บล็อกช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว (itinlife382)

tourism information
tourism information
บล็อก (Blog) คือเครื่องมือหนึ่งในการจัดการความรู้ และเป็นเครื่องมือเพื่อบันทึกเรื่องราว แล้วนำบันทึกที่เขียนล่าสุดมาแสดงผลเป็นอันดับแรก การเขียนบันทึกในบล็อกต้องใช้บริการผ่านเครื่องบริการ (Web Server) ซึ่งมีทั้งแบบในเครื่องบริการของตน (Personal Server) กับเครื่องบริการสาธารณะ (Public Server) แล้วระบบบล็อกก็ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้พัฒนาเว็บไซต์ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จนเริ่มเข้ามาทดแทนระบบเว็บไซต์แบบอื่น เนื่องจากเนื้อหาในระบบบล็อกมีความสมบูรณ์ ระบบมีความเป็นมาตรฐาน และรองรับการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเข้ากับระบบอื่นได้ง่าย
ความสมบูรณ์ของเนื้อหาเกิดจากระบบบล็อกกำหนดว่าการเขียนบันทึกต้องประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบที่ต้องลงทะเบียน และล็อกอินเข้าระบบเพื่อเขียน แล้วบันทึกต้องมีรายละเอียดครบถ้วน อาทิ หัวข้อ (Subject) เนื้อหา (Content) รูปประกอบ (Image) คลิ๊ปภาพ (Video) แฟ้มเสียง (Sound) กำหนดกลุ่มเรื่อง (Category) และคำสำคัญ (Keyword) เป็นผลให้การเข้าถึงบันทึกได้หลายวิธีทั้งผ่านเลขบันทึก ระบบสืบค้น คำสำคัญ หรือกลุ่มเรื่อง ซึ่งการเขียนบันทึกมักคล้ายกับการเขียนข่าว หรือบทความทั่วไปที่มักมีรายละเอียดสำคัญ 3 ส่วนประกอบด้วย ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนสรุป แต่การเขียนบล็อกมีข้อเด่นกว่าคือ กลับไปแก้ไข หรือปรับปรุงให้ทันสมัยได้
ประเด็นการท่องเที่ยว (Tourism) มีมุมให้เขียนบันทึกได้หลากหลาย อาจเขียนในมุมของนักท่องเที่ยว เจ้าของพื้นที่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผู้ที่กำลังหาข้อมูล อาจเขียนก่อนไปเที่ยว ขณะเที่ยว หรือหลังเที่ยว หัวข้อมีทั้งที่พัก ที่กิน ที่ชม ผู้คน หน่วยงาน สภาพอากาศ การเดินทาง ความปลอดภัย ความสะดวก และความรู้สึก ซึ่งภาพถ่ายและคลิ๊ปวีดีโอเป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยในการเขียนบันทึก เพราะช่วยให้นำเสนอมีความชัดเจน มุมมองของนักท่องเที่ยวแต่ละคนนำเสนอผ่านภาพที่แตกต่าง แต่ละภาพแทนคำพูด ความรู้สึกที่เกินกว่าจะบรรยายด้วยถ้อยคำได้หมด แต่การมีบันทึกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมักเริ่มต้นจากคนเขียนที่มักถูกเรียกว่าบล็อกเกอร์ที่สวมหมวกเป็นนักท่องเที่ยว แล้วท่านก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่เป็นบล็อกเกอร์ (Blogger) ได้เช่นกัน

บริการเรียนรู้ทางไกลจากไมโครซอฟท์ (itinlife381)

microsoft office 365 on chula university
microsoft office 365 on chula university

เครื่องมือที่นำมาใช้สนับสนุนการเรียนรู้ทางไกล (Distance-learning) หรืออีเลินนิ่ง (E-learning) มีทั้งแบบโอเพนท์ซอร์ท (Open source) แบบจำหน่าย และแบบคราว (Cloud) ซึ่งบริการแบบคลาวด์เหมาะกับผู้ใช้ หรือผู้ให้บริการที่ไม่ต้องดูแลเครื่องบริการเอง ไม่ต้องพะวงเรื่องซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ บุคลากร เครือข่าย หรือความปลอดภัย ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่ง Microsoft Office 365 สามารถให้บริการโปรแกรมสำนักงานแบบออนไลน์เช่นเดียวกับ Google Apps แต่มีค่าใช้จ่ายต่อคนต่อเดือนตามประเภทการใช้งาน

การจัดการเรียนการสอนบนคลาวด์เหมาะสำหรับหลักสูตรที่ผู้เรียนมีความรับผิดชอบสูง และพร้อมใช้เทคโนโลยี ซึ่งบริการของ Microsoft Office 365 for education อยู่ในคลาวด์มาพร้อม Exchange Online ที่เปิดให้องค์กรมีเครื่องบริการอีเมล และ SharePoint Online ที่เปิดให้สถานศึกษามีไซต์ของตนเองที่สมาชิกสามารถร่วมกันจัดทำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และบริการจัดการเนื้อหาได้ และ  Lync Online ที่เปิดให้มีการติดต่อสื่อสารแบบวีดีโอคอนเฟอเรนท์ ซึ่งทั้งหมดรวมกันเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

ในประเทศไทยมีคณะเภสัชศาสตร์ของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนำร่องจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านบริการของ Office 365 แล้ว ซึ่งบริการของไมโครซอฟท์ข้างต้นประกอบด้วยระบบสร้างเอกสาร Word, Excel, Powerpoint และ Access แล้วรับส่งระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน การใช้ระบบอีเมลของสถาบัน ้ของดและตารางนัดหมาย ถูกจำกัดและบริการในกลุ่มองค์กรเดียวกันได้อย่างไร้รอยต่อ การสร้างชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบถามตอบ หรือสร้างเนื้อหาเพื่อการแบ่งปัน การสื่อสารผ่านมัลติวีดีโอคอนเฟอเรนท์ หรือประชุมทางไกลที่เชื่อมโยงเอกสารข้างต้นพร้อมบันทึกเก็บไว้ เพื่อทบทวนย้อนหลังได้จากทุกที่ทุกเวลา ทั้งหมดไม่ใช่ก้าวแรกหรือก้าวสุดท้ายของการพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนทางการศึกษา แล้วมาติดตามว่าโลกของเราจะมีอะไรมาให้ได้เรียนรู้กันต่อไปอย่างไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด

+ http://www.thairath.co.th/content/edu/322771

+ http://www.nationmultimedia.com/technology/Distance-learning-made-easy-30198870.html

เว็บกระทรวงศึกษาธิการ กับภาพประกอบข่าว

ข่าวใน moe.go.th
ข่าวใน moe.go.th

28 ม.ค.56 เวลาอยู่บ้าน ก็มักใช้เวลาว่างเปิดเว็บไซต์เพราะความอยากรู้อยากเห็นเรื่อยเปื่อยของมนุษย์ ซึ่งหนึ่งในเว็บไซต์ที่เข้าไปอ่าน คือ กระทรวงศึกษาธิการ คงเพราะอาชีพเกี่ยวข้องกับกระทรวงนี้มากที่สุด เนื่องจากมหาวิทยาลัย คณะวิชา หรือหลักสูตร ก็ล้วนมีต้นสังกัดที่เรียกว่ากระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับการศึกษาก็จะสะท้อนผลการจัดอันดับก็ล้วนสะท้อนว่าเราอยู่อันดับท้าย เด็กไทยอ่านน้อย หรือนักวิชาการที่ผมรู้จักก็จะเขียนข่าวพาดพิงกระทรวงนี้เสมอ
เมื่อเข้าไปในเว็บของกระทรวง ก็มักจะติดตามข่าวสาร เพราะมีเรื่องใหม่มาให้อ่านตลอด ช่วงต้นปี 2556 พบหัวข้อ “ข่าวเด่นประเด็นร้อน” ก็จะเข้าไปในส่วนอ่าน “ทั้งหมด” เมื่อเข้าไปก็สงสัยในความผิดปกติอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้เอะใจอะไร มาวันนี้นึกออกว่า ที่แปลกไปกว่าปกติ คือ คำว่า “ไม่มีรูปภาพ” ซึ่งคาดหมายต่อไปได้ว่า อันที่จริงผู้พัฒนาระบบเตรียมให้ ผู้เขียนข่าวเป็นผู้อัพโหลด เพิ่มภาพประกอบข่าวเข้าไปได้ เห็นเว็บข่าวต่างประเทศอย่าง cnn.com หรือ bbc.com  หากไม่มีภาพก็จะปรากฎข้อความข้างต้น แต่ที่ผ่านมาคงไม่มีภาพ จึงไม่พบภาพประกอบข่าว พบก็แต่คำว่า “ไม่มีรูปภาพ” เป็นกรณีศึกษาที่จะไปเล่าให้นักศึกษาฟังได้
http://www.moe.go.th/moe/th/news/index.php?Key=hotnews

รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ กลต.

รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์
รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์

การบรรยายในหลักสูตร Executive MBA มหาวิทยาลัยเนชั่น
วันที่ 26 มกราคม 2556 เวลา 9.00 -12.00น.

โดยสุดยอดวิทยากร คือ รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ กลต.
คำว่า กลต.= ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ซึ่งชาวไทยมากมายประสบความสำเร็จด้านทรัพย์สิน
จากการเข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ มีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้จำหน่วยเยอะมาก
ที่มหาวิทยาลัยมีห้องสมุดโซนของ SET ให้อ้างอิงจำนวนหนึ่ง
ช่วงปลายเดือนมกราคม 2556 ตลาดกำลังผันผวน
ท่านต้องมีอะไรดี ๆ มาเล่าให้ฟังแน่นอน

ผลงานส่วนหนึ่ง
1. “ศักยภาพไทยในเวทีการแข่งขันโลก”
รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินกัน
และอาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารหารศาสตร์
http://e-masscom.com.www.readyplanet.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents&id=31758&Ntype=0
จากรายการ “ชั่วโมงเศรษฐกิจ” สถานีวิทยุจุฬาฯ
F.M.101.5 MHz. http://www.curadio.chula.ac.th
(25 พ.ย.2545 09.15.-09.30 น)

2. รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ / USAคุมเข้มสถาบันการเงิน F.M.101.50
http://77.nationchannel.com/playvideo.php?id=76676

งานแสดงเปิดตัว กีฬา อพร. ปีการศึกษา 2555

งานแสดงเปิดตัว กีฬา อพร. ปีการศึกษา 2555

ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารคณะบริหารธุรกิจ ชุมพล พรประภา มหาวิทยาลัยเนชั่น มีงานเปิดตัว กีฬา อพร.สัมพันธ์ เป็นการรวมพลังของสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง ทั้งสิ้น 11 สถาบันการศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา คือ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง, วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง, วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง, วิทยาลัยการอาชีพเกาะคา, วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง, วิทยาลัยการอาชีพเถิน, วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ, โรงเรียนลำปางพาณิชการและเทคโนโลยี, สถาบันการพลศึกษาลำปาง และมหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในวันที่ 19 มกราคม 2556

5 คำแนะนำในการพัฒนาการศึกษา

learning curve by country
learning curve by country

ปลายปี 2555 มีรายงานใน pearson ว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 37 จาก 40 ประเทศ
โดยประเทศฟินแลนด์อยู่อันดับ 1 ส่วนอันดับสุดท้ายคืออินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นผลการจัดอันดับของบริษัทด้านการศึกษาชื่อดังจากสหรัฐฯ “เพียร์สัน”
แล้วมีคำแนะนำสำหรับผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษาระดับประเทศ 5 ข้อ
ผมรู้สึกว่าถ้าเป็นผู้กำหนดนโยบายด้านการศึกษาก็ควรจะอ่านไว้สักหน่อย ถ้าไม่ใช่จะอ่านไว้ .. ก็ไม่เสียหาย
http://thelearningcurve.pearson.com/the-report/executive-summary

5 บทเรียน สำหรับผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษา
Five lessons for education policymakers

1. การพัฒนาการศึกษาไม่ใช่ฝันลม ๆ แล้ง ๆ แล้วจะสำเร็จ ต้องใช้เงินลงทุน เชื่อมโยง และต่อเนื่อง จึงจะได้ผล
1. There are no magic bullets: The small number of correlations found in the study shows the poverty of simplistic solutions. Throwing money at education by itself rarely produces results, and individual changes to education systems, however sensible, rarely do much on their own. Education requires long-term, coherent and focused system-wide attention to achieve improvement.

2. ถ้าได้ครูดี ผลคือนักเรียนดี จึงต้องรักษาครู และพัฒนาให้เป็นครูมืออาชีพ ไม่ใช่มุ่งเพิ่มเทคนิค หรือเพิ่มเครื่องมือ
2. Respect teachers: Good teachers are essential to high-quality education. Finding and retaining them is not necessarily a question of high pay. Instead, teachers need to be treated as the valuable professionals they are, not as technicians in a huge, educational machine.

3. มีวัฒนธรรมเชิงลบบางเรื่องที่ต้องเปลี่ยน แล้วสนับสนุนวัฒนธรรมเชิงบวกที่มีผลต่อการศึกษา
3. Culture can be changed: The cultural assumptions and values surrounding an education system do more to support or undermine it than the system can do on its own. Using the positive elements of this culture and, where necessary, seeking to change the negative ones, are important to promoting successful outcomes.

4. พ่อแม่ต้องเข้าใจและร่วมกันพัฒนาการศึกษาของเด็ก
4. Parents are neither impediments (ผลักดัน) to nor saviours (ผู้ไถ่บาป) of education: Parents want their children to have a good education; pressure from them for change should not be seen as a sign of hostility but as an indication of something possibly amiss in provision. On the other hand, parental input and choice do not constitute a panacea. Education systems should strive to keep parents informed and work with them.

5. การศึกษาคือการเติมเต็มทักษะในปัจจุบัน เพื่อนำไปใช้ในอนาคต
5. Educate for the future, not just the present: Many of today’s job titles, and the skills needed to fill them, simply did not exist 20 years ago. Education systems need to consider what skills today’s students will need in future and teach accordingly.

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2176/

กระแสไลค์ในเฟซบุ๊ค (itinlife378)

facebook in cities
facebook in cities

http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/cities/

12 ม.ค.56 ปี 2555 ที่ผ่านมาเป็นอีกปีหนึ่งที่กระแสการใช้บริการเว็บไซต์เครือข่ายสังคมทวีความรุนแรงขึ้น จากข้อมูลใน zocialrank.com ที่ให้ข้อมูลว่าเฟซบุ๊คเพจ (Facebook Page) เมื่อต้นปี 2555 มีคนกดถูกใจ (Like) ถึงล้านคนเพียง 2 เพจ แต่ผ่านไปได้ไม่ถึงปีพบปริมาณการกดไลค์เพจเพิ่มขึ้นเกินคาด  ข้อมูลต้นปี 2556 พบว่ามีเพจที่ถึง 2 ล้านจำนวน 3 เพจ และยอดเกินล้านมีถึง 35 เพจ เกือบทั้งหมดเป็นเพจด้านความบันเทิง แต่ไม่มีเพจใดมีเนื้อหาหลักด้านการศึกษา มีเพียงเพจของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี ที่เน้นด้านการศึกษาทางธรรม มียอดคนกดไลค์เกินล้าน

