วัดจำนวน Talking About This แทน Like ใน FB ดีกว่าไหม

เลิกวัดจำนวน Like ใน FB มาสนใจจำนวน Talking About This ดีกว่า
เลิกวัดจำนวน Like ใน FB มาสนใจจำนวน Talking About This ดีกว่า

http://www.zocialrank.com/facebook/

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ (ป้อม)
ได้เขียนบทความเกี่ยวกับความต่างของ like และ talking ไว้น่าสนใจ

ถ้าพูดถึงคำว่าไลค์ (Like) หรือ “ชอบ” ทุกวันนี้ทุกคนก็จะนึกถึง Facebook ใช่ไหมครับ บทความนี้หลายคนอาจจะแปลกใจว่า เอ…ทำไมวันนี้ผมมาแปลก ที่เชิญชวนให้มาหยุดล่าคนกดไลค์ แล้วอย่างงี้เราจะทำธุรกิจได้อย่างไร ถ้าไม่มีไลค์เราจะทำธุรกิจบนเฟสบุ๊ค ได้อย่างไร? วันนี้ผมมีคำอธิบายครับ

ปัจจุบันธุรกิจร้านค้าต่างๆ ในเมืองไทย ต่างหันเข้ามาใช้เฟซบุ็ค เป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและเป้าหมายกันอย่างมาก โดยตัวเลขที่ใช้วัดว่า เฟซบุ็คของธุรกิจคุณมีคนนิยมเข้ามาใช้บริการ ก็คือ จำนวนคนกดไลค์ (Like)  หรือ “ชอบ” ยิ่งมีคนไลค์มากเท่าไร ยิ่งทำให้ธุรกิจคุณสามารถเข้าถึงและสื่อสารกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจได้มากขึ้นเท่านั้น บางแห่งเริ่มนำมาใช้เป็นตัวเลขวัดผลความประสบความสำเร็จของการทำการตลาดผ่านทางเฟซบุ็ค โดยวัดผลกับเฟซบุ็ค ของคู่แข่ง  จึงทำให้ ตอนนี้บริษัทหรือธุรกิจต่างๆ หันมาสร้างหรือไล่ล่า จำนวนไลค์กัน อย่างไม่ลืมหูลืมตา โดยไม่สนว่าคนที่เข้ามากดไลค์จะเป็นกลุ่มเป้าหมายของเราหรือไม่ก็ตาม

โดยตอนนี้เฟสบุ๊คเพจของคนไทยที่มีจำนวนคนกดไลค์ที่มากกว่า 2 ล้านคน มีทั้งหมด 3 เพจ และมีคนกดไลค์มากกว่า 1 ล้านคน ทั้งหมด 20 เพจ (อ้างอิงจาก http://zocialrank.com/facebook) แต่คุณเชื่อไหมครับว่า หากมองย้อนกลับไปเมื่อต้นปี 2012 ที่ผ่านมา หรือ 6-7 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยมีเฟสบุ๊คเพจที่มีจำนวนคนกดไลค์มากกว่า 1 ล้านคน เพียงแค่ 2 เพจเท่านั้น นั้นก็คือเฟซบุ็คเพจของ คุณตัน อิชิตัน และ วงดนตรีบอดี้สแลม แต่ทำไมผ่านไปเพียงไม่กี่เดือนกลับมีเฟซบุ๊กเพจที่มีจำนวนคนกดไลค์มากว่าล้านเพิ่มขึ้นมากกว่า 20 เพจเลยทีเดียว มันเกิดอะไรขึ้น

ด้วยตัวเลขคนกดไลค์เยอะมากขึ้น ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยนิยมใช้เฟสบุ๊คมากขนาดไหน โดยเฉพาะชาวกรุงเทพฯ ที่ติดลำดับเมืองที่มีประชากรใช้เฟสบุ๊คมากที่สุดในโลก แต่การที่มีประชากรใช้เฟสบุ๊คเยอะ ก็ไม่จำเป็นที่เฟสบุ๊คเพจต่าง ๆ จะมีจำนวนการเติบโตสูงตามไปด้วย แล้วปัจจัยอะไรละ? ที่ทำให้เฟสบุ๊คเหล่านั้นเติบโตด้วยยอดไลค์สูงได้ขนาดนั้น


ถูกพูดถึงเท่าไร (Talking About) คือ  สิ่งที่คุณควรสนใจมากว่า

เฟสบุ๊คเองได้มองเห็นปัญหาของการไล่ล่าให้คนกดไลค์กันอย่างบ้าคลั่งอย่างไร้เหตุผล เฟสบุ๊คจึงกำหนดค่าตัวเลขใหม่ขึ้นมา ที่ชื่อว่า “ถูกพูดถึง (Talking about this)” ซึ่งค่าของตัวเลขนี้จะมาจาก จำนวนคนที่เข้ามาส่วนร่วม (Engage) หรือมีกิจกรรมกับเฟซบุ๊คเพจของคุณ เช่น การเข้ามากดไลค์ในแต่ละข้อความ, การแชร์ (Share) หรือแบ่งปันข้อความของคุณออกไป, การเข้ามาโต้ตอบ หรือเขียนข้อความลงในหน้าเฟซบุ๊คเพจของคุณ หรือเข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่คุณมีในเฟซบุ็คของคุณ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะทำให้ค่าของ “ถูกพูดถึง (Talking about this)” เพิ่มมากขึ้น
นั้นหมายความว่า ถ้าเฟซบุ็คเพจไหนมีจำนวนคนกดไลค์เยอะ แต่ค่าตัวเลข “ถูกพูดถึง (Talking about this)“ ต่ำ นั้นแสดงว่าเฟซบุ๊คเพจนั้นๆ ไม่ได้รับความสนใจจากสมาชิกในเพจนั้นๆ นั้นหมายถึงคุณพูดหรือสื่อสารอะไรออกไป ก็ไม่มีคนเห็น ไม่มีคนดู ซึ่งมันหมายถึงประสิทธิภาพในการสื่อสารไปยังลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายก็น้อยลงด้วยเช่นกัน  ซึ่งวิธีการที่จะดูตัวเลข ”ถูกพูดถึง (Talking about this)”  ก็สามารถเข้าดูได้ที่หน้าเฟซบุ๊คเพจของคุณ มันจะอยู่ข้างๆ ตัวเลขไลค์ ด้านบนครับ

http://www.pawoot.com/like-and-who-talking-about

ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ล้นตลาด ต้องการวิทยาศาสตร์/วิศวกรรมศาสตร์/คอมพิวเตอร์

asean jobs
asean jobs

http://news.voicetv.co.th/thailand/60043.html
กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศ
รัฐบาลจะส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์
เนื่องจากตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศต้องการ
ขณะที่บุคลากร ด้านครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ล้นตลาดแล้ว

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ระบุถึง ผลกระทบของการเปิดประชาคมอาเซียนต่อระบบการศึกษาไทย
ว่าหลังจากนี้ การผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงานด้วย

ซึ่งขณะนี้กำลังต้องการ ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์
ส่วนด้านครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์  มีจำนวนมากกว่าความต้องการของตลาดแรงงานแล้ว
จึงทำให้บัณฑิตที่จบในสาขาดังกล่าว สูญเสียโอกาสในการทำงาน

เนื่องจากแต่ละปี มีบัณฑิตด้านครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์จบการศึกษา  4 – 5 หมื่นคน
โดยปีการศึกษา 2555  มีการรับนักศึกษาใหม่ใน 2 สาขาดังกล่าวเกือบ 1 แสนคน
แต่เมื่อเปรียบเทียบกับยอดการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ทำให้เห็นว่า จำนวนดังกล่าวล้นความต้องการของตลาดแล้ว
เช่น ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปีล่าสุด ทั่วประเทศมีการเปิดบรรจุ 1,500 อัตรา
มีผู้สมัครสอบเกือบ 2 แสนคน จึงทำให้มีบัณฑิตตกงานจำนวนมาก

นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ยังมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มี 7 สาขาวิชาชีพ

1. วิศวกรรม (Engineering Services)
2. พยาบาล (Nursing Services)
3. สถาปัตยกรรม (Architectural Services)
4. การสำรวจ (Surveying Qualifications)
5. แพทย์ (Medical Practitioners)
6. ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
7. บัญชี (Accountancy Services)

สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้
โดยให้ศึกษารายละเอียด เช่น ใบอนุญาตการทำงาน ภาษาถิ่น และกฎหมายแรงงานของประเทศนั้น

ทั้งนี้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ยังระบุอีกว่า
นอกจากความต้องการให้บัณฑิตมีงานทำตรงกับสาขาที่เรียนแล้ว
รัฐบาลยังเปิดกองทุนตั้งตัวได้ เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตใหม่ ที่จบการศึกษาไม่เกิน 5 ปี
สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ ซึ่งขณะนี้เปิดรับสมัคร  ผ่านศูนย์บ่มเพาะใน 56 แห่งทั่วประเทศ
โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และไม่มีกำหนดการปิดรับสมัคร
+ http://education.kapook.com/view54072.html

+ http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=29610&Key=hotnews

+ http://www.thaiall.com/asean/

คาถาชีวิต ของ วิกรม กรมดิษฐ์

คาถาชีวิต ของ วิกรม กรมดิษฐ์
คาถาชีวิต ของ วิกรม กรมดิษฐ์

ได้หนังสือ คาถาชีวิต ของ คุณวิกรม กรมดิษฐ์ (เกิด 2496) มา 1 เล่ม
เป็นฉบับพิมพ์ครั้งแรก ธันวาคม 2555 จำนวน 1 ล้านเล่ม
ซื้อจาก 7-eleven ตรงข้ามตลาดน้ำโท้ง เล่มละ 20 บาท
ในเล่มระบุราคา 100 บาท แต่ขายเพียง 20 บาทครับ
ที่สนใจหนังสือเล่มนี้ เพราะผู้ใหญ่เล่าให้ฟังในวันที่ 28 ธันวาคม 2555
จากตอนหนึ่งในโอวาทที่ผู้ใหญ่ให้ไว้ในงานเลี้ยงส่งท้ายปีเก่า
โดยหัวข้อที่หยิบมาขยายความคือหน้า 27

ยอมจำนนกับอดีต แต่ไม่ยอมแพ้กับอนาคต

เพราะอดีตที่ผ่านมาไม่สามารถที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
เราต้องกล้ารับผิดชอบ แต่อนาคตเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
เราต้องมีความมุ่งมั่น อดทน อย่ายอมแพ้ง่าย ๆ

http://www.vikrom.net/

ซึ่งหนังสือที่ได้มาผมเข้าไปถาม 7-eleven เป็นร้านที่ 3 จึงได้มา
คาดว่าระแวกร้านของ 2 ร้านแรกมีนักเดินทางผ่านไปมาบ่อย
ทำให้หนังสือหมดเร็วมาก
เพราะพนักงานก็บอกว่าหนังสือขายดีมาก สั่งเพิ่มแล้วก็ยังไม่ได้

หนังสือเล่มนี้ คุณวิกรม กรมดิษฐ์ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือเล่มล่าสุด ‘คาถาชีวิต
วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2555 หนังสือว่าด้วยเรื่องราวของความคิด
อันผ่านการเพาะบ่มจากประสบการณ์และวันเวลา
บริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (สี่แยกปทุมวัน)

60 วลี หรือคาถาชีวิต ที่ http://www.thaiall.com/blog/admin/4718/

อาจารย์มหาวิทยาลัย .. ลูกเมียน้อยในกระทรวงศึกษาธิการ

อาจารย์มหาวิทยาลัย กับครูประถม
อาจารย์มหาวิทยาลัย กับครูประถม

มติชนรายวัน 4 ธ.ค.55
โดย สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354609254&grpid&catid=02&subcatid=0207

เกือบทุกครั้งที่มีการปรับคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด รัฐมนตรีที่เป็นเป้าหมายจะต้องถูกปรับ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 มาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาแล้ว 52 คน ในขณะที่มีนายกรัฐมนตรี 28 คน

ผู้บริหารประเทศ มักจะพูดเสมอว่า กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่มีความสำคัญ แต่ในความเป็นจริงมักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับกระทรวงนี้เท่าที่ควร ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ กระทรวงมหาดไทย คมนาคม เกษตรและสหกรณ์ และพาณิชย์ มากกว่า

ในอดีตกระทรวงศึกษาธิการถูกมองว่าเป็นกระทรวงเกรดซี แต่ปัจจุบันปรับขึ้นมาเป็นกระทรวงเกรดบี เหตุที่ปรับก็เพราะกระทรวงนี้มีบุคลากรและงบประมาณมาก เป็นฐานเสียงสำคัญของนักการเมือง

การปรับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ผ่านมาก็เช่นกัน กระทรวงที่หนีไม่พ้นที่จะต้องถูกปรับก็คือกระทรวงศึกษาธิการอีกเช่นเคย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบันชื่อพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตเคยเป็นผู้พิพากษามาก่อน ส่วนรัฐมนตรีช่วยว่าการชื่อเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ซึ่งเคยเป็นเบอร์หนึ่งของกระทรวงมหาดไทย

รัฐมนตรีทั้งสองท่านไม่เคยเป็นครูหรือทำงานด้านการศึกษามาก่อน แต่นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ เรื่องสำคัญก็คือท่านทั้งสองตั้งใจจะมาอยู่กระทรวงนี้จริงแค่ไหน ท่านมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและแก้ปัญหาการศึกษาของชาติจริงจังมากน้อยเพียงใด หรือมาเพื่อเป็นที่พักพิงชั่วคราวเพื่อรอข้ามไปอยู่กระทรวงอื่น

สิ่งหนึ่งที่อยากจะขอฝากรัฐมนตรีว่าการ (คุณพงศ์เทพ) ก็คือขอให้ช่วยดูแลอาจารย์มหาวิทยาลัยบ้าง อย่าให้อาจารย์มหาวิทยาลัยรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจจนลาออกไปขายเต้าฮวยกันหมด

ท่านรัฐมนตรีทราบหรือไม่ว่า ปัจจุบันอาจารย์มหาวิทยาลัยได้เงินเดือนน้อยกว่าครูประถม พูดไปก็แทบไม่มีใครเชื่อ แต่ความจริงเรื่องนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย ครูประถมได้เงินเดือนมากกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัย 8% ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2553 มาถึงวันนี้ก็กว่า 2 ปีแล้ว

คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ซึ่งดูแลอาจารย์มหาวิทยาลัยยังสบายดีอยู่หรือ ท่านปล่อยให้เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นมานานกว่า 2 ปีได้อย่างไร ท่านไม่คิดจะดำเนินการแก้ไขอะไรเพื่อพิทักษ์สิทธิของอาจารย์มหาวิทยาลัยบ้างเลยหรือ

อีกเรื่องหนึ่งที่ครูประถม/มัธยมสังกัด สพฐ.ก้าวล้ำอาจารย์มหาวิทยาลัยไปอีกก้าวหนึ่ง ก็คือเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 ครม.มีมติเห็นชอบร่างกฎ กคศ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือขั้นต่ำกว่า หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ (ฉบับที่) พ.ศ…………ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาร่างกฎ กคศ. ฉบับดังกล่าวเสร็จแล้ว รอ ศธ.แจ้งยืนยัน และจะได้นำเรื่องนี้แจ้งให้ ครม.รับทราบเพื่อรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สาระสำคัญของร่างกฎ กคศ.ดังกล่าวก็คือ ข้าราชการครูที่ได้รับเงินเดือนอันดับ คศ.2 ในขั้นสูงสุด สามารถเลื่อนอันดับเงินเดือนไปที่ คศ.3 ได้เลย จากเดิมการจะเลื่อนอันดับเงินเดือนแต่ละ คศ.ได้จะต้องผ่านการเลื่อนและประเมินวิทยฐานะตามที่กำหนดไว้เท่านั้น

เช่นเดียวกันผู้ที่ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของ คศ.3 จะเลื่อนไปรับเงินเดือนในอันดับ คศ.4 และผู้ที่ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของ คศ.4 ก็จะได้เลื่อนไปรับเงินเดือนในอันดับ คศ.5 ซึ่งเป็นการเลื่อนโดยอัตโนมัติไม่ต้องทำผลงานใด ๆ ทั้งนี้ ให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่ 1 เมษายน 2554

สิ่งนี้ต้องขอชื่นชม กคศ. (คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) ด้วยความจริงใจ เพราะเป็นการดูแลสิทธิประโยชน์ให้กับครูสังกัด สพฐ. ทำให้ครูมีขวัญกำลังใจในการทำงาน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้คนเก่งหันมาเป็นครูมากขึ้น

ข้าราชการพลเรือนก็มี ก.พ. (คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน) คอยดูแลและพิทักษ์สิทธิของข้าราชการ เมื่อต้นปี 2555 ที่ผ่านมา ก.พ.ได้ปรับเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบไปประมาณ 8% แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยก็ไม่ได้รับอานิสงส์นี้แต่อย่างไร เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน

อาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยมี กกอ.(คณะกรรมการการอุดมศึกษา) เป็นผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ของอาจารย์มหาวิทยาลัย

แต่ที่ผ่านมา กกอ. แทบจะไม่เคยทำหน้าที่ในการพิทักษ์สิทธิของอาจารย์มหาวิทยาลัยเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินเดือนที่ยังน้อยกว่าครูประถมถึง 8% หรือเรื่องเงินเดือนของครูสังกัด สพฐ.ที่สามารถไหลข้ามแท่งได้

นั่นคือหากอาจารย์มหาวิทยาลัยมีเงินเดือนตัน (ขั้นสูงสุด) อยู่ในแท่งเงินเดือนใดก็ยังไม่สามารถไหลข้ามแท่งได้ เช่น เงินเดือนตันในแท่งผู้ช่วยศาสตราจารย์จะไม่สามารถเลื่อนไหลไปรับเงินเดือนในแท่งรองศาสตราจารย์ได้

ท่านคิดว่าอย่างนี้มันยุติธรรมสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยหรือ กกอ. เคยคิดจะทำอะไรเพื่ออาจารย์มหาวิทยาลัยบ้างไหม ถ้ายังคิดไม่ออกไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร อยากแนะนำให้ไปลอกของ กคศ. และไม่ควรออกมาแก้ตัวว่ากำลังดำเนินการอยู่ เพราะเรื่องเงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยน้อยกว่าครูประถม 8% ก็ยังไม่เห็นได้ดำเนินการอะไรเลย

จริง ๆ แล้วสถาบันอุดมศึกษาควรจะเป็นผู้นำในเรื่องนี้เสียด้วยซ้ำ แต่กลับกลายเป็นว่าสถาบันอุดมศึกษาจะต้องคอยวิ่งไล่ตามก้นครูประถมอยู่ร่ำไป

เรื่องน่าเศร้าที่ไม่อยากพูดอีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องโบนัสสำหรับข้าราชการ จริงๆ แล้วไม่อยากให้เรียกว่าเงินโบนัส แต่อยากให้เรียกว่าเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้มากกว่า

ท่านทราบไหมว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยระดับรองศาสตราจารย์ (ซี 9 เดิม) ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดี ได้รับเงินโบนัสปีละประมาณ 3,000- บาท (สามพันบาทถ้วน) เฉลี่ยแล้วปีหนึ่งได้รับโบนัสไม่ถึง 2 วัน ในขณะที่ครูประถมสังกัดเทศบาล หรือ อบต.บางแห่งได้รับโบนัสกันปีละ 2 เดือน ส่วนพนักงานรัฐวิสาหกิจและบริษัทหลายแห่งรับโบนัสกันปีละ 2 เดือน 3 เดือนบ้าง บางแห่งสูงถึง 9 เดือนก็มี แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับโบนัสเพียง 2 วัน แล้วอย่างนี้ยังจะให้เรียกว่าโบนัสอีกหรือ

หรือจะให้อาจารย์มหาวิทยาลัยย้ายไปสังกัด กคศ. เพื่อว่าต่อไปอาจารย์มหาวิทยาลัยจะได้มีชีวิตที่ดีขึ้นและมีความก้าวหน้าทัดเทียมกับครูประถมกันเสียที

มีเรื่องน่าสนใจอื่น ๆ อาทิ

อันดับการศึกษาของไทยในเวทีโลกยังไม่สุดท้ายซะทีเดียว .. 37 จาก 40

English Proficiency Index เมื่อปี 2554 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 42 จากทั้งหมด 44 ประเทศ และปี 2555 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 53 จากทั้งหมด 54 ประเทศ

ผลการจัดอันดับในสื่อ (itinlife 367)

อันดับการศึกษาของไทยในเวทีโลกยังไม่สุดท้ายซะทีเดียว .. 37 จาก 40

Education changing in thailand วาระแห่งชาติ เล่มที่ 1 การปฏิรูปการศึกษา : วาระแห่งชาติ จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สู่การปฏิบัติ ยุทธศาสตร์ที่จะพาประเทศพ้นวิกฤต .. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ [974-241-263-4]

พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม
http://www.sesa10.go.th/sesa10/data/mar55/2.pdf

http://www.scribd.com/doc/115003666

29 พ.ย.55 ฟินแลนด์และเกาหลีใต้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก เป็นอันดับหนึ่งและสองตามลำดับ ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว จากการจัดอันดับโดยบริษัทด้านการศึกษาชื่อดังจากสหรัฐฯ “เพียร์สัน

thailand 37 from 40
thailand 37 from 40

การจัดอันดับ ใช้การรวบรวมข้อมูลจากผลการสอบในระดับนานาชาติและข้อมูล เช่น อัตราการศึกษาในระหว่างปี 2006 และ 2010  เซอร์ไมเคิล บาร์เบอร์ หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาด้านการศึกษาของเพียร์สัน เปิดเผยว่า ประเทศที่ติดในอันดับที่ดีส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับ ครูผู้สอน รวมถึงการมีวัฒนธรรมด้านการศึกษาที่ดี

ตามหลังฟินแลนด์และเกาหลีใต้ ประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในอันดับที่ 3-5 นั้น ล้วนมาจากเอเชียทั้งสิ้น ได้แก่ ฮ่องกง (จีน) อันดับ 3, ญี่ปุ่น อันดับ 4 และ สิงคโปร์ ในอันดับ 5 ขณะที่อันดับ 6 ตกเป็นของอังกฤษ ตามมาด้วยเนเธอร์แลนด์ ในอันดับที่ 7 และ นิวซีแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และแคนาดาในอันดับที่ 8-10 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ อย่างสหรัฐฯ ฝรั่งเศส และเยอรมนี อยู่ในอันดับรองลงไป

โดยในการจัดอันดับที่มีจำนวน 40 ประเทศนั้น อินโดนีเซีย บราซิล และเม็กซิโกมีคะแนนต่ำสุด ในอันดับที่ 40, 39 และ 38 ตามลำดับ ขณะที่ไทยอยู่ในอันดับที่ 37

รายงานระบุว่า ความสำเร็จของประเทศในเอเชีย ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากประเทศดังกล่าวให้ความสำคัญกับการศึกษามากเป็นพิเศษ อีกทั้งผู้ปกครองต่างก็พร้อมจะทุ่มเทให้บุตรหลานของตนได้รับการศึกษาที่ดีและมีคุณภาพ เพื่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิต

แต่สิ่งที่สำคัญนอกจากการทุ่มเทให้บุตรหลานได้รับการศึกษาที่ดีนั้น สะท้อนให้เห็นค่านิยมที่ให้คุณค่าต่อการศึกษาในระดับสูง รวมถึงการคาดหวังของผู้ปกครอง ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยสำคัญแม้ครอบครัวจะย้ายไปยังประเทศอื่น

ขณะที่อันดับหนึ่งและสองอย่างฟินแลนด์และเกาหลีใต้ ค่อนข้างมีความแตกต่างกันหลายประการ แต่มีปัจจัยร่วมกัน คือ ความเชื่อทางสังคมที่ให้ความสำคัญต่อการศึกษาและจุดประสงค์ด้านศีลธรรมที่แอบแฝงอยู่

รายงานดังกล่าวยัง เน้นเรื่อง คุณภาพของครูผู้สอน และความจำเป็นต่อการจ้างครูที่ดีที่สุด ซึ่งอาจรวมถึงการได้รับความเคารพในทางวิชาชีพและสถานะทางสังคม เช่นเดียวกับรายได้ที่ได้รับ อย่างไรก็ดี การจัดอันดับไม่ได้แสดงจุดเชื่อมโยงที่แน่ชัดระหว่างรายได้สูงและการสอนที่มีคุณภาพ รายงานระบุว่า ระบบการศึกษาที่สูงและต่ำยังมีผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พึ่งพาแรงงานที่ใช้ทักษะ

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์
http://prachatai.com/journal/2012/11/43934
http://thelearningcurve.pearson.com/content/download/bankname/components/filename/FINAL%20LearningCurve_Final.pdf

http://www.breakingnewsenglish.com/1211/121129-education.html

5 บทเรียนสำหรับผู้กำหนดนโยบาย
(Five lessons for education policymakers)

1. การพัฒนาการศึกษาไม่ใช่ฝันลม ๆ แล้ง ๆ แล้วจะสำเร็จ ต้องใช้เงินลงทุน เชื่อมโยง และต่อเนื่อง จึงจะได้ผล
2. ถ้าได้ครูดี ผลคือนักเรียนดี จึงต้องรักษาครู และพัฒนาให้เป็นครูมืออาชีพ ไม่ใช่มุ่งเพิ่มเทคนิค หรือเพิ่มเครื่องมือ
3. มีวัฒนธรรมเชิงลบบางเรื่องที่ต้องเปลี่ยน แล้วสนับสนุนวัฒนธรรมเชิงบวกที่มีผลต่อการศึกษา
4. พ่อแม่ต้องเข้าใจและร่วมกันพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5. การศึกษาคือการเติมเต็มทักษะในปัจจุบัน เพื่อนำไปใช้ในอนาคต

http://thelearningcurve.pearson.com/the-report/executive-summary

การสัมมนาเชิงวิชาการผู้ปฏิบัติงานด้าน ICT ของ ศธ.
โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า ๒๐๐ คน เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๓ ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

รมว.ศธ.กล่าวว่า ศธ.มีนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง โดยเฉพาะการยกระดับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเป็นนโยบายหลักในการขับเคลื่อนคุณภาพทางการศึกษา และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ นอกจากนี้ รมว.ศธ.ยังมีนโยบายด้านการศึกษา ๘ ข้อ ซึ่งมีจุดเน้น ๓ ด้าน ดังนี้
1. การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ซึ่งการดำเนินงาน ๖ เดือนที่ผ่านมา ศธ.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด และวางระบบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองอย่างชัดเจน และแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง ซึ่งได้นำเป้าหมาย ตัวชี้วัด มาดำเนินการ ขณะนี้มี Road Map แผนปฏิบัติการ และผู้รับผิดชอบการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว
2. ครู ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ศธ.ได้วางแผนพัฒนาครูทั้งระบบ โดยเริ่มจากการผลิตครู ซึ่ง กนป.ได้อนุมัติให้ผลิตครูพันธุ์ใหม่ ๓๐,๐๐๐ อัตรา ได้ตั้งเป้าหมายไว้ในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า ศธ.จะผลิตครูพันธุ์ใหม่ให้ได้ ๒๐๐,๐๐๐ คน การพัฒนาครูทั้งระบบ ซึ่ง สพฐ.ได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทำการทดสอบสมรรถนะครู อบรมหลักสูตรของครู และของผู้บริหาร เพื่อนำไปสู่การสร้างครูต้นแบบ Master Teacher และให้แรงจูงใจ ในการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สำหรับการใช้ครูนั้น ศธ. ได้คืนครูให้กับโรงเรียน โดยจ้างพนักงานธุรการและตำแหน่งอื่น เช่น บรรณารักษ์ มาแทนครูเพิ่มขึ้น เพื่อให้ครูได้กลับสู่ห้องเรียน และ ศธ.ยังได้เพิ่มขวัญและกำลังใจครูด้วยการพัฒนาค่าตอบแทนครู ยกมาตรฐานวิชาชีพครู และแก้ไขหนี้สินครูทั้งระบบด้วย
3. ยกระดับการใช้ ICT เพื่อการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา คือ เพิ่มสัดส่วนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ต่อประชากรอายุ ๖ ปีขึ้นไป ร้อยละ ๕๐ เพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศร้อยละ ๓ ต่อปี ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญ โดย ศธ.ได้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการศึกษา และบรรจุการจัดตั้งกองทุนเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ในรายจ่ายงบประมาณประจำปี ๒๕๕๔ เพื่อให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ ซึ่ง ครม.ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว โดยกองทุนมีงบประมาณเริ่มต้น ๕ ล้านบาท และได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งคณะกรรมการกองทุน โดยมี รมว.ศธ.เป็นประธาน

รมว.ศธ.ได้ฝากให้ผู้ปฏิบัติงานด้าน ICT ขับเคลื่อนนโยบาย ๓ เรื่องให้เป็นรูปธรรม ดังนี้
1. ยกระดับพัฒนาโครงข่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา Ned Net โดยทุกองค์กรหลักของ ศธ.ต้องให้ความร่วมมือภายใต้โครงข่ายเดียวกัน เพื่อให้เกิดพลังด้านงบประมาณ ด้านการใช้ และด้านบุคลากร ขณะนี้ ศธ.มีข้อมูลอยู่แล้ว หากสามารถรวบรวมได้อย่างเป็นระบบ โครงข่ายก็จะมีความเข้มแข็งเพียงพอต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการศึกษาแห่งชาติ (Education Information System) จัดให้มีข้อมูลนักเรียน สถานศึกษาที่เป็นระบบและเป็นปัจจุบัน ขณะนี้ ศธ.มีข้อมูลอยู่แล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมข้อมูลของโรงเรียนเอกชน และต้องการให้มีข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพที่ชัดเจน เพื่อช่วยเหลือเด็กทุกคนไม่ว่าอยู่ในสถานะใด ให้ได้รับประโยชน์จากโครงการเรียนฟรี เพื่อไม่ให้มีการแอบอ้างว่า ข้อมูลผิดพลาด นักเรียนได้รับประโยชน์ไม่ทั่วถึง รวมทั้งการคำนวณตัวเลขไม่ชัดเจนทำให้การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ ฝากให้ช่วยคิดว่าจะทำให้เกิดระบบศูนย์กลางสารสนเทศในระดับชาติได้อย่างไร เพราะข้อมูลสารสนเทศกับโครงข่ายจะต้องมีความสัมพันธ์กัน จึงจะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
3. ยกระดับสถานีวิทยุโทรทัศน์ของ ศธ.ให้เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง ขณะนี้ ศธ.มีศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ETV, มีรายการ Student Channel ออกอากาศทาง NBT, มีรายการ Teacher TV ที่จะขอออกอากาศทาง Thai TV หาก ศธ.สามารถรวบรวมข้อมูลเหล่านี้เป็นฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาว่า ต้องมีการศึกษาอย่างมีคุณภาพตลอดชีวิต สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ จึงจำเป็นจะต้องยกระดับให้มีสถานีวิทยุโทรทัศน์ของ ศธ. ซึ่งถ้าเป็นไปได้ในอนาคตต้องการให้เป็น free TV ต่อไป และขอให้ทุกคนช่วยคิดว่า จะสามารถนำรายการที่มีอยู่มารวมกันได้อย่างไร เพื่อให้เกิดพลังความพร้อมทั้งด้านข้อมูลและเครื่องมือ นำไปสู่การยกระดับสถานีวิทยุโทรทัศน์ของ ศธ.อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

http://www.moe.go.th/websm/2010/sep/287.html
http://www.kroobannok.com/36672

thailand tutor for students
thailand tutor for students

About 10,000 students attend a tutorial at a shopping mall in Bangkok in preparation for entrance exams to study medicine at an university. (Photo by Apichit Jinakul)

Thailand scores badly in education assessment ranking

Thailand’s education system is ranked 37th out of 40 countries assessed in latest global index ranking published by British education and publishing group Pearson Plc.

Finland took first place with a score of 1.26 points, followed by South Korea and Hong-Kong. Following them are two other Asian countries: Japan and Singapore.

Thailand scored badly, with 1.46, and had only three countries below it in the ranking.

The index ranking is based on cognitive skills – test scores in reading, writing, and mathematics – and educational attainment – literacy and graduation rate – accumulated from 40 developed countries.

Sir Michael Barber, Pearson’s chief education adviser, said successful countries gave their educators a high status and have a culture that is supportive of education.

Thai netizens posted messages on various webboards on Wednesday, mostly criticising the Thai education system.

“It’s because of the educators,” said a postor in posttoday.com.

“I feel that education does not account to how successful you are in the real world,” said a comment in pantip.com. “These highly educated people have the knowledge but can’t perform.”

Another netizen suggested that Thailand should improve the social belief in education, spend more money to improve the quality of teachers and school autonomy to climb up the ranking.

“The quality of some private universities is really worrying. The quality of graduates with a bachelor’s degree here is lower than high school graduates in other countries,” one netizen said. “If you pay all the tuition fees here, you’ll definitely graduate.”

http://www.bangkokpost.com/news/local/323571/thailand-almost-lowest-in-global-education-ranking

สถาบันการศึกษามองพฤติกรรมผู้สมัครเรียนจากเฟซบุ๊ค

ranking
ranking

ประเด็นที่สนใจเพิ่มเติม
1. บทความนี้ฉายภาพได้ชัดว่าคุณภาพของสถาบันขึ้นกับคุณภาพนักเรียนที่เข้ามา
2. ทำไมนักเรียนไม่เปิดเผย fb ที่มี profile ที่ดี แต่กลับปกติ profile ที่ไม่ดี
3. บางคนคิดว่ากฎใหม่นี้ไม่ยุติธรรม
4. The Internet is written in ink, not in pencil
+ http://nation.time.com/2012/11/15/when-colleges-look-up-applicants-on-facebook-the-unspoken-new-admissions-test/

When Colleges Look Up Applicants on Facebook:
The Unspoken New Admissions Test
สถาบันการศึกษามองพฤติกรรมผู้สมัครเรียนจากเฟซบุ๊ค

บทความนี้ จาก http://nation.time.com/category/education/

Judging by its Facebook network, Hastings (ฉับไว) High School in New York has one strange senior class.

A student named “FunkMaster Floikes” is somehow rubbing shoulders with Lizzie McGuire and the fictional parents from That ‘70s Show.

Meanwhile Samwise Gams (a nickname of a hobbit in Lord of the Rings) is listed as a 2012 alum.

At first glance, such social media profiles have all the makings of crude online pranks.

But in reality, they have been strategically created by actual Hastings seniors determined to shield themselves from the prying eyes of college admissions officers.

“There’s a fairly big party scene there,” says Sam “Samwise” Bogan, who is now a freshman at Dickinson College in Pennsylvania.

“When the college search process comes around, people start changing their Facebook name or untagging old photos that they don’t want anyone to see.
It’s kind of a ritual.”

Amid decades-old worries about GPAs, resumes, extracurricular activities and campus interviews, today’s college applicants must reckon with a new high-tech dilemma: Are colleges judging me based on my online activities?

With top schools closely guarding the reasoning behind admissions decisions, many high schoolers are now assuming the worst and implementing online safeguards that would have never occurred to teenagers five years ago, when Facebook was just a private network and Google was still a noun.

It turns out students have good reason to worry.

According to a recent Kaplan Test Prep survey of 350 admissions officers, more than 25 percent of school officials said they had looked up applicants on Facebook or Google.

Off campus, a similar percentage of private scholarship organizations also acknowledge researching their applicants online, according to a National Scholarship Providers Association survey. Still, many admissions directors are reluctant to provide specifics in how they scour social feeds.

No, many say, they don’t look up every applicant online, but yes, if they somehow come across an inappropriate tweet or Facebook post, it could factor into their decision.

No, they’d never use it as the deciding factor between two similar applicants, but yes, students should be mindful of what they post.

Such ambiguity has sparked an array of conspiracy theories.
Bogan speculates that colleges use the emails they gather on campus tours to later find students online, even if they’ve changed their names to cover their tracks. Other students openly claim that schools are colluding with Facebook to gain full access to applicants’ restricted online profiles.
Meanwhile, some students worry that going dark on Facebook will make them seem anti-social,when colleges are actually looking for outgoing applicants.

Numerous students interviewed by TIME ultimately opted for a full social media lockdown, ahead of submitting their applications.

Abigail Swift, a senior at BASIS Scottsdale in Arizona, deleted her Facebook account at the start of her junior year, just as she was beginning her college search.

She says she plans to revive it in 2013, after being accepted to a university.

“I don’t want what I put on my Facebook or what I don’t put on my Facebook to sway their opinion of me,” she says. “I just don’t think it’s fair for them to base acceptance on that.”

Many of her classmates agree, and have already restricted privacy settings so that their names don’t appear in a public Facebook search.

One student went so far as to delete photos taken during 8th grade that didn’t reflect the image she is now trying to convey to schools.

As young as 16, some students are already making an effort to wipe the digital slate clean. Just in case.

Almost every student has heard a horror story.

At the start of the school year, a BASIS college counselor told her class of a student whose acceptance to an elite college was revoked when he was caught badmouthing the school on Facebook.

At Williams College, a student’s admission was rescinded because he posted disparaging remarks on a college discussion board.

At the University of Georgia, when an admissions officer discovered an applicant’s racially charged Twitter account, he took a screenshot and added the tweets to the student’s application file.

Though these are extreme examples, it’s difficult to pinpoint when a teenager’s social media habits shift from innocuous to alarming in the eyes of admissions officers. Anna Redmond, a 30-year-old former interviewer for Harvard University who blogs about college admissions, says she began regularly googling prospective students years ago (interviews with alumni are a minor component of Harvard’s admissions criteria).

“You could sometimes find old blog posts where they were complaining,” she says. “Maybe there was a photo of a kid drinking a beer. I don’t think it’s personally that damning, but somebody else might.”

With the Kaplan survey showing that only 15 percent of colleges abide by a strict social media policy when it comes to applicants,such vetting is often at the discretion of individual officials. College officials point out that time restraints would make it nearly impossible to analyze every applicant through social media. However, some admit to exploring applicants’ social media timelines to make a “high stakes” decision, like awarding a prestigious scholarship, says Nora Barnes, a marketing professor at the University of Massachusetts Dartmouth who has interviewed hundreds of schools about their social media practices. She says the actual number of schools doing online sleuthing could be higher than statistics show, with some wary of being viewed as invasive if they own up to the practice.

“It’s a touchy subject in academia,” Barnes says. “It’s common knowledge that employers do it, and people seem to accept that.  But somehow higher ed is held to a higher standard.”

Nancy McDuff, associate vice president for admissions and enrollment management at the University of Georgia, says an applicant’s online profile is fair game to be evaluated.

“If a student mentions something in their application that isn’t well explained, and you’re looking for more information, you may check their Facebook,” she says.

“They’re writing about themselves. That’s no different from what a guidance counselor may write about them when they ask for someone to write a letter of recommendation.”

But other admissions directors say including an inconsistent variable like Facebook profiles into the regimented application process can be unfair to students.

“We like to get the same information from every candidate,” says Christoph Guttentag, the dean of undergraduate admissions at Duke University.

“What one might find [on Facebook] would be close to random. There’s no guarantee that we would be getting the same kind of information between two applicants.”

For students who choose to change their Facebook names to ensure privacy, there can be consequences for violating the company’s official terms of use.

About eight percent of the network’s 1 billion accounts are fakes or duplicates, according to summer filings with the Securities and Exchange Commission. Facebook can ban such users permanently when caught, and the company encourages users to report fake accounts. Some colleges might also view such tactics as unethical: “If a student changes their name on Facebook because they want to hide something, you just wonder whether they want to be at an institution that values an Honor Code,” McDuff says.

Back at Hastings High School, students don’t view their actions as unethical.

“One way a lot of people in my class coped with the stressful college application process was by being a little bit cynical about it,” Bogan says.

“This is just a part of that. It’s kind of a coping mechanism.”

While some students rebel, others adapt. Among many high schoolers, there is a grudging acceptance that these are the new rules of engagement in the 21st-century admissions game.

“Maybe it is a little unfair, but at the same time you’re being judged on what you have created for yourself in the past four years of your high school experience,” says Maxton Thoman, a freshman at the University of Alabama.

“All that stuff is cumulative, and so is Facebook.” Thoman, who boosted his privacy settings and untagged photos of himself during the college admissions process, continues to keep a close eye on his digital profile at college.

He knows that medical schools and later employers may one day be interested in what he’s posted online, so he considers his status updates before spouting off.

He and many of his peers, rejecting the culture of oversharing, seem to understand intuitively a fact that has taken some adults years to grasp: “The Internet is written in ink, not in pencil.”

รวมแหล่งเพลง เหนือฟ้าคือฟ้า

เหนือฟ้าคือฟ้า
เหนือฟ้าคือฟ้า

รวมแหล่งเพลง “เหนือฟ้าคือฟ้า
เพลงประจำมหาวิทยาลัยเนชั่น มิถุนายน 2555

เพลง “เหนือฟ้าคือฟ้า
เพลงประจำสถาบัน มหาวิทยาลัยเนชั่น
คำร้อง ทำนอง อ.สุพจ สุขกลัด

ฟ้าสดใส  โลกสวยงาม
ฝันยังทอประกายฉายส่อง
ด้วยพลังเปี่ยมหวังเรืองรอง
เราถักทอสัมพันธ์ร่วมใจ

แม้เขตฟ้า จะสูงชัน
เราผู้กล้าฝ่าฟันไม่หวั่นไหว
ที่เหนือฟ้าเราคือฟ้า มีสัญญายิ่งใหญ่
คือร้อยดวงใจแล้วไปด้วยกัน

ด้วยศรัทธา สร้างปัญญาก้าวไกล มหาวิทยาลัยเนชั่น
กายต่างกายแต่ดวงใจเดียวกัน รักในการสร้างสรรค์สุดใจ

ฟ้ากว้างไกลสุดสายตา  โอบล้อมให้เราชาวฟ้ามั่นใจ
ก้าวสู่ฝัน สู่คืนวัน ชีวิตอันสดใส
มหาวิทยาลัยเนชั่น




http://www.youtube.com/watch?v=np-XRxCvQJI

http://soundcloud.com/thaiall/9gakdv08gfbk

http://soundcloud.com/thaiall/midi

http://www.4shared.com/mp3/ofX_Yjj0/ntu_song_2555_midi.html

http://www.4shared.com/mp3/dZHqjy9z/ntu_song_2555.html

http://thaiabc.com/lampangnet/admin/435/

ถูกไล่ออกเพราะไม่คิดก่อนโพส

ถูกไล่ออกเพราะไม่คิดก่อนโพส
ถูกไล่ออกเพราะไม่คิดก่อนโพส
สมัยผมเป็นเด็ก ได้ยินคำพูดว่า “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” เป็นคติพจน์ที่น่าสนใจ ผมจึงคัดลอกบันทึกเรื่องหนึ่งจาก โครงการรณรงค์คิดก่อนโพส (Think-before-you-post Campaign) มาเผยแพร่ต่อ ดังนี้
หญิง: OMG (Oh My God) ฉันเกลียดงานตัวเอง! เจ้านายฉันเป็นพวกน่ารำคาญ จุกจิก ชอบสั่งให้ทำโน่นทำนี่ ชอบกวนโมโห น่ารังเกียจ Wanker!
(ปล. คำว่า wanker เป็นคำด่าแสลง หยาบคายพอสมควร สามารถเอาไว้ใช้เรียกพวกจิตวิปริต ที่ชอบแก้ผ้าสำเร็จความใคร่ในที่สาธารณะได้ สามารถใช้หมายถึงคนที่น่ารังเกียจได้)
ชาย: สวัสดี ญ. เธอคงลืมไปแล้วมั้งว่าเธอ add ฉันไว้ใน Facebook
ประเด็นแรกสุด ฉันขอบอกเลยนะที่รัก ว่าอย่าหลงตัวเองให้มาก
ประเด็นที่สอง เธอทำงานมาได้ 5 เดือน เธอไม่รู้เหรอว่าฉันเป็นเกย์ ถึงแม้ว่าฉันจะไม่ได้ลอยไปลอยมาเป็น Queen แต่ก็ไม่ได้เป็นความลับอะไร เธอน่าจะดูออก
ประเด็นที่สาม ไอ้ที่เธอบอกว่าถูกสั่งให้ “ทำโน่นทำนี่” น่ะ คนทั่วไปเขาเรียกกันว่า “ทำงาน” เขาจ้างเธอมาทำงาน แต่ก็เอาเหอะ ฉันเข้าใจดี เพราะขนาดงานง่ายๆ เธอยังทำไม่ได้เลย ประสาอะไรกับงานอื่นๆ
ประเด็นสุดท้าย เธอคงลืมไปว่ายังเหลืออีก 2 สัปดาห์ถึงจะหมดระยะเวลาพ้นโปร 6 เดือน ก็เอาเป็นว่า พรุ่งนี้ไม่ต้องมาทำงานแล้วนะ เดี๋ยวฉันจะเขียนใบประเมินทิ้งไว้ในตู้เอกสารของเธอ แล้วก็มาเก็บของกลับบ้านไปด้วย
“ฉันไม่ได้พูดเล่น”
ปล. ขอขอบคุณ http://www.passiveaggressivenotes.com/ สำหรับรูปภาพและข้อมูล

ค่าของเวลาของเราไม่เท่ากัน

time
time
มีนักศึกษาถามว่า เปิดเรียนวันไหน
ผมก็เข้าไปดูที่ http://it.nation.ac.th/std
ที่โฮมเพจสำหรับนักศึกษา พบปฏิทินการศึกษา และตารางเรียน และข้อมูลอื่น ๆ อีกเพียบ หากนึกถึงเรื่องเวลา ก็พบว่า มหาวิทยาลัยเนชั่นมีอีเมลที่ใช้บริการจาก gmail.com ภายใต้โดเมน @nation.ac.th ของนักศึกษาก็จะเป็น @std.nation.ac.th และมีระบบ google calendar ให้ใช้
บริการระบบ google calendar มีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการจัดสรรเวลา ทรัพยากรใดที่เรามีเหลือเฟือ ก็ไม่รู้สึกจำเป็นต้องจัดสรร เหมือนอากาศที่หายใจ ที่มีเหลือเฟือก็คงไม่ต้องนับว่าหายใจไปกี่ครั้งในหนึ่งนาที และได้เวลาหยุดหายใจ หรือเริ่มหายใจได้แล้ว (Lock-Out Movie 2012)
แต่อะไรที่มีจำกัดก็ต้องมีการจัดสรร เหมือนกับเวลา ท่านที่มีเวลาไม่พอ ทำอะไรก็รัดตัวไปหมด จำเป็นต้องมีปฏิทิน หรือตารางนัดหมายเข้ามาช่วย ซึ่งระบบ google calendar ช่วยได้มาก แต่ท่านใดมีเวลาเหลือเฟือ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบ เพราะมีเวลามากพอ ทำให้รู้สึกไปว่า “ค่าของเวลาของเราไม่เท่ากัน
ปฏิทินการศึกษา ภาคเรียนที่ 2/2555
– เปิดเรียน 29 ตุลาคม 2555
– สอบกลางภาค 24 ธันวาคม 2555 – 4 มกราคม 2556
– วันสุดท้ายของการเรียนการสอน 15 กุมภาพันธ์ 2556
– สอบปลายภาค 18 กุมภาพันธ์ – 27 กุมภาพันธ์ 2556
– ประกาศผลการเรียน 15 มีนาคม 2556

อึ้งผลสำรวจเด็กไทยพร้อมลอกข้อสอบ ขี้โกงถ้ามีโอกาส


มีโอกาสไปโรงเรียนสอนพิเศษของครู alex เห็นนิตยสารดาราสาวสวยวางบนโต๊ะ ระหว่างรอ 5 นาที พลิกอ่านไปมาจนจบพอดี ก็เลยมาค้นจาก net เพราะเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ทำให้ทราบสาเหตุของการสอบตกของเด็กไทย โบราณว่า “เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า”

เด็กไทยลอกข้อสอบ ขี้โกงถ้ามีโอกาส

วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554 เวลา 19:06 น. ข่าวสดออนไลน์
น.พ.วิชัย เอกพลากร คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นักวิจัยโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย เครือข่ายการวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) เปิดเผยผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551–2552 ในส่วนของพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สังคมและจริยธรรม(อีคิว) ของเด็กไทย ว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุ 1-14 ปี จำนวน 9,035 คน ใน 20 จังหวัด ด้วยการใช้แบบทดสอบพ่อแม่ และเด็ก โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มอายุ คือ อายุ 1-5 ปี  6-9 ปีและ 10-14 ปี เนื่องจากเด็กแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการต่างกัน เปรียบเทียบเมื่อปี 2544 พบว่า กลุ่มเด็กอายุ 6-9 ปี สำรวจ 8 ด้าน คือ วินัย สติ-สมาธิ เมตตา อดทน ซื่อสัตย์ ประหยัด การควบคุมอารมณ์และพัฒนาสังคม พบว่า ผลการทดสอบพัฒนาการด้านสังคม ได้คะแนนสูงกว่าด้านอื่นๆ ส่วนด้านที่ได้คะแนนต่ำ คือ ความมีวินัย ความมีสติ-สมาธิ ความอดทนและความประหยัด โดยพัฒนาการด้านที่เด็กได้คะแนนน้อยซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ได้แก่ พัฒนาการด้านความมีวินัยในเด็กชาย การมีสมาธิในเด็กหญิง ด้านความเมตตาและการควบคุมอารมณ์ทั้งเด็กชายและหญิง
ด้านกลุ่มเด็กอายุ 10-14 ปี สำรวจ 14 ด้าน ได้แก่ ความตระหนักรู้ในตน ความภาคภูมิใจในตนเอง ความเห็นใจผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อสังคม การจัดการกับอารมณ์ การจัดการกับความเครียด การสื่อสาร สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ความคิดสร้างสรรค์ค์ ความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การควบคุมอารมณ์และคุณธรรมจริยธรรม พบว่า ในภาพรวมแม้ว่าเด็กจะมีคะแนนดีขึ้น แต่มีหลายด้านที่พบว่าคะแนนการสำรวจยังไม่ดีขึ้นกว่าปี 2544 ได้แก่ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ การแก้ปัญหา และการควบคุมอารมณ์ ซึ่งเป็นจุดที่ได้คะแนนค่อนข้างต่ำ เมื่อแยกย่อยในส่วนของด้านจริยธรรม เด็กกลุ่มนี้ เห็นว่า “การเล่นขี้โกงเมื่อมีโอกาส” และ “การลอกข้อสอบถ้าจำเป็น เป็นพฤติกรรมที่เด็กยอมรับได้มากขึ้น
“ปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กมีปัญหาจริยธรรม พบว่า ตัวแปรสำคัญคือระดับการศึกษาของพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดู พ่อแม่ที่มีการศึกษาสูงขึ้น เด็กจะมีจริยธรรมและพฤติกรรมในทางที่ดีมากขึ้น อาจเป็นเพราะพ่อแม่ที่มีการศึกษาสูงมีโอกาสสัมผัสและเรียนรู้ว่าควรจะเลี้ยงลูกอย่างไร ทั้งนี้ สิ่งที่ควรพัฒนาในเด็กอายุ 1-5 ปี คือ การทำตามระเบียบกติกา ในเด็ก 6-9 ปี ในเด็กชายและเด็กหญิงควรพัฒนาด้านความเมตตาและการควบคุมอารมณ์ และสำหรับเด็กอายุ 10-14 ปี ควรฝึกการควบคุมและจัดการกับอารมณ์ รวมทั้งการคิดวิเคราะห์วิจารณ์”  รศ.นพ.วิชัย กล่าว

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNeE5qWXdOamcwTkE9PQ

http://picpost.mthai.com/view/17043

เด็กไทยลอกข้อสอบ ขี้โกง ถ้ามีโอกาส
เด็กไทยลอกข้อสอบ ขี้โกง ถ้ามีโอกาส