ลงทะเบียนออนไลน์ร่วมกิจกรรม (itinlife530)

สิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy)
สิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy)

ประชาชนในประเทศไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากกว่าร้อยละ 80 เช่น อินเทอร์เน็ต หรือโทรศัพท์ ยิ่งเข้าถึงมากก็ยิ่งมีปัญหามาก จนภาครัฐต้องออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อกำหนดบทลงโทษผู้กระทำผิด เช่น พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีอาจมีเพื่อการค้า บันเทิง  การศึกษา และการสื่อสาร การจัดกิจกรรมของหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนต่างก็หันมาใช้เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ ไอจี ยูทูป หรือไลน์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เก็บข้อมูลจากผู้ใช้ บางท่านอาจมองข้อมูลที่มีปริมาณมากเป็นเสมือนเหมืองข้อมูล (Data mining) ดังที่อาจารย์อนุชิต เคยกล่าวว่า การศึกษาข้อมูลจากอดีตนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อทำนายรูปแบบในอนาคต

มีกิจกรรมมากมายทั้งระดับองค์กร จังหวัด หรือประเทศที่เปิดให้บุคคลลงทะเบียนออนไลน์ มีการสอบถามข้อมูลทั้งเลขที่บัตรประชาชน ชื่อ สกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด อายุ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล หรือขนาดเสื้อ เพื่อนำข้อมูลไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ เช่น ใช้จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ใช้เตรียมของสมนาคุณ ใช้เลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ใช้เพื่อให้ฝ่ายขายติดต่อไป หรือนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง จนมีการร้องเรียนเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว (Privacy) ประเด็นนี้เยาวชนไทยให้ความสำคัญกับการปกป้องความเป็นส่วนตัวของตนน้อย ดังที่ อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย ได้นำเสนอบทความเรื่อง Information Ethics and Behaviors of Upper Secondary Students Regarding the Use of Computers แล้วได้ผลการทดสอบสมมติฐานว่านักเรียนมัธยมปลายในลำปางให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตน้อยกว่าจริยธรรมสารสนเทศในด้านอื่น

ได้เห็นหน่วยงานบางแห่งจัดกิจกรรมสอบถามข้อมูลของผู้เข้ามาร่วมกิจกรรม ได้นำไปเปิดเผยในหลายลักษณะ ทั้งผ่านอินเทอร์เน็ต หรือพิมพ์ติดไว้ตามบอร์ดประชาสัมพันธ์ เชื่อได้ว่ามีเจตนาดี แต่พบว่าข้อมูลหลายรายการควรเป็นความลับที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาจไม่ประสงค์ที่จะเปิดเผย เพราะอาจถูกผู้ไม่หวังดีนำไปใช้ในทางมิชอบ หากไม่มีใครทักท้วงก็จะเกิดการทำซ้ำ เป็นความเคยชินให้เห็นต่อไป หากท่านตระหนักถึงปัญหา และเกี่ยวข้องในการเผยแพร่ก็เสนอให้พูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องทำความเข้าใจ เพื่อจะได้หยุดการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นในที่สาธารณะโดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เช่น วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมล สรุปว่าการเผยแพร่สามารถทำได้แต่ต้องมีการควบคุมด้วยความเข้าใจ เพราะสิทธิความเป็นส่วนตัวเป็นประเด็นจริยธรรมสารสนเทศหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ

ตัวอย่างเรื่องการให้ข้อมูลกับคนแปลกหน้า ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ต้องระวังเช่นกัน
กรณีตัวอย่าง The Dangers Of Social Media (Child Predator Social Experiment) Girl Edition


คืน 12 ธ.ค.58 มีกิจกรรมเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์
เทียบเรื่องพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงต่อเหล้าและบุหรี่
ซึ่งสัมภาษณ์รอบแรก กับรอบสองมีประเด็นปัญหาเยอะ
ต้องใช้รอบสาม เพื่อยืนยันข้อมูลร่วมกันใหม่
สรุปว่าได้ข้อสรุปที่น่าพึงพอใจมาล่ะ
จากการดำเนินการที่โบราณเรียกว่า ป่าล้อมเมือง
เป็นผลของการตีฆ้องร้องป่าว โดยทีม อสม.
ปล. เรื่องนี้ก็มีประเด็น privacy เข้ามาเฉียดด้วย

Author: burin

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply