มหาวิทยาลัยเนชั่น จัด 1)การแข่งขันเต้น และ 2)เสียงดีมีทุน ในโครงการ “ดาวรุ่งลูกทุ่งเนชั่น” ณ ห้าแยกหอนาฬิกา ข่วงนคร และพบกับศิลปินรับเชิญ “ญาญ่า หญิง” ในวันที่ 4 เมษายน 2555 เวลา 18.00น. – 24.00น. เปิดรับสมัครถึงวันที่ 25 มีนาคม 2555
ติดต่อสอบถาม
มหาวิทยาลัยเนชัน 054-265170, 054-820099
—
งานนี้ .. ผมก็ไม่พลาด
เพราะคุณญาญ่าเป็นศิลปินในดวงใจของผม
จะงานเพลง หรืองานแสดงล้วนสุดยอด
เป็นศิลปินที่ขาวใส สวมเสื้อดำ และมีสไตล์ของตนเอง
แล้วพบกับเธอในดวงใจของผม ด้วยกันนะ
Category: การศึกษา
ชี้ชีวิต เข็มทิศการศึกษา
มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง
ขอเชิญ นักเรียน นักศึกษา และสื่อมวลชน ทุกแขนง
ร่วมงาน Open House “ชี้ชีวิต เข็มทิศการศึกษา”
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง และ
คุณวิบูลย์ ทานุชิต รองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 (สพม.35)
วันที่ 16 มีนาคม 2555 เวลา 13.00 -16.30 น.
ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง
—
ประเด็นเรื่อง “เข็มทิศ Compass” น่าสนใจมากครับ
เคยฟังการบรรยายธรรมเรื่อง “เข็มทิศชีวิต” ของคุณฐิตินาถ ณ พัทลุง
ครั้งนี้จะไปฟังนักการศึกษาพูดเรื่อง “เข็มทิศการศึกษา”
เพราะเชื่อว่าการศึกษา ช่วยให้โลกเราพัฒนาอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
และจะพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
ประโยคหนึ่ง “เบี่ยงเบนจากเป้าหมายหลักของตัวเองไปได้ไกลขนาดนั้น”
ขยายข่าว: แฟชั่น ศิลปะ หรือ อนาจาร
14 มี.ค.55 มาถึงหน้าร้อนทีไร สาวมั่นทั้งหลาย ได้เวลาท้าลมร้อนด้วยแฟชั่นหลากหลาย ที่โชว์ผิวพรรณสัดส่วน ที่อุตส่าห์ดูแลทะนุถนอมจนเปล่งปลั่ง ขาว นุ่ม เนียน
ส่วนหนุ่มๆ เอง ก็เข้าช่วงเทศกาลลุ้น ภาพเด็ดๆ บนแผงหนังสือว่าสาวคนไหนจะได้ถ่ายแบบ ชุดทูพีซ ขึ้นปก อวดเรือนร่างให้ได้มองเป็นสีสรรของชีวิตกันบ้าง
ฟังๆ ดูก็ไม่น่าจะใช่เรื่องแปลกของสังคม เพราะการถ่ายภาพในลักษณะนี้มีมานานแล้ว และทำกันทั่วโลก ขึ้นอยู่กับว่า ใครจะออกแบบชุด และสีสรรได้สดใส โชว์เรือนร่าง หรือเน้นสรีระ จุดชวนมองของสาวๆ ได้มากกว่ากัน
ไม่ธรรมดาจริงๆ เพราะนี่เป็นงานที่รวมเอาธุรกิจย่อยๆ ไว้ด้วยกันอย่างแยกไม่ออก อย่างแรกก็คือ นางแบบมีชื่อเสียง เสื้อผ้าขายออก ช่างภาพโด่งดังเป็นพลุแตก แถมหนังสือยังขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
ฟังแล้วดูเหมือนจะดีไปหมด แต่เดี๋ยวก่อน เมื่อโลกก้าวล้ำมากๆ เทคโนโลยี ก็เปลี่ยน อุปกรณ์ถ่ายภาพทันสมัยขึ้น และยังมีระบบตกแต่งภาพมาเป็นเครื่องมือในการทำให้ภาพดูหวือหวามากขึ้น ก็เลยเป็นที่มาของภาพที่ออกจะเซ็กซี่เกินงาม นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบ ว่านี่คือศิลปะ หรืออนาจารกันแน่
ภาพออกมาสวย แต่ถ้าในสายตาคนส่วนใหญ่ กลับถูกวิพากษ์วิจารณ์ ไปใหญ่โต ย่อมสะท้อนถึงความตั้งใจของช่างภาพ
คำถามที่เจอเสมอก็คือ ภาพออกมาหวือหวา หรือโป๊เปลือยไปหรือไม่ถ้าเป็นช่างภาพหรือนางแบบเอง ส่วนใหญ่ให้เหตุผลแทบจะเหมือนกัน ว่าขึ้นอยู่กับคนมองเพราะถ้าสำหรับช่างภาพ นี่คือ การอวดฝีไม้ลายมือการถ่ายภาพ ให้โลกได้จดจำ
ถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีใครบอกได้ว่า ภาพถ่ายทูพีซ คือศิลปะหรืออนาจารแต่ก็มีนักต่อต้านกลุ่มหนึ่ง มองว่า มันคือการอาศัยคำว่าศิลปะ มาบังหน้าและคิดเข้าข้างงานของตัวเอง โดยไม่แบ่งเส้นความเหมาะสม หรือรับความเห็นต่าง
เพราะจริงๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะภาพเขียน หรือภาพถ่าย ล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์แตกต่างกัน ศิลปินวาดภาพดังๆ ในบ้านเรา เคยสะท้อนมุมมองไว้น่าสนใจ ว่า ศิลปะไม่ใช่แค่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาแค่เพื่อความสวยงามและความพอใจแต่เป็นการแสดงออกถึงความงอกงามทางสติปัญญา ยึดโยงกับความดี คุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งสามารถผันแปรไปตามพื้นฐานของจิตใจที่คิดฝันและแสดงออกอย่างอิสระ นี่จึงเป็นช่องว่าง ทำให้ผู้ที่เห็นแก่ผลประโยชน์นำไปดีความเข้าข้างตัวเอง
ขณะที่ผู้คนในสังคม ที่เป็นเสมือนผู้บริโภคสื่อเหล่านี้ ก็ต่างสะท้อนมุมมองที่หลากหลาย
มีทั้งเชิงสร้างสรรค์และอคติ มุมสร้างสรรค์ ต่างเห็นว่าแฟชั่นทูพีซถ้าอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม สถานที่เหมาะสม อายุคนอ่านเหมาะสม และไม่เกินเลยวัฒนธรรม ก็ไม่น่าจะใช่สิ่งต้องห้าม
ขณะที่อีกฝ่ายมองว่า กิริยาและการแสดงออกของนางแบบคือตัวบ่งบอก ว่านี่คืออนาจารหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการจัดท่าทาง การให้แสงหรือองค์ประกอบร่วมอย่างคู่ถ่ายแบบ รวมทั้งสถานที่ถ่ายทำ
มีการสำรวจแผงหนังสือในช่วงหลายปีที่มานี้ ปรากฎออกมาว่า วงการแฟชั่นเปลี่ยนแปลงเร็ว มีการแบ่งกลุ่มคนอ่านไว้ชัดเจน ทั้งในเรื่องเพศ อายุไปจนถึงความชอบส่วนบุคคล
ฉะนั้นภาพที่ต้องการสื่อ ก็จะมีมุมมองที่แตกต่างกันด้วย เช่น ถ่ายกับทะเล กับธรรมชาติ ต้นไม้ ขุนเขา แต่ถ้าออกแนวเฉพาะกลุ่ม ก็จะเป็นอะไรที่ต่างออกไป เช่น คู่ถ่ายเป็นชาย ถ่ายบนเตียงนอน มีการจัดท่วงท่าที่ไม่เหมาะสมกับคนอ่านอย่างกลุ่มเยาวชน เหล่านี้คือเส้นแบ่ง ที่ขึ้นอยู่กับคนอ่านจะเลือกเอง
ชัดเจนว่า ว่า ไม่ว่าจะช่างภาพ นางแบบ หรือผู้ออกแบบเสื้อผ้า จนออกมาเป็นแฟชั่นหน้าร้อน ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเจตนา และการแบ่งกลุ่มที่ชัดเจน
คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับการควบคุมแล้วละค่ะ ว่าจะควบคุมกาลเทศะที่เหมาะสมกับช่วงวัย ได้แค่ไหน ในเมื่อสิทธิของการซื้อหนังสือ ไม่ได้ถูกจำกัดอายุเหมือนการซื้อสิ่งเสพติด
ดังนั้นภาพ และเนื้อหาที่ปรากฎในหนังสือ จะเป็นสิ่งสำคัญที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของผู้คนในสังคม โดยเฉพาะเยาวชน
เรื่องนี้ผู้ใหญ่ก็มักจะพลาดเสมอ หากมุ่งเป้าไปซื้อหาอ่านส่วนตัวแต่จูงลูกจูงหลานไปด้วย เพราะในที่สุดผู้ใหญ่นั่นแหล่ะค่ะ ที่อาจเป็นคนปลูกฝังนิสัยและความนิยมในหนังสือประเภทนี้ให้กับลูกหลานไปโดยไม่รู้ตัว
http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=376&d=181006
http://news.mthai.com/world-news/104189.html
ฮือฮา!! สาวไต้หวัน ไม่สวมกางเกง ขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดิน
tweet หนึ่งจากทวิตเตอร์ของ อ.อุดม ไพรเกษตร
5 มีนาคม 2555 อ่านทวิตเตอร์ของ อ.อุดม ไพรเกษตร พบเรื่อง “แจกแท็บเล็ตเด็ก ป.1 ไม่ใช้สมองก็ต้องใช้สติ” มีลิงค์ที่ http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/242249 มีความตอนหนึ่งที่ คุณลม เปลี่ยนทิศ เขียนว่า
…
การแจกคอมพิวเตอร์ “แท็บเล็ต” ก็เป็นอีกตัวอย่างที่รัฐบาลพยายาม “ซื้อเร็วแจกเร็ว” ทั้งๆที่ยังไม่มีความพร้อมสักอย่าง ไม่ว่าระบบเครือข่ายไร้สาย ระบบไฟฟ้าในโรงเรียน “ครูผู้สอน” ที่ยังขาดทักษะความรู้ ซึ่งกระทรวงศึกษาฯ จะต้องมีการอบรมให้เรียนรู้เสียก่อน รู้ว่าจะใช้แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า
แม้แต่ “ตัวนักเรียน ป.1” เองก็ไม่มีความพร้อม “ขี้เยี่ยว” เด็กยังต้องให้ครูและพี่เลี้ยงดูแล เพราะเด็กยังช่วยตัวเองไม่ได้ แต่รัฐบาลกลับซื้อแท็บเล็ตแจกให้เด็ก 4–5 ขวบรับผิดชอบคนละ 1 เครื่อง และให้ใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนเด็กต้องหอบหิ้วไปมาระหว่างบ้านกับ โรงเรียน ต้องคอยเสียบปลั๊กไฟชาร์จแบตเตอรี่ ซึ่งเด็กทำเองไม่ได้ต้องมีคนช่วย การแจกแท็บเล็ตเพื่อใช้เรียนใช้สอนเด็ก ป.1 จึงไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ถูกเวลาในเวลานี้แน่นอน
ถ้าเป็น โรงเรียนที่ห่างไกล ไฟฟ้าไปไม่ถึง แท็บแล็ตก็เป็นเครื่องขยะใช้งานไม่ได้ เหมือนโครงการ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ของ กระทรวงศึกษาธิการ ในอดีต ที่ไปลงทุนสร้างห้องเรียนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนชนบท อ้างว่านักเรียนในชนบทจะได้เข้าถึงอินเตอร์เน็ต เพื่อท่องไปสู่โลกกว้าง สามารถเรียนรู้ทางไกลผ่านทางอินเตอร์เน็ตแต่คอมพิวเตอร์ทั้งห้องเปิดใช้งาน ไม่ได้ เพราะโรงเรียน ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีอินเตอร์เน็ต
…
ในวันที่ 5 มีนาคม 2555
เมื่ออ่านข้อความข้างต้นแล้ว .. ก็รู้สึกว่าโลกเรามีคนอยู่หลายแบบนะครับ
http://twitter.com/suthichai
http://twitter.com/udompk
แม่ปู กับลูกปู
3 มี.ค.55 นิทานเรื่อง แม่ปู กับลูกปู (The Mother Crab and Her son) .. ผมว่าเป็นนิทานอมตะนะครับ เพราะรู้สึกว่า เล่าเมื่อไหร่ ก็ไม่เบื่อ เพราะเราเห็นแม่ปูเดินเพ่นพ่านเต็มบ้านเต็มเมือง ลองนึกถึงคำว่า เศรษฐกิจพอเพียง ศีลในศาสนา ภาษาอังกฤษของเยาวชน การใช้เทคโนโลยีในโรงเรียน หรือ Tablet PC
จากคลิ๊ป .. มนุษย์ต่างกับแม่ปูนิดหน่อย
คือ มนุษย์จะสอนนักเรียนเสมอ แม้รู้ว่าตัวเองทำไม่ได้ ก็ยังพร่ำสอน
เช่น เป็นคนดีนะ ขยัน เชื่อฟังผู้ใหญ่ อยู่ในกฎเกณฑ์ ตั้งใจเรียน เพื่ออนาคตของตน
แต่ในนิทาน แม่ปูจะหยุดสอน เพราะรู้ว่าตนเองทำไม่ได้ แล้วก็คงสอนเฉพาะสิ่งที่ทำได้
รับ TablePC ของ samsung galaxy tab 10.1
ม.เนชั่น / มหาวิทยาลัยเนชั่น (Nation University)
ในเครือเนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป (Nation Multimedia Group)
เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ทั้งที่กรุงเทพฯ และลำปาง
ตั้งแต่บัดนี้ ผู้สมัครเรียนรับ Samsung Galaxy tab 10.1
เพื่อใช้ในการเรียน สำหรับปีการศึกษา 2555
มีหลักสูตรให้เลือกมากมาย
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชานิเทศศาสตร์)
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ)
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (สาขาวิชาการบัญชี)
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาการท่องเที่ยว)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (M.P.A.)
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (M.Ed.)
มีข้อซักถาม
ติดต่อที่ลำปาง โทร 054-820099
ติดต่อที่กรุงเทพฯ โทร 02-3383950
สมัครเรียนที่ http://www.nation.ac.th
พฤติกรรม โซเชียล เน็ตเวิร์ค อาจถูกใช้พิจารณารับคนทำงาน
26 ก.พ.55 อ่าน บทความของ วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง ใน กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ พบว่าปัจจุบัน อาจมีบริษัทที่ดูพฤติกรรมของผู้สมัครงานในโซเชียล เน็ตเวิร์ค มาใช้ประกอบการคัดเลือกคนเข้าทำงานก็ได้
พบว่างานวิจัย ของ มหาวิทยาลัย Northern Illinois ร่วมกับมหาวิทยาลัย Evansville และมหาวิทยาลัย Auburn ศึกษานักศึกษาที่กำลังจะจบ ด้วยแบบสอบถาม และบางส่วนยอมให้เข้าดู fb profile เพื่อการวิจัย โดยมีการวิเคราะห์ และให้เกรด ตามทฤษฎีบุคลิกภาพตามลักษณะนิสัย
ทฤษฎีบุคลิกภาพตามลักษณะนิสัย (Trait Theory)
1. Extraversion (ชอบเข้าสังคม ชอบแสดงออก)
2. Conscientiousness (ความซื่อตรง มีคุณธรรม)
3. Agreeableness (ความเป็นมิตร ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ)
4. Neuroticism (การจัดการกับอารมณ์)
5. Openness to Experience/Intellect (เปิดกว้างเพื่อประสบการณ์ทำงานหรือเรียนรู้)
http://en.wikipedia.org/wiki/Trait_theory
http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/worawisut/20120223/437739/news.html
http://online.wsj.com/article/SB10001424052970204909104577235474086304212.html
การตลาด 2.1 ประยุกต์โซเซียลมีเดียอย่างไรให้ตรงกับงาน
หนังสือเล่มนี้ทำให้ผมเริ่มใช้ hashtag แล้วเริ่มเห็นความสามารถในการจัด categories ของ tweet เพราะ tweet ออกไปแล้ว ถ้าไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ก็จะมีค่าน้อยลงไปเยอะ โดยปกติผมเขียน blog ซึ่งสามารถจัด categories สามารถกำหนด tag ใส่ภาพ และคลิ๊ป แล้วแสดงทั้งหมดในบันทึกเดียว นอกจากนั้นยังคัดลอกทั้งฐานออกมา จะเก็บไว้ หรือย้าย server ก็ยังทำได้ แต่กับ tweet แล้วต่างกันเยอะ ก็คงเพราะเป้าหมายของ twitter เป็นเพียง microblog เท่านั้น
#royalwedding
—
บางส่วนของประเด็นที่ผมสนใจ
– กรณีศึกษา ก๋วยเตี๋ยวเจ๊กเม้ง
http://www.facebook.com/JekmengNoodl
– ผู้เขียนคำนิยม คือ จักรพงษ์ คงมาลัย thumbsup.in.th และ jakrapong.com
– ปกหลัก ประชาสัมพันธ์หลักสูตรของ บัณฑิตวิทยาลัย ม.สยาม
– สี่สีทั้งเล่มแต่ราคาเพียง 179 บาท
– เล่าเรื่องคลิ๊ป โดยเฉพาะ sophie ของ google หรือน้องนิม
– ทำให้ผมหาคลิ๊ป H205 HD Camcoder ของ samsung
– สถิติ
http://www.klout.com
Klout measures your influence on your social networks
—
การตลาด 2.1 ประยุกต์โซเซียลมีเดียอย่างไรให้ตรงกับงาน
เขียนขึ้นเพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของผู้เขียนที่ต้องการแนะนำแนวทางการใช้งาน ที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้อ่านหรือผู้ที่กำลังเริ่มศึกษา ผู้ที่ต้องการนำเครื่องมือต่างๆ ในโลกออนไลน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับงาน หรือกิจการของตนเอง รวมถึงตัวอย่าง บทสัมภาษณ์ของผู้ที่สามารถนำเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อีกด้วย
ผู้เขียน รุ่งโรจน์ ศิริพรมงคล @tuirung อรนุช เลิศสุวรรณกิจ @mimee
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 การสร้างเเบรนด์
บทที่ 3 การบริหารลูกค้าสัมพันธ์
บทที่ 4 เปิดตัวสินค้าเเละบริการ
บทที่ 5 ขายของบนโลกโซเชียลมีเดีย
บทที่ 6 กรณีศึกษาของธุรกิจไทยกับโซเชียลมีเดีย
http://www.se-ed.com/eshop/Products/Detail.aspx?No=9786167240206
แก้วน้ำแห่งความสุข
ลูกสาว ม.1 นำบทความในกระดาษมาให้อ่าน
เพราะครูให้สรุปมาสั้น ๆ ว่า เขาพูดถึงอะไร
ผมก็ให้ลูกอ่านให้ฟัง แล้วก็ชอบครับ
.. เห็นความคิดของมนุษย์อีกแบบหนึ่ง
จึงนำเนื้อหามาแบ่งปันต่อครับ
ถ้ามีโอกาสก็จะไปหาหนังสือ ความหวัง ไม่เห็น ไม่ใช่ ไม่มี มาอ่านสักหน่อย
—
จิตร์ ตัณฑเสถียร มือเก๋าของแวดวงโฆษณาพูดเรื่อง “การยึดมั่นถือมั่น”
เขายกตัวอย่างเรื่อง “แก้ว”
แก้วที่ว่างเปล่านั้น เมื่อใส่น้ำ มันก็เป็น “แก้วน้ำ”
แต่ถ้าเราเอาดอกไม้ปักลงไป มันก็จะเป็น “แจกัน”
และถ้าแก้วใบนั้นใหญ่หน่อย เราเติมน้ำและใส่ “ปลา” ลงไป
“แก้วน้ำ” ก็จะกลายเป็น “ตู้ปลา”
และหากเราคว่ำ “แก้วน้ำ” เอาดินสอขีดรอบแก้ว
“แก้วน้ำ” จะกลายเป็น “วงเวียน”
“จิตร์” บอกว่าคนเราอย่ายึดมั่นถือมั่น
อย่าคิดว่า “แก้วน้ำ” ต้องเป็น “แก้วน้ำ” ตลอดไป
ครับ ทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ไม่ได้หยุดนิ่ง
มันแปรเปลี่ยนตาม “ตัวแปร” ต่างๆ
เรานำไปใช้งานอย่างไร มันก็เป็นเช่นนั้น
“ชีวิต” ก็เช่นกัน
เหมือนนักเรียนที่เชื่อว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยคือทั้งหมดของชีวิต
ถ้าสอบไม่ติดก็เสียใจ และรู้สึกว่าชีวิตสิ้นหวัง
หรือถ้าสอบเข้าคณะที่คนคิดว่า “ดี” ก็จะคิดว่าชีวิตนับต่อจากนี้ต้องรุ่งเรืองอย่างแน่นอน
สมัยก่อน “ด่าน” วัดความสำเร็จของชีวิตจะอยู่ที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัย
แต่ปัจจุบันนี้ผู้ปกครองเพิ่ม “ด่าน” มากขึ้น
เริ่มต้นจากระดับ “โรงเรียน”
ถ้าเข้าโรงเรียนนี้ได้ต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
จากนั้นก็ขยับเป็นทอดๆ จนถึง “มหาวิทยาลัย”
ใช้ “โรงเรียน” หรือ “มหาวิทยาลัย” เป็นดัชนีวัดความสำเร็จ
คิดแบบ “หยุดนิ่ง” ว่าเมื่อเข้าคณะดีๆ มหาวิทยาลัยดังๆไปแล้ว
ชีวิตก็ต้อง “ดี” แบบนี้ตลอดไป
เป็น “แก้วน้ำ” ก็เป็น “แก้วน้ำ” ตลอดไป
นั่นคือเหตุผลที่เด็กวันนี้ต้องใช้เวลากับการ “เรียนพิเศษ” มากกว่าในห้องเรียนปกติ
ไม่มีเวลาเล่นกับชีวิตเลย
ผมไม่เคย “เรียนพิเศษ”
ดังนั้น ทุกครั้งที่เห็นเด็กเรียนพิเศษแบบหามรุ่งหามค่ำ ผมจะรู้สึกสงสารและเสียดาย
“สงสาร” เด็กที่ต้องเรียนหนัก
“เสียดาย” โอกาสสำหรับความสุขนอกห้องเรียนในวัยเด็ก
ขออนุญาตเล่าชีวิตวัยเด็กของผมให้เด็กรุ่นใหม่อิจฉาสักหน่อย
ตอนเรียนอยู่ที่เมืองจันท์ ผมใช้ชีวิตอยู่กับโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ๑๐-๑๒ ชั่วโมงต่อวัน
ค่าเทอมที่พ่อแม่จ่ายไปคุ้มค่าจริงๆ
ไปเรียนตอนเช้า เรียนเสร็จเดินกลับบ้าน
เปลี่ยนชุดเสร็จก็วิ่งกลับไปโรงเรียนอีก
ไม่ได้ไป “เรียน” แต่ไป “เล่น” ครับ
ตอนเช้าใช้ห้องเรียนของโรงเรียน แต่ตอนเย็นใช้สนามกีฬา
ถ้าไม่เล่นวอลเลย์บอล ก็เล่นฟุตบอล
ใช้แสงอาทิตย์เป็น “นาฬิกาปลุก”
หมดแสงเมื่อไรก็หมดแรงเมื่อนั้น
ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ ถ้าไม่ไปสวนกับ “ป๋า” หรือ “แม่” ก็จะแวะไปบ้านเพื่อน
ฮาเฮกันตลอด
ปิดเทอมก็เล่นฟุตบอล วอลเลย์บอล เข้าสวน ไปห้องสมุดประชาชน หรือหานิยายอ่าน หรือไม่ก็ไปบ้านเพื่อน
ไม่เคยเรียนพิเศษเลย
จนช่วงหนึ่งที่บ้านมีปัญหาทางการเงิน แม่ต้องเปิดแผง ขายสาคูไส้หมูและขนมใส่ไส้หารายได้เพิ่ม
ช่วงนั้นจึงเริ่มทำตัวมีประโยชน์
ช่วยทำขนมและเปลี่ยนผลัดกับแม่ไปนั่งขายที่หน้าแผงตอนค่ำ
แต่ก็ยังเล่นกีฬาตลอด
จนอีก ๑ ปีก่อนเอ็นทรานซ์ ชีวิตผมจึงเปลี่ยนไป
ลุยอ่านหนังสือเต็มที่ก่อนสอบ
ครับ ในขณะที่เด็กวันนี้ใช้เวลาเรียนพิเศษตั้งแต่ระดับประถมจนถึงชั้น ม.๖
ไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี
แต่ผมใช้เวลาลุยอ่านหนังสือเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยแค่ปีเดียว
ที่เหลือ “เล่น”
น่าอิจฉาไหมครับ
ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่มัก “ยึดมั่นถือมั่น” ว่า “โรงเรียน” หรือ“มหาวิทยาลัย” เป็น “ด่าน” วัดความสำเร็จ
ลืมไปว่าชีวิตไม่ใช่ “เกมโชว์”
ผ่านด่านนี้ไปก็ชนะในเกมเลย
ชอบคิดแบบ “หยุดนิ่ง”
เช่นเดียวกับ “เกรด” ในใบปริญญา
นิสิตนักศึกษาจำนวนมากไม่รู้ว่าตัวเลขของ “เกรด” มีค่าเพียงแค่ใช้ในการสมัครงาน
พ้นจากวันนั้น “เกรด” ก็เป็นแค่ “ตัวเลข” ในใบปริญญา
ไม่มีใครสนใจ
เพราะเมื่อเริ่มทำงานจริง คุณค่าของเราจะอยู่ที่การทำงาน
ใครทำงานเก่งกว่ากัน
ใครทำงานกับคนได้ดีกว่ากัน ฯลฯ
หัวหน้างานไม่สนใจแล้วว่าใครเรียนจบมาด้วยเกรดเท่าไร
ที่สำคัญ ชีวิตของเราไม่ใช่ “เส้นตรง”
แต่เป็น “ทางแยก” ที่ต้องเลือกเสมอ
ดุลพินิจในการใช้ชีวิตจึงเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะ “ชีวิต” ก็เหมือน “แก้วน้ำ” ครับ
มันแปรเปลี่ยนไปเสมอ ไม่เคยหยุดนิ่ง
“แก้วน้ำ” จะเป็นอะไร
ขึ้นอยู่กับ “การใช้งาน”
“ชีวิต” ก็เช่นกัน
จะเป็นอะไร
ก็ขึ้นอยู่กับ “การใช้ชีวิต”
ที่สำคัญ ต้องอย่าลืมว่าทุกช่วงเวลาของชีวิตมีค่าเท่าเทียมกัน
ถ้าคนเรามีอายุ ๗๐ ปี
๑๐ ปี ก็คือ ๑ ใน ๗ ของชีวิต
๑๐ ปีในวัยเด็กก็มีค่าเท่ากับ ๑๐ ปีในวัยหนุ่มสาว
หรือ ๑๐ ปีในช่วงท้ายของชีวิต
ไม่มีช่วงเวลาใดมีค่ามากกว่ากัน
ดังนั้น ใครสะสมห้วงเวลาแห่งความสุขได้มากกว่ากัน
คนนั้นถือว่า “โชคดี”
เวลาของ “ความสุข” ที่แท้จริงจึงไม่ใช่ “วันพรุ่งนี้”
แต่เป็น “วันนี้”
http://www.se-ed.com/eShop/Products/Detail.aspx?CategoryId=0&No=9789740208495
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321953970
สทศ. รับ o-net ถามแรงเรื่องเพศ พร้อมนำข้อวิจารณ์ไปปรับปรุง
http://www.scholarshipinter.com/2011/content.php?id=1360
http://news.mthai.com/hot-news/154847.html
1. ผมว่า .. ฐานคิดของคนเราแตกต่างกัน
เมื่อใดก็ตามที่คิด แล้วนำความคิดมาเปรียบเทียบ ก็มักจะเห็นความแตกต่าง
อย่างเช่น ข้อสอบโอเน็ต
ถ้าใช้ฐานคิดของนักเรียนหญิงก็คงตอบไปทาง
ถ้าใช้ฐานคิดของผู้ปกครองที่ทุกเรื่องต้องปรึกษาตนก็คงตอบไปทาง
ถ้าใช้ฐานคิดของวัยรุ่นที่เอนตามโจทย์ก็คงไปอีกทาง
ถ้าใช้ฐานคิดของวิชาสุขศึกษา ก็น่าจะตอบตรงตามที่ผู้ออกข้อสอบคิด
—
2. เรื่องฐานคิดที่แตกต่าง มีตัวอย่างเกี่ยวกับแนวคิดการรับสมัครนักเรียน
โดยงานรับนักเรียนของโรงเรียนในหมู่บ้าน ว่าเหตุที่นักเรียน .. เลือกเรียนเพราะอะไร
1. คุณครูสอนดี ดังนั้นหน้าที่ทำให้มีนักเรียนเพิ่ม คือ สอนในชั้นเรียนให้ดี เป็นหลัก
2. นักเรียนที่นี่เก่ง ดังนั้นต้องติว สอนพิเศษ ให้ทำข้อสอบเยอะ ส่งแข่งขัน เป็นหลัก
3. ค่าเล่าเรียนถูก หรือมีทุนการศึกษา งั้นก็ลดค่าเล่าเรียน เป็นหลัก
4. ครูรู้จักผู้ปกครอง ดังนั้นก็สนับสนุนให้ครูออกพื้นที่ ตามบ้าน สอนน้อยลง เป็นหลัก
5. ครูรู้จักเยาวชน ดังนั้นก็สนับสนุนให้ครูไปคลุกคลีกับเด็กในหมู่บ้าน
คลุกคลีกับเด็นในชั้นเรียนให้น้อยลง เป็นหลัก
6. โรงเรียนสวย ดังนั้นทุ่มทุนสร้าง เป็นหลัก
7. ใกล้บ้าน ไม่ต้องทำอะไร เสือนอนกิน
8. ครูใหญ่เล่นการเมือง ก็ต้องให้ครูใหญ่ออกสื่อบ่อย ๆ เป็นหลัก
9. ใช้ดีจึงบอกเพื่อน อันนี้ต้องมานั่งคุยกันว่า 5w คืออะไร
อันที่จริงทุกเหตุ มีผล ตรงตามสิ่งที่เกิดขึ้น
ถ้าทวนคำถามอีกครั้งว่า “กิจกรรมใดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักเรียนมากที่สุด”
ซึ่งคำตอบย่อมมีอยู่เป็นที่ประจักษ์ .. ???
แต่ถ้าคิดตามฐานคิดของบทบาทที่เป็น
คำตอบก็อาจไม่ถูกต้องเสมอไป เรียกว่าคำตอบขึ้นกับคนตอบนั่นหละครับ
—
3. ประเด็นข่าว
ได้จาก http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNek1EQXdNak00TUE9PQ==
จากกรณี สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ “สทศ.” จัดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ “โอเน็ต” ช่วงชั้นที่ 4 หรือระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2554 ระหว่างวันที่ 18-19 ก.พ. ที่ผ่านมา และภายหลังการสอบปรากฏว่ามีกลุ่มนักเรียน ม.6 เข้าไปโพสต์กระทู้ตามเว็บไซต์ชื่อดัง อาทิ เด็กดี และเอ็มไทย ดอต คอม วิพากษ์วิจารณ์ตั้งคำถามถึงวิธีออกข้อสอบวิชาสุขศึกษาดังกล่าว เพราะโจทย์และคำตอบค่อนข้างกำกวม ตัดสินใจยากว่าข้อใดถูกข้อใดผิด ตลอดจนโจทย์บางข้ออ่านแล้วเนื้อหาไม่เหมาะสม
โดยคำถามที่ กลุ่มนักเรียนชี้ว่า ไร้หลักการวิชาการและไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เช่น “หากเกิดอารมณ์ทางเพศขึ้นมาต้องทำอย่างไร” ตอบ ก.ชวนเพื่อนไปเตะบอล ข.ปรึกษาครอบครัว ค.พยายามนอนให้หลับ ง.ไปเที่ยวกับเพื่อนต่างเพศ จ.ชวนเพื่อนสนิทไปดูหนัง หรือ “เป็นแฟนกันต้องแสดงออกยังไงให้ถูกประเพณีไทย” ตอบ ก.เดินโอบไหล่ซื้อของ ข.ชวนไปทานข้าวดูหนัง ค.นอนหนุนตักในที่สาธารณะ ง.ชวนกันไปทะเลค้างคืน จ.ป้อนข้าวกันในร้านอาหาร และ “อาการลักเพศจะมีพฤติกรรมแสดงออกมาอย่างไร” ก.สะสมชั้นในเพศตรงข้าม ข.แต่งกายเลียนแบบเพศตรงข้าม ค.รักกับเพศเดียวกัน ง.โชว์อวัยวะเพศ จ.แอบดูเพื่อนต่างเพศในห้องน้ำ ตามที่ “ข่าวสด” เสนอมาตามลำดับนั้น
