charming painting โดย elvgren

11 ก.พ.55  John Munro Millar Cable ชวนฟังเพลง When I’m Sixty-Four ของ Beatles แล้วผมก็คลิ๊กไปพบ เพลง  Cherokee Boogie ของ Johnny Horton ซึ่งผมสังเกตภาพในคลิ๊ปเป็นภาพวาดของ elvgren แบบ charming painting (Elvgren’s Models)

ถ้าถามว่าผมคิดอะไรอยู่ คงตอบว่า ผมนึกไปถึง นิตยสารดาราแผงหนังสือ ท่าเต้นของ korea girl group และท่าเต้นเกาหูของไทย .. ซึ่งเปรียบเทียบกันได้ค่อนข้างยาก ถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ความเชื่อ และการดำเนินชีวิต

http://elvgrenpinup.com/Elvgren_models.html

เฟซบุ๊คอาจล้มบางชั่วขณะได้

facebook down
facebook down

10 ก.พ.55 เว็บไซต์ต่าง ๆ ก็มีโอกาสล้มในบางชั่วขณะ อย่างเช่น facebook.com ที่มีสมาชิกกว่า 600 ล้านคน มีคนไทยกว่า 7 ล้านคน การที่เครื่องบริการตอบสนอง 24 ชั่วโมงนั้นต้องอดทนมาก .. ในบางขณะเครื่องบริการอาจมีปัญหาและไม่ต้องสนองกับการร้องขอจากผู้ใช้ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ .. อย่างเช่นเวลานี้ผมอยู่ที่บ้านใช้ adsl of tot ซึ่งบริการ plug-in บนเว็บไซต์ไม่พบปัญหา หน้าแรกก็ตอบสนองปกติ แต่ login ไม่ผ่าน (ทดสอบต่อเนื่องมา 2 ชั่วโมงแล้ว) .. มีข้อความจาก firefox ว่า เครื่องบริการตอบรับช้าเกินไป
สิ่งที่ทำได้คือ รอคอย
http://downrightnow.com/facebook
http://wiki.answers.com/Q/Is_the_Facebook_server_down_at_the_moment

http://archive.voicetv.co.th/content/8719

ข่าวจาก voicetv เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2553
เมื่อคืนวันเสาร์ที่ผ่านมา ผู้ใช้บริการ Facebook จากหลายๆ ประเทศบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่สามารถ log in เข้าไปใน facebook ได้ หรือเข้าไปได้แล้วก็ช้ามาก และหลายๆ บริการบน Facebook ก็ใช้การไม่ได้ ซึ่งสำนักข่าวเอพี ได้รายงานว่า มีการรายงานปัญหาดังกล่าวจากผู้ใช้บริการในหลายเมือง ทั้งจากลอนดอน เม็กซิโกซิตี้ หรือแม้แต่กรุงเทพมหานคร ซึ่งหลายคนแจ้งปัญหาดังกล่าวผ่านบริการ Twitter

แม็ต ฮิคส์ โฆษกของ Facebook ออกมาแถลงยอมรับว่ามีเซิร์ฟเวอร์ของ Facebook มีปัญหาบ้างเล็กน้อย แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้น ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้สมาชิก ไม่สามารถ log in เข้าไปได้ หรืออาจจะเข้าไปดู Profile ของเพื่อนไม่ได้ชั่วขณะ ซึ่งรายงานล่าสุดจากทาง Facebook ว่าทุกอย่างได้รับการแก้ไขแล้วเมื่อเวลา 6.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

ปัจจุบัน Facebook มีผู้ใช้บริการกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก และพยายามอย่างเต็มที่ไม่ให้เกิดปัญหาเซิร์ฟเวอร์ล่ม ซึ่งที่ผ่านมา Facebook ยังไม่เคยล่มทั้งระบบ แตกต่างจาก Twitter ที่เคยถูกแฮ็คเกอร์โจมตีเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ทำให้ล่มทั้งระบบมาแล้ว

แค่หน้า 177 “เขี่ยเท้าเล่น” ก็รู้สึกคุ้มกับหนังสือเล่มนี้แล้ว

จอห์น สคัลลีย์
จอห์น สคัลลีย์

9 ก.พ.55 อ่านหนังสือหน้า 177 steve jobs by walter isaacson ทำให้อาการเจ็บคอเจียนตายของผมทุเราลงในฉับพลัน จนคิดว่าน่าจะไปทำงานได้ (อาจเป็นเพราะร่างกายรักษาตนเอง หรือยาแก้ปวดสองเม็ดเมื่อคืนช่วยไว้) .. อ่านหน้านี้ในบทที่ 14 เรื่องจอห์น สคัลลีย์ (John Sculley อดีต CEO Pepsi) ทำให้ผมรู้สึกว่า แค่หน้านี้หน้าเดียวก็คุ้มแล้วที่จะซื้อหนังสือเล่มนี้ อ่านไปได้เพียงค่อนหน้าก็ทำให้ผมน้ำตาเล็ด อาจเป็น เพราะขำขำในใจ หรือผลข้างเคียงจากการเจ็บคอที่ตกค้างมาจากกลางคืน

เนื้อหาเป็นเรื่องการเข้าทำงานวันแรกของประธานกรรมการบริหาร แล้วพบความอลหม่านในการประชุม มีคนเคยบอกสคัลลีย์ว่า “ทายสิว่า Apple กับลูกเสือต่างกันตรงไหน คำตอบคือ ลูกเสือมีผู้ใหญ่คอยควบคุม” ผมไปจบการอ่านวันนี้ในประโยคที่สคัลย์บอกว่า “คำสั่งที่สับสน การไม่ตัดสินใจ และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในวันนั้น เป็นลางบอกเหตุว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามมา

แล้วถ้าท่านผู้อ่านเป็นประธานการประชุม พบผู้ร่วมประชุมนั่งอยู่ที่พื้นหน้าห้องประชุมใจลอยเอามือเขี่ยเท้าเล่น .. ท่านจะทำอย่างไร (ลองไปนั่งในใจของสคัลลีย์แล้ว สุดบรรยายจริง ๆ)

คิดต่อว่า ถ้าเป็นคุณครูสอนภาษาไทย ระหว่างสอนนักเรียนป.1 นั่งเล่นเกมผ่าน tablet pc หรือ เจ้าของบริษัทกำลังแถลงนโยบาย แล้วพนักงานก็นั่ง ปลูกผัก .. ผมว่าบรรยากาศเหมือนการประชุมครั้งแรกใน apple ที่สคัลลีย์เป็นประธานเลย .. ผมว่าการศึกษาไม่ได้พัฒนาจิตใจของมนุษย์ไปสักเท่าไรเลย

http://kokoyadi.com/2012/01/06/stevejobsthaiedition/

กรณี Lisa กับ Mac ใน Apple

lisa computer
lisa computer

8 ก.พ.55 อ่านหนังสือ Steve Jobs by Walter Isaacson ที่แปลโดยคุณณงลักษณ์ จารุวัฒน์ บทที่ 13 พบประเด็นเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 รุ่น ที่เปิดตัวในมกราคม ค.ศ.1983 และมกราคม ค.ศ.1984 ถูกผลิตโดยบริษัท Apple เป็นบทเรียนที่น่าสนใจ ทำให้ได้เราเรียนรู้ถึงวิธีคิดของมนุษย์ท่ามกลางการแข่งขันในอีกชุมชนหนึ่ง จากการฟังคุณสุทธิชัย หยุ่น ที่พูดคุยเกี่ยวกับสตีฟ จ็อบส์หลายครั้ง ทำให้ทราบว่าหนังสือเล่มนี้มิได้นำเสนอเฉพาะด้านบวก แต่ตีแผ่ชีวิตครบรสของมนุษย์ที่หาอ่านได้ยาก มีทั้งพฤติกรรมที่น่าชื่นชม และน่ารังเกียจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ผ่านการสัมภาษณ์ของผู้คนรอบกายสตีฟหลายสิบคนที่มีทั้งรักและไม่รักเขา

โครงการ Lisa (Local Integrated Systems Architecture) เคยเป็นของสตีฟ แต่เขาถูกถอดจากโครงการนี้ แล้วไปทำโครงการ Macintosh ที่เคยเป็นโปรเจ็กต์ง่อนแง่น การแข่งขันชิงเด่นระหว่างโครงการต่าง ๆ ในบริษัทเดียวกันสามารถพบได้ในบริษัทขนาดใหญ่ทั่วไป เพราะธรรมชาติของมนุษย์ย่อมต้องการเอาชนะ เหยียบคนอื่นขึ้นไปให้สูงขึ้น สตีฟเองก็เป็นเพียงปุถุชนธรรมดาคนหนึ่ง ผลการแข่งขันของ 2 โครงการ สรุปได้ว่าโครงการ Lisa ล้มเหลว แต่ต่อมาเป็นความสำเร็จของเครื่อง Mac ที่สตีฟดูแลอยู่ ที่มาของชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ Lisa นั้นถูกตั้งขึ้นตามชื่อลูกสาวที่สตีฟเคยปฏิเสธการเป็นพ่อ ถึงขั้นขึ้นศาลพิสูจน์ดีเอ็นเอมาแล้ว

เหตุผลหนึ่งที่น่าเชื่อว่าเครื่อง Lisa ต้องหยุดการผลิตหลังเปิดตัวได้ 2 ปี เพราะสตีฟในฐานะ CEO ของบริษัทให้สัมภาษณ์กับนิตยสารหลายฉบับในการเปิดตัวเครื่อง Lisa และผลจากการให้สัมภาษณ์ นิตยสาร Fortune ตีพิมพ์ว่า “ปลายปีนี้ Apple จะวางตลาดคอมพิวเตอร์อีกรุ่นหนึ่งที่มีสมรรถนะน้อยกว่า ราคาถูกกว่า Lisa ชื่อ Macintosh จ็อบส์เป็นผู้ควบคุมโปรเจ็กต์เองทั้งหมด” จากข้อความทำนองนี้ในนิตยสารหลายฉบับ ทำให้เชื่อได้ว่าผู้มีกำลังซื้อส่วนหนึ่งตัดสินในชะลอการซื้อคอมพิวเตอร์ออกไป  แล้วรอการมาของเครื่อง Mac ทำให้เชื่อว่าการที่ Lisa สูญเสียลูกค้าและหยุดการผลิตในเวลาเพียง 2 ปีนั้น กลับส่งผลดีต่อเครื่อง Mac จนกลายเป็นความสำเร็จก้าวใหญ่ของเทคโนโลยีที่น้อยคนจะไม่รู้จักเครื่อง Macintosh ของบริษัท Apple

สวมหมวกกันคนละใบ คิดต่าง ย่อมธรรมดา

law
law

ตาชั่งนี้ ของ อ.กิ .. ทำให้นึกถึง
ความสัมพันธ์ของ สตีฟ จ็อบส์ กับ แดเนียล ค็อตเค หน้า 117
ในหนังสือ สตีฟ จ็อบส์ โดย วอลเตอร์ ไอแซคสัน

หรือที่ อ.ส เคยสอนไว้ว่า
คุณนั่งตรงนู้น ก็ต้องพูดอย่างนู้น .. ผมนั่งตรงนี้ ก็ต้องพูดอย่างนี้
ก็เพราะเราสวมหมวกที่แตกต่างกัน ฐานคิดจึงแตกต่างกัน


หรือเหตุการณ์หลังมหาอุทกภัย
คนเหนือเขื่อน กับคนใต้เขื่อน
ปล่อยน้ำมาก คนเหนือเขื่อนก็เดือนร้อน
แต่คนใต้เขื่อนต้องใช้นำเพื่อเพาะปลูก

พอดีเห็นน้ำในแม่น้ำวังกำลังเอ่อ
ก็คิดว่า ถ้าน้ำมาปลาก็คงกินมดไปหมดแน่
ถ้าน้ำลด มดก็คงกินปลา เป็นธรรมชาติแล

น่าแปลกครับ ที่ มนุษย์รู้จักใช้อดีต ให้เป็นประโยชน์
แต่ยิ่งแปลกไปกว่า ถ้ามนุษย์ไม่รู้จักใช้อดีต ให้เป็นประโยชน์

ยุคตกต่ำของอาจารย์มหาวิทยาลัย

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์
สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์

โดย สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์

ไม่มียุคใดอีกแล้วที่อาจารย์มหาวิทยาลัยจะมีสถานภาพตกต่ำเช่นนี้ ท่านทราบหรือไม่ว่าปัจจุบันอาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับเงินเดือนเฉลี่ยต่ำกว่า ครูประถม มัธยมที่เคยมีเงินเดือนเท่ากันประมาณ 8%
สืบเนื่องมาจากที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) ได้ปรับระบบบริหารงานบุคคลจากระบบจำแนกตำแหน่ง(Position classification) หรือเรียกกันง่ายๆ ว่าระบบซี ซึ่งแบ่งเป็น 11 ระดับ มาเป็นการจัดประเภทตำแหน่งตามกลุ่มลักษณะงานหรือเรียกว่าระบบแท่ง ซึ่งแบ่งเป็น 4 แท่ง
ทุกหน่วยราชการ ซึ่งรวมทั้งคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.)ต่างก็ดำเนินการปรับระบบให้สอดคล้องกับระบบใหม่ที่ ก.พ.กำหนด
ขึ้น โดย ก.ค.ได้จัดทำแท่งบัญชีเงินเดือนข้าราชการครูคู่ขนานไปกับแท่งเงินเดือนข้า ราชการพลเรือน (ก.พ.)
แต่สำนักงานและคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ส.ก.อ.) หน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษาของประเทศ ซึ่งควรจะเป็นผู้นำในการปรับระบบให้สอดคล้องกับระบบที่ ก.พ.กำหนด กลับไม่ยอมดำเนินการใดๆ ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปเป็นปี จึงเพิ่งตื่น โดยการตั้ง ดร.วิจิตร ศรีสอ้านเป็นประธานอนุกรรมการศึกษาเรื่องนี้มีใครทราบบ้างไหมว่าปัจจุบัน อาจารย์มหาวิทยาลัยยังไม่มีแท่งบัญชีเงินเดือนเป็นของตัวเอง ส่วนอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีเงินเดือนตันในระบบซีได้ขยับขึ้นเงินเดือนในปี งบประมาณ 2544 นั้นเป็นเพราะไปอาศัยใบบุญของ ก.พ.โดยขออิงเงินเดือนของ ก.พ.ไปพลางๆ ก่อน
ข้าราชการพลเรือนได้ขยับเงินเดือนตามระบบแท่งไปล่วงหน้าเกือบ 2 ปีแล้ว แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยเพิ่งจะได้รับอานิสงส์นี้เมื่อเดือนตุลาคม 2553
ในขณะที่ครูประถม มัธยม ซึ่งมีลักษณะงานคล้ายกับอาจารย์มหาวิทยาลัย ได้ปรับขึ้นเงินเดือนไปแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554 ได้ปรับขึ้นไป 8% และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 ปรับขึ้นพร้อมกับข้าราชการอื่นๆ อีก 5%
ปัจจุบันครูประถม มัธยมจึงมีเงินเดือนเฉลี่ยสูงกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เคยมีเงินเดือนเท่า กันถึง 8%
หากอาจารย์มหาวิทยาลัยต้องการมีเงินเดือนเท่ากับครูประถมมัธยม เห็นทีคงจะต้องไปอาศัยใบบุญของ ก.ค.เหมือนกับที่เคยแอบอิงใบบุญของ ก.พ.มาแล้ว
อย่างนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่รู้สึกอายครูประถม มัธยม บ้างหรือ แทนที่สถาบันอุดมศึกษาซึ่งเต็มไปด้วยนักวิชาการควรจะต้องเป็นผู้นำของสังคม แต่กลับต้องคอยไปพึ่งใบบุญคนอื่นอยู่ตลอดเวลา
ไม่ทราบว่าผู้บริหารของ ส.ก.อ.ยังสุขสบายดีหรือ ท่านปล่อยให้เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และหากยังปล่อยให้เป็นเช่นนี้โดยไม่มีการแก้ไข ต่อไปจะหาคนเก่งที่ไหนมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
หากคนเก่งไม่ยอมมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแล้ว ท่านลองหลับตานึกเอาเองก็แล้วกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคุณภาพของบัณฑิตใน อนาคตทั้งนี้ เพราะถ้าผู้สอนมีความรู้น้อยแล้วจะเอาความรู้จากที่ไหนมาสอนนักศึกษา เนื่องจากไม่มีใครสอนได้มากกว่าที่รู้ประเทศในแถบตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นยุโรป หรืออเมริกาต่างก็ให้เงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาสูงกว่าอาชีพอื่นๆ ทั้งนี้ ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย
ที่ผ่านมาอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่เคยเรียกร้องใดๆ เลยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเงินเดือน แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยก็ไม่สมควรที่จะได้รับเงินเดือนน้อยกว่าครูประถม มัธยม
สถานภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยหากเปรียบเทียบกับข้าราชการอื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา อัยการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของรัฐบาล ยิ่งไม่อาจเปรียบเทียบกันได้เลย ทั้งนี้ เพราะเงินเดือนของอาจารย์มหาวิทยาลัยต่ำกว่าข้าราชการกลุ่มดังกล่าวชนิดมอง ไม่เห็นฝุ่น
มีใครทราบบ้างไหมว่าคนที่จบปริญญาเอกใหม่ๆ หากมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยจะได้รับเงินเดือนเพียงหมื่นเศษๆ เงินเดือนพอๆ กับพนักงานขับรถของบริษัท แล้วอย่างนี้คนเก่งที่ไหนจะอยากมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนในคณะนิสิตศาสตร์ซึ่งเรียนกฎหมาย มาเหมือนกับผู้พิพากษาและอัยการทำไมจึงได้รับเงินเดือนน้อยกว่าผู้พิพากษา และอัยการอย่างเทียบกันไม่ได้ คุณวุฒิของอาจารย์นิติศาสตร์ก็มิได้ด้อยไปกว่าผู้พิพากษาและอัยการเลยแม้แต่ น้อย
อาจารย์นิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จบปริญญาโทปริญญาเอกทั้งสิ้น และยังเป็นอาจารย์ที่สอนผู้พิพากษาและอัยการแต่กลับได้รับเงินเดือนต่ำกว่า ลูกศิษย์ที่ตัวเองเคยสอนมาแล้ว อย่างนี้จะไม่ให้อาจารย์รู้สึกน้อยใจได้อย่างไร
เช่นเดียวกัน อาจารย์แพทย์ และอาจารย์วิศวะ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเรียนยากกว่าสาขาอื่นๆ แต่อาจารย์แพทย์และวิศวะกลับได้รับเงินเดือนเท่ากับข้าราชการพลเรือนทั่วไป ซึ่งมีเงินเดือนต่ำกว่าผู้พิพากษาและอัยการ
ท่านทราบไหมว่าหากอาจารย์แพทย์และอาจารย์วิศวะไปทำงานในภาคเอกชนจะได้รับ เงินเดือนมากกว่าที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่าสามเท่า
แต่อาจารย์เหล่านี้กลับยอมเสียสละทำงานในมหาวิทยาลัย ยอมกัดก้อนเกลือกิน แต่ไม่เคยมีใครมองเห็นคุณงามความดีของอาจารย์มหาวิทยาลัยเหล่านี้เลย ปล่อยให้อาจารย์มหาวิทยาลัยมีเงินเดือนน้อยกว่าครูประถม มัธยมเหมือนเช่นทุกวันนี้
หรือจะต้องรอให้อาจารย์มหาวิทยาลัยลาออกไปขายกล้วยทอดกันให้เกือบหมด มหาวิทยาลัยเสียก่อน จึงจะมองเห็นความสำคัญของอาจารย์มหาวิทยาลัย
อนิจจาช่างน่าสงสารอาจารย์มหาวิทยาลัยเสียเหลือเกินที่อุตส่าห์เสียสละตัว เองมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยโดยหวังว่าจะเห็นความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน แต่ที่ไหนได้แม้กระทั่งตัวเงินเดือนก็ยังไม่อาจสู้ครูประถมได้
แล้วอย่างนี้จะให้อาจารย์มหาวิทยาลัยมีขวัญและกำลังใจในการทำงานต่อไปได้ อย่างไร อย่าปล่อยให้เรื่องเช่นนี้ดำรงอยู่อีกต่อไปเลย รีบแก้ไขโดยด่วนเถิดครับ

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=24757&Key=hotnews

http://www.etesting.ru.ac.th/boss&staff2.html

เล่นเฟซบุ๊คนาน อาจทำให้ผิดปกติทางจิต

สมาคมจิตวิทยาอเมริกา (American Psychological Assasociation) ได้นำเสนองานวิจัยโดยสำรวจพฤติกรรมของวัยรุ่นที่ใช้อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการเข้าไปดูกิจกรรมต่าง ๆ บนเว็บไซต์ facebook  พบว่า วัยรุ่นเล่น facebook มีทั้งข้อดีและข้อเสีย   แต่ถ้าหากปล่อย เล่น facebook มากเกินไปอาจส่งผลกระทบทางจิตใจหลายอย่างดังนี้
– เกิดอาการติด  หลงตัวเอง มีอารมณ์ก้าวร้าว
– ไม่มีสมาธิในการเรียน ขาดเรียนเพิ่มขึ้น ผลการเรียนแย่ลง
– วิตกกังวล ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า
– เสพติดอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน เช่น ติดแชต ติดเกม เป็นต้น
– ทำให้มีปัญหานอนดึกมากขึ้น พักผ่อนไม่เพียงพอ

แต่จากงานวิจัยนี้ก็ยังมีข้อดีเกี่ยวกับการใช้ facebook ด้วย คือการดูแลเอาใจใส่เพื่อน เห็นอกเห็นใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แม้ว่าเราจะอยู่ในที่ต่างกันไกลแค่ไหน ก็ยังสามารถติดต่อกันได้และเป็นการเรียนรู้การเข้าสังคมได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้จากการรวมกลุ่มทำกิจกรรมดีๆของชาว facebook บนโลกความเป็นจริงที่ รวบรวมสมาชิกทำเพื่อสังคมเป็นจำนวนมากได้ ซึ่งมีจำนวนกลุ่มมากมาย

ผู้ใหญ่ควรดูแลแนะนำเรื่องเนื้อหาที่เหมาะสมบนโลกอินเทอร์เน็ต ให้กับลูกๆ ให้รู้เนื้อหาไหนดีไม่ดี ควรและไม่ควรทำและต้องเรียนรู้ปรับเข้าหากิจกรรมทางสังคมออนไลน์กับลูกๆ เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมและชี้นำคอยตัดเตือนลูกๆด้วยไม่ให้ลูกหลงผิดจากโลกออ นไลน์ ส่วนเด็กๆวัยรุ่น ก็ควรแบ่งเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต สลับกับพบกับเพื่อนบนโลกแห่งความเป็นจริง รวมทั้งแบ่งเวลาให้กับการอ่านหนังสือการทบทวนเนื้อหาตำราด้วย ทั้งในหนังสือและเนื้อหาบนโลกอินเทอร์เน็ต วิธีนี้จะช่วยให้ผลการศึกษาที่ดีต่อลูกได้ด้วย

http://www.it24hrs.com/2011/facebook-teens-study/
http://mashable.com/2011/08/08/facebook-teens-study/

tweet มาก อาจทำสมาธิสั้น .. จริงหรือ

การทวิต หรือการรับส่งข้อความอันจำกัดปริมาณมาก โดยไม่มีการประมวลผล จะส่งผลทำให้สมาธิสั้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก เช่นที่ปรากฏในงานวิจัยของผู้เชี่ยวชาญจากสกอตแลนด์

ในยุคที่การไหลบ่าของเทคโนโลยีถาถั่งเข้าใส่ ผู้คน ตั้งแต่อินเทอร์เน็ต เอสเอ็มเอส ไฮไฟว์ มาถึงยุคทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก และแบล็กเบอร์รี่ จนก้าวตามแทบไม่ทัน มีงานวิจัยหนึ่งที่ชี้ว่าการเล่นสื่อไอทีเหล่านี้ หากไม่มีการประมวลผลแล้ว จะมีผลต่อการพัฒนาความจำ อันส่งผลต่อเนื่องทำให้สมาธิสั้นได้

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นของ ดร.เทรซีย์ อัลโลเวย์ (Dr.Tracy Alloway) นักจิตวิทยาที่เชี่ยวชาญด้านความจำระดับใช้งาน (Working Memory) เป็นความจำระยะสั้นชนิดหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยสเตอร์ลิง (University of Stirling) ประเทศสกอตแลนด์ ที่ฝึกเด็กที่เรียนช้าให้มีความจำระดับใช้งานที่ดีขึ้นและได้ผลเป็นที่น่าพอ ใจ มีพัฒนาการความจำระดับใช้งานที่ดีขึ้น โดยงานชิ้นนี้เผยให้เห็นว่ากระบวนการจำต้องมีทั้ง การจำ และ การประมวลผล

นอกจากนี้ งานวิจัยยังครอบคลุมไปถึงสังคมออนไลน์ในยุค 2009 ด้วย กรณีนี้การเล่นเกมซู โดกุ และการอัพเดทเฟซบุ๊ก จะใช้การประมวลผลต่างกับการเล่นทวิตเตอร์ และ ยูทู้บ ตลอดจนการส่งข้อความทั่วไปเป็นการได้ข้อมูลอย่างรวบรัดและเข้ามาเป็นปริมาณมาก ไม่ก่อให้เกิดการประมวลผล จึงไม่เกิดการพัฒนาความจำ ตรงกันข้ามข้อมูลปริมาณมากยังส่งผลให้สมาธิสั้นลง และทำให้สมองไม่สร้างการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท

ทวิตเตอร์ เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมีนาคม 2549 เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก ผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร เพื่อระบุว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ หรือทวีต (tweet) โดยข้อความอัพเดทที่ส่งเข้าไปยังทวิตเตอร์ จะแสดงอยู่บนเว็บเพจของผู้ใช้คนนั้นบนเว็บไซต์ และผู้ใช้คนอื่นสามารถเลือกรับข้อความเหล่านี้ได้หลายช่องทาง ปัจจุบันทวิตเตอร์มีหมายเลขโทรศัพท์สำหรับส่งเอสเอ็มเอสในสามประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหราชอาณาจักร ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมจากสังคมออนไลน์ในประเทศไทย โดยเฉพาะในหมู่เด็กวัยรุ่นและคนทำงาน

สุกรี พัฒนภิรมย์ นักวิชาการศูนย์เทคโนโลยีไทยกริดแห่งชาติ และผู้เชี่ยวชาญทวิตเตอร์ ไม่เชื่อว่าการเล่นทวิตเตอร์จะมีส่วนทำให้สมาธิสั้น สาเหตุของสมาธิสั้นอาจเกิดจากนิสัยดั้งเดิมตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือ ที่ถูกยัดเยียดให้เรียนเยอะ หรือทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน ตลอดจนการดูโทรทัศน์ที่ถูดยัดเยียดด้วยข้อมูลที่เปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็ว

“เวลาที่ผมต้องการสมาธิ ผมก็มีสมาธิอยู่กับมันได้นะ ส่วนงานวิจัยที่บอกว่าเล่นทวิตเตอร์แล้วสมาธิสั้น ผมว่ามันไม่เกี่ยวกัน หากจะสมาธิสั้นก็คงเริ่มตั้งแต่เรามีเพจเจอร์แล้ว ในมุมกลับกันผมว่าข้อความสั้นๆ ทำให้เราต้องใช้สมาธิในการอ่านให้ทัน แถมข้อความสั้นๆ ไม่เยิ่นเย้อสื่อสารกันเร็วดี ขึ้นอยู่กับว่าเราจะตอบสนองทันทีหรือไม่”

ตรงกันข้าม สุกรีกลับแสดงความเป็นห่วงการใช้ บีบี หรือแบล็กเบอรี่ (Black Berry : โทรศัพท์มือถือรุ่นที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้) มากกว่าการเล่นทวิตเตอร์ เพราะสร้างความคาดหวังให้มีการตอบสนองทันที หากไม่มีการตอบสนองก็อาจนำไปสู่การทะเลาะได้ เมื่อเราส่งข้อความไปทางบีบี จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าได้รับหรือยัง อ่านหรือยัง แล้วเหตุใดถึงไม่ตอบกลับมา จะสร้างความหงุดหงิดจนนำไปสู่การทะเลาะกันหลายรายแล้ว

ด้าน นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต และรองประธานมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มองว่า ปัจจุบันผลกระทบจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เด็กไทยสมาธิสั้นมากขึ้น ไม่จำกัดเพียงแค่ทวิตเตอร์เท่านั้น ยังรวมถึงการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ การแชทเอ็มเอสเอ็นด้วย เนื่องจากธรรมชาติของเทคโนโลยีมันจะเปลี่ยนแปลงความสนใจไปอย่างรวดเร็ว ทำให้คนเรามีความสามารถ หรือสมาธิในการแยกแยะข้อมูลได้ลดน้อยลง

การใช้ไอทีในรูปแบบนี้จะทำให้สมองเชื่อมโยง คิดวิเคราะห์ กระบวนการตอบโต้ไม่เป็นระบบ ดังนั้นจึงมีแนวคิดใหม่ที่จะไม่เอาระบบไอทีเข้าไปติดตั้งอยู่ในห้องเรียน ระดับอนุบาล เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องเสริมสร้างสมาธิ รู้จักรอคอย รู้จักแยกแยะ ควรเน้นการอ่านและการเขียนมากกว่า” นพ.ยงยุทธ กล่าว

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีมักเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีสิ่งใหม่ๆ มาทดแทนเสมอ นพ.ยงยุทธ จึงแนะนำว่า ควรสร้างภูมิต้านทานในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ด้วยการลดการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบันเทิง แต่เน้นเพื่อการเรียนรู้ให้มากขึ้น หากเด็กใช้ไอทีเพื่อความบันเทิง ผู้ปกครองต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด กำหนดเวลาเล่นให้ชัดเจน หากเป็นชั้นประถมก็วันละครึ่งชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมง ที่สำคัญไม่ควรให้เยาวชนใช้คอมพิวเตอร์ในพื้นที่ส่วนตัว เพราะอาจเข้าถึงเรื่องทางเพศ หรือความรุนแรงได้

“การดูแลวัยรุ่นเรื่องการใช้ไอที ผู้ปกครองต้องกำหนดกติกา และส่งเสริมให้ทำกิจกรรมทดแทน เช่น เข้าร่วมกิจกรรมวงโยธวาทิต จะทำให้เด็กสนใจไอทีน้อยลง เมื่อได้ทำกิจกรรมอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการและมีสมาธิมากขึ้น” นพ.ยงยุทธ กล่าว

เช่นเดียวกับ ดร.สุภาพร ธนะชานันท์ อาจารย์จากสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ (มศว) ยอมรับว่า ผลการวิจัยในต่างประเทศชี้ให้เห็นว่า สื่อรูปแบบต่างๆ มีอันตรายต่อเด็ก แต่สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กไม่ถูกสื่อครอบงำทำอันตรายได้ หากเด็กคนนั้นมีจิตใจ ความคิดแยกแยะสิ่งผิดถูกได้ และมีสิ่งแวดล้อมที่คอยปกป้องพวกเขา มีพ่อแม่ผู้ปกครองคอยดูแลและกำหนดเวลาการใช้อินเทอร์เน็ต หากไม่มีใครควบคุมเด็กสามารถเล่นอินเทอร์เน็ตได้ตลอดทั้งวัน อาจส่งผลเสียต่อเด็กได้

“ไม่โทษสื่อนะที่ทำให้เด็กได้รับผลกระทบต่างๆ แต่จะโทษผู้ดูแลสื่อมากกว่า อย่างที่อเมริกาเด็กๆ ของเขาจะไม่มีโอกาสได้เข้าไปในเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เขาจะห้ามจริงๆ มีการบล็อกไว้เลย ส่วนเด็กก็จะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ที่จะไม่เข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม แตกต่างกับเมืองไทยมาก” ดร.สุภาพร กล่าว

อย่างไรก็ดีผลการวิจัยที่อ้างถึงการเล่น ทวิตเตอร์ทำให้สมาธิสั้นนั้น ดร.สุภาพร บอกว่า การจะทำให้เชื่อได้ว่าคนมีสมาธิสั้นจากการเล่นทวิตเตอร์จริง หรือไม่ ต้องมีการทดลองก่อน คล้ายๆ กับการใช้โทรศัพท์ที่ถูกคาดเดาว่าทำให้สมาธิสั้น ซึ่งอาจไม่เป็นเรื่องจริง และเชื่อว่าเด็กที่เล่นอินเทอร์เน็ตเป็นล้านๆ คนในประเทศไทยไม่ได้สมาธิสั้นทุกคน แต่อาจเป็นคนส่วนน้อยเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

สมาธิสั้น เป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรม เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสมของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิ ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันกับระบบสั่งงานอื่นๆ อาการสมาธิสั้นในเด็กเล็กวัย 3-5 ขวบ จะแสดงอาการไม่อยู่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา มักพูดแทรกและขัดจังหวะคนอื่น เป็นคนอดทนรอไม่ได้

สำหรับอาการที่พบในเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปมี 3 กลุ่มอาการ คือ 1.ไม่มีสมาธิ ทำผิดพลาดสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ ทำงานช้า หากเป็นสิ่งที่สนใจมากๆ เช่น วิดีโอเกมหรือรายการโทรทัศน์ ก็อาจตั้งใจดูเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อเนื่องได้ 2.อาการอยู่ไม่สุข ชอบเดินไปมาในห้อง ถ้าไม่เดินก็จะนั่งไม่อยู่นิ่ง ไม่มีระเบียบในการทำสิ่งต่างๆ 3.ขาดความยับยั้งชั่งใจ อดทนรออะไรไม่ได้ มักพูดมาก พูดแทรก รอคอยไม่เป็น

http://www.tlcthai.com/facebook/twitter-%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%86-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88-%E0%B8%97/

มีจริงหรือ .. กับมนุษย์อย่างสตีฟ

reality distortion field
reality distortion field

สนามความจริงที่ถูกบิดเบือน (reality distortion field)
คือ การสร้างพื้นที่ที่ไม่มีจริงบนความ เชื่อว่าเป็นจริง

… พบในบทที่ 11 หนังสือสตีฟ จ็อบส์ โดยวอลเตอร์ ไอแซคสัน
เพราะสตีฟพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน
โดยเขาคิดบนฐานความไม่เป็นจริง อาศัยความเชื่อของตนเองเป็นใหญ่
จนทำให้คนอื่นคล้อยตาม
คำนี้พบในละครทีวีเรื่อง Star Trek
ข้อดีของความคิดแบบนี้ ทำให้เกิดนวัตกรรมโดดเด่นที่โลกต้องชื่นชม

ทำให้ผมนึกคำว่า
ถ้าจะหลอกศัตรู ก็ต้องหลอกพวกเดียวกันให้ได้ก่อน โดยเฉพาะตนเอง
หรือ
ตอบไม่ตรงคำถาม เพราะน้ำเต็มแก้ว จึงไม่สามารถรับเพิ่ม
http://elemris.com/reality-distortion-field-for-android/

มีจริงหรือ .. กับมนุษย์แบบนี้

สนามความจริงที่ถูกบิดเบือน (reality distortion field)
คือ การสร้างพื้นที่ที่ไม่มีจริงบนความ เชื่อว่าเป็นจริง

พบในบทที่ 11 หนังสือสตีฟ จ็อบส์ เพราะสตีฟพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน
โดยเขาคิดบนฐานความไม่เป็นจริง อาศัยความเชื่อของตนเองเป็นใหญ่
แล้วทำให้คนอื่นคล้อยตาม
คำนี้พบในละครทีวีเรื่อง Star Trek
ข้อดีของความคิดแบบนี้ ทำให้เกิดนวัตกรรมโดดเด่นที่โลกต้องชื่นชม

ทำให้ผมนึกคำว่า
“ถ้าจะหลอกศัตรู ก็ต้องหลอกพวกเดียวกันให้ได้ก่อน โดยเฉพาะตนเอง”
หรือที่เขาพูดว่า
“ตอบไม่ตรงคำถาม เพราะมีอะไรในใจแล้ว จึงไม่สนใจสิ่งที่เข้ามา”
หรือ
“การคิดว่าตนถูก บนสถานการณ์ที่คิดว่าใช่ โดยไม่ฟังความจริงที่เกิดขึ้น”

ความคิดเรื่องญาณหยั่งรู้ของสตีฟ จ็อบส์

จากหนังสือ steve jobs by walter isaacson
บทที่ 4 หน้า 54 “Atari และ อินเดีย”
“วิธีคิดแบบใช้เหตุผล ไม่ใช่สิ่งที่มีติดตัวมากับมนุษย์ มันเกิดจากการเรียนรู้ และเป็นความสำคัญอันยิ่งใหญ่ของอารยธรรมตะวันตก คนในหมู่บ้านชนบทอันห่างไกลในอินเดีย ไม่มีใครเรียนเรื่องแบบนี้ เขาเรียนเรื่องอื่น ซึ่งบางทีก็มีค่ามาก แต่บางทีก็ไม่มีประโยชน์เลย นั่นคือพลังแห่งสัญชาตญาณและปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติ”

“The people in the Indian countryside (ชนบท) don’t use their intellect (ปัญญา) like we do, they use their intuition (ญาณหยั่งรู้) instead, and their intuition is far more developed than in the rest of the world. Intuition is a very powerful thing, more powerful than intellect, in my opinion. That’s had a big impact on my work.”

จากประโยคข้างต้น
ผมว่า สตีฟ จ็อบส์ เห็นการพัฒนาญาณหยั่งรู้ของคนตะวันออก มากกว่าแค่ปัญญา หรือการใช้เหตุผลอย่างที่คนตะวันตกใช้

intuition
intuition

http://articles.economictimes.indiatimes.com/2011-10-25/news/30320340_1_delhi-belly-intuition-indian-villages