ผู้สื่อข่าวทั้งทีวีและหนังสือพิมพ์จำนวนไม่น้อย ใช้ข้อมูลที่อยู่ในเฟซบุ๊ค นำมาพูด บอกต่อ ตีความ ขยายความ แสดงความเห็นทั้งเชิงบวก เชิงลบ จนทำให้เกิดการรับรู้ พูดถึงเรื่องราวที่มาจากเฟซบุ๊ค ออกไปสู่สังคมภายนอกได้รวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่การกดไลค์ต่อเพจมิใช่เครื่องแสดงถึงประสิทธิภาพของการสื่อสารในเพจ แต่เป็นจำนวนคนเข้ามามีส่วนร่วม (Engage) ที่วัดด้วยค่า “ถูกพูดถึง (Talking about this)”  ที่มาจากจำนวนกดไลค์ในแต่ละข้อความ (Post like) จำนวนการแบ่งปัน (Share) จำนวนความคิดเห็น (Comment) และกิจกรรมอื่น ๆ

สถิติการกดไลค์และการถูกพูดถึงมักเกิดกับเฟซบุ๊คเพจด้านความบันเทิง ที่ผู้ดูแลนิยมโพสต์ภาพ หรือข้อความเกี่ยวกับความรัก ทั้งสมหวัง ผิดหวัง ประชด ตัดพ้อ หรือคำพูดที่น่าประทับใจที่อ้างอิงว่ากล่าวโดยพระสงฆ์ หรือปราชญ์ อาทิ ดร.เทียม โชควัฒนา หรือขงจื้อ ข้อมูลทางสถิติเมื่อต้นเดือนมกราคม 2556 จาก socialbakers.com เปรียบเทียบในระดับเมืองพบว่า มีผู้ใช้ในกรุงเทพฯ เป็นอันดับหนึ่งของโลก คือ 12,797,500 เฉือนจากาต้าของอินโดนีเซียไม่มากนัก ส่วนระดับประเทศข้อมูลของประเทศไทยคือ 18,335,420 ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจสถานภาพความสุขและมุมมองการใช้ชีวิตของชาวโลก พบว่าชาวไทยติดอันดับ 5 ของโลก ก็อาจเป็นเพราะเรามีเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล โดยเมืองหลวงของไทยมีประชากรเข้าถึงมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกย่อมจะมีความสุขในอันดับต้น ๆ เช่นกัน แต่ระบบการศึกษาของไทยไปอยู่ท้ายของรายการก็อาจเป็นเพราะเรามีความสุขแบบไม่ยึดทางสายกลาง

http://www.oknation.net/blog/roisaii/2012/12/23/entry-1

http://www.pawoot.com/like-and-who-talking-about

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2335/

วัดจำนวน Talking About This แทน Like ใน FB ดีกว่าไหม

เลิกวัดจำนวน Like ใน FB มาสนใจจำนวน Talking About This ดีกว่า
เลิกวัดจำนวน Like ใน FB มาสนใจจำนวน Talking About This ดีกว่า

http://www.zocialrank.com/facebook/

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ (ป้อม)
ได้เขียนบทความเกี่ยวกับความต่างของ like และ talking ไว้น่าสนใจ

ถ้าพูดถึงคำว่าไลค์ (Like) หรือ “ชอบ” ทุกวันนี้ทุกคนก็จะนึกถึง Facebook ใช่ไหมครับ บทความนี้หลายคนอาจจะแปลกใจว่า เอ…ทำไมวันนี้ผมมาแปลก ที่เชิญชวนให้มาหยุดล่าคนกดไลค์ แล้วอย่างงี้เราจะทำธุรกิจได้อย่างไร ถ้าไม่มีไลค์เราจะทำธุรกิจบนเฟสบุ๊ค ได้อย่างไร? วันนี้ผมมีคำอธิบายครับ

ปัจจุบันธุรกิจร้านค้าต่างๆ ในเมืองไทย ต่างหันเข้ามาใช้เฟซบุ็ค เป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและเป้าหมายกันอย่างมาก โดยตัวเลขที่ใช้วัดว่า เฟซบุ็คของธุรกิจคุณมีคนนิยมเข้ามาใช้บริการ ก็คือ จำนวนคนกดไลค์ (Like)  หรือ “ชอบ” ยิ่งมีคนไลค์มากเท่าไร ยิ่งทำให้ธุรกิจคุณสามารถเข้าถึงและสื่อสารกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจได้มากขึ้นเท่านั้น บางแห่งเริ่มนำมาใช้เป็นตัวเลขวัดผลความประสบความสำเร็จของการทำการตลาดผ่านทางเฟซบุ็ค โดยวัดผลกับเฟซบุ็ค ของคู่แข่ง  จึงทำให้ ตอนนี้บริษัทหรือธุรกิจต่างๆ หันมาสร้างหรือไล่ล่า จำนวนไลค์กัน อย่างไม่ลืมหูลืมตา โดยไม่สนว่าคนที่เข้ามากดไลค์จะเป็นกลุ่มเป้าหมายของเราหรือไม่ก็ตาม

โดยตอนนี้เฟสบุ๊คเพจของคนไทยที่มีจำนวนคนกดไลค์ที่มากกว่า 2 ล้านคน มีทั้งหมด 3 เพจ และมีคนกดไลค์มากกว่า 1 ล้านคน ทั้งหมด 20 เพจ (อ้างอิงจาก http://zocialrank.com/facebook) แต่คุณเชื่อไหมครับว่า หากมองย้อนกลับไปเมื่อต้นปี 2012 ที่ผ่านมา หรือ 6-7 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยมีเฟสบุ๊คเพจที่มีจำนวนคนกดไลค์มากกว่า 1 ล้านคน เพียงแค่ 2 เพจเท่านั้น นั้นก็คือเฟซบุ็คเพจของ คุณตัน อิชิตัน และ วงดนตรีบอดี้สแลม แต่ทำไมผ่านไปเพียงไม่กี่เดือนกลับมีเฟซบุ๊กเพจที่มีจำนวนคนกดไลค์มากว่าล้านเพิ่มขึ้นมากกว่า 20 เพจเลยทีเดียว มันเกิดอะไรขึ้น

ด้วยตัวเลขคนกดไลค์เยอะมากขึ้น ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยนิยมใช้เฟสบุ๊คมากขนาดไหน โดยเฉพาะชาวกรุงเทพฯ ที่ติดลำดับเมืองที่มีประชากรใช้เฟสบุ๊คมากที่สุดในโลก แต่การที่มีประชากรใช้เฟสบุ๊คเยอะ ก็ไม่จำเป็นที่เฟสบุ๊คเพจต่าง ๆ จะมีจำนวนการเติบโตสูงตามไปด้วย แล้วปัจจัยอะไรละ? ที่ทำให้เฟสบุ๊คเหล่านั้นเติบโตด้วยยอดไลค์สูงได้ขนาดนั้น


ถูกพูดถึงเท่าไร (Talking About) คือ  สิ่งที่คุณควรสนใจมากว่า

เฟสบุ๊คเองได้มองเห็นปัญหาของการไล่ล่าให้คนกดไลค์กันอย่างบ้าคลั่งอย่างไร้เหตุผล เฟสบุ๊คจึงกำหนดค่าตัวเลขใหม่ขึ้นมา ที่ชื่อว่า “ถูกพูดถึง (Talking about this)” ซึ่งค่าของตัวเลขนี้จะมาจาก จำนวนคนที่เข้ามาส่วนร่วม (Engage) หรือมีกิจกรรมกับเฟซบุ๊คเพจของคุณ เช่น การเข้ามากดไลค์ในแต่ละข้อความ, การแชร์ (Share) หรือแบ่งปันข้อความของคุณออกไป, การเข้ามาโต้ตอบ หรือเขียนข้อความลงในหน้าเฟซบุ๊คเพจของคุณ หรือเข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่คุณมีในเฟซบุ็คของคุณ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะทำให้ค่าของ “ถูกพูดถึง (Talking about this)” เพิ่มมากขึ้น
นั้นหมายความว่า ถ้าเฟซบุ็คเพจไหนมีจำนวนคนกดไลค์เยอะ แต่ค่าตัวเลข “ถูกพูดถึง (Talking about this)“ ต่ำ นั้นแสดงว่าเฟซบุ๊คเพจนั้นๆ ไม่ได้รับความสนใจจากสมาชิกในเพจนั้นๆ นั้นหมายถึงคุณพูดหรือสื่อสารอะไรออกไป ก็ไม่มีคนเห็น ไม่มีคนดู ซึ่งมันหมายถึงประสิทธิภาพในการสื่อสารไปยังลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายก็น้อยลงด้วยเช่นกัน  ซึ่งวิธีการที่จะดูตัวเลข ”ถูกพูดถึง (Talking about this)”  ก็สามารถเข้าดูได้ที่หน้าเฟซบุ๊คเพจของคุณ มันจะอยู่ข้างๆ ตัวเลขไลค์ ด้านบนครับ

http://www.pawoot.com/like-and-who-talking-about

ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ล้นตลาด ต้องการวิทยาศาสตร์/วิศวกรรมศาสตร์/คอมพิวเตอร์

asean jobs
asean jobs

http://news.voicetv.co.th/thailand/60043.html
กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศ
รัฐบาลจะส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์
เนื่องจากตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศต้องการ
ขณะที่บุคลากร ด้านครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ล้นตลาดแล้ว

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ระบุถึง ผลกระทบของการเปิดประชาคมอาเซียนต่อระบบการศึกษาไทย
ว่าหลังจากนี้ การผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงานด้วย

ซึ่งขณะนี้กำลังต้องการ ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์
ส่วนด้านครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์  มีจำนวนมากกว่าความต้องการของตลาดแรงงานแล้ว
จึงทำให้บัณฑิตที่จบในสาขาดังกล่าว สูญเสียโอกาสในการทำงาน

เนื่องจากแต่ละปี มีบัณฑิตด้านครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์จบการศึกษา  4 – 5 หมื่นคน
โดยปีการศึกษา 2555  มีการรับนักศึกษาใหม่ใน 2 สาขาดังกล่าวเกือบ 1 แสนคน
แต่เมื่อเปรียบเทียบกับยอดการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ทำให้เห็นว่า จำนวนดังกล่าวล้นความต้องการของตลาดแล้ว
เช่น ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปีล่าสุด ทั่วประเทศมีการเปิดบรรจุ 1,500 อัตรา
มีผู้สมัครสอบเกือบ 2 แสนคน จึงทำให้มีบัณฑิตตกงานจำนวนมาก

นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ยังมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มี 7 สาขาวิชาชีพ

1. วิศวกรรม (Engineering Services)
2. พยาบาล (Nursing Services)
3. สถาปัตยกรรม (Architectural Services)
4. การสำรวจ (Surveying Qualifications)
5. แพทย์ (Medical Practitioners)
6. ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
7. บัญชี (Accountancy Services)

สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้
โดยให้ศึกษารายละเอียด เช่น ใบอนุญาตการทำงาน ภาษาถิ่น และกฎหมายแรงงานของประเทศนั้น

ทั้งนี้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ยังระบุอีกว่า
นอกจากความต้องการให้บัณฑิตมีงานทำตรงกับสาขาที่เรียนแล้ว
รัฐบาลยังเปิดกองทุนตั้งตัวได้ เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตใหม่ ที่จบการศึกษาไม่เกิน 5 ปี
สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ ซึ่งขณะนี้เปิดรับสมัคร  ผ่านศูนย์บ่มเพาะใน 56 แห่งทั่วประเทศ
โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และไม่มีกำหนดการปิดรับสมัคร
+ http://education.kapook.com/view54072.html

