โลกเรามีกฎหมายการฆ่าตัวตายด้วยความช่วยเหลือทางการแพทย์

What dream may come
What dream may come

ข้อมูลจาก voicetv.co.th
ผลวิจัยล่าสุด ที่มีการสำรวจใน 12 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับกฎหมายอนุญาตให้มีการฆ่าตัวตาย โดยใช้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ สอดคล้องกับความคิดเห็นของประชากรจำนวนมากในสหรัฐฯ ที่ในระยะหลัง เริ่มมีการผลักดันในเรื่องนี้มากขึ้น และตอนนี้ ก็มีหลายมลรัฐในสหรัฐฯที่ผ่านกฎหมายรับรองเรื่องนี้แล้ว เช่น โอเรกอน วอชิงตัน มอนทานา และเวอร์มอนท์
http://shows.voicetv.co.th/voice-world-wide/115845.html

ข่าวนี้ดูขัดกับภาพยนตร์เรื่อง What Dreams May Come (film)
http://en.wikipedia.org/wiki/What_Dreams_May_Come_%28film%29

เราจะพาไปที่เมืองซูริกของสวิตเซอร์แลนด์ ดินแดนที่ได้ชื่อว่ามีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเพื่อขอรับความช่วยเหลือทางการแพทย์ในการฆ่าตัวตาย มากที่สุดในโลก โดยนักท่องเที่ยวเหล่านี้เลือกที่จะเดินทางมาเพื่อจบชีวิตตัวเองอย่างสงบ

ปัจจุบัน กฎหมายการฆ่าตัวตายด้วยความช่วยเหลือทางการแพทย์หรือ Assisted Suicide ของสวิตเซอร์แลนด์ยังคงมีเนื้อหาที่ไม่ชัดเจน และยังไม่มีการฟันธงว่า การกระทำดังกล่าว ผิดกฎหมายหรือไม่ ทำให้ชาวยุโรปจำนวนมาก ที่ต้องการจะจบชีวิตลงด้วยการใช้การช่วยเหลือทางการแพทย์ เลือกที่จะเดินทางมายังเมืองซูริก เมืองท่องเที่ยวชื่อดังของสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้หลายคนเรียกนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ว่า suicide tourist หรือนักท่องเที่ยวที่มาเพื่อฆ่าตัวตาย

ผลวิจัยจาก Institute of Legal Medicine ในเมืองซูริก ซึ่งเพิ่งมีการตีพิมพ์ออกมาในนิตยสารทางการแพทย์เมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า ในช่วงระหว่างปี 2551-2555 มีนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังซูริก เพื่อฆ่าตัวตายโดยขอความช่วยเหลือทางการแพทย์แล้วกว่า 611 คน โดยคนกลุ่มนี้เดินทางมาจาก 31 ประเทศทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่มาจากเยอรมนี และสหราชอาณาจักร

ในจำนวนของผู้ที่มาขอรับการฆ่าตัวตาย ด้วยความช่วยเหลือทางการแพทย์ทั้ง 611 คนนี้ เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 23-97 ปี ทำให้ค่าเฉลี่ยของอายุอยู่ที่ 69 ปี และเป็นผู้หญิงถึงร้อยละ 58 โดยเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่มาขอความรับความช่วยเหลือเพื่อฆ่าตัวตายนั้น เป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาท นอกจากนั้น ก็มีโรคมะเร็ง โรคไขข้ออีกเสบ และโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งส่วนมากล้วนแล้วแต่เป็นผู้ป่วยที่มีอาการลุกลาม และยากที่จะรักษาให้หายได้

โดยองค์กร DIGNITAS ซึ่งเป็นองค์กรสนับสนุนสิทธิเหนือร่างกายของมนุษย์ ในการที่จะจบชีวิตลงอย่างสงบ ด้วยการฆ่าตัวตายโดยขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ ก็เปิดเผยว่า กลุ่มคนไข้เหล่านี้ จะได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดีจากโรงพยาบาล และเมื่อมาถึงวันที่กำหนด จะให้มีการฆ่าตัวตาย เจ้าหน้าที่จะให้ดื่มยาที่มีฤทธิ์กดประสาท และมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทุกข์ทรมาน แต่จะค่อยๆหยุดหายใจจนจบชีวิตลงในที่สุด

ซึ่งวิธีการดังกล่าวได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้ป่วยอาการโคม่าในสวิตเซอร์แลนด์ ไม่ต่างอะไรจากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมาเมืองซูริกเพื่อจบชีวิตของตนเอง โดยในปี 2551 นั้น มีนักท่องเที่ยวที่มาขอรับความช่วยเหลือทางการแพทย์เพื่อการฆ่าตัวตายมากถึง 123 คน และลดลงเหลือ 86 คนในปีถัดมา แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่า ในช่วงปี 2552 จนถึงปี 2555 จำนวนนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเป็น 172 คนเลยทีเดียว

ทั้งนี้ กฎหมายของสวิตเซอร์แลนด์ไม่ได้เขียนไว้อย่างแน่ชัดว่า ผู้ป่วยที่มีอาการถึงขั้นไหน ที่จะสามารถขอรับความช่วยเหลือทางการแพทย์เพื่อการฆ่าตัวตายได้ โดยเปิดโอกาสให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นผู้ที่ตัดสินใจในเรื่องนี้ ส่วนในสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และฝรั่งเศส การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย

Author: burin

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply