ก ๆ ในอินเดีย ต่างกับไทยที่แจก tabletpc แต่ก็มีโรงเรียนนำร่อง อย่างโรงเรียนบ้านสามขาที่ลำปาง ได้ OLPC ไปใช้มาหลายปีแล้ว เมื่อค้นข้อมูลเพิ่มเติมก็ไปพบรายละเอียดใน wikipedia ให้รายละเอียดไว้ดีมาก แต่ส่วนหัวของ wiki บอกว่า เว็บไซต์เขาติดอันดับ 5 ของโลก มีบุคลากร 150 บริการคน 450 ล้านคน แต่ตังไม่มี เพราะไม่ติดโฆษณา ไม่รับเงินรัฐบาลไหน รับบริจาคอย่างเดียว สรุปว่าขอรับความช่วยเหลือเป็นเงินบริจาค ผมว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจนะครับ แล้วนึกถึงเพลง “รอพี่ก่อน” ของ shade

http://en.wikipedia.org/wiki/One_laptop_per_child

http://www.zdnet.com/in/pcs-enjoy-revival-in-india-as-global-sales-dip-7000012011/

เชื่อหรือไม่ .. โรงเรียนไทย 1 ใน 3 สอนเด็กอย่างไม่มีคุณภาพ

เชื่อหรือไม่ .. โรงเรียนไทย 1 ใน 3 สอนเด็กอย่างไม่มีคุณภาพ
เชื่อหรือไม่ .. โรงเรียนไทย 1 ใน 3 สอนเด็กอย่างไม่มีคุณภาพ

28 มิ.ย.2555 ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ สมศ. ได้จัดทำการประเมินภายนอกสถานศึกษาในรอบ 3 ประจำปี 2554 พบว่า โรงเรียนที่สอนเด็กระดับประถม และมัธยม

1. มีผ่านเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 71
2. ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 29

http://www.thaiall.com/blog/admin/4884/

ถ้าตีความแบบชาวบ้าน
ก็ต้องบอกว่าเด็กไทย 1 ใน 3
เรียนอยู่ในโรงเรียนที่ไม่มีคุณภาพ
เมื่อเชื่อว่าโรงเรียน คือ กลไกสำคัญในการพัฒนาเยาวชน
มีคำว่าเอกลักษณ์เป็นของโรงเรียน และอัตลักษณ์เป็นของเด็ก

ถ้าโรงเรียนมีคุณภาพ ก็ย่อมสอนให้เยาวชนมีคุณภาพ
ถ้าเชื่อกราฟ ก็ย่อมหมายความว่า
โรงเรียนในไทยผลิตเด็กที่ไม่มีคุณภาพ ออกมา 1 ใน 3 ของประเทศ

โดยส่วนตัว .. ผมไม่เชื่ออย่างนั้นนะครับ
.. บ่อยครั้งที่ตัวเลขไม่อาจสะท้อนความจริงได้ทั้งหมด

“ไม่เป็นไร” ไม่ใช่วิสัยของใครทั้งสิ้น ยิ่งปราชญ์ก็ห้ามพูด

"ไม่เป็นไร" ไม่ใช่วิสัยของใครทั้งสิ้น ยิ่งปราชญ์ก็ห้ามพูด
"ไม่เป็นไร" ไม่ใช่วิสัยของใครทั้งสิ้น ยิ่งปราชญ์ก็ห้ามพูด

ตอนสองในบทความเรื่อง “พลาดอย่างมีเครดิต”

นักปราชญ์ตั้งแต่ยุคโบราณกาลท่านหนึ่งกล่าวไว้ในทำนองที่ว่า
คุณภาพของงานของใครสักคนหนึ่ง
มาจากนิสัยที่คนนั้นแสดงออกให้ผู้คนได้ประจักษ์

ถ้าเชื่อนักปราชญ์ที่ได้กล่าวถ้อยคำนี้ไว้
ใครก็ตามที่อยากให้คนเชื่อเวลาที่งานการผิดพลาดไปนั้น
ต้องสร้างนิสัยการทำงานที่ส่อให้เห็นคุณภาพให้คนอื่นได้เห็นเป็นประจำให้ได้
ต้องทำเป็นนิสัยไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็แล้วแต่
ถ้าแสร้งทำไม่นานวันก็หลุดอาการไร้คุณภาพมาให้เห็น
คนเห็นความไม่มีคุณภาพในงานของเราสักครั้งสองครั้ง
เครดิตในด้านคุณภาพของเราก็หดหายไปหมด

เครดิตด้านคุณภาพสร้างให้คนอื่นเชื่อได้ยาก แต่ทำลายให้หมดไปได้ง่าย
หนทางเดียวที่จะรักษาเครดิตความน่าเชื่อถือว่าเราทำงานโดยเน้นคุณภาพไว้ได้
คือทำให้เป็นนิสัย โดยเริ่มต้นจากการลดนิสัย “ไม่เป็นไร” ในการทำงานให้มากที่สุด

(2/3)
จากเรื่อง “พลาดอย่างมีเครดิต” โดย ดร.บวร ปภัสราทร
http://bit.ly/WtjtXG

new drawing of swot graph

swot graph
swot graph

บริการที่ http://www.thaiall.com/swot

22 ก.พ.56 ปรับระบบ plot graph สำหรับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 4 ด้าน คือ SWOT ประกอบด้วย Strength, Weakness, Opportunity และ Threat แล้วก็ให้คะแนน นำคะแนนมา plot graph แล้วดูว่าจะใช้ประโยชน์อะไร ระหว่างคู่ใดมากกว่ากัน เพราะมีให้เลือก 4 ด้าน ว่ากราฟจะเบ้ไปทางใด
โดยแนวการวาดกราฟแบบมี grid ได้มาจาก แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11  กำหนด 4 ยุทธศาสตร์สำหรับ 5 ปี คือ พ.ศ. 2555 – 2559