ล่าสุด นายสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร สทศ. และนายสัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สทศ. ก็ได้ร่วมกันแถลงข่าวชี้แจงข้อกังขากระหึ่มเน็ตวัยโจ๋ว่า ได้เรียกผู้ออกข้อสอบวิชาสุขศึกษา มาชี้แจงแล้ว พบว่า
เนื้อหาข้อสอบเป็นไปตามหลักสูตรที่เคยประกาศลงเว็บไซ ต์ สทศ. ตั้งแต่ก่อนจัดสอบ เนื้อหาเป็นการวัดความจำเนื้อหาที่อยู่ในตำรา
“คนอาจมองว่าข้อสอบไม่เหมาะสม ซึ่งสทศ.ก็ยอมรับว่าข้อความที่ไปเขียนเป็นโจทย์อาจรุนแรงเกินไป แต่ไม่ได้มีเจตนาอย่างนั้น เบื้องต้นจึงให้เจ้าหน้าที่รวบรวมความเห็นของเด็กในเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อนำไปวิเคราะห์ปรับรูปแบบการออกข้อสอบในปีหน้า ขอชี้แจงว่าข้อสอบโอเน็ตที่ถูกนำโพสต์ไว้ที่เว็บไซต์ มีเนื้อหาไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด..
“อย่างโจทย์ข้างต้น จริงๆ แล้ว สทศ.ถามว่า ′ในค่านิยมที่ดีจะปฏิบัติตนอย่างไรหากเกิดอารมณ์ทางเพศ′ ซึ่งก็อยู่ในหลักสูตรวิชาสุขศึกษา สาระที่ 2 เรื่องชีวิตและครอบครัว ในมาตรฐานเรื่องค่านิยมที่ดีเรื่องเพศ และเข้าใจธรรมชาติของการเกิดอารมณ์ทางเพศ โดยใจความเนื้อหาได้เขียนวิธีแก้ไว้ว่า ให้แสดงการปลดปล่อยอารมณ์ด้วยการออกกำลังกายและเล่นกีฬา ฉะนั้นคำตอบที่ถูกจะเป็นข้อ ก.ชวนเพื่อนไปเตะบอล ซึ่งเป็นการให้เด็กได้คิดวิเคราะห์แทนการท่องจำตรงตามวัตถุประสงค์ของ สทศ.” ผอ. สทศ.กล่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากคำตอบของ ผอ.สทศ. แล้วก็ยังถือว่า “ไม่เคลียร์ไ อยู่นั่นเอง เนื่องจากถ้าฟันธงว่า คำตอบที่ถูกต้อง คือ “ก.ชวนเพื่อนไปเตะบอล” ก็มีข้อโต้แย้งจากน.ส.เพชรไพริน ทองพหุสัจจะ นักเรียนชั้นม.6 โรงเรียนสตรีวิทยา ผู้ทำข้อสอบมาหมาดๆ ที่ให้สัมภาษณ์ “ข่าวสด” เอาไว้ว่า
“ข้อสอบโอเน็ตในส่วนของคำถามนั้นไม่ยาก แต่ตัวเลือกคำตอบทั้ง 5 ข้อกำกวมมาก เช่นถามว่าเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศขึ้นมาต้องทำอย่างไร ตัวเลือกคำตอบ ได้แก่ ชวนเพื่อนไปเตะบอล ปรึกษาครอบครัว พยายามนอนให้หลับ ไปเที่ยวกับเพื่อนต่างเพศ หรือชวนเพื่อนสนิทไปดูหนัง ซึ่งตอบไปว่าพยายามนอนให้หลับ เนื่องจากเป็นผู้หญิงคงไม่ตอบข้อที่ชวนเพื่อนไปเตะบอล และไม่รู้ว่าตัวเลือกใดเป็นคำตอบที่ถูกต้อง เพราะนักเรียนหญิงและชายอาจตอบไม่เหมือนกัน จึงไม่แน่ใจว่าผู้ออกข้อสอบต้องการวัดอะไรในตัวเด็กกันแน่ แต่ที่แน่ๆ คือข้อสอบสักษณะนี้ทำให้ผู้สอบงงและสับสนมาก”
ก็ได้แต่หวังว่า เมื่อมีบทเรียนหลายครั้งหลายครา สอบ “โอเน็ต” ครั้งหน้าคงไม่มีคำถามพิสดารพันลึก โผล่ออกมาให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ต้องร้อง “จ๊ากส์” กันอีกรอบ!