+ http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=29610&Key=hotnews

+ http://www.thaiall.com/asean/

เกมออนไลน์บนกระป๋องเครื่องดื่ม (#itinlife 377)

sponsor c9
sponsor c9

แวะร้าน 7-eleven แล้วไปที่ตู้เครื่องดื่มพบกระป๋องเครื่องดื่มเกลือแร่ยี่ห้อหนึ่งมีลวดลายสวยงาม มีภาพผู้หญิงถืออาวุธน่าเกรงขาม แต่แต่งตัวไม่สมเป็นกุลสตรีแม้แต่น้อย เพราะเปิดเผยในส่วนที่ควรปิด และปิดในส่วนที่ไม่จำเป็นต้องปิด อ่านรายละเอียดพบว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าเครื่องดื่มเกลือแร่กระป๋องนี้มีรหัสสำหรับรับ item ของเกมฟรี ซึ่งใช้ในการเล่นเกมระดับโลก ชื่อ C9 (Continent of the ninth) มีชื่อเป็นไทยว่า “ทวีปที่ 9” ปัจจุบันมนุษย์แบ่งโลกออกเป็นทวีปไว้หลายแบบ แบบละเอียดจะแบ่งได้ 7 ทวีป คือ แอฟริกา แอนตาร์กติกา เอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และอเมริกาใต้

เกม C9 เป็นเกมต่อสู้แบบจำลองให้ผู้เล่นมีบทบาทเป็นนักรบ เพราะขายนักสู้ผู้หญิงที่ถือง้าวเป็นอาวุธไว้ข้างกระป๋อง เพราะในโลกของเรามีเกมหลายประเภท เช่น เกมหมากรุก เกมสแคบเบิ้ล เกมซูโดกุ เกมนกโกรธ เกมสร้างเมือง ที่มีเป้าหมายแตกต่างกันไป ซึ่งเกมที่เซียนเกมมักติดใจ อยู่ในกลุ่มเกมสมมติบทบาทว่าเป็นตัวละครในเกม เช่น pangya ที่ให้เป็นนักกอล์ฟขั้นเทพ หรือ ragnarok ที่ให้เป็นนักล่าอสูรสุดเท่ห์ หรือ starcraft ที่ให้เป็นผู้สร้างอนาจักรของตน หรือ facebook ที่มีเกมปลูกผักกับเพื่อน ๆ ในกลุ่ม หากไม่หมั่นรดน้ำพรวนดิน ก็จะมีเพื่อนแอบเข้าไปขโมยพืชผลได้

ถ้าเยาวชนได้กระป๋องนี้ไปก็มีแนวโน้มว่าจะไปหาดาวน์โหลดเกมเล่น และใช้รหัสใต้กระป๋องขอรับ item ฟรี ซึ่งปัจจุบันมีเกมมากมายที่เปิดให้เล่นฟรี ส่วนเกมออนไลน์ที่มีการแสดงผลสวยงาม และเชื่อมต่อกับเครื่องบริการ (Server) ก็มักต้องใช้เงินจริงซื้อเวลา หรือคุกกี้ (cookie) สำหรับใช้ซื้อไอเท็ม ราคาคุกกี้ เริ่มจาก 49 บาทได้ 5,000 คุกกี้ ไปถึง 1499 บาทได้ 240,000 คุกกี้ โดยเกมส่วนใหญ่มีเพื่อให้ความบันเทิง ซึ่งกลุ่มคนที่ต้องการแสวงหาความสุขจากโลกเสมือนจริง หรือฝากเป้าหมายของชีวิตไว้กับเกม ก็จะมีเกมเป็นเครื่องเติมเต็มความสุขให้กับชีวิตแบบชั่วคราว โดยกลุ่มผู้อายุที่เล่มเกมสูงสุดก็จะเป็นเยาวชนที่มีเวลาแสวงหาความสุขจากเกมยามว่าง ต่างกับผู้ใหญ่ที่มีภาระหน้าที่ มีความสัมพันธ์ถาวรกับคนรอบข้างทั้งที่ทำงาน ในสังคม และครอบครัวที่เป็นบุคคลมีตัวตนจริงสัมผัสได้ มิใช่บุคคลที่หล่อสวยแบบดาราแต่อยู่ในจินตนาการที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งภาครัฐในไทยมิได้เห็นการติดเกมของเยาวชนเป็นปัญหาที่ชัดเจน

c9 : continent of the ninth
c9 : continent of the ninth

http://www.suansanook.com/wp-content/uploads/2012/10/0001-wallpaperstop1280_800.